ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1205
ปกิณณกธรรม ตอนที่ ๑๒๐๕
สนทนาธรรม ที่ บ้านธัมมะ ลำพูน
วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑
ท่านอาจารย์ เพราะว่าขณะฟังรู้เรื่องเข้าใจ แต่ยังไม่ถึงขณะที่กำลังเข้าใจลักษณะของธาตุรู้ ได้ยินแต่ว่ามีธาตุรู้ แล้วต้องรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดขึ้น และก็ดับไปเร็วมากเป็นธรรมดา แต่ว่าสภาพธรรมที่เกิดเป็นธาตุรู้ และมีทั้งจิต และเจตสิกซึ่งอาศัยกัน และกันเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นจิตหนึ่ง เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้ง ยังไม่ต้องพูดถึงเจตสิกแต่สิ่งที่ปรากฏเพราะจิต ถูกต้องไหม เพราะเหตุว่ามีสิ่งที่จิตกำลังรู้แจ้ง เพราะฉะนั้นเราจะเห็นดอกไม้สีขาว กลีบเล็กกลีบใหญ่พวกนี้ เพราะจิตเกิดขึ้นรู้แจ้งสิ่งที่ปรากฏ แต่เราจะไม่รู้เลยว่าความจริง จิตเกิดดับสืบต่อเร็วสุดที่จะประมาณได้ จนกระทั่งสิ่งที่ปรากฏไม่ได้ปรากฏเพียงเฉพาะ ๑ ๑ ๑ ที่จิตเกิดขึ้นรู้ แต่ปรากฏเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดรวมกันเป็นคน รวมกันเป็นโต๊ะ รวมกันเป็นถ้วยแก้ว สิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตามเหมือนเที่ยงไม่ปรากฏการเกิดดับเลย เพราะฉะนั้นขั้นฟังเข้าใจ ปัญญาที่เกิดเข้าใจเพราะสติ สภาพธรรมที่เป็นเจตสิกฝ่ายดี เพราะว่าเจตสิกที่เป็นปัจจัยปรุงแต่งให้จิตเกิด มีทั้งที่เป็นเจตสิกที่เกิดกับกุศลก็ได้อกุศลก็ได้ แต่ต้องทำหน้าที่ของตนของตน เป็นปัจจัยให้จิตเกิดขึ้น เช่นเห็นต้องมีผัสสเจตสิก เพราะฉะนั้น ผัสสเจตสิกเกิดกับจิตทุกขณะทุกประเภทไม่เว้นเลย เพราะฉะนั้นผัสสะเกิดกับจิตที่เป็นกุศลก็ได้ เกิดกับจิตที่เป็นอกุศลก็ได้ เกิดกับจิตที่ไม่ใช่กุศลอกุศลก็ได้ เพราะมี ๓ คำ ประมวลธรรมลงไปทรงประมวลได้หลายประเภท เช่นประมวลด้วยความเป็น ๑ เป็นธาตุทั้งหมด ธาตุ แล้วก็สิ่งที่มีจริงที่เป็นธรรมที่เป็นธาตุ และมี ๒ อย่างใช้คำว่า นามธรรม สำหรับสภาพรู้ และ รูปธรรม สภาพไม่รู้ ใช้คำว่า ธาตุ ก็ได้ นามธาตุรูปธาตุก็ได้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่มีจริงแต่ละ ๑ จะเกิดมีไม่ได้ถ้าไม่อาศัยกัน และกันเกิดขึ้น ผัสสเจตสิกไม่ใช่การกระทบของสิ่งที่ไม่รู้ ดอกไม้วางอยู่บนโต๊ะ โต๊ะไม่รู้ว่ามีดอกไม้วางอยู่ ดอกไม้ก็ไม่รู้ว่าเป็นดอกไม้ หรืออะไรทั้งสิ้นเพราะทั้งหมดไม่ใช่สภาพรู้ แต่ธาตุรู้ที่จะเกิดได้ ทำไมจึงเห็น ทำไมจึงได้ยิน ทำไมจึงได้กลิ่น บังคับได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ เพราะผัสสเจตสิกเจตสิก ๑ ซึ่งทำกิจกระทบอารมณ์ คือสิ่งที่จิตรู้ ไม่ว่าจิตรู้อะไรทั้งสิ้นต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ ซึ่งเป็นอารมณ์ และอารมณ์จะเป็นอะไร เพราะผัสสะกระทบอารมณ์นั้น จิตนั้นจึงเกิดขึ้นรู้เฉพาะสิ่งที่ผัสสะกระทบ ค่อยๆ แสดงความเป็นอนัตตาละเอียดขึ้น นี่คือขั้นการฟัง เพื่อที่จะให้รู้ว่าไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นขณะนี้เห็นไม่ต้องไปนั่งคิดว่าเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย หรืออะไรทั้งสิ้น เพียงแค่เป็นธาตุรู้ซึ่งต่างกับสิ่งที่ปรากฏ ขั้นฟังเข้าใจได้ แต่ขั้นรู้จริงๆ ต้องรู้ทีละ ๑ ในความเป็นธาตุรู้ กับในการเป็นสิ่งที่ปรากฏซึ่งไม่รู้อะไร ยังไม่เกิดก็ไม่เป็นไร แต่เมื่อมีความเข้าใจเพิ่มขึ้น สิ่งที่เคยไม่รู้ความจริงของสิ่งนั้นปรากฏ เมื่อปัญญาสามารถรู้ได้ เพราะฉะนั้นปัญญามีหลายขั้น ปัญญาขั้นฟังยังไม่สามารถจะรู้ได้ แต่เริ่มเข้าใจ จะรู้เมื่อไหร่แสดงความเป็นอนัตตาว่าไม่ใช่จะไปบังคับกฎเกณฑ์ได้ เพราะว่าจะปรากฏกับปัญญาที่สามารถรู้ได้ สามารถรู้ได้ขั้นแรก คือรู้ความเป็นธาตุ ความเป็นธาตุรู้ ต่างกับรูปธาตุ ฟังไป เห็นไปได้ยินไป ฟังไป เข้าใจไปก็ธาตุรู้ทำหน้าที่ทั้งจิต และเจตสิก แม้เดี๋ยวนี้จิตเจตสิกก็เกิดขึ้นทำกิจการงานไม่มีใครรู้จิต ไม่มีใครรู้เจตสิก มีแต่การรู้เรื่องราวของนิมิตที่ปรากฏ ให้เห็นเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เพราะฉะนั้นสภาพธรรมที่เกิดดับสืบต่ออย่างเร็วมาก พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ใช้คำว่า รูปนิมิต ให้รู้ว่าโลกเป็นโลกของนิมิต เพราะว่าเพียง ๑ ขณะที่เกิดแล้วดับไม่ประจักษ์แจ้ง จึงเกิดดับสืบต่อรวมเป็นนิมิต สิ่งหนึ่งสิ่งใดให้ปรากฏ เดี๋ยวนี้เขาเป็นโลกของนิมิต
ถ้ายังมีอีกคำหนึ่งคือ บัญญัตติ หมายความว่ารู้ได้โดยอาการนั้นๆ รู้ต้องเป็นสภาพรู้ เพราะฉะนั้นจิตซึ่งเกิดดับสืบต่อ ก็มีกิจการงานหน้าที่ต่างๆ กันสืบต่อกัน จนกระทั่งจากเห็นมาเป็นขณะที่รู้ว่าสิ่งนั้นเป็นอะไร ไม่ใช่จิต ๑ ขณะ จิตเห็นก็จะมีจิตที่เกิดสืบต่อจากจิตเห็นที่ดับไปแล้ว ค่อยๆ รู้จนกระทั่งถึงขณะที่รู้ว่าเป็นอะไร มีจิตเกิดคั่นมากมาย รวมทั้งการชอบไม่ชอบ อกุศลที่เกิดขึ้นอย่างบางอย่างละเอียดอย่างที่ไม่มีใครหยุดยั้งได้ นี่คือฟังมีสติเกิดร่วมด้วยในขณะที่เข้าใจ โดยลักษณะของสติก็ไม่ได้ปรากฏ แต่ความเข้าใจก็เริ่มเข้าใจ แต่ความเข้าใจก็ไม่ได้ปรากฏว่าเป็นธาตุรู้ ยังคงเป็นเราไปตลอด แต่ความเป็นเรา จะค่อยๆ น้อยลง จากฟังเข้าใจถ้าฟังไม่เข้าใจ ปฏิบัติผิดไปทำอะไรอะไรก็ตามแต่ ก็ไม่มีทางที่จะประจักษ์แจ้งโดยความเป็นอนัตตา เพราะว่าต้องละความเป็นเรา ไม่ใช่มีความเป็นเรา ไปพยายามทำให้ปรากฏ ด้วยเหตุนี้สติ และปัญญามีหลายระดับขั้น ขั้นที่ได้ยินคำว่าธาตุรู้ เข้าใจได้ แต่จะเข้าใจระดับขั้นจำ หรือว่าระดับขั้นที่รู้ความต่างว่า ธาตุรู้นี่รู้ แต่สิ่งที่ปรากฏไม่ว่าจะเป็นรูปใดๆ ทั้งสิ้น ไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลย แต่สิ่งเหล่านั้นยังไม่ปรากฏทีละ ๑ เพราะฉะนั้นถ้าจะรู้จริงๆ ไม่ใช่รู้หลายๆ อย่างพร้อมกัน มีหลายๆ อย่างรวมกัน จะไปรู้จริงแต่ละ ๑ ได้อย่างไร
