ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1207
ปกิณณกธรรม ตอนที่ ๑๒๐๗
สนทนาธรรม ที่ บ้านธัมมะ ลำพูน
วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑
ท่านอาจารย์ แล้วก็จะมีคนนี้ชั่วชีวิตนี้เท่านั้น ชาติก่อนไม่มีคนนี้ ยังไม่มียังไม่เกิดเป็นคนนี้ จากโลกนี้ไปแล้ว ไม่มีคนนี้อีกเลยในสังสารวัฏฏ์ เพราะฉะนั้น จิต เจตสิก รูปที่เกิดในชาตินี้ ทำให้เข้าใจว่าเป็นคนนี้ เฉพาะในชาตินี้ จิตเจตสิกรูปที่มีปัจจัยจะเกิดต่อไปในชาติหน้าจะเป็นอะไร ใครรู้ยังไม่เกิดก็ไม่รู้เหมือนเราชาติก่อนอยู่ไหน ทำอะไรกรรมอะไรก็มีเยอะ บุญกรรม บาปกรรมอะไรทั้งหลายก็มากมายแต่ละวัน แต่ละเดือน แต่ก็จากโลกนั้นไปแล้ว พ้นความเป็นบุคคลนั้นก็มาเป็นคนนี้เพราะปัจจัย ๑ กรรม ๑ ที่ทำให้เป็นคนนี้ ตามกำลัง และกำหนดของกรรมที่จะให้ผลว่า เป็นคนนี้ได้นานเท่าไหร่ ต่อไปก็ไม่ใช่คนนี้แล้ว สิ่งที่เกิดมาแล้วกุศล อกุศลใดๆ ก็สะสมสืบต่ออยู่ในจิต ปรุงแต่งทำให้เกิดหลากหลายมาก
ผู้ฟัง สืบต่อไปแล้ว จะไปเป็นยังไงต่อไป
ท่านอาจารย์ ก็แล้วแต่
ผู้ฟัง สมมุติว่าเกิดมาเป็นคนใหม่
ท่านอาจารย์ คนก็ได้ไม่ใช่คนก็ได้ เกิดแน่ แต่จะเป็นอะไร สุดปัญญาที่จะกล่าวถึง เพราะยังไม่เกิด
ผู้ฟัง สิ่งที่สะสมมา
ท่านอาจารย์ ไม่หายไปไหนเลย อยู่ในจิต ตอนเป็นเด็กจำได้ไหม ไปโรงเรียนทำอะไรบ้าง สนุกสนานยังไง ทุกอย่างเก็บสะสมอยู่ในจิต
ผู้ฟัง แม้จะไปชาติหน้าด้วย
ท่านอาจารย์ ชาติหน้า ถ้ามีความเข้าใจธรรมชาตินี้ พอถึงชาติหน้าความเข้าใจนั้นไม่ได้สูญหาย เพียงแต่ว่าพอได้ยินได้ฟังก็เข้าใจ
ผู้ฟัง ถามเพิ่ม จิตเกิดดับสืบต่อ แล้วเจตสิกนี่ มีเกิดดับสืบต่อ มีสะสมเหมือนกับจิตหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ ต้องมีความเข้าใจว่าสภาพนามธรรม มี ๔ ขันธ์ ถ้าแยกโดยประเภท แต่ก็คือจิตเจตสิกนั่นเอง เพราะฉะนั้นจิตเป็นวิญญาณขันธ์ ธาตุที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้ง แต่ก็มีเจตสิกทั้งหมด ๓ ขันธ์ ไม่พูดก็ได้ พูดแค่จิตกับเจตสิกเกิดร่วมกันไม่แยกกันเลย เพราะกล่าวไว้ว่านามขันธ์ ๔ ไม่แยกกัน ก็หมายความว่าจิต และเจตสิกไม่แยกกันเลย จิตเป็นธาตุรู้ เวลาที่ธาตุรู้เกิดขึ้น มีแต่เฉพาะธาตุรู้เท่านั้นหรือ ไม่มีอะไรเลยหรือ ลองคิด แต่มีความรู้สึกไหม เราแทบจะไม่รู้จักความรู้สึกเลยว่าเดี๋ยวนี้รู้สึกอะไร แต่มี แต่ความรู้สึกนั้นไม่ปรากฏ เพราะเหตุว่ามีสิ่งที่จิตกำลังรู้เป็นอารมณ์ที่ปรากฏ เพราะฉะนั้นมีความรู้สึกด้วยใช่ไหม ความรู้สึกที่เกิดกับจิตขณะที่จิตกำลังรู้สิ่งนั้น จะเอาเจตสิกคือความรู้สึกออกไปจากจิตได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ แยกกันไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นให้ทราบว่าจิต และเจตสิก เกิดพร้อมกัน รู้สิ่งเดียวกัน ดับพร้อมกัน แต่ว่าจิตเป็นจิต เจตสิกเป็นเจตสิก ต้องเข้าใจอย่างมั่นคง เป็นนามธาตุเป็นธาตุรู้ แต่จิตไม่ใช่เจตสิก และเจตสิกไม่ใช่จิต ใครรู้ใครตรัสรู้ ถ้าไม่มีการบำเพ็ญบารมีที่จะรู้ สิ่งเหล่านี้จะถูกปกปิด มิดชิดนานแสนนาน ไม่เปิดเผยเลย ว่าแท้ที่จริงขนาดนี้มีจิต และเจตสิก เกิดพร้อมกัน รู้สิ่งเดียวกัน และก็ดับพร้อมกัน เพราะฉะนั้น จิตเห็นเกิดแล้วดับ เจตสิกที่เกิดกับจิตเห็นดับไหม
