ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1248


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ปกิณณกธรรม ตอนที่ ๑๒๔๘

    สนทนาธรรม ที่ กนกรัตน์ รีสอร์ท อัมพวา จ.สมุทรสงคราม

    วันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑


    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่เราเลย ยิ่งเรียนยิ่งเข้าใจว่าอะไรล่ะ ที่กำลังร่วมกันเกิดขึ้นทำกิจการงาน ที่จะเข้าใจธรรม ที่จะขัดเกลากิเลส หรือว่าเป็นฝ่ายอกุศลท ทั้งหมดก็คือว่าไม่มีเรา เพราะฉะนั้นการฟังธรรม ก็ต้องเข้าใจถูกว่า ไม่ใช่เพื่อเราจะได้ไปรู้ความจริง แต่ให้รู้ความจริงว่าไม่มีเรา มีธรรม สิ่งที่มีไม่ใช่เราเป็นธรรมแต่ละอย่าง

    ผู้ฟัง กราบเรียนท่านอาจารย์ เหมือนก็มีตัวตนไปทำกิจแทนปัญญา ซึ่งไม่ใช่ปัญญา เขาเกิดขึ้นเอง

    ท่านอาจารย์ ทั้งวัน ถ้าจะว่าไป นั่งอยู่ที่นี่ก็เราล่ะ ใช่ไหม คิดก็เราละ ยังจะต้องการผล ถามโน่นถามนี่ สำหรับคนที่ต้องการหนทาง ที่เป็นวิธีจะทำยังไงนั่นคือเพิ่มความต้องการเข้าไปอีกโดยไม่รู้ตัว บางคนก็บอกว่าไม่ให้คิด ได้ยังไง ไม่มีทางเลย พระสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสว่าไม่ให้คิด ห้ามอะไรไม่ได้ แล้วใครจะไปห้าม คนที่รู้ จะไม่ห้ามเลย แต่ให้เข้าใจ ให้ที่นี่ไม่ได้หมายความว่าให้ แต่หมายความฟังเพื่อเข้าใจ และความเข้าใจนั้นก็จะได้เข้าใจ เท่านั้นเอง จึงเป็นปกติ คิดแล้วเป็นปกติ จะคิดเรื่องอะไรก็คิดแล้ว ไม่งั้นก็จะไปให้คิดแต่เรื่องดีๆ เห็นไหม แต่ว่าแล้วเรื่องไม่ดีเวลาเกิดขึ้นล่ะ คิดเรื่องที่ไม่ดีจะรู้หรือว่าไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นหนทางของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ใช่อัตตาไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่กรอบวิธีการ แต่เข้าใจความจริงถึงที่สุด จนกว่าจะหมดความเป็นเรา นานไหม เพราะว่าเห็นเดี๋ยวนี้ก็นับไม่ถ้วนแล้ว คิดเดี๋ยวนี้ก็นับไม่ถ้วน แล้ว เป็นเราอยู่เรื่อย ปัญญาไม่ใช่เรา ถือเอาแต่สิ่งที่ควร ละทิ้งสิ่งที่ไม่ควร ไม่ใช่เราถ้านึกขึ้นได้เมื่อไหร่ ก็คือว่าที่ทำดีทำชั่วไม่ใช่เรา แต่ว่าเป็นปัญญาที่ทำกิจของปัญญา ถือเอาแต่สิ่งที่ควร และก็ทิ้งสิ่งที่ไม่ควร

