ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1386
ตอนที่ ๑๓๘๖
สนทนาธรรม ที่ โรงแรมชัยคณาธานี จ.พัทลุง
วันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นวันหนึ่งนะคะ จากการเริ่มเข้าใจธรรมะก็สามารถจะประจักษ์การเกิดดับของสภาพธรรมะได้ แต่ต้องเข้าใจขึ้นๆ ทีละเล็กทีละน้อย ก่อนฟังธรรมะนะคะ คิดว่าพระพุทธศาสนามีอะไรบ้าง คืออะไรบ้าง ทำอะไรบ้างคะ
ผู้ฟัง คิดว่า ทำความดีกับความชั่วค่ะ ความดีก็มีค่ะ ความชั่วก็มีค่ะ
ท่านอาจารย์ ค่ะ นี่สำหรับทุกคน ไม่ว่าจะนับถือศาสนาอะไร ใช่มั้ยคะ เป็นธรรมดาค่ะสะสมมาที่จะดีบ้าง ชั่วบ้าง เพราะฉะนั้นก็ไม่ใช่การที่เราจะบอกว่า เราเป็นชาวพุทธแล้วทำดีบ้าง ชั่วบ้าง เป็นใครก็ทำอย่างนี้เหมือนกันหมด แต่ถ้าเราบอกว่าเรานับถือพระพุทธศาสนาแล้วเราทำอะไรบ้างในชีวิตประจำวัน ก่อนฟังธรรมะเนี้ยะเรานับถือหรือเปล่า ถ้าไม่ได้ฟังคำของพระองค์เลย แล้วบอกว่านับถือ เป็นไปไม่ได้ใช่ไหมคะ แต่เมื่อไม่ได้ฟังธรรมะแล้วทำอะไร ที่เข้าใจว่า เป็นการนับถือพระพุทธศาสนา จะได้รู้ว่าก่อนฟังธรรมะนะคะ ไม่รู้จักพระพุทธศาสนา ทำอะไรบ้างคะ วันหนึ่งก่อนฟังธรรมะ
ผู้ฟัง คิดในสิ่งที่ดีงามค่ะ แล้วก็สวดมนต์ไหว้พระค่ะ
ท่านอาจารย์ ค่ะ การศึกษาธรรมะต้องทีละคำนะคะ มีคำว่าสวด มีคำว่ามนต์ มีคำว่าไหว้ แล้วก็พระ จะเอาคำไหนค่ะ
ผู้ฟัง ไหว้พระก่อนค่ะ
ท่านอาจารย์ เอาไหว้พระก่อนนะคะ คนที่จะเข้าใจพระธรรมเนี่ยไม่จำกัดเลย ว่าจะเป็นคฤหัสถ์ หรือจะเป็นภิกษุ หรือบรรพชิตนะคะ ใครก็ได้ ฟัง แล้วก็ไตร่ตรอง และเข้าใจ ได้ทั้งนั้นไม่ว่าเขาเป็นใคร เพราะฉะนั้นคนที่เข้าใจธรรมะไม่บวช ได้ไหมคะ
ผู้ฟัง ได้ค่ะ
ท่านอาจารย์ ได้นะคะ เพราะฉะนั้นคนที่เข้าใจธรรมะในครั้งพุทธกาลที่ไม่บวช และก็รู้แจ้งอริยสัจธรรมเป็นพระอริยบุคคลมาก เช่นหมอชีวกโกมารภัตเป็นพระโสดาบันไม่ได้บวชเลย ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีก็เป็นพระโสดาบันก็ไม่ได้บวช ท่านก็ค้าขายเป็นปกติ วิสาขามิคารมารดาก็ไม่ได้บวชนะคะ ขุชชุตตราก็ไม่ได้บวช แต่ว่ารับใช้พระนางสามาวดี และก็เข้าใจธรรมะ แล้วก็กล่าวธรรมะให้คนอื่นได้เข้าใจ เพราะฉะนั้นคนที่เข้าใจธรรมะที่ไม่บวชก็มีใช่ไหมคะ แล้วทำไมบวช
ผู้ฟัง เพราะคิดว่าอาจจะดีกับตัวเอง ก็เลยคิดที่จะตัดสิ่งรอบด้าน คือโลภ โกรธ หลงต่างๆ เพื่อจะไปปฏิบัติให้ดีกว่าที่ตัวเองเป็นอยู่ เพราะเริ่มที่จะเข้าใจว่าธรรมะดีอย่างไร ประมาณนั้นน่ะค่ะ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก่อนบวชต้องได้ฟังธรรมะ ต้องเข้าใจธรรมะ จึงรู้ว่าธรรมะดีใช่ไหมคะ
ผู้ฟัง ใช่ค่ะ
ท่านอาจารย์ เพราะว่าก่อนฟังธรรมะเนี่ย เป็นเราใช่ไหมคะ
ผู้ฟัง ค่ะ
ท่านอาจารย์ เราเป็นคนดี เราสวดมนต์ เราไหว้พระ เป็นเราหมด แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัส ธรรมะทั้งหลายเป็นอนัตตา เราต้องสนใจที่จะเข้าใจให้ถูกต้องไม่ใช่ฟังเผินๆ นะคะ เพราะเหตุว่า พระองค์ตรัสรู้สิ่งที่ลึกซึ้ง เพราะฉะนั้นคำของพระองค์เป็นคำเดียวกับที่เราพูดเราก็พูดคำว่าธรรมะ พระองค์ก็ตรัสว่าธรรมะ แต่ปัญญาต่างกัน ระดับไหน ระดับพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ระดับที่ยังไม่ได้ฟังธรรมะ ยังไม่รู้ว่าไม่มีเราแต่มีธรรมะ