ผู้ฟัง ดับ
ท่านอาจารย์ จิตเห็นมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ มี จิตเจตสิกดับพร้อมกันเป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิด
ผู้ฟัง แล้วเป็นปัจจัยให้แก่เจตสิกใหม่เกิด
ท่านอาจารย์ ถ้าจิตนี้ยังไม่ดับจิตจะเกิดสืบต่อไม่ได้ จิตจะเกิดซ้อนกันสองขณะไม่ได้ ต้องจิตนี้หมดไปแล้ว ปราศไปโดยประการทั้งปวง ทั้งอุปาทขณะ ฐิติขณะ ภังคขณะ หมายความว่าขณะของจิต ขณะเกิดกับขณะดับ ไม่ใช่ขณะเดียวกัน นี่คือความละเอียดว่า จิต ๑ เกิดแล้วก็ดับเร็วมาก แต่ก็ยังแยกว่าขณะเกิดไม่ใช่ขณะดับ ขณะที่ตั้งอยู่ยังไม่ดับก็ไม่ใช่ขณะที่เกิด เพราะฉะนั้นต้องหมดไปทั้ง ๓ ขณะ เพราะฉะนั้นจึงจะเป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิดไปได้ และเจตสิกที่เกิดกับจิตล่ะดับไปพร้อมกับจิตรึเปล่า
ผู้ฟัง พร้อม
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นจิตเท่านั้นหรือ ที่เป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิดขึ้น หรือจิต และเจตสิกที่เกิดร่วมกัน แยกกันไม่ออก เป็นปัจจัยให้จิต และเจตสิกใหม่เกิดสืบต่อแยกกันไม่ออก แยกไม่ได้เลย เจตสิกอยู่ในจิตเลย เกิดพร้อมกันดับพร้อมกัน รู้สิ่งเดียวกัน ผสมกันใช้คำว่าสัมปยุตตปัจจัย เข้ากันสนิท เพราะเป็นนามธาตุไม่มีรูปใดๆ เจือปนเลยทั้งสิ้น
ผู้ฟัง แล้วที่พูดบอกว่าทุกสิ่งทุกอย่าง สะสมอยู่ในจิตนี้หมายถึงรวมถึงว่าสิ่งที่สะสมอยู่ในเจตสิกด้วยหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นต้องทราบ จิตกับเจตสิกแยกกันได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ เห็นไหม เพราะฉะนั้นเมื่อจิตเจตสิกเกิด แล้วจิตเจตสิกดับ ทุกอย่างในจิตก่อน ทุกอย่างนี่รวมเจตสิกไหม
ผู้ฟัง รวม
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นสิ่งที่สะสมอยู่ในจิต สืบต่อไปสู่จิตขณะต่อไป หมายความว่าจิตที่ดับไปต้องเป็นประเภทไหน และก็สะสมอะไรอะไรไว้บ้างทั้งหมด สิ่งที่ดับไปก็สืบต่อไปถึงจิตขณะต่อไปทั้งหมด ทั้งหมดก็ต้องรวมเจตสิกด้วย เพราะฉะนั้นจิตเป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิดขึ้น จิตที่ดับไปเป็นปัจจัยให้เจตสิกเกิดหรือเปล่า
ผู้ฟัง เป็น
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นจิตที่ดับไปแล้ว เป็นปัจจัยให้จิต และเจตสิกเกิดใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเจตสิกที่ดับไป เป็นปัจจัยให้จิตเจตสิกเกิดรึเปล่า
ผู้ฟัง เป็น
ท่านอาจารย์ ทั้งหมดนี่ ก็เหมือนกันเลย เข้ากันสนิทเลยจิตกับเจตสิก เพราะฉะนั้นไม่เราไม่ต้องพูดบ่อยๆ ใช่ไหม จิตเจตสิกที่เป็นอกุศล จิตเจตสิกที่เป็นกุศล พูดจิตคำเดียวรวมเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย
ผู้ฟัง เหมือนเจตสิกที่เป็นสัญญาเจตสิก สิ่งที่เราจำได้ จะอยู่ในเจตสิกที่เป็นสัญญา
