ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1266
ปกิณณกธรรม ตอนที่ ๑๒๖๖
สนทนาธรรม ที่ โรงแรมไดมอนด์ พลาซ่า จ.สุราษฎร์ธานี
วันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นไม่ต้องคอยถึง ๕๐๐๐ ปี เห็นผิดเมื่อไหร่หลงผิดเมื่อไหร่ พระธรรมก็อันตรธานแล้วจากคนนั้น ต่อเมื่อไหร่ไม่เหลือเลย ก็คือว่าอันตรธานหมดสิ้น
ผู้ฟัง การที่เราจะควบคุมอารมณ์ จะดึงความคิดให้สงบลง เราจะมีข้อปฏิบัติยังไง ขอเรียนสอบถามท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์ ถ้าทำได้สำเร็จเป็นเรา กับการรู้ว่าไม่ใช่เรา เป็นสภาพธรรมที่เกิดไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ที่พลุ่งพล่าน หรือการกระทำที่จะไปสงบระงับ หรืออะไรทั้งหมดก็ตาม ไม่ใช่เรา อย่างไหนเป็นประโยชน์และถูกต้อง
ผู้ฟัง ทราบความจริงว่าไม่ไม่ใช่เป็นประโยชน์
ท่านอาจารย์ แต่เพราะความเป็นเรามีมาก จึงมีแต่การอยากจะให้สิ่งนั้นคลี่คลายลงไปเพราะเรา ขณะนั้นก็ปิดบัง ไม่ได้เข้าใจตามความเป็นจริงว่า เป็นแค่สิ่งที่เกิดแล้วดับ แล้วจะต้องไปทำอะไรไหม ถ้ามีปัญญาปัญญาก็เกิดขึ้นทำกิจของปัญญา คิดไตร่ตรองในทางที่เป็นเหตุเป็นผล ถ้าไม่ใช่ปัญญาก็คิดไปอีกเรื่องหนึ่ง ก็กังวลและก็พยายามหนทางใดๆ ก็ตามที่จะให้สำเร็จได้ เพราะฉะนั้นก็ไม่ได้มั่นคงความเป็นอนัตตา แต่เมื่อมั่นคงในความเป็นอนัตตา คิดก็เป็นธรรมจะคิดอย่างไรก็เป็นธรรม จะคิดอย่างนี้ก็เป็นธรรม จะคิดอย่างโน้นก็เป็นธรรม แล้วแต่ว่าเป็นธรรมประเภทใด เพราะฉะนั้นทั้งหมดตั้งแต่เกิดจนตายทุกชาติ ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครเลยทั้งสิ้น นี่คือปัญญาที่จะต้องค่อยๆ เข้าใจ ถึงจะคิดแก้ไขอย่างไร คิดนั้นก็ไม่ใช่เรา ดีกว่าคิดแก้ไขเป็นเราที่กำลังแก้ไขที่จะสงบระงับ สิ่งซึ่งไม่น่าพอใจที่เกิดขึ้นเป็นปัญหา แล้วก็ดีใจที่สำเร็จที่เราคิดได้เห็นไหม นี่ก็คือสิ่งที่ต่างกันมาก เพราะฉะนั้นกว่าจะมีความมั่นคงรู้จริงๆ ว่าประโยชน์สูงสุดไม่ใช่เพียงแค่เราคิดดีทำดีแก้ไข แต่เป็นเราแต่ประโยชน์สูงสุดคือรู้ความจริงว่าจะคิดดีคิดไม่ดี จะแก้ไขได้แก้ไขไม่ได้ ยังไงก็ตามแต่ ทั้งหมดเป็นธรรมไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นต้องมั่นคงในความธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา
ผู้ฟัง กราบขอบคุณ
อ.ธิดารัตน์ ลักษณะของโลภะ ก็มีหลากหลายตามระดับ แล้วก็ใช้ชื่อต่างๆ ใช้ชื่อว่าตัณหาก็มี ใช้ชื่อว่าอุปทานก็มี แต่จริงๆ ลักษณะของเขาก็มีความต่างกันที่ใช้คำว่าอุปทานเป็นสภาพที่ยึดเอาไว้ไม่ปล่อย เพราะฉะนั้นโลภะที่มีกำลังที่ยึดไว้ไม่ปล่อย ก็มีทั้งโลภะที่เป็นไปในรูป เสียง กลิ่นรส โผฏฐัพพะ หรือยึดไว้ไม่ปล่อยแล้วพร้อมกับความเห็นผิดด้วยก็มี เพราะฉะนั้นโลภะที่ประกอบด้วยความเห็นผิด