เพราะฉะนั้นต้องมั่นคงที่จะเข้าใจยิ่งขึ้น จึงจะเป็นผู้ที่เป็นสาวก คือผู้ฟัง เพื่อได้เข้าใจพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จนกระทั่งมีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ไม่มีคำของคนอื่นเป็นที่พึ่ง แต่ต้องเป็นคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นถ้ายังคงมีเราอยู่ตราบใด เป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่ใช่
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ ใช่มั้ยคะ เพราะฉะนั้นก็คือว่าเริ่มรู้จักว่า ศาสนา คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกคำ มาจากพระปัญญาที่ได้ทรงตรัสรู้ เพราะฉะนั้นเป็นคำที่ยาก ที่ใครจะเข้าใจได้ง่ายๆ โดยไม่ไตร่ตรอง และมั่นคง เพราะฉะนั้นต่อไปนี้นะคะ ไม่มีเรา แต่สิ่งที่มีเดี๋ยวนี้ มีแน่นอน และสิ่งนั้นจะเป็นเราไม่ได้ เพราะเกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัย แล้วก็ดับไป
เพราะฉะนั้นสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตามที่มีนะคะ แยกออก และให้ละเอียดเป็นแต่ละหนึ่ง แต่ละหนึ่งนั้นมีปัจจัยเฉพาะ ที่จะเกิดเป็นสิ่งนั้น ไม่เป็นสิ่งอื่น เกิดแล้วก็ดับไป เพราะฉะนั้นแสดงความไม่ใช่เรา เป็นอนัตตามากขึ้น ไม่ใช่ให้เราไปทอดกฐิน หรือว่าไปทำอะไร ซึ่งไม่ได้เข้าใจธรรมะ ต้องรู้ทุกคำค่ะ แม้แต่กฐินคืออะไร ธรรมะคืออะไร เราจึงจะเป็นผู้ที่ฟังพระธรรมนะคะ และก็เป็นผู้ที่มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง
ถ้าตราบใดเรายังไม่เข้าใจ เราไม่ได้มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ต่อเมื่อไหร่เริ่มเข้าใจนะคะ เราจึงมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระธรรม และมีผู้ที่เป็นพระอริยะบุคคลเป็นที่พึ่ง ไม่ใช่ว่า เพียงฟัง แล้วจะเป็นคนดีจึงบวช ไม่บวชก็เป็นคนดีได้ เข้าใจธรรมะนะคะ แล้วไม่บวช แต่บวชแล้วไม่เข้าใจธรรมมะ อะไรถูกต้อง
ผู้ฟัง ไม่บวชดีกว่าค่ะ
ท่านอาจารย์ ไม่บวชดีกว่า เพราะฉะนั้นเริ่มเป็นผู้ที่ตรง สัจจะบารมี ข้อความในพระไตรปิฎกมีว่านะคะ ถ้าไม่เป็นผู้ที่ตรง ไม่ได้สาระจากพระธรรม เพราะพระธรรมตรงค่ะ ผิดคือผิด ถูกคือถูก ถ้าไม่มีการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีความเห็นผิดๆ มากมาย มีคนเชื่อถือมากมาย มีครูเยอะแยะ นะคะ แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงความจริง ท่ามกลางความเชื่อของคนที่ไม่เคยฟังคำของพระองค์ จึงเข้าใจผิด ก่อนฟังพระธรรม จะมีผู้ที่เข้าใจถูกเห็นถูกในสิ่งที่มีจริงได้ไหม
ผู้ฟัง อาจจะได้ค่ะ แต่คงจะไม่ที่สุด
