ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1251


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ปกิณณกธรรม ตอนที่ ๑๒๕๑

    สนทนาธรรม ที่ บ้านคุณสมบูรณ์ ผดุงไทยธรรม หนองมน จ.ชลบุรี

    วันที่ ๑๑ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๑


    ท่านอาจารย์ ลองกล่าวถึงธรรมบ้างสิ ว่าอะไรเดี๋ยวนี้ที่เข้าใจจริงๆ ว่าเป็นธรรม

    ผู้ฟัง เห็นจริง

    ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้กำลังเห็นใช่ไหม

    ผู้ฟัง เห็นจริง

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเห็นเดี๋ยวนี้เป็นธรรม

    ผู้ฟัง เป็นธรรม

    ท่านอาจารย์ เป็นคุณประสงค์หรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่ใช่ผม

    ท่านอาจารย์ เป็นเห็นของคุณประสงค์หรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่ใช่ครับ เป็นเห็นของธาตุรู้

    ท่านอาจารย์ เป็นเห็นของธาตุรู้ หรือว่าเห็นเป็นธาตุรู้ ไม่เป็นของใคร

    ผู้ฟัง เห็นเป็นธาตุรู้ ไม่เป็นของใคร

    ท่านอาจารย์ ต้องละเอียดเห็นไหม แม้แต่การที่จะเข้าใจว่าเห็น แต่ก่อนนี้เคยเป็นเราเห็น หรือว่าเป็นของเรา ก็คือเห็นไม่ใช่เรา และก็ไม่ใช่ของเราด้วย คุณประสงค์ทำให้เห็นเกิดขึ้นได้ไหม

    ผู้ฟัง ทำให้เห็นเกิดขึ้นไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ทำให้แข็งเกิดขึ้นได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ทำให้หวานเกิดขึ้นได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ทำให้โกรธเกิดขึ้นได้ไหม

    ผู้ฟัง เกิดขึ้นไม่ได้

    ท่านอาจารย์ แล้วเวลาโกรธแล้ว เป็นคุณประสงค์หรือเปล่า

    ผู้ฟัง เวลาโกรธไม่ใช่คุณประสงค์ เป็นธาตุรู้

    ท่านอาจารย์ เป็นธาตุรู้ เป็นธรรม

    ผู้ฟัง เป็นธรรม

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นสภาพธรรมที่มีจริง ไม่ว่าจะที่ไหนในสากลจักรวาลทั้งหมดที่ใดใดก็ตาม ต้องเป็น ๑ คือเกิดเป็นสภาพธรรม ที่เป็นลักษณะอย่างนั้นไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลย ประเภท ๑ และอีกประเภท ๑ ก็คือว่าเกิดแล้วต้องรู้ ไม่มีรูปร่าง ไม่มีกลิ่น ไม่มีรสอะไรเลย แต่เกิดแล้วรู้สิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้นขณะนี้ที่เห็นเป็นธรรมประเภทไหน

    ผู้ฟัง เป็นธาตุรู้ที่เห็น

    ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้ที่เห็นเริ่มรู้แล้วนะ ในขณะที่เห็นนี่คือการศึกษาธรรม นี้คือการเข้าใจธรรม คือรู้ว่าอะไรเป็นธรรมเมื่อไหร่ ก็เดี๋ยวนี้ที่เห็นนั่นแหละเป็นธรรม เพราะฉะนั้นขณะนี้คุณประสงค์เห็นไหม

    ผู้ฟัง เห็น

    ท่านอาจารย์ ใครเห็น

    ผู้ฟัง ธาตุรู้เห็น

    ท่านอาจารย์ กำลังเห็นด้วย เดี๋ยวนี้ที่เห็นน่ะตรงเห็นเลย ได้ยินหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ได้ยิน

    ท่านอาจารย์ ได้ยินเป็นเห็นหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่เป็น

    ท่านอาจารย์ ได้ยินเป็นอะไร

    ผู้ฟัง ธาตุรู้ได้ยิน

    ท่านอาจารย์ ธาตุรู้ที่ว่าได้ยิน รู้อะไร

    ผู้ฟัง ธาตุรู้เสียง

    ท่านอาจารย์ เป็นธาตุรู้เสียง ต่อไปนี้มีคุณประสงค์ไหม

    ผู้ฟัง ต่อไปนี้ไม่มีคุณประสงค์ มีธาตุรู้ มีจิต

    ท่านอาจารย์ ตั้งแต่เกิดมามีคุณประสงค์ไหม

    ผู้ฟัง ก่อนหน้ามี เพิ่งมาไม่มี

    ท่านอาจารย์ ไม่มีคุณประสงค์ทุกกาลแต่เข้าใจผิด

    ผู้ฟัง เข้าใจผิดมานาน

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นต้องรู้ว่าเป็นธรรม แต่ก็ไม่รู้ไง เพราะฉะนั้นสัตว์โลกก็เข้าใจผิด จนกว่าจะได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ความเข้าใจผิดมีจริงๆ หรือเปล่า

    ผู้ฟัง มีจริงๆ

    ท่านอาจารย์ แล้วเป็นอะไร

    ผู้ฟัง เป็นการเห็นผิด

    ท่านอาจารย์ เป็นอะไรอีก

    ผู้ฟัง เป็นอวิชชา

    ท่านอาจารย์ การเห็นผิดกับอวิชชาไม่ใช่อย่างเดียวกัน นี่คือความละเอียด อวิชชา นั่นไม่รู้อย่างเดียว ไม่คิดอะไรทั้งนั้นแหละ ไม่เห็นอะไรทั้งนั้นแหละ ไม่รู้อย่างเดียว ไม่รู้จริงๆ นั่นคืออวิชชา ความไม่รู้เป็นความไม่รู้คือ ๑ ความเห็นผิดคือความเห็นผิด ๑ ปนกันไม่ได้ ตอนนี้จะต้องแยกละเอียดยิบ จนกระทั่งไม่มีเรา แล้วก็เป็นธรรมซึ่งเราไม่เคยรู้มาเลย ว่าแต่ละ ๑ เป็นธรรมทั้งหมดเลย แล้วก็แยกกันเป็นแต่ละ ๑ ด้วย

    ผู้ฟัง ความเห็นผิดก็คิดว่ามีเรา

    ท่านอาจารย์ แล้วตัวที่เห็นผิดนั้นเป็นอะไร

    ผู้ฟัง เป็นธรรม ที่ผิด

    ท่านอาจารย์ ธรรมคืออะไร

    ผู้ฟัง ธรรมเป็นสิ่งที่มีจริงทุกอย่าง

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง ไม่ลืมทุกคำที่พูด ไม่ว่าจะถามเมื่อไหร่ยังไง ก็ต้องเป็นความเข้าใจที่มั่นคงขึ้น เพราะฉะนั้นความเห็นผิดเป็นอะไร

    ผู้ฟัง เป็นธรรม

    ท่านอาจารย์ และเป็นอะไรอีก

    ผู้ฟัง ผมไม่ทราบ

    ท่านอาจารย์ คุณประสงค์พูดเองนานแล้วในวันนี้ เป็นธาตุรู้ใช่ไหม

    ผู้ฟัง อ๋อเป็นธาตุรู้ ใช่ ผมลืมไป

    ท่านอาจารย์ เห็นไหม เพราะฉะนั้นทำไมเราสนทนากัน เพราะลืมกันบ่อยๆ ใช่ไหม ถ้าออกไปจากห้องนี้ก็เราก็ลืมหมดเลย ไม่ได้คิดถึงอนัตตา ไม่ได้คิดถึงธาตุรู้ ไม่ได้คิดถึงอะไรเลย เป็นเราไปจนกว่าจะมั่นคงใช่ไหม ด้วยเหตุนี้จึงฟังธรรมเท่าที่มีโอกาส เพราะเห็นประโยชน์ว่า ฟังเมื่อไรก็เข้าใจเมื่อนั้น เข้าใจขึ้นมั่นคงขึ้น

    ผู้ฟัง ผมคิดว่าผมจะไม่ลืม ผมลืมไปจริงๆ

    ท่านอาจารย์ เพราะอะไร

    ผู้ฟัง เพราะบังคับบัญชาไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง แล้วลืม มีจริงไหม

    ผู้ฟัง มีจริง

    ท่านอาจารย์ เป็นอะไร

    ผู้ฟัง เป็นธรรม

    ท่านอาจารย์ เห็นไหม ประโยชน์คือมีความเข้าใจที่มั่นคง แม้แต่เราเอง ได้ยินบ่อยๆ ก็จะได้เข้าใจขึ้น โดยไม่ต้องเตรียมตัว เพราะความเป็นอนัตตา ถ้าวันหนึ่งๆ เราไม่ได้คิดถึงลักษณะที่เป็นอนัตตา ที่เป็นธรรมบ่อยๆ ก็แสดงว่าความรู้ของเรา ยังไม่มากพอ เพียงแค่รู้เมื่อฟัง แต่ว่าการที่ฟังแล้วจะลงไปถึงใจนี่น้อยมาก เพราะว่ามีสิ่งอื่นที่เข้ามาทับถม จนกระทั่งสิ่งที่เข้าใจในขณะนี้ลืม เพราะว่าสิ่งอื่นมากกว่า ด้วยเหตุนี้เราถึงต้องเข้าใจว่าลืมก็จริง ใช่ไหม เป็นธรรมด้วย เพราะจริงใช่ไหม เป็นอนัตตาด้วย บังคับบัญชาไม่ได้ แล้วเป็นอะไรอีก

