ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1267
ปกิณณกธรรม ตอนที่ ๑๒๖๗
สนทนาธรรม ที่ โรงแรมไดมอนด์ พลาซ่า จ.สุราษฎร์ธานี
วันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑
ท่านอาจารย์ ดูจิตหรืออย่างไร กำลังเห็นดูยังไง กำลังได้ยินดูยังไงใช่ไหม เพราะฉะนั้นไม่ใช่ดูแต่เข้าใจหรือรู้ เพราะฉะนั้นก็เป็นเรื่องที่ต้องศึกษาโดยละเอียด ถ้าเป็นความสงบจากความติดข้องและก็รู้หนทาง ซึ่งขณะที่กำลังรู้อย่างนั้น จิตสงบ เช่น เชิญคุณธิดารัตน์
อ.ธิดารัตน์ ถ้ากล่าวถึงความสงบก็จะมีเจตสิกนี้ ที่เกิดกับจิตที่ทำให้จิตสงบ แล้วก็ทำให้เจตสิกสงบ เพราะฉะนั้นก็เป็นโสภณสาธารณเจตสิก ที่เกิดกับกุศลทั่วไป ขณะที่กุศลเป็นไปในทานก็สงบขั้นทาน ขณะที่มีการเว้นอกุศล ละเว้นทุจริตที่เป็นไปในทางกายทางวาจาก็เป็นขั้นศีล
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นกุศลมีหลายระดับ
ท่านอาจารย์ แต่ขณะที่ฟังธรรมแล้วขณะที่เข้าใจ ขณะนั้นก็สงบในขณะที่เข้าใจ เห็นไหมว่าไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แค่เราคิดว่าฟังยังไง ฟังเรื่องอะไร ฟังจากใครแล้วสงบหรือเปล่า ธรรมเป็นธรรมมีแต่ไม่รู้ เข้าใจว่าเป็นโน่นเป็นนี่เป็นนั่น แม้แต่เราใช้คำว่าความสงบแต่รู้จริงๆ หรือเปล่าว่าความสงบมีไหม และความสงบคืออะไร เพราะฉะนั้นก่อนอื่นสงบมีไหมหรือไม่สงบมีไหม เห็นไหม ต้องค่อยๆ เข้าใจจริงๆ ว่าไม่สงบ และเป็นเรื่องของจิต รูปไม่มีทางที่จะสงบหรือไม่สงบเลย เพราะฉะนั้นเพียงคำเดียวว่าสงบ ก็ต้องพิจารณาไตร่ตรองเข้าใจจริงๆ แล้วก็รู้จักสงบ ไม่ใช่เพียงได้ยินชื่อสงบ หรือได้ยินคำว่าสงบ แต่ต้องรู้จักสงบด้วย แต่ธรรมเป็นสิ่งที่รู้ยากมาก เพราะเหตุว่าถูกความไม่รู้มาปกปิดกั้นไม่รู้ความจริงเรื่อยมา แม้เดี๋ยวนี้ก็ไม่รู้ว่าเป็นธรรม ถึงจะนั่งฟังถึงจะเห็นถึงจะได้ยินก็ไม่รู้ว่าเป็นธรรม จนกว่าฟังแล้วฟังอีก เข้าใจขึ้นทีละเล็กทีละน้อย จนกระทั่งรู้ความต่างกันของแต่ละคำ เช่นไม่สงบ เวลาสนุกสนาน คิดเสียใหม่เข้าใจเสียใหม่ หัวเราะเบิกบานขณะนั้นไม่สงบ ขณะนั้นอยากสงบไหม ไม่อยากสงบใช่ไหม อยากสนุกต่อไปนี้ก็แสดงว่าเราไม่รู้ความต่าง ของกุศลสภาพธรรมที่ดีงาม และอกุศลจนกว่าจะฟังเข้าใจ เข้าใจคือถูกต้องตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้นแม้แต่ว่าอยากสงบ หรือจะทำความสงบ และมีคนสอนให้ทำความสงบ เขาก็ไม่ได้ให้เข้าใจว่าขณะนั้นผู้นั้นรู้จริงหรือเปล่าว่าขณะนั้นสงบไหม เพราะฉะนั้นถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องราวคำถามต่างๆ ขณะนี้ก็ไม่รู้ว่าสงบหรือเปล่าอยู่นั่นเอง
อ.ธิดารัตน์ ท่านอาจารย์ ก็จะมีสองคำ คือความสงบกับสมาธิ