ท่านอาจารย์ ถ้าอาจจะได้ก็ไม่ต้องมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ลองคิดดูค่ะ ถ้าเป็นไปได้ ไม่ต้องมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่เพราะเป็นไปไม่ได้นะคะ จึงต้องอาศัยคำของผู้ที่ทรงบำเพ็ญพระบารมีที่จะรู้ความจริงค่ะ เพราะฉะนั้นทุกคนที่ฟังธรรมะเดี๋ยวนี้นะคะ ไม่ใช่เพื่ออย่างอื่นเลย เพื่อรู้ความจริง เพื่อเข้าใจความจริง จะได้ไม่หลงผิด และก็รู้ว่าถ้าฟังคำอื่นที่ไม่ใช่คำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะไม่ได้เข้าใจถูกเลย เพราะฉะนั้นคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใครพูดนะคะ เป็นความจริงทุกคำ เพราะเป็นคำของพระองค์ ไม่ใช่คำที่คนนั้นคิดขึ้นเอง แต่ต้องไตร่ตรอง พิจารณาจนกระทั่งเข้าใจมั่นคงด้วย เพราะฉะนั้น พระพุทธศาสนาจะดำรงอยู่ต่อไปได้ด้วยอะไร
ผู้ฟัง ด้วยสาธุชนหรือว่าคนในโลกนี้ต้องเข้าใจลึกซึ้งถึงคำสอนของพระพุทธองค์ และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดถูกต้องไม่แปรเปลี่ยนให้เป็นธรรมะอย่างอื่น
ท่านอาจารย์ ค่ะ ถูกต้องอย่างยิ่งเลยนะคะ แต่ต้องพิจารณาโดยความละเอียดยิ่ง ทุกคำที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสแล้ว เปลี่ยนได้มั้ย
ผู้ฟัง เปลี่ยนไม่ได้
ท่านอาจารย์ พระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม ต้องสอดคล้องกันทั้งหมดใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่ค่ะ
ท่านอาจารย์ ค่ะ เพราะฉะนั้นคำใดที่ไม่สอดคล้องกัน ไม่ใช่คำที่ถูกต้อง เราเข้าใจผิดต้องเข้าใจให้ถูกต้อง ด้วยความเป็นผู้ตรง จึงสามารถที่จะดำรงรักษาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ ถ้าชาวโลกไม่ศึกษาธรรมะเข้าใจผิด คิดเองต่างๆ นานานะคะ จะเป็นพระพุทธศาสนาได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ไม่ได้นะคะ เพราะฉะนั้นก็เป็นโอกาสที่เราจะได้เป็นผู้ที่ตรง นะคะ ด้วยเหตุนี้นะคะ ในเมื่อคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านำมาซึ่งความเข้าใจที่ถูกต้อง ไม่ว่าใครได้ฟังแล้วพิจารณาไตร่ตรอง ถึงไม่บวชก็เป็นพระอริยะบุคคลได้ ถูกต้องไหมคะ
ผู้ฟัง ถูกต้อง
ท่านอาจารย์ แล้วคนที่ไปบวชนี่ต้องเข้าใจธรรมะใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่ค่ะ
ท่านอาจารย์ คำว่าบวช ปะวะชะ ในภาษาบาลี ภาษาไทยก็บวชหรือบรรพชา ใช่ไหมคะปะวะชะ หมายความว่าอะไร เราไม่คิดธรรมะเองค่ะ ความลึกซึ้งของพระธรรม เราจะได้สาระ และเป็นผู้ที่มีพระธรรมเป็นที่พึ่ง ต่อเมื่อเราคิดไตร่ตรองคำที่พระองค์ได้ตรัสไว้ เพราะฉะนั้น ปะวะชะ บวชก็พูดกันบ่อยใช่ไหมคะ คนโน้นก็บวช คนนี้ก็บวช แต่บวชคืออะไร ในพระพุทธศาสนา ในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บวชคืออะไร
ผู้ฟัง บวช คือการที่จะเข้าไปศึกษาความจริงที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ และปฏิบัติให้จริงตามที่พระองค์สั่งสอน
ท่านอาจารย์ ไม่บวชก็ฟังได้ เพราะฉะนั้นทำไมบวช เพราะไม่เข้าใจคำว่าบวช จึงบวชกันมากมายใช่ไหมคะ แต่ถ้ามีความเข้าใจแล้ว
ผู้ฟัง ไม่ต้องบวชก็ได้
ท่านอาารย์ และถ้ามีความเข้าใจแล้วจะรู้ว่าบวชได้ หรือบวชไม่ได้ ถ้าไม่เข้าใจธรรมะบวชได้ไหม ถ้าบวชจะเป็นบวชไหมในเมื่อไม่เข้าใจธรรมะ ในเมื่อไม่เข้าใจคำว่าบวชจะเป็นบวชไหม
ผู้ฟัง ไม่เป็น
