ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1257


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ปกิณณกธรรม ตอนที่ ๑๒๕๗

    สนทนาธรรม ที่ โรงแรมดิอิมเพรส จ.น่าน

    วันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑


    ท่านอาจารย์ เพราะว่าภิกษุที่บวช และไม่ได้รู้แจ้งอริยสัจธรรมไม่ใช่สังฆรัตนะ แต่ไม่ว่าจะเป็นภิกษุหรือคฤหัสถ์ก็ตาม ที่อบรมปัญญาจนกระทั่ง เป็นพระอริยะบุคคลต่างหากที่เป็นสังฆรัตนะ เพราะฉะนั้นก็มีภิกษุบุคคลแล้วก็มีสงฆ์ หมายความถึงหมู่ของภิกษุ ถ้าเป็นภิกษุบุคคลทำผิด สงฆ์ไม่ได้ทำผิด แต่ภิกษุนั้นเฉพาะคนนั้นกระทำผิดพระวินัย โทษเป็นของบุคคลนั้น เพราะฉะนั้นภิกษุทุกรูป ต้องศึกษาธรรมและเข้าใจพระวินัย เพราะว่าพระวินัยขัดเกลากิเลส ซึ่งต่างกับการขัดเกลากิเลสของเพศคฤหัสถ์ เช่นคฤหัสถ์ก็ขัดเกลากิเลสในเพศคฤหัสถ์ โดยปัญญาที่เข้าใจพระธรรมตามลำดับ เรื่องของปัญญาเป็นเรื่องเดียวกัน แต่เรื่องของอัธยาศัยที่สะสมมานี่ต่างกัน เพราะฉะนั้นผู้ที่จะบวชต้องจริงใจ และก็มีความเคารพในพระรัตนตรัย ในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ใช่อยากบวชก็บวช แล้วก็เพราะเหตุอื่นทั้งนั้นเลยที่บวช บางคนก็ไม่มีงานทำออกจากงานก็บวช ย่ำยีพระพุทธศาสนา เห็นว่าใครก็บวชได้ แต่ความจริงไม่ใช่อย่างนั้นเลย ต้องเป็นผู้ที่มีปัญญารู้คุณของพระรัตนตรัย และก็สามารถที่จะขัดเกลากิเลสในเพศคฤหัสถ์ โดยประพฤติตามสิกขาบททุกข้อ เพียงเล็กน้อยสิกขาบทที่ชาวบ้านเข้าใจว่าเล็กๆ น้อยๆ ภิกษุที่มีศรัทธาในพระรัตนตรัยเห็นว่าเป็นโทษใหญ่

    เพราะฉะนั้นมีการสำนึกว่า เราได้ล่วงสิกขาบทคือทำผิดพระวินัย เพราะฉะนั้นจะต้องสำนึกผิด ปลงอาบัติหมายความว่ากระทำคืน ให้รู้ว่าได้กระทำผิดไปแล้ว เพราะฉะนั้นต้องกลับเข้ามาสู่ ความเป็นภิกษุร่วมกับภิกษุหนึ่งใด โดยต้องปลงอาบัติตามพระวินัย ไม่ใช่นึกอยากจะทำอะไรก็ได้ อย่างบางท่านไม่เข้าใจ ก็บอกว่าเงินทองรับมาได้แล้วก็ให้คนอื่น ไม่เข้าใจเลย แม้แต่รับขณะนั้นมีจิตยินดีหรือเปล่า เป็นคฤหัสถ์หรือว่าเป็นพระภิกษุ เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องที่จะดำรงพระพุทธศาสนาได้ ก็ต่อเมื่อมีความเข้าใจพระธรรมและพระวินัย ซึ่งขณะนี้เริ่มรู้หรือยังว่าเข้าใจหรือเปล่า เข้าใจมากน้อยแค่ไหน จะดำรงพระศาสนากันทั่วบ้านทั่วเมือง แต่ไม่รู้จักพระศาสนา แล้วจะดำรงได้อย่างไร เพราะฉะนั้นที่จะดำรงพระศาสนาได้ ไม่ใช่วัดวาอาราม ไม่ใช่อิฐหินปูนทราย ไม่ใช่ประเพณีต่างๆ แต่ว่าต้องเป็นความเข้าใจพระธรรมเท่านั้น จึงสามารถที่จะดำรงพระศาสนาไว้ได้

