ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1265


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ปกิณณกธรรม ตอนที่ ๑๒๖๕

    สนทนาธรรม ที่ โรงแรมไดมอนด์ พลาซ่า จ.สุราษฎร์ธานี

    วันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑


    ท่านอาจารย์ โดยเฉพาะสิกขาบทของพระภิกษุ ถ้าไม่ประพฤติปฏิบัติตาม ก็คือว่าผู้นั้นไม่ใช่ผู้ที่เห็นภัยในสังสารวัฎฏ์ ผู้นั้นไม่ใช่ผู้ที่จะขัดเกลากิเลสด้วยการที่เข้าใจธรรมขึ้นฟังธรรมขึ้น จนกระทั่งปัญญานั้นสามารถที่จะละเว้นทุจริต และอบรมเจริญปัญญายิ่งขึ้น จนกระทั่งเป็นผู้ที่รู้แจ้งอริยสัจธรรม เป็นภิกษุในธรรมวินัยซึ่งเป็นสังฆรัตนะ เพราะฉะนั้นก็เป็นเรื่องที่ต้องเข้าใจ ภิกษุบุคคลต่างอัธยาศัยจะทำอะไร ถ้าผิดพระวินัยไม่กระทำตามพระวินัย พระผู้มีพระภาคตรัสว่านั่นเป็นภิกษุทุศีล มีไหมจะบำรุงไหม เรารู้อย่างนี้แล้วจะให้เงินพระภิกษุไหม ไม่ใช่สิ่งที่รู้แล้วเฉย ถูกก็ถูกผิดก็ผิดไปนั่นคือไม่ใช่ปัญญาไม่ใช่ความเข้าใจ เพราะฉะนั้นเมื่อเข้าใจแล้วไม่มีเรา แต่ความเห็นที่ถูกต้องก็จะทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ และไม่ทำสิ่งที่เป็นโทษ พระภิกษุต่างกับคฤหัสถ์เพราะว่าสละละเพศคฤหัสถ์ ซึ่งมีความพอใจในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัส ไม่รู้จบ ชีวิตของคฤหัสถ์ตั้งแต่ตื่นจนหลับ อาหารต้องอร่อยใช่ไหม และก็ต้องสวยงามด้วยในจาน ดนตรีเพราะๆ ทำให้สบายใจขึ้น อากาศก็ต้องเย็นดี อย่าร้อนๆ มานั่งรับประทานในที่ร้อน ทุกอย่างหมดทุกวัน แสวงหาแต่รูปที่ปรากฏทางตา สวยงามต่างๆ นน่าอใจติดข้องแสวงหาไม่รู้จบ เสียงก็เช่นเดียวกัน กลิ่นก็เช่นเดียวกัน รสก็เช่นเดียวกัน สิ่งที่กระทบสัมผัสกันก็เช่นเดียวกัน นี่คือคฤหัสถ์ แต่พระภิกษุเห็นโทษจึงละความติดข้อง ซึ่งเต็มบ้านเลยใช่ไหม ออกจากบ้าน ไม่กังวลเลยว่าจะอยู่ไหน ถ้ำ ป่า โคนต้นไม้เพราะเห็นประโยชน์ของการที่จะค่อยๆ ละคลายความติดข้อง เพราะรู้ว่าชีวิตสามารถที่จะดำรงอยู่เพียงด้วยมีอาหารก็ดำรงอยู่ได้ละ จะอร่อยหรือไม่อร่อยเปรี้ยวหวานมันเค็มยังไง ก็ขอให้มีชีวิตอยู่ เพราะว่าต้องบริโภคอาหาร มีเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มจำกัดมากเลย ตามพระวินัยละเอียดมากถ้าได้มา จะต้องทำอย่างไร รักษาไว้ได้กี่วัน ต้องทำให้เป็นสองเจ้าของอย่างไรเมื่อไร นี่คือการที่จะสละจริงๆ ด้วยใจไม่ใช่ว่ากายออกไปแต่ใจยังผูกพัน แต่ใจเห็นโทษของการติดข้อง เพราะฉะนั้นสิ่งใดที่จะนำมาซึ่งความติดข้อง ภิกษุไม่เกี่ยวข้อง ด้วยเหตุนี้ภิกษุจึงไม่รับและไม่ยินดีในเงินและทอง ไม่เว้นเลยสักรูปเดียว เพราะว่าภิกษุคือผู้เห็นภัยในสังสารวัฏฏ์ ผู้ที่จะขัดเกลากิเลสละความติดข้องในเพศคฤหัสถ์ ก็ต้องอบรมขัดเกลา โดยการมีชีวิตอย่างพระภิกษุตามพระธรรมวินัย แล้วจะรับเงินถ้าถามว่าแล้วเอาไปทำอะไรเงิน ก็ไปหาอาหารอร่อยบ้าง รูปดีๆ บ้าง บางท่านก็จีวรใหม่ จีวรผ้าไหม ติดข้องหรือเปล่า