นี้ก็จะมีโทษมากพระอริยะบุคคลขั้นแรก ก็จะละโลภะที่ประกอบด้วยความเห็นผิดก่อน เพราะว่าโลภะก็ยังมีเหลือในชีวิตประจำวัน ละเอียดเล็กน้อย แม้เพียงเล็กน้อยท่านก็ใช้คำว่าอาสวะ กามาสวะคือหลากไหลไปสามารถที่จะเกิดได้ทุกภพภูมิเลย แม้เพียงเล็กน้อย แต่การแสดงลักษณะของอกุศล โดยประการต่างๆ ก็ต้องค่อยๆ ที่จะรู้ด้วยปัญญา ตามความเป็นจริง ยิ่งอกุศลละเอียดมากเท่าไหร่ ปัญญาก็ต้องมีกำลัง ไม่อย่างนั้นก็ไม่สามารถที่จะรู้ตามความเป็นจริง
ท่านอาจารย์ ฟังแค่นี้ ธรรมละเอียดมากไหม ธรรมที่ไม่รู้มีเยอะมาก ที่ปรากฏในวันหนึ่งวันหนึ่ง ก็แค่ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจมากมายมหาศาล เพราะคิดตลอดเวลา ทันทีที่เห็นก็คิดละ พอได้ยินชั่วขณะที่ได้ยินดับก็คิดละ ก็แสดงให้เห็นว่าถ้าเราไม่ละเอียดจะเข้าใจธรรม ที่ละเอียดว่าไม่ใช่เราได้ไหม ด้วยเหตุนี้กว่าปัญญาจะละเอียด ก็ต้องรู้ว่าแต่ละคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย ผ่านไม่ได้ และเผินไม่ได้ เช่นทุกคนจะยกมหาสติปัฎฐาน แล้วก็กล่าวคำว่าระลึกรู้ลักษณะหรือตามรู้ แต่ที่นั่นมีคำว่าเป็นผู้มีปกติระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม มีคำว่าตัวตนที่ไหนบ้าง มีปกติระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม แสดงว่าเดี๋ยวนี้เป็นปกติไหม ต้องเป็นอย่างนี้ใช่ไหม ถ้าไม่ใช่อย่างนี้ก็จะเป็นสติปัฏฐานได้อย่างไร ก็เป็นตัวตนที่ไปพยายามให้เป็นให้ระลึกให้รู้ แต่ว่าสติปัฏฐานเป็นอนัตตา เป็นปัญญาอีกระดับหนึ่ง ซึ่งถ้าไม่มีปริยัติคือความเข้าใจรอบรู้ในคำที่ได้ฟัง เรื่องธรรมทั้งหลายพอเพียง สติปัฎฐานคือปัญญาอีกระดับหนึ่งเกิดไม่ได้ ที่จะรู้ตรงลักษณะที่สภาพธรรมนั้นกำลังปรากฏอย่างนั้น เช่นเห็นเดี๋ยวนี้พูดถึงเห็นเกิดดับ แต่ไม่ได้รู้ตรงเห็น ด้วยความเข้าใจเห็นว่ามีจริงๆ กำลังเห็นไม่ใช่เรา ถ้ารู้จริงก็คือไม่ใช่เรา เห็นต้องเป็นธาตุรู้หมดความสงสัยเลย ค่อยๆ ละคลายความสงสัยในความเป็นธาตุรู้ซึ่งไม่ใช่เรา ตราบใดที่ธาตุรู้ไม่ปรากฏก็ต้องเป็นเราใช่ไหม ได้ยินแต่เสียงคำว่าธาตุรู้ ธาตุรู้ แต่ก็เป็นเราที่ได้ยินเป็นเราที่เห็น จนกว่าลักษณะของธาตุรู้ไม่มีรูปร่างใดๆ เลยเจือปนทั้งสิ้น สีก็ไม่มี กลิ่นก็ไม่มี เกิดขึ้นต้องรู้ เมื่อธาตุรู้นั้นปรากฏความเป็นเราก็ค่อยๆ ละไป แต่ถ้าธาตุรู้ไม่ปรากฏก็ยังคงเป็นเรา ในขณะที่เห็นบ้าง ได้ยินบ้างเป็นต้น เว้นไม่ได้เลยสักคำ แม้แต่เป็นผู้มีปกติ ปกติคือไปไหนไม่ปกติละ เดี๋ยวนี้ต่างหาก เห็นเกิดแล้วใช่ไหม เป็นอนัตตาฉันใดสติสัมปชัญญะเกิดเพราะเข้าใจถูก เกิดเพราะปัจจัยโดยความเป็นอนัตตา ก็เกิดขึ้นเป็นปกติ เพื่อที่จะละความติดข้องว่าเป็นเรา มิฉะนั้นก็ดีใจใช่ไหม ไปทำมาตั้งหลายวันรู้ตรงนั้นตรงนี้ตั้งมากมาย แต่ความไม่ใช่สิ่งที่มีจริง เพราะเหตุว่าขณะนั้นไม่ใช่ปกติที่สภาพธรรมนั้นเกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัย
อ.ธิดารัตน์ ท่านอาจารย์ ตามรู้สภาพธรรม หมายถึงว่าสภาพธรรมนั้นเกิดปรากฏ แล้วก็ยังมีอยู่ ไม่ใช่ว่าเราไปคิดถึงสิ่งที่ดับไปแล้ว นานอย่างนั้นใช่ไหม
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้เห็นไหม
อ.ธิดารัตน์ มีเห็น
ท่านอาจารย์ และตามความเป็นจริงเห็นเกิดแล้วดับ เร็วแค่ไหนสุดที่จะประมาณได้ แต่ยังไม่รู้ใช่ไหม เพราะฉะนั้นก็เหมือนเห็นอยู่ตลอดเวลา นี่คือความเข้าใจผิดจึงมีเราเห็น เพราะเห็นไม่ได้ปรากฏการดับไป เพราะฉะนั้นตามรู้ไม่ใช่ตัวเราไปตาม เหมือนเห็นกับได้ยิน ใครทำเห็นให้เกิดขึ้นไม่มีใครทำ ใครทำได้ยินให้เกิดขึ้นไม่มีใครทำ แต่ทั้งสองอย่างเกิดต่อกันเหมือนกับพร้อมกัน เหมือนกับพร้อมกันเมื่อไหร่สติเกิดรู้สิ่งนั้น ก็เหมือนกับพร้อมกันอย่างนั้น ไม่มีการที่จะมีตัวตนไปตามรู้ได้เลย เพราะฉะนั้นการฟังธรรมนี่อยู่ที่ความเข้าใจละเอียด เพราะฉะนั้นถ้าไม่ละเอียดก็คือว่าไม่สามารถที่จะเห็นว่าธรรมแต่ละ ๑ ละเอียดอย่างยิ่ง ถ้าไม่รู้อย่างนี้ก็ไม่ประจักษ์การเกิดดับ เพราะเหตุว่ารวมกันหมด เกิดดับไปเรื่อยๆ โดยไม่ปรากฏเลย ต่อเมื่อปรากฏทีละ ๑ เริ่มเห็นชัดใช่ไหม ๑ นี้ไม่ใช่ ๑ นั้น ในขณะนั้นรู้ไหมว่าจิตเจตสิกเกิดดับระหว่างนั้นกี่ขณะ แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง เพื่อให้เข้าใจถูกต้องเป็นสัจจญาณ เพราะฉะนั้นทั้งหมดที่เข้าใจ ก็มาจากการฟังแล้วฟังอีก เข้าใจแล้วเข้าใจอีก ทีละเล็กทีละน้อย จนถึงขณะที่กำลังสามารถรู้จริงๆ ประจักษ์แจ้งจริงๆ ในขณะที่สภาพธรรมกำลังปรากฏเป็นปกติ
อ.ธิดารัตน์ ท่านอาจารย์ บางทีท่านก็ใช้คำว่าอนุปัสสนา อันนี้ก็หมายถึงตามรู้ด้วยปัญญาเหมือนกัน
ท่านอาจารย์ ตามรู้ก็คือไม่พร้อมกันใช่ไหม แต่เหมือนพร้อม ใช่ไหม ระดับนั้นเลย ถึงจะรู้ว่าไม่ใช่เรา ที่กำลังเข้าใจลักษณะของสติคืออย่างไรไม่สงสัย แต่ถ้าเป็นเรากำลังพยายามจะให้สติเกิดไม่รู้จักสติ เป็นเราต่างหาก
อ.ธิดารัตน์ แต่ว่าท่านอาจารย์ แต่ก็หมายถึงว่าสติก็ระลึก แล้วก็ปัญญาก็รู้ว่าสติกับปัญญานี้ก็เกิดพร้อมกัน แต่ก็รู้ลักษณะของธรรมที่ยังมีอยู่ ไม่ใช่ว่าเราไปคิดถึงสิ่งที่ดับไปหมดแล้ว
ท่านอาจารย์ ธรรมละเอียดกว่านี้มากเลย แม้แต่ ๑ ขณะ เห็นอะไร คิดแล้ว โดยไม่รู้เลยว่าคิดแล้ว คิดแต่ว่าเห็นแล้ว แต่ความจริงแค่เห็นไม่สามารถจะรู้ว่าสิ่งนั้นเป็นอะไร ต่อเมื่อคิดถึงจึงสามารถที่จะรู้ว่าสิ่งนั้นเป็นอะไร แต่ก็เร็วมากเหมือนพร้อมกันเลย กำลังเข้าใจหรือเปล่า กำลังเข้าใจมีสติเจตสิกเกิดร่วมด้วย ใครรู้ เห็นไหมว่าสภาพธรรมละเอียดมาก เพราะฉะนั้นในขณะที่เข้าใจอะไร สติกำลังรู้สิ่งนั้นด้วยใช่ไหม