    เพราะว่าศาสนาคือคำสอน พุทธะหรือผู้ที่ทรงตรัสรู้ จะดำรงคำสอนซึ่งพระองค์ได้ ประทานให้พุทธบริษัท ก็ต่อเมื่อพุทธบริษัทได้เข้าใจคำสอนนั้น จึงสามารถที่จะดำรงไว้ได้ ต้องรู้จักภิกษุ มิฉะนั้นก็ไม่รู้ว่าใครเป็นภิกษุใครไม่ใช่ภิกษุ การสนทนาธรรมเป็นมงคล เพราะเหตุว่านำมาซึ่งความเข้าใจที่ถูกต้อง เพราะว่าต่างคนต่างฟัง ต่างคนต่างคิด พระสูตรบ้าง พระวินัยบ้าง พระอภิธรรมบ้าง ก็สมควรที่จะนำทั้ง ๓ ปิฏกมาให้กระจ่างสอดคล้องกันทั้ง ๓ ปิฏกไม่ขัดแย้งกันเลย ถ้าเห็นพระภิกษุรับเงินและทอง เป็นไง ผิดไหม แต่ก่อนไม่รู้นี้ เดี๋ยวนี้ผิดรึเปล่าต้องตรง บารมี ๑๐ มีสัจจะบารมี ถ้าไม่มีความตรงไม่ได้สาระจากพระธรรม คิดเอง แล้วเป็นใคร ไม่ใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า สิกขาบททั้งหมดพระองค์ทรงบัญญัติ ด้วยพระปัญญาคุณ จะเพิกถอนจะคิดเองอย่างนั้นหรือ คนนั้นกล่าวหรือเปล่าว่าตนเองเป็นภิกษุ บวชเพื่ออุทิศพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือเป็นสาวกผู้ฟังพระธรรมและขัดเกลากิเลส เพราะฉะนั้นต้องประพฤติตาม ถ้าไม่ประพฤติตามก็ลบหลู่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และคำสอนของพระองค์ทั้งหมดด้วย

    ผู้ฟัง กราบเรียนท่านอาจารย์อีกครั้ง จากการศึกษาธรรม หลังจากเกษียณแล้ว ก็ยังคิดว่า ไม่แน่อาจจะบวชได้ อยากจะสนทนา

    ท่านอาจารย์ ก่อนอื่นต้องเข้าใจความต่างของ บรรพชิตกับคฤหัสถ์ จะเรื่องย้อมผมจะเรื่องแต่งตัว จะเรื่องเสื้อผ้า จะเรื่องตัดผมหรืออะไรทั้งหมด ให้รู้ว่าคฤหัสถ์เป็นใคร ใช่ไหม ต่างอัธยาศัยมีใครบ้าง ที่ไม่ชอบสิ่งที่สวยๆ งามๆ ดอกไม้ก็ยังต้องชอบใช่ไหม เสียงก็ต้องชอบ ดนตรีต่างๆ กลิ่นก็ต้องชอบ รสก็ต้องชอบ สัมผัสก็ต้องก็อากาศกำลังสบาย ไม่ร้อนเกินไป ไม่เย็นเกินไป เพราะฉะนั้นผู้ที่จะละความติดข้อง ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ เป็นผู้ที่ตรงและจริงใจ เป็นคุณธรรมของพระอนาคามีบุคคลไม่ใช่พระโสดาบัน เพราะฉะนั้นเห็นไหมว่ากิเลสละยากมาก เพราะลึกมากไม่ใช่ปลอม ไม่ใช่ว่าจะฟังธรรม ต้องนุ่งขาวห่มขาว ไม่มีเลยครั้งพุทธกาล ทำไมต้องมีเหตุผล ทำไมต้องนุ่งขาวห่มขาว นุ่งขาวห่มขาวแล้วเข้าใจธรรมหรือ ไม่หรือจะรู้แจ้งอริยสัจธรรมก็เปล่า แต่เห็นความต่างอย่างมาก และความตรงไหนความจริงใจในสังสารวัฎฏ์ที่สะสมมา รู้ไหมว่าธรรมที่เกิดขึ้นเพียง ๑ ดับแล้วไม่กลับมาอีกเลย หาอีกไม่ได้ในสังสารวัฎฏ์ แต่สิ่งที่เป็นกุศลและอกุศล ความชอบทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ สะสมอยู่ตลอดเวลา ทำให้แต่ละบุคคลต่างอัธยาศัย บางคนก็ไม่แต่งตัวเลย ไม่สนใจผมไม่สนใจอะไรเลย แต่ต้องนอนให้หลับสบายๆ ใช่ไหม ต้องมีหมอนเฉพาะที่จะทำให้นุ่ม แต่ละ ๑ นี่คือปุถุชน

