ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1246
ปกิณณกธรรม ตอนที่ ๑๒๔๖
สนทนาธรรม ที่ คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นที่กราบไหว้ภิกษุ ในคุณความดีของภิกษุ เพราะฉะนั้นภิกษุต้องเป็นผู้ที่มั่นคง ที่จะเข้าใจธรรมโดยการฟังไม่พอ ชาติหนึ่งที่จะเข้าใจธรรม ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ต้องหลายๆ ชาติ เพราะว่าท่านที่ฟังธรรมมาแล้ว ๔๐ ปี ๕๐ ปีบ้าง ก็ยังรู้ว่าอีกไกลที่จะเข้าใจสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏจริงๆ เดี๋ยวนี้ซึ่งเป็นปกติ ถ้าไม่เช่นนั้นแล้วก็ไม่สามารถที่จะละกิเลสได้ เพราะเดี๋ยวนี้มีกิเลสซึ่งยังไม่รู้ แต่ว่าฟังแล้วรู้ว่าต้องดับ แม้กิเลสที่มีที่ไม่ปรากฏก็ต้องละได้ นี่เป็นสิ่งซึ่งละเอียดมาก เพราะฉะนั้นต้องเห็นว่าภิกษุในธรรมวินัย ก็ต้องคือสมควรแก่การที่ชาวบ้านได้มอบทุกสิ่งทุกอย่างให้ ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัย อาหาร บิณฑบาต จีวร และยารักษาโรค ซึ่งเท่านี้อยู่ได้ไม่ว่าใคร มีที่อาศัยเกิดมาในโลกนี้ ก็ต้องอยู่ในโลกนี้ล่ะใช่ไหม แล้วก็มีเสื้อผ้า แล้วก็มีอาหาร แล้วก็มียารักษาโรค พอไหมที่จะมีชีวิตอยู่ เพราะฉะนั้นอยู่ได้ และก็อยู่ได้ด้วยความพอใจ ที่จะค่อยๆ ละคลายกิเลส แต่ถ้าไม่เป็นอย่างนี้ ก็คือคฤหัสถ์
อ.วิชัย แสดงว่าท่านต้องเป็นผู้ที่มีอัธยาศัย ที่จะสละความเป็นคฤหัสถ์ทั้งหมด เช่นแม้จะได้รับประทานอาหารอร่อย แต่ก็รู้ว่าการบริโภคเพื่อให้อัตภาพเป็นไป ที่จะไม่ติดข้องพอใจในสิ่งนั้น หรือการสละทรัพย์สินเงินทอง ก็ไม่คิดจะกลับมารับอีกอย่างคฤหัสถ์
ท่านอาจารย์ นี่คือเหตุผล ที่ว่าพระภิกษุในพระธรรมวินัยต้องไม่รับ และไม่ยินดีในเงิน และทอง
อ.อรรณพ ในพระวินัยปิฏก ท่านอธิบายว่าภิกษุชื่อว่าผู้ขอ อธิบายว่าจะได้ก็ตาม ไม่ได้ ก็ตามย่อมขอด้วยวิธีขออย่างประเสริฐ กราบเรียนท่านอาจารย์ ใช้คำว่าการขออย่างประเสริฐนี่คืออย่างไร เพราะตอนนี้ก็มีอย่างเช่นภิกษุก็เยอะเลย ที่มีการขอเรี่ยไรเงินทอง ที่จะเอาไปทำประโยชน์กับสังคม ไปทำอะไรอย่างนี้
ท่านอาจารย์ ขอโดยไม่พูด ขอโดยอาการนิ่ง เพราะเหตุว่าความสงบ แล้วก็จีวรที่สวมใส่ และก็บาตรสำหรับใส่อาหาร คนทั้งหลายเห็นก็ต้องรู้ว่า ผู้นี้เป็นสมณะคือผู้สงบ ไม่ได้ต้องการที่จะมีสมบัติมากมายอย่างคฤหัสถ์เลย เพียงแต่อาศัยสิ่งที่จำเป็นเช่นอาหาร เพราะฉะนั้นเมื่อรู้ว่าผู้นี้ไม่เป็นภัย และผู้นี้เป็นผู้ที่สงบด้วย ไม่ได้ขออย่างรบกวนชาวบ้าน เหมือนอย่างขอทานใช่ไหม บางคนอาจจะร้องเพลง บางคนอาจจะทำอะไรก็ได้ ที่เป็นการขอแต่นี่ด้วยอาการสงบ คือว่าแล้วแต่ศรัทธาที่จะให้ไม่ได้เอ่ยปากขอ ก็มีตามพระวินัยบัญญัติอีกหลายอย่าง จะขอได้อะไรกับใครเมื่อไหร่ ถ้าเขาไม่ปวารณาบอกไว้ว่า ถ้าพระคุณเจ้าต้องประสงค์สิ่งใด ที่เป็นความจำเป็นตามพระธรรมวินัยก็ให้บอก ถ้าใครกล่าวไว้อย่างนั้นก็ขอได้เฉพาะคนนั้น ไม่ใช่ไปเที่ยวขอคนอื่น และถ้าเขากำหนดวันเวลาไว้ว่าวันนี้จะถวายได้ พอรุ่งขึ้นก็ไปขอเขาอีกไม่ได้แล้ว นี้เป็นความละเอียดอย่างยิ่ง ที่เห็นว่าเป็นไปเพื่อความขัดเกลา ซึ่งสมควรอย่างยิ่งที่คฤหัสถ์ต้องรู้ มิฉะนั้นแล้วคฤหัสถ์ก็ไม่รู้ว่าใครเป็นภิกษุ และใครไม่ใช่ภิกษุ เพราะฉะนั้นการขอของพระภิกษุต่างกับการขอของคนอื่น อย่างเช่นคำว่าเรี่ยไรเนี่ย ถ้าแปลตรงคือขอเงิน ใช่หรือเปล่า จะเรี่ยไรก็ตามแต่ แล้วกิจอื่นทั้งหมดไม่ใช่กิจของพระภิกษุ นอกจากคันถะธุระ และวิปัสสนาธุระ แต่แค่สองคำนี้ก็ไม่เข้าใจแล้วว่าคืออะไร