ท่านอาจารย์ ไม่มีการอยู่ไหนๆ เลย หมายความว่าเกิดแล้วดับไป แต่สะสมอยู่ในจิต เพราะว่าเคยไม่ชอบ มีอาหารบางอย่าง บางคนรับประทานไม่ได้เลย พยายามสักเท่าไหร่ก็ไม่ชอบทานไม่ได้ รับประทานไม่ได้สะสมมาอย่างนั้น แต่บางอย่างก็ชอบมาก ฝืนที่จะไม่ชอบก็ไม่ได้ ตามที่เคยชอบ เคยพอใจ เพราะฉะนั้นเราไม่รู้เลย ว่าเราเกิดมา เราแสวงหาด้วยความติดข้อง ที่จะไม่แสวงหาไม่มี เพราะฉะนั้นจากไม่มีเลย ก็เกิดมี แล้วก็หมดไปแต่จำได้ สัญญาเจตสิกไม่ใช่จิต เพราะฉะนั้นก็ปรุงแต่ง สร้างแสวงหาสืบต่อไปไม่หยุด เพราะฉะนั้นเจตสิกอื่นก็ปรุงแต่ง ให้เป็นไปตามสภาพของความรู้สึก และความจำในสิ่งนั้นๆ ที่เป็นที่พอใจ ก็แสวงหาไปเรื่อยๆ
ผู้ฟัง ขอบคุณ
ผู้ฟัง เกี่ยวกับเรื่องของการสืบต่อของจิตเจตสิก
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้มีอะไร เป็นสิ่งที่เราไม่เคยเข้าใจมาก่อนเลย แล้วยากที่จะเข้าใจ ยากจนกระทั่งไปคิดเองหมดเลย ที่จะเข้าใจ แทนที่จะค่อยๆ ฟังแล้วก็รู้ว่า ความจริงเป็นอย่างที่ได้ยิน จากที่ได้ทรงแสดงไว้ดีแล้ว เพราะฉะนั้นเริ่มคิดว่าเดี๋ยวนี้มีอะไรรึเปล่า หรือไม่มีอะไรเลย
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ มี
ท่านอาจารย์ มีแน่ๆ มีอะไร
ผู้ฟัง มีเห็น
ท่านอาจารย์ มีเห็น เห็นเป็นตารึเปล่า
ผู้ฟัง ไม่ใช่
ท่านอาจารย์ เพราะตาไม่เห็นแน่ใช่ไหม เห็นเป็นสิ่งที่กำลังปรากฏ เดี๋ยวนี้ที่กำลังเห็นหรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่ใช่
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเห็นมีจริง แต่ไม่ใช่สิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็น และไม่ใช่ตาด้วย
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นที่เห็น หมายความว่ารู้ว่า อะไรเป็นอะไรข้างหน้าที่ปรากฏ รู้ว่าเป็นดอกไม้ รู้ว่าเป็นโต๊ะใช่ไหม แต่นั่นหลังเห็น เพราะฉะนั้นก่อนที่จะคิดว่าเป็นดอกไม้ต้องมีเห็นก่อน ค่อยๆ พิจารณาค่อยๆ เข้าใจ ที่จะรู้ลักษณะของธาตุรู้ ถ้าไม่มีธาตุรู้เลยอะไรอะไรก็ไม่ปรากฏ แต่เดี๋ยวนี้มีสิ่งที่ปรากฏต่อหน้าต่อตา เป็นดอกไม้บ้าง เป็นพวงมาลัยบ้าง เป็นอะไรบ้าง ก็แสดงว่าต้องมี ธาตุที่กำลังเห็น สิ่งนั้นรูปร่างอย่างนั้นจึงปรากฏว่ามี กำลังปรากฏได้ ถ้าไม่เห็นแล้วนึกเอา นึกถึงพวงมาลัยสิ โดยไม่เห็น
ผู้ฟัง นึกไม่ได้
ท่านอาจารย์ นึกยังไงก็ไม่ปรากฏ ใช่ไหม แค่จำแล้วก็คิด แต่ไม่ใช่สิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้นแต่ละ ๑ ขณะในชีวิต ก็ขณะเห็นเป็นขณะเห็น เพราะฉะนั้นขณะเห็นซึ่งไม่เคยรู้เลยว่า ถ้าไม่เห็นก็จะไม่มีอะไรปรากฏทางตาเลยทั้งสิ้น แต่เห็นบังคับไม่ได้ว่าไม่ให้เห็น เห็นเกิดแล้ว และกำลังเห็นด้วย เพราะฉะนั้นก็เข้าใจเห็นที่เกิดแล้ว ว่าไม่มีใครไปทำให้เกิด มีใครสักคนหนึ่งไหม ที่จะทำให้เห็นเกิดขึ้นได้ ไม่มี มีใครสักคนไหมที่จะห้ามไม่ให้เห็นเกิด เมื่อมีปัจจัยเห็นก็เกิดขึ้น และเห็นคืออะไร ข้อสำคัญที่สุด ที่เราจะเริ่มเข้าใจธรรมจริงๆ ไม่ใช่คิดเอง