ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1258
ปกิณณกธรรม ตอนที่ ๑๒๕๘
สนทนาธรรม ที่ โรงแรมดิอิมเพรส จ.น่าน
วันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑
อ.อรรณพ กราบเรียนท่านอาจารย์ ส่วนใหญ่ประชาชนทั่วไป เราก็ต้องการให้ชีวิตเราดี ต้องการให้เกิดมงคล ไปสะเดาะเคราะห์ ไปทำสิ่งที่คิดว่าเป็นมงคล การที่จะให้ชีวิตมีมงคลคืออย่างไร
ท่านอาจารย์ เวลาใช้คำว่าเคราะห์ นี่คิดถึงเคราะห์ร้ายใช่ไหม ไม่ดี ต้องมีเหตุให้เกิดหรือเปล่า ไม่ได้คำนึงถึงเหตุเลยว่า อะไรเป็นเหตุให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น แล้วก็คิดว่าเพียงการไปกราบ ไปไหว้ ไปขออะไรก็แล้วแต่ ก็จะหมดเคราะห์ นั่นไม่ใช่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย คำสอนของพระองค์แสดงให้เข้าใจ ตามความเป็นจริงว่า สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เกิด สิ่งนั้นต้องอาศัยปัจจัยให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้นเราพูดเรื่องกรรมบ่อยๆ ใช่ไหม การกระทำมีทั้งดีและชั่ว ถ้าต้องการผลที่ดีจะทำกรรมอะไร ก็ต้องทำกรรมดี แล้วไปไหว้ต้นไม้กรรมดีหรือเปล่า ไปขอตระกรุด กรรมดีหรือเปล่า เป็นแต่ความคิดหวังเชื่อลอยๆ แล้วลองคิดดูสิ ว่าผ้ายันต์ก็เป็นผ้าไม่ใช่หรือ แล้วจะเกิดเป็นผ้ายันต์ขึ้นมาได้ยังไง เพราะฉะนั้นต้องเป็นผู้ที่มั่นคงในเหตุและผล แม้แต่เกิดมาต่างกัน แม้แต่เป็นคนด้วยกัน นี่ก็เชื้อชาติประเทศถิ่นต่างๆ กันไป ยังเกิดเป็นนก เป็นปลา เป็นงู เป็นช้างก็เกิดทั้งนั้นแหละ แต่ต่างกันต้องมีเหตุ เพราะฉะนั้นถ้าเป็นผู้ที่ตรงไปตรงมาตั้งแต่ต้น เหตุดีผลก็ดี เหตุไม่ดีผลก็ไม่ดี เพราะฉะนั้นใครจะทำอะไรเราได้ นอกจากกรรมที่ได้ทำไว้ ถ้ามีคนที่ทำร้ายเรา เราคิดว่าเราบาดเจ็บเพราะเขา แต่ความจริงไม่ใช่เลย ถ้าเราไม่ได้กระทำกรรม ที่จะทำให้ผลนั้นเกิดขึ้นกับเรา เขายิงผิดก็ได้ ทั้งๆ ที่ตั้งใจจะยิงเรา หรือถ้าเป็นกรรมที่ว่าเขาไม่ได้ตั้งใจจะยิงคนนั้นแต่ถูกเรา ก็เพราะว่าเขาคนที่จะถูกยิง ไม่ได้ทำกรรมที่จะได้รับผล แต่เราต่างหากผลนี้เกิดขึ้นจากเหตุในอดีต
เพราะฉะนั้นในพระไตรปิฎก จะมีข้อความว่า กรรมเป็นสภาพที่ปกปิด ขณะนี้เป็นกุศลกรรมที่เข้าใจเหตุและผล และความถูกต้องจะนำมาซึ่งผล แต่ก็ยังไม่รู้เลยว่าผลอะไรเมื่อไหร่ แต่ให้ทราบว่าผลของเหตุคือกรรมที่ดี ทำให้เกิดดีเป็นมนุษย์ มีโอกาสได้ยินได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วก็ได้มีปัญญาสะสมมาที่จะเห็นประโยชน์ ที่จะไตร่ตรองเข้าใจ ทำให้เจริญขึ้นในทางที่ถูก ในทางที่ดีนี่คือมงคล เพราะฉะนั้นทั้งหมดนี้ต้องมาจากเหตุ แล้วเกิดมาแล้ว เกิดดีไหมเป็นคน ยังต่างกันไปอีกแต่ละวัน แม้แต่พี่น้องกี่คนก็ตามแต่ คนหนึ่งเดี๋ยวนี้อยู่ไหน ไม่ได้อยู่ตรงนี้อยู่ที่อื่น เห็นอะไรทำอะไรหลากหลายไปมาก สุขทุกข์ต่างกันตามเหตุที่ได้กระทำแล้ว เพราะฉะนั้นให้ทราบว่า ผลของกรรมคืออะไรเมื่อไหร่ อย่างคร่าวคร่าว เป็นเครื่องสะดุดใจให้รู้ว่านี่แหละเป็นผลของกรรม ก็คือเกิดเป็นผลของกรรม เกิดแล้วต้องเห็น เห็นเป็นผลของกรรม