คันถะคือการศึกษาให้เข้าใจพระธรรม ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ซึ่งเป็นสิ่งที่ลึกซึ้งมากคิดเองไม่ได้เลย เพื่อวิปัสสนาธุระ วิปัสสนาคือการเข้าใจธรรมที่ขัดเกลากิเลสตามลำดับขั้น เพราะฉะนั้นถ้าไม่มีปัญญาที่เข้าใจธรรม จะเอาปัญญาอะไรไปขัดเกลากิเลส เพราะฉะนั้นวิปัสสนา นี่แสดงอยู่แล้วเป็นอีกคำหนึ่งของปัญญา ปัญญารู้ตรง กุศลเป็นกุศล อกุศลเป็นอกุศล รู้ชัดเจนว่าเดี๋ยวนี้ขณะนี้ ถ้าเป็นปัญญาต้องต่างกับขณะที่ไม่รู้ความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏ ธรรมเป็นเรื่องที่ใหญ่มาก เพราะฉะนั้นถ้าศึกษาจริงๆ ต้องศึกษาทีละคำ แต่ละคำนี่ให้ชัดเจน วิปัสสนาคืออะไรต้องรู้ คันถะคืออะไร ธรรมคืออะไร ปฏิปัติคืออะไร ปริยัติคืออะไร ปฏิเวธคืออะไร แต่ละคำเป็นภาษาบาลีก็จริง แต่ทุกคำไม่ใช่ว่าต้องอาศัยคำ ในภาษาหนึ่งภาษาใด ให้เข้าใจธรรมในภาษาของตนของตน เพราะกล่าวว่าปริยัติเข้าใจหรือ ปฏิบัติเข้าใจหรือ ปฏิเวธเข้าใจหรือ คันถะเข้าใจหรือ วิปัสสนาเข้าใจหรือ เมื่อเป็นภาษาบาลี แต่คนนั้นไม่รู้ภาษาบาลีก็ไม่เข้าใจ แต่ถ้ามีผู้ที่รู้แล้ว กล่าวในภาษาของตนของตน เมื่อนั้นก็เข้าใจธรรมว่าตรงกัน ไม่ว่าจะในภาษาใดทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้ถ้าได้ฟังธรรมรู้จักพระภิกษุ ให้ด้วยความนอบน้อม คฤหัสถ์กราบไหว้แล้วถวายใช่ไหม แสดงความเคารพอย่างยิ่ง ไม่ใช่ให้อย่างขอทานหรืออย่างอื่น เพราะฉะนั้นข้อความที่ว่า ภิกษุคือผู้ที่ทำความดีเพราะการขอความดีในฐานะภิกษุคือต้องศึกษาธรรม ต้องขัดเกลากิเลสในเพศบรรพชิต ชีวิตอย่างคฤหัสถ์แม้แต่จะร้องเพลงก็ไม่ได้ แอบร้องก็ไม่ได้ยังไงก็ตามแต่ ไม่ใช่ว่าไม่มีใครได้ยินก็ได้ ไม่ใช่อย่างนั้นเลย ขัดเกลาคือขัดเกลา มั่นคงคือมั่นคง ตรงคือตรง เพราะฉะนั้นเมื่อชาวบ้านเขาสละสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้แก่ภิกษุนั้น แล้วภิกษุนั้นควรจะเป็นอย่างไร ไม่ใช่ว่าทำชั่วไม่ใช่ผิดพระธรรมวินัย เพราะเขาไม่ได้ถวายให้คนชั่ว เขาไม่ได้ให้กับโจร แต่เขาให้กับผู้ที่จะขัดเกลากิเลส ในเพศของพระภิกษุ เพราะฉะนั้นภิกษุนั้นจะต้องประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัย และศึกษาธรรม เข้าใจธรรมด้วย จนกว่าจะรู้แจ้งอริยสัจธรรม นั่นคือทำความดีในเพราะการขอ เพราะว่าเขาคิดว่าผู้นี้จะเข้าใจธรรม ศึกษาธรรม ขัดเกลากิเลสในเพศบรรพชิต แต่ถ้าไม่เป็นอย่างนั้นไม่ได้ศึกษาธรรม ไม่เข้าใจธรรม แล้วก็ยังต้องการเงินด้วย คนนั้นก็ไม่ได้ทำความดี ในเพราะการขอ จึงไม่ใช่ภิกษุในธรรมวินัย
ผู้ฟัง เหมือนกับที่ผมสอนนิสิต ปัญญาที่เกิดจากการฟังได้น้อย ๕% ก็ต้องมีการแพร๊กทิส การฝึกแล้วก็ไปเห็นเคสจริง
ท่านอาจารย์ ขอประทานโทษนิดหนึ่ง ถ้าไม่รู้ไม่เข้าใจ จะฝึกได้ไหม ต้องรู้ก่อนใช่ไหม
ผู้ฟัง ก็เด็กที่มาเรียนนี้ก็ไม่มีความรู้นะ
ท่านอาจารย์ แต่ว่าหรือเรียนแล้วรู้หรือเปล่า