ท่านอาจารย์ ไม่เป็น เพราะฉะนั้นคำว่าบวช หมายความว่าสละทั่ว ปะวะชะ สละทั่ว ทั่วนี่ไม่เว้นนะคะ สละอะไรบ้าง สละบ้าน วงศาคณาญาติ ครอบครัว ทรัพย์สมบัติ กิจธุระหน้าที่ของคฤหัสถ์ทั้งหมด เพราะเห็นคุณของการที่ชีวิตสั้น นะคะ และคนนั้นสะสมมา ที่สามารถที่จะละอาคารบ้านเรือน วงศาคณาญาติ เพื่อที่จะอุทิศชีวิต ศึกษาให้เข้าใจธรรมะประพฤติปฏิบัติตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้ นั่นคือ ปะวะชะ คือบวช แต่ถ้าไม่ใช่เพราะเหตุนี้นะคะ จะเป็นบวชหรือเปล่า ไม่ใช่ เพราะฉะนั้นที่บวชๆ โดยไม่เข้าใจบวชเนี่ยมีไหม ไม่เข้าใจว่าเป็นการสละ ไม่เข้าใจว่าเป็นการละสมบัติ ไม่เข้าใจว่าต้องละกิจของคฤหัสถ์เพื่อศึกษาธรรมะ
ผู้ฟัง มีมากเลยค่ะ
ท่านอาจารย์ มีมาก เป็นความถูกต้องนะคะ ก็ขออนุโมทนาที่เป็นผู้ตรง ซึ่งจะดำรงพระศาสนาไว้ได้ ก็ต่อเมื่อ มีความเข้าใจพระธรรม และตรงต่อพระธรรม เพราะฉะนั้นถ้าใครบวช เพียงอยากบวช เป็นบวชหรือปล่า
ผู้ฟัง ไม่ใช่
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ ถ้าบวชนะคะ แล้วไม่ประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัย ผู้นั้นบวชหรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่บวช
ท่านอาจารย์ ถ้าผู้นั้นบวชแล้วไม่ศึกษาธรรมะ ไม่เข้าใจธรรมะ บวชหรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่บวชค่ะ
ท่านอาจารย์ เพียงแต่เข้าใจว่าตัวเองบวช และคิดว่าบวช เพราะฉะนั้นชาวพุทธก็เข้าใจว่าบวช คือใครก็ได้บวช แต่ความจริงไม่ใช่ค่ะ การบวชต้องตามพระธรรมวินัย มิฉะนั้นเป็นโทษกับตนเอง เพราะเป็นผู้ไม่ตรง นี่ก็คือชาวพุทธ เริ่มเข้าใจพระพุทธศาสนา คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นเรื่องขัดเกลานะคะ สิ่งที่นำมาซึ่งความเป็นเพศคฤหัสถ์สู่เพศบรรพชิตต้องสละหมด
ผู้ฟัง ขอบคุณมากค่ะ
ผู้ฟัง ผมชื่อจำลอง ปทุมสวัสดิ์ นะครับ เป็นข้าราชการบำนาญกระทรวงสาธารณสุขครับ ที่อาจารย์พูดว่าไม่จำเป็นต้องบวช ถูกต้องครับตรงนี้ เป็นสามัญชนก็ได้ ถ้าเข้าใจความลึกซึ้งของคำสอนของพระพุทธเจ้า เพราะว่าพระพุทธเจ้าคือวิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งที่ถูกต้องพิเศษมากเลย แล้วเรื่องพิธีกรรมไสยศาสตร์นี่ทำให้มีปัญหา คำตอบว่าพุทธศาสนาที่จะพบปัญหามากเลย ก็คือสาวกของพระพุทธเจ้านะครับ ขอบคุณมากครับ
ท่านอาจารย์ ค่ะ ก็ขอให้คิดอีกคำหนึ่งนะคะ พระพุทธศาสนาเหนือวิทยาศาสตร์ และศาสตร์ใดๆ ทั้งหมดในสากลจักรวาล เปรียบไม่ได้เลยค่ะ เพราะว่าผู้ที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ ยังไม่สามารถที่จะรู้ความจริงอย่างที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้ เพราะฉะนั้นเวลาที่ศึกษาธรรมะนี่นะคะ วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องเล็กมากไม่ได้กล่าวถึงธรรมะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงโดยละเอียดอย่างยิ่ง โดยประการทั้งปวง ทั้งนามธรรม และรูปธรรม
ด้วยเหตุนี้นะคะ ผู้ที่มีพระพุทธศาสนาเป็นที่พึ่งอย่างแท้จริง จริงใจก็คือว่าไม่มีผู้ใดทั้งสิ้น ที่จะเหนือกว่าคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นก็โดยมากนะคะ ยุคนี้จะคิดว่าวิทยาศาสตร์สูงสุด แต่ความจริงไม่ใช่ค่ะ ยังต้องเปลี่ยน ยังต้องปรับ ยังต้องแก้ ยังต้องค้นพบอะไรอีกมากมาย แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ธรรมะทุกประการนะคะ ถึงที่สุดโดยประการทั้งปวงจึงเป็นที่เคารพอย่างยิ่ง เหนือสิ่งใดทั้งหมด