และก็ไม่ใช่ว่าฟังแล้วก็ไม่เข้าใจเลย เพราะไม่ไตร่ตรอง แต่ที่ไตร่ตรองคือไตร่ตรองคำที่ได้ฟัง กับสิ่งที่กำลังปรากฏ มีสิ่งที่ปรากฏจริงๆ ไม่ต้องเรียกก็มี แต่เราจะเข้าใจได้ยังไงว่า สิ่งที่ปรากฏไม่ใช่ สิ่งที่กำลังรู้สิ่งที่ปรากฏ เพราะฉะนั้นจึงมีคำที่แสดงความต่างของสิ่งที่มีจริง มีจริงๆ คือเห็นกับสิ่งที่ปรากฏให้เห็นใช่ไหม ใครไปทำให้เกิดขึ้นได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ สภาพที่กำลังเห็นเปลี่ยนเป็นสิ่งที่ปรากฏได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ไม่ได้ เพราะฉะนั้นนั่นแหละคือธรรมสิ่งที่มีจริง ซึ่งต่างกันเป็น ๒ อย่างคือสภาพธรรมอย่าง ๑ มีจริงๆ เพราะเกิดขึ้นจริงๆ แต่ไม่รู้อะไร เช่นเป็นแข็งต้องเกิดเป็นแข็ง ไม่เกิดก็ไม่มีแข็ง เกิดเป็นแข็งแล้วจะเป็นอื่นไม่ได้ จะเป็นขมไม่ได้ จะเป็นเสียงไม่ได้ เป็นแข็ง เพราะฉะนั้นลักษณะนั้นคือเป็นธรรม ซึ่งไม่มีใครสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้เลยทั้งสิ้น เพราะไม่มีใครมีแต่ธรรมทุกอย่าง คิดขณะนั้นไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏทางตา ไม่ใช่เสียงแต่คิดมีใช่ไหม ไม่ให้คิดได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ให้คิดเป็นเห็นได้ ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ให้คิดเป็นได้ยินได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก็เป็นธาตุรู้อีกอย่างหนึ่งใช่ไหม รู้อะไรล่ะ ธาตุคิด
ผู้ฟัง รู้ รู้ในสิ่งที่คิดคือรู้ในเรื่องที่จำมา ในตา หู จมูก ลิ้น กาย ที่ผ่านๆ มา
ท่านอาจารย์ ความน่าอัศจรรย์ที่คิดไม่ถึง ก็คือว่าเห็นนี้เกิด ๑ ขณะแล้วดับไป และจิตที่รู้สิ่งที่กระทบตาสั้นมากหรือดับไปหมด ขณะนั้นไม่มีการเห็น ไม่มีการได้ยิน ไม่มีการคิดนึก แต่มีจิตที่เกิดสืบต่อ จนกว่าจะมีการคิดถึงสิ่งที่เห็น เพราะฉะนั้นพอเห็นอะไรก็คิดทันทีถึงสิ่งนั้น โดยไม่รู้เลยเร็วมาก เหมือนติดกัน เหมือนไม่มีอะไรคั่น แต่หารู้ไม่ว่าจิตแต่ละ ๑ ขณะหลากหลายตามปัจจัย ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ ตามความเป็นจริง ที่ให้รู้ว่าที่เราเข้าใจว่าเห็นดอกไม้ แค่เห็นยังเป็นดอกไม้ไม่ได้ ต้องมีรูปที่ไม่ใช่ดอกไม้ แต่รูปนั้นกระทบตาได้ แล้วแต่ส่วนประกอบที่จะให้รูปนั้น เมื่อกระทบแล้วเห็น แล้วปรากฏเป็นสีสันวรรณะหลากหลายมาก สีทั้งนั้นเลย หลากหลายที่ปรากฏ ไม่ให้สีแดงเป็นแดงได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ไม่ให้สีเขียวเป็นสีเขียวได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ไม่ได้เลย นี่คือธรรม คือเริ่มเข้าใจคำว่าธรรมให้ลึกซึ้งขึ้น ว่าเป็นสิ่งที่มีจริง ซึ่งไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาเลย เป็นธรรมทั้งหมด แค่นี้ก็เริ่มเข้าใจละว่า ไม่ว่าจะได้ยินได้ฟังอะไรก็เป็นธรรม แต่ว่าธรรมหลากหลายมาก โดยเฉพาะคือธาตุรู้ถ้ามีแต่รูปธรรม เกิดขึ้น เย็นบ้าง แข็งบ้าง เสียงบ้าง แต่ไม่มีธาตุรู้เกิดขึ้นรู้ จะปรากฏไหม