    เพราะฉะนั้นให้ทราบว่า ความลึกของกิเลสที่สะสมมา ต่างอัธยาศัย เป็นเพศคฤหัสถ์แต่ฟังธรรม เข้าใจธรรม ในเพศของตนของตนได้ วิสาขามิคารมารตา ท่านก็มีอัธยาศัย ท่านก็ยังมีเครื่องประดับที่สวยงาม แต่ท่านก็ฟังธรรม เพราะฉะนั้นแต่ละ ๑ ตามความเป็นจริง คือไม่ลวงไม่หลอกใคร ในสิ่งภายนอก แต่ต้องรู้จริงๆ ว่าปัญญาเป็นสิ่งภายใน ที่ใครก็รู้ไม่ได้ ถ้าไม่มีการสนทนากัน เพราะฉะนั้นก็เป็นสิ่งที่เราจะต้องเข้าใจตามความเป็นจริงว่า เราจะขัดกิเลสแบบเรา พยายามที่จะไปทำอย่างนั้นอย่างนี้ ฝืนอัธยาศัย หรือว่าแม้ขณะนั้นก็เป็นธรรมไม่ใช่เรา แต่ว่าสะสมมาที่จะเป็นอย่างนั้น ใครก็บังคับให้ใครเป็นอะไรไม่ได้ใช่ไหมแต่ละ ๑ แต่ที่สำคัญที่สุดคือ เมื่อไหร่จะรู้ว่าทุกอย่างเป็นธรรม ความชอบ อาหารบางคนชอบเผ็ด บางคนชอบเค็ม บางคนชอบหวาน ไปบอกให้เขาชอบอย่างเดียวกันได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ แต่เขาสามารถเข้าใจธรรมได้ไหม

    ผู้ฟัง ได้

    ท่านอาจารย์ เพราะรู้ว่าขณะนั้นหวานก็เป็นธรรม เค็มก็เป็นธรรม ข้อสำคัญที่สุดกว่าจะเข้าใจว่าเป็นธรรม โดยละการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน ต้องถึงระดับไหนต้องเป็นปัญญา ไม่ใช่ว่ามีใครสามารถจะไปเข้าห้องปฏิบัติ ๑๐ วัน ๓๐ วัน หรือปีหนึ่งแล้วก็จะเป็นพระโสดาบันได้ แต่ต้องรู้ว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ด้วยพระปัญญา เพราะฉะนั้นทุกคำของพระองค์ นำไปสู่ความเข้าใจถูก ตามความเป็นจริง ไม่ใช่เรื่องลวงหรือเรื่องหลอกทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นใครก็ตามอัธยาศัยใดๆ ที่สะสมมาก็ตาม ถ้าเห็นประโยชน์ของการฟังธรรม ผู้นั้นได้ประโยชน์และก็เป็นผู้ที่ตรงด้วย เพราะฉะนั้นก็เป็นผู้ที่มั่นคง ในสัจจะในความจริง ซึ่งตรงต่อความจริง เพราะฉะนั้นก่อนอื่น ต้องรู้ความต่างกันของเพศคฤหัสถ์และบรรพชิต เพราะฉะนั้นก็ต้องเป็นผู้ที่ตรงทั้งหมดเลย จะตำหนิใคร ตำหนิพระภิกษุที่ละเมิดสิกขาบท หรือจะตำหนิคฤหัสถ์ ซึ่งเขามีชีวิตอย่างคฤหัสถ์