เพราะว่าทุกคนอยากเห็นสิ่งที่ดีทั้งนั้นเลย เพชรนิลจินดาเงินทองต่างๆ แต่เลือกไม่ได้แล้วแต่กรรม มีตาเห็น มีหูสำหรับให้จิตได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ๕ อย่างนี้แหละเป็นผลของกรรม บาดเจ็บ ไม่มีใครทำให้เลย เป็นโรคร้ายต่างๆ วันนี้ไม่เป็นพรุ่งนี้เป็นก็ได้ แขนขาครบถ้วน พรุ่งนี้เหลือบางส่วนก็ได้ใช่ไหม ก็แล้วแต่ทั้งหมด ไม่มีใครสามารถที่จะรู้ล่วงหน้า เพราะกรรมเป็นสภาพที่ปกปิด กรรมที่ได้ทำแล้วในแสนโกฏกัปป์ ยังสามารถที่จะให้ผล คือทำให้เกิดแล้วยังเห็น ยังได้ยิน ยังได้กลิ่น ยังลิ้มรส ยังรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสเท่านั้น นอกจากนั้นเป็นการสะสมดีหรือชั่ว เพราะฉะนั้นเห็นด้วยกัน เพชรนิลจินดา สวยงามมาก พระอรหันต์ท่านไม่มีความติดข้อง แต่คนอื่นอยากได้พอใจ จนถึงกับกระทำทุจริตก็ได้ ตามการสะสม เพราะฉะนั้นก็ต้องแยก ชีวิตตั้งแต่เกิดส่วนหนึ่งเป็นผลของกรรม คือเกิดแล้วต่างๆ กันไป อย่างเห็นบ้าง ได้ยินบ้าง ได้กลิ่นบ้าง ลิ้มรสบ้าง รู้สิ่งที่กระทบกายสุขทุกข์ต่างๆ ตามเหตุที่ได้กระทำไว้ แต่หลังจากนั้นแล้ว เป็นการสะสมกุศลและอกุศล ซึ่งพอเห็นและเกิดได้ทันที รู้ไหมว่าพอเห็นแล้วอกุศลก็เกิดแล้ว ถ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงแสดง จะไม่รู้เลย คิดว่าไม่เห็นทำอะไร ก็นั่งเฉยๆ แต่ทรงแสดงความละเอียดยิ่งของธรรม ทุกขณะที่ปกปิดไม่เปิดเผย จึงไม่สามารถที่จะรู้ได้ จนกว่าจะค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ เข้าใจ ค่อยๆ น้อมไป มั่นคงว่าไม่มีเรา แต่มีธรรม และธรรมนั้นก็ไม่ใช่เรา
อ.คำปั่น กราบเรียนท่านอาจารย์ถึงความเป็นผู้ตรง ว่าจะมีส่วนสำคัญอย่างไร กับการที่จะช่วยกันดำรงรักษา พระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ท่านอาจารย์ ก็ตรงต่อความจริงของทุกคำที่ได้ฟัง เช่นธรรมคือสิ่งที่มีจริง แค่นี้ก็ต้องตรงละ จะไปหาที่ไหนล่ะ ก็เดี๋ยวนี้ก็กำลังมีธรรม เพราะฉะนั้นไม่ต้องไปหาธรรมที่ไหนเลย แต่ว่าไม่รู้ว่าเป็นธรรม เพราะฉะนั้นฟังเพื่อเข้าใจ ไม่ใช่เพื่ออย่างอื่นเลย แต่เพื่อเข้าใจ เพราะรู้ว่าไม่เคยเข้าใจ แม้เข้าใจก็ไม่ใช่เรา ไม่เข้าใจก็ไม่ใช่เรา คงเคยได้ยินคำสองคำ อวิชชา วิชาแปลว่ารู้ หมายความถึงเข้าใจถูก เห็นถูก ตามความเป็นจริง ถ้าไม่รู้ไม่เข้าใจตามความเป็นจริงก็อวิชชา แต่ไม่ใช่หมายความว่า เราพูดว่าอวิชชาแต่เราไม่รู้ว่าไม่รู้อะไรใช่ไหม อวิชชาก็คือไม่รู้ความจริงของสิ่งที่มีจริงเดี๋ยวนี้ และวิชาก็คือรู้ความจริงของสิ่งที่มีจริงเดี๋ยวนี้ แล้วมีใครเป็นที่พึ่ง ที่จะทำให้เข้าใจความจริงในขณะนี้ได้ พึ่งตัวเองไม่ได้แน่ใช่ไหม เพราะพึ่งยังไงก็ไม่รู้ คิดยังไงก็ไม่รู้ ว่าเห็นขณะนี้ไม่ใช่เรา แล้วก็เกิดแล้วด้วย กำลังเกิดด้วย ดับไปแล้วด้วย เกิดอีกด้วย แต่ละ ๑ แต่ละ ๑ ผ่านไปด้วยความไม่รู้ เพราะฉะนั้นทั้งชีวิต ถ้าไม่ได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่มีทางที่จะเข้าใจความจริง ด้วยเหตุนี้จึงเกิดแล้วเกิดอีกในสังสารวัฎฏ์ไม่จบ มีใครจะไม่ให้มีพรุ่งนี้ได้ไหม มีใครจะไม่ให้มีขณะต่อไปได้ไหม แล้วมีใครรู้ว่าขณะต่อไปจะเป็นอะไร ก่อนรับประทานอาหาร ไม่รู้เลยว่าจะมีอะไรบ้างใช่ไหม ไม่รู้ก่อนแน่ๆ แต่พอเห็นก็สามารถที่จะรู้ได้ว่า เราไม่ได้ตั้งใจ เราไม่ได้เตรียม แต่สิ่งนี้ก็เกิดมีแล้วเพราะเหตุปัจจัย