ท่านอาจารย์ ทีละคำ เดี๋ยวปนกันหมดเลยใช่ไหม แต่ต้องทีละคำ สงบเป็นกุศลเพราะไม่ไม่หมายความสงบจากอกุศล หรือว่าสงบจากกิเลส และตอนนี้เราอยู่ตรงนี้จะสงบสักหน่อย จะสงบยังไงใช่ไหม ลองคิดถึงความตาย เห็นไหม อยู่ตรงนี้ลืมแล้ว ลืมตายแล้ว
อ.ธิดารัตน์ ถ้าคิดถึงความตายแล้วกลัวก็ไม่สงบ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะได้ยินได้ฟังอะไร ไม่ใช่ว่าเค้าบอกว่าให้คิดถึงความตาย เมื่อกี้นี้ไม่ได้พูดถึงว่าให้คิดถึงความตาย ในทางที่ว่าเราจะสงบเพียงแต่ว่าขณะนี้ไม่ตาย ใช่ไหม แต่ต้องตายใช่ไหม รู้สึกอย่างไร ไม่สงบใช่ไหม ไม่สงบแน่ๆ เลยกลัวตายไม่อยากตายเดือดร้อนเพราะตาย สงบไม่ได้ แต่ปัญญาเห็นไหม ต่างกับความไม่รู้ ถ้าปัญญารู้จริงๆ ว่าแท้ที่จริงแล้วความตายต้องเกิดขึ้นแน่นอน ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงตรัสรู้ ผู้บำเพ็ญพระบารมี เหนือบุคคลใดทั้งสิ้น ก็ยังต้องปรินิพพาน แต่ความตายของพระองค์ ต่างกับความตายของคนอื่นๆ เพราะคนอื่นมีกิเลสตายต้องเกิดอีก แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าหมดกิเลส เมื่อสิ้นสุดการที่จะต้องเกิดเห็นได้ยินอีกต่อไป สิ้นสุดก็คือปรินิพพาน ไม่มีการเกิดอีกเลย คิดดูสิสงบจริงๆ คืออะไรไม่เกิด เพราะฉะนั้นก็มีความสงบ ขณะหลายระดับมาก เพียงแต่ว่าเราจะเริ่มรู้จักความสงบระดับไหน ระดับแรกก็คือว่าต้องเป็นคนที่ตรง เมื่อไม่รู้ก็คือไม่รู้เมื่อรู้ก็คือรู้ตอนนี้เพิ่งรู้แล้วว่าสงบจากอกุศล เพราะฉะนั้นขณะใด ที่เป็นอกุศลประเภทหนึ่งประเภทใดทั้งหมดไม่สงบ ที่นี่เดี๋ยวนี้จะสงบกันสักหน่อย ก็คือว่าถ้าคิดถึงความตายคิดถึง ไม่ได้ให้ทำอย่างอื่นเลย แค่คิดถึงตาย สงบไหม ตามความเป็นจริงไม่สงบแต่ถ้ารู้ว่าหนีไม่พ้น ก่อนตายเป็นคนดี ดีไหม แล้วก็ก่อนตายเข้าใจ สิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ตามความเป็นจริง แทนที่จะไม่รู้ต่อไปเรื่อยๆ ดีไหม เพราะฉะนั้นถ้ารู้ดีไหม ถ้าไม่รู้ดีไหม
เพราะฉะนั้นเพียงแค่มีปัญญา รู้ว่าสิ่งใดดีขณะนั้นสงบจากความไม่รู้ น้อยมากทีละเล็กทีละน้อยไม่ปรากฏเลย จนกว่าความสงบมากตามระดับขั้น ก็สามารถที่จะปรากฏเป็นความสงบระดับขั้นต่างๆ เพราะฉะนั้นเราไม่ประมาทเลย ไม่ใช่มีใครจะมาสอนเราให้ทำวิธีนี้วิธีนั้นแล้วสงบ เช่นให้คิดให้นึกคำว่าพุทโธ แล้วไม่รู้ว่าพุทโธคืออะไรแล้วจะสงบไหม ต้องการนึกถึงพุทโธก็ไม่สงบแล้ว เพราะฉะนั้นขณะนั้นใครจะมาบอกว่า ถ้าจะสงบก็นั่งนิ่งพูดคำว่าพุทโธ ไป เรื่อยเรื่อยร้อยครั้งพันครั้งไม่ใช่ความสงบเลย แต่ว่าขณะใดที่ระลึกถึงผู้ที่มีพระคุณสูงสุด ที่ทำให้เราได้ยินได้ฟัง แล้วได้เข้าใจสิ่งที่กำลังมีในขณะนี้ตามความเป็นจริงทีละเล็กทีละน้อย แม้น้อยมากแต่คุณนั้นมหาศาลยิ่งใหญ่แค่ไหน ที่ว่าจากความไม่สามารถรู้จะเข้าใจได้ด้วยตัวเอง แต่ก็มีคำที่ทำให้ค่อยๆ เข้าใจขึ้น พอระลึกถึงผู้ที่ทำให้เกิดปัญญา ที่ทำให้มีความเข้าใจธรรม สงบไหมขณะนั้นก็สงบ แต่ไม่ใช่ไปนั่งท่องว่าพุทโธ
เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะทำให้จิตสงบ ต้องเป็นสิ่งซึ่งไม่ใช่มีในชีวิตประจำวันแล้วไม่รู้ไม่เข้าใจ แล้วไปทำด้วยความต้องการ แต่จะต้องมีความเข้าใจถูกต้องว่าขณะไหนสงบ และขณะไหนไม่สงบ เพราะอะไร จึงอบรมความสงบให้มากขึ้นมั่นคงขึ้นได้ ยากไหม ยากก็ต้องยาก ไม่ใช่ง่ายๆ เลยทุกอย่างไม่ง่าย อกุศลง่ายมากไม่ต้องภาวนาอะไรเลยก็เกิดอยู่แล้ว แต่ว่าที่จะให้เกิดความเข้าใจ แม้เพียงทีละนิดทีละหน่อยก็ยาก แล้วก็ตามลำดับขั้นด้วย
อ.วิชัย เพราะฉะนั้นเรื่องของการอบรมเจริญปัญญา ที่เป็นวิปัสสนาปัญญา หมายถึงว่าปัญญาที่จะถึงการรู้แจ้งรู้ชัด ธรรมตามความเป็นจริง ต้องเริ่มจากการที่ค่อยๆ ที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรม มากขึ้นเพิ่มขึ้น จนถึงการรู้แจ้งที่เป็นวิปัสสนาได้ ดังนั้นขณะนี้สงบหรือเปล่า ถ้าฟังธรรมและมีความเข้าใจ ขณะนั้นก็เริ่มที่จะเข้าใจสภาพธรรมที่สงบจากอกุศล เพราะขณะนั้นไม่มีความติดข้อง ขณะนั้นไม่มีความขุ่นเคืองใจ แต่เป็นไปพร้อมกับด้วยกับความเข้าใจธรรม ดังนั้นการเจริญสติปัฏฐาน ก็หมายถึงว่าเป็นปกติของบุคคลนั้นว่า ขณะใดก็ตามมีธรรมประเภทไหน ไม่ว่าจะเป็นอกุศลหรือว่าจะเป็นกุศลใดๆ ก็ตามเมื่อเกิดขึ้น ปัญญาที่สะสมมาจากการที่ฟังแล้วเข้าใจ เริ่มมั่นคงมีปัจจัยของปัญญาที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้น ตามความเป็นจริง ดังนั้นบุคคลที่เจริญความสงบในครั้งโน้น ก็เป็นปกติของบุคคลที่จะมีปกติของความสงบของจิตที่มั่นคง แล้วแต่แต่ละท่านว่าท่านจะมีความสงบในระดับไหน และท่านเหล่านั้นเป็นผู้มีปกติเจริญสติหรือเปล่า ถ้าเป็นผู้มีปกติเจริญสติ ธรรมใดก็ตามที่เกิดขึ้น ก็สามารถที่จะเป็นบาทหรือเป็นอารมณ์ ที่จะให้สติระลึกได้ในสภาพธรรมนั้น ถ้าไม่มีการอบรมความรู้ความเข้าใจในสภาพธรรม ตามความเป็นจริงเลย แม้ความสงบของจิตเกิดขึ้นก็ไม่มีปัจจัยของปัญญา ที่จะรู้เข้าใจลักษณะของสภาพที่กำลังสงบนั้น ตามความเป็นจริงได้ ก็มีแต่ปัญญาในระดับที่จะให้จิตนี่ จะสงบจากอกุศลเท่านั้นเอง
ท่านอาจารย์ แล้วถ้าไม่ได้ฟังอย่างนี้ เพียงได้ยินบอกว่าสมถภาวนาเป็นบาทให้เกิดวิปัสสนาภาวนา ยังไงกันงงไปหมดเลยใช่ไหม แล้วก็จะไปนั่งทำเพราะไม่รู้ก็ผิด ได้ยินอย่างนี้เข้าใจไหม เห็นไหม เพราะว่าต้องเป็นความละเอียดอย่างยิ่งตามลำดับ ได้ยินคำว่าอารมณ์ใช่ไหม ทุกคนได้ยิน อารมณ์คืออะไร ก่อนไปไหนเลยแต่ละคำแต่ละคำต้องเข้าใจชัดเจน เพราะฉะนั้นคนที่ได้ฟังธรรมแล้วนาน ไม่สงสัยในคำนี้เลย แต่คนที่เพิ่งได้ยินได้ฟัง คิดว่าอารมณ์คืออะไร
ผู้ฟัง คิดว่าเป็นความเคลื่อนไหวของทางด้านจิตใจ เป็นภายในความเกลียด ความรัก อะไรอย่างนั้น
ท่านอาจารย์ นี่คือก่อนฟัง ถึงฟังแล้วได้ยินบ่อยๆ ก็ไม่รู้จนกว่าจะฟังละเอียด นั่งอยู่นี่มีจิตไหม