    ผู้ฟัง ขออนุญาติสนทนาเรื่องการเกิดดับ เกิดดับอย่างไร ที่บอกว่าไม่เที่ยง ไม่อยู่ในอำนาจควบคุมของใคร ที่เป็นอนิจจังทุกขังอนัตตา

    ท่านอาจารย์ ฟังต่อไปแล้วจะรู้ ในขณะที่เริ่มฟังยังไม่สามารถที่จะรู้ได้ แม้แต่เพียงว่าเดี๋ยวนี้เป็นธรรม ต้องฟังตามลำดับขั้นปริยัติ จริงไหม

    ผู้ฟัง จริง

    ท่านอาจารย์ ก็ลองถามแต่ละคนตามลำดับก่อน ไม่ข้ามขั้น เพราะพระธรรมลึกซึ้งมาก ด้วยเหตุนี้ ก็เดี๋ยวนี้ทุกคนเข้าใจกันหมด ทุกคนไหมว่าทุกอย่างที่มีจริงเดี๋ยวนี้เป็นธรรม หมายความว่าเป็นธรรม เป็นอื่นไม่ได้ เป็นเราไม่ได้ เป็นเขาไม่ได้ เป็นดอกไม้ เป็นโต๊ะ เป็นอะไรไม่ได้ เป็นธรรม เห็นไหมต้องลึกซึ้งในคำนี้ก่อน แล้วก็ค่อยๆ เป็นไปตามลำดับ มิฉะนั้นเราจะผิวเผิน แล้วก็ไม่สามารถที่จะเข้าใจได้ถูกต้อง

    ผู้ฟัง อย่างกรณีดูลมหายใจ ท่านบอกว่า ให้ดูลมหายใจ

    ท่านอาจารย์ ท่านไหน

    ผู้ฟัง ท่านทั้งหลายที่

    ท่านอาจารย์ ท่านทั้งหลายเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือว่า

    ผู้ฟัง ไม่ได้เป็น แต่ว่าโอกาสได้สัมผัสต่างๆ ท่านบอกว่าให้ดูลมเข้าก็รู้ ออกก็รู้

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นจะเชื่อใคร

    ผู้ฟัง ก็เชื่อองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ท่านอาจารย์ แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้ให้ดูลมหายใจ

    ผู้ฟัง แต่ว่าท่านทั้งหลายสำนักต่างๆ ก็สอนอย่างนี้

    ท่านอาจารย์ ผิดหรือถูก

    ผู้ฟัง ก็ผิด

    ท่านอาจารย์ ผิดก็ต้องผิด แล้วเราจะทำสิ่งที่ผิดหรือ

    ผู้ฟัง ไม่ทำ ผมเองไม่ทำ

    ท่านอาจารย์ ด้วยเหตุนี้ธรรมละเอียดมาก มีผู้ที่ไม่รู้แล้วบวชมากมาย แต่เมื่อรู้แล้วเห็นไหม รู้แล้วนี่จะทำเหมือนอย่างที่ไม่รู้ไหม นี่คือความตรงและความจริงใจ แต่เมื่อรู้แล้วให้คนอื่นได้รู้ได้เข้าใจถูกต้อง ว่าอะไรผิดอะไรถูก นั่นคือการตอบแทน การตอบแทนคุณไม่ใช่ให้เขาทำผิดกันต่อๆ ไป และก็อ้างว่านี่เพราะสถานที่นั้นมีคุณ สำนัก นี้มีคุณก็จะทำสิ่งที่ชักชวนให้คนอื่นผิด แต่คุณคือความดีคือความถูกต้อง เพราะฉะนั้นแทนคุณด้วยความดีและความถูกต้อง ไม่ใช่ว่าไปแทนเพราะว่า เขาให้เราทำผิดเราก็ทำผิด อย่างคนที่มีการว่าจ้างหรือมีคุณต่อกัน คนนั้นก็รู้ว่าผิดแต่ก็ทำ เพราะคิดว่าต้องตอบแทนบุญคุณนั่นผิด จะตอบแทนคุณ คุณต้องเป็นความดี ไม่อย่างนั้นไม่ใช่ตอบแทน กลับหวังร้ายให้โทษกับคนนั้น เพราะฉะนั้นธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียดมาก เป็นคนตรง ความตรงความถูกต้อง ทำให้กล้าที่จะพูดในสิ่งที่ถูกต้อง จะแทนคุณมารดาบิดาก็ทำความดี เป็นลูกที่ดี ไม่ทุจริต ดูแลท่าน ทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นความดี ไม่ใช่ไปบวชแล้วไม่รู้อะไร แทนคุณตรงไหน ตรงที่เสียเงินไหม บวช