ด้วยเหตุนี้อาศัยการฟังเริ่มเข้าใจเห็น หรือยังไม่เคยเริ่มเลย เห็นมั้ย นี่แสดงความต่างระดับของสติ เพราะฉะนั้นสติขั้นฟังไม่ใช่สติปัฏฐาน ไม่ใช่สติสัมปชัญญะ เพราะเหตุว่าจากการฟัง ทำให้มีการรู้ตรงลักษณะ อย่างแข็งก็เป็นแข็งปัญญาระดับไหนก็รู้แข็ง ปัญญาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็รู้แข็ง ปัญญาของคนที่เพิ่งเริ่มฟังก็รู้แข็ง แต่ต่างกันมาก และคนที่ไม่มีปัญญาเลยก็รู้แข็ง เพราะฉะนั้นธาตุแข็งซึ่งจะปรากฏโดยความเป็นธาตุ ไม่ใช่โต๊ะ ไม่ใช่เก้าอี้ ต้องปรากฏกับปัญญาที่สามารถเข้าใจ เพราะถึงระดับที่ฟังแล้วมีการไตร่ตรอง มีความเข้าใจ จนกระทั่งสภาพแข็งปรากฏกับปัญญาที่เกิดเข้าใจพร้อมสติทันที ในขณะนั้นด้วยความเป็นอนัตตา เพราะฉะนั้นหนทางของธรรมที่ถูกต้อง ก็คือหนทางของความเข้าใจความเป็นอนัตตาโดยตลอด ถ้ามีความเข้าใจหรือการกระทำใดๆ ที่แทรกด้วยอัตตา เป็นเราทำ เราจงใจเราอยาก เราต้องการ ถ้าปัญญาไม่เกิดไม่มีทางรู้ว่าไม่ใช่เรา พอปัญญาเกิดเพราะฟังมากขึ้นมากขึ้น สามารถที่จะรู้ได้ขณะนั้น ไม่ใช่เราโดยขั้นคิด หรือโดยขั้นที่กำลังเกิดเข้าใจ กำลังเกิดเข้าใจ เห็นไหมไม่มีใครบังคับ แต่ปัญญากำลังเกิดเข้าใจสิ่งที่ปรากฏตรงตามที่ได้ฟัง ต่างขั้นไหม แม้สติ และปัญญา ด้วยเหตุนี้สามารถเข้าใจสติปัฎฐานสติสัมปชัญญะเมื่อเกิดขึ้น ถ้ายังไม่เกิดจะเข้าใจได้ไหม ไม่มีทางเข้าใจได้
เพราะฉะนั้นปัญญาต่างหาก ที่สามารถที่จะเข้าใจถูกต้อง อย่างละเอียด ตามลำดับขั้นปัญญารู้ และเข้าใจได้ทุกอย่าง ในขณะที่จิตเป็นใหญ่เป็นประธาน ในการรู้แจ้งทุกอย่าง แต่ปัญญาเข้าใจทุกอย่างตามความเป็นจริง ด้วยเหตุนี้ธาตุรู้ ญาธาตุในภาษาบาลี จึงมีคำว่า สัญญา วิญญาณ วิญญาณะ และปัญญาต่างกัน ถ้าสัญญาก็เป็นความจำ อย่างที่กล่าวมาสักครู่ ที่บอกว่าจำได้ว่านี้ใครคุณจิราภรณ์ ก่อนนั้นไม่รู้เลยชื่อนี้ใช่ไหมเดี๋ยวไม่ได้จำชื่อนี้เลย เพราะวิญญาณรู้แจ้ง วิญญาณขาดไม่ได้เลย เป็นใหญ่เป็นประธาน เพราะฉะนั้นจิตเป็นใหญ่เป็นประธาน และก็มีเจตสิกซึ่งเกิดร่วมด้วย ต่างเป็นใหญ่ในกิจ ในลักษณะในความเป็นธาตุ ของแต่ละธาตุ เช่น จิตเป็นใหญ่ในการรู้แจ้ง เป็นมนินทรีย์คำที่ใช้เรียกชื่อจิตเนี่ยมีหลายคำ จิตก็ได้ มนะก็ได้ มโนก็ได้ หทยก็ได้ ปัณฑระก็ได้ มีความหมายแต่ละอย่าง อย่างปัณฑระ จิตไม่ใช่เจตสิก เพราะฉะนั้น จิตไม่ดีไม่ชั่ว จิตเพียงรู้แจ้ง ใครจะแย่งหน้าที่จิตไม่ได้เลย เจตสิกใดๆ ก็จะมารู้แจ้งอย่างจิตไม่ได้ แต่จิตกำลังรู้แจ้งสิ่งที่กำลังปรากฏ และเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยแต่ละ ๑ ก็กระทำกิจของตน สลับกันไม่ได้ แยกหน้าที่กันไม่ได้ จำเกิดขึ้นจำเท่านั้น ไม่สามารถที่จะเข้าใจถูกเห็นถูกในสิ่งที่ปรากฏได้ เพราะฉะนั้นแต่ละ ๑ ไม่ใช่เรา ด้วยเหตุนี้การฟัง และมีความเข้าใจที่ถูกต้อง ก็สามารถที่จะรู้ความต่างของปัญญา เพราะฉะนั้นความต่างของสติสัมปชัญญะก็คือว่า ไม่ใช่สติขั้นฟัง แต่กำลังเข้าใจถึงเฉพาะ สิ่งหนึ่งที่กำลังปรากฏแจ่มแจ้งไหม ยัง