แต่สติไม่ใช่เข้าใจ เพราะฉะนั้นสติและเข้าใจเกิดพร้อมกันในขณะที่เข้าใจสิ่งนั้น ต้องมีทั้งสติที่รู้สิ่งนั้น และเข้าใจถูกเห็นถูกในสิ่งนั้นด้วย เพราะฉะนั้นจะใช้คำว่าตามรู้ก็ได้ใช่ไหม เพราะสิ่งนั้นดับแล้วก็จริงแต่ปรากฏเป็นนิมิต การเกิดดับสืบต่อนี่เร็วมาก จุดก้านธูปดอก ๑ แกว่งให้เป็นวงกลมได้ไหม เห็นอะไรเห็นวงกลมคิดดู เหมือนเดี๋ยวนี้ เห็นดอกไม้ แต่ถ้าไม่มีเห็นทีละ ๑ สืบต่อจะเป็นดอกไม้ได้ไหม เพราะเห็นสิ่งที่ปรากฏดับ เห็นอีกสิ่งที่ปรากฏดับแต่สืบต่อกันจนเป็นรูปร่างสัณฐาน เพราะฉะนั้นในพระธรรมใช้คำว่านิมิตตะสิ่งที่ปรากฏนี้เกิดดับเร็วมาก ไม่ได้ปรากฏให้รู้ว่าแต่ละ ๑ เป็นเพียงสิ่งนั้นที่เกิดแล้วดับ แต่รวมกันสืบต่อกันจนปรากฏเป็นรูปร่างสัณฐาน เป็นดอกไม้บ้าง เป็นปลาบ้าง เป็นคนบ้าง เป็นกระดาษบ้าง เป็นแต่ละ ๑ ตามรูปร่างสัณฐานของธรรมแต่ละ ๑ ซึ่งเกิดสืบต่อ เพราะฉะนั้นอยู่ในโลกของนิมิต ฝันมีจริงไหม ฝันจริงใช่ไหม ตื่นขึ้นสิ่งที่ฝันมีไหม เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้กำลังมีสิ่งหนึ่งสิ่งใด ถ้ารู้ความจริงว่าไม่มี ถูกไหม เหมือนฝันไหม เพราะว่าสิ่งที่มีเกิดมีแล้วดับไม่มีใครรู้เลย เพราะฉะนั้นเข้าใจว่ายังมีอยู่ เพราะว่ามีสิ่งอื่นเกิดสืบต่อ เพราะฉะนั้นคำว่าผู้ตื่น ผู้รู้ ผู้เบิกบานก็คือว่า ตื่นจากความหลับเพราะไม่รู้ความจริง ถ้ารู้ความจริงเบิกบานไหม หลงเข้าใจว่าธรรมเที่ยง หลงเข้าใจว่าธรรมเป็นเรา หลงเข้าใจว่าเราสามารถจะทำให้เกิดธรรมอะไรก็ได้ ควบคุมได้ ทำให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ได้ แต่ความจริงไม่ได้เป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นถ้ารู้ความจริงว่าเป็นธรรมชั่วคราว จะเยื่อใยไหมหมดแล้วนี่ อะไรๆ ทุกอย่างไม่เหลือเลย จะกล่าวก็ได้ไม่มีจึงมีคำว่าอนัตตาและสูุญตา คือศูนย์จากการเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ยั่งยืนหรือเที่ยง เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้อยู่ในโลกซึ่งไม่มี เพราะสิ่งที่มีเมื่อกี้ดับแล้วไม่เหลือ สิ่งที่มีต่อก็ดับแล้วไม่เหลือ สิ่งที่มีต่อก็ดับแล้วไม่เหลือ จนกว่าจะตื่นรู้ความจริงว่าไม่มี มีแต่สิ่งที่มีปัจจัยเกิดและดับ แต่ไม่มีเรา
ผู้ฟัง เคยได้ยินว่าการเจริญสมถภาวนาถึงระดับหนึ่ง จะส่งเสริมให้วิปัสนากรรมฐานนี้เจริญได้ เท่าที่ทราบมาอารมณ์ของสมถภาวนา เป็นสมมติบัญญัติ ส่วนอารมณ์ของวิปัสสนาเป็นปรมัตถธรรม ซึ่งมันแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
