พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 854
ตอนที่ ๘๕๔
ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตยที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
ท่านอาจารย์ รูปธรรมหมายความว่า สิ่งนั้นมีจริงแต่ว่าไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลย จากการที่สิ่งนั้นปรากฏนั่นเองจึงแสดงประเภทของธาตุที่เป็นธาตุรู้ หรือไม่ใช่ธาตุรู้ และใช้คำรวมเรียกว่า นามธรรมกับรูปธรรม แต่ไม่ใช่ไปจำนามธรรมก่อน รูปธรรมก่อนแล้วมาสงสัยว่านี่เป็นนามธรรม หรือรูปธรรม
หิวเป็นอะไร หิวมีจริงๆ แน่ๆ บางคนอาจจะกำลังหิว หิวมีแล้วหิวเป็นอะไรต้องเรียกชื่อ หรือเปล่า ไม่ต้องเรียกชื่อแต่ลักษณะของหิวต่างกับลักษณะอื่นๆ ไหม เพราะฉะนั้นเป็นสิ่งที่มีจริงยังไม่ต้องเรียกนามธรรม หรือรูปธรรมเลยเพราะว่า เพียงชื่อ สงสัย มานั่งคิดว่า หิวเป็นนาม หรือเป็นรูปเพราะได้ยินแต่ชื่อแต่ไม่รู้ลักษณะจริงๆ ว่า ลักษณะนั้นเป็นสภาพที่หิว ลักษณะนั้นลองคิดดูแล้วจะเป็นสิ่งที่ไม่รู้อะไรได้ไหมเพราะกำลังหิวแล้วจะบอกว่าไม่รู้ เป็นสภาพไม่รู้เหมือนแข็งไม่รู้ เย็นก็ไม่รู้ เหมือนเสียงที่ไม่รู้อะไรแต่นี่หิว
เพราะฉะนั้นหิวเป็นสภาพรู้แต่ยังไม่ชัดเจนใช่ไหมเพราะว่า จริงๆ แล้วไม่ได้ต้องอาศัยชื่อมาเรียกมาบอกว่าหิวเป็นนามธรรม ถ้าบอกว่า "หิวเป็นนามธรรม" ก็เพียงแค่จำแต่ลักษณะที่หิวนี้กว่าจะเป็นนามธาตุ หรือนามธรรมอย่างหนึ่งก็ต้องเป็นเพราะมีการเข้าใจ และความคุ้นเคยว่า ในขณะนั้นไม่มีอย่างอื่นแต่มีหิว เพราะฉะนั้นสภาพที่เป็นนามธรรมกับรูปธรรมก็ต่างกันโดยเมื่อเข้าใจลักษณะนั้นๆ แล้วจะเห็นว่า สภาพที่ไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลย ไม่รู้สึกก็ส่วนหนึ่ง เรียกรวมสภาพที่ไม่รู้ ไม่สามารถจะรู้ว่า "รูปธรรม" แต่ต้องมาจากความเข้าใจไม่ใช่มาจากความจำ
อ.ธิดารัตน์ วันนี้ก็เป็นการสนทนาพระอภิธรรมเพื่อจะให้เข้าใจพระอภิธรรม ขออนุญาตท่านอาจารย์คือ สืบเนื่องมาจากเมื่อวานนี้มีท่านผู้ร่วมสนทนาสงสัยระหว่างลักษณะของ "อิสสา" กับ "มัจฉริยะ" วันนี้จึงขออนุญาตสนทนาเรื่องของสังโยชน์ โดยนัยของสังโยชน์เริ่มต้น อ.คำปั่นช่วยอธิบายคำว่า "สังโยชน์" โดยรวม
อ.คำปั่น คำว่า "สังโยชน์" หรือ "สัญโยชน์" จริงแล้วๆ กล่าวถึงสถาพธรรมที่มีจริงๆ แต่ว่าเป็นธรรมฝ่ายไม่ดีที่เป็นอกุศลธรรมประการต่างๆ ซึ่งเมื่อกล่าวโดยความหมายของสังโยชน์หมายถึงสภาพธรรมที่เป็นอกุศลธรรมที่ผูกเหล่าสัตว์ไว้ในวัฏฏะ ไม่ให้ออกไปจากวัฏฏะ
อ.ธิดารัตน์ ขอโอกาสให้ท่านอาจารย์ช่วยอธิบายระหว่างอิสสากับมัจฉริยะจากคำถามของเมื่อวานนี้ ท่านผู้ร่วมสนทนาไม่เข้าใจว่า มีความต่างกันอย่างไร ทำไมแยก ทั้งๆ ที่เจตสิกทั้ง ๒ ประเภทเกิดกับโทสะทั้งหมดแต่แยกเป็นอิสสาอย่างหนึ่ง มัจฉริยะอย่างหนึ่ง
