ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1268


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ปกิณณกธรรม ตอนที่ ๑๒๖๘

    สนทนาธรรม ที่ โรงแรมไดมอนด์ พลาซ่า จ.สุราษฎร์ธานี

    วันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑


    ท่านอาจารย์ มีธรรมที่มีจริงเปลี่ยนแปลงไม่ได้เลย แข็งต้องเป็นแข็ง เสียงต้องเป็นเสียง เพราะฉะนั้นใช้คำว่าปรมัตถธรรม มาจากคำว่าปรมะ คือบรม ยิ่งใหญ่ ใครเปลี่ยนธรรมได้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปลี่ยนธรรมได้ไหม ต้องมั่นคงเปลี่ยนไม่ได้เลย ธรรมเป็นธรรม เป็นปรมัตถธรรมและเป็นอภิธรรม ที่เราได้ยินบ่อยๆ ละเอียดลึกซึ้งอย่างยิ่ง ขณะนี้เห็นก็เกิดดับก็ไม่รู้ ได้ยินก็เกิดดับก็ไม่รู้ คิดก็ไม่ใช่เราเกิดขึ้นและดับไปก็ไม่รู้ ทุกอย่างปกปิดไว้ด้วยความไม่รู้ อวิชชานานมากแต่เริ่มจะเข้าใจขึ้น เมื่อได้ฟังแต่ละคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นปรมัตถธรรมมี ๔ อย่าง คือจิต ธาตุรู้เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้ง เจตสิกเป็นสภาพนามธรรมซึ่งเกิดกับจิต จะไม่เกิดที่อื่นเลยแต่ที่ใดมีจิตที่นั่นมีเจตสิก ซึ่งความจริงจิตจะเกิดไม่ได้ถ้าไม่มีเจตสิก เป็นสภาพธรรมที่อาศัยปรุงแต่ง สนับสนุน ให้จิตเกิดขึ้นได้ เจตสิกถ้าไม่มีจิตเจตสิกก็เกิดไม่ได้ จะมีโลภะชอบเปล่าๆ โดยไม่มีสิ่งที่ถูกชอบได้ไหม เพราะฉะนั้นจิตเจตสิกเป็นสภาพรู้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ถูกจิตและเจตสิกรู้เป็นอารมณ์ เพราะฉะนั้นอารมณ์ไม่ใช่เฉพาะจิตเท่านั้นที่รู้ เจตสิกที่เป็นธาตุรู้ที่เกิดกับจิตก็รู้สิ่งเดียวกัน แต่ว่าจิตไม่ใช่เจตสิกเพราะจิตเพียงรู้แจ้ง ส่วนเจตสิกหลากหลายมากเป็น ๕๒ ประเภท มีสภาพธรรมซึ่งเป็นจิต เจตสิก รูป นิพพานเป็นปรมัตถธรรม เป็นรูปธรรมไม่รู้อะไร ๑ และก็เป็นธาตุรู้คือจิต และเจตสิก และนิพพานไม่ใช่จิต ไม่ใช่เจตสิก ไม่ใช่รูปแต่มีแน่นอน ถ้าไม่มีดับกิเลสไม่ได้ตรัสรู้ก็มีไม่ได้ เพราะฉะนั้นก็รู้ว่าแม้สิ่งที่มีแต่ก็ไม่ได้ปรากฏ ปรากฏกับปัญญาระดับไหน ถ้าปัญญาถึงระดับที่จะรู้ก็ปรากฏให้รู้ แต่ถ้าปัญญาไม่ถึงระดับที่จะรู้ก็รู้ไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ต้องไม่ลืม ไม่มีเราแต่มีธรรมคือจิต เจตสิก รูปและนิพพาน นิพพานเป็นจิตหรือเปล่าไม่ใช่ นิพพานรู้อะไรหรือเปล่า ไม่รู้ นิพพานเกิดรึเปล่า ไม่เกิด ถ้าเกิดต้องเป็นอย่างหนึ่งอย่างใด คือเป็นจิตหรือเป็นเจตสิกหรือเป็นรูปเท่านั้น เพราะฉะนั้นถ้าเกิดรู้เป็นจิตและเจตสิก ถ้าเกิดแล้วไม่รู้เป็นรูป แต่เกิดรู้ จิตก็ต้องเป็นจิตจะเป็นเจตสิกไม่ได้ และเจตสิกแต่ละ ๑ ก็จะไปทำหน้าที่ของเจตสิกอื่นไม่ได้ อย่างอวิชชาความไม่รู้ โมหเจตสิกจะรู้อะไรไหม เกิดแล้วไม่รู้นั่นแหละทำหน้าที่ของความไม่รู้ละเปลี่ยนไม่ได้เลยแต่ปัญญาเกิดแล้วต้องรู้ จะให้ไม่รู้ได้ไหม ไม่ได้

