ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1269
ปกิณณกธรรม ตอนที่ ๑๒๖๙
สนทนาธรรม ที่ โรงแรมไดมอนด์ พลาซ่า จ.สุราษฎร์ธานี
วันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นไม่มีเราเลย เจตสิกเป็นขันธ์หรือเปล่า ขันธ์คือสภาพธรรมที่เกิดดับทั้งหมดไม่เว้นเลย เพราะฉะนั้นเมื่อจิตก็เกิดดับ เจตสิกก็เกิดดับ รูปก็เกิดดับ ทั้งจิตเจตสิกและรูปจึงเป็นขันธ์ถูกต้องไหม แต่ทำไมกล่าวว่าปรมัตถธรรม ๔ และขันธ์ ๕ ทั้งที่ความจริงก็คือไม่มีอะไรนอกไปจากจิตเจตสิกรูป แต่หลากหลายมาก ทรงแสดงโดยนัยที่ให้เข้าใจขึ้น ถึงความยึดถืออย่างมั่นคง เช่นเกิดมาแล้วมีจิตไหม มีเจตสิกไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ มีรูปไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ ชอบอะไร ดูดอกไม้นี่ก่อน
ผู้ฟัง เฉยๆ
ท่านอาจารย์ เฉยๆ มีจริงใช่ไหม เป็นธรรมอะไร
ผู้ฟัง ก็มีเกิดดับ
ท่านอาจารย์ ถูกต้องแต่ธรรมที่เกิดดับก็คือรูปก็เกิดดับไม่รู้อะไร ส่วนสภาพรู้ที่เกิดดับมี ๒ อย่าง จิตเป็นใหญ่เป็นประธาน ในชีวิตประจำวัน เห็นนี่แหละรู้แจ้งสิ่งที่ปรากฏเป็นจิต ได้ยินก็รู้แจ้งเสียง ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส พ้นจากนั้นแล้วเป็นเจตสิกหมดเลย เพราะฉะนั้นเห็นดอกไม้เฉยๆ ใช่ไหม เฉยๆ มีจริงไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ เป็นธรรมหรือเปล่า
ผู้ฟัง เป็น
ท่านอาจารย์ เป็นธรรมอะไร
ผู้ฟัง เป็นเจตสิก
ท่านอาจารย์ ถูกต้องเห็นไหม ไม่ต้องบอกแต่ต้องคิดเอง ถ้าบอกก็ลืมใช่ไหม แต่ถ้าคิดเอง คิดแล้ว ไตร่ตรองไม่ใช่จิต ไม่ใช่เห็น ไม่ใช่ได้ยิน แต่เป็นชอบหรือไม่ชอบหรือเฉยๆ ใช่ไหม เพราะฉะนั้นเฉยๆ เป็นเจตสิกใช่ไหม เจตสิกมีตั้งเยอะแยะหมดเลย เคยดีใจไหม
ผู้ฟัง เคย
ท่านอาจารย์ เป็นธรรมหรือเปล่า
ผู้ฟัง เป็น
ท่านอาจารย์ เป็นธรรมประเภทไหน
ผู้ฟัง เจตสิก
ท่านอาจารย์ เจตสิกประเภทไหนเพราะทั้งหมดมี ๕๒ ประเภท เป็นธรรมประเภทความรู้สึก เกิดมาแล้วที่จะไม่รู้สึกไม่มี ทันทีที่มีอะไรปรากฏให้เห็นให้รู้ รู้สึกในสิ่งนั้น ซึ่งความรู้สึกในวันหนึ่งๆ จะต่างกันเป็น ๕ อย่าง ความรู้สึกเฉยๆ บ่อยไหม ความรู้สึกดีใจบ่อยไหม
ผู้ฟัง ไม่บ่อย
ท่านอาจารย์ น้อยกว่าเฉยๆ เพราะบอกว่าไม่บ่อย ความรู้สึกเสียใจบ่อยไหม
ผู้ฟัง ไม่บ่อย
ท่านอาจารย์ ไม่บ่อย เพราะฉะนั้นที่เป็นปกติประจำวันก็คือเฉยๆ แน่นอน แต่ไม่รู้ว่าเป็นธรรม แล้วก็ไม่รู้ว่าไม่ใช่จิตแต่เป็นเจตสิก เพราะฉะนั้นการศึกษาพระธรรม ก็ทำให้เข้าใจสิ่งที่มีไม่ต้องไปทำอะไรขึ้นมา ไม่ต้องไปแสวงหามีแล้วไม่รู้ เพราะฉะนั้นการฟังธรรมก็คือให้รู้ในสิ่งที่กำลังมี เพราะถ้าไม่รู้ในสิ่งที่มี จะไม่มีวันรู้อะไรเลยทั้งสิ้น ไปคิดว่าจะทำให้เกิดขึ้นรู้ไม่ได้เลย ขณะนั้นไม่รู้สิ่งที่เกิดแล้วโดยความเป็นอนัตตา แต่เข้าใจว่าเราไปทำ มีความสามารถที่จะทำให้ธรรมเกิดขึ้นก็ผิด ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเรื่องที่ละเอียดมาก เพราะฉะนั้นความรู้สึก ดีใจ กำลังป่วยไข้ได้เจ็บดีใจได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ แน่ใจหรือ ได้ข่าวดีทั้งๆ ที่กำลังป่วยไข้ ได้ข่าวดีเป็นทุกข์ไหม