ผู้ฟัง เปล่าเรียนแล้วจะรู้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นรู้ก่อนจึงฝึกได้ถูกต้อง ถ้าไม่รู้ฝึกยังไงก็ไม่ถูก เพราะฉะนั้นต้องมีความรู้ตามลำดับขั้นปริยัติ ฟังพระพุทธพจน์ก่อน แล้วเวลาฟังเพียงได้ยินไม่พอ ต้องรอบรู้ในพระพุทธพจน์ เพราะฉะนั้นเวลาที่เราได้ยินคำหนึ่ง แล้วต่อไปวันหลังเราได้ยินคำนั้นอีก มากขึ้นอีกบ่อยขึ้นอีก เรารอบรู้ในคำนั้น เพราะฉะนั้นคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละคำ ปริยัติคือฟังด้วยความเคารพ พระองค์เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นแต่ละคำต้องไตร่ตรอง เข้าใจขึ้นเข้าใจขึ้นเข้าใจขึ้นทุกคำจะนำไปสู่ปฏิปัติ เพราะเหตุว่า ปฏิปัติไม่ได้หมายความว่าปฏิบัติอย่างคนไทยคิด ปฏิปัติเป็นภาษาบาลี หมายความว่าเมื่อมีปัญญาจากขั้นการฟัง อย่างรอบรู้มั่นคงแล้วนั่นแหละเป็นปัจจัยให้ ปัญญา และสติเกิดขึ้นอีกระดับหนึ่ง สามารถที่จะเข้าใจสิ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ทีละ ๑ ขณะนี้หลายอย่างเลยใช่ไหม ทั้งเห็นด้วย ได้ยินด้วย ทั้งคิดด้วยทั้งหมดด้วย ไม่สามารถที่จะปรากฏให้ชัดเจนที่จะรอบรู้ รอบรู้คือเฉพาะ ๑ ที่ปรากฏ ไม่เป็นที่สงสัยเลย แยกจากสิ่งอื่นแต่ละ ๑ แต่ละ ๑ จึงจะกล่าวได้ว่ารอบรู้ใน ๑ แต่ละ ๑ แต่ต้องมาจากการฟังบ่อยๆ เข้าใจขึ้น
ผู้ฟัง แสดงว่าการฟังอย่างเดียว โดยไม่ต้องปฏิบัติ ก็สามารถ
ท่านอาจารย์ ปฏิปัติ ในภาษาบาลีไม่ได้หมายความว่าทำ แต่หมายความว่าขณะนี้ฟังคำว่าธรรม รู้ว่าธรรมคืออะไร ตอนนี้รู้หรือยังว่าธรรมคืออะไร
ผู้ฟัง ไม่ค่อยแน่ใจเท่าไหร่
ท่านอาจารย์ ถ้าอย่างนั้นปฏิบัติไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นปฏิบัติไม่ใช่เรา แต่ความเข้าใจสูงขึ้นมั่นคงขึ้น จนกระทั่งสามารถที่จะเข้าใจในความเป็นอนัตตา มิฉะนั้นแล้วก็ไม่มีการที่จะปฏิบัติเพราะเป็นเรา ซึ่งไม่ใช่เป็นการเข้าใจธรรม
ผู้ฟัง ตกลงธรรมแปลว่าอะไร
ท่านอาจารย์ ธรรมคือสิ่งที่มีจริง
ผู้ฟัง เวลาไปวัด มันจะมีคอร์สปฏิบัติธรรม ผมหมายถึง
ท่านอาจารย์ ผิด เพราะไม่ได้บอกว่าปฏิบัติคืออะไร ไม่ได้บอกว่าธรรมคืออะไร ไม่มีความรู้เลย แล้วไปทำก็คือทำด้วยความไม่รู้
ผู้ฟัง ก็คือสุดท้ายคือทำไปด้วยความรู้ไม่ ก็คือเลยไม่รู้ต่อ
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง เพราะฉะนั้นต้องอดทน ต้องไตร่ตรอง และต้องเข้าใจทีละคำ สำหรับพระรัตนตรัยที่ ๑ คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็รู้สึกว่าทุกคนก็ยอมรับว่าไม่มีบุคคลใดเปรียบได้ ในพระปัญญาคุณ ในพระบริสุทธิคุณ ในพระมหากรุณาคุณ จากปัญญาธรรมดาของชาวโลกกับ พระปัญญาคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้องห่างไกลกันมาก ถ้าไม่มีการฟัง ไม่มีการไตร่ตรองจริงๆ ไม่มีทางที่จะรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย เพราะว่าเป็นสิ่งที่ถูกปกปิดมานานมาก ที่สภาพธรรมขณะนี้กำลังเป็นอย่างที่ไม่มีใครรู้เลย แม้ในขณะนี้แต่ผู้ที่บำเพ็ญบารมี ถึงความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความจริง เหนือที่ใครจะคิดได้เลย เพราะฉะนั้นต้องเป็นผู้ที่ฟังด้วยความเคารพ และเข้าใจจริงๆ ตั้งแต่ต้นว่าธรรมคืออะไร ธรรมคือสิ่งที่มีจริงเดี๋ยวนี้ก็มี แต่ตอบได้ไหมถ้าไม่ได้ฟังธรรม ว่าเดี๋ยวนี้อะไรๆ เป็นธรรมที่มีจริงๆ นี่ยังไม่ถึงปฏิบัติเลย และถ้าไม่มีความรู้อะไรปฏิบัติ ก็คือความไม่รู้ เพราะฉะนั้นความรู้ขึ้นต่างหาก ที่สามารถที่จะทำให้เป็นปัจจัยให้ถึงระดับขั้น ของการที่จะรู้ยิ่งกว่านั้นอีก