    เพราะฉะนั้นกว่าจะเข้าใจพระพุทธพจน์ทั้งหมด ว่าไม่ใช่ให้ทำแต่ว่าเข้าใจ และสิ่งนั้นก็คือทำหน้าที่ของสิ่งนั้น เช่นความเข้าใจ ก็ต้องทำหน้าที่ของความเข้าใจถูก จะไปทำหน้าที่เข้าใจผิดได้ไหม ไม่ได้ แต่ความเข้าใจผิดจะมาทำหน้าที่ เห็นถูกเข้าใจถูกก็ไม่ได้ เห็นผิดเกิดเมื่อไหร่ ก็ต้องเห็นผิดเมื่อนั้น ก็ทำหน้าที่ของธรรมนั้นๆ เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นพระสูตร หรือพระวินัย หรือพระอภิธรรมก็ตาม ถึงแม้จะมีคำว่าจงเพียรเป็นต้น แต่ผู้นั้นก็รู้แล้วใช่ไหมว่า ปัญญามีหน้าที่เห็นถูก ถือเอาเฉพาะสิ่งที่ถูกคือเพียร ไม่ถือเอาสิ่งที่ผิดคือไม่เพียร ต้องเข้าใจจริงๆ ฟังธรรมแล้วก็จะไม่มีการที่จะคิดว่าแย้งกัน หรือว่าไม่สอดคล้องกัน ถ้าไม่สอดคล้องเมื่อไหร่ หมายความว่าคนนั้นก็ไม่เข้าใจธรรม

    คุณวีระ ก็คงจะต้องทำความเข้าใจ ชาวพุทธไม่ทราบว่าตรงนี้จะทำอย่างไรจะเข้าใจ

    ท่านอาจารย์ ใครเป็นชาวพุทธบ้าง เพราะฉะนั้นก็ต้องรู้ว่าที่ว่าเป็นชาวพุทธ ต้องรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าไม่รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะเป็นชาวพุทธได้ยังไง ใช่ไหม ไม่รู้จักเลย และบอกว่าเป็นชาวพุทธ ไม่ได้ แต่คนที่เป็นชาวพุทธก็หมายความว่า รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ที่รู้จักน้อยมากเพียงชื่อ ได้ยินคำว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็รู้จัก ใช่ไหม ใครบ้างไม่เคยได้ยินชื่อนี้ แต่ว่านับถือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือเปล่า ที่จะบอกว่าเป็นชาวพุทธ เพียงชื่อพอไหม หรือว่าเราไม่ได้ชื่อว่าชาวพุทธเท่านั้น แต่เรารู้ด้วยว่าชาวพุทธคือใคร ชาวพุทธต้องเป็นคนที่รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ใช่เพียงชื่อแต่ต้องรู้พระคุณ เพราะเหตุว่าถ้าไม่มีพระคุณ ถึงความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้ ใครก็ตามจะมีคุณความดีมากสักเท่าไหร่ แต่ถ้าไม่ถึงคุณที่จะถึง ความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้ เพราะฉะนั้นนับถือใคร ชาวพุทธ นับถือใคร

    คุณวีระ ก็นับถือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ท่านอาจารย์ นับถือเพราะอะไร ทำไมนับถือ

    คุณวีระ เพราะพระคุณของท่านที่มีทั้งพระบริสุทธิ์คุณ

    ท่านอาจารย์ ท่านมีพระคุณอย่างไรจึงได้นับถือ

    คุณวีระ อันแรกก็คือว่าท่านเป็นผู้ที่มีความเมตตา อันที่สองก็คือความบริสุทธิ์ และก็มีปัญญาคุณ