ผู้ฟัง ก็ดี
ท่านอาจารย์ ดีใจใช่ไหม เพราะฉะนั้นดีใจเป็นความรู้สึกทางใจ แต่ทุกข์กายเจ็บปวดพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีทุกข์กายแต่ไม่มีโทมนัส แต่ความรู้สึกยินดีปีติมีได้เมื่อมีผู้รู้ความจริง เพราะฉะนั้นเวลาที่ท่านพระอัญญาโกณฑธัญญะ ได้รู้ธรรมแล้วเป็นพระโสดาบัน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปล่งอุทาน อัญญาโกณธัญญะ ได้มีผู้ที่รู้คำที่พระองค์ได้ตรัสไว้ประจักษ์แจ้งแล้ว ขณะนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ปีติได้ใช่ไหม เพราะว่ามีผู้ที่เข้าใจ สำหรับเดี๋ยวนี้ ใครเข้าใจธรรมคนอื่นยินดีปิติไหม เพราะฉะนั้นก็แสดงให้เห็นว่าความรู้สึกยินดีปิติเป็นได้ทั้งกุศลและอกุศล กำลังสนุกมากเลย สมัยนี้ก็ดูฟุตบอล บางคนก็ดูหนังแขกในเรื่หลายสนุกมาก เป็นเราหรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่เป็น
ท่านอาจารย์ เป็นอะไร เป็นธรรมเป็นจิตหรือเจตสิก
ผู้ฟัง เจตสิก
ท่านอาจารย์ เป็นเจตสิก เพราะฉะนั้นธรรมแม้ว่าจะมีจิตเจตสิกรูปนิพพาน แต่ทรงแสดงเฉพาะธรรมที่เกิดดับว่าเป็นขันธ์ ตามความยึดมั่น ทุกคนมีตาแล้วก็มีเห็น อยากเห็นใช่ไหม ไม่งั้นเราจะดูหนังดูละคร ดูโทรทัศน์ดูฟุตบอลหรือ เพราะฉะนั้นเราติดข้องในรูปที่ปรากฏให้เห็นหรือเปล่า เป็นผู้ที่ตรงและจริงใจ ถ้าไม่มีอะไรปรากฏไม่มีเห็นเราจะติดข้องได้ไหม ไม่ได้ แต่พอมีเห็นเท่านั้นแหละติดข้องละ ในสิ่งที่ปรากฏที่กระทบตาให้เห็น ชอบสีอะไร
ผู้ฟัง สีเหลือง
ท่านอาจารย์ ชอบสีเหลือง ถ้าไม่เคยชอบสีเหลืองมาก่อน เห็นสีเหลืองจะชอบไหม มีตั้งหลายสี เพราะฉะนั้นแสดงให้เห็นถึงความคุ้นเคย จิตเกิดขึ้นรู้อะไรก็ตามในสังสารวัฎฏ์ สะสมความพอใจในสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาก็ตาม เป็นปัจจัยให้ยินดีในสิ่งนั้นไม่ละเลย มีสิ่งที่เป็นปากกาก็ได้ เป็นดินสอก็ได้ เป็นเสื้อผ้าก็ได้หลายๆ สีเอาสีไหน
ผู้ฟัง สีเหลือง
ท่านอาจารย์ สีเหลืองเห็นไหมสะสมมา เพราะฉะนั้นแต่ละ ๑ จะหลากหลายต่างกันมาก ด้วยเหตุนี้รูปทั้งๆ ที่เกิดดับไปไม่กลับมาอีก แต่เพราะความไม่รู้จึงมีความติดข้องในรูป เพราะฉะนั้นรูปซึ่งเกิดดับนั่นแหละ เป็นที่ยึดถือ เป็นที่ยินดีอย่างยิ่ง การเกิดดับเป็นขันธ์และความยินดีพอใจก็คือ ความพอใจยึดมั่นจึงเป็นอุปาทานขันธ์ ตั้งแต่ลืมตาตั้งแต่เกิดจนตายไม่พ้นรูป แล้วจะให้เราไปยินดีในอะไร ยินดีในเสียง เพราะเสียงมีปรากฏให้รู้ว่ามีเสียง ยินดีในกลิ่นเพราะมีกลิ่นปรากฏ ยินดีในรส รสปรากฏใช่ไหม ยินดีในสิ่งที่กระทบกาย เพราะฉะนั้นรูปนั่นแหละ เป็นที่ตั้งของความยึดมั่นของความพอใจ จึงทรงแสดงโดยนัยของขันธ์ ที่เกิดดับว่าเป็นอุปาทานขันธ์ ยินดีอย่างยิ่งในรูป และถ้าเราเห็นรูปแล้วเรายินดี ความยินดีมีใช่ไหม ความพอใจ