    ผู้ฟัง เป็นธาตุรู้

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง เห็นไหมคุณประสงค์เข้าใจขึ้น จากการที่ได้ฟังรึเปล่า

    ผู้ฟัง เข้าใจขึ้น

    ท่านอาจารย์ ทบทวนดีไหม โลกคืออะไร

    ผู้ฟัง โลกคือธรรม

    ท่านอาจารย์ ธรรมมีหลายอย่าง แต่ความหมายของโลกคืออะไร

    ผู้ฟัง คือโลกเกิดขึ้น

    ท่านอาจารย์ โลกเป็นธรรมหรือเปล่า เพราะฉะนั้นโลกคือธรรมที่เกิดดับ

    ผู้ฟัง ที่เกิดดับ

    ท่านอาจารย์ ทุกอย่างที่เกิดดับ เนื่องกับโลกเป็นโลก คือโลกียะที่เราใช้คำว่าโลกียะหมายความว่าเป็นสภาพที่เนื่องกับโลกใช่ไหม คือเป็นสิ่งที่มีจริงแล้วก็เกิดแล้ดับสภาพที่พ้นจากการเกิดดับ คือโลกุตตระ มีไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ อะไร

    ผู้ฟัง นิพพาน

    ท่านอาจารย์ นี่แสดงว่าการฟังธรรมของเรา นิดๆ หน่อยๆ โน่นบ้างนี่บ้าง แต่ไม่ได้เป็นความเข้าใจตามลำดับจริงๆ เราจึงมีคำตอบอย่างนี้ใช่ไหม แต่ถ้าเรามีความเข้าใจชัดเจนตามลำดับ เราก็จะตอบได้ตรง และไม่มีคำว่าคงหรือน่า หรือใช่ไหม หรือถูกไหมใช่ไหม เพราะว่าขณะนั้นเป็นความเข้าใจ ด้วยเหตุนี้การฟังธรรม จึงต้องฟังทีละคำมีโลก โลกียะ กับโลกุตระ ตรงกันข้ามกัน โลกุตตระคือพ้นจากโลก คือไม่เกิดและไม่ดับ ปัจจุบันขณะนี้มีแต่เกิดดับใช่ไหม

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ ยังไม่ถึงสภาพธรรมที่พ้นจากการเกิดดับ

    ผู้ฟัง ถูกต้อง

    ท่านอาจารย์ แต่ว่าถ้าไม่มีสภาพธรรมนั้น ก็ดับกิเลสไม่ได้ เพราะสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตามที่เกิด สิ่งนั้นเป็นที่ยินดีพอใจ ถึงจะทุกข์ทรมานสักเท่าไร ก็ทนได้ใช่ไหม ยังอยากจะมีชีวิตต่อไป รักษาเนื้อรักษาตัวกันต่อไปเรื่อยๆ เพราะว่ามีความรักชีวิต มีความต้องการที่จะให้เป็นไป เพราะฉะนั้นธรรมนี่ต้องเป็นเรื่องที่เข้าใจ ไม่ใช่ไปฝืนหรือไปพยายาม ให้เป็นอย่างนั้นให้เป็นอย่างนี้ แต่มีความเข้าใจถูกต้องว่า ถ้าไม่มีความเข้าใจจริงๆ ก็ไม่สามารถที่จะทิ้ง สิ่งที่เราเคยไม่รู้และติดข้อง เพราะฉะนั้นต้องอาศัยความเข้าใจ จากที่พึ่งคือพระรัตนตรัย ไม่ใช่ให้กราบไหว้ แต่ว่าให้ฟังให้ไตร่ตรอง จนกระทั่งเป็นที่พึ่งจริงๆ ที่สามารถจะทำให้พ้นจากความไม่รู้ และความเห็นผิดได้ ด้วยเหตุนี้ทุกคำต้องชัดเจน ถ้าชัดเจนแล้วไม่ลืม ธรรมต่างกันเป็น ๒ อย่าง อย่าง ๑ เกิดเป็นจริง มีจริงมีลักษณะแต่ละอย่าง แต่ไม่รู้อะไรเป็นรูปธรรม แต่ถ้าโลกนี้มีแต่รูปธรรม อะไรก็ไม่ปรากฏเลยใช่ไหม แต่ที่ปรากฏให้รู้ว่ามีได้ ก็เพราะเหตุว่ามีธาตุรู้ คำว่าธาตุไม่คำว่าสิ่งที่เกิดเป็นธรรมนั้น ไม่มีใครสามารถที่จะเปลี่ยนลักษณะ ให้เป็นอย่างอื่นได้ เพราะฉะนั้นธรรมก็เป็นธาตุ ธาตุหมายความว่า ใครเปลี่ยนลักษณะของธรรมไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นโลภะเป็นธรรมหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็นธรรม