    เพราะฉะนั้นก็แสดงให้เห็นว่า เราไม่รู้จักภิกษุ เราไม่ได้ทะนุบำรุงผู้ที่สามารถขัดเกลากิเลส เพื่อที่จะถึงความเป็นพระอรหันต์ เพราะเหตุว่าสามารถที่จะเข้าใจธรรม รู้แจ้งสัจธรรมเป็นพระโสดาบันบุคคล ขัดเกลากิเลสยิ่งขึ้นเป็นพระสกทาคามีบุคคล ละคลายความติดข้องในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะสัมผัส เป็นพระอนาคามีบุคคล ต่อเมื่อไหร่เป็นพระอรหันต์ ไม่มีกิเลสใดๆ เหลือเลยทั้งสิ้น จะไม่มีชีวิตของคฤหัสถ์อีกต่อไป ต้องบวชในวันนั้น เพราะไม่สามารถที่จะอยู่ร่วมกับเพศคฤหัสถ์ได้ เพราะฉะนั้นพระภิกษุคือเพศของพระอรหันต์ หรือผู้ที่มีศรัทธามั่นคงที่รู้อัธยาศัยตนเอง เมื่อได้ฟังพระธรรมแล้วก็รู้ว่าจะขัดเกลาในเพศใด จะขัดเกลากิเลสในเพศบรรพชิต ก็ฟังพระธรรมเข้าใจธรรม รู้แจ้งอริยสัจธรรมเหมือนท่านอนาถบิณฑกะเศรษฐี วิสาขาวิคารมารดา หมอชีวกโกมารภัตรเป็นต้น นับไม่ถ้วนเลยในครั้งนั้น เพราะฉะนั้นก็มีผู้ที่ได้ฟังพระธรรมแล้วก็ต่างกันโดยอัธยาศัยเป็นสองเพศ คือเป็นคฤหัสถ์ อุบาสก อุบาสิกาหรือเป็นพระภิกษุเป็นเพศบรรพชิตในครั้งนั้นมีภิกษุณี เพราะเหตุว่าเป็นกาลสมบัติ ที่ผู้หญิงสามารถที่จะถึงความเป็นพระอรหันต์ได้ ซึ่งเมื่อเป็นพระอรหันต์แล้วก็ไม่เป็นเพศคฤหัสถ์ ด้วยเหตุนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสประทานอนุญาต ให้ผู้หญิงบวชเป็นภิกษุณี เพราะรู้ว่าในกาลนั้นสามารถที่จะมีภิกษุณี ที่ถึงความเป็นพระอรหันต์ แต่ก็วางบทบัญญัติไว้มาก เพื่อที่จะให้ภิกษุณีหมดสิ้นไป เพราะเหตุว่าห่างไกลพระศาสนาไปเท่าไหร่ ความเข้าใจธรรมก็ค่อยๆ เริ่มน้อยลง จนกระทั่งพันปีที่ ๑ ยังมีพระอรหันต์ที่ประกอบด้วยคุณวิเศษ มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ต่างๆ ได้ พันปีที่ ๒ ยังคงมีพระอรหันต์แต่เป็นสุขวิปัสสกะคือไม่มีคุณวิเศษ เหมือนอย่างในครั้งพันปีแรก พันปีนี้เป็นพันปีที่ ๓ แสดงว่าไม่ใช่พันปีของพระอรหันต์ ใครที่จะกล่าวว่าเป็นพระอรหันต์เป็นได้ยังไง แม้แต่จะเป็นพระโสดาบันเป็นได้ยังไง แล้วไปสำนักปฏิบัติแล้วไปเป็นอะไร เพราะฉะนั้นการที่ไม่เข้าใจธรรม นั่นแหละทำลายคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยเหตุนี้ประโยชน์ยิ่งใหญ่ ไม่ใช่แต่เฉพาะชาตินี้ชาติเดียว ถ้ามีความเข้าใจถูกต้องในชาตินี้สะสมชาติต่อไป ก็มีความเข้าใจเพิ่มขึ้นไม่ผิด เพราะฉะนั้นจึงมีผู้ที่ไปสำนักปฏิบัติหลายครั้ง แต่พอเข้าใจธรรมแล้วก็ไม่ไปเลย ก็สะสมความที่เห็นถูกต้อง มิเช่นฉะแล้วก็จะเหมือนพวกเดียรถีย์ พวกเดียรถีย์ที่คือพวกที่มีความคิดอื่นมีความเข้าใจอื่นเห็นต่าง จากพระธรรม ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ เขาอยู่ไม่ไกลพระวิหารเชตวัน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับที่พระวิหารเชตวันไม่มาเฝ้าเลย เพราะสะสมความเห็นผิด เพราะฉะนั้นถ้ายังคงมีความเห็นผิดในชาตินี้สะสมไป เมื่อมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป ก็จะไม่มีการเห็นประโยชน์และไม่ไปเฝ้าด้วย เพราะฉะนั้นก็เป็นอันตรายอย่างยิ่ง