และการเคารพสูงสุดก็คือการศึกษาธรรมะให้เข้าใจ จะไปกราบไหว้สักเท่าไหร่นะคะ ก็คือว่าไม่ได้เข้าใจธรรมะ นั่นไม่ใช่การเคารพ เพราะว่าพระองค์ทรงบำเพ็ญพระบารมีเพื่อที่จะตรัสรู้ สิ่งซึ่งคนอื่นไม่สามารถจะรู้ได้ด้วยตัวเอง เพราะฉะนั้นเมื่อได้ทรงตรัสรู้แล้วนะคะ ก็ได้ทรงแสดงพระธรรม ไม่ใช่ให้ไปจุดธูปกราบไหว้บูชาด้วยดอกไม้ของหอมนะคะ แต่ว่าต้องเข้าใจธรรมะ เพื่อเหตุว่าถ้าเพียงแต่บูชาด้วยดอกไม้ของหอม แต่ไม่ศึกษาธรรมะเลย จะรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไหม คะ
เพราะฉะนั้นเมื่อเข้าใจพระธรรมแล้ว บูชาด้วยทุกอย่าง ทั้งอามิสบูชา เครื่องหอม ดอกไม้ธูปเทียนก็ตาม แต่ไม่เสมอกับการเข้าใจพระธรรมซึ่งเป็นธรรมะบูชา เพราะฉะนั้นก็ต้องเป็นความละเอียดอย่างยิ่งนะคะ ขัดเกลาความไม่รู้ ความเข้าใจผิดจนกว่าจะค่อยๆ เข้าใจขึ้น
นี่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งของการสนทนาธรรม เพราะเป็นมงคลทำให้มีความเข้าใจ ต่างคนก็ต่างอ่าน ต่างคนก็ต่างคิดนะคะ ก็มาร่วมกันพิจารณาว่าสิ่งใดถูก ก็รับสิ่งที่ถูก แล้วก็ทิ้งสิ่งที่ผิด เพราะฉะนั้นถ้าบวชโดยไม่เข้าใจธรรมะไม่ใช่บวช เพราะไม่ได้สละกิเลสใช่ไหมคะ แต่ว่าเมื่อฟังแล้วรู้ว่ามีความไม่รู้อีกมาก นำมาซึ่งกิเลสทั้งหลาย และชีวิตก็สั้น และผู้นั้นต้องสะสมปัญญาที่สามารถที่จะสละเพศคฤหัสถ์ และก็ขัดเกลากิเลสในเพศบรรพชิตจึงจะเป็นการบวช
พุทธบริษัทในครั้งพุทธกาลมี ๔ นะคะ มีภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา แต่ต้องรู้พระพุทธประสงค์ ที่ไม่ประสงค์ให้สตรีบวช แม้ท่านพระอานนท์จะกราบทูลครั้งแรกนะคะ ก็ไม่ทรงอนุญาตเพราะว่าการรู้แจ้งอริยสัจธรรมนี่นะคะ เป็นพระโสดาบันในเพศคฤหัสถ์ได้ เป็นพระอนาคามีสูงขึ้นอีก ดับกิเลสได้มากขึ้นอีกในเพศคฤหัสถ์ก็ได้ เป็นพระอนาคามีนะคะ ดับการติดข้องในรูป เสียง กลิ่น รส สิ่งที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้นกาย ได้ก็จริงนะคะ
ต่อเมื่อไหร่เป็นพระอรหันต์จะเป็นคฤหัสถ์อีกต่อไปไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ในยุคหลังๆ ต่อมานี่คะ ไม่มีใครที่สะสมมา ที่เป็นผู้หญิงที่จะถึงความเป็นพระอรหันต์ได้จึงไม่จำเป็นต้องบวชเพราะว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเล็งเห็นโทษ ของการที่จะให้สตรีบวชในพระพุทธศาสนา เป็นเพศบรรพชิต ซึ่งเป็นเพศที่สูงยิ่งนะคะ ต้องอาศัยหลายอย่าง ที่จะดำรงความเป็นเพศบรรพชิตได้ ซึ่งไม่เหมาะแก่สตรีเพศ
แต่ว่าสามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้ เพราะฉะนั้นไม่บวช ก็รู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้ ไม่ว่าเพศใดทั้งสิ้น ไม่ว่าหญิงหรือชาย เพราะฉะนั้นคนที่บวช ต้องจริงใจที่จะอุทิศชีวิต เพื่อที่จะดำเนินตามรอยพระบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตามที่พระองค์ได้ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ เพราะฉะนั้นไม่ได้หมายความว่าเฉพาะภิกษุเท่านั้น ที่จะศึกษา และประกาศคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้แต่คฤหัสถ์ซึ่งเป็นเอตทัคคะเพราะว่าได้ศึกษาแล้วนะคะ ก็สามารถที่จะกล่าวความจริง คำจริงให้คนอื่นเข้าใจได้