ผู้ฟัง จิตมี
ท่านอาจารย์ จิตมี จิตเป็นสภาพรู้ใช่ไหม ขณะที่เห็น รู้ว่าสิ่งที่กำลังปรากฏเป็นอย่างนี้ เพราะจิตเกิดขึ้นเห็น ไม่ได้รู้เสียง ไม่ได้คิดแต่มีสิ่งที่ปรากฏให้รู้ เพราะฉะนั้นจิตต่างหากที่เกิดขึ้นเห็นคือรู้ ไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นเมื่อจิตเป็นธาตุชนิดหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นต้องรู้ต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ด้วยใช่ไหม เพราะฉะนั้นเมื่อมีจิตรู้ ก็ต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ ภาษาบาลีใช้คำว่าอารัมณะ หมายความถึงสิ่งที่ถูกจิตรู้ ที่เราเคยคิดว่าวันนี้เราอารมณ์ดี หรืออารมณ์หงุดหงิดก็เพราะเหตุว่า เราไม่รู้ว่าอารมณ์คืออะไร เราเข้าใจต่อกันๆ มาในภาษาไทยว่าเวลาสบายใจ เราก็บอกว่าอารมณ์ดี เวลาไม่สบายใจเราก็บอกว่าวันนี้อารมณ์ไม่ดี แต่ต้องแยกกัน จิตเป็นสภาพรู้ต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ถูกรู้นั่นแหละ ภาษาบาลีใช้คำว่าอารัมมณะ ภาษาไทยก็ตัดสั้นๆ ว่าอารมณ์ เพราะฉะนั้นวันไหนอารมณ์ดีหมายความว่าจิตเกิดขึ้นเห็นสิ่งที่ดี ได้ยินเสียงที่ดี กลิ่นดี รสดี เรื่องราวต่างๆ ดีหมดก็บอกว่าวันนี้อารมณ์ดี แต่ถ้าหมายความถึงสิ่งที่จิตรู้ เพราะฉะนั้นธาตุรู้เกิดขึ้นรู้สิ่งที่ถูกธาตุรู้นั่นรู้เรียกว่าอารมณ์ ด้วยเหตุนี้ถ้าไม่เข้าใจสองคำนี้ตั้งแต่แรกให้มั่นคงเราก็สับสน ขณะนี้ได้ยินใช่ไหม มีจิตใช่ไหม ได้ยินต้องมีเสียงใช่ไหม
ผู้ฟัง เสียง เสียง
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเสียงเป็นได้ยินหรือเปล่า หรือเสียงเป็นเสียง และก็ได้ยินเกิดขึ้นได้ยินเสียง ได้ยินอื่นไม่ได้เลย ได้ยินสีไม่ได้ ได้ยินกลิ่นไม่ได้ ต้องได้ยินเฉพาะเสียง
ผู้ฟัง ได้ยินเสียง
ท่านอาจารย์ ได้ยิน แต่ก่อนนี้เราเข้าใจว่าเป็นเราได้ยินใช่ไหม แต่ความจริงได้ยินคือสิ่งที่ขณะนั้นรู้ว่ามีเสียงนั้นปรากฏ มีเสียงนั้นปรากฎ เสียงเป็นเสียง ได้ยินเสียง ได้ยินนั้นได้ยินปรา ได้ยินกฏ ใช่ไหม เพราะฉะนั้นจิตเป็นธาตุรู้ มีสิ่งที่ถูกรู้แล้วแต่ ทางตาสิ่งที่ถูกรู้ก็กำลังปรากฏให้เห็นถูกเห็น ทางหูก็เสียงนั่นแหละถูกได้ยิน ทางจมูกก็กลิ่นนั่นแหละ มีธาตุที่กำลังรู้กลิ่น วันนี้รสอาหารที่รับประทานตอนกลางวันมีกี่รส มีหลายรส ใครรู้รส จิตเกิดขึ้นลิ้มรสแต่ละ ๑ จึงรู้ว่าต่างกัน กำลังรู้เปรี้ยวไม่ใช่หวาน กำลังรู้เค็มไม่ใช่เปรี้ยว