ท่านอาจารย์ ได้ยินคำนี้บ่อยๆ ใช่ไหม ริษยา อิสสา ไม่ใช่เป็นคำแต่ว่าเป็นสิ่งที่มีจริงๆ เพราะฉะนั้นใครไม่เคยอิสสาบ้าง ภาษาบาลีใช้คำว่า "อิสสา" แต่ภาษาไทยใช้คำว่า "อิจฉา" ก็ผิดเสมอเวลาที่เอาคำภาษาอื่นมาใช้โดยที่ไม่ได้เข้าใจความหมายจริงๆ เพราะเหตุว่า ถ้าเป็นภาษาบาลี "อิจฉา" หมายความถึงโลภะ ไม่ใช่ริษยา แต่พอถึงคำที่เราใช้คำว่า "อิจฉาๆ " เราเข้าใจว่าหมายความถึง "ริษยา" ซึ่งภาษาบาลีใช้คำว่า "อิสสา" ก็คือมีคำว่า "อิสสา" กับมีคำว่า "ติดข้อง" ซึ่งต่างกันที่ว่าเป็นความติดข้องก็อย่างหนึ่ง หวงแหน หรือตระหนี่ แต่ละหนึ่งก็มีลักษณะเฉพาะแต่ละหนึ่ง ในภาษาไทยเคยได้ยินคำว่า มัจฉริยะไหม คนไทยไม่พูดแน่แต่หมายความถึง ความตระหนี่ ความหวงแหน เพราะเหตุว่า เมื่อเกิดมาก็เข้าใจว่า มีเรา มีของเรา ไม่ว่าจะเป็นตัวเรา ทรัพย์สมบัติของเรา มิตรสหายของเรา ก็เป็นเราไปทั้งหมด
เพราะฉะนั้นขณะใดก็ตามที่บอกว่า "ตระหนี่" หรือ "มัจฉริยะ" ในภาษาบาลีภาษาไทยเราใช้คำว่า ตระหนี่เราก็คิดถึงความหมายว่าเป็นคนขี้เหนียวใช่ไหม ตระหนี่ถี่เหนียว หรือตระหนี่ขี้เหนียว ฯลฯ คือไม่สละสิ่งของๆ ตนเพื่อประโยชน์สุขแก่คนอื่น เพราะฉะนั้นการศึกษาก็ต้องรู้ว่าเราใช้คำผิด เพราะฉะนั้นเวลาที่บอกว่า ตระหนี่ หมายความว่า คนที่หวงแหน และไม่ยอมให้ทรัพย์สมบัติของตนสาธารณะกับคนอื่น หมายความว่า คนอื่นจะมาร่วมใช้สอยด้วยก็ไม่ได้ พอจะเข้าใจความรู้สึกอย่างนี้ใช่ไหมว่ามี หรือเปล่า เข้าใจเท่านั้นไม่พอ หวงอะไรบ้าง หรือเปล่า หวงกับตระหนี่คงใช้แทนกันได้ใช่ไหม หวงของตระหนี่ของ
อ.ธิดารัตน์ ท่านอาจารย์คะระหว่างหวงกับโลภะ หวงที่เป็นลักษณะที่เกิดร่วมกับโทสะกับหวงที่เป็นโลภะ
ท่านอาจารย์ ทั้งหมดไม่ใช่โลภะ โลภะเป็นโลภะ ความตระหนี่ หรือความหวงไม่ใช่โลภะ แล้วการที่ไม่ยอมสละให้คนอื่นเพราะหวงใช่ไหม แต่ถ้าไม่มีโลภะจะหวงไหม เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่าโลภะเป็นมูลเหตุของโทสะ ถ้าไม่มีโลภะโทสะก็ไม่มี เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่าเป็นเรื่องที่ต้องเข้าใจด้วยว่า เพราะติดข้องจึงหวงแหนไม่สละวัตถุนั้น หรือว่าไม่ให้คนอื่นมาร่วมใช้สอยด้วยซึ่งเราใช้คำว่า "ตระหนี่" ขณะที่เรากำลังติดข้องเพลิดเพลินของๆ เราสวยเหลือเกินไปตระหนี่อะไรที่ไหนรึเปล่า ดอกไม้ ต้นไม้ เสื้อผ้าทุกอย่างสวยจริงๆ กระเป๋าสวยกำลังเพลิดเพลินพอใจในสิ่งของของเราขณะนั้นตระหนี่รึเปล่า
อ.ธิดารัตน์ ขณะนั้นชอบเฉยๆ