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ เป็นความรู้สึกที่เป็นสุข เพราะฉะนั้นทุกคนรักสุขอยากมีมากๆ ไม่ชอบทุกข์ ด้วยเหตุนี้ความยินดีในความรู้สึกมี เพราะฉะนั้นความรู้สึกเป็นอุปาทานขันธ์ ยึดมั่นในความสุขแสวงหาความสุข โดยยึดมั่นในรูปซึ่งนำความสุขมาให้ เพราะฉะนั้นขันธ์ ๕ ก็คือ จิต เจตสิก รูป รูปเป็นรูปขันธ์เป็นอุปาทานขันธ์ ความรู้สึกเป็นเจตสิกเป็นเวทนาเกิดดับเป็นขันธ์และยึดมั่น ก็เป็นที่ยึดถือในความรู้สึก ภาษาบาลีไม่ใช้คำว่ารู้สึกแต่ใช้คำว่าเวทนา แต่คนไทยก็ใช้คำว่าเวทนา ความหมายก็เปลี่ยนไปใช่ไหม น่าสงสารเหลือเกิน น่าเวทนา แต่ความจริงเวทนาเป็นความรู้สึก ไม่ว่าจะรู้สึกดีใจก็ใช้คำว่าโสมนัสเวทนา ถ้าเป็นความรู้สึกที่เสียใจก็ โทมนัสเวทนา ถ้าเป็นความรู้สึกทุกข์ทางกายก็เป็นทุกขเวทนา ถ้าเป็นความรู้สึกสุขทางกายก็เป็นสุขเวทนา ถ้าเป็นเฉยๆ ก็เป็นอุเปกขา หรืออทุกขมสุขเวทนา มีไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ เป็นเราด้วยเปล่า
ผู้ฟัง ไม่เป็น
ท่านอาจารย์ เป็นอะไร
ผู้ฟัง เจตสิก
ท่านอาจารย์ เป็นเจตสิกยึดถือไหม
ผู้ฟัง ไม่ยึด
ท่านอาจารย์ ไม่ยึดถือหรือ ถ้ามีเวทนาแล้วจะไม่ยึดถือในความรู้สึกเป็นไปไม่ได้เลย เราเจ็บใช่ไหม
ผู้ฟัง มันเป็นความรู้สึก
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นในภาษาไทยเราก็ใช้ความรู้สึก เพราะฉะนั้นที่เรากำลังพูด ถ้าแปลกลับไปเป็นชาวมคธ กำลังฟังพระธรรมก็เป็นภาษาบาลีในพระไตรปิฎกทั้งหมด แต่พอเป็นภาษาไทย เราก็ใช้คำที่เราสามารถเข้าใจได้ แต่แปลกลับไปก็เป็นคำภาษาบาลีตรงกัน เวทนาก็คือความรู้สึก ขันธ์ก็คือสภาพธรรมที่เกิดดับ อุปาทานก็การยึดมั่นในความรู้สึก เพราะฉะนั้นจิตเจตสิกรูป เป็นที่ยึดถือยึดมั่นโดยขันธ์ ๕ คือยึดมั่นในรูป ยึดมั่นในเวทนา ความรู้สึกเพราะอะไรเกิดมา ต้องการแต่ความรู้สึกเป็นสุข ไม่ว่าจะอะไรทั้งหมด จะซื้อรถยนต์สักคันหนึ่ง ก็ต้องอย่างที่ทำให้เราพอใจเป็นสุขใช่ไหม ทั้งสีทั้งอะไรสารพัดอย่าง ทั้งหมดนี่คือยึดมั่นในความรู้สึกมั่นคงเป็นเวทนาขันธ์ เป็นอุปทานด้วย เพราะฉะนั้นปรมัตธรรม ๓ ที่เกิดดับ จำแนกเป็นขันธ์ ๕ โดยการยึดมั่นในรูป ในความรู้สึก ในความจำ ไม่ค่อยรู้หรอกว่ากำลังจำ แต่ถ้าไม่จำจะแสวงหาอะไรไหม ใช่ไหม เพราะฉะนั้นความจำเกิดแล้ว ทำให้เกิดการปรุงแต่งซึ่งเป็นสังขารขันธ์ได้แก่เจตสิกอีก ๕๐ ที่เหลือ เพราะเจตสิกทั้งหมดมี ๕๒ เป็นเวทนาขันธ์ ๑ เป็นความจำซึ่งภาษาบาลีใช้คำว่าสัญญาขันธ์ ๑ ที่เหลืออีก ๕๐ เป็นสังขารขันธ์ ที่คุณวิชัยพูด เห็นไหม กว่าจะถึงความหมาย ความเข้าใจคำนี้สังขารขันธ์ ก็ต้องกล่าวถึงคำว่าขันธ์ต้องกล่าวถึงธรรม และก็รู้ว่าพอพูดถึงสังขารขันธ์ บอกหน่อยสิเจตสิกอะไรเป็นสังขารขันธ์ การฟังธรรมไม่ใช่ฟังเฉยๆ เข้าใจสิ่งที่ได้ฟัง