ผู้ฟัง ยังไม่แจ่มแจ้ง
ท่านอาจารย์ เข้าใจแจ่มแจ้งจึงเป็นปัจจัย ให้สติสัมปชัญญะเกิด เพราะฉะนั้นปริยัตติ การฟังเข้าใจความรู้ขั้นฟัง มั่นคงรอบรู้ ไม่เปลี่ยนแปลง ถึงความเป็นสัจจญาณ ปัญญาที่รู้ความจริง ว่าความจริงต้องเป็นอย่างนี้ ต้องเป็นอนัตตา จะไปทำผิดจะไปเดินย่องย่อง จงกรมอะไรๆ อย่างนั้น ไม่ใช่ปัญญา แต่ปัญญาสามารถเข้าใจถูกในทุกสิ่งโดยความเป็นจริงที่ไม่ต้องไปทำอะไร เพราะเกิดแล้วเป็นอย่างนั้นอย่างนั้น ด้วยเหตุนี้ สติสัมปชัญญะซึ่งเป็นสติปัฏฐาน ปัฏฐานหมายความถึงที่ตั้งของการที่จะเข้าใจถูกต้องขึ้น หมายความว่าที่ตั้งของปัญญา ที่จะค่อยๆ เจริญขึ้น ถ้าเราใช้ภาษาไทยก็คือว่าที่ตั้งของความเข้าใจ ที่จะเข้าใจสิ่งนั้นเพิ่มขึ้น จึงสามารถที่จะประจักษ์ความจริง เมื่อถึงระดับของปัญญา ที่สามารถเข้าใจ สภาพธรรมตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้นสิ่งที่มีตามปกติ ถูกปิดบังหุ้มห่อไว้มิดชิด มืดสนิท หนาแน่นดำมืดในสังสารวัฎฏ์ เห็นความน่าอัศจรรย์ของคำที่เกิดจากการตรัสรู้ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เห็นความน่าอัศจรรย์ของปัญญา คำนั้นสามารถทำให้สิ่งที่ไม่รู้ค่อยๆ ลดน้อยลง เพราะความเข้าใจคำที่พระองค์ตรัส จนกระทั่งถึง ปฏิปัตติ ซึ่งเป็น กิจจญาณ ปัญญาที่ได้เข้าใจความจริงอย่างมั่นคง ถ่องแท้ รอบรู้จะไม่นำไปสู่หนทางผิดเลย ก็จะนำมาสู่การเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม อย่างนี้ตามปกติตามที่ได้ฟังเป็นกิจจญาณ และเป็นปฏิปัตติ ถึงเฉพาะด้วยปัญญา ที่กระทำกิจ เข้าใจสิ่งที่สติกำลังถึงเฉพาะ ที่สิ่งที่สติกำลังถึงเฉพาะ เช่นแข็งเป็นต้น เป็นปัฏฐานะ เป็นที่ตั้งของสติ ที่ปัญญาจะค่อยๆ เข้าใจสิ่งนั้นขึ้น ถ้าขณะนั้นกำลังรู้ลักษณะของสภาพจำ ยากไหม แต่ว่าปัญญารู้ได้ทุกอย่าง
เพราะฉะนั้นเมื่อไหร่ สติเข้าใจลักษณะของสภาพจำ สภาพจำเป็นปัฏฐานะ ที่ตั้งของสติที่ระลึก และปัญญาจะค่อยๆ เข้าใจขึ้น เพราะฉะนั้นสติมีหน้าที่ระลึกรู้ ไม่ใช่ระลึกเฉยๆ แต่ระลึกรู้ และแต่ไม่ได้เข้าใจ เพียงแต่รู้ด้วยการระลึกในสิ่งที่มีถูกต้อง ไม่ใช่ระลึกผิด ไม่ใช่ระลึกว่าเป็นคน เป็นสัตว์ แต่ระลึกในฐานะในลักษณะ ตามความเป็นจริงสิ่งนั้น และปัญญาที่เกิดพร้อมกัน ค่อยๆ รู้ ลองคิดดูความหมาย ทีละ ๑ หมายความว่าไง เดี๋ยวนี้มีตั้งหลายอย่าง เลือกได้ไหม ให้รู้อะไรทีละ ๑ ไม่มีทาง เพราะฉะนั้นจึงเข้าใจในความเป็นอนัตตาว่าสติเกิด เหมือนกับได้ยินเกิด เหมือนกับเห็นเกิด แต่นั่นสติเกิด เพราะปัญญาขณะนั้นกำลังถึงเฉพาะ สิ่งที่สติระลึกเพื่อรู้ความจริง จึงรู้ว่าไม่ต้องใช้ชื่อว่าสติปัฎฐาน ไม่ต้องใช้ชื่อสติสัมปชัญญะ ก็เป็นสติปัฎฐาน ก็เป็นสติสัมปชัญญะ ตรงกันข้ามกับคนที่ใช้คำว่าสติสัมปชัญญะ แต่ไม่รู้เป็นตัวตน