ท่านอาจารย์ ขณะนั้นไม่ตระหนี่เลยเป็นแต่เพียงความติดข้องยินดีพอใจแต่ว่า ตระหนี่เมื่อไหร่ หวงเมื่อไหร่ เมื่อคิดว่าคนอื่นจะมาร่วมใช้สอย หรือจะมาเป็นของของเขาด้วยจึงใช้คำว่า "หวง" ถ้าใช้ภาษาไทยก็คงพอจะเข้าใจได้ถึงความต่างกัน เท่านี้พอไหมที่จะรู้ความจริงของเรา ไม่พอเลยเพราะเราต้องรู้ว่า เรามีกิเลสมากมายมหาศาล ไม่ว่าจะเอ่ยคำไหนมีทั้งนั้นใช่ไหม ติดข้อง "โลภะ" ก็มีมากมายแต่ว่าบางกาละหวงไหมของของตน และบางกาลไม่ได้หวง
เพราะฉะนั้นโลภะก็เป็นโลภะความติดข้อง ส่วนความตระหนี่ หรือความหวงแหนก็ต่อเมื่อไม่ต้องการให้คนอื่นมาร่วมเป็นเจ้าของ หรือว่ามาร่วมการใช้สอยด้วย ทุกคนมีโลภะแล้วหวงไหม ตระหนี่ไหม ต้องตามความเป็นจริง สละให้คนอื่นได้ไหม ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ที่ได้ก็มี ที่ไม่ได้ก็มี แสดงให้เห็นว่า โลภะกับความตระหนี่ไม่เหมือนกัน แต่สิ่งที่คิดว่าให้คนอื่นไม่ได้ให้บางคนได้ไหม แสดงให้เห็นว่า มีความติดข้อง โลภะเป็นโลภะ โทสะเป็นโทสะ
เพราะฉะนั้นเวลาที่มีความติดข้องก็พอใจ แค่พอใจในของของตนแต่เวลาที่ตระหนี่หวงแหนก็คือ ไม่ให้คนที่เราไม่ชอบ เพราะฉะนั้นเห็นโทสะไหม ถ้าเป็นคนที่ชอบให้ได้หมดทุกอย่าง อยากจะได้อะไรก็เอาไปเถอะ ของที่ชอบมากเอาไปได้ ลูกหลานคนนั้นคนนี้อยากได้อะไรเอาไปเถอะเพราะว่า เป็นลูกเป็นหลาน เป็นพี่เป็นน้อง หรือเป็นมิตรสหายที่ชอบพอ แต่ถ้าเป็นคนอื่นเห็นไหม ต้องคนอื่น ในขณะนั้นไม่พอใจที่จะให้
เพราะฉะนั้นมัจฉริยะไม่ใช่โลภะ และมัจฉริยะก็จะเกิดกับโทสะไม่เกิดกับโลภะ และไม่ควรจะเป็นเพียงในตำรา ขณะไหนที่ให้ใครได้รู้ได้ว่า ขณะนั้นเป็นกุศลจริงๆ หรือว่าเพราะบุคคลนั้นเป็นที่รัก เพราะฉะนั้นให้ด้วยความเมตตา หรือว่าให้ด้วยความพอใจ นี่ก็เป็นความต่างกัน เพราะฉะนั้นการศึกษาธรรมต้องเป็นผู้ที่ตรงจริงๆ แล้วก็เป็นผู้ที่ย้ำแล้วย้ำอีกกับตัวเองให้ได้ว่า ยังมีกิเลสมากเพื่อที่จะได้ไม่ลืมที่จะขัดเกลากิเลส ถ้าเราคิดว่าเราดีมากเราจะไม่ค่อยทำกุศล แต่ว่าเวลาที่รู้ว่า มีกิเลสมากเหลือเกิน เพราะฉะนั้นกิเลสทั้งหลายจะออกไปได้ จะค่อยๆ ขัดเกลาจิตใจให้น้อยลงจากกิเลสได้อย่างไร ก็เป็นผู้ที่เห็นโทษของกิเลสจึงทำความดีเพิ่มขึ้น แม้แต่ทำความดีก็ยากใช่ไหม แม้แต่คิดจะทำก็ยังไม่คิด อยากรู้แจ้งอริยสัจจธรรมแต่ไม่คิดจะทำอะไรที่เป็นความดีก็มี ยังเก็บความไม่ดีเอาไว้มากๆ ยังไม่สละ ไม่ใช่จาคะ ไม่ใช่เพื่อประโยขน์ของคนอื่น เพราะฉะนั้นการที่จะให้กิเลสค่อยๆ ละคลายลงไปต้องเป็นผู้ที่เข้าใจ และรู้ความจริงด้วย
อ.ธิดารัตน์ ท่านอาจารย์กล่าวถึงการให้ ให้ด้วยความพอใจ ให้ที่เป็นทานก็ไม่เหมือนกัน
ท่านอาจารย์ ให้ด้วยเมตตาให้จริงๆ เพื่อประโยชน์ของผู้รับแล้วไม่เลือก แต่ถ้าให้ด้วยความพอใจ เลือกแล้วใช่ไหม ให้ลูกให้หลาน ให้เพื่อน ให้ใครต่อใครที่เป็นที่รักให้ได้ ให้อย่างนั้นเป็นเมตตา หรือเปล่า หรือว่าเสมอกันหมดไม่ว่าเพื่อนคนนี้ หรือเพื่อนคนนั้นใครก็ตามแต่ จิตที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ของบุคคลนั้นจริงๆ ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของเราว่า แล้วเราจะได้กุศล แล้วเราจะได้ความเป็นมิตร หรือว่าเราจะได้ความสนิทสนมคุ้นเคย