ผู้ฟัง ตัวความคิดตัวปรุงแต่ง
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวก่อน เจตสิกมีเท่าไหร่
ผู้ฟัง ๕๒
ท่านอาจารย์ ๕๒ เป็นความรู้สึกซึ่งเป็นเวทนาเจตสิก ๑ เป็นเวทนาขันธ์ สภาพจำเป็นสัญญาเจตสิก ภาษาบาลีใช้ว่าสัญญาคือจำ เป็นสัญญาเจตสิกสัญญาขันธ์ ๑ เหลืออีกเท่าไรเจตสิก
ผู้ฟัง ๕๐
ท่านอาจารย์ ๕๐ เป็นสังขารขันธ์ทั้ง ๕๐ แต่ละ ๑ แต่ละ ๑ ยกตัวอย่างสังขารขันธ์ ถ้าเข้าใจก็ยกตัวอย่างได้ ชีวิตจริงๆ ทั้งหมด เว้นเห็น เว้นได้ยิน เว้นได้กลิ่น เว้นลิ้มรส เว้นรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส เว้นคิดนึก ที่เหลือในวันหนึ่งวันหนึ่งทั้งหมด เป็นเจตสิกทั้งนั้น และถ้าเว้นความรู้สึก เว้นความจำ ที่เหลือก็เป็นเจตสิก ๕๐ ยกตัวอย่างชีวิตประจำวัน
ผู้ฟัง ความคิด
ท่านอาจารย์ ความคิดเป็นจิตที่กำลังรู้เรื่องที่คิด แต่ต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยในขณะนั้น เคยโกรธไหม
ผู้ฟัง เคย
ท่านอาจารย์ นึกถึงโกรธได้ไหม
ผู้ฟัง นึกได้
ท่านอาจารย์ นึกถึงเรื่องที่โกรธได้ไหม
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ นึกแล้วขณะนั้นโกรธหรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่โกรธ
ท่านอาจารย์ แต่บางคนยังโกรธต่อ ไม่จบเลย บางคนกล่าวว่าจะจำไปจนตาย น่ากลัว น่ากลัวมากเลย จำสิ่งที่เป็นความโกรธไปจนตาย เพราะฉะนั้นให้ทราบว่า ความโกรธมีจริงไหม เป็นขันธ์หรือเปล่า
ผู้ฟัง เป็น
ท่านอาจารย์ เป็นขันธ์อะไร
ผู้ฟัง สังขารขันธ์
ท่านอาจารย์ สังขารขันธ์ก็ตอบได้ พอถามอย่างหนึ่งตอบไม่ได้ พอถามอีกอย่างหนึ่งตอบได้ เพราะว่าเราคิดไม่ทั่ว ไม่มั่นคง ต้องอาศัยการที่เปลี่ยนคำที่จะแนะเตือนให้จำได้ ให้คิดถึงคำที่เราเข้าใจแล้ว จึงได้นึกออกว่าเป็นสังขารขันธ์ เพราะฉะนั้นตัวอย่างความโกรธเป็นสังขารขันธ์ ที่นี้คิดเองอะไรอีกที่เป็นสังขารขันธ์ที่ไม่ใช่โกรธ
ผู้ฟัง ความดีใจ ความเสียใจ
ท่านอาจารย์ เวทนาขันธ์ ความรู้สึกเป็นเวทนาขันธ์ ไม่ใช่สังขารขันธ์เห็นไหม ธรรมเมื่อเข้าใจแล้วไม่ลืม แต่ถ้ายังไม่มั่นคงก็ลืมอีก จึงต้องฟังบ่อยๆ จนกระทั่งเป็นความเข้าใจจริงๆ ที่มั่นคงขึ้น เพราะฉะนั้นดีใจเสียใจเป็นเวทนาเจตสิกจึงเป็นเวทนาขันธ์ ๑ ใน ๕ ขันธ์ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ จิตทุกประเภทเป็นวิญญาณขันธ์ ครบ ๕ เพราะฉะนั้นขอตัวอย่างสังขารขันธ์ที่คิดเอง
ผู้ฟัง ชอบอาหารที่รับประทาน
ท่านอาจารย์ ชอบมีจริงไหม
ผู้ฟัง ก็คือจิตคิดว่าชอบ