    เพราะฉะนั้นก็ไม่มีเราเลยทั้งหมด ศึกษาธรรมเพื่อให้เข้าใจความจริงว่าธรรมไม่ใช่เรา แต่ต้องละเอียด ต่อไปนี้ใครสงสัยคำว่าอารมณ์ไหม ปรมัตถธรรมมีจิต เจตสิก รูป นิพพาน นิพพานยังไม่ต้องกล่าวถึงเลย เฉพาะสภาพธรรมที่มีเป็นประจำปกติในชีวิตประจำวันคือจิตเจตสิกรูป เพราะฉะนั้นธาตุรู้เป็นจิต ๑ เป็นเจตสิก ๑ ถ้าฟังแต่ธรรมฟังไม่คิดไม่มีทางเข้าใจ แค่จำแล้วก็ตามความจำแต่ไม่ใช่ความเข้าใจ เพราะฉะนั้นจำมีจริงไหม เป็นเราหรือเปล่า ไม่เป็น เป็นปรมัตถธรรมหรือเปล่า เป็น เป็นปรมัตถธรรมอะไรเป็นเจตสิกไม่ใช่จิต เห็นไหมกว่าจะรู้ว่าไม่ใช่เรา ถ้าไม่เข้าใจอย่างนี้สงบไหม วิปัสสนาหรือเปล่า จะรู้อะไรก็ไม่มีทางที่จะรู้ได้เลย ต้องเป็นผู้ที่ตรงตอบตามความเป็นจริงว่าเข้าใจคือเข้าใจ เข้าใจอะไรขั้นไหนด้วย กำลังฟังนี่เป็นวิปัสสนาหรือยัง ยัง ถ้าเป็นวิปัสสนาก็คือประจักษ์แจ้ง ลักษณะของสภาพธรรมตรง เช่นเห็นเกิดขึ้นแล้วดับไป และธาตุรู้ไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏ จิตเป็นอารมณ์ได้ไหม เห็นไหม ฟังแล้วละเอียดมั่นคงไม่สับสน ถ้าสงสัยก็คิดไตร่ตรองว่าอารมณ์คืออะไร พอย้อนกลับไปว่าอารมณ์คืออะไรอารมณ์คือสิ่งที่ถูกรู้ อะไรรู้ จิตเจตสิกรู้ เพราะฉะนั้นจิตเจตสิกเป็นสภาพรู้ สิ่งที่ถูกรู้เป็นอารมณ์ เพราะฉะนั้นถามว่าจิตเป็นอารมณ์ได้ไหม เห็นไหม ถ้าไม่ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วคิดเอง ปัญญามีแค่ไหนที่จะไปคิดเองได้ แต่ต้องฟังต่อไป จิตเป็นธาตุรู้ ซึ่งรู้ได้ทุกอย่างไม่เว้นเลย ทุกคำเปลี่ยนไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นจิตรู้จิตได้ไหม ได้ จิตรู้เจตสิกได้ไหม จิตรู้รูปได้ไหม ได้ รูปรู้จิตได้ไหม ไม่ได้ใช่ไหม นิพพานรู้จิตได้ไหม ไม่ได้นี่คือความมั่นคง ที่จะค่อยๆ เข้าใจว่าไม่มีเรา เพียงบอกว่าไม่ใช่เราไม่เป็นไปได้หรอกที่จะละ ความที่เคยเข้าใจว่าเป็นเราบันดาล ต่อเมื่อเข้าใจธรรมละเอียดขึ้น ละเอียดขึ้นละเอียดขึ้น ก็ค่อยๆ รู้ความจริงว่าไม่มีเรา จนกว่าจะประจักษ์แจ้งซึ่งเป็นปัญญาอีกขั้นหนึ่ง ไม่ใช่ขั้นฟัง

