พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 856


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๘๕๖

    ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

    วันอาทิตย์ที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๖


    อ.ธิดารัตน์ ข้อสุดท้ายเรื่องตระหนี่ธรรม "ธรรมมัจฉริยะ"

    ท่านอาจารย์ ก็อย่างที่คุณอรรณพกล่าวถึง ธรรมเป็นสิ่งที่ละเอียด ลึกซึ้ง เรารู้ ไม่ให้คนอื่นรู้ ดีไหม ตระหนี่ไหม ถ้ามีความรู้เท่าไหร่ ก็ควรจะเปิดเผย และให้คนอื่นได้เข้าใจจริงๆ อย่างนั้น เพราะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งไม่ได้เป็นโทษเลย แต่ถ้าบุคคลนั้นเป็นคนเลว และก็จะทำให้พระธรรมบิดเบือน ไม่ต้องแสดงสิ่งที่ลึกซึ้งละเอียด เพราะว่าเขาไปใช้ในทางที่ผิด เป็นเรื่องที่ละเอียดจริงๆ แม้แต่ความตระหนี่ในธรรม เราอาจจะสิ้นชีวิตเย็นนี้ก็ได้ และสิ่งที่เรารู้เราเข้าใจไม่ให้คนอื่นได้รับสืบทอดต่อไป หรือ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง แต่ถ้าบุคคลนั้นเป็นคนที่ต้องการเพื่อตนเองจะได้รับลาภยศ หรือบิดเบือนไม่ตรงต่อพระธรรม ซึ่งถ้าบุคคลนั้นได้รับไป พระธรรมก็จะเสื่อมเสีย อย่างนั้นก็ไม่ควรที่จะทำให้เขาได้เข้าใจ

    อ.ธิดารัตน์ ถ้ากล่าวถึงธรรม ผู้ที่จะอธิบายธรรมให้ผู้อื่นฟัง ผู้นั้นก็ต้องเป็นผู้มีปัญญา และก็รู้ด้วยว่าสมควร หรือไม่สมควร

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่มัจฉริยะ ไม่ใช่ความตระหนี่ แต่เพื่อประโยชน์จริงๆ

    อ.อรรณพ เมื่อท่านอาจารย์กล่าวก็นึกถึงข้อความที่ท่านเตือนไว้ในคำสอนต่างๆ แม้ในเรื่องธรรมหลอกลวง "วญจกธรรม" ท่านก็แสดงเรื่องความตระหนี่ว่าลวงอย่างไร อย่างเช่นตระหนี่ธรรมที่เป็นความหวงที่ไม่อยากให้คนอื่นมีความรู้ในทางธรรมเหมือนตัวเอง เพราะฉะนั้นความตระหนี่ธรรมอาจจะลวงก็ได้ ลวงเหมือนเป็นผู้ที่รักษาพระธรรม ไม่ให้พระธรรมไปตกอยู่ในคนที่ไม่เหมาะสม แต่จริงๆ ไม่ใช่ เพราะขณะนั้นเป็นความตระหนี่ความรู้ กราบเรียนท่านอาจารย์ แม้ว่าเรื่องความรู้ทางโลกก็รวมอยู่ด้วย

    ท่านอาจารย์ ทุกอย่างเลย ต้องรู้ว่าขณะนั้นเป็นกุศลจิต หรือเป็นอกุศลจิต ถ้าเพื่อประโยชน์แล้วเป็นกุศล ต้องตามความจริงเพราะสภาพธรรมนั้นละเอียดลึกซึ้ง ยากที่จะเข้าใจถ้าไม่ใช่ปัญญาก็ไม่สามารถที่จะเข้าใจได้จริงๆ เช่น โสภณเจตสิก ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่ดีงามที่เกิดกับจิต ที่ทรงตรัสไว้ประการที่หนึ่งก็คือ ศรัทธา เห็นไหม และทั้งๆ ที่ในขณะที่กำลังเกิดกุศล ลักษณะของศรัทธาก็ไม่ได้ปรากฎความผ่องใสเพราะเหตุว่ายังไม่มีกำลัง เช่นเดี๋ยวนี้ ใครสามารถที่จะรู้ลักษณะของศรัทธาได้ แต่ในขณะที่ให้ใครเพื่อประโยชน์ของเขา และประโยชน์ของคนอื่น อย่างสูตรอาหาร หรืออะไรต่างๆ ไม่ใช่มีว่าเฉพาะวงศาคณาญาติ หรือตัวเรา หรือบริษัทเราเท่านั้น แต่ถ้าทุกบริษัทดี และเก่งขึ้นช่วยกันก็จะนำประโยชน์มาให้ทั้งต่อตนเอง และบุคคลอื่น แต่ถ้าจำกัดวงแคบก็แสดงให้เห็นว่าต่างกันแล้ว ในขณะที่เราให้คนอื่นทุกอย่าง ให้ความดี ให้ความเข้าใจ ให้ความอดทน ให้ความจริงใจ หรือให้ความมั่นคงเราก็ไม่หวั่นไหวเลย เขาจะดีเมื่อไหร่ เขาจะเข้าใจธรรมเมื่อไหร่ ขณะนั้นจะเห็นสภาพความผ่องใสของจิต ความเบิกบานที่ได้รู้ว่าเราได้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์กับคนอื่น และประโยชน์นั้นก็เป็นประโยชน์อย่างยิ่งด้วยเป็นประโยชน์สำหรับจิตใจ เป็นประโยชน์ของชาติหน้า และชาติต่อๆ ไปด้วย ประโยชน์นั้นเป็นทั้งชาตินี้ และชาติต่อไป ถ้าเป็นผู้ที่เห็นประโยชน์ไม่ใช่เห็นแก่ตัว สภาพความผ่องใสลักษณะนั้นที่ไม่มีอกุศลใดๆ เจือปนก็จะปรากฎ