ที่ไปเลือกไปทำ โดยที่ไม่รู้เลยว่าหน้าที่ของสติคืออย่างไร และขณะนั้นเป็นสติไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นความเป็นอนัตตาจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นถึงระดับของสติปัฎฐานเป็น กิจจญาณ ยังไม่ถึง ปฏิเวธ สภาพธรรมปรากฏอย่างที่ได้ฟังทุกคำ ยังไม่ถึง กตญาณ ได้รู้แล้ว เพราะฉะนั้นฟังไม่เข้าใจแล้วบ้าง แต่ว่าไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นความไม่ใช่เราต้องมั่นคงขึ้นเรื่อยๆ แต่ไม่ใช่เราแบบแก้ตัว อะไรอะไรก็เป็นอนัตตานั่นคือไม่ถูกต้อง คนนั้นเองจะรู้ว่าเขาไม่รู้สักหน่อยแต่เขาก็ได้ยินคำนี้มา เพราะฉะนั้นเวลาเขาทำผิด เวลาเขาโกรธเขาบอกว่าอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ แต่เป็นตัวเขาต่างหากไม่ใช่อนัตตา เพราะฉะนั้นการฟังธรรม จึงเป็นเรื่องที่ละเอียด แม้แต่แต่ละคำ รอบรู้ บริบูรณ์ ครบถ้วน ในความหมายของคำนั้น เช่นนามธรรมหรือนามธาตุ จะเป็นรูปธรรมไม่ได้ เพราะฉะนั้นคนที่เพียงฟัง และยังไม่ไตร่ตรองก็ตอบไม่ได้ หิวเนี่ยเป็นนามธรรมหรือรูปธรรม
ผู้ฟัง เป็นนามธรรม
ท่านอาจารย์ คนที่รู้เห็นไหม ตอบไม่ผิด รูปจะหิวได้ยังไง ใช่ไหม รูปไม่รู้อะไร แต่หิวเป็นธรรม เป็นธรรมอะไรอีก จิตหรือเจตสิก
ผู้ฟัง เป็นเจตสิก
ท่านอาจารย์ เห็นไหม ต้องเข้าใจเป็นเจตสิกอะไร เห็นไหม ถ้าฟังแล้วจะตอบได้
ผู้ฟัง เป็นเวทนา
ท่านอาจารย์ ไม่ต้องชื่อเวทนา ก็รู้ว่าเป็นความรู้สึกใช่ไหม หิว เพราะฉะนั้นเราจะเข้าใจธรรมในภาษาของเรา แต่พอได้ยินชื่อเวทนาเจตสิก เป็นสภาพรู้สึก เรารู้ได้เลยว่าความรู้สึกในภาษาไทยนี่แหละ ดีใจหรือเสียใจ ทางใจ สุขหรือทุกข์หรือว่าไม่สุขไม่ทุกข์ มีความรู้สึก ๕ อย่าง เกิดกับจิตประเภทใดบ้าง ก็แสดงให้เห็นว่ายิ่งเข้าใจธรรมก็ค่อยๆ เข้าใจความบริบูรณ์ของธรรม จนกว่าจะเป็นสติสัมปชัญญะ ซึ่งเป็นสติปัฎฐาน โดยค่อยๆ เข้าใจความต่างก่อนว่า ขณะไหนเป็นสติปัฎฐาน ขณะไหนไม่ใช่สติปัฏฐานเป็นปกติ เกิดนานไหมสติปัฎฐาน
ผู้ฟัง ไม่ แล้วแต่เหตุผล
ท่านอาจารย์ เพียงแค่นิดเดียว
ผู้ฟัง เหมือนแค่ปลายเข็ม
ท่านอาจารย์ แต่ความต่างปัญญารู้ได้ เพราะฉะนั้นไม่ใช่เพียงแค่การฟัง เพราะฉะนั้นถ้ามีความหวัง อยากให้สติเกิดบ่อย ห้ามได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ แต่ปัญญาสามารถรู้ได้ว่านั่นคือหวัง
ผู้ฟัง ก็เป็นธรรม
ท่านอาจารย์ มิฉะนั้นละหวังไม่ได้ แต่ไม่ใช่ไปห้ามหวัง แต่รู้หวังว่าเป็นธรรม เพราะฉะนั้นต้องน้อมไปสู่ความเป็นอนัตตา ความเป็นธรรม จนกว่าจะถึงที่สุดที่ประจักษ์แจ้ง เป็นวิปัสสนาญาณตามลำดับขั้น เพราะฉะนั้นวิปัสสนาญาณ ไม่ใช่อะไรที่ไม่รู้ เกิดๆ ดับๆ แต่เป็นปัญญาที่เจริญจากการฟัง และการอบรม และการสามารถเข้าถึงลักษณะที่เป็นธรรมทีละ ๑ จนสภาพธรรมนั้นปรากฏกับปัญญา ที่สามารถเข้าใจได้ เพราะฉะนั้นจึงมีวิปัสสนาญาณหลายระดับขั้น สภาพธรรมก็เป็นสภาพธรรมอย่างนี้แหละ เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้ ใครที่อบรมมาแล้ว สามารถที่จะประจักษ์แจ้ง ลักษณะของสภาพธรรมได้ไหม