ผู้ฟัง ไม่ปรากฏ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นโลกไม่ปรากฏ จนกว่าจะมีธาตุรู้กำลังรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด ใช่ไหม จึงปรากฏ เพราะฉะนั้นแม้โลกคือสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เกิดขึ้น ก็ต่างกันว่าเป็นแต่เพียงสภาพที่ไม่รู้อะไร กับสภาพที่รู้เกิดขึ้นจึงรู้ว่ามีสิ่งนั้น เพราะฉะนั้นก็ต่างกันเป็น ๒ อย่างมีเราไหม
ผู้ฟัง ไม่มี
ท่านอาจารย์ นี่เริ่มเข้าใจว่าไม่มีเราตั้งแต่ต้น มั่นคงขึ้น ไม่ลืม ต้องย้อนกลับมาไม่ใช่เรา เพียงแต่เป็นสิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะเกิดขึ้น ไม่ต้องไปคิดถึงน้ำกับลูกแก้วอะไรเลยทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นก็คำที่ได้ฟังแล้วค่อยๆ คิดพิจารณา ว่าเป็นความจริงอย่างนั้นไหม ก็จะรู้ว่าจิต ธาตุรู้มีแน่ แต่เห็นก็ไม่ใช่ได้ยินเริ่มต่างละ เกิดขึ้นเพราะปัจจัยต่างกันละ เกิดแล้วต้องดับไปแล้ว ทีละ ๑ ปรากฏพร้อมกันไม่ได้เลย แต่เพราะการสืบต่อของการเกิดดับอย่างเร็ว ทั้งจิตเจตสิก และรูป ก็ปรากฏให้ไม่มีใครรู้ได้เลยว่า มีสิ่งที่เกิดปรากฏแล้วดับสืบต่อ จนเป็นรูปร่างสัณฐานอย่างหนึ่งอย่างใด สำหรับรูปธรรมสำหรับจิต ธาตุรู้ก็ให้รู้ว่าธาตุรู้คืออย่างนี้ ไม่ว่าจะเห็น จะได้ยิน จะคิด ธาตุรู้ก็คือสืบต่อเป็นแต่ละ ๑ แต่ละ ๑ เร็วมากก็เป็นธาตุรู้ เพราะฉะนั้นโลกนี้จึงมีธรรมที่ต่างกันเป็นธาตุรู้กับรูปธรรม ค่อยๆ เอาเราที่เคยยึดถือไว้ออกไป จากการไตร่ตรองว่า เมื่อความจริงเป็นอย่างนี้ ประจักษ์แจ้งได้ แต่ไม่ใช่ฟังอย่างนี้แล้วรู้เลย เป็นไปไม่ได้เลย เพราะสภาพธรรมใครจะรู้หรือไม่รู้ก็เป็นอย่างนี้ ขึ้นอยู่กับว่าปัญญาระดับไหน สามารถจะรู้ความจริงได้แค่ไหนของความจริง สภาพธรรมที่เป็นธาตุรู้มีแม้ปรากฏ แต่ก็ยังไม่ประจักษ์การเกิดดับ เพราะแม้ขณะนั้นกำลังเกิดดับ ปัญญาไม่ถึงขั้นที่จะประจักษ์การเกิดดับ ด้วยเหตุนี้คำว่าวิปัสสนา ปัญญาที่รู้จริงๆ ประจักษ์จริงๆ จึงต้องมีหลายขั้น เพราะการเกิดดับรวดเร็วอย่างยิ่งของธรรม ซึ่งปกปิดความจริง แม้เป็นธาตุรู้แต่การเกิดดับยังไม่ปรากฏสืบต่อกัน ให้รู้ว่าธาตุรู้เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้นความรู้สึก ๑ ขณะจิตที่เกิดขึ้น และดับไปไม่ปรากฏ เพราะดับแล้วหมดแล้วเร็วมาก แต่ถ้าเกิดดับเกิดดับสืบต่อประเภทเดียวกัน ก็ปรากฏว่าเจ็บ แล้วก็เจ็บอยู่นานเท่าไหร่ มากหรือน้อยก็แล้วแต่ปัจจัย ที่ทำให้เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นแม้แต่ความหิว หิวมาก หิวน้อย ความรู้สึกเป็นยังไง ก็แล้วแต่ปัจจัย แต่สิ่งที่มีจริงทั้งหมด สามารถที่จะให้เกิดความเห็นถูก ความเข้าใจถูกได้ เมื่อได้ยินได้ฟัง คำที่กล่าวถึงความเป็นจริงของสิ่งนั้น แต่ถ้าไม่ได้ยินไม่ได้ฟังเลย ไปคิดเองว่านี่สภาพธรรมเกิดดับ ต้องไปนั่งจ้องให้เกิดดับ ไม่มีหนทาง เพราะว่าการเกิดดับปรากฏกับปัญญา ความเข้าใจที่ถึงระดับที่จะประจักษ์ และเข้าใจในความเกิดดับนั้น ไม่อย่างนั้นไม่มีทาง เพราะฉะนั้นไม่ใช่เรา แต่เป็นความเข้าใจที่ค่อยๆ เข้าใจขึ้น ทีละเล็กทีละน้อย ว่า กว่าจะรู้ว่าสภาพธรรมเกิดดับ อีกนานเท่าไรก็ไม่เป็นไร เพราะว่าเป็นจริงรู้ได้ เบิกบานหรือยัง บันคับให้เบิกบานได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ถ้าเข้าใจนิดหน่อยจะเบิกบานไหม