    ท่านอาจารย์ โดยมากจะใช้คำว่าเมตตา แต่ว่าเหนือกว่านั้นก็คือพระมหากรุณา เมตตาหมายความถึงความเป็นมิตร ความหวังดีพร้อมที่จะเกื้อกูล ไม่มีการแข่งดี ไม่มีการทำร้าย ด้วยกายวาจา พร้อมที่จะเป็นประโยชน์กับผู้นั้น คือมิตร หวังดี ไม่ได้ให้เขาเป็นทุกข์เดือดร้อน ไม่ให้คำไม่จริงกับเขา นี่ก็เป็นสิ่งที่จะต้องรู้ว่าความหวังดีคืออย่างไร เป็นมิตร เพราะฉะนั้นเราเป็นมิตรกันได้ ใช่ไหม แต่ว่าเราก็เป็นคนที่ไม่ได้มีปัญญาอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นเราก็สามารถจะเป็นมิตรเท่าที่เราจะเป็น ก็ช่วยเหลือกันมาตั้งแต่เด็กจนโต หรืออะไรอย่างนี้ ก็เป็นมิตรสหายกัน แต่พระมหากรุณาคิดดู กรุณาหมายความถึงสภาพ ที่เข้าใจในความทุกข์ของคนอื่น เข้าใจที่นี่คือเห็นใจ เด็กนักเรียนกินขนมจีนคลุกน้ำปลา แค่ได้ยินแล้วยังเห็น เข้าใจไหมว่าขณะนั้นอร่อยหรือเปล่า มีประโยชน์มากน้อยหรือเปล่าสำหรับเด็ก แล้วก็คลุกน้ำปลาไม่มีอื่นกรุณาไหม เข้าใจไหม หรือว่าร้ายจนกระทั่ง ว่าให้เขากินต่อไปได้ เห็นไหม เพราะฉะนั้นแต่ละอย่างในชีวิตประจำวัน เป็นธรรมที่ต้องไตร่ตรอง และทุกคำต้องเข้าใจ เพราะฉะนั้นสำหรับเรา เป็นมิตรกันเวลาใครมีทุกข์เราก็มีความเห็นใจ กรุณา ใคร่ที่จะให้เขาคพ้นทุกข์ได้เพียงแค่นี้ แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ยิ่งกว่านั้นมากมาย เพราะเห็นว่าแม้จะเป็นเศรษฐีมั่งมีมหาศาล มีตำแหน่งยศถาบรรดาศักดิ์ มีเงินมีทองมากมายสักเท่าไรก็ตาม แต่เขาไม่พ้นจากทุกข์ เพราะฉะนั้นจากการที่พระองค์ได้มีพระมหากรุณาใหญ่ ยิ่งกว่าสัตว์โลก ๑ ใด ก็บำเพ็ญพระบารมีเพื่อที่จะรู้ความจริง แสดงว่าความจริงนี้รู้ยาก ใช่ไหม ต้องบำเพ็ญบารมีอะไรถึงปานนั้น กว่าจะรู้ความจริงของสิ่งที่กำลังมีในขณะนี้ได้ เพราะฉะนั้นจะเห็นพระคุณมากมาย ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ต่อเมื่อมีความเข้าใจธรรม ถ้าไม่เข้าใจธรรมเราก็รู้คุณเพียงพระองค์ทรงมีพระปัญญา และก็ดับกิเลสไม่มีใครเปรียบได้ก็แค่นั้นเอง นับถือแค่นั้น แต่ถ้าได้เข้าใจแต่ละคำ คิดไหม ตลอดชีวิตในสังสารวัฏฏ์ ไม่สามารถจะเข้าใจได้เลย ถ้าไม่ได้ฟังเพียงคำที่เกิดจากการตรัสรู้ เพราะฉะนั้นพระมหากรุณา เห็นว่าสัตว์โลกไม่สามารถที่จะพ้นทุกข์ สังสารวัฏฏ์จะต้องเป็นอย่างนี้ เหมือนอยู่ในที่คุมขัง แล้วก็มืดสนิท ไม่ใช่ขังเปล่าๆ ยังมืดสนิทด้วยจะหาทางออกได้ยังไงในความมืด เป็นอย่างนี้จริงๆ สำหรับผู้ที่เห็นแล้วว่าขณะนี้เป็นทุกข์ แต่ถ้ายังไม่เห็น ก็ไม่สามารถที่จะกรุณาอะไรกัน ก็เห็นนั่งกันสบายดีใช่ไหม แต่ว่าพระมหากรุณารู้ว่ายังไงๆ สัตว์โลก จะต้องเป็นอย่างนี้ไปทุกวัน ทุกชาติ ไม่ว่าจะเกิดเป็นอะไรก็แค่ตื่นแล้วหลับ ตื่นแล้วก็หลับ แล้วก็ตื่นแล้วก็หลับไปเรื่อยๆ พ้นไม่ได้เลย