เพราะฉะนั้นจิตเป็นสภาพที่รู้แจ้งในอารมณ์ไหน สิ่งที่จิตกำลังรู้ เปรี้ยวปรากฏกับจิตที่กำลังรู้เปรี้ยว หวานปรากฏกับจิตที่กำลังรู้หวาน เพราะฉะนั้นจิตเป็นสภาพรู้ตั้งแต่เกิดจนตายไม่มีเรา แต่มีสภาพรู้ซึ่งเป็นนามธรรม และมีสภาพไม่รู้คือรูปธรรม รสไม่รู้อะไร ที่ใดที่มีเย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว เกาะกุม ซึมซาบซึ่งจะใช้คำว่ามหาภูตรูป ใช้คำว่ารูป หมายความว่าสิ่งนั้นมีเกิดขึ้น เป็นอย่างนั้นแต่ไม่รู้อะไร เย็นก็เกิดขึ้นเป็นเย็น ร้อนก็เกิดขึ้นเป็นร้อน ไม่รู้อะไรเป็นธาตุชนิดหนึ่ง ธาตุคือสิ่งที่มีจริง เป็นอีกคำ ๑ ของคำว่าธรรม หมายความว่าธรรมนั้น มีลักษณะเฉพาะที่ต้องเป็นอย่างนั้นเปลี่ยนไม่ได้เลย แสดงถึงว่าธาตุ หมายความถึงสิ่งนั้นซึ่ง ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นได้ ด้วยเหตุนี้ธรรมทั้งหมดเป็นธาตุทั้งหมด ธาตุเห็น ธาตุได้ยิน ธาตุได้กลิ่น ไม่ใช่ธาตุเดียวกันใช่ไหม รู้เหมือนกันแต่ต่างกัน ที่รู้นี่รู้อื่นไม่ได้ รู้เฉพาะเสียง เพราะฉะนั้นเป็นโสตวิญญาณธาตุในภาษาบาลี ภาษาไทยก็เป็นธาตุได้ยิน รู้โดยอาศัยหู เพราะฉะนั้นการฟังธรรม เพื่อเข้าใจสิ่งที่มีเดี๋ยวนี้ ให้เข้าใจขึ้นว่าความจริงเป็นแต่ละ ๑ ธาตุแต่ละ ๑ ธรรม เพื่อที่จะรู้ว่าจริงๆ แล้วก็ไม่มีอะไรเลย จากการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งต่างกับคนอื่นคือ คนอื่นคิดว่ามีเรามีสิ่งหนึ่งสิ่งใด ที่เที่ยงยั่งยืน แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ว่าแต่ละ ๑ ต้องเกิดแล้วดับทันที ทันทีเร็วกว่านั้นอีก ใช่ไหม อย่างเราเห็นเป็นคนทันทีใช่ไหม แต่ความจริงเพราะสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่าเห็นไม่ใช่คิดและจำและรู้ว่าสิ่งที่เห็นเป็นอะไร
เพราะฉะนั้นได้ยินทุกคำ ยังไม่ต้องไปไกลถึงไหนเลย แต่ว่าเริ่มเข้าใจคำใหม่แต่ละคำก่อน ได้ยินคำว่าสมถะ ได้ยินคำว่าวิปัสสนา ได้ยินคำว่าอารมณ์ ได้ยินคำว่าอะไรก็ตาม ต้องละเอียดที่จะรู้แต่ละคำ จึงสามารถที่จะเข้าใจเรื่องทั้งหมดที่ใช้แต่ละคำเหล่านี้ได้ อย่างเมื่อกี้นี้ตอนต้น ไม่ทราบว่าใครจำได้หรือเปล่า แต่บอกว่าอารมณ์ของสมถะต่างกับอารมณ์ของวิปัสสนาเห็นไหม มีคำว่าอารมณ์ก็ผ่านไป สมถะก็ผ่านไป วิปัสนาก็ผ่านไป แล้วจะรู้จะเข้าใจจริงๆ ได้อย่างไร จะเข้าใจจริงๆ ต่อเมื่อเป็นผู้ที่ละเอียด และรู้ว่าอารมณ์คือสิ่งที่จิตรู้ หลากหลายมาก เพราะฉะนั้นบางอารมณ์ทำให้จิตสงบ บางอารมณ์ทำให้จิตไม่สงบ บางอารมณ์ทำให้เกิดปัญญา ความเห็นที่ถูกต้อง บางอารมณ์ก็ไม่ทำให้เกิดปัญญา เพราะฉะนั้นก็เป็นเรื่องของการฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงแสดง ๔๕ พรรษา ดำรงรักษาคำสอนด้วยความเข้าใจ ถ้าไม่มีใครเข้าใจเลย คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เราใช้คำว่าพระพุทธศาสนาก็อันตรธาน หนังสือพิมพ์จีนฉบับหนึ่ง คนที่รู้ภาษาจีนได้เล่าให้ฟังว่า เมื่อเร็วๆ นี้เขาเขียนบทความว่า ถ้าไม่มีการปฏิรูปหรือเปลี่ยนแปลง ให้มีการศึกษาให้เข้าใจธรรมยิ่งขึ้นพระศาสนาก็สิ้น เขาใช้คำนี้ เขายังคิดอย่างนั้น แล้วเราล่ะก็จะนิ่งเฉยไม่สนใจไม่รู้ต่อไป