    ผู้ฟัง กราบเท้าท่านอาจารย์สุจินต์ จากการที่เราได้เห็น มันเป็นเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดโทสะหรือโลภะก็ตาม สิ่งเหล่านี้เรากลับมาคิดตรึกตรองภายหลัง ไม่ทราบว่าทำลักษณะเช่นนี้ ถูกต้องหรือเปล่า หรือว่ากลายเป็นว่าเรา ไปเพิ่มอกุศลการเป็นตัวตนของตัวเองขึ้นมา ขอกราบเรียนถาม

    ท่านอาจารย์ สะสมความเป็นตัวตนมา มากแค่ไหน

    ผู้ฟัง นับชาติไม่ถ้วน

    ท่านอาจารย์ ประมาณไม่ได้เลยในสังสารวัฎฏ์ใช่ไหม

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ แล้วจะหมดไปได้ง่ายๆ ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ง่าย

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นต้องตรงต่อคำว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตาตลอด ถ้าลืมเมื่อไหร่ก็เป็นอัตตา เราจะพิจารณาสิ่งที่ล่วงไปแล้วใช่ไหม เพราะฉะนั้นขณะนั้นก็มีความเป็นเราซึ่งยังไม่หมด จะหมดไปได้ต่อเมื่อมีความเข้าใจเพิ่มขึ้น และพระธรรมทุกคำควรที่จะไตร่ตรอง จนกระทั่งทำให้ไม่ผิดเช่นคำที่ว่า ไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว และสิ่งที่ยังไม่มาถึงแค่นี้ ไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วและสิ่งที่ยังไม่มาถึง แสดงว่าเดี่ยวนี้ยังไม่เข้าใจสิ่งที่กำลังมีจริงๆ เลย แล้วจะไปเข้าใจความจริงของสิ่งที่ล่วงแล้วได้ไหมในเมื่อสิ่งนั้นหมดแล้ว และสิ่งที่ยังไม่มาถึงก็ยังไม่เกิดปรากฏว่าจะเป็นอะไร ข้างหน้าต่อไปสักหนึ่งขณะก็ไม่รู้ว่าเป็นอะไร เพราะฉะนั้นจะไปคำนึงถึงสิ่งที่ยังไม่เกิด ขณะนั้นก็ไม่รู้สิ่งที่จริงในขณะที่ยังไม่ล่วงไป ใช่ไหม เพราะฉะนั้นก็แสดงให้เห็นว่าเดี๋ยวนี้เอง ถ้าตราบใดที่กำลังเห็นแล้วไม่รู้เห็น ก็คือว่าปัญญายังไม่พอ ห้ามความคิดได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นจะคิดเรื่องอะไร เป็นอนัตตาหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็นอนัตตา