    ผู้ฟัง กราบเรียนถามท่านอาจารย์ อยากจะเรียนถามว่าตัวรู้กับตัวเข้าใจ เป็นสภาพอย่างไร

    ท่านอาจารย์ สิ่งที่มีจริงต้องมีจริงใช่ไหม เห็นเกิดขึ้นเห็น คือรู้ว่าสิ่งที่กำลังปรากฏเป็นอย่างนี้ แต่ไม่ใช่การรู้ว่าเป็นสิ่งที่เพียงปรากฏให้เห็น เพราะฉะนั้นเห็นนี่เป็นจิตประเภทหนึ่ง ถ้าศึกษาต่อไปจะรู้ว่าเป็นผลของกรรม เราเลือกเห็นไม่ได้เลย เราอยากจะเห็นแต่สิ่งที่ดีสวยๆ งามๆ ใช่ไหม เพชรนิลจินดาต่างๆ แต่ทำไมบ้างครั้งเราเห็นเลือดเห็นหนอง เห็นกบถูกผ่า หรืออะไรก็ตามแต่ เพราะฉะนั้นเกิดแล้วทั้งหมดโดยไม่มีใครทำ เพราะฉะนั้นธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา เพราะฉะนั้นถ้าเห็นสิ่งที่น่าพอใจ ต้องมีเหตุคือกรรมดีที่ได้ทำแล้วชาติไหนก็ได้ แสนโกฏกัปป์มาแล้วก็ได้ เป็นปัจจัยให้เห็นเกิดขึ้นเมื่อสิ่งที่ดีนั้นกระทบตา เพราะฉะนั้นเห็นมีสองอย่าง เป็นผลของกรรมที่ดี ๑ และอีก ๑ ก็คือเป็นผลของอกุศลกรรมที่ไม่ดี ทำให้จิตซึ่งเป็นธาตุรู้ หลากหลายด้วยประการต่างๆ เช่นหลากหลายด้วยเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย ถ้าเจตสิกนั้นเป็นเจตสิกที่ดีจิตก็ดี เพราะว่าเข้ากันสนิทเลยนามธรรม รูปยังสามารถที่จะแยกได้เป็นธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ลักษณะต่างๆ ก็เห็นได้ชัดเจน แต่ว่านามธรรมที่เกิดแยกกันไม่ได้เลยเข้ากันสนิทแต่รู้ได้ว่าต่างกัน คือจิตเป็นใหญ่เป็นประธานแต่หลากหลาย เพราะเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย ด้วยเหตุนี้เจตสิกทั้งหมดมี ๕๒ ประเภท เป็นเจตสิกที่เกิดกับจิตได้ทุกประเภท ๑ และเป็นเจตสิกที่เกิดกับสภาพธรรมด้วยกันที่ไม่ดี เป็นอกุศลเจตสิกและเป็นโสภณเจตสิก จิตที่ดีงามต้องเกิดกับเจตสิกที่ดีงามด้วยกันเท่านั้น อกุศลเจตสิกจะไปเกิดร่วมกับกุศลเจตสิกไม่ได้ ต่างไม่ดีก็อยู่ด้วยกัน ต่างดีก็อยู่ด้วยกันทำให้จิตหลากหลายเป็น ๘๙ ประเภท ถ้าโดยพิเศษ ๑๒๑ ประเภท เราไม่มีครบ เพราะเป็นจิตของพระอรหันต์บ้าง เป็นจิตของผู้ที่ได้คุณวิเศษบ้าง ได้ฌานสมาบัติบ้าง เหาะเหินเดินอากาศบ้าง รู้จิตคนอื่นบ้าง ได้ยินเสียงทิพย์บ้างพวกนี้ หลากหลายมากเป็นแต่ละ ๑ เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจชัดเจนแต่ละ ๑ ปัญญามีจริงไหม