    ผู้ฟัง เสียมากด้วย

    ท่านอาจารย์ ครั้งพุทธกาล บวชคืออะไรเสียเงินหรือเปล่า ไม่เสีย แต่มีศรัทธามั่นคง ที่จะไม่เป็นคฤหัสถ์อีกต่อไป แล้วก็จะประพฤติปฏิบัติตามสิกขาบท ที่ได้ทรงบัญญัติไว้ด้วยความเคารพ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นใคร ทรงอนุญาตให้บวชเพื่อที่จะประพฤติปฏิบัติตามพระองค์ พระองค์บัญญัติสิกขาบทแล้วไม่ประพฤติตาม เคารพหรือ ตอบแทนคุณก็ต้องตรงและจริงใจ ทุกอย่างที่เป็นความถูกต้อง

    ผู้ฟัง มีบางสถานที่ วัดร้างอยากจะให้พระมาอยู่ แม้ว่าพระจะฉัน ๓ มื้อก็ยอม ที่จะให้มีผ้าเหลือง

    ท่านอาจารย์ ทำลายพระธรรมวินัยหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก็ไม่รู้ เพราะไม่รู้ทำลายพระธรรมวินัย เพราะรู้เท่านั้นจึงสามารถที่จะดำรงพระธรรมวินัยไว้ได้ เพราะฉะนั้นวิกฤตอย่างยิ่งเพราะไม่รู้ ก็ควรที่จะตื่นขึ้นรู้ว่าไม่รู้ แล้วก็ทำสิ่งที่รู้ละความไม่รู้ มิฉะนั้นก็วิกฤติจนกระทั่ง ต่อไปก็ยิ่งวิกฤติกว่านี้ ไม่ใช่แต่วิกฤตพระพุทธศาสนา ประเทศชาติก็วิกฤติ เพราะเหตุว่าสูญเสียเงิน จากการที่ทำสิ่งที่ไม่เป็นไปตาม พระธรรมวินัยเท่าไหร่ มีหมู่บ้านศีล ๕ ใช่ไหม

    ผู้ฟัง มีหมู่บ้านศีล ๕

    ท่านอาจารย์ แล้วทำไมถึงมีขโมยขโจรเต็มบ้านเต็มเมือง ทุจริตในทุกวงการ แล้วหมู่บ้านศีล ๕ เงินเท่าไหร่ ประโยชน์ได้อะไรบ้าง ในครั้งพุทธกาลมีหมู่บ้านศีล ๕ ไหม เพราะฉะนั้นผู้ไม่เข้าใจใช่ไหม จึงคิดจะให้มีหมู่บ้านศีล ๕ ทั้งๆ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงให้มีหมู่บ้านศีล ๕ ศีล ๕ สำหรับโลกทุกคนที่เข้าใจพระธรรม แล้วเป็นไปได้หรือ ที่จะมีบ้านที่มีศีล ๕ ถ้าเขาไม่เหลือความเข้าใจธรรมวินัย และเป็นหมู่บ้านด้วย คนกี่คนในบ้าน คนกี่คนในหมู่บ้าน

    ผู้ฟัง มีตัวชี้วัดด้วยนะ มีการประเมิน

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นไม่ใช่การทะนุบำรุงพระศาสนา แต่เป็นการทำลายคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะเป็นเรื่องไม่จริง