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นที่จะต้องเข้าใจคือความไม่ใช่เราในขณะที่คิด ไม่ใช่ไปคิดว่าเอ๊ะแล้วเราจะคิดดีไหมถึงสิ่งที่ผ่านไปแล้ว หรือสิ่งที่ยังไม่มาถึง นั่นคือความเป็นเรา ซึ่งเป็นมาอย่างนี้นานแสนนาน แล้วก็จะเป็นอย่างนี้ต่อไปตราบใดที่ยังไม่เข้าถึงลักษณะที่ไม่ใช่เรา ก็ต้องเป็นเราที่คิด และก็มีคนที่บอกว่าให้คิดอย่างนั้นให้คิดอย่างนี้ กับการให้รู้ว่าคิดเกิดแล้วแล้วดับไม่ใช่เรา กว่าจะถึงความไม่ใช่เราจริงๆ ต้องทั้งหมดเลย เพราะฉะนั้นผู้ที่มีปกติ เข้าใจธรรมที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรม ไม่หวั่นไหว จะคิดก็ดับแล้ว จะคิดถึงเรื่องที่ผ่านไปแล้วก็ดับแล้ว จะคิดถึงสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นคิดก็ดับแล้ว

    ผู้ฟัง อย่างกรณีที่เราอยู่ในเหตุการณ์ เราอยู่ในสังคมมีสิ่งบันเทิงใจมากมาย เราติดข้อง

    ท่านอาจารย์ ปัญญารู้ได้ไหม

    ผู้ฟัง ปัญญารู้ได้แค่ขั้นฟังเท่านั้นเอง

    ท่านอาจารย์ ถ้าอย่างนั้นก็ดับกิเลสไม่ได้ ถ้าปัญญารู้ขณะนั้นไม่ได้ ก็ดับกิเลสไม่ได้ เห็นกำลังของปัญญาไหม ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะใดทั้งสิ้น กำลังเป็นสุขอย่างยิ่ง เพลิดเพลินอย่างยิ่ง หรือกำลังเป็นทุกข์อย่างยิ่ง กำลังกังวลอย่างยิ่ง ทั้งวันไม่มีใครไปทำให้อะไรเกิดขึ้นได้เลย แต่หลงเข้าใจว่าเป็นเราหมดเลย จะคิดอย่างนั้นก็เป็นเรา จะไม่คิดอย่างนั้นก็เป็นเรา ทุกอย่างหมดความเป็นเราเข้าไปติดข้อง จนกว่าจะมั่นคงจริงๆ ว่าไม่ใช่เรา คิดเกิดแล้วเป็นแล้ว กำลังสนุกสนานเพลิดเพลิน เราไปทำให้สนุกสนานหรือเปล่า เราไปทำให้เพลิดเพลินหรือเปล่า หรือว่าความเพลิดเพลินกำลังแสดงตนว่าเป็นลักษณะหนึ่งซึ่งมีจริง เกิดแล้วระดับนั้น ปัญญาสามารถรู้ได้ ถ้าปัญญาไม่สามารถรู้ได้ ดับกิเลสไม่ได้ เพราะฉะนั้นปัญญาไม่หวั่นไหวเลย ถ้าปัญญาหวั่นไหวก็ไปสำนักปฏิบัติ ไปพยายามไม่เห็นอะไร ไม่สนุกไม่คิดไม่เพลิดเพลิน หวังว่าปัญญาจะได้เกิดมากๆ นั้นคือหลงผิด เพราะไม่รู้จักปัญญาว่าถ้าปัญญาไม่รู้ความจริงเดี๋ยวนี้ เป็นปกติในชีวิตประจำวัน ก็ยังมีความหวังแอบแฝงว่า จะทำอย่างนี้ให้ปัญญาเกิดทำอย่างนี้ให้รู้มากขึ้น เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องที่ละเอียดอย่างมาก ที่ปัญญาจะต้องละเอียดขึ้นชัดขึ้นคมขึ้น เพื่อที่จะละความไม่รู้ เพราะฉะนั้นเครื่องทดสอบไม่ใช่คนอื่นไม่ใช่ครูบาอาจารย์จะมาบอกเราว่า คุณถึงปัญญาระดับนั้นระดับนี้ไม่ใช่ แต่ความเป็นผู้ตรงคือเดี๋ยวนี้เห็นไม่ใช่สิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้นถ้ายังไม่รู้ความจริง ก็เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดทั้งเห็นก็เป็นเรา และสิ่งถูกเห็นก็ยังเป็นคนนั้นเป็นเรื่องนี้ ปกปิดไว้ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นจึงต้องเป็นผู้ที่อาจหาญร่าเริง รู้ความจริงว่าความจริง ปัญญาเท่านั้นที่สามารถจะรู้ได้ เพราะฉะนั้นทุกคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันตะ มันตา มนต์คือปัญญา ทุกคำกล่าวถึงความจริงที่จะทำให้เข้าใจขึ้น เพราะฉะนั้นไม่ว่าสถานการณ์ใดๆ ทั้งสิ้น ภิกษุอยู่ในป่าถูกเสือกัด เป็นพระอรหันต์ได้ไหม