    ผู้ฟัง ปัญญามี

    ท่านอาจารย์ เป็นธรรมหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็น

    ท่านอาจารย์ เป็นธรรมประเภทไหน

    ผู้ฟัง กุศลจิต

    ท่านอาจารย์ ปัญญาไม่ใช่จิต จิตรู้อย่างเดียว เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส คิดนึก เพราะฉะนั้นขณะใดที่เข้าใจขณะนั้นไม่ใช่เรา สภาพที่สามารถรู้ถูกเห็นถูกเข้าใจถูก นั่นคือลักษณะของธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นเจตสิกที่ใช้คำว่าปัญญาเจตสิก หรือจะใช้คำว่าสัมมาทิฏฐิก็ได้ หรือจะใช้คำว่าญาณก็ได้ แต่ว่าต้องตามระดับขั้นของปัญญา

    ผู้ฟัง แล้วมันมีสภาพเกิดดับไหม

    ท่านอาจารย์ ทุกอย่างที่เกิดต้องดับเห็นไหม คำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปลี่ยนไม่ได้เลย ใครจะรู้หรือไม่รู้ แม้แต่เห็นเดี๋ยวนี้ก็เกิดดับ ได้ยินก็เกิดดับสลับกันอยู่ คิดนึกก็เกิดดับสลับกันอยู่ตลอดเวลา เร็วจนถ้าไม่ใช่ปัญญาไม่รู้เลยว่าขณะไหนเป็นอะไร เพราะฉะนั้นปัญญาไม่ใช่จิต ความเข้าใจถูกที่เกิดจากการฟัง แต่จิตก็แค่เห็นได้ยินไป ลิ้มรสไป จะมีปัญญาเกิดกับจิตเห็นไม่ได้ จิตได้ยินไม่ได้ เพราะฉะนั้น ๑ ขณะจิตที่เห็นประกอบด้วยเจตสิก ๗ ประเภทซึ่งไม่ใช่ปัญญา และก็เป็นผลของกรรมด้วย นี่เป็นเหตุที่ว่ากรรมที่ได้กระทำแล้วเป็นเหตุ แม้นานแสนนานแต่ความเป็นปัจจัย ซึ่งเป็นพลัง สติที่จะทำให้มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดขึ้น เพราะตนเองเป็นเหตุ ถ้าอกุศลกรรมเป็นเหตุ ดับแล้วก็จริงนานแล้วก็จริง พร้อมเมื่อไหร่ที่จะเกิดก็เกิดผล เรารู้ไหมว่าเราจะเจ็บไข้ได้ป่วยเมื่อไหร่

    ผู้ฟัง ไม่รู้

    ท่านอาจารย์ จะเจ็บตาหรือจะเจ็บหูรู้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ทราบ

    ท่านอาจารย์ แต่เจ็บได้แน่ใช่ไหม เมื่อมีตาก็ต้องเจ็บตาได้ เมื่อมีหูก็ต้องเจ็บหูได้ใช่ไหม เพราะฉะนั้นรู้ไม่ได้เลยว่าเมื่อไหร่ ต่อเมื่อกรรมที่ได้กระทำแล้วพร้อมที่จะให้เกิดเมื่อไหร่สิ่งนั้นเกิดได้ เพราะฉะนั้นเรารู้ก่อนเกิดไหมว่าเราจะเกิดเป็นคนนี้

    ผู้ฟัง ไม่รู้

    ท่านอาจารย์ ไม่รู้แต่กรรมวิจิตรมาก ต่างคนต่างเกิดในที่ต่างๆ ทั่วโลก บนสวรรค์ก็ได้ นรกก็ได้ เป็นเปรตก็ได้ เป็นพรหมก็ได้แล้วแต่เหตุ