เพราะฉะนั้นแต่ละคำ เหมือนเป็นคำเบาๆ สบายๆ แต่เป็นคำจริงซึ่งกว่าจะมั่นคงว่าไม่มีเราแต่มีธรรม ไม่มีเราแล้วมีอะไร ก็มีสิ่งที่มีเดี๋ยวนี้ ซึ่งเป็นธรรมแต่ละ ๑ จนกว่าจะเข้าใจว่าธรรมไม่ใช่เรา นั่นจึงจะเป็นความถูกต้อง เพราะฉะนั้นกว่าจะถึงวันนั้น ที่สามารถจะรู้ว่าไม่ใช่เราจริงๆ และคำที่ได้ฟังทุกคำกำลังประจักษ์แจ้งสภาพธรรมเกิดดับ นั่นคือความหมายของตรัสรู้ แค่รู้เรื่องอื่นรู้ธรรมดารู้นิดๆ หน่อยๆ รู้ว่าขณะนี้ไม่ใช่เรา เป็นเห็นดับแล้ว เป็นได้ยินดับแล้ว ยังไม่ถึงการประจักษ์แจ้ง ก็ยังไม่ใช่ตรัสรู้ ตรัสรู้ต้องประจักษ์แจ้งความจริงตรงตามที่ได้ฟัง และจะรู้ได้สิ่งที่ได้ฟังเป็นความจริงที่สามารถรู้จริงๆ ได้ แต่ไม่ใช่ด้วยความเป็นเรา เป็นตัวตน ซึ่งไม่รู้แล้วก็ไปพยายามทำเท่าไหร่ก็ไม่รู้ เราเห็นความน่าอัศจรรย์ของพระธรรม ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จากการที่ไม่รู้มาก่อนเลย พอได้ฟังก็ค่อยๆ เข้าใจขึ้น เพราะฉะนั้นถ้าฟังมากขึ้นกว่านี้ ก็สามารถที่จะเข้าใจยิ่งขึ้น จนกระทั่งประจักษ์แจ้งความจริงได้ เหมือนอย่างที่พระสาวกทั้งหลาย ได้ประจักษ์แจ้งความจริงแล้ว ก่อนจะเป็นอย่างนั้น ก็เหมือนอย่างนี้ คือมีโอกาสได้ฟังแล้วก็ได้เข้าใจ ทีละเล็กทีละน้อย จนกว่าจะมั่นคงขึ้น แต่ทุกขณะที่เข้าใจเป็นประโยชน์
ผู้ฟัง เรียนท่านอาจารย์สุจินต์ เราจะใช้ชีวิตอย่างไรกับการทำงาน หรือว่าใช้ชีวิตในครอบครัว ที่จะไม่ให้เรานี้มีความทุกข์ ขอบคุณมาก
ท่านอาจารย์ พระอรหันต์มีทุกข์ไหม
ผู้ฟัง ไม่มี
ท่านอาจารย์ ไม่มีทุกข์ใจ แต่มีทุกข์กาย เพราะตราบใดที่มีกาย ก็ยังมีเหตุที่จะให้เกิดทุกข์ คือกรรมเก่าหรืออดีตกรรมที่ได้กระทำไว้ แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเองก็ประชวร ก่อนที่จะดับขันธปรินิพพาน เพราะเหตุว่ามีกรรมที่ได้กระทำไว้ เพราะฉะนั้นเราอยากไม่มีทุกข์อะไร
ผู้ฟัง อยากให้เรานี่มีความอดทนขึ้นให้มากกว่านี้ว่า เราควรจะทำยังไงดี
ท่านอาจารย์ เราหรือว่าธรรม
ผู้ฟัง ที่คิดอยู่ก็เป็นตัวเรา
ท่านอาจารย์ แล้วความจริงล่ะ
ผู้ฟัง ความจริงมันเป็นอนัตตาใช่ไหม
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก็ต้องมั่นคงในการที่จะรู้จริงๆ ว่าไม่มีเรา จึงจะค่อยๆ หมดทุกข์ไปได้ เพราะเหตุว่าไม่รู้แล้วก็ยึดถือว่าเป็นเรา แต่ว่าความจริงก็คือสิ่งที่มีปัจจัยเกิดแล้วก็ดับตลอดเวลา ถ้ารู้จริงๆ ในปัจจัยที่ทำให้เกิดแต่ละอย่างต้องอาศัยหลายอย่าง สิ่งหนึ่งสิ่งใดจึงจะเกิดขึ้นได้ ถ้ามีตาแต่ไม่มีอะไรมากระทบตาจะเห็นไหม
ผู้ฟัง ไม่เห็น
ท่านอาจารย์ ไม่เห็นใช่ไหม ถ้ามีสิ่งที่สามารถกระทบตาได้ แต่ไม่มีปัจจัยที่ตาจะเกิดขึ้น สิ่งนั้นจะปรากฏว่ามีได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่มี