อ.ธิดารัตน์ ท่านอาจารย์คะถึงแม้การให้ก็ยังมีการให้ทานที่ประกอบด้วยจาคะด้วยจะต่างจากการให้ธรรมดา
ท่านอาจารย์ ให้จริงๆ เป็นกุศลจริงๆ ขณะนั้นก็จาคะ
อ.ธิดารัตน์ ท่านอาจารย์อธิบายคำว่า จาคะ เพิ่มเติมอีกสักนิดเพราะว่าท่านผู้ร่วมสนทนายังไม่ค่อยเข้าใจเพราะปัญหาเหล่านี้มีอยู่
ท่านอาจารย์ จาคะเป็นการสละกิเลส ทานเป็นการสละวัตถุ
อ.ธิดารัตน์ แล้วสละทั้งวัตถุด้วยสละทั้งกิเลสด้วยพร้อมกัน
ท่านอาจารย์ แน่นอนเพราะว่าขณะนั้นเป็นกุศลจิต และเห็นโทษของอกุศล เพราะฉะนั้นในขณะที่ให้เคยรู้สึกไหมว่า เรากำลังสละอกุศลคือ ความติดข้อง
อ.ธิดารัตน์ มีบ้าง
ท่านอาจารย์ แต่บางทีก็ไม่ได้เป็นอย่างนั้น
อ.ธิดารัตน์ ก็มีบ้าง
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก็ไม่ได้ประกอบด้วยจาคะ
อ.ธิดารัตน์ ก็เป็นการให้ที่เป็นทานปรกติกับขณะที่มีการพิจารณาถึงความติดข้องคือ การสละด้วยจาคะ
ท่านอาจารย์ พระโพธิสัตว์ให้ทานด้วยความติดข้องรึเปล่า
อ.ธิดารัตน์ ไม่
ท่านอาจารย์ ก็เป็นจาคะ ขอพูดถึงธรรมทีละคำ และศึกษาธรรมทีละคำ เมื่อกี้นี้พูดถึงคำว่า "มัจฉริยะ" ภาษาไทยหมายความว่า ความตระหนี่ มีความหวงแหนในทรัพย์สิ่งของของตน ไม่สามารถที่จะสละให้บุคคลอื่นร่วมใช้สอย หรือว่าร่วมเป็นของบุคคลอื่นได้ นั่นคือมัจฉริยะแต่ก็ยังไม่ถึงคำว่า "ริษยา" ใช่ไหมเพราะว่าคุณธิดารัตน์พูด ๒ คำ คนไทยพูดคำว่า "อิสสา" หรือเปล่า "แหม อิสสาจัง" ไม่มีเลยแต่จะใช้คำว่า "ริษยา" เพราะฉะนั้นภาษาไทยจะใช้คำว่า "ริษยา" แต่ภาษาบาลีใช้คำว่า "อิสสา" ไม่ใช่ "มัจฉริยะ" เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจทีละคำให้ชัดเจนเพราะมีทุกคนตราบใดที่ยังไม่เป็นพระโสดาบันย่อมมีอกุศลมากมาย ลืมคำนี้ไม่ได้เลยเพราะถ้าลืมคำนี้จะไม่ทำความดีเลยเพราะคิดว่า ดีแล้ว แต่ถ้ารู้จริงๆ ว่าไม่ดีเพิ่มขึ้นทุกวันด้วย และถ้าไม่ทำความดีเลย ไม่ชำระจิตให้สะอาดผ่องใส หรือว่าบริสุทธิ์ขึ้น หรือละอกุศลลงไป แล้วจะเข้าใจธรรมที่กำลังปรากฏที่ทรงแสดงอย่างละเอียดยิ่งเพื่อให้เห็นความเป็นธรรมไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ไม่ได้ เพราะแม้แต่คำว่า อิสสา คือ ริษยาเมื่อคนอื่นได้ดี เห็นไหมตรงกันข้าม "เราไม่ได้" ไม่ใช่ของเราแต่ "เขาได้" ยังริษยา คิดดูว่า อกุศลมากแค่ไหน บางคนก็อิสสาใครไม่เป็นแต่ไม่ได้หมายความว่า หมดความริษยาแต่สะสมความดีอนุโมทนาในกุศลของคนอื่นในลาภ ในยศ ในคุณความดีว่า เป็นผลของกรรมที่ได้กระทำแล้วแต่ชั่วคราวเพราะสิ่งต่างๆ เหล่านั้นยังไม่ใช่ "อริยทรัพย์" แต่ถ้าบุคคลใดก็ตามมีศรัทธา และมีการเห็นประโยชน์ของการที่จะได้เข้าใจความจริงของสิ่งที่มีในขณะนี้ก็อนุโมทนา ไม่ได้ริษยาเลยในการที่ใครจะมาฟังธรรม หรือว่าใครจะมีความเข้าใจธรรมละเอียดขึ้นมากขึ้นก็เพื่อเป็นการละคลายกิเลสซึ่งแสนยาก
เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจความต่างกันของ "มัจฉริยะ" กับ "อิสสา" มัจฉริยะใช่คำว่า ตระหนี่ หรือหวงแต่ก็มีความละเอียดอย่างที่ได้กล่าวถึงแล้ว ส่วนอิสสาคือความริษยา ไม่ใช่ของของตนตัวเองก็ไม่มี เขามีแล้วยังริษยาได้คิดดูถึงอย่างนั้น คนเห็นคนสวยก็ริษยา "ไม่เห็นสวยเลย" แต่คนที่ริษยาก็ยังพูดได้แม้ว่าไม่ใช่อะไรของตัวเลยสักอย่างเดียวแต่ก็สามารถที่จะ "ริษยา" บางคนมีคุณความดีแต่สำหรับคนริษยาแล้วคนนั้นไม่ดี เพราะอะไรทั้งๆ ที่เป็นความดียังชื่นชมอนุโมทนาในคุณความดีนั้นไม่ได้เพราะขณะนั้นสะสม ตัวเองไม่มี และไม่ใช่ของตัวไม่ต้องไปให้ใคร แม้ไม่มีเพียงคนอื่นมีก็ "ริษยา" มองเห็นไหมว่า อกุศลมากมายไม่ต้องกล่าวถึงว่า เป็นสังโยชน์ หรือเป็นอะไรเพราะเป็นอยู่แล้ว อกุศลทั้งหลายมีหน้าที่ มีกิจการงาน มีลักษณะแต่ละอย่างๆ ผูกไว้บ้าง หรือว่าไปไหนไม่รอด คนที่สะสมความริษยาริษยาตลอด ฟังจากคำพูดก็ได้ กิริยาอาการก็ได้
เพราะฉะนั้นโลกภายนอกที่เราเห็นเป็นคน เป็นเหตุการณ์ต่างๆ ต้องไม่ลืมว่า ทั้งหมดมาจากโลกภายใน ถ้าโลกภายในคือ จิตเจตสิกดี กายวาจาดี ไม่มีทางที่จะไปประทุษร้าย หรือทำร้ายคนอื่นเลย แต่ว่าเมื่อมีสิ่งที่ไม่ดีเกิดขึ้นสามารถที่จะรู้ถึงสภาพจิตที่ทำให้สิ่งนั้นๆ เกิดขึ้นได้ก็คือ อกุศลธรรมทั้งหลายนั่นเอง ด้วยเหตุนี้ถ้าไม่มีกายวาจาใครจะรู้ใจ ไม่มีทางเลยไม่มีรูปร่าง เช่น ที่กรุงเทพ หรือตามเมืองหลวง อากาศจะสู้ตามชนบทไม่ได้ก็จะมีฝุ่นละออง ใช้คำว่า "ฝุ่นละออง" เล็กแค่ไหน มองเห็นไหม ไม่เห็น แล้วจิตจะเห็นได้ หรือ ยิ่งกว่าฝุ่นละอองเล็กละเอียดยิ่งกว่านั้นแต่ปัญญาสามารถรู้ได้ สามารถเข้าใจได้
เพราะฉะนั้นคนที่ได้สะสมบุญไว้แต่ปางก่อนก็มีโอกาสที่จะได้สะสมเหมือนการไปเฝ้าฟังธรรมที่พระวิหารต่างๆ ที่ประทับ หรือเปล่าในขณะที่กำลังฟัง ไม่ต่างกันเลยแต่การสะสมมาที่จะเข้าใจคำนั้นต่างกัน เพราะว่าบางคนจำชื่อ จำเรื่อง จำจำนวนแต่ไม่รู้ว่าขณะนั้นจิตเป็นอะไร หรือว่าใครก็ตามกำลังมีหน้าที่ มีการงาน มีเรื่องราวที่จะต้องรับผิดชอบเป็นเรื่องใหญ่แต่จิตในขณะนั้นเป็นอะไร และลองคิดดูในขณะนั้นจริงๆ แล้วมี ๒ ฝ่ายๆ หนึ่งเห็นความสำคัญยิ่งของโลกภายในยิ่งกว่าโลกภายนอก อีกฝ่ายหนึ่งเห็นความสำคัญของโลกภายนอกยิ่งกว่าโลกภายใน อยู่ฝ่ายไหนกำลังอยู่ฝ่ายไหน เพราะฉะนั้นปัญญากับอวิชชาต่างกัน อวิชชาเห็นแต่เรื่องของโลกที่จะทำประโยชน์ที่จะทำอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ลืมจิตในขณะนั้นว่า เป็นกุศล หรือเป็นอกุศล