    เพราะฉะนั้นพระมหากรุณาที่ทรงบำเพ็ญพระบารมี ทุกคำของพระองค์ด้วยพระมหากรุณา ให้คนฟังได้มีความเข้าใจที่ถูกต้อง เป็นสมบัติที่เงินทองทรัพย์สมบัติมหาศาลก็ซื้อไม่ได้ นอกจากฟังคำที่มีค่า เห็นค่าของคำนั้น และก็ไตร่ตรอง เข้าใจ และก็ต้องเป็นผู้ที่ตรง สิ่งใดที่ถูกก็คือถูก สิ่งใดที่ผิดก็คือผิด ถ้ารู้ความจริงอย่างนี้ จะมีความหวังดีต่อคนอื่นไหม ที่จะให้เขาได้เข้าใจถูกด้วย ไม่เข้าใจผิดอีกต่อไป เพราะฉะนั้นชาวพุทธก็คือ ผู้ที่ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยไม่ประมาท ว่าแต่ละคำไม่ใช่ง่าย แต่เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ ค่อยๆ ฟังไป ค่อยๆ เข้าใจไป เพราะฉะนั้นความเข้าใจก็คือว่า เกิดจากที่ไม่เคยมีมาก่อน ไม่ใช่เรา เพราะว่าเคยเป็นเรามานานแสนนานใช่ไหม แต่พอได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็มีความเข้าใจที่ถูกต้องว่าสิ่งนั้นไม่ใช่เรา เป็นแต่สิ่งที่มีจริงแต่ละ ๑ แต่ละ ๑ ซึ่งใครก็บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ให้เกิดก็ไม่ได้ เกิดแล้วไม่ให้ดับไปก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นปัญญาอย่างนี้จะมีได้อย่างไร ด้วยตัวเอง ถ้าไม่ได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นที่กล่าวว่าเป็นชาวพุทธ ก็คือว่าต้องฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยความเข้าใจจริงๆ รอบรู้ในคำที่ได้ฟัง เพราะว่าถ้ารอบรู้ในคำนั้นแล้วจะไม่มีทางผิด แต่ถ้าฟังเข้าใจนิดหน่อย ศึกษาพระอภิธรรมมัตถสังฆหะบ้าง พระวินัยบ้าง พระสูตรบ้าง พระอภิธรรมบ้าง แต่ไม่รอบรู้ สามารถที่จะผิดได้เพราะมีผู้ที่ศึกษาธรรมแต่ก็ตั้งสำนักปฏิบัติ รอบรู้หรือเปล่า แต่บอกได้ใช่ไหม จิตมีเท่าไหร่ ๘๙ เดี๋ยวนี้จิตอยู่ที่ไหน สักจิต ๑ ก็ไม่รู้ จักขุวิญญาณ จิตเห็นก็ยังไม่รู้ทั้งๆ ที่มี เห็นไหม เพราะฉะนั้นต้องรู้จริงๆ ในคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ตรัสรู้ ความจริงของสิ่งซึ่งลึกซึ้งอย่างยิ่ง ทำให้เกิดสิ่งที่ไม่เคยเกิดคือปัญญา และค่อยๆ เจริญขึ้น จนกระทั่งสามารถที่จะละคลายอกุศล จนดับหมดเป็นสมุทเฉจ เพราะฉะนั้นถ้าเป็นชาวพุทธจริงๆ ก็คือว่าผู้ที่ได้เข้าใจธรรม

    คุณวีระ ท่านอาจารย์กล่าวถึงเรื่องความตรง ความตรงนี้มีความลึกซึ้งมากทีเดียวใช่ไหม ความตรง

    ท่านอาจารย์ สิ่งที่ถูกรู้แล้วใช่ไหมว่าถูก จะให้ผิดได้ไหม

    คุณวีระ มันก็ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ก็ต้องตรง แล้วสิ่งที่ผิดๆ จะให้เป็นถูก ถ้ารู้ว่าสิ่งนั้นผิดจะให้เป็นถูกได้ไหม

    คุณวีระ ก็ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้ เพราะฉะนั้นเมื่อเข้าใจจริงๆ ก็เป็นผู้ที่ตรงจริงๆ

    คุณวีระ ซึ่งต้องเป็นความกล้าหาญจริงๆ เพราะว่า

    ท่านอาจารย์ กลัวอะไร

    คุณวีระ กลัวว่า

    ท่านอาจารย์ กลัวจะโง่ต่อไป กลัวจะไม่รู้ต่อไป กลัวจะผิดต่อไปหรือ

    คุณวีระ คงจะเป็นลักษณะคล้ายๆ กับว่าสังคมก็ไปทางผิด แล้วเราจะตรงไปเดินทางนั้น

    ท่านอาจารย์ นี่หรือชาวพุทธ รู้ไหมว่าสังคมคืออะไร แต่ถ้าเป็นชาวพุทธ เข้าใจทุกคำที่พูด เพราะว่าพระธรรมทรงแสดงไว้ โดยละเอียดอย่างยิ่ง โดยประการทั้งปวงถึงที่สุด