ท่านอาจารย์ และถึงแม้ว่ามีตา และก็มีสิ่งที่กระทบกัน แต่ทั้งสองอย่างไม่รู้อะไรเลยถ้าไม่มีธาตุรู้ซึ่งเกิดขึ้นเห็นเดี๋ยวนี้ จะมีอะไรปรากฏ อย่างที่กำลังปรากฏทางตาหรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่มี
ท่านอาจารย์ เป็นทุกข์ไหม
ผู้ฟัง ไม่รู้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นจริงๆ แล้วก็ทุกข์ ก็เพราะไม่รู้ความจริงว่า แท้ที่จริงก็คือว่าไม่มีเรา แต่ทุกอย่างที่มี ใครเข้าไปทำให้เกิดขึ้นไม่ได้ แต่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ถ้าคิดอย่างนี้จะเดือดร้อนไหม เพราะว่าสิ่งที่เกิดก็ดับแล้วด้วย เพราะฉะนั้นกว่าจะหมดทุกข์จริงๆ ก็ต้องอาศัยปัญญา ความเข้าใจถูก ตามความเป็นจริง ค่อยๆ เข้าใจขึ้นก็จะทำให้รู้ว่าไม่มีเรา และไม่มีอะไรที่จะไปทำอะไร ไปอยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครได้เลยทั้งสิ้น เพราะว่าสิ่งนั้นต้องเกิดตามปัจจัย ที่อุปการะเกื้อกูลอุดหนุน ให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นเป็นอย่างนั้น อาหารกลางวันอร่อยไหม
ผู้ฟัง อร่อย
ท่านอาจารย์ อร่อยมากไหม หรือน้อย มีตั้งหลายอย่าง อร่อยไม่เท่ากันตามปัจจัยที่จะต้องเป็นแต่ละ ๑ เปลี่ยนไม่ได้ ต้องเป็นรสที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น เป็นเปรี้ยวเค็มจืดหรืออะไรก็แล้วแต่ และขณะที่กำลังรู้ก็ตามอัธยาศัยอีก ว่าใครชอบรสไหน บังคับให้เหมือนกันก็ไม่ได้ เพราะเหตุว่าเป็นสิ่งที่เกิดจากการสะสม แต่ละขณะในแสนโกฏกัปป์มาแล้วที่จะเป็นคนนี้ ยืนอยู่ตรงนี้ คิดอย่างนี้ และก็เห็นอย่างนี้ ทุกอย่างถ้าเข้าใจในความเป็นธรรม ซึ่งเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ไม่มีใครบังคับบัญช หรือทำให้เกิดได้ แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความจริง เพื่อให้รู้ความจริงว่าไม่มีเรา และสิ่งที่เกิดขึ้นชั่วคราวแสนสั้น ดับก็ไม่รู้เกิดก็ไม่รู้ ก็ยึดถือว่าสิ่งนั้น เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยงยั่งยืน แต่ถ้ารู้ว่าความจริงแล้ว ทุกข์เกิดแล้วทุกข์ก็ดับ สุขเกิดสุขก็ดับ เห็นเกิดเห็นก็ดับ ทุกอย่างชั่วคราว
ผู้ฟัง เพราะก็เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป
ท่านอาจารย์ ก็ได้ยินคำนี้มานานแล้ว ยังแต่ไม่รู้ว่าอะไร แต่สิ่งที่มีจริงเดี๋ยวนี้ทั้งหมด อะไรก็ตามที่ปรากฏ สิ่งนั้นต้องเกิด เกิดแล้วต้องดับ เพราะฉะนั้นปัญญาที่อบรมแล้ว สามารถที่จะรู้ความจริง ประจักษ์แจ้งได้เป็นการตรัสรู้ ไม่ใช่แค่ฟังเข้าใจ มั่นใจมั่นคงในปัญญา ก็ในบรรดาสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมด ปัญญาประเสริฐสุด การที่สามารถเข้าใจความจริงถึงที่สุด ประเสริฐกว่าอยู่ไปโดยไม่รู้อะไรและก็เป็นทุกข์ เพราะฉะนั้นคนไม่รู้จะหมดทุกข์ได้ไหม แต่คนที่รู้ค่อยๆ ละทุกข์ตามลำดับ จนถึงเป็นพระอรหันต์ไม่มีทุกข์เลย แต่ตราบใดที่ยังไม่ปรินิพพาน ก็มีปัจจัยที่จะทำให้ทุกข์กายเกิดขึ้นได้ จะหาทางอื่นให้หมดทุกข์ไหม หรือว่ารู้ว่าหนทางเดียว คือเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ
ผู้ฟัง ทางหมดทุกข์ของดิฉันก็คือเราไม่ยึดมั่นถือมั่น
ท่านอาจารย์ ได้ไหม
ผู้ฟัง พยายามทำอยู่
ท่านอาจารย์ ใครทำ
ผู้ฟัง ตัวเอง
ท่านอาจารย์ แล้วมีใครเป็นที่พึ่งหรือเปล่า
ผู้ฟัง ที่พึ่งนี้ก็คือธรรม
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นใช่เราไม่ใช่หรือ แต่ต้องเป็นความเข้าใจธรรม ถ้าไม่เข้าใจธรรม ทำยังไงยังไงก็ไม่สำเร็จ ก็เป็นตัวตนเป็นเรา ตราบใดที่ยังไม่รู้ความจริงก็ต้องเป็นทุกข์ พบยาที่จะรักษาโรคหรือยัง เป็นโรคกันทุกคนหรือเปล่า นั่นก็เป็นทุกข์เพราะโรค และพยายามหาทางรักษาโรค แต่ถ้าไม่พบยาก็รักษาโรคไม่ได้ เพราะฉะนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบดุจแพทย์ พระธรรมเปรียบดุจยา เฉพาะผู้กินจึงจะรักษาได้ แต่ผู้ไม่กินยาต่อให้ยาอยู่ตรงหน้า ก็ไม่สามารถที่จะรักษาโรคได้
ผู้ฟัง แต่ก็พยายามใช้คำว่าคืออริยสัจ ๔
ท่านอาจารย์ อริยสัจ ๔ ใครใช้ได้
ผู้ฟัง อริยสัจ ๔ มีทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
ท่านอาจารย์ แล้วจะใช้คำไหน
ผู้ฟัง ทุกข์นี่คือสิ่งที่ทนได้ยาก
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้มีไหม
ผู้ฟัง ขณะนี้ไม่มี
ท่านอาจารย์ ก็แปลว่ายังไม่รู้จักทุกข์ สิ่งที่ไม่มีแล้วก็เกิดมี ชั่วคราวแสนสั้น แล้วก็ดับไป ไม่กลับมาอีกเลย เป็นทุกข์ไหม ดียังไง ก็แค่เกิดมาปรากฏแล้วก็หมดไป แล้วหาอีกไม่ได้เลย แล้วดียังไง ถ้าไม่ใช่สิ่งที่น่าพอใจ น่าเพลิดเพลิน คือความหมายของทุกข์ เพราะไม่มีใครชอบทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่สิ่งที่น่าพอใจ เพราะฉะนั้นทุกขอริยสัจ ไม่ใช่ทุกข์อย่างที่เรารู้ แต่ต้องเป็นทุกข์ของสภาพธรรมที่เกิดแล้วดับ แล้วไม่กลับมาอีกเลย จริงหรือเปล่า ไม่ใช่ให้เราเชื่อ แต่ค่อยๆ พิจารณาไตร่ตรอง ถ้าไม่เป็นความเข้าใจของเราเอง ไม่มีทางที่จะดับทุกข์ได้ เพราะฉะนั้นใช้อะไรได้ไหม ใช้ปัญญาได้ไหม
ผู้ฟัง ได้
ท่านอาจารย์ ปัญญาอยู่ไหน
ผู้ฟัง ปัญญานี่คือจะคิดอย่างไรให้เราไม่มีทุกข์
ท่านอาจารย์ เมื่อกี้บอกว่ามีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง เลยหายไปเลยที่พึ่งเหมือนไม่ต้องมี มีแต่เราเองทั้งหมด
ผู้ฟัง บางครั้งมันก็สับสน
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง ต้องสับสนแน่นอน จนกว่าจะเข้าใจทุกคำและทีละคำ แล้วรอบรู้ในคำนั้นไม่เปลี่ยน อย่างขณะนี้สิ่งที่มีจริงนี่แหละไม่ใช่เรา เกิดแล้วแต่ละ ๑ ตามเหตุตามปัจจัย ได้ยินไม่ใช่เห็น อาศัยเหตุปัจจัยที่ต่างกัน ไม่มีใครไปทำได้เลย เพราะฉะนั้นใช้อะไรไม่ได้ ใช้ปัญญาได้ยังไง ไม่มีปัญญา ถึงมีปัญญาก็ใช้ปัญญาไม่ได้ เพราะปัญญาเกิดแล้วก็ดับ ไหนใคร ไหนใช้ แต่ความเข้าใจถูกต้องเกิดก็ไม่ใช่เรา แล้วก็ดับด้วย แล้วก็เกิดอีก เมื่อเช้านี้พอเข้าใจสิ่งที่เราได้สนทนากันแล้วใช่ไหม ไม่ใช่ความเข้าใจเดี๋ยวนี้ แต่ความเข้าใจเดี๋ยวนี้สืบต่อมาจาก ความเข้าใจเมื่อเช้านี้ เพราะฉะนั้นการที่เริ่มเข้าใจ จะค่อยๆ เพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้น แต่ไม่ใช่ความเข้าใจ ที่เป็นความเข้าใจเดียวกับที่เข้าใจ แต่ว่าสะสมสืบต่อ เหมือนความโกรธใช่ไหม ความโกรธเมื่อวานนี้ ก็ไม่ใช่ความโกรธวันนี้ แต่ตราบใดยังมีการที่ขุ่นเคืองใจสะสมอยู่ เพราะไม่รู้ก็จะเป็นปัจจัย ที่จะทำให้ขุ่นเคืองใจไม่พอใจโกรธอีกได้