เพราะฉะนั้นผู้ที่มีโอกาสจะได้ฟังพระธรรมก็รู้จักว่า ในขณะนี้ก็มีทั้งโลกภายใน และโลกภายนอก โลกภายในจิตกำลังเห็น โลกภายนอกก็จดจำเป็นเรื่องราว เป็นสัตว์ เป็นบุคคลต่างๆ แต่ว่า โลกภายใน คือ จิตที่กำลังรู้สิ่งนั้นเป็นอย่างนั้นเป็นกุศล หรือเป็นอกุศล ไม่ใช่เรา ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล เป็นธาตุเป็นธรรมซึ่งมีจริง เกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัย บังคับบัญชาไม่ได้ แม้แต่วาจาสัจจะที่ทรงแสดงให้คนอื่นได้ฟังได้ไตร่ตรองก็ไม่สามารถที่จะโน้มน้าวบังคับใจของใครได้
นอกจากคนที่ได้สะสมมาแล้วจริงๆ ที่จะพิจารณาว่า อยู่ในโลกไม่นานเลยแล้ว ๒ โลกควรจะรู้จักโลกไหน ควรที่จะใส่ใจโลกไหน เพราะเหตุว่า ใครจะมาทำให้โลกภายในของแต่ละคนเปลี่ยนไม่ได้เลยนอกจากตนเองที่สามารถที่จะเข้าใจพระธรรม ไม่ใช่เข้าใจพระธรรมแล้วทำอีกอย่างหนึ่งใช่ไหม แต่ว่าเข้าใจจริงๆ คือ เข้าใจถึงพระคุณที่สามารถจะทำให้รู้ความจริงของธาตุที่เกิดดับสืบต่อมา และยึดถือว่าเป็นแต่ละคน ความจริงไม่มีใครสามารถจะทำอะไรธาตุนั้นได้เลยเพราะเหตุว่า คำว่า "ธาตุ" หรือ "ธา-ตุ" ก็แสดงอยู่แล้วว่าเป็นธรรมจึงต้องละเอียดจริงๆ อย่าข้าม อย่าเผิน แม้แต่คำว่า อิสสา มัจฉริยะ หรือว่าความตระหนี่หวงแหนกับการริษยาควรมีไหม และถ้าไม่ได้ฟังพระธรรมจะรู้ตัวเองไหมว่ามี หรือเปล่า และเดี่ยวนี้มีอะไร ถ้ากำลังฟังธรรมแต่ไม่เข้าใจสิ่งที่ฟัง โลกภายในเป็นอย่างไร ก็เป็นอวิชชาเป็นความไม่รู้ เพราะฉะนั้นฟังธรรมไม่คำนึงถึงว่า "แล้วจะเป็นมรรคมีองค์ ๘ เมื่อไหร่?" "แล้วจะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมเมื่อไหร่?" แม้แต่เพียงในขณะที่กำลังฟังก็ฟังเพื่อมีความเข้าใจถูก มีความสะสมถูกว่า ไม่มีใครสามารถที่จะเป็น หรือถึงอริยมรรคมีองค์ ๘ ได้ ถ้าไม่มีความเข้าใจสิ่งที่กำลังมีขณะนี้แล้วเห็นโทษของอกุศล และเห็นประโยชน์ของกุศลแม้เพียงเล็กน้อย แม้เพียงเล็กน้อยเมื่อวานนี้เป็นคนดี หรือเปล่า เป็น หรือไม่เป็น
ผู้ฟัง เป็นบ้างไม่เป็นบ้าง
ท่านอาจารย์ รู้ใช่ไหมตอนไม่ดีว่าไม่ดี พอรู้แล้วคิดจะแก้ไข คิดจะดีไหม หรือยังไม่คิดอยู่นั่นเอง แต่แค่คิดจำได้ไหมว่า เมื่อวานนี้ไม่ดีตอนไหนเพื่อวันนี้เมื่อถึงอย่างนั้น คล้ายๆ ตอนนั้นก็จะได้ดี เห็นไหมคิด หรือเปล่าเพียงเท่านี้ไม่ต้องไปถึงรู้แจ้งอริยสัจจธรรมใดๆ ทั้งสิ้นเพราะเพียงแต่ความจริงของธาตุรู้ซึ่งสืบต่อมาสะสมมา และไม่มีทางที่จะเปลี่ยนแปลงได้นอกจากความเข้าใจที่จะค่อยๆ ทำให้อกุศลนั้นละคลายลงไปเล็กๆ น้อยๆ อย่างนี้ เป็นไปได้ไหมถ้าเข้าใจ บางคนแม้ขอโทษก็ขอโทษไม่ได้แล้วจะละกิเลสอะไรได้ แค่ขอโทษคำสองคำไม่ได้ เพราะฉะนั้นอย่าหวังที่จะไปรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ไม่มีทางเป็นไปได้เลย ตราบใดที่ไม่รู้จักโลกภายในคือ ธาตุซึ่งเป็นธาตุรู้ และสภาพรู้ซึ่งถ้าไม่มีโลกภายใน โลกภายนอกที่ปั่นป่วนอย่างนี้มีไม่ได้เลย แต่ทั้งหมดก็มาจากจิตเจตสิกซึ่งไม่ใช่เราไม่ใช่ของเราก็ยังอดไปทำอะไรๆ ให้เพิ่มอกุศลขึ้นมาไม่ได้ทั้งๆ ที่ไม่ใช่เราก็ลองคิดดูว่า ความไม่รู้มากมายสักแค่ไหน