ผู้ฟัง เบิกบานนิดหน่อย
ท่านอาจารย์ ต้องเป็นคนตรงไม่ใช่เรา คิดก็แล้วกัน ไม่ใช่เรา เสียดาย เสียใจ ทำอะไรก็ไม่ได้ ชีวิตข้างหน้าจะเป็นยังไงก็แล้วแต่เหตุปัจจัย กับรู้ว่าไม่ใช่เราเลยสักอย่าง ทำอะไรก็ไม่ได้ ต้องเป็นปัญญาเท่านั้นที่รู้ว่าเบิกบาน เพราะหมดเยื่อใยความยึดถือว่าเป็นเรา จึงตัดยากไหม เยื่อใยความยึดถือว่าเป็นเรา
ผู้ฟัง ยาก
ท่านอาจารย์ เพราะว่ายึดถือมานานแสนนาน ในสังสารวัฎฏ์ จะให้หมดทันที ไม่ได้ สัจธรรมเป็นสัจธรรม เป็นความจริงทุกกาลสมัย และคำของพระสัมมาพุทธเจ้าเป็นวาจาสัจจะ ใครเปลี่ยนแปลงไม่ได้เลย ไม่ว่าพระธรรม และพระวินัย ต้องรู้เลยว่าคำนั้นเป็นคำของใคร เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เพราะอะไร เพราะรู้ความจริงถึงที่สุด เปลี่ยนอีกไม่ได้เลย ความจริงต้องเป็นอย่างที่ได้ทรงตรัสรู้ เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้เป็นเครื่องทดสอบ การฟังค่อยๆ เข้าใจขึ้น ไม่ต้องเร่งรัดที่จะไปหมดความยึดถือว่าเป็นเรา เป็นไปไม่ได้เพราะยึดถือมานานเท่าไหร่ แต่เบิกบานที่ได้เข้าใจถูกต้อง แค่เข้าใจถูกต้อง ไม่หลงทางก็เบิกบานแล้ว ไม่หลงผิดอีกในสังสารวัฎฏ์ ถ้าหลงผิดหันหลังให้พระสัทธรรม หันหลังให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ ก็ไม่เข้าไปนั่งใกล้ เพราะว่าสะสมความเห็นผิด ไม่เห็นค่าของการที่จะเข้าใจความจริงซึ่งรู้ยาก แต่รู้ได้
ผู้ฟัง กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์
อ.ธิดารัตน์ ท่านอาจารย์ ก็จะมีคำอีก ให้สมาทานอาจหาญร่าเริง
ท่านอาจารย์ ก็มีคำว่าสมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ถ้าไม่เข้าใจแต่ละคำ ไม่มีทางที่จะเข้าใจได้เลย เพราะฉะนั้นคำว่าสมาทานคืออะไร ต้องได้ยินแน่เลย ใช่ไหม แต่รู้จริงๆ หรือเปล่าว่าสมาทานคืออะไร แค่คำเดียวหลงเข้าใจว่ารู้แล้ว ผิดทันที ไม่มีทางที่จะกลับมาถูกได้ เพราะฉะนั้นแต่ละคำที่ผิดกั้นไม่ให้มาสู่ทางที่ถูก จนกว่าจะรู้ว่าผิดเมื่อไหร่ เมื่อนั้นก็ไม่มีเครื่องกั้นที่จะทำให้สามารถค่อยๆ เข้าใจสิ่งที่ถูกขึ้น เพราะฉะนั้นสมาทานคืออะไร
อ.คำปั่น โดยความหมายก็คือถือเอาเป็นข้อประพฤติปฏิบัติด้วยดี
ท่านอาจารย์ เห็นไหม ต้องรู้ก่อน ไปขอให้คนอื่นบอกเราให้ถือมั่นได้ไหม เพราะฉะนั้นรับศีลกันแบบไหน พูดตามจบดื่มเหล้าทันที สมาทานแปลว่าอะไร หมายความว่าอะไร เข้าใจว่าแค่พูดตาม แต่ใจรู้อะไร เข้าใจอะไร เพราะฉะนั้นแค่เห็นคนเบียดเบียนกันถึงกับชีวิต น่าสลดใจไหม ฆ่าได้ คนฆ่าคนได้คิดดู เพราะฉะนั้นถ้ารู้ว่าเพราะอะไรจึงฆ่า ด้วยกำลังของกิเลสใช่ไหม มีความรุนแรงจนกระทั่งสามารถที่จะทำร้ายชีวิตได้ แค่ทุบตีนิดหน่อย ก็ยังเป็นกิเลสที่ปรากฏว่า ไปทำให้คนอื่นเดือดร้อน เจ็บบ้างอะไรบ้าง