ผู้ฟัง ก็เหมือนที่ตนตอบว่า เราต้องนิ่ง เราต้องอดทนต่อคำไหม
ท่านอาจารย์ เพราะเขาไม่รู้
ผู้ฟัง เพราะเขาไม่รู้
ท่านอาจารย์ แล้วไปโกรธอะไรกับความไม่รู้ ความไม่รู้นี่น่าสงสาร หรือว่าน่าโกรธ สงสารที่นี้หมายความเห็นใจ และเข้าใจด้วยว่าต้องเป็นอย่างนี้ ความไม่รู้จะเป็นความรู้ไม่ได้ ความโกรธจะเป็นความไม่โกรธไม่ได้ และปัญญานำไปในกิจทั้งปวง โกรธดีหรือไม่โกรธดี
ผู้ฟัง ไม่โกรธ
ท่านอาจารย์ ไม่โกรธดี ก็ไม่โกรธสิ จะไปโกรธทำไม ใช่ไหม ถ้ามีความเข้าใจจริงๆ ไม่ใช่เรา แต่เป็นปัญญา นำไปจริงๆ ในกิจทั้งปวง ที่ดีที่ถูกต้องที่เป็นกุศล ถือเอาแต่สิ่งที่ควรและเป็นประโยชน์ ละทิ้งสิ่งที่ไม่ควรและไม่เป็นประโยชน์ เพราะฉะนั้นเราจะไม่มีทางรู้เลย ว่าอะไรดีอะไรชั่วแค่ไหน จนกว่าจะได้ฟังพระธรรม ทรงแสดงไว้โดยประการทั้งปวงทั้งหมด นี่แหละคือที่พึ่งไม่ใช่เราคิดเอง เราทำเอง เมื่อกี้นี้ใช้คำว่าปฏิบัติธรรมใช่ไหม คำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกคำเพื่อเข้าใจ ไม่เหมือนกับว่าถามแล้วก็ให้ไปปฏิบัติ แต่ไม่เข้าใจอะไรเลย นั่นคือไม่ใช่คำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นก่อนอื่น เราพูดคำที่เราไม่รู้จักตั้งแต่เกิดจนตาย ถ้าไม่ได้ฟังพระธรรม เช่นคำว่าปฏิบัติธรรม ธรรมคืออะไร ปฏิบัติคืออะไร เพราะสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ทั้งหมด เพราะฉะนั้นคนที่มีความเคารพ มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง แล้วไม่เข้าใจก็คือยังไม่มีพระองค์เป็นที่พึ่ง แต่ที่พึ่งคือสามารถทำให้จากไม่รู้เลย เป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง และเป็นความรู้ที่เพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นจะรู้ว่าปฏิบัติคืออะไร จะรู้ว่าธรรมคืออะไร แต่ไม่ใช่ให้ไปปฏิบัติธรรมแต่ก็ไม่เข้าใจอะไรเลย ที่สอนให้เข้าใจทั้งหมดไม่ใช่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะสอนให้ทำแต่ไม่ได้ให้เข้าใจ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้สิ่งที่มีเดี๋ยวนี้ตามความเป็นจริง ถ้าพยายามศึกษาต้องรู้จุดประสงค์ว่าเพื่อเข้าใจ ไม่ใช่เพื่อให้เราหมดทุกข์ ไม่โกรธอีก หรือทำยังไงจะดีอย่างนั้นอย่างนี้ นั่นคือเพื่อตัวเรา ไม่ได้เพื่อเข้าใจถูกต้อง ตามคำที่พระองค์ทรงแสดง พระองค์ทรงแสดงธรรมคือสิ่งที่มีจริง และเดี๋ยวนี้ก็มีสิ่งที่มีจริง เพราะฉะนั้นฟังเพื่อให้เข้าใจสิ่งที่มีจริง แล้วปัญญาก็ทำกิจของปัญญา รู้ว่าอะไรถูกรู้ว่าอะไรผิด ถ้าเป็นปัญญาจริงๆ ไม่ทำสิ่งที่ผิด เพราะฉะนั้นที่ผิดกันเพราะขาดปัญญา ไม่ว่าจะเป็นความโกรธ ความโลภ ความมานะริษยาทั้งหมดที่ไม่ดี เพราะขณะนั้นไม่ใช่ปัญญา เพราะฉะนั้นโลกวิกฤต เพราะขาดปัญญา เพราะฉะนั้นฟังธรรมเพื่ออะไร
ผู้ฟัง ขัดเกลา