คือไม่ใช่เพียงขั้นฟัง แต่ขั้นเริ่มเข้าใจถูกในความจริง ของสิ่งที่กำลังมีจริงเดี๋ยวนี้ ตอนนี้เริ่มคำที่ ๑ ดีไหมธรรม ได้ยินชินหู ทุกคนก็พูดทั้งนั้นเลย คุณธรรม อยุติธรรม ยุติธรรมอะไรต่างๆ แต่ธรรมคืออะไร ก่อนอื่นมีจริงหรือเปล่า ถ้าไม่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะตรัสรู้ไหม เพราะฉะนั้นเรารู้แต่ว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้ธรรม ก็หมายความว่าธรรมต้องเป็นสิ่งที่มีจริงๆ แน่ๆ ใช่ไหม เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้มีไหม ถ้าเป็นสิ่งที่มีจริง ก็ต้องมีจริงทุกกาลสมัย สิ่งใดที่ได้ทรงตรัสรู้แล้ว ทรงแสดงความจริงของสิ่งนั้น ให้คนอื่นได้เข้าใจด้วยทุกกาลสมัยที่เขาสามารถที่จะได้ยิน เข้าใจ และไตร่ตรอง เพราะฉะนั้นทำไมต้องมีจริงใช่ไหม
ผู้ฟัง ธรรมมีจริง
ท่านอาจารย์ ธรรมมีจริง มีจริงๆ ไม่เปลี่ยน
ผู้ฟัง ไม่เปลี่ยน
ท่านอาจารย์ มั่นคง
ผู้ฟัง มั่นใจ
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้มีไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ ถ้าตอบว่ามี หมายความว่ารู้ว่าธรรมคืออะไรใช่ไหม
ผู้ฟัง ก็รู้ในความคิดของผม
ท่านอาจารย์ เราเข้าใจกับคำสอน ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่เหมือนกัน ถ้าเหมือนกันไม่ต้องมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะเราเข้าใจแล้ว แต่นี่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้สิ่งที่คนอื่นไม่รู้ จนกว่าจะได้ฟังพระธรรม และเรากำลังเริ่มฟังพระธรรมที่พระองค์ได้ทรงตรัสรู้ เพราะฉะนั้นธรรมต้องเป็นสิ่งที่มีจริงแน่ๆ และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ธรรมด้วย ต้องมีจริงๆ แน่นอน เดี๋ยวนี้มีไหม
ผู้ฟัง มีครับมี
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นถ้ามีจริงแล้ว เดี๋ยวนี้ก็มีด้วยถูกต้องไหม ให้ตัวอย่างสักหน่อยสิ ว่าธรรมที่มีจริงเดี๋ยวนี้คืออะไร ที่มีจริงๆ
ผู้ฟัง ตัวเราสิ่งแวดล้อมอย่างนี้ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ตัวเราก่อน ลองบอกสิว่า อะไรเป็นเรา ที่เป็นตัวเรา
ผู้ฟัง ร่างกายเราไง
ท่านอาจารย์ อะไรเป็นร่างกาย
ผู้ฟัง ถ้าเกิดเป็นภาษาธรรมก็ต้องบอกว่าดินน้ำลมไฟ
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง ดินคืออะไร
ผู้ฟัง ดินก็คือเนื้อ เนื้อ
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่เลย คือเดิมเราเข้าใจอย่างนั้นใช่ไหม นี่เราคิดเอง
ผู้ฟัง ดินก็คือเนื้อ เลือดก็เป็นน้ำ ลมก็ลมหายใจ ไฟก็ความอุ่นนี้ ประมาณนี้
ท่านอาจารย์ ประมาณนี้ นี่เราคิดเอง พอไหมถ้าเราจะคิดเอง หรือมีความรู้ที่ละเอียดกว่านั้น ชัดเจนกว่านั้น ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ความจริงของทุกอย่าง
ผู้ฟัง อันนี้เราไม่รู้ไง
ท่านอาจารย์ นั่นสิ เราจะได้ฟังธรรมไง คือคำที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้ และทรงแสดง เพราะฉะนั้นเราสนทนาธรรม คือได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไตร่ตรอง จนกระทั่งค่อยๆ เข้าใจขึ้น เพื่อเราจะได้รู้ว่านี่เป็นคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจริงๆ หรือเปล่า คำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่จะทำให้เราเข้าใจถูกต้อง ไม่ใช่ความคิดของเรา ความคิดของเรายังไงก็ไม่พอ จึงต้องมีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ลืมคำนี้ไม่ได้เลย ไม่รู้จะพึ่งอะไร พึ่งอะไรก็ไม่สำเร็จมีอย่างเดียว