และคิดว่าพระศาสนารุ่งเรืองได้หรือ ความจริงก็ต้องเป็นความจริง เพราะฉะนั้นถ้าเราได้ยินแต่ละคำ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสแล้วไม่เข้าใจ ก็คือว่าไม่ได้ดำรงคำสอนของพระองค์ไว้ เพราะฉะนั้นหนทางเดียวที่จะดำรงคำสอน ไม่ใช่อิฐหินปูนทรายไม่ใช่วัดวาอาราม ไม่ใช่เพศบรรพชิต ซึ่งไม่ได้เข้าใจธรรม ไม่ได้ขัดเกลากิเลสตามพระวินัย อย่างนั้นดำรงพระศาสนาไม่ได้ แต่ไม่ว่าใครก็ตามหญิงหรือชาย คฤหัสถ์หรือบรรพชิตภิกษุก็ตามแต่ ที่เข้าใจธรรมตามที่พระองค์ได้ทรงแสดง ไว้โดยละเอียดโดยรอบคอบ ก็สามารถที่จะดำรงคำสอนของพระองค์ไว้ได้
เพราะฉะนั้นเมื่อกี้ได้ยินตั้งหลายคำ เหมือนจะเข้าใจ แต่ไม่มีทางจะเข้าใจเลย แค่ผ่านหูแล้วก็จำ แล้วก็สงสัย แล้วก็ถามใช่ไหม แม้แต่สงบ แม้แต่วิปัสสนา อารมณ์ของสมถะ อารมณ์ของวิปัสสนา ทั้งหมดนี้ต้องเข้าใจจริงๆ ไม่ใช่ผ่านไป ได้ยินคำว่าบัญญัติด้วยหรือเปล่า ทบทวนย้อนไป ได้ยินทั้งนั้นเลย เข้าใจหรือเปล่าหรือผ่านไปก็ไม่เป็นไรฟังต่อไปอีก ฟังต่อไปอีกอื่นๆ ต่อไปอีก ทับถมมากมายแต่ละคำเพิ่มขึ้น โดยไม่ได้เข้าใจจริงๆ เลยว่าคืออะไร เพราะฉะนั้นก็เป็นโมฆะว่างเปล่า จากความเข้าใจที่ถูกต้องถ้าไม่ละเอียด เพราะฉะนั้นแต่ละคำ ในสองวันนี้เมื่อวานนี้กับวันนี้ และพรุ่งนี้อีกวันหนึ่ง ก็จะรู้ได้ว่าที่ฟังแล้ว มีความเข้าใจจริงๆ มั่นคงไม่เปลี่ยนแปลง เพราะคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกคำไม่เปลี่ยน เพราะแต่ละคำมาจากพระปัญญาที่ตรัสรู้ความจริงโดยประการทั้งปวงถึงที่สุด ได้ยินคำว่าอารมณะ หรืออารมณ์ต้องหมายความถึงสิ่งที่จิตรู้ เสียงในป่ามีไหม มีแต่ไม่ได้ยินใช่ไหม ได้ยินในป่ามีเมื่อมีของแข็งกระทบกันที่ไหนก็ได้ ฟ้าร้องเห็นไหม เรามองไม่เห็นเลย แต่ได้ยินเสียง แต่ถ้าไม่กระทบกันแรงๆ เสียงจะดังปรากฎไหม เพราะฉะนั้นก็มีทั้งเสียงเบาเสียงดัง แต่เสียงก็ต้องเป็นเสียงเป็นอื่นไม่ได้เลย มีจริง เสียงรู้อะไรได้ไหม แต่เสียงก็ยังเป็นเสียง เสียงในป่าก็เป็นเสียง เสียงที่กำลังมีคนได้ยินก็เป็นเสียง เพราะฉะนั้นเสียงในป่าไม่มีใครรู้ แต่เมื่อมีปัจจัยเสียงก็เกิดขึ้น แม้ไม่มีใครได้ยิน แต่เสียงที่กำลังปรากฏมีคนได้ยิน เสียงนั้นเป็นอารมณ์ของจิตที่ได้ยิน ในขณะที่เสียงในป่าไม่มีใครได้ยิน ก็ไม่ใช่อารมณ์แต่เป็นเสียง
เพราะฉะนั้นอารมณ์ต้องหมายความจำกัด ไม่เปลี่ยนเลย สิ่งที่จิตกำลังรู้ เดี๋ยวนี้มีอารมณ์ไหม เพราะอะไร เพราะมีจิตรู้ จิตรู้อะไร สิ่งที่ถูกจิตรู้นั่นแหละเป็นอารมณ์ เพราะฉะนั้นมีเราหรือเปล่า จิตเป็นเราหรือเปล่า สิ่งที่ถูกรู้เป็นเราหรือเปล่า เป็นธรรมแต่ละ ๑ แต่ละ ๑ แต่ละ ๑ เริ่มรู้ว่ากำลังฟังอะไร กำลังฟังสิ่งที่มีจริง เพราะฉะนั้นสิ่งที่มีจริงในภาษาบาลีใช้คำว่าธรรม และก็ไม่ใช่เราด้วยต้องประกอบกันไป ไม่เปลี่ยน