ผู้ฟัง ได้ครับ
ท่านอาจารย์ ได้ เหมือนบุคคลในครั้งพุทธกาล แต่ว่าในครั้ง ๒๕๐๐ กว่าปี แม้แต่การจะฟังให้เข้าใจ เพื่อละความไม่รู้ ก็ยังยาก ก็ไม่ต้องไปคิดถึงใช่ไหม แต่ให้รู้ว่าเป็นไปได้ทุกเมื่อ เมื่อมีปัจจัยพร้อมสมบูรณ์ที่จะเกิดขึ้น ยับยั้งไม่ให้เกิดก็ไม่ได้ อย่างท่านพระสารีบุตร ท่านก็ไม่รู้ว่าท่านจะพบท่านพระอัสสชิ ตอนที่ท่านเป็นอุปติสสะมานพ ใช่ไหม ไม่รู้ด้วยว่าจะได้ฟังคำอะไร ไม่รู้ด้วยว่าปัญญาระดับไหนจะเกิด จนถึงความเป็นพระโสดาบัน พร้อมแล้วต้องเกิด เหมือนได้ยินพร้อมแล้วต้องได้ยิน ไปยับยั้งไม่ให้ได้ยินเกิดก็ไม่มีทางที่จะเป็นไปได้ นี่คือผู้ที่มั่นคงในความเป็นอนัตตาไม่ใช่เรา แล้วจะรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อเมื่อ เห็นธรรม หรือเข้าใจธรรมถูกต้อง
ผู้ฟัง สิ่งที่ท่านอาจารย์ที่กล่าวมาแล้ว ถ้าสติปัญญาเข้าใจแล้ว ก็ต้องมีการฟังที่บริบูรณ์ การได้ยินที่บริบูรณ์
ท่านอาจารย์ บริบูรณ์คือมั่นคงก่อน อย่างธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา มั่นคงไหม ถ้ามีสำนักปฏิบัติ
ผู้ฟัง ผิด
ท่านอาจารย์ นี่ก็คือไม่มั่นคง ทำลายคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย และการพูดเพื่อประโยชน์ ให้คนได้เข้าใจถูกต้อง ตามความเป็นจริง เพื่อดำรงคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ให้ลบเลือน เพื่อโทษจะได้ไม่เกิดกับคนที่เข้าใจผิด การสนทนาธรรมเป็นมงคล นำมาซึ่งความเจริญในความเข้าใจถูกต้อง ซึ่งสามารถที่จะทำให้ชีวิต เจริญในทางกุศลเพิ่มขึ้น มิฉะนั้นแล้วก็จมอยู่ในอกุศล ลึกลงไปทุกวัน สังสารวัฏฏ์ยาวนาน เกิดมาแล้วนานเท่าไหร่ และยังจะต้องต่อไปอีกนานเท่าไหร่ เหมือนกับที่เปรียบไว้ในอรรถสาลินี คนก่ออิฐกับคนรื้ออิฐ ก็กิเลสไปเรื่อยๆ แล้วค่อยๆ รื้ออิฐออกไปทีละเล็กทีละน้อย ถ้ายิ่งเข้าใจ โดยวิถีจิต วิถีจิต หมายความว่าจิตซึ่งเกิดขึ้น รู้สิ่งที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ใช้คำว่าวิถีจิต หมายความว่าไม่ใช่ภวังคจิต ภวังคจิตคือจิตซึ่งไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ไม่คิดนึก เพราะฉะนั้นเราสามารถที่จะรู้จัก ภวังคจิตขณะที่หลับสนิท ไม่มีอะไรปรากฏเลย กำลังหลับชื่ออะไร ครอบครัวมีไหม ทรัพย์สมบัติอะไรต่ออะไร เพื่อนฝูง มิตรสหาย งานการทั้งหมดไม่มีเลย เพราะไม่ใช่อารมณ์ของโลกนี้ โลกนี้ไม่ได้ปรากฏเลย เป็นอารมณ์เดียวกับจิตที่ทำกิจปฏิสนธิ สืบต่อมาจากจุติจิตของชาติก่อน แสดงให้เห็นว่าการเกิดดับของจิตไม่มีใครไปยับยั้งได้เลย เพราะเป็นธาตุที่จะต้องเป็นอย่างนี้ เกิดอย่างนี้ ดับอย่างนี้ สืบต่ออย่างนี้ สะสมอย่างนี้เป็นแต่ละ ๑ แต่ละ ๑ ซึ่งมี เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ไม่ให้มีไม่ได้ เกิดมาในสังสารวัฏฏ์ ด้วยความไม่รู้ ต่อไปอีกนานเท่าไรก็ไม่รู้ จนกว่าจะได้ค่อยๆ เข้าใจขึ้น เพราะฉะนั้นก็แสดงให้เห็นว่า ขณะที่นอนหลับสนิทมีจิต แต่ไม่ใช่จิตเห็น แสดงว่าจิตเห็นต้องเป็น ๑ ไม่ใช่จิตได้ยิน จิตได้ยินก็เป็นอีก ๑ เพราะฉะนั้นทรงประมวลจิตซึ่งเกิดเพราะปัจจัย ดับแล้วไม่กลับมาอีกเลยในสังสารวัฎฏ์ มากมายประมาณไม่ได้เลย แต่ก็จำแนกเป็นประเภทใหญ่ๆ โดยเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย จิตทั้งหมดมี ๘๙ ประเภท เราไม่ต้องเข้าใจไปให้หมดทีเดียว แค่เข้าใจว่าจิตไม่ใช่เรา ก็จะนำไปสู่ความเข้าใจ เวลาที่อ่านหรือได้ฟังธรรม ได้ยินคำที่ละเอียดกล่าวถึงจิตประเภทต่างๆ ก็สามารถที่จะเข้าใจได้ แต่ต้องเข้าใจว่าจิตมี เดี๋ยวนี้กำลังมีด้วย เกิดด้วยดับด้วย ทำกิจการงานอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่ที่อื่น เห็นความต่างกันของระดับความเข้าใจ จากการฟัง กับการที่จะรู้จริงๆ ตามที่ได้เข้าใจ ในสิ่งที่กำลังปรากฏ เป็นอีกขั้นหนึ่ง และยังขั้นประจักษ์แจ้งรู้แล้วตามที่ได้ฟัง เพราะสภาพธรรมปรากฏ เพราะฉะนั้นจะมีคำว่า มีชีวิตอยู่เพื่อปัญญาปรากฏ ยังไงล่ะ ฟังแล้ว มีชีวิตอยู่เพื่อปัญญาปรากฏยังไง
ผู้ฟัง เพื่อเข้าใจ
ท่านอาจารย์ หมายความว่าเป็นปกติใช่ไหม ไม่ใช่ผิดปกติ ถ้าผิดปกติปัญญาจะปรากฏไหม ไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้นนอกจากเป็นปกติแล้ว ก็ยังรู้ด้วยว่าขณะที่เป็นปกติ แล้วมีความเข้าใจธรรมเพิ่มขึ้นต่างหาก ตรงที่เข้าใจตรงนั้นเท่านั้น ที่จะค่อยๆ เพิ่มขึ้น
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1201
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1202
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1203
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1204
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1205
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1206
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1207
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1208
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1209
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1210
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1211
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1212
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1213
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1214
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1215
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1216
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1217
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1218
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1219
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1220
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1221
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1222
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1223
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1224
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1225
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1226
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1227
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1228
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1229
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1230
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1231
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1232
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1233
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1234
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1235
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1236
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1237
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1238
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1239
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1240
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1241
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1242
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1243
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1244
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1245
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1246
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1247
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1248
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1249
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1250
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1251
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1252
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1253
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1254
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1255
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1256
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1257
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1258
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1259
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1260