ท่านอาจารย์ ก็ปะปนจิตกับเจตสิก จิตรู้อย่างเดียวจึงเป็นวิญญาณขันธ์ จิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส จิตรู้สิ่งที่ปรากฏคือรู้อารมณ์ รู้แล้วชอบบ้างไม่ชอบบ้าง ชอบก็อย่าง ๑ ไม่ชอบก็อีกอย่าง ๑ เป็นเจตสิกแต่ละ ๑ ชอบจะไม่ชอบไม่ได้ขณะนั้นต้องชอบ ไม่ชอบเกิดขึ้นจะเป็นอื่นไม่ได้นอกจากไม่ชอบ เพราะฉะนั้นภาษาไทยเรา มีชอบก็คือโลภเจตสิก ไม่ชอบก็คือโทสเจตสิก เป็นขันธ์อะไร
ผู้ฟัง สังขารขันธ์
ท่านอาจารย์ เป็นสังขารขันธ์ นี่คือประโยชน์ของสนทนาธรรม ใช่ไหม ทำไมชาวพุทธจึงต้องฟังธรรม แล้วทำไมจึงต้องสนทนาธรรม เพราะรู้ว่าฟังแล้วอาจจะลืมได้ แต่พอสนทนากันถามบ้างตอบบ้าง ก็ทำให้เข้าใจขึ้น เรียนเพื่อให้รู้ว่าไม่ใช่เราในระดับหนึ่ง ซึ่งจะทำให้ปัญญาอีกขั้นหนึ่งซึ่งเป็นปฏิปัติ เช่นคนไทยใช้คำว่าปฏิบัติเกิดได้ แต่ถ้าไม่มีความรู้ความเข้าใจเป็นพื้นเลย ไม่มีปัจจัยที่จะให้ความเข้าใจเกิดขึ้น ถึงสภาพธรรมตรงนั้นเป็นปฏิบัปัได้เลย เพราะฉะนั้นใครที่ไม่รู้อะไรเลย แล้วไปสำนักปฏิบัติก็คือว่าไม่เข้าใจ ไม่รู้จักพระพุทธศาสนา มีอะไรอื่นอีกไหมที่เป็นสังขารขันธ์ เมื่อกี้มีชอบไม่ชอบละ ง่วงไหม ง่วง มีจริงๆ ไหม มีจริงเป็นธรรมหรือเปล่า เป็น ไม่ใช่เราเป็นขันธ์หรือเปล่า เป็นขันธ์อะไร สังขารขันธ์ พอเอ่ยชื่อก็รู้เลย แต่พอไม่เอ่ยก็นึกไม่ออก เพราะฉะนั้นง่วงมีจริงไม่ใช่เรา ต่อจากนี้ไม่มีเราเลย แต่ต้องเป็นธรรมอย่างหนึ่งอย่างใด คือเป็นจิต หรือเป็นเจตสิก หรือเป็นรูป ถ้าแยกจำแนกโดยขันธ์ ๕ ก็สามารถที่จะกล่าวได้ว่า ได้แก่จิต หรือเจตสิก หรือรูป เกิดแล้วดับไม่กลับมาอีกเลย คำนี้ฟังไว้ยังไม่ประจักษ์การเกิดดับ แต่ถ้าเป็นความจริงปัญญาที่ค่อยๆ เข้าใจขึ้นนั่นแหละ จะทำให้ถึงการรู้แจ้งประจักษ์แจ้ง ด้วยความเข้าใจว่าเป็นอย่างนั้นจริงๆ กระทบแข็งเดี๋ยวนี่สิ จับสิเกิดดับไหม เกิดจึงมีใช่ไหม แต่เกิดดับไม่ปรากฏ ตอนเกิดก็ไม่ปรากฏ ตอนดับก็ไม่ปรากฏ แต่ถ้าไม่เกิดไม่มี เกิดแล้วก็ต้องดับด้วยจริงใช่ไหม วันหนึ่งก็รู้ว่าจากไม่เคยรู้มาก่อนเลย กระทบก็แค่แข็ง จะเป็นความรู้เพิ่มขึ้นว่า ในขณะที่แข็งปรากฏอย่างอื่นไม่ปรากฏ และสิ่งที่ปรากฏลักษณะนั้น เปลี่ยนไม่ได้ ไม่ใช่เรา ความรู้ในความเป็นธรรมที่ไม่ใช่เราค่อยๆ มีมากขึ้น แล้วแข็งนั้นจึงจะปรากฏการเกิดดับ เพราะไม่มีสิ่งอื่น
อ.วิชัย นี่คือเป็นเพียงเบื้องต้นให้รู้จักว่า ธรรมคืออะไร มีความหลากหลายแค่ไหนแต่ก็ยังไม่พอที่จะรู้ในแต่ละลักษณะของธรรม เพียงกล่าวเรื่องของขันธ์ใช่ไหม รูปทั้งหมดเป็นรูปขันธ์ ความรู้สึกเป็นเวทนาขันธ์ ความจำเป็นสัญญาขันธ์ จิตเป็นวิญญาณขันธ์ และธรรมอื่นๆ ที่เกิดขึ้นที่เหลือ ทั้งหมดเป็นสังขารขันธ์ กล่าวถึงความโลภเป็นสังขารขันธ์ ความโกรธเป็นสังขารขันธ์ ง่วงเป็นสังขารขันธ์ ความเพียรวิริยะ เป็นอะไรก็สังขารขันธ์ เจตนาความจงใจที่กล่าวว่าเป็นกรรม เป็นอะไร สังขารขันธ์และเป็นอภิสังขารด้วย ปรุงแต่งอย่างยิ่งเลย ที่จะให้ผลของกรรมเกิดขึ้นเป็นไป เพราะฉะนั้นธรรมก็จะมีความละเอียด แต่ก็ต้องเป็นผู้ที่ค่อยๆ เข้าใจเป็นไปตามลำดับ