    ผู้ฟัง ได้

    ท่านอาจารย์ ได้เพราะปัญญา ไม่ใช่เพราะไปกลัวใช่ไหม หรือว่าถ้ามีเสียงเพลงไพเราะอย่างยิ่ง สามารถรู้แจ้งอริยสัจธรรมได้ไหม

    ผู้ฟัง ได้

    ท่านอาจารย์ ได้ พระเจ้าสุทโธทนะอยู่ในพระราชวัง มีอะไรบ้าง สามารถรู้แจ้งอริยสัทธรรมถึงความเป็นพระอรหันต์ได้

    ผู้ฟัง ได้

    ท่านอาจารย์ เป็นเรื่องของปัญญาทั้งหมด แต่ไม่ใช่เป็นเรื่องเราจะไปทำให้ปัญญาระดับนั้นเกิดขึ้น หรือว่าจะไปทำให้ปัญญาระดับนี้เกิดขึ้น นั่นคือยังเป็นเรายังไม่ได้มีความเข้าใจมั่นคงขึ้นว่าไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นคฤหัสถ์ที่รักษาศีล ๕ เพลิดเพลิน สนุกสนานเพียงใด สามารถเป็นพระโสดาบันได้ รู้แจ้งอริยสัจธรรม เพราะทุกอย่างเป็นความจริง ใครล่ะที่กลัวไม่กล้าก็เราใช่ไหม จะรู้แจ้งได้ยังไง แต่เพราะเหตุว่าไม่ว่าสภาพธรรมนั้นเป็นอะไร ก็เป็นเพียงสิ่งที่เกิดตามเหตุตามปัจจัย ปัญญาสามารถที่จะแทงตลอด โดยไม่ได้รอโดยไม่หวังว่าเราเพียรมาตั้งแค่นี้ละ บ่ายนี้เย็นนี้น่าจะรู้เสียทีเป็นไปได้ยังไง ในเมื่อความเป็นเราเต็มที่ที่หวัง เพราะฉะนั้นก็เป็นหนทางกั้นหนทางผิด ซึ่งปัญญาเท่านั้นที่สามารถที่จะรู้โลภะได้ เพราะโลภะเพราะซ่อนเร้นแม้เดี๋ยวนี้ เข้าใจธรรมเพราะฟังธรรมใช่ไหม