    ผู้ฟัง ประเมินเพื่อจะได้รางวัล

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นพระพุทธศาสนา เพื่อได้รางวัลหรือเพื่อละความไม่รู้

    ผู้ฟัง ที่ถูกเพื่อละความไม่รู้

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก็ทำตรงกันข้ามเลย นั่นก็คือวิกฤติ แล้วก็ทำลายพระพุทธศาสนาด้วย ต้องตรงเพราะว่าทุกคนก็เข้าใจใช่ไหม ใครรักษาศีล ๕ ได้ตลอดชีวิต ตลอดสังสารวัฎฏ์พระโสดาบันบุคคล จากความเข้าใจ ไม่ใช่อยู่ดีๆ ก็ไปเป็นพระโสดาบัน แต่ความเข้าใจนั่นแหละ ทำให้ละคลายกิเลส ที่สามารถกระทำทุจริตต่างๆ ได้ แต่ถ้าไม่มีความรู้ความเข้าใจ เห็นแก่ตัว ไม่มีตัวสักนิดหนึ่ง มีแต่ธรรมก็ไม่รู้ แล้วธรรมก็เกิดแล้วก็ดับ ดับแล้วก็ไม่กลับมาอีกด้วย เป็นคนนี้ได้ชาตินี้ชาติเดียว แล้วชาตินี้จะสะสมอะไร ความดีหรือความชั่ว ความเข้าใจธรรมหรือความไม่รู้ต่อไป

    ผู้ฟัง เรียนถามท่านอาจารย์ การปกครองสงฆ์ ล้อตามระบบราชการ ตั้งแต่มีเจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะภาค หนเหนือใต้ ทำให้มีการวิ่งเต้นเข้าสู่ตำแหน่งเหมือนพลเรือน การกำหนดให้มีสำนักศักดิ์ ตั้งแต่ชั้นพระครู ราก เทพพรหม พระราชาคณะ สมเด็จพระราชาคณะ กำหนดชั้นของพัดยศ โดยไม่คำนึงถึงพรรษา ตามหลักพระพุทธองค์ จึงเห็นพระผู้ใหญ่ก้มกราบพระเด็ก ที่มีสำนักศักดิ์สูงกว่า

    ท่านอาจารย์ เป็นเรื่องที่น่าคิด ไตร่ตรอง และตรงต่อความจริงและความเข้าใจถูกเพราะเหตุว่าถ้าเข้าใจผิดหรือไม่รู้ แก้ปัญหาไม่ได้ เพราะฉะนั้นชีวิตตั้งแต่เกิดมา ทุกคนด้วย เคารพใครสูงสุด

    ผู้ฟัง พระพุทธเจ้า

    ท่านอาจารย์ พระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นคำของคนอื่น กับคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ควรเคารพคำไหน