    คุณวีระ มันเหมือนเป็นความกล้าหาญที่จะต้องตรง

    ท่านอาจารย์ กล้าที่จะทำสิ่งที่ถูกต้อง กล้าที่จะไม่ทำสิ่งที่ผิด

    คุณวีระ เพียงแต่ว่าความไม่เข้าใจใน ความที่ถูกต้องนั้นเป็นอย่างไรเท่านั้น

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระมหากรุณาแก่สัตว์โลก ให้รู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด เผื่อจะไม่ทำสิ่งที่ผิด เพราะอะไร เป็นโทษกับผู้กระทำ

    คุณวีระ เข้าใจ

    ท่านอาจารย์ พระมหากรุณาหรือเปล่า ที่จะไม่ให้เขาเกิดโทษทุจริตทั้งหลายมาจากความไม่รู้

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นจะอาศัยความไม่รู้ แก้ความไม่รู้ จะสำเร็จหรือ

    คุณวีระ คงไม่สำเร็จแน่นอน

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นไม่มีทางที่จะเป็นไปได้เลย

    คุณวีระ อันนี้ก็จะเพิ่มความกล้าหาญได้จริงๆ คือการกระทำที่คิดว่า มันสวนกับคนอื่นก็ทำกัน

    ท่านอาจารย์ กล้าทำสิ่งที่ถูก ใครจะว่า ใครจะติเตียน

    คุณวีระ ก็คงคนที่ไม่รู้นั่นแหละ

    ท่านอาจารย์ ถ้ากล้าทำสิ่งที่ผิดน่ะสิ คนจะติเตียน

    คุณวีระ เข้าใจ

    อ.ธิดารัตน์ ท่านอาจารย์เมื่อกี้นี้ ท่านอาจารย์ได้ใช้คำว่ารอบรู้ อยากให้ท่าขยายความเพิ่มเติม

    ท่านอาจารย์ ธรรมคืออะไร

    อ.ธิดารัตน์ ธรรมก็คือสิ่งที่มีจริงในขณะนี้

    ท่านอาจารย์ เว้นหรือเปล่า

    อ.ธิดารัตน์ ไม่เว้น

    ท่านอาจารย์ ทุกอย่างเป็นธรรม

    อ.ธิดารัตน์ ก็เริ่มรอบรู้ในคำว่าธรรมเพิ่มขึ้น

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นธรรมที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี

    อ.ธิดารัตน์ แล้วละเอียดเพิ่มขึ้นอีกนะท่านอาจารย์

    ท่านอาจารย์ ถ้ารู้ว่าขณะนี้ไม่ใช่เรา จะทำอะไร

    อ.ธิดารัตน์ ถ้ารู้ว่าไม่ใช่เราก็ไม่ต้องทำอะไร เพราะธรรมเป็นไปแล้วอย่างนั้น

    ท่านอาจารย์ ไม่ต้องทำอะไร เพราะธรรมเกิดทำหน้าที่ของธรรม จะไปทำอะไรโดยความเป็นเรา นั่นคือรอบรู้

    ผู้ฟัง ขอคำอธิบายเกี่ยวกับรูปนามให้หน่อยนะ แล้วก็เกี่ยวข้องกับรูป เวทนา สัญญาสังขาร อย่างไร

    ท่านอาจารย์ ทุกคำเป็นคำจากพระโอษฐ์ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจจริงๆ แต่ละคำ ทีละคำ