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ แต่เห็นด้วยใช่ไหม

    ผู้ฟัง เห็นด้วย

    ท่านอาจารย์ เห็นแล้วไม่รู้ว่าเห็นไม่ใช่เราใช่ไหม

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก็คือการอบรมความเห็นถูก ความเข้าใจถูกท่ามกลางอกุศลซึ่งมีหลายระดับ อกุศลที่ละเอียดไม่ปรากฏเลย ระดับอาสวะ เพราะฉะนั้นในบรรดาอกุศลเจตสิก สภาพธรรมที่ไม่ใช้จิตแต่เป็นนามธรรมที่เกิดกับจิต มีลักษณะหลากหลายเป็นเจตสิกแต่ละ ๑ แต่ละประเภท ทั้งหมดมี ๕๒ ประเภท เพราะฉะนั้นแต่ละเจตสิก มีระดับขั้นอย่างปัญญาก็มีตั้งแต่ ยังไม่เคยรู้ความจริงของสภาพธรรม แต่เริ่มฟังเริ่มมีปัญญาขั้นฟัง แต่ยังไม่ถึงการตรงลักษณะที่เป็นอย่างนั้น เช่นพูดเรื่องเห็น สภาพกำลังรู้เฉพาะเห็นตรงเห็นหรือเปล่า ยังใช่ไหม เพราะฉะนั้นไม่ใช่ปฏิปัติแต่เป็นปริยัติ เพราะฉะนั้นคำว่าปริยัติ หมายความว่าฟังพระพุทธพจน์ เข้าใจรอบรู้มั่นคงเป็นสัจจญาณ ซึ่งจะเป็นปัจจัยให้สติสัมปชัญญะประกอบด้วยปัญญา เข้าใจสิ่งที่สติกำลังรู้โดยความเป็นอนัตตา ไม่ใช่มีเราไปเตรียมไปรอแต่ว่าทุกอย่างที่ปรากฏจะปรากฏความเป็นอนัตตายิ่งขึ้น จนกระทั่งสามารถที่จะละความเป็นตัวตนได้หมด แต่ต้องหมดจริงๆ จากไหนชีวิตประจำวัน ไม่ใช่เปลี่ยนพยายามไปเร่งได้ หรือพยายามไปทำอย่างอื่น แม้มีโอกาสที่จะเข้าใจ การสะสมแสนโกฏกัปป์ที่สะสมมาเป็นแต่ละ ๑ ซึ่งเกิดขึ้นสืบต่อ

    ผู้ฟัง โลภะหรือสมุทัย ที่เราเข้าใจกันระดับไหน ถึงเรียกว่าตัณหา ระดับไหนถึงเรียกว่าอุปทาน เรียนถามอาจารย์