    ท่านอาจารย์ เป็นธาตุหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็นธาตุ

    ท่านอาจารย์ เป็นโลกหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็นโลก

    ท่านอาจารย์ พอเรามีความเข้าใจแล้ว ก็ไม่มีการที่จะหลงลืม สอดคล้องทุกคำไม่ค้านกันเลย เพราะฉะนั้นถ้ามีตัวตน ไปพยายามให้รู้ความเกิดดับของขณะนี้ได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ต้องเข้าใจแต่ละคำด้วย

    ผู้ฟัง ต้องทบทวนให้เข้าใจจริงๆ มั่นคง

    ท่านอาจารย์ ตอนนี้มีคุณประสงค์ไหม

    ผู้ฟัง ไม่มี

    ท่านอาจารย์ มีอะไร

    ผู้ฟัง มีธาตุรู้

    ท่านอาจารย์ กับ

    ผู้ฟัง จิต

    ท่านอาจารย์ กับ

    ผู้ฟัง เจตสิก

    ท่านอาจารย์ จิตเจตสิกเป็นธาตุรู้ เป็นธาตุรู้

    ผู้ฟัง แล้วก็ธรรม

    ท่านอาจารย์ ธรรมมากมาย ธรรมทุกอย่างหมดเลย

    ผู้ฟัง ธรรมทุกอย่าง

    ท่านอาจารย์ แต่เยอะจนประมาณไม่ได้ใช่ไหม ก็จำแนกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ ที่ต่างกัน จะเหมือนกันไม่ได้เลย เป็น ๒ อย่างคืออะไร ยังไม่รู้ว่า

    ผู้ฟัง รูปนาม

    ท่านอาจารย์ รูปนาม เห็นไหม แต่รูปนามที่คุณประสงค์ พูดนี่เหมือนจำไว้

    ผู้ฟัง จำไว้ ผมจำ

    ท่านอาจารย์ แต่ที่นี้ ไม่เอาจำ เอาเข้าใจว่า สิ่งที่มีจริงทุกอย่างเป็นธรรม ภาษาบาลีไม่มีคำว่าทุกอย่างที่มีจริง แต่สิ่งที่มีจริงเปลี่ยนไม่ได้ เป็นธรรมหรือเป็นธาตุ เราจะพูดภาษาอะไรก็ได้ ธาตุแข็งก็ต้องเป็นแข็ง คนจีนจับ คนลาวจับ ฝรั่งเศสจับ เวียดนามจับ แข็งเปลี่ยนไหม

    ผู้ฟัง ไม่เปลี่ยน

    ท่านอาจารย์ แข็งก็ยังคงเป็นแข็ง แข็งรู้อะไรหรือเปล่า

    ผู้ฟัง แข็งไม่รู้

    ท่านอาจารย์ แล้วแข็งมีจริงๆ ไหม

    ผู้ฟัง แข็งมีจริง

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเมื่อมีจริง ก็เป็นสิ่งที่มีจริงแน่นอน ถ้าเปลี่ยนจากคำว่ามีจริง เป็นธรรมหรือเป็นธาตุก็ได้ สองคำนี้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นรูปธรรมมีจริงแต่ไม่รู้อะไร ที่ตัวคุณประสงค์มีไหม รูปธรรม

    ผู้ฟัง ก็คือตัวผมนี่จะเป็นรูปธรรม

    ท่านอาจารย์ ตรงไหนบ้าง ที่เป็นรูปธรรม อะไรบ้างที่เป็นรูปธรรม

    ผู้ฟัง ก็แข็ง

    ท่านอาจารย์ แข็งไม่ใช่คุณประสงค์ อะไรอีก

    ผู้ฟัง แล้วก็สี

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่คุณประสงค์

    ผู้ฟัง ไม่ใช่

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ อะไรอีก

    ผู้ฟัง เป็นสี เป็นแข็ง เป็นอ่อน

    ท่านอาจารย์ เห็นไหม การศึกษาธรรม ต้องเป็นปัญญาของเราเอง มาจากไหนมาจากการฟัง เข้าใจแค่ไหน ก็ตอบตามที่เข้าใจ ถ้าเข้าใจจริงๆ ก็จะตอบได้อีกใช่ไหม ไม่ต้องถามใคร และก็ไม่ต้องฟังใครด้วย เพราะฉะนั้นตามีไหม