    ผู้ฟัง เริ่มจากรูปนามก่อนได้ไหม

    ท่านอาจารย์ รูปคำ ๑ นามคำ ๑ สองคำต่างกันไหม

    ผู้ฟัง ชื่อต่างแต่

    ท่านอาจารย์ คือจริงจริงแล้ว เรื่องของธรรม เป็นเรื่องของการไตร่ตรอง ด้วยตนเอง เมื่อมีความเข้าใจที่ถูกต้อง เมื่อนั้นใครก็จะมาเปลี่ยนไม่ได้ เพราะฉะนั้นไม่ใช่ว่าเชื่อตามหรือฟังตาม แต่ทุกคำต้องเป็นความเข้าใจ เช่นคำว่ารูป ภาษาบาลีจะออกเสียงว่ารูปะ นามในภาษาไทย ภาษาบาลีก็เป็นนามะ ธรรมคือสิ่งที่มีจริง ทีละคำ ทีละคำ ทีละคำ ให้เข้าใจให้ถูกต้อง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้สิ่งที่มีจริงใช่ไหม เห็นไหม ต้องไตร่ตรอง อย่าเพียงฟังคำของคนอื่น แต่คำที่ได้ฟังทุกคำ ต้องไตร่ตรองให้เป็นความเข้าใจของเราเอง ถ้าไม่ไตร่ตรองฟังแล้วก็ลืม แล้วไปฟังคำอื่นจากคนอื่นก็ลืมไปอีก ก็ไม่มีประโยชน์อะไร แต่ว่าคำไหนก็ตามฟังแล้วมีเหตุผลไหม พูดเรื่องอะไร สิ่งนั้นมีจริงหรือเปล่า ถูกต้องหรือเปล่า เช่นสิ่งที่มีจริง มีจริงๆ หรือเปล่า นี่คือไตร่ตรองถ้าไม่อย่างนั้น เราจะไม่มีโอกาสได้เป็นผู้ที่รอบรู้ เป็นแต่ผู้ที่ฟังตามเชื่อตาม คิดตามด้วยไม่ใช่ความคิดของตัวเอง แต่ว่าถ้าฟังแล้วไตร่ตรอง ค่อยๆ เข้าใจขึ้นแต่ละคำ จะรู้เลยว่าไม่เปลี่ยน เปลี่ยนไม่ได้ เพราะคำนั้นหมายความถึงสิ่งนั้น ถ้าไม่คิดไม่มีทางเลยที่จะเข้าใจต่อไป เขาบอกก็จำ และเชื่อเท่านั้นเอง

    ผู้ฟัง ส่วนใหญ่จะจำ และก็เชื่อ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเปลี่ยนใหม่เลย เปลี่ยนเป็นฟังคำไหน อย่าเพิ่งไปถึงคำอื่น จนกว่าจะเข้าใจคำนั้น อย่างคำว่าธรรมคือสิ่งที่มีจริง เดี๋ยวนี้อะไรมีจริง เห็นไหม ไม่ได้จบเพียงแค่นั้น ถ้าจบเพียงแค่นั้นคือ เราฟังมาว่าธรรมคือสิ่งที่มีจริง แล้วเราก็พูดคำนี้ไปตลอดชีวิต ธรรมคือสิ่งที่มีจริง แต่ถามว่าสิ่งที่มีจริงคืออะไรตอบไม่ได้ เพราะเราไม่ได้คิด แต่ถ้าเรารู้ว่าธรรมมีจริง แล้วอะไรมีจริงเดี๋ยวนี้ เห็นไหม เริ่มคิด นี่คือที่จะเป็นปัญญาจะเจริญขึ้น ก็เพราะการคิด การไตร่ตรอง การพิจารณา และก็ไม่ไปฟังคำของคนอื่นเชื่อตาม แต่ฟังแล้วพิจารณาว่าจริงหรือเปล่า เริ่มที่จะคิด ที่จะเข้าใจธรรมแต่ละคำ จนกว่าจะรอบรู้ สักคำ เดี๋ยวนี้มีอะไรที่มีจริงไหม นั่นคือการตั้งต้น ไม่ใช่คำยาวๆ เยอะๆ นามธรรมรูปธรรมอะไร