    ผู้ฟัง แล้วกรรมตัวนี้มันไม่เกิดดับหรือ

    ท่านอาจารย์ ทุกคำต้องละเอียดชัดเจน กรรมมีจริงไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ คืออะไร

    ผู้ฟัง คือการกระทำ

    ท่านอาจารย์ การกระทำ การกระทำเป็นธรรมหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็น

    ท่านอาจารย์ ธรรมอะไรกรรม อย่าลืมธรรมที่มีจริงที่เป็นปรมัตธรรมคือจิต ๑ แล้วก็เจตสิก ๕๒ ประเภท และก็รูป ๒๘ รูป นิพพาน ๑ เพราะฉะนั้นกรรมเป็นอะไร เห็นไหม คิดไตร่ตรองแล้วเป็นปัญญาของตนเอง นี่คือประโยชน์อย่างยิ่งของการฟัง ไม่ต้องตอบไม่ต้องบอก บอกแล้วก็ลืม บอกแล้วก็แค่จำแต่ถ้าไตร่ตรอง คิดไม่ลืม เพราะเราคิดเองมั่นคงจริงๆ ว่าเราได้ไตร่ตรองแล้ว ยังไงก็ต้องคิดออก ธรรมที่มีจริงมี ๔ จิตมีแน่ๆ เป็นสภาพรู้อย่างเดียวจึงใช้คำว่าปัณฑระ หมายความว่าตัวจิตเองไม่เศร้าหมอง ไม่แปดเปื้อนด้วยกิเลสใดๆ ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นจิตเป็นธาตุที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้ง ได้ยินเสียงไหม

    ผู้ฟัง ได้ยิน

    ท่านอาจารย์ เสียงอะไร

    ผู้ฟัง เสียงพูด

    ท่านอาจารย์ แล้วมีเสียงอื่นอีกไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ จิตรู้แจ้งจึงรู้ว่านี้เสียงพูด นั่นเสียงอื่นที่ไม่ใช่เสียงพูด ต่างกันแล้วใช่ไหม เพราะฉะนั้นจิตเกิดรู้แจ้งอะไร อารมณ์คือสิ่งที่จิตรู้เท่านั้น เท่านี้ ชินหู จิตรู้แจ้งอารมณ์ ถูกต้องไหม ไม่มีหน้าที่อื่นเลยทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นความเข้าใจไม่ใช่จิตถูกต้องไหม

    ผู้ฟัง แล้วเป็นอะไร

    ท่านอาจารย์ ธรรมที่เป็นธาตุรู้มี ๒ อย่างคือ ๑ จิตและเจตสิกที่ต้องเกิดกับจิต เพราะฉะนั้นเวลารู้ ถ้าไม่เห็นอะไรเลย จะรู้จะเข้าใจสิ่งนั้นได้ไหม ถ้าไม่มีเสียงพูดแต่ละคำ แล้วเราจะเข้าใจได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่เข้าใจ

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้ เพราะฉะนั้นเวลาที่ได้ยินแล้ว คิดไตร่ตรองเข้าใจเกิดขึ้น เป็นสภาพรู้หรือเป็นรูปธรรมไม่รู้อะไรเลย

    ผู้ฟัง สภาพที่คิดได้

    ท่านอาจารย์ คือเข้าใจใช่ไหม ที่นี้สภาพรู้มี ๒ อย่างคือจิต ๑ เจตสิก ๕๒ โกรธมีไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นแค่จิตกับเจตสิก ต้องเข้าใจให้ชัดเจน ธาตุรู้มี ๒ อย่างที่เป็นใหญ่เป็นประธาน เห็นได้ยินเป็นจิต แต่ชอบหรือไม่ชอบในสิ่งที่ปรากฏ ในเสียงที่ได้ยินชอบหรือไม่ชอบไม่ใช่จิต จิตแค่ได้ยิน ชัดเจนนะ และได้ยินแล้วสะสมมาที่จะชอบเสียงอย่างนั้นไหม หรือว่าไม่ชอบเสียงอย่างนั้น ชอบก็เป็นธรรมอย่าง ๑ มีจริงๆ ไม่ชอบก็เป็นธรรมอีกอย่าง ๑ มีจริงๆ และเป็นธาตุรู้ด้วย โต๊ะชอบอะไรหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่ชอบ