    ท่านอาจารย์ ก็เป็นชื่อต่างๆ นันทิมีไหม ราคะมีไหม จะใช้สัก ๑๐๐ ชื่อ แม้แต่คำว่าอาสาก็เป็นชื่อของโลภะ เป็นความหวังความต้องการ จะใช้กี่ชื่อก็ตาม เหมือนกับขณะที่กำลังปรากฏให้รู้ไหม ถ้าเป็นเพียงชื่อ แต่เวลาที่สภาพธรรมกำลังปรากฏจริงๆ ระดับไหนก็ปรากฏระดับนั้น ไม่ต้องเรียกชื่อเลย ไม่ใช่คนที่พูดภาษาบาลี ไม่ได้ยินคำนั้นแต่ระดับความเป็นสิ่งนั้นปรากฏเท่านั้น เปลี่ยนไม่ได้เลย แล้วแต่จะเรียกว่าอะไร พระปัจเจกพุทธเจ้าเห็นไหม ท่านรู้แจ้งสภาพธรรมทั้งหมด แต่ไม่ถึงความมีปัญญาถึงความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะเหตุว่าความที่ธรรมละเอียดมาก ปัจจัตตังรู้ได้เฉพาะตน ขนมนี่หวานมาก บอกใครสิ เค้าจะรู้ไหมว่าหวานแค่ไหน พูดไปเถอะ ไม่มีทางที่จะรู้ระดับของความหวานที่ปรากฏกับธาตุลิ้มรส ชิวหาวิญญาณ ธาตุรู้ที่ต้องอาศัยลิ้นกระทบกับรสทำให้เกิดขึ้นรู้รสนั้น แต่ขณะใดก็ตามที่กำลังลิ้มรส ไม่ต้องมีใครมาบอก รสนั่นแหละ แต่จะให้ไปบอกใครเขาจะรู้ได้ไหม รสนั้นเกิดแล้วดับแล้วฉันใดปัญญาก็ฉันนั้นโลภะก็ฉันนั้น เพราะฉะนั้นไม่ใช่ว่าพอเกิดโลภะขึ้นนี้ นี่นิวรณ์ นี่สังโยชน์ หรือว่านี่อาสวะ มันไม่ใช่ ไม่ใช่ว่าตัวตนไปคิดถึงชื่อ แต่ปัญญารู้ความไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้ เพราะว่าคนที่ศึกษาธรรม มาศึกษาธรรมโดยนัยที่สะสมมาหลากหลาย บางคนศึกษาธรรมแบบวิชาการ จิตมีเท่าไหร่เจตสิกมีเท่าไหร่ จิตนี้ประกอบด้วยเจตสิกเท่าไหร่ โดยปัจจัยเท่าไหร่ รู้สึกดีใจมากเลยที่ได้เข้าใจอย่างนั้น นั่นโดยแบบทางโลกที่ศึกษาวิชาการต่างๆ ใช่ไหม แต่ว่าธรรมไม่ใช่อย่างนั้น เวลาที่วิสาขาวิคารมารดาไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าครั้งแรก บิดาส่งไปต้อนรับ ได้ฟังธรรมมีเรื่องอาสวะ มีเรื่องสังโยชน์ มีเรื่องนิวรณ์หรือเปล่าไม่มีเลย แต่สภาพธรรมนั้นปรากฏแล้วกับปัญญา ที่สะสมมา ที่จะสามารถที่จะรู้ความจริงว่าสิ่งนั้นเกิดดับ ไม่ต้องไปเรียกอะไรด้วยซ้ำไป แต่พอฟังแล้วรู้เลยปัญญาระดับไหนได้เกิดแล้วเช่นคำว่าสติ มีหลายคำใช่ไหม สติสัมปชัญญะ สติปัฎฐาน แล้วสติระดับสติปัฏฐานที่แปลกันแปลว่าอย่างไร แล้วความจริงคือขณะไหน อย่างไร ต่างกันแล้วใช่ไหม เพราะถ้าแปลว่าตามรู้ ต่างกับขณะนี้ใช่ไหม ขณะที่เข้าใจเมื่อไม่ใช่เราแล้วเป็นอะไร ต้องมีโสภณสาธารณะเจตสิกเกิดขณะนั้น ๑๙ ประเภท แล้วประกอบด้วยปัญญาเจตสิกอีก ๑ ที่กำลังเข้าใจ ต่างระดับนับประมาณไม่ได้เลย ตั้งแต่ฟังครั้งแรกจนถึงครั้งต่อๆ ไป จนถึงปีต่อๆ ไป จนถึงชาติต่อๆ ไป จนถึงขณะที่กำลังรู้จริงๆ ตามที่ได้ฟัง ก็เป็นชื่อต่างๆ มากมาย ถ้าจะกล่าวถึงฉันใดโลภะก็ฉันนั้น เพราะฉะนั้นก็แสดงให้เห็นว่า ผู้ใดที่ใดที่ถึง ได้เข้าใจ ได้ประสบ ได้ศึกษาได้อบรมมาแล้ว สามารถที่จะรู้ ในแต่ละคำซึ่งเป็นแต่ละขั้น เช่นถ้าใช้คำว่าตามรู้คนที่ไม่เข้าใจเลย จะตามรู้อะไร เดี๋ยวนี้เห็นเกิดดับอยู่ก็ไม่รู้ใช่ไหม จะรู้ต่อเมื่อสติเกิดที่ใช้คำว่าตามรู้ ก็ไปตามรู้ แต่หารู้ไม่ ตามรู้คือสติสัมปชัญญะไม่ใช่เรา ต้องมั่นคงจริงๆ เป็นอนัตตา เดี๋ยวนี้มีเห็นและมีได้ยินปรากฏด้วยใช่ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ใช่