ด้วยเหตุนี้พระธรรมวินัยไม่ได้จำกัดนะคะ ไม่มีว่าจะต้องเป็นบุคคลนั้น บุคคลนี้ หรือแม้เถรสมาคม ในครั้งพุทธกาลไม่มี เพราะว่าการเป็นเถระไม่ใช่โดยการแต่งตั้ง แต่เถระคือความมั่นคง ในความเข้าใจ ในความเห็นถูกนะคะ สมัยนั้นท่านพระอานนท์เถระ ท่านพระกัสสปเถระ ท่านพระอนุรุทธเถระ ท่านพระมหาโมคัลลานเถระ เถระต้องเป็นผู้ที่มั่นคงถึงความเป็นพระอรหันต์
เพราะฉะนั้นพระธรรมวินัยนี่คะ เป็นศาสดาแทนพระองค์ ไม่ได้ทรงแต่งตั้งใครเลยทั้งสิ้นให้เป็นศาสดาแทนพระองค์ แต่พระธรรมวินัยทั้งหมด เป็นศาสดาแทนพระองค์ ด้วยเหตุนี้นะคะ คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ได้จำกัดเฉพาะบริษัทที่เป็นภิกษุ แต่พุทธบริษัททั้งหมด ควรที่จะศึกษาเข้าใจ เมื่อพุทธบริษัทพร้อมเพรียงกัน มีความเข้าใจธรรมะถูกต้องพระองค์จึงปรินิพพาน
แสดงให้เห็นว่านะคะ ทั้งภิกษุ และก็คฤหัสถ์สามารถที่จะดำรงพระศาสนาได้ ไม่ใช่มอบพระศาสนาไว้ให้บริษัทหนึ่งบริษัทใด ด้วยเหตุนี้นะคะ แม้คฤหัสถ์ก็ควรที่จะเข้าใจพระวินัยของพระภิกษุตามสมควร เพราะเหตุว่าพระวินัยนี่ค่ะละเอียดมาก เหมือนกับธรรมะทั้งหลายที่ละเอียดนะคะ เพราะว่าพระวินัยก็เป็นธรรมะ เพราะฉะนั้นจึงมีพระวินัยธร
แม้ในครั้งพุทธกาลนะคะ ท่านพระอุบาลีก็เป็นเอตทัตคะในพระวินัย ก็แสดงให้เห็นความลึกซึ้งของพระวินัยว่าไม่ใช่ว่าเราจะขาดความเคารพไม่ศึกษา และก็คิดว่าเราสามารถที่จะดำรงพระศาสนาได้ แต่พระวินัยก็คือธรรมะ และก็เป็นการขัดเกลากิเลสด้วย ด้วยเหตุนี้นะคะ ชาวบ้านพุทธบริษัทในครั้งโน้นนี่ค่ะ รู้พระธรรมวินัย ภิกษุทำผิดเป็นหน้าที่ของคฤหัสถ์ที่จะเพ่งโทษให้รู้ว่าเป็นโทษ สิ่งนี้ทำไม่ได้ ติเตียนทำไม่ได้ ไม่เหมาะควรแก่การที่จะเป็นภิกษุในธรรมวินัย
และโพนทะนาหมายความว่าประกาศให้รู้ทั่วกันว่ามีการประพฤติที่ผิดตามพระธรรมวินัยอย่างนี้ อย่างนี้ เพราะฉะนั้นพุทธบริษัททั้งหมดนะคะ ก็พร้อมกันที่จะศึกษาธรรมะ และก็อนุเคราะห์พระศาสนา ด้วยการที่เมื่อบริษัทใดทำไม่ถูกต้องนะคะ ก็กล่าวสิ่งที่เป็นประโยชน์เพื่ออนุเคราะห์ให้เขาได้เข้าใจถูกต้อง และก็ทำสิ่งที่ถูกต้อง
เพราะฉะนั้นไม่ได้มอบพระพุทธศาสนาให้แก่บริษัทหนึ่งบริษัทใดเลย คฤหัสถ์ก็สามารถที่จะรู้ธรรมะ ภิกษุที่บวชแล้วที่ไม่รู้แจ้งธรรมะก็มี เพราะฉะนั้นไม่ได้จำกัดประเภทไหนที่จะเป็นผู้ที่จะดำรงรักษาพระศาสนา แต่ที่พระภิกษุนะคะ เป็นประมุข เป็นหัวหน้า ก็เพราะเหตุว่าท่านสละชีวิตเพื่อที่จะศึกษา และขัดเกลากิเลส ในขณะที่คฤหัสถ์ก็ยังมีกิจหน้าที่ของคฤหัสถ์ ซึ่งสามารถจะเข้าใจธรรมะได้
ผู้ฟัง เราในฐานะเป็นคฤหัสถ์เนี่ย เราจะช่วยส่งเสริมพระวินัย และให้ภิกษุได้รักษาพระธรรมวินัยได้อย่างไร เช่นนะครับ ภิกษุที่รับเงินรับทองไปแล้วนะ ขอความกรุณานะครับ