เพราะฉะนั้นการฟังธรรมเพื่อเข้าใจ เพื่อทำดี เพราะเหตุว่า ถ้าไม่เห็นอกุศลว่าเป็นอกุศล ไม่ละไม่เลิก แต่ว่าถ้ารู้จริงๆ และมีการที่จะแม้ความดีเพียงเล็กน้อยขณะนั้นเกิดอกุศลก็ไม่เกิด ก็จะเป็นผู้ที่สามารถเข้าใจธรรมที่ได้ฟังเพราะเหตุว่า ถ้าในขณะนั้นเต็มไปด้วยอกุศลแล้วอกุศลนั้นๆ ที่มีมากจะเข้าใจธรรมได้ หรือ
ด้วยเหตุนี้ "เพราะอะไรฟังแล้วก็ไม่เข้าใจ" "เพราะอะไรไม่ประจักษ์การเกิดดับ" ก็มีคำตอบแล้วใช่ไหมเพราะมากด้วยอกุศล ถ้าเข้าใจอย่างนี้เรื่อยๆ จะเป็นคนดีขึ้น และไม่ประมาทด้วยเพราะว่า ดีขึ้น และฟังธรรมซึ่งรู้ว่า ถ้าไม่ดีขึ้นฟังธรรมไม่เข้าใจขึ้น เพราะฉะนั้นเมื่อดีขึ้นก็ฟังธรรมเข้าใจขึ้นทั้ง ๒ อย่าง ดีแต่ก็ขาดการฟังธรรมไม่ได้เพราะว่าพระธรรมจะช่วยทำให้ดีขึ้น อิสสา หรือริษยาขอเชิญคุณอรรณพทบทวนอีกครั้ง
อ.อรรณพ กำลังสนทนาถึงสภาพธรรมที่มีจริงๆ
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 841
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 842
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 843
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 844
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 845
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 846
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 847
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 848
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 849
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 850
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 851
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 852
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 853
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 854
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 855
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 856
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 857
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 858
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 859
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 860
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 861
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 862
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 863
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 864
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 865
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 866
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 867
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 868
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 869
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 870
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 871
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 872
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 873
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 874
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 875
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 876
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 877
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 878
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 879
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 880
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 881
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 882
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 883
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 884
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 885
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 886
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 887
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 888
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 889
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 890
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 891
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 892
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 893
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 894
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 895
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 896
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 897
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 898
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 899
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 900