    ผู้ฟัง ตามี

    ท่านอาจารย์ เป็นรูปหรือเป็นนาม

    ผู้ฟัง ผมก็ยังไม่ทราบว่าเป็นรูปเป็นนาม

    ท่านอาจารย์ เห็นไหม เพราะฉะนั้นเราลืมแล้วว่า สิ่งที่มีแต่ไม่รู้อะไร ไม่สามารถจะรู้ได้เป็นรูปธรรม ตากับเห็นนี่เหมือนกันไหม

    ผู้ฟัง ตากับเห็นไม่เหมือนกัน

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเห็นรู้หรือไม่รู้

    ผู้ฟัง เห็นนี่รู้

    ท่านอาจารย์ ตารู้ไหม

    ผู้ฟัง ตาไม่รู้

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นตาเป็นรูปธรรม

    ผู้ฟัง อ๋อตานี่รูปธรรม และหู รูปธรรมอะไร

    ท่านอาจารย์ อะไรอีก

    ผู้ฟัง จมูก

    ท่านอาจารย์ ตอนนี้ชัดเจนแล้วใช่ไหม ว่าที่ตัวคุณประสงค์ที่เข้าใจว่าเป็นเรา ก็คือนามธรรมกับรูปธรรม ตาเห็นไหม

    ผู้ฟัง ตาถ้าไม่มีจิตก็ไม่เห็น

    ท่านอาจารย์ ตากับจิตไม่ใช่อย่างเดียวกัน ต้องแยกกัน ธรรมเป็นธรรม ปะปนกันไม่ได้เลย ปะปนกันตราบใด แปลว่าเราเข้าใจผิด ยังคงเป็นเราใช่ไหม เพราะฉะนั้นต้องชัดเจนว่า ตานี่ไม่เห็นหรอก

    ผู้ฟัง ตาไม่เห็น

    ท่านอาจารย์ แต่เห็นต้องอาศัยตา

    ผู้ฟัง อาศัยตา

    ท่านอาจารย์ เกิดที่ตาด้วย เรารู้หรือเปล่า ถ้าพระพุทธเจ้าไม่บอก ไม่มีทางรู้เลยว่า เห็นในเกิดที่ตา ตาไหน ตาดำ ตาขาวหรือตาอะไร

    ผู้ฟัง ทั้งลูก

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้ เห็นไหม นี่คือความไม่ละเอียด ด้วยเหตุนี้เราต้องฟังธรรมต่อไปอีก เราคิดเองไม่ได้เลย ทุกคนรู้จักตา เฉพาะตาขาวตาดำใช่ไหม แต่ตาที่มุ่งหมายที่นี่ เป็นรูปพิเศษ ไม่อ่อน ไม่แข็ง ไม่ขาว ไม่ดำ รูปพิเศษมองไม่เห็น แต่ตรงจุดนี้แหละที่เกิดขึ้น สามารถกระทบกับสิ่งที่ปรากฏทางตา กระทบแข็งไม่ได้ กระทบเสียงไม่ได้ รูปพิเศษนี้กระทบได้เฉพาะ สิ่งที่สามารถปรากฏเดี๋ยวนี้ แต่สิ่งนั้นต้องกระทบตา เพราะฉะนั้นรูปนี้เกิดขึ้นเพื่อกระทบตา เพื่อจิตเกิดขึ้นเห็น ไม่มีความเป็นตัวตนเลย เป็นธรรมทั้งหมด ที่ต้องอาศัยกันและกันเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นเพียงชั่ว ๑ ขณะจิตที่เห็น ต้องอาศัยรูปคือตากระทบกับสิ่งที่ปรากฏให้เห็นขณะนี้ ทั้ง ๒ อย่างไม่รู้อะไร แต่เป็นปัจจัยให้เกิดธาตุรู้เกิดขึ้นเห็น ทำอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากเกิดตรงนั้น เห็นตรงนั้นแล้วก็ดับไป ไม่มีเราไม่ใช่เรา ค่อยๆ เข้าใจความเป็นนามธรรมและรูปธรรม ทุกอย่างที่ได้ยินระลึกทันที ไตร่ตรองทันที เป็นสภาพธรรมประเภทไหน หิวมีไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นธรรมอย่าง ๑ มี แต่ไม่รู้อะไร ธรรมอีกอย่าง ๑ เป็นสภาพรู้ เพราะฉะนั้นหิว เป็นธรรมประเภทไหน

    ผู้ฟัง เป็นนามธรรม

    ท่านอาจารย์ เป็นนามธรรมประเภทไหน จิตหรือเจตสิก

    ผู้ฟัง เจตสิก

    ท่านอาจารย์ เจตสิกอะไร

    ผู้ฟัง เป็นธาตุรู้ว่าหิว

    ท่านอาจารย์ เป็นความรู้สึก เป็นความรู้สึกว่าหิว ความรู้สึกมีไม่เป็นไรเลยเกิดขึ้นรู้สึกเป็นทุกข์ใช่ไหม ทุกข์ เพราะฉะนั้นก็เป็นสภาพทุกข์อย่างหนึ่ง ที่อาศัยกายถ้าไม่มีกายจะหิวไหม ไม่หิว แล้วตัวกายเองหิว