ผู้ฟัง คือหลายคนคงคล้ายๆ ผม คือรู้ระดับหนึ่ง
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นถ้าฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เริ่มเข้าใจถูกต้อง พึ่งทำให้เราเกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ก่อนจะได้พึ่งพระองค์เราคิดเองเยอะ ผิดผิด ถูกถูก ตื้นมาก เล็กน้อยมาก ไม่ตรงไม่จริง แต่พอได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ให้ความรู้เกิดขึ้นถูกต้อง จากเดิมซึ่งมืดสนิทไม่มีแสงสว่างเลย เพราะคิดเองหมด แต่พอมีการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฟังคำของพระองค์ น่าอัศจรรย์แค่ไหน จากความไม่รู้ ค่อยๆ รู้ค่อยๆ เข้าใจขึ้น คือเริ่มตั้งแต่ก่อนฟังเราไม่รู้ หรือเราคิดเอง หรือว่างูๆ ปลาๆ เพราะฉะนั้นไม่ใช่ความจริง แต่ว่าเวลาฟังธรรม เราเริ่มไตร่ตรองแล้วก็เป็นคนตรง ถูกจะเป็นผิดได้ไหม ถูกต้องเป็นถูก ผิดจะเป็นถูกได้ไหมไม่ได้ ผิดก็ต้องเป็นผิดแต่ละ ๑ ผิดคือผิด ถูกคือถูก เพราะฉะนั้นการฟังธรรม จะทำให้เราเริ่มรู้จักสิ่งที่เราไม่เคยรู้มาก่อน และก็เคยเข้าใจผิดมาก่อน เพราะฉะนั้นคนอื่นเขาจะว่าธรรมคืออะไร ก็ช่างแต่ว่าพอได้ฟังธรรม จากคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็รู้ว่าธรรมคือสิ่งที่มีจริงทั้งหมด แต่ละ ๑ แต่ละ ๑ อะไรมีจริงเป็นธรรมทั้งนั้นอันนี้ไม่เปลี่ยน เพราะฉะนั้นความคิดเดิมๆ ของเรา เราจะคิดแบบหนึ่ง แต่พอฟังธรรมจะค่อยๆ ชัดเจนขึ้น ไตร่ตรองขึ้น ละเอียดขึ้น มั่นคงขึ้น จากการพิจารณาของเรา เพียงแต่ละคำที่ได้ฟัง คำเดียว แต่ต้องไตร่ตรองจนกระทั่งชัดเจน ธรรมคือสิ่งที่มีจริง จริงแต่ละ ๑ แต่ละ ๑ ไม่ซ้ำกัน ไม่เหมือนกันด้วย แต่ในความมากมายที่เป็นธรรมที่มีจริง จะต่างกันเป็นประเภทใหญ่ๆ ๒ อย่าง เห็นไหม ไม่รู้จะนับยังไงมากมายเหลือเกิน ก็จำแนกเป็นประเภทเสีย ว่าธรรมประเภท ๑ มีจริง แต่ว่าไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลย ถูกต้องไหม สิ่งที่มีจริงแต่รู้อะไรไม่ได้เป็นธรรมหรือเปล่า เป็น แต่ไม่รู้อะไรใช่ไหม จะให้เปลี่ยนเป็นสภาพรู้ได้ไหม สิ่งที่ไม่รู้มีจริงๆ ใช่ไหม
ผู้ฟัง เปลี่ยนไม่ได้
ท่านอาจารย์ เปลี่ยนไม่ได้จึงใช้คำว่ารูปธรรม ภาษาบาลีต้องออกเสียงว่ารูปะธรรม ภาษาไทยก็ตัดสั้นๆ ว่ารูปธรรม สิ่งที่มีจริงๆ เกิดเป็นอย่างนั้นอย่างนั้น แต่ไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลย ก็ยังคงเป็นธรรมเพราะมีจริงๆ แต่เป็นประเภทรูปธรรม ส่วนธรรมอีกอย่าง ๑ มีจริง แต่ว่าเกิดขึ้นต้องรู้ ไม่รู้ไม่ได้เลย ห้องนี้มีอะไร เห็นหมดเลยใช่ไหม เสียง เสียงอะไรก็ได้ยินหมดเลย แต่ละเสียงๆ ไป เพราะฉะนั้นสภาพรู้จะให้กลับไม่รู้ได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ และสภาพไม่รู้จะกลับให้รู้ได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ นี่คือความจริงของธรรม ซึ่งใครก็เปลี่ยนไม่ได้เลย เป็นปรมัตถธรรม เป็นรูปธรรมประเภท ๑ และก็เป็นสภาพรู้ซึ่งใช้คำว่านามธรรม อีกประเภท ๑ เพราะฉะนั้นทุกอย่างเป็นธรรม พูดสั้นๆ ว่านามก็ได้ รูปก็ได้ แต่ต้องเป็นธรรมมีจริงๆ เพราะฉะนั้นถ้าพูดว่ารูปธรรม ก็แสดงว่ารูปนั้นแหละเป็นธรรม ถ้าพูดคำว่านามธรรมก็นาม คือสภาพรู้นั่นแหละเป็นธรรม แต่ถ้าไม่ใช้คำว่าธรรม รูปะก็เป็นสภาพที่มีจริงแต่ไม่รู้อะไร