ต่อไปนี้เสียงเป็นเราหรือเปล่า ไม่ใช่ เห็นเป็นเราหรือเปล่า มีเราหรือเปล่า ถูกต้องเลยต้องไม่มี วันนี้ไม่มีเรา พรุ่งนี้มีเราไหมไม่มีตลอดจะเป็นเราไม่ได้ เพียงแต่ว่าไม่รู้ เดี๋ยวก็ไม่รู้อีก เดี๋ยวก็ไม่รู้อีก เดี๋ยวก็ลืมอีกจนกว่าจะมั่นคง มั่นคงเมื่อไหร่สภาพธรรมปรากฏกับปัญญาที่อบรม ที่ใช้คำว่าภาวนาเจริญขึ้น จนสภาพธรรมที่ได้ฟังปรากฏว่าเป็นจริงตามลำดับ ที่เป็นวิปัสสนาเป็นการประจักษ์แจ้ง เพราะฉะนั้นแค่ฟังดับกิเลสไม่ได้เลยด้วยเหตุนี้คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นความจริงถึงที่สุด งามในเบื้องต้นจริงทุกคำ งามในท่ามกลางมีความเข้าใจเพิ่มขึ้น งามในที่สุดประจักษ์แจ้ง ซึ่งเมื่อประจักษ์แจ้งแล้ว หมดความสงสัยเปลี่ยนไม่ได้เลย ทุกอย่างที่ได้ฟังนี่จริง ถ้าไม่มีผู้ที่ประจักษ์แจ้งจะมีสาวกไหม หรือว่ามีแต่พระอรหันต์เท่านั้น เมื่อทรงแสดงธรรมแล้วคนที่สะสมความเข้าใจ สามารถที่จะรู้ได้ ประจักษ์แจ้งได้ เป็นพระอรหันต์ได้ หมดกิเลสได้เป็นสังฆรัตนได้ นี่ก็คือคำสอนของพระองค์ ไม่เป็นหมันไม่ใช่ว่าไร้ผล แต่ผลนั่นอยู่ที่เข้าใจถ้าไม่เข้าใจก็คิดว่ากล่าวตู่ แต่ว่าไม่จริง เพราะฉะนั้นทุกคำ วันนี้เมื่อวานนี้ และพรุ่งนี้ ก็คือว่าไม่ลืมสิ่งที่ได้เข้าใจแล้ว มีธรรมที่มีจริง เปลี่ยนแปลงไม่ได้เลย แข็งต้องเป็นแข็ง เสียงต้องเป็นเสียง เพราะฉะนั้นใช้คำว่าปรมัตถธรรม
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1261
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1262
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1263
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1264
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1265
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1266
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1267
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1268
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1269
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1270
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1271
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1272
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1273
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1274
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1275
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1276
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1277
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1278
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1279
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1280
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1281
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1282
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1283
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1284
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1285
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1286
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1287
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1288
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1289
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1290
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1291
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1292
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1293
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1294
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1295
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1296
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1297
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1298
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1299
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1300
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1301
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1302
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1303
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1304
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1305
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1306
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1307
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1308
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1309
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1310
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1311
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1312
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1313
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1314
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1315
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1316
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1317
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1318
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1319
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1320