ท่านอาจารย์ ได้ยินเยอะ เรื่องนั้นบ้างเรื่องนี้บ้าง แต่เข้าใจอะไรแค่ไหนในขณะนี้ นี่ก็เป็นความต่างกัน เพราะว่าได้ยินคำว่าจิต ได้ยินคำว่าสงบ ได้ยินคำว่าสมถภาวนาได้ยินคำว่าวิปัสสนาภาวนา เข้าใจหรือเปล่า หรือว่าเข้าใจแค่ไหนหรือไม่เข้าใจเลยแต่จำคำ เพราะฉะนั้นถ้าเป็นคนที่ละเอียด และก็ต้องละเอียดจริงๆ จึงสามารถที่จะรู้ว่าคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำให้เข้าใจสิ่งซึ่งได้ยินบ่อยๆ แต่ก็หาได้เข้าใจไม่ ตอนนี้เราพูดเรื่องจิต เคยได้ยินมานานมากเลย เกิดมาก็มีจิตแต่ก็ได้รู้ว่าจิตเดี๋ยวนี้ก็คือขณะนี้ที่เห็นนี่แหละ ได้ยินนี่แหละ เพราะเหตุว่าธรรมที่มีจริงๆ ก็อย่าง ๑ เกิดและก็ไม่รู้อะไรเป็นรูปธรรม แต่ถ้ามีแต่รูปธรรมอะไรก็ไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้นสภาพที่เป็นใหญ่จริงๆ เห็นจริงๆ รู้จริงๆ ว่าขณะนี้สิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นอย่างนี้ ข้างนอกสิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นอย่างนี้หรือเปล่า เห็นไหม คำถามแค่นี้ก็ต้องคิด แต่ความจริงก็ตรงไปตรงมา เห็นข้างนอก กับเห็นเดี๋ยวนี้ที่นี่ สิ่งที่ปรากฏให้เห็นเหมือนกันหรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่เหมือนกัน
ท่านอาจารย์ ไม่เหมือนกัน แต่มีเห็น แล้วก็มีสิ่งที่ปรากฏไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ที่กรุงเทพฯ ที่สุราษฎร์ ที่เชียงใหม่ ที่ลำพูน ที่ห้องนอน ที่ห้องรับประทานอาหารที่ไหนเห็นก็ต้องเป็นเห็น แล้วก็มีสิ่งที่ปรากฏให้เห็น ตอนนี้เริ่มรู้จักจิต เป็นเราหรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่ใช่เรา
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นพอได้ยินคำว่าจิตสงบเห็นไหม เพิ่มขึ้นมาอีกคำหนึ่งละ รู้จักจิตกันละ สงบละ เดี๋ยวนี้สงบหรือเปล่า ไม่มีคำตอบเลย นอกจากคิดกันเอง ว่าสงบไหม บางคนเขาบอกว่าเขานั่งนิ่งๆ ไม่คิดอะไรเลยเขาสงบ นั่นเขาว่าแต่ว่าความจริงคำว่าสงบที่นี่ หมายความว่าสงบจากความไม่รู้ สงบจากอกุศลทุกอย่างจึงสงบจากอกุศล เพราะฉะนั้นไม่ใช่สงบเฉยๆ แต่ต้องสงบจากอกุศล เพราะฉะนั้นสมถภาวนาคืออะไร เห็นไหม ได้ยินคำว่าจิต ได้ยินคำว่าสงบ ได้ยินคำว่าสมถะ ได้ยินคำว่าภาวนา ภาวนาคือการอบรมให้เกิดสิ่งที่ยังไม่เกิด หรือสิ่งที่เกิดแล้วก็ให้มีมากขึ้น เพราะฉะนั้นจะอบรมกุศลหรืออกุศล ก็ต้องกุศล อกุศลไม่ต้องอบรมเลยมีตลอดเวลา เพียงแต่เมื่อไหร่จะหมดเสียที เมื่อไหร่จะน้อยลงไป ใช่ไหม เพราะฉะนั้นก็แสดงให้เห็นว่าแม้แต่คำว่าอบรม รู้หนทางไหม แค่ได้ยินว่าสมถภาวนาแล้วจิตสงบ แต่ก็ไม่ได้บอกว่าสงบคืออะไร อบรมคืออย่างไร บอกให้คิดแต่ก็คิดไม่ออก ก็สงสัยจนกว่าจะได้ฟังคำที่ทำให้เริ่มเข้าใจแต่ละคำที่ได้ยิน ถูกต้องละเอียดขึ้นชัดเจนขึ้น เพราะฉะนั้นภาวนาก็คืออบรมเจริญสิ่งที่ไม่เคยเกิดให้เกิดขึ้น และสิ่งที่มีแล้วให้มากขึ้น ขณะที่กำลังฟังธรรมไม่ลืมฟังธรรม ขณะที่ฟังแล้วไม่เข้าใจสงบไหม นี่คือเพียงแต่พูดถึงชื่อแต่ตัวจริงจะละเอียดกว่านี้ไหมคิดดู เพียงแต่ตอบคร่าวๆ ได้ ขณะที่ไม่เข้าใจก็ต้องไม่สงบ และขณะที่เข้าใจล่ะ สงบไหม ต้องเป็นเหตุเป็นผลทุกอย่าง ให้คิด ให้ไตร่ตรอง ให้มั่นคง ขณะที่เข้าใจคำที่ได้ฟังซึ่งกล่าวถึงสิ่งที่มีจริง และก็เข้าใจถูกต้องขณะนั้นสงบไหม