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ ขณะนี้ที่มีการบวชอย่างมากมาย ถ้าชาวพุทธเข้าใจว่า ก่อนบวชควรจะได้ศึกษาพระธรรม ให้มีความรอบรู้ว่า สิ่งที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ และสอนเราเพื่อความรู้ความเข้าใจ จะช่วยกันรักษาและดำรงพระพุทธศาสนา ให้อยู่รอดได้ท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์ ที่คุณปริญญาพูดนี่เป็นอนัตตาหรือเปล่า บังคับบัญชาได้ไหม ไม่ต้องพระคุณเจ้าที่วัที่ดหรือไหนเลย แค่ที่บ้านของแต่ละคน ใครที่มีพ่อแม่พี่น้องลูกหลานฟังธรรมหรือเปล่า เพราะฉะนั้นแม้แต่ในบ้าน ก็ยังไม่สามารถที่จะไปพูดธรรมให้เขาสนใจได้ เพราะฉะนั้นการที่เราจะหวังให้ คนทั้งประเทศ หรือว่าวัดวาอารามต่างๆ มาสนใจมาฟังธรรมก็เป็นแค่คิด แต่ว่าความจริงก็คือว่า ถ้าไม่มีการสะสมการเห็นประโยชน์ การเห็นคุณค่าของพระธรรม จะไม่มีการสนใจเลย เพราะฉะนั้นต้องเป็นผู้ที่สะสมมา ที่จะรู้ว่าเกิดแล้วจะตายเมื่อไหร่ ไม่คิดเลย แต่ว่าถ้าคิดเพียงว่าจะตายวันนี้ก็ได้พรุ่งนี้ก็ได้ แล้ววันนี้จะอยู่อย่างไรใช่ไหม อยู่อย่างไม่รู้ต่อไป หรือว่าสามารถจะเข้าใจได้ เพราะเหตุว่าจริงๆ เพียงเราไม่ต้องไปคิดถึงอะไรเลย แค่เกิดมาแล้วไม่รู้ไม่รู้หมดเลย แต่เข้าใจว่ารู้ จนกว่าจะได้มีโอกาสฟังคำของผู้ที่ตรัสรู้ พูดถึงความจริงของสิ่งที่มี ซึ่งน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง ไม่ได้พูดถึงสิ่งที่ไม่มี พูดถึงสิ่งที่มีทุกอย่างทุกวันแม้เดี๋ยวนี้ก็มี แต่คนอื่นไม่สามารถที่จะรู้ความจริงได้ เพราะฉะนั้นควรฟังอย่างยิ่ง สำหรับผู้ที่เห็นประโยชน์ว่า ไม่รู้กับรู้ ก็แล้วแต่อัธยาศัยจะไม่รู้ต่อไป ก็บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ว่าจะอยู่บ้านอยู่วัดหรืออยู่ที่ไหนก็ตามแต่ เพราะฉะนั้นก็เป็นเรื่องที่เมื่อฟังแล้วเข้าใจในความเป็นอนัตตาว่าไม่มีเราแต่มีธรรม ซึ่งถ้าไม่มีปัจจัยที่จะเกิดก็เกิดไม่ได้ เกิดแล้วต้องเป็นตามปัจจัย อกุศลเกิดขึ้น ถ้าไม่มีอกุศล อกุศลก็เกิดไม่ได้ เพราะฉะนั้นทุกอย่าง ฟังเพื่อรู้ว่า สิ่งที่มีเดี๋ยวนี้ทั้งหมดที่ไม่เคยรู้เลย อาจจะบอกว่าไม่รู้ได้ยังไง ก็รู้ทั้งนั้นว่ามีอะไรในห้องนี้ แต่คำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสถึงสิ่งที่ ถ้าไม่ได้ฟังจะไม่มีความเข้าใจเลยว่าแท้ที่จริงแล้ว คำไหนถูกคำไหนผิด ถ้าจะกล่าวว่าเดี๋ยวนี้มีอะไร คนที่ไม่ได้ฟังธรรมจะตอบว่าไง
อ.ธิดารัตน์ ถ้าหากว่าคนที่ยังไม่ได้ฟัง ก็มีคนมีดอกไม้มีสิ่งต่างๆ
ท่านอาจารย์ แล้วรู้ไหมว่า อะไร
อ.ธิดารัตน์ ถ้าไม่ได้ฟังก็ไม่ทราบ เพราะว่ามันเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดไป ไม่ได้รู้ว่าเป็นธรรม