    ผู้ฟัง กำลังถามนี้ มีจริงไหม

    ท่านอาจารย์ กำลังถามมีจริงไหมใช่ไหม ถามกลับว่ามีจริงไหม ให้คิดไง มีจริงไหม จนกว่าจะเป็นความเข้าใจของตนเอง นี่คือประโยชน์อย่างยิ่ง ของการที่เรามาพบกันสนทนากัน เพื่อให้มีความเข้าใจ สำคัญที่สุดคือเข้าใจ ไม่ใช่มาพูดพูดพูดแล้วก็กลับไปใครจะเข้าใจ ไม่เข้าใจ ไม่สนใจ ไม่ใช่อย่างนั้น แต่ทุกคำเพื่อที่จะให้เกิดความเข้าใจ ของคนที่มาร่วมกันสนทนา เพื่อประโยชน์ของทุกฟัง ผู้ถาม ผู้สนทนา เพราะฉะนั้นถามกลับไป จริงไหม

    ผู้ฟัง ถามจริง

    ท่านอาจารย์ ถามจริงๆ ใช่ไหม

    ผู้ฟัง ถามจริงๆ

    ท่านอาจารย์ ถามก็จริง พูดจริงไหม

    ผู้ฟัง พูดจริง

    ท่านอาจารย์ คิดจริงไหม

    ผู้ฟัง คิดจริง

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นสิ่งที่มีจริงนี่ ให้ไม่มีได้ไหม

    ผู้ฟัง มันจริงไปแล้ว

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นไม่ได้ใช่ไหม ต้องตรง กล้าที่จะรู้ว่านี้ต้องจริง ไม่ผิด สิ่งที่มีจริงจะให้ไม่มีได้ยังไง เกิดแล้วมีจริงแล้ว ก็ต้องมีจริงๆ ต้องเริ่มตรงทุกคำที่ได้ฟัง นี่คือความต่างของผู้ที่ฟังผิวเผิน กับผู้ที่ฟังแล้วไตร่ตรอง และก็เป็นความเข้าใจทีละเล็กทีละน้อยชัดเจนขึ้น เพราะฉะนั้นก่อนอื่นที่จะไปนามธรรมรูปธรรม กำลังเห็นมีจริงไหม จริงไหม

    ผู้ฟัง เห็นจริง

    ท่านอาจารย์ และได้ยินล่ะ จริงไหม

    ผู้ฟัง กำลังได้ยินจริง

    ท่านอาจารย์ เห็นก็จริง ได้ยินก็จริง เห็นเป็นได้ยินหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เห็นไม่ใช่ได้ยิน เห็นก็เห็น

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเห็นเป็นเห็น ได้ยินเป็นได้ยิน ๒ อย่างละ ใช่ไหม เมื่อกี้นี้ได้ยิน ดับแล้ว ไม่มี แล้วได้ยินหายไปไหน ไม่เหลือเลยใช่ไหม เพราะฉะนั้นสิ่งที่มีจริงนี่ชั่วคราว ทีละคำทีละคำ เล็กๆ น้อยๆ ทุกอย่างที่มีจริงไม่ว่าอะไรทั้งหมด เราไม่เคยรู้เลยว่าชั่วคราวแสนสั้น แต่ถ้าค่อยๆ คิดค่อยๆ พิจารณาก็คือว่า ไม่มีอะไรเหลือเลย จริงเพียงเมื่อเกิดขึ้นปรากฏแล้วหมดไป แล้วไม่กลับมาอีกเลย อย่างเสียงเมื่อกี้นี้หายไปแล้ว เหมือนไฟดับแล้วก็ไม่กลับมาอีกเลย เพราะฉะนั้นเห็นก็มีจริง ขณะที่ได้ยินไหมใช่เห็น เพราะฉะนั้นขณะที่ได้ยินไม่มีเห็น ค่อยๆ เข้าใจความจริงทั้งๆ ที่สิ่งที่ปรากฏ เหมือนไม่ใช่อย่างที่พูด คือไม่มีอะไรเกิดดับเลย ไม่หมดไปเลยสักอย่าง มาใหม่เรื่อยๆ ใช่ไหม ปิดบังว่าแท้ที่จริงแล้ว ขณะก่อนหมดแล้วไม่เหลือเลย ค่อยๆ ฟัง ธรรมเป็นเรื่องที่มีจริงในชีวิตประจำวัน แล้วก็ไม่ได้ยากเกินกว่าที่เราจะไตร่ตรอง แต่ต้องเป็นผู้ที่เห็นความลึกซึ้ง ว่าเพียงแค่ได้ฟังไม่กี่คำ แต่ใน ๔๕ พรรษาทรงแสดงกี่คำ เพราะฉะนั้นเราไม่ประมาทในการที่จะฟังเพื่อเข้าใจ ไม่ใช่ฟังเพื่อจำ ตอนนี้ก็ให้รู้ว่าสิ่งที่มีจริงทั้งหมดเลย ภาษาบาลีอีกภาษาหนึ่งใช้คำว่าธรรม พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้สิ่งที่มีจริง คือตรัสรู้ธรรมแต่ละ ๑ แต่ละ ๑ แต่ละ ๑ ว่าเห็นเกิดแล้วดับไป ถูกต้องไหม ไม่ใช่เรา เราอยู่ไหนหมดละ ทว่าเห็นเป็นเรา ได้ยินเกิดขึ้นแล้วก็หมดละ ก็ไม่ใช่เราไม่กี่คำ แต่ปัญญาจะค่อยๆ เพิ่มจนประจักษ์แจ้งอย่างนี้ เมื่อมั่นคงว่าทุกสิ่งนี่ก็คือชั่วคราวแสนสั้น แล้วก็ไม่กลับมาอีก เพราะฉะนั้นการพบกัน เพื่อไม่พบใช่ไหม