ผู้ฟัง สงบ
ท่านอาจารย์ สงบก็ไม่รู้ใช่ไหม จะไปทำความสงบ คิดดู เพราะฉะนั้นขณะไหนที่มีปัญญามีความเห็นที่ถูกต้อง ในขณะนั้นก็มีความสงบจากอกุศล เพราะอกุศลคือไม่รู้แล้วก็เข้าใจผิด เพราะฉะนั้นไม่ต้องห่วงเรื่องความสงบ ขณะใดที่เข้าใจธรรมแต่ถ้าไม่เข้าใจธรรม มีความเป็นเรา ขณะที่เป็นเราสงบไหม
ผู้ฟัง ไม่สงบ
ท่านอาจารย์ ไม่สงบ แต่ว่าความสงบจากกิเลส แต่ไม่ประกอบด้วยปัญญา มีในขณะที่จิตนั้นมีสภาพธรรมซึ่งเกิดกับจิตคือเจตสิกฝ่ายดีเกิดขึ้น เจตสิกฝ่ายดีทั้งหมด ขณะนั้นที่เกิดร่วมกันสงบจากอกุศล เพราะฉะนั้นจึงมีจิต ๒ ประเภทกุศลและอกุศลเพราะจิตนี้แค่เป็นใหญ่เป็นประธาน ในการรู้แจ้งสิ่งที่กำลังปรากฏ แต่เจตสิกที่เกิดกับจิตปรุงแต่งจิตให้หลากหลาย เป็นอกุศลประเภทต่างๆ โลภะบ้าง โทสะบ้าง ริษยาบ้างมานะบ้างอะไรต่างๆ แต่ธรรมฝ่ายดีก็เกิดขึ้นปรุงแต่งให้จิตดีในทางต่างๆ เช่นช่วยเหลือคนอื่น ไม่มีใครบอกเห็นเขาถือของหนักก็ช่วยเขาถือ เป็นกุศลหรือเปล่า เป็นกุศล เพราะฉะนั้นสภาพธรรมก็เป็นอย่างนี้ แต่ว่าไม่รู้ว่าไม่ใช่เรา จนกว่าจะรู้ขึ้นเข้าใจขึ้นจากการฟังตามลำดับขั้นก็สงบขึ้นตามลำดับ เพราะฉะนั้นถ้าสงบมากกว่านี้และเข้าใจเพิ่มขึ้นก็เป็นวิปัสสนาภาวนา แต่ยังไม่ถึงวิปัสสนาเลย ภาวนาให้เกิดวิปัสสนาจากการที่ได้ยินได้ฟังเล็กๆ น้อยๆ ค่อยๆ เข้าใจเพิ่มขึ้น จนกระทั่งสามารถที่จะประจักษ์แจ้งชัดเจนหมดความสงสัย นั่นคือวิปัสสนาตามลำดับขั้นจนกว่าจะรู้แจ้งสภาพธรรมที่ไม่เกิด เมื่อนั้นก็รู้ว่าการไม่เกิดนี่มีได้ แต่ถ้าไม่ถึงไม่เห็นหยุดเกิดสักที ทุกวันนี้เป็นไปเรื่อยจากเมื่อวานนี้เป็นวันนี้เป็นพรุ่งนี้ แต่ต่อๆ ไปเรื่อยๆ ไม่มีใครไปหยุดยั้งการเกิดขึ้นของธรรมเลย ถ้าเข้าใจอย่างนี้เป็นความสงบที่ประกอบด้วยปัญญา แต่ว่าในครั้งพุทธกาล ก่อนการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คนที่เห็นว่าตัวเองไม่ดีเพราะมีกิเลสมาก เป็นผู้ที่ฉลาดมีปัญญาระดับไหน ที่รู้ว่าเพราะมีความติดข้อง ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรสในทุกสิ่งทุกอย่างที่มีเป็นปกติในชีวิตประจำวัน ทำให้เกิดความเดือดร้อนและทุจริตต่างๆ เห็นโทษและมีปัญญารู้ว่าทำอย่างไร จิตจึงจะต้องละคลายความติดข้องในสิ่งที่เคยติดข้อง ในรูปที่กำลังปรากฏให้เห็น ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในการกระทบสัมผัสต่างๆ มีหนทางที่จะทำให้ค่อยๆ ละคลายดีไหม คนในยุคโน้น แล้วเราเดี๋ยวนี้เคยคิดอย่างนั้นบ้างไหมว่า