    ผู้ฟัง คำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก็ต้องรู้ด้วย ว่าพระองค์ตรัสไว้ว่าอย่างไรในครั้งพุทธกาล พระภิกษุทุกรูปไม่เว้นเลย ไม่ว่าใครจะพรรษามากน้อยอย่างไรก็ตาม จะบวชนานหรือยังไงก็ตาม ทั้งหมดต้องมีพระธรรมวินัยเป็นศาสดา จะเป็นอื่นไม่ได้เลยทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นสำหรับศาสนจักร ศาสนาไม่มีตำแหน่ง ไม่มียศถาบรรดาศักดิ์ พระองค์ทรงประกาศ ท่านพระสารีบุตรเป็นเอตทัคคะ ตามคุณธรรมของท่านที่สะสมมา ที่จะเป็นอัครสาวกผู้เลิศทางปัญญา ไม่ใช่ชื่ออื่น ตำแหน่งอะไรทั้งสิ้น แต่ตามคุณธรรมที่มีให้เป็นที่รู้กันว่า ท่านพระสารีบุตร ใครมีปัญหาอะไรก็จะได้เข้าใจถูกต้อง ใช่ไหม เพราะเหตุว่าถ้าภิกษุเป็นอันมาก มากหน้าหลายตา อาจจะมีปัญหา มีความไม่เข้าใจ ท่านใดเป็นผู้เลิศในทางปัญญา ก็ทรงประกาศตามความเป็นจริง แต่ไม่มีสมณศักดิ์เพราะเป็นเรื่องละ เพราะฉะนั้นในทางฝ่ายศาสนจักร คือในทางฝ่ายพุทธศาสนาเป็นเรื่องละ และก็ทุกรูปไม่ว่าจะเป็นใคร ก็ต้องมีพระธรรมวินัยเป็นศาสดา นั่นคือศาสนจักร แต่สำหรับฝ่ายอาณาจักร ก็เป็นเรื่องของประเทศชาติ แล้วแต่บุคคลนั้นจะเคารพยกย่องให้ฐานันดรใครต่างๆ ก็เป็นเรื่องของฝ่ายอาณาจักร ซึ่งทางฝ่ายพุทธจักร ท่านก็รู้ว่าท่านไม่ได้มีความที่จะต้องไป สำคัญตนอย่างนั้นอย่างนั้น ว่าท่านเป็นใคร ท่านก็เป็นเพียงพระภิกษุ ผู้เห็นภัยในสังสารวัฎฏ์ เหมือนภิกษุอื่นๆ และก็ศึกษาพระธรรมที่จะรู้ว่าดีแค่ไหน ควรเคารพแค่ไหน ก็คือว่าเข้าใจพระธรรมแค่ไหน และประพฤติตามพระธรรมวินัยแค่ไหนนี่คือทางฝ่ายศาสนา เพราะฉะนั้นก็แยกกันไม่เกี่ยวกัน เพราะฉะนั้นถ้ากฎหมายจะอนุเคราะห์ที่จะเป็นพุทธบริษัท ที่เข้าใจพระธรรม เหมือนในครั้งพุทธกาล พุทธบริษัทเช่นท่านอนาถบิณฑิกเป็นต้น ท่านก็ทำหน้าที่ของคฤหัสถ์ที่เป็นพุทธบริษัท ดูแลพระภิกษุ พระภิกษุต้องการสิ่งใด พุทธบริษัทที่เป็นคฤหัสถ์ก็มอบสิ่งที่สมควร แก่การที่จะดำรงเพศภิกษุเช่นจีวร ไม่มากกว่านั้น มีกำหนดไว้ด้วยตามพระวินัยว่าเท่าไหร่ มากกว่านั้นก็ไม่ได้ ถ้ามีผู้ถวายก็ต้องมีพระวินัยที่บัญญัติไว้ว่า จะเก็บไว้ได้กี่วัน หลังจากนั้นต้องทำอะไร เพื่อละคลายความยึดถือว่าเป็นเรา หรือว่าเป็นของเรา เพราะว่าธรรมวินัยทั้งหมดเป็นเรื่องละ เพราะฉะนั้นหน้าที่ของพระภิกษุ ชาวบ้านจะยกย่องอย่างไรก็ตาม ท่านก็ต้องรู้ว่าท่านก็คือ ผู้ที่ขัดเกลากิเลสในเพศบรรพชิต ไม่ได้หลงไปตามสิ่งที่คนอื่นเข้าใจ เพราะว่าความจริงก็ต้องเป็นความจริง แต่ทางฝ่ายพุทธบริษัท จะอนุเคราะห์ก็ต่อเมื่อ ได้เข้าใจพระธรรมวินัย เช่นเรื่องรับเงินทอง ไม่ได้มีการอนุญาตให้ภิกษุรับ ขอเชิญคุณคำปั่น