ท่านอาจารย์ เพื่อเข้าใจถูกต้อง และความเข้าใจนั้นขัดเกลาไม่ใช่เรา รู้เลยไม่มีเราแต่มีความเข้าใจ ๒ อย่าง ถูกอย่างหนึ่ง ผิดอย่างหนึ่ง ถ้าเข้าใจถูกก็ใช้คำว่าสัมมาทิฏฐิ ถ้าเข้าใจผิดก็มิจฉาทิฎฐิ หนทางผิดก็คือมิจฉามรรค หนทางถูกก็คือสัมมามรรค ทรงแสดงไว้ทั้งสองอย่าง แต่ไม่รู้เลยสักอย่างเดียว ก็ไปทำเพราะไม่รู้ ก็ต้องเป็นมิจฉามรรค สนใจจะปฏิบัติไหม
ผู้ฟัง สนใจ
ท่านอาจารย์ มิจฉามรรค จะเป็นสัมมามรรคไม่ได้ ถ้ายังไม่เข้าใจ เพราะฉะนั้นก่อนอื่นต้องเข้าใจ พอเข้าใจแล้วอยู่ตรงนี้ เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏเพิ่มขึ้น ตามลำดับ นั่นคือหนทางที่จะนำไปสู่การประจักษ์แจ้งทุกคำ ที่ได้ฟังเพื่อเป็นความจริง เพราะฉะนั้นปัญญามีหลายระดับขั้นต้น เบื้องต้นคือฟัง ต้องเข้าใจก่อน ถ้าไม่มีความเข้าใจ จะเกิดปัญญาอีกระดับหนึ่งไม่ได้ จนถึงแทงตลอดประจักษ์แจ้งก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นจึงต้องอาศัยการฟัง เพื่อละความเป็นตัวตน ที่หวังที่ไปทำเพราะต้องการ
ผู้ฟัง จะฟังจากวิทยุ และก็ลองปฏิบัติกับตัวเอง
ท่านอาจารย์ ปฏิบัติด้วยตัวเองทำยังไง
ผู้ฟัง ก็พยายามปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่น
ท่านอาจารย์ ตอนนี้ คำที่พูดแล้ว ลองไตร่ตรอง ผิดหรือถูก พยายามปล่อยวางผิดหรือถูก ฟังเผินๆ เหมือนดีใช่ไหม คนนี้หวังดีคิดดี พยายามปล่อยวาง หารู้ไม่ว่าปล่อยไม่ได้ วางไม่ได้เพราะไม่รู้ ความไม่รู้จะไม่ทำให้ปล่อยวางเลย ความรู้เท่านั้นที่จะค่อยๆ ละคือปล่อยวาง เห็นเดี๋ยวนี้เป็นเราเห็นใช่ไหม ปล่อยวางสิ ไม่ใช่เรา ปล่อยวางยังไงกำลังเห็นนี่ไม่ใช่เรา ถ้ายังเป็นเราก็ไม่ได้ปล่อยวางความเป็นเราที่เห็นเลย กำลังโกรธ ปล่อยวางสิ ได้ไหม ไม่ต้องปล่อยวางโกรธก็ดับแล้ว แต่ไม่รู้ ไปพยายามปล่อยวางอะไร เพราะฉะนั้นหนทางเดียว จากการเริ่มเข้าใจถูกว่า ถ้าไม่ได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่สามารถจะเข้าใจสิ่งที่กำลังมีทุกขณะไม่ว่าที่ไหนได้เลย
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1201
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1202
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1203
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1204
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1205
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1206
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1207
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1208
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1209
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1210
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1211
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1212
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1213
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1214
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1215
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1216
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1217
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1218
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1219
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1220
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1221
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1222
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1223
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1224
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1225
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1226
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1227
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1228
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1229
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1230
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1231
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1232
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1233
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1234
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1235
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1236
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1237
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1238
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1239
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1240
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1241
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1242
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1243
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1244
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1245
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1246
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1247
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1248
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1249
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1250
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1251
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1252
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1253
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1254
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1255
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1256
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1257
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1258
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1259
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1260