ถ้าเราละคลายความติดข้อง ในสิ่งที่เราเคยชอบมากๆ ทุกวันให้น้อยลงจะดีกว่าไหม จะเดือดร้อนน้อยลงไหม เพราะฉะนั้นถ้าไม่มีความคิดอย่างนี้ ไม่มีทางที่จะคิดเรื่องสมถภาวนา หรือสงบจากอกุศล เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องของความเข้าใจแต่ละคำ ภาวนา อบรมการละความติดข้อง ในรูปเสียงกลิ่นรสสัมผัส โดยมีปัญญารู้ว่าเป็นไปไม่ได้เลย ที่ทุกวันนี้จะไม่มีการรู้อะไร เพราะว่าจิตเป็นสภาพรู้หรือเป็นธาตุรู้ และไม่เคยขาดจิตเลยสักขณะเดียว ตั้งแต่เกิดจนตาย เดี๋ยวเห็นเดี๋ยวได้ยินเดี๋ยวคิดต่างๆ รู้โน่นรู้นี่รู้นั่น แต่ว่าขณะที่รู้ประกอบด้วยความสงบหรือไม่สงบ กำลังสนุกหัวเราะ ใช่ไหม ทุกคนชอบมาก จะดูฟุตบอลหรือว่าจะดูโทรทัศน์ ข่าวสารบ้านเมืองอะไรก็ตามแต่ ชอบดูไหม ชอบ กำลังสนุกอย่างนั้น สงบไหม ถ้าไม่มีปัญญาไม่รู้ว่าไม่สงบ เพราะฉะนั้นเราก็เสาะแสวงหา แต่สิ่งที่ทำให้เพลิดเพลิน หารู้ไม่ว่าขณะนั้นเป็นโทษและไม่สงบ เพราะฉะนั้นผู้ที่มีปัญญาเห็นโทษของความไม่สงบ จึงรู้หนทางว่าจะสงบอย่างไร แต่ถ้าไม่รู้ก็แค่อยากสงบ ไปถามใครบอกว่าทำยังไงจิตจะสงบ เขาบอกว่าให้นั่งนิ่งๆ นั่งนิ่งๆ สงบไหม ไม่สงบเลยใช่ไหม ให้ดูจิตสงบไหม ดูจิตดูอย่างไร กำลังเห็นนี่ดูยังไง เหมือนได้ยินนี่จะดูอย่างไร ใช่ไหม เพราะฉะนั้นไม่ใช่ดู แต่เข้าใจหรือรู้
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1261
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1262
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1263
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1264
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1265
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1266
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1267
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1268
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1269
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1270
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1271
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1272
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1273
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1274
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1275
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1276
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1277
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1278
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1279
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1280
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1281
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1282
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1283
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1284
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1285
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1286
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1287
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1288
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1289
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1290
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1291
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1292
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1293
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1294
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1295
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1296
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1297
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1298
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1299
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1300
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1301
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1302
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1303
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1304
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1305
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1306
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1307
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1308
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1309
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1310
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1311
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1312
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1313
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1314
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1315
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1316
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1317
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1318
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1319
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1320