ผู้ฟัง แล้วนามรูปคืออะไร
ท่านอาจารย์ ก็ ๒ อย่าง นามก็เป็นนาม รูปก็เป็นรูป รูปธรรมก็เป็นรูปธรรม นามธรรมก็เป็นนามธรรม ตรงกับเมื่อกี้นี้ตอบว่าเปลี่ยนไม่ได้ จะให้นามธรรมไม่รู้อะไรก็ไม่ได้ จะให้รูปธรรมรู้ก็ไม่ได้ เพราะเหตุว่ารูปเกิดขึ้นไม่รู้ต้องไม่รู้ เกิดมาไม่รู้แล้วจะให้ไปรู้ได้ยังไง ที่ภาษาไทยใช้คำแค่คิดยังไม่เป็นรูปธรรม แต่ว่าถ้าความหมายจริงๆ ก็รูปธรรมต้องเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น เป็นสภาพที่ไม่รู้อะไร ต้องชัดเจน คือการศึกษาธรรม ไม่ใช่ให้งูๆ ปลาๆ พร่ามัวๆ สลัวๆ ไม่มีประโยชน์ แต่ต้องรู้จนกระทั่งพิสูจน์ได้ว่า คำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกคำเป็นความจริง ที่สามารถรู้แจ้งประจักษ์ได้ ที่ใช้คำว่าวิปัสสนา แต่ไม่ใช่ทำวิปัสสนา ทำวิปัสสนาผิดแน่นอน ใครจะไปทำได้ แต่ว่าเป็นความเข้าใจที่ค่อยๆ มั่นคงขึ้นตามลำดับขั้น ถ้าไม่มีความรู้อะไรเลย ปัญญาระดับขั้นประจักษ์แจ้ง สภาพธรรม ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงไว้ก็มีไม่ได้ เช่นขณะนี้ถ้าไม่รู้ว่า ธรรมคืออะไร ธรรมคือสิ่งที่มีจริงบังคับบัญชาไม่ได้ เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เพราะฉะนั้นธรรมเป็นธรรม ธรรมเป็นเราหรือเปล่า
ผู้ฟัง เป็น
ท่านอาจารย์ ก็ผิด ธรรมเป็นธรรม
ผู้ฟัง ในเมื่อธรรมแปลว่าทุกอย่าง
ท่านอาจารย์ ทุกอย่างที่มีจริง
ผู้ฟัง ทั้งฝ่ายไม่ดีฝ่ายดี
ท่านอาจารย์ เราไปเอาธรรมมาเป็นเราต่างหาก ธรรมเป็นอะไรไม่ได้ นอกจากเป็นธรรม เริ่มละความไม่รู้ซึ่งไม่เคยเกิดมาเลย ที่จะสามารถเป็นไปได้ นอกจากคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ค่อยๆ ทำให้เข้าใจสิ่งที่มีตั้งแต่เกิดจนตาย ทุกชาติได้เมื่อได้เข้าใจ
ผู้ฟัง พอเราสภาพธรรมมาเป็นเรา
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง
ผู้ฟัง เราก็เลยเกิดมีปัญหาเกิดขึ้นตามมา
ท่านอาจารย์ ผิดหรือถูก ที่เอาธรรมมาเป็นเรา
ผู้ฟัง ผิด
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง นี่คือคนตรง ภาษาบาลีความเห็นคือทิฏฐิ ถ้าผิดก็เป็นมิจฉาทิฎฐิ ถ้าถูกก็เป็นสัมมาทิฏฐิ เพราะฉะนั้นเราก็รู้ได้ ว่าขณะไหนเป็นมิจฉาทิฎฐิ ขณะไหนเป็นสัมมาทิฏฐิ มีสำนักปฏิบัติ ไปสำนักปฏิบัติ และปฏิบัติโดยไม่เข้าใจอะไร ผิดหรือถูก
ผู้ฟัง ผิด
ท่านอาจารย์ นั่นคือสัมมาทิฏฐิ ถ้าไปสำนักปฏิบัติไม่รู้อะไรเลย คิดว่าไปแล้ว ๗ วัน นั่งบ้าง ยืนบ้าง แล้วก็จะรู้แจ้งนิพพานผิดหรือถูก
ผู้ฟัง ผิด
ท่านอาจารย์ นั่นคือสัมมาทิฏฐิ เพราะฉะนั้นต้องตรง ไม่งั้นไม่รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วไม่มีใครสามารถจะไปแก้ความเห็นนี้ได้ เพราะเหตุว่าไม่ได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่เพราะฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงสามารถรู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก และความเข้าใจถูกจะละความเข้าใจผิด สิ่งที่มีจริงทั้งหมด หลากหลายมาก กว่าจะรู้ความจริงของแต่ละ ๑ จนกระทั่งสามารถที่จะรู้ความจริงว่าไม่มีเรา และไม่ใช่เรา