    ผู้ฟัง ไม่หิว

    ท่านอาจารย์ ไม่หิว เพราะฉะนั้นหิวเป็นกายไม่ได้ ธรรมต้องเป็น ๑ คือเป็นจิต เจตสิกหรือเป็นรูป เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจความต่าง อย่างมั่นคง แล้วเราก็ไม่สับสน เพราะเหตุว่า จิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งเท่านั้น แต่เจตสิก โกรธก็ใช่ อาศัยเกิดกับจิต จิตรู้อะไรเจตสิกก็รู้สิ่งนั้น แต่ไม่ชอบสิ่งนั้น พอถึงจิตเห็นอะไรอีก เจตสิกก็รู้สิ่งนั้นแต่ชอบสิ่งนั้น เพราะฉะนั้นชอบก็ไม่ใช่จิต เป็นเจตสิกที่เกิดกับจิต เพราะฉะนั้นจิตเป็นใหญ่เป็นประธาน บางครั้งจะนับรวมเจตสิกทั้งหมดมี ๕๒ แต่จิตนี่เป็นสภาพที่รู้แจ้งในอารมณ์ เพราะฉะนั้นบางครั้งจะเรียกรวมว่า ธรรมเป็นธาตุรู้ ๕๓ พอได้ยินคำว่า ๕๓ เรารู้เลย เจตสิก ๕๒ จิต ๑

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นถ้ามีความเข้าใจจริงๆ ไม่ว่าจะพบคำอะไรความเข้าใจความหมายของคำนั้น สามารถที่จะรู้ได้ว่าหมายความถึงอะไร ถ้าบอกว่าธาตุรู้ ๕๒ หมายความถึงอะไร

    ผู้ฟัง หมายถึงเจตสิก

    ท่านอาจารย์ เจตสิกแต่ละ ๑ แต่ละ ๑ ถ้าธาตุรู้ ๕๓ หมายความถึงอะไร

    ผู้ฟัง ก็เพิ่มมาอีก ๑ ก็คือจิตรู้อีก ๑

    ท่านอาจารย์ และเจตสิก ๕๒

    ผู้ฟัง ก็เป็น ๕๓

    ท่านอาจารย์ ถ้าบอกว่าธาตุรู้ ๘๙ หมายความถึงอะไร หมายความว่าจิตที่เป็นธาตุรู้ หลากหลายมากเพราะเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย ตัวจิตเองเป็นอย่างเดียวคือรู้แจ้ง ไม่รักไม่ชังอะไร แต่หลากหลายต่างกันดีบ้างชั่วบ้าง เพราะเจตสิกประเภทนั้นๆ เกิดร่วมด้วย จึงทำให้จิตต่างกัน โดยประเภท ๘๙ ประเภท แต่โดยขณะนับประมาณไม่ได้เลย อย่างโลภะนี้ก็มีหลายระดับ โทสะก็มีหลายระดับใช่ไหม เพียงแค่เห็นสิ่งที่ไม่ชอบ ขุ่นใจ แค่ขุ่นใจเป็นอะไร

    ผู้ฟัง นามธรรม

    ท่านอาจารย์ ใช่ ต้องเอาคำที่เรารู้จนกระทั่งมั่นคง

    ผู้ฟัง เวลานี้เราพูดถึงนามธรรมกับรูปธรรมแค่ไหน ไม่ต้องไปพูดถึงอย่างอื่น

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง เพื่อที่จะได้เข้าใจสิ่งนั้นชัดเจน มั่นคงไม่เปลี่ยนแปลง แล้วค่อยเข้าใจไปทีละคำ เพราะฉะนั้นการที่เราไม่รู้จริงๆ ไม่เข้าใจจริงๆ แต่ละคำ ในความเป็นธรรมนั้นๆ ต่อไปเราก็สับสน เพราะฉะนั้นเราต้องเข้าใจ คำว่าธรรมสิ่งที่มีจริง ไม่เว้นเลย เปลี่ยนลักษณะของธรรม แต่ละอย่างให้เป็นอย่างอื่นได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ นั่นคือความหมายของปรมัตถธรรม มาจากคำว่าอารมณ์ ภาษาบาลี และภาษาไทยก็บรม อรรถ ถ้าไม่มีลักษณะ ก็ไม่มีคำที่จะกล่าวถึงธรรมนั้นๆ ได้ ใช่ไหม เพราะฉะนั้นธรรมแต่ละ ๑ มีลักษณะ ต่างกันหลากหลาย ก็มีอรรถคือคำที่ใช้อธิบายเพื่อให้เข้าใจความต่างกัน มากด้วย เพราะฉะนั้นอรรถ ก็คือลักษณะของธรรมนั่นแหละ ซึ่งเป็นปรม บรม ใครเปลี่ยนแปลงไม่ได้เลย ลองเปลี่ยนหวานให้เป็นเสียงสิ ใครทำได้