    ท่านอาจารย์ ดอกไม้ชอบอะไรหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่ชอบ

    ท่านอาจารย์ เพราะไม่รู้ใช่ไหม

    ผู้ฟัง เพราะมันไม่มีจิต

    ท่านอาจารย์ เพราะไม่ใช่สภาพรู้ เพราะฉะนั้นสภาพรู้ที่ชอบไม่ชอบ จำได้หรือว่าขยัน หรือว่าโกรธ ไม่ใช่จิตแต่เป็นเจตสิกทำให้จิตหลากหลาย เดี๋ยวรักเดี๋ยวชัง แต่จิตนั้นต้องเกิดรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด ทางตาหรือหูหรือจมูกลิ้นหรือกายหรือใจตลอดเวลา แต่หลากหลายมากตามที่เจตสิกเกิดร่วมด้วยหลากหลาย เพราะฉะนั้นเจตสิก ๕๒ ชอบเป็น ๑ เจตสิกชื่อว่าโลภเจตสิก ไม่ชอบก็โทสเจตสิก ถ้าเข้าใจถูกก็เป็นปัญญาเจตสิก จิตเห็นมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเพียง ๗ ประเภท ไม่มีปัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วย จิตเห็นนี่ขยันไหม

    ผู้ฟัง ไม่ขยัน

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง ไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย เพียงเกิดแล้วดับแต่ตัวจิตเห็นไม่ได้ขยันทำอะไรเลยสักนิดเดียว ใช่ไหม ไม่ต้องมีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้น ผลของกรรมที่เกิดมาแล้ว มีใครบ้างที่จะไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ไม่มีใช่ไหม เพราะฉะนั้นให้รู้ว่า แล้วแต่กรรมจะทำให้เกิดขึ้นเห็น หรือเกิดขึ้นได้ยิน หรือเกิดขึ้นได้กลิ่น เกิดขึ้นลิ้มรส เกิดขึ้นรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส อาหารกลางวันเผ็ดไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ ใครทำให้ จิตที่ลิ้มรสนั้นต่างหาก ที่มีเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย จิตจะเกิดโดยไม่มีเจตสิกไม่ได้เลย และเจตสิกจะเกิดล้วนๆ ตามลำพังไม่เกิดกับจิตก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นจิตและเจตสิก เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน รู้สิ่งเดียวกัน ในภพภูมิที่มีรูป จิตเกิดที่ไหนเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยก็เกิดที่นั่น รู้อารมณ์เดียวกันด้วย นี่คือไม่ใช่เราค่อยๆ เข้าใจละเอียดขึ้น ละเอียดขึ้น เพื่อที่จะรู้ว่าเป็นธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ ทรงแสดงให้บุคคลอื่นที่มีโอกาสได้ยินได้ฟัง ไตร่ตรองจนกระทั่งเป็นปัญญา ปัญญาเป็นอะไร เป็นธรรมหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็น

    ท่านอาจารย์ เป็นธรรมอะไร

    ผู้ฟัง เป็นเจตสิก

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง เริ่มรู้แล้วว่าอะไรเป็นจิต อะไรเป็นเจตสิก โกรธล่ะ