อ.ธีระพันธ์ จริงๆ แล้วก็ต้องเริ่มจากตัวเราก่อนเลยนะครับ ที่จะฟังธรรมะ ศึกษาธรรมะ ศึกษาพระวินัยโดยถูกต้อง เพราะฉะนั้นการที่เราศึกษาธรรมวินัยเนี่ยนะครับ ก็เป็นการดำรงคำสอน แต่ว่าต้องเป็นความเข้าใจจริงๆ นะครับ จะไม่ถวายเงิน ถวายสิ่งที่ถูกต้อง สิ่งที่สมควรแก่เพศบรรพชิตเท่านั้น เงินทองไม่สมควรแก่สมณะเชื้อสายพระศากยบุตร
ท่านอาจารย์ ค่ะ จริงๆ นะคะ ถ้าพุทธบริษัทศึกษาพระธรรมวินัย จะไม่ให้เงินพระภิกษุเลย ถูกต้องไหมคะ เริ่มต้นตั้งแต่ทันทีที่เข้าใจ เพื่อที่จะดำรงพระศาสนาไว้ เพราะฉะนั้นก็ต้องมีความเข้าใจถูกต้องนะคะ ทำไมเราไม่ให้ ใช่ไหมคะ เพราะเหตุว่าผู้ที่เป็นภิกษุต้องไม่มีทรัพย์สมบัติ ถ้ามีทรัพย์สมบัติอย่างคฤหัสถ์ ก็ต้องยินดีจึงมี
เพราะเหตุว่าเงินทองมีไว้ทำไมคะ ถ้าไม่ไปซื้อสิ่งที่เราต้องการ เป็นรูป เสียง กลิ่น รส สิ่งที่เราได้มาจากการสัมผัส ชีวิตดำเนินอยู่ทุกวัน เงินทองจะมีประโยชน์อะไร ถ้าเงินทองนั้นไม่สามารถที่จะไปซื้อ นำมาซึ่งสิ่งที่เราต้องการ เพราะฉะนั้นแสดงว่าผู้ที่ มีเงิน ใช้เงินเพื่อได้สิ่งที่ต้องการ ยังติดข้องในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เพราะฉะนั้นผู้ที่ยังยินดีติดข้องไม่ใช่บรรพชิต ไม่ใช่ภิกษุ ไม่ใช่ผู้สละ ไม่ใช่ภิกษุในพระธรรมวินัย
ถ้าเราเข้าใจอย่างนี้นะคะ เราจะไม่ทำลายพระศาสนา และไม่ทำลายภิกษุรูปนั้น เพราะเหตุว่าภิกษุใดก็ตามที่ประพฤติผิดพระวินัย ใช้คำว่าอาบัติเป็นโทษ ถ้าตราบใดที่ยังไม่สำนึก ยังไม่เห็นโทษ ยังไม่ปลงอาบัติ คือกระทำคืนนะคะ โดยการที่แสดงอาบัติ ประกาศว่าตนได้กระทำผิดอย่างไร เพื่อให้สงฆ์รับรู้ และก็สามารถที่จะ กลับเป็นภิกษุนั้นได้อีก เมื่อไปปลงกับสงฆ์
การที่จะพ้นผิดมีหลายวิธีนะคะ ตั้งแต่อาบัติเล็กน้อย จนกระทั่งอาบัติมาก จนถึงอาบัติที่ปลงไม่ได้คือปาราชิก ใครจะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม ทันทีที่ผิดนะคะ จะเป็นภิกษุต่อไปไม่ได้หรือผู้นั้นลาสิกขาไป แล้วก็อยากจะมาบวชใหม่ เป็นไปไม่ได้เลย หมายความว่าเหมือนคนหัวขาด ทันทีที่ได้อาบัติปราชิกนะคะ จะบวชเป็นพระภิกษุในพระธรรมวินัยอีกไม่ได้ตลอดชีวิต
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1381
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1382
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1383
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1384
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1385
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1386
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1387
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1388
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1389
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1390
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1391
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1392
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1393
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1394
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1395
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1396
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1397
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1398
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1399
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1400
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1401
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1402
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1403
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1404
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1405
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1406
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1407
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1408
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1409
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1410
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1411
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1412
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1413
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1414
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1415
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1416
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1417
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1418
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1419
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1420
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1421
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1422
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1423
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1424
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1425
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1426
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1427
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1428
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1429
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1430
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1431
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1432
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1433
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1434
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1435
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1436
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1437
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1438
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1439
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1440