มีแต่ธรรมซึ่งเป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น ใครจะทำเห็นได้ไหม ไม่มีทาง เพราะเห็นเกิดแล้ว ใครทำ ไม่มีใครทำ เกิดแล้วทุกอย่างทั้งหมด เราไม่เคยคิดถึงสิ่งที่มี แต่เราพยายามจะทำ เพราะฉะนั้นก็ไม่มีทางที่จะเข้าใจความจริงของสิ่งที่เกิด โดยที่ว่าใครก็ทำไม่ได้ แต่เกิดแล้วมีแล้วเป็นแล้ว เพราะฉะนั้นก็เห็นความต่างของความรู้ของสิ่งที่มีจริงๆ ซึ่งเหนือวิชาอื่นทั้งหมด เพราะวิชาอื่นทั้งหมดนี้ ไม่สามารถที่จะทำให้เข้าใจสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ได้ มีคนบอกว่าสมัยนี้ไม่ใช่สมัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดูเสมือนว่าสมัยนี้เป็นสมัยใหม่ ใครก็ตามที่เข้าใจเรื่องราวในยุคนี้ เป็นคนทันสมัย แต่ว่าตามความเป็นจริง เขาไม่ได้เข้าใจถูกต้องเลย แม้แต่คำว่าสมัยคืออะไร เพราะฉะนั้นทุกคนที่ไม่ได้ฟังคำ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พูดคำที่ไม่รู้จักตั้งแต่เกิดจนตาย แม้แต่คำว่าทันสมัย แต่ถ้าเข้าใจจะรู้ได้เลยว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความจริงของทุกสิ่ง ทุกสมัย ทุกขณะที่มีจริง เพราะฉะนั้นใครจะทันสมัยเท่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่มีทางเป็นไปได้เลย เพราะฉะนั้นจะทันสมัยก็ต่อเมื่อ เข้าใจคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลานี้ถ้าไม่เข้าใจคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สมัยล่วงเลยไปทุกขณะโดยไม่เข้าใจ เพราะฉะนั้นไม่ได้ทันสมัยเลย เพราะฉะนั้นถ้าฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นอีกโลก ๑ ซึ่งต่างกับ โลกของความไม่รู้ และความคิดเอง ไม่มีทางที่จะเข้าใจความจริงของสิ่งที่มี แต่พอได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ทุกคำกำลังเป็นความจริงที่ค่อยๆ เข้าใจขึ้น จึงสามารถที่จะรู้คุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ มิฉะนั้นเราก็นับถือคุณที่เราไม่รู้ แต่ว่าถ้าเราเข้าใจเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ ก็เท่ากับรู้พระคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามากเท่านั้น เพราะฉะนั้นในชาตินี้ก็ลองคิดดู อะไรมีประโยชน์ที่สุด เงินซื้อไม่ได้แน่ แต่ต้องอาศัยคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วก็ไตร่ตรองจนกระทั่งเป็นความรู้ความเข้าใจของเราเอง
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1201
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1202
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1203
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1204
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1205
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1206
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1207
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1208
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1209
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1210
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1211
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1212
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1213
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1214
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1215
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1216
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1217
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1218
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1219
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1220
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1221
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1222
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1223
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1224
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1225
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1226
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1227
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1228
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1229
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1230
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1231
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1232
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1233
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1234
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1235
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1236
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1237
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1238
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1239
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1240
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1241
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1242
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1243
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1244
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1245
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1246
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1247
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1248
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1249
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1250
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1251
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1252
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1253
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1254
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1255
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1256
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1257
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1258
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1259
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1260