    ผู้ฟัง ก็เจตสิก

    ท่านอาจารย์ เจตสิก เห็นไหม ขยัน

    ผู้ฟัง ก็เจตสิก

    ท่านอาจารย์ ดีใจ

    ผู้ฟัง เจตสิก

    ท่านอาจารย์ เสียใจ

    ผู้ฟัง เจตสิก

    ท่านอาจารย์ ชัดเจนแล้วใช่ไหม ระหว่างจิตกับเจตสิก เพราะฉะนั้นรู้ว่าสิ่งที่มีจริงคือจิตเจตสิกรูปทุกวันในชีวิตประจำวันไม่ใช่เรา การได้ฟังอย่างนี้จะเป็นโอกาสปัจจัยให้มีการระลึกได้ว่าอะไรเป็นอะไร ในขณะนั้นที่ไม่ใช่เรา ที่ตัวมีแข็งไหม

    ผู้ฟัง แข็งมี

    ท่านอาจารย์ เป็นเราหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่ใช่

    ท่านอาจารย์ เป็นธรรมหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็น

    ท่านอาจารย์ เป็นธรรมอะไร

    ผู้ฟัง เป็นรูปธรรม

    ท่านอาจารย์ เป็นรูปธรรม เพราะฉะนั้นสิ่งที่มีจริงจริง เกิดจริงๆ เป็นอย่างงั้นจริงๆ แต่ไม่รู้อะไร ไม่สามารถจะรู้อะไรได้ ก็เป็นธรรมแต่เป็นรูปธรรม เพราะฉะนั้นที่ใดๆ ทั้งสิ้นในสากลจักรวาล จักรวาลนี่มีคนที่พยายามที่จะหาที่สุด ไม่พบ กว้างใหญ่ไพศาลเป็นอนันตะ ไม่มีทางที่ใครจะเจอหรือพบ ที่สุดของจักรวาลได้เลย เพราะฉะนั้นไม่ว่าที่ไหนทั้งสิ้น แข็งเป็นแข็ง แข็งที่ตัวเป็นธรรมหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็น

    ท่านอาจารย์ รู้อะไรรึเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่รู้

    ท่านอาจารย์ เป็นธรรมอะไร

    ผู้ฟัง รูปธรรม

    ท่านอาจารย์ เห็นไหม ว่าเริ่มเห็นความเป็นสามัญลักษณะ แข็งเป็นปรมัตถธรรมธรรมที่เกิดแล้วเป็นอื่นไม่ได้ หวานไม่ได้ ร้อนไม่ได้ เป็นแข็ง ไม่ว่าที่โต๊ะเราเรียกว่าโต๊ะก็แข็ง ที่เก้าอี้ก็แข็ง ที่ดอกไม้ก็แข็ง ที่เปลือกผลไม้ก็แข็ง อะไรที่แข็งก็เป็นธาตุชนิดหนึ่งใช้คำว่าธาตุดินในภาษาไทย ภาษาบาลีใช้คำว่าปฐวีธาตุ ได้ยินบ่อยๆ ใช่ไหม มหาภูตรูป ๔ แล้วก็ได้ยินภาษาไทย ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม เป็นเราหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่เป็น

    ท่านอาจารย์ ไม่เป็น แข็งที่ตัวเป็นเราหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่เป็น

    ท่านอาจารย์ แข็งที่โต๊ะเป็นเราหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่เป็น

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นแข็งจะอยู่ตรงไหนก็เป็นแข็ง เป็นเราหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่เป็น

    ท่านอาจารย์ เริ่มเข้าใจว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา หมดไหม ทั้งหมดเลยเป็นอนัตตาหมดไม่ใช่เราหมดเลยใช่ไหม

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ ไม่มีอะไรเหลือที่จะเป็นเราอีกต่อไป นี่ไม่กี่คำแต่ ๔๕ พรรษาที่ทรงแสดงมากแค่ไหน

    อ.วิชัย ดังนั้นก็เพียงเริ่มที่จะรู้ว่ามีธรรมแต่ละอย่าง แต่ว่าความเข้าใจที่ค่อยๆ ฟัง แล้วก็ไตร่ตรอง พิจารณานี่แหละ จะเป็นสังขารขันธ์ เกื้อกูลที่จะให้มีการน้อมไปที่จะเข้าใจ ความเป็นธรรมจริงๆ