    อ.อรรณพ ที่ท่านอาจารย์พูดตรงกันข้าม กับความรู้สึกของคนทั่วไป ที่ว่าเราพบกันแล้วเดี๋ยวก็จะได้พบกันใหม่ ได้พบกันอีก ไม่ได้มีใครคิดเลยนะ ว่าพบกันเพื่อไม่ได้พบ แต่คิดว่าพบกันเดี๋ยว ได้จะได้พบกันใหม่ ได้พบกันอีก

    ท่านอาจารย์ กว่าจะได้พบกันใหม่ ก็ไม่ได้พบแล้วใช่ไหม

    อ.อรรณพ คิดว่าจะได้พบกันใหม่ เช้ารุ่งขึ้นก็เสียชีวิตไปแล้ว

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นพบกันเพื่อไม่พบ ถ้าไม่อย่างงั้นเราจะติดข้อง จะติดข้องเพราะไม่มีคำที่ให้รู้ความจริง ว่าแท้ที่จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลยสักอย่างเดียว นอกจากสิ่งที่มีปัจจัยเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ให้มีความเข้าใจที่มั่นคง จะถึงเมื่อไหร่ ปรากฏจริงเมื่อไหร่ แล้วแต่ปัญญา ไม่มีความหวัง ไม่มีความต้องการ ที่จะไปทำอย่างอื่น เพราะว่าอย่างอื่น ถึงแม้ว่าจะเกิดดับไปต่อหน้าต่อตา ไฟฟ้าดับก็ไม่เห็นเข้าใจอะไรเลย จะไปนั่งพยายามทำให้สิ่งที่ปรากฏดับไป ไม่รู้เรื่อง ก็ยังเป็นความไม่รู้อยู่นั่นเอง เพราะฉะนั้นนั่นไม่ใช่หนทาง หนทางคือรู้จริงๆ ว่าจิต ธาตุรู้ทุกคนมี ๑ เกิดขึ้น และก็ดับอยู่ตลอดเวลา ดับไป การดับไปของจิตขณะก่อน เป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิดได้ ถ้าจิตนั้นยังไม่ดับ ไม่มีทางที่จิตอื่นจะเกิดได้เลย เพราะฉะนั้นจิตนั้นต้องดับไปก่อน และการดับของจิตนั่นแหละ เป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิดขึ้น ดับแล้วไม่กลับมาอีก เราอยู่ไหน ถ้าไม่มีจิตไม่มีเจตสิกไม่มีสภาพรู้เกิดขึ้นก็ไม่มีเรา เพราะฉะนั้นวันนี้อาจจะฟังเยอะไม่เข้าใจเลย หรือเข้าใจนิดหน่อยไม่เป็นไรเลย ต่อไปฟังอีกทีละคำสองคำ จะค่อยๆ เข้าใจขึ้นแน่นอน

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 187
    15 ก.พ. 2568

    ซีดีแนะนำ