    ท่านอาจารย์ ปรากฏว่าเห็น ได้ยินพร้อมกันรึเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่พร้อมกัน

    ท่านอาจารย์ ปรากฏ กำลังได้ยิน มีเห็นไหมเดี๋ยวนี้

    ผู้ฟัง ไม่มี

    ท่านอาจารย์ คนอื่น ทั้งเห็นทั้งได้ยิน แยกออกไหม ว่าอะไรก่อนอะไรหลัง

    ผู้ฟัง แยกไม่ออก

    ท่านอาจารย์ ดูเสมือนพร้อมกันใช่ไหม

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นตามรู้ ไม่ใช่มีตัวตนไปตาม แต่เหมือนกับเห็นกับได้ยิน พร้อมกันทันที เหมือนพร้อมกัน แต่ใครบอกว่าไม่พร้อม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความห่างไกลของจิต ซึ่งเกิดดับระหว่างเห็นกับได้ยิน ระหว่างสติสัมปชัญญะสติปัฏฐานกับสิ่งที่เป็นที่ตั้งของสติ เหมือนอย่างนี้เลย เพราะฉะนั้นไม่มีตัวตนที่จะไปแยกใช่ไหม ลองไปแยกเห็นกับได้ยินสิ มัวไปแยกอยู่นั่นแหละก็เป็นตัวตน แต่พอรู้เห็นเข้าใจขึ้น ขณะนั้นก็กำลังเข้าใจเห็น ไม่ได้คิดถึงได้ยินเลย เพราะฉะนั้นการตามรู้ไม่ใช่ตัวตนไปตาม แต่ขณะที่กำลังเริ่มเข้าใจนั่นแหละ สภาพธรรมนั้นเลย เหมือนไม่แยกจากกันเลย แต่เหมือนได้ยินกับเห็น แต่เมื่อเห็นไม่ใช่ได้ยิน ได้ยินไม่ใช่เห็น เพราะฉะนั้นสติสัมปชัญญะกำลังรู้ตรงนั้น โดยไม่ใช่ตัวตนที่ไปตามรู้ เพราะฉะนั้นการฟังธรรมแต่ละคำเผินไม่ได้เลย ต้องเข้าใจจริงๆ และต้องรู้จริงๆ ว่าแต่ละขั้น ต้องเป็นไปตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดง เพื่อไม่ให้ไปหลงเข้าใจตามรู้ ไปพยายามตามดูจิตคิดดู ไม่เข้าใจเลยในการเกิดดับของสภาพธรรม แล้วก็ไม่รู้จักหน้าที่ของสติ ลักษณะของสติ การเกิดขึ้นของสติ แต่ก็มีตัวตนที่ไปตามดูจิต เพราะฉะนั้นทั้งหมดนี้ถ้าไม่มีพระธรรมเป็นที่พึ่ง ด้วยการศึกษา ด้วยความรอบคอบ ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง ก็หลงผิด และก็ทำผิด เชื่อผิดตามคนที่ผิด เพราะฉะนั้นพระศาสนาก็อันตรธานจากผู้ที่หลงผิด เพราะฉะนั้นไม่ต้องคอยถึง ๕๐๐๐ ปี เห็นผิดเมื่อไหร่หลงผิดเมื่อไหร่ พระธรรมก็อันตรธานแล้วจากคนนั้น ต่อเมื่อไหร่ไม่เหลือเลย ก็คือว่าอันตรธานหมดสิ้น

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 188
    22 มี.ค. 2568

    ซีดีแนะนำ