    ท่านอาจารย์ มีคำใหม่ใช่ไหม เพิ่มขึ้นมาละ รู้ไหม คำอะไร ผ่านหูไปแล้วดับไปแล้วไม่กลับมาอีกเลยเป็นอย่างนี้ทุกขณะในสังสารวัฎฏ์ มีเพียงหนึ่งไม่ซ้ำกันด้วย แค่มีปัจจัยเกิดและดับไป เหมือนไฟไม่เหลือเลย เพราะฉะนั้นคำใหม่ที่ได้ยิน วันนี้คำอะไร สังขารขันธ์ คุณวิชัยพูดอีกครั้งสิ

    อ.วิชัย ความเข้าใจที่ค่อยๆ ฟังและไตร่ตรองพิจารณา นี่แหละจะเป็นสังขารขันธ์ท่านอาจารย์

    ท่านอาจารย์ เห็นไหมได้ยินละ ขณะที่ได้ยินได้ฟังค่อยๆ เข้าใจ ความเข้าใจนั้นก็จะเป็นสังขารขันธ์ใหม่เอี่ยมเลยคำนี้ ได้ยินแค่ธรรม จิต เจตสิก รูป แต่คำว่าขันธ์ก็ไม่ใช่อื่นจากจิตเจตสิกรูป เห็นไหม ทรงพระมหากรุณาอธิบาย เพื่อให้เห็นความหลากหลายเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นคำว่าขันธ์ ขันธะ ขันดะในภาษาบาลี หมายความถึงสิ่งที่มีเกิดแล้วดับทั้งหมด หลากหลายมาก เกิดแล้วเป็นประเภทที่เลวก็มี ปราณีตก็มี เป็นกุศลก็ประณีตเป็นอกุศลก็เลวใช่ไหม หยาบก็มี ละเอียดก็มี ดับแล้วเป็นอดีต ยังไม่เกิดเป็นอนาคต ปรากฏขณะนี้เป็นปัจจุบัน เพราะฉะนั้นแสดงให้เห็นว่า ขันธ์แต่ละ ๑ เป็น๑ เดียวไม่กลับมาอีกเลย เกิดแล้วก็ดับไปเป็นยังไง เราอยู่ไหน ค่อยๆ เห็นไหมว่า มีประโยชน์อะไรแค่เกิดมาแล้วก็ดับไป เกิดมาแล้วก็ดับไป ไม่สิ้นสุดด้วยต้องเป็นอย่างนี้ตลอดไป เป็นสังสารวัฏฏ์ จนกว่าจะดับสังสารวัฏฏ์ เห็นความสงบอย่างยิ่ง คือไม่ต้องเกิดเสียเลยนั่นแหละ ไม่ต้องเกิดดับ เกิดดับ เกิดดับ อยู่นั่นแหละ โดยที่ไม่ใช่เราด้วยด้วยเหตุนี้สิ่งที่เกิดดับทั้งหมด จิตเกิดดับหรือเปล่า เป็นขันธ์รึเปล่า

    ผู้ฟัง เป็น

    ท่านอาจารย์ เป็น จิตที่เกิดแล้วดับไปเป็นอดีต ถูกต้องไหม ไม่กลับมาอีกเลย จิตที่เป็นอนาคตยังไม่เกิดใช่ไหม แต่เมื่อเกิดเมื่อไรเป็นปัจจุบันเมื่อนั้น เพราะฉะนั้นขันธ์ก็คือสิ่งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เดี๋ยวนี้เอง เพราะฉะนั้นเข้าใจจิตละเอียดขึ้นมา ๑ ที่เป็นอดีตไม่ใช่เดี๋ยวนี้ที่เป็นปัจจุบัน และอนาคตที่ยังไม่เกิด ต่อเมื่อใดเกิดขณะนั้นเป็นปัจจุบัน เพราะฉะนั้นไม่มีเราเลย เจตสิกเป็นขันธ์หรือเปล่า

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 188
    2 เม.ย. 2568

    ซีดีแนะนำ