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก็รู้จำเลยไม่เข้าใจความจริง เพียงแต่มีสิ่งที่ปรากฏ หมดแล้วก็ไม่รู้ อย่างเสียงปรากฏแล้วหมดไป แล้วก็ไม่รู้ว่าเสียงเกิดขึ้นได้ยังไง และเสียงแต่ละเสียงเป็นไปตามความหมายของสิ่งที่มีจริง เช่นเราพูดว่าเห็น เราไม่ได้นึกถึงอย่างอื่นเลย ในภาษาไทยพูดว่าเห็น เสียงเป็นไปตามความหมายของสิ่งที่มีจริงๆ เพราะพูดว่าได้ยินเราก็ไม่ได้คิดถึงเห็น แต่เสียงเป็นไปตาม ความหมายของสิ่งที่ได้ยิน เพราะฉะนั้น สิ่งที่มีจริงในขณะนี้คือ เห็นมี ได้ยินมี ได้กลิ่นมี ลิ้มรสมี แต่ว่าไม่เคยรู้เลยว่ามีชั่วขณะที่ปรากฏ เพราะฉะนั้นการเริ่มฟังสิ่งซึ่งมีแต่ไม่เคยรู้มาก่อน ก็จะค่อยๆ เห็นประโยชน์ ว่าถ้าไม่มีการฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่มีทางที่กี่พบกี่ชาติ ก็ไม่รู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏ เพราะฉะนั้นเราจะไปบอกใครได้ไหม ให้มาฟังธรรม ให้เข้าใจถูกว่า เดี๋ยวนี้เป็นอย่างนี้นะ เป็นไปไม่ได้เลย จนกว่าจะค่อยๆ มีความสนใจและเห็นประโยชน์ และรู้ว่าแม้จะมีทรัพย์สมบัติ มากมายสักเท่าไหร่ ชั่วขณะที่ปรากฏ จากโลกนี้ไปแล้วไหนล่ะ ทรัพย์สมบัติ แม้แต่ร่างกายที่เข้าใจว่าเป็นเรา ก็ไม่ได้ติดตามไปได้เลย เพราะฉะนั้นควรที่จะเข้าใจจริงๆ ก่อนที่อีกแสนโกฏกัปป์จะไม่เข้าใจ เหมือนเดิมใช่ไหม เพราะว่าจะต้องเกิดแล้วเกิดเล่า ด้วยความไม่เข้าใจไปเรื่อยเรื่อย
อ.วิชัย ท่านอาจารย์กล่าวถึงความเป็นอนัตตาของสภาพธรรม ไม่ว่าจะเป็นบุคคลใดจะสนใจหรือไม่สนใจ ก็ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1261
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1262
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1263
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1264
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1265
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1266
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1267
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1268
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1269
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1270
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1271
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1272
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1273
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1274
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1275
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1276
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1277
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1278
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1279
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1280
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1281
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1282
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1283
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1284
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1285
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1286
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1287
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1288
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1289
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1290
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1291
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1292
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1293
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1294
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1295
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1296
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1297
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1298
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1299
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1300
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1301
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1302
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1303
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1304
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1305
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1306
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1307
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1308
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1309
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1310
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1311
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1312
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1313
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1314
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1315
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1316
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1317
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1318
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1319
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1320