    อ.คำปั่น กราบท่านอาจารย์ ก็เป็นพระวินัยบัญญัติ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติด้วยพระองค์เอง อันเนื่องมาจากมีพระภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งเป็นต้นบัญญัติก็คือพระอุปนันทศากยบุตรซึ่งเป็นผู้รับเงิน ฆราวาสตำหนิติเตียนเลยว่า เป็นพระภิกษุในพระธรรมวินัย เชื้อสายพระสมณศากยบุตร มารับเงินเหมือนอย่างคฤหัสถ์ได้อย่างไร ก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนา อย่างที่ท่านอาจารย์ได้กล่าวไปแล้ว เพ่งโทษก็คือชี้ให้เห็นว่าเป็นสิ่งที่เป็นโทษ ติเตียนก็คือเป็นพระภิกษุ แล้วมีความประพฤติอย่างนี้ได้อย่างไร โพนทะนาก็คือกระจายความจริง ให้รู้โดยทั่วกัน เป็นเหตุให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงประชุมสงฆ์ และทรงสอบถามพฤติกรรมของพระภิกษุรูปนี้ ว่ากระทำอย่างนี้จริงหรือไม่ พระองค์ทรงตำหนิแล้วก็ทรงบัญญัติเป็นสิกขาบทว่า ภิกษุใดรับเองก็ดี ให้ผู้อื่นรับก็ดีซึ่งเงินและทอง หรือยินดีในเงินและทองที่ผู้อื่นเก็บไว้เพื่อตน เป็นอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นถ้าไม่ศึกษาพระวินัย คิดเอง ผิด แม้ในครั้งพุทธกาลก็ต้องมีพระภิกษุซึ่งเป็นเอตทัคคะ ผู้เลิศในทางพระวินัยคือท่านพระอุบาลี ท่านพระสารีบุตรเลิศในทางปัญญา แต่ท่านไม่ได้เลิศในทางวินัย เพราะฉะนั้นก็แสดงให้เห็นความละเอียดลึกซึ้งของพระวินัย แค่ ๒,๓ ข้อไม่พอ ต้องอ่านถึงความละเอียดปลีกย่อยออกไปอีก จึงสามารถที่จะรู้ถึงความบริสุทธิ์ ของผู้ที่เป็นเพศภิกษุได้ ด้วยเหตุนี้ไม่ใช่ว่าไม่จับและไม่รับ แต่ว่าให้เขาส่งเงินนั้นเข้าบัญชีธนาคาร เป็นเจ้าของไม่ได้เลย ไม่ใช่ว่ารับกับมือไม่ได้ แต่ให้เขาส่งเข้าบัญชีธนาคารได้ นั้นผิด พระเหตุว่าไม่รับและไม่ยินดีในเงินและทอง แม้ไม่รับแต่ต้องไม่ยินดีด้วย เพราะว่าเงินและทองสำหรับคฤหัสถ์ สละแล้วจึงบวชต้องตรงต้องมั่นคง มิฉะนั้นก็ไม่ได้สาระจากพระธรรม และเป็นโทษกับตนเองด้วย เพราะว่าชาวบ้านมีศรัทธา พระภิกษุอยู่ได้ไม่มีเงินเลย แต่ว่าสามารถที่จะอยู่ถึงความเป็นพระอริยะบุคคล ประกาศพระศาสนาไม่เดือดร้อนเลย เพราะฉะนั้นศาสนจักรมีพระธรรมวินัยเป็นศาสดา ถ้าทางอาณาจักรจะเอื้อเฟื้อ ก็ต้องเป็นผู้ที่เข้าใจพระธรรมวินัย ใครทำผิดจนถึงกับผิดกฎหมายเป็นพระภิกษุหรือ ในเมื่อพระวินัยละเอียดกว่านั้นมาก แม้แต่เพียงยินดีในเงินและทอง ก็ผิดละ ไม่ใช่ผู้ที่ประพฤติตามพระวินัย แล้วถึงกับถือเอาสิ่งของ ที่เจ้าของไม่ได้ให้ โดยประการใดๆ ทั้งสิ้น จะโดยยักยอก จะโดยเงินทอน หรือจะโดยอะไรก็ตามแต่ ก็หมายความว่าผิดกฎหมาย เพราะฉะนั้นกฎหมายก็เอื้อเฟื้อพระธรรมวินัย โดยการที่ว่าผู้นั้นประพฤติผิดในฐานะของผู้ประพฤติผิด ก็ต้องเป็นเหมือนบุคคลผู้กระทำผิดทั้งหลาย

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 187
    8 มี.ค. 2568

    ซีดีแนะนำ