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นธรรมเป็นปรมัตถธรรมรึเปล่า

    ผู้ฟัง ผมยังไม่ทราบว่าปรมัตถธรรมแปลว่าอะไร

    ท่านอาจารย์ ปรมยิ่งใหญ่ อรรถคือลักษณะของธรรม ซึ่งหมายความว่า ไม่มีใครสามารถจะเปลี่ยนลักษณะนั้นได้เลย เปลี่ยนหวานให้เป็นเค็มได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ นั่นคือปรมัตถธรรม ถ้าใครเปลี่ยนได้ก็ไม่ใช่บรมแล้วใช่ไหม แต่ว่าไม่มีใครสามารถที่จะเปลี่ยนความเป็นสิ่งนั้นได้เลย เพราะฉะนั้นธรรมทุกอย่างเป็นปรมัตถธรรมหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ก็เป็นปรมัตธรรม เพราะมันเปลี่ยนไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง

    ผู้ฟัง เริ่มเข้าใจความหมายของปรมัตถธรรม

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นถ้ามีคนบอกว่า เขาจะฟังธรรม แต่เขาไม่ศึกษาปรมัตถธรรมผิดหรือถูก

    ผู้ฟัง ผิด

    ท่านอาจารย์ เพราะว่าธรรมทั้งหมดเป็นปรมัตถธรรม มีธรรมไหนล่ะ ไม่ใช่ปรมัตถธรรม

    ผู้ฟัง อย่างนี้ก็คนส่วนใหญ่เขา ไม่มาศึกษา ไม่มาฟัง ก็เสียโอกาสเขาที่เกิดมาในชาตินี้

    ท่านอาจารย์ แน่นอน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นใคร แล้วคนที่ได้ยินคำของพระองค์ สามารถเข้าใจคำนั้นหรือ ถ้าไม่ไตร่ตรอง พระองค์ตรัสคำว่าธรรม เราก็พูดคำว่าธรรม ปัญญาของเราที่พูดคำว่าธรรม กับปัญญาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่กล่าวคำเดียวกัน ปัญญาเท่ากันหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่เท่ากัน

    ท่านอาจารย์ ไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้นทุกคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้องเข้าใจจริงๆ เพราะฉะนั้นธรรมทุกอย่างเป็นปรมัตถธรรมหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็นปรมัตถธรรม

    ท่านอาจารย์ ลึกซึ้งไหม

    ผู้ฟัง ลึกซึ้ง

    ท่านอาจารย์ ละเอียดไหม

    ผู้ฟัง ละเอียด

    ท่านอาจารย์ เข้าใจยากไหม

    ผู้ฟัง เข้าใจยากมาก

    ท่านอาจารย์ นั่นคืออภิธรรม ลึกซึ้งอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้นธรรมนั่นแหละทุกธรรมเป็นปรมัตถธรรม และเป็นอภิธรรมด้วย เพราะฉะนั้นจะไปแยกว่า เราเคยแต่ฟังธรรมเราไม่เคยศึกษาพระอภิธรรม เพราะเราไม่รู้จักธรรม

    ผู้ฟัง สมมติว่าวันนี้ เราต้องมีกรรมใดกรรมหนึ่งที่จะทำให้เรา ตกทุกข์ลำบาก ถูกกลั่นแกล้ง ถูกทำร้าย หรือว่าจะต้องเสียหาย แต่เราปิดประตู เช่นว่าจะทำอะไรที่ให้คนอื่นไม่พอใจเราไม่ทำ แล้วกรรมนี่มันจะถอยไปก่อนได้ไหม

    ท่านอาจารย์ คุณประสงค์ ต้องแยกกรรมกับผลของกรรม ตอนนี้คุณประสงค์กำลังปะปนกัน กรรมคือการกระทำด้วยความจงใจ ที่เป็นกุศลดีงามหรือที่ไม่ดีงาม ถ้าคุณประสงค์คิดดีตลอดเวลา เหตุที่ดีมีแล้วต้องให้ผลที่ดี แต่เราไม่รู้ว่าผลที่ดีคือเมื่อไหร่ ผลที่ดีคือขณะแรกที่เกิด ถ้าเราเกิดเป็นมนุษย์ดีไหม

    ผู้ฟัง ดี

    ท่านอาจารย์ เป็นผลของกรรมดี ถ้าเราเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานดี

    ผู้ฟัง ไม่ดี

    ท่านอาจารย์ ก็เป็นผลของกรรมไม่ดี เกิดแล้วกรรมไม่ได้ผล เพียงแค่เกิดมาเปล่าๆ ยังต้องเห็น ต้องได้ยิน ต้องได้กลิ่น ต้องลิ้มรส ต้องรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส มีตาเพราะกรรมทำให้ตาเกิดขึ้น เพื่อที่จะรับผลของกรรมคือเห็น ถ้าเป็นผลของอดีตกรรมที่ไม่ดี ก็เห็นสิ่งที่ไม่ดี ทั้งหมดไม่มีใครทำอะไรได้เลย จึงมั่นคงในความเป็นอนัตตา เป็นธรรมซึ่งเป็นไปตามเหตุและผล เพราะฉะนั้นนี้เป็นส่วนของผลของการที่ได้ทำแล้ว เพราะฉะนั้นให้รู้ไว้เลย ขณะเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรสรู้สิ่งที่กระทบกายเป็นผลของกรรม นอกจากนั้นแล้วไม่ใช่ผลของกรรม อย่างคร่าวๆ คือเริ่มเป็นกุศลและอกุศล ซึ่งเป็นเหตุที่จะให้เกิดผลตามกำลังของกุศลและอกุศลนั้นๆ ไม่มีใครทำเลย แต่เป็นกรรมทั้งหมด เพราะฉะนั้นจึงกล่าวว่าเป็นธรรม ไม่ใช่ใคร ธรรมที่เป็นเหตุ วันหนึ่งถึงเวลาก็ให้ผล แต่ถ้ายังไม่ถึงเวลาก็ให้ผลไม่ได้ กรรมที่ทำแล้วเปลี่ยนได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ต้องให้ผลแน่ แต่ไม่รู้ว่าวันไหนเวลาไหน แต่ต้องมั่นใจว่าผลที่เกิดนั้นมาจากเหตุ เพราะฉะนั้นระหว่างนั้น เราไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นใช่ไหม วิบากซึ่งเป็นผลของกรรมมีแน่นอน ขณะเห็น ขณะได้ยิน ขณะได้กลิ่น ขณะลิ้มรส ขณะรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ชอบหรือไม่ชอบ สุขหรือทุกข์ ไม่ใช่วิบาก แต่หลังจากเห็นแล้วนี่แหละ เป็นทางมาซึ่งความคิดความอ่านเรื่องอะไรต่ออะไร สารพัดสุขทุกข์เข้ามาตรงนี้แหละ เพราะฉะนั้นให้รู้ว่าต้องแยกกรรมกับผลของกรรม เพราะฉะนั้นชีวิตจริงๆ ครึ่งหนึ่งก็คือว่าผลของกรรม อีกครึ่งหนึ่งไม่ใช่ผลของกรรม แต่เป็นกรรมที่จะให้ผลข้างหน้า กรรมก็ต้องมีกำลังของกรรม บางกรรมก็มีกำลังมาก ตายแล้วไปนรกทันที นั่นเป็นอนันตริยกรรม ไม่มีกรรมอื่นที่จะมาให้ผลก่อนนั้นเลย ต้องถึงเวลาของกรรม เพราะฉะนั้นมีความมั่นใจว่าเป็นธรรมเลือกไม่ได้ จะช้าหรือจะเร็ว ถูกไหม กับไปพยายามไปเร่งหรือไปทำให้ช้าลงถูกหรือ

    ผู้ฟัง ไม่ถูก

    ท่านอาจารย์ แค่นี้เราก็ต้องเริ่มเป็นคนตรง ถ้าเราไม่เป็นคนตรง จะไม่ได้สาระจากพระธรรมเลย ไขว้เขวหมด พยายามจะไปรีบให้เกิดปัญญา มีสำนักปฏิบัติ คิดดูสิเป็นไปได้หรือ กำลังพยายามจะทำความดี ไม่ให้อกุศลมา แต่ขณะนั้นก็หวัง

    ผู้ฟัง หวังก็เป็นอกุศล

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง เพราะฉะนั้นมีความมั่นคงว่า ไม่ใช่เรา ไม่เดือดร้อน กรรมเป็นสภาพธรรมที่ปกปิด ผลของกรรมเกิดเห็นเดี๋ยวนี้ ก็ไม่รู้ว่ามาจากกรรมไหน ชาติไหน เป็นผลของกรรมอะไร และขณะนี้ที่กำลังฟังธรรม เป็นสภาพที่ปกปิด ไม่รู้ว่าจะให้ผลเมื่อไหร่ ทางไหนด้วย

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 187
    22 ก.พ. 2568

    ซีดีแนะนำ