แต่นี่ถึงกับไม่ให้เขามีชีวิตต่อไป เพราะฉะนั้นเห็นการกระทำอย่างนั้น แล้วคนที่สะสมมาที่จะเห็นโทษ ไม่ฆ่าอะไรอีกเลย ไม่ว่าจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต เพราะขณะนั้นเห็นโทษเห็นภัยจริงๆ ว่าเพราะกำลังของกิเลส เพราะฉะนั้นคนที่สูญเสียใครก็ตามจากการฆ่ากัน หรือจะอะไรๆ ก็ตาม ก็รู้ว่าไม่ควรจะให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นจากเรา แต่ถ้าจะเกิดก็บังคับบัญชาไม่ได้ใช่ไหม เพราะฉะนั้นสมาทานหมายความว่าบุคคลนั้น เห็นโทษของอกุศล แล้วถือมั่น ที่จะประพฤติในทางกุศลต่อไป ไม่ต้องบอกใครก็ได้ แค่คิดจะไม่ฆ่า เวลานี้เข้าใจว่าทุกคนที่นั่งอยู่ตรงนี้ ก็คิดจะไม่ฆ่าใช่ไหม รู้ไหมว่าขณะที่มีความตั้งใจมั่นอย่างนั้น เป็นการสมาทาน ถือเอาเป็นข้อประพฤติปฏิบัติ เห็นมดเดินก็ไม่ฆ่า เห็นมดตอมอาหารก็ไม่ฆ่า อะไรอย่างนี้ทุกอย่างไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น เพราะถือมั่นสมาทานขณะนั้น ไม่มีใครบังคับ ไม่มีใครบอกให้มารับ แต่เป็นสภาพของจิตที่เห็นโทษของอกุศล แล้วจะไม่ประพฤติอย่างนั้น คนที่เคยไม่ระวังคำพูด พูดจาฟังไม่ได้เลย คนพูดไม่คิดเลย มีกำลังของกิเลสที่จะพูด แต่ไม่รู้ว่าคนอื่นเดือดร้อนเพราะคำนั้น โดยเฉพาะผู้ที่ช่วยทำกิจการงานในบ้านใช่ไหม บางคนก็พูดอย่างไม่คิดถึงใจของเขาเลย งานจะสำเร็จด้วยการที่เขาเข้าใจถูกว่าทำยังไง แต่ถ้าเขาไม่เข้าใจ ไปดุเขาทำไม ไปใช้วาจาแรงแรง ทำไม ค่อยๆ พูดค่อยๆ บอกรู้ว่าเขาไม่รู้ ค่อยๆ สอนเขาให้ทำได้ ด้วยวาจาที่น่าฟัง ผลออกมาเท่ากันหรืออาจจะดีกว่าก็ได้ และใจของบุคคลที่พูดก็ผ่องใสเพราะช่วยให้คนอื่นเกิดความเข้าใจ ไม่ใช่ไปประทุษร้ายเขา เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นทางกายหรือทางวาจาก็ดี สมาทานถือมั่น ที่ต่อไปนี้เราจะไม่พูดคำหยาบ
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1201
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1202
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1203
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1204
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1205
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1206
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1207
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1208
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1209
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1210
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1211
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1212
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1213
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1214
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1215
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1216
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1217
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1218
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1219
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1220
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1221
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1222
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1223
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1224
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1225
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1226
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1227
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1228
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1229
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1230
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1231
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1232
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1233
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1234
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1235
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1236
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1237
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1238
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1239
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1240
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1241
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1242
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1243
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1244
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1245
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1246
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1247
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1248
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1249
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1250
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1251
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1252
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1253
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1254
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1255
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1256
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1257
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1258
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1259
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1260