    แต่ขณะใดก็ตามที่มีสภาพธรรมที่เป็นอกุศลแทรก ขณะนั้นก็จะรู้ได้เลยว่าความผ่องใสแม้มีชั่วขณะเล็กๆ น้อยๆ ที่เป็นกุศลก็ไม่ปรากฎ เพราะเหตุว่าอกุศลไม่ใช่สภาพธรรมที่ผ่องใส เพราะฉะนั้นก็ไม่สามารถที่จะทำให้ลักษณะที่ผ่องใสนั้นปรากฎความผ่องใสได้เท่ากับเวลาที่มีจิตที่เป็นกุศลจริงๆ และก็เพื่อประโยชน์ของคนอื่นจริงๆ แม้ทำประโยชน์ให้ใครเพียงนิดหน่อยก็ดีใจ ขณะนั้นลักษณะนั้นก็ปรากฎได้

    อ.อรรณพ ก็เตือนมาก เพราะว่าอย่างความรู้แม้ในวิชาการใดๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง ทำขนม หรือการดำเนินธุรกิจต่างๆ มาจนกระทั่งความรู้สูงสุดคือความรู้ในทางธรรม แม้ความรู้ทางโลกที่ท่านอาจารย์กล่าว ฟังแล้วก็คิดว่าจะเกิดประโยชน์มากๆ ถ้าคลายจากความตระหนี่ และกระจายความรู้แม้ในทางโลกให้กับผู้อื่นได้รู้ได้ทราบ ซึ่งก็เป็นที่น่าอนุโมทนา เมื่อมีความรู้อะไรแล้วบางท่าน บางหน่วยงาน เขาก็ให้ความรู้ ให้เป็นสาธารณะประโยชน์ ใครจะไปขยายธุรกิจทำมาหากินอะไร ก็นำไปทำได้ หรือบางที่ก็ยังแจกพวกวัสดุตัวอย่าง หรือสิ่งต่างๆ ให้เป็นประโยชน์แก่สาธารณะก็เป็นจิตใจที่ดีงาม ยิ่งเป็นความรู้ในทางธรรม คุณความดี ก็ยิ่งควรที่จะเผยแพร่ไม่น่าที่จะต้องหวงไว้เลย เพราะว่าถ้าทุกคนยิ่งได้รับความดีเข้าไปในจิตก็ยิ่งจะเป็นประโยชน์

    อ.ธิดารัตน์ ก็คงต้องค่อยๆ ยอมรับว่าถ้ายังไม่เป็นพระโสดาบัน ไม่ว่าจะเป็นทั้งอิสสา และมัจฉริยะก็ต้องมี

    ท่านอาจารย์ ไม่เป็นพระโสดาบัน ก็มีมัจฉริยะมากๆ มีอิสสามากๆ หรือว่ายังไม่เป็นพระโสดาบันก็เห็นโทษของอกุศลทุกประเภท ก็รู้ว่าถ้าขณะใดกุศลจิตไม่เกิดขณะนั้นไม่ใช่เฉพาะโปรยธุลี แต่หนักหนายิ่งกว่าธุลีลงในจิต

    อ.กุลวิไล การที่เราจะมีความเข้าใจ และการที่จะวางเฉยกับโลกภายนอกที่วุ่นวาย อยู่แต่โลกภายในเป็นสิ่งที่ควรจะรักษามากกว่าโลกภายนอก

    ท่านอาจารย์ แต่ธรรมวางเฉยไม่ได้เลย นั่นคือธรรม แต่ไม่ใช่วางเฉยจริงๆ วางเฉยจริงๆ ต้องเป็นปัญญาที่ขณะนี้กำลังเข้าใจลักษณะของธรรม เพราะฉะนั้นขณะที่กำลังเข้าใจลักษณะของธรรม ขณะนั้นเมื่อมีความมั่นคงว่าเป็นธรรมจึงสามารถที่จะวางเฉยได้ แต่ถ้ายังไม่มีความเข้าใจเลยก็เป็นเพียงแค่คิด และเป็นธรรมวางเฉย แต่ความจริงไม่ใช่สภาพธรรมที่สละละความติดข้องจริงๆ เพราะฉะนั้นแต่ละคำก็เป็นสภาพธรรมที่ละเอียด และลึกซึ้ง แม้แต่คำว่า"เข้าใจ" ทุกคนที่ฟังภาษาไทย และคนพูดก็พูดภาษาไทย คนฟังก็เป็นคนที่ฟังภาษาไทยเข้าใจเป็นคนไทยด้วยกัน แต่เข้าใจคำที่พูด หรือไม่ แม้แต่ที่แคว้นต่างๆ ที่พระผู้มีพระภาคเสด็จไปแสดงพระธรรม คนฟังก็ใช้ภาษานั้น พระผู้มีพระภาคก็ตรัสในภาษานั้นแต่คนฟังเข้าใจ หรือไม่ หรือว่าเข้าใจแค่ไหน หรือว่าเข้าใจจริงๆ หรือไม่ เข้าใจจริงๆ คืออยู่ในใจไม่ลืม เช่นคำว่า "ทุกอย่างเป็นธรรม" มีใครปฏิเสธบ้างเมื่อฟังแล้ว ไม่มีใช่ไหม ก็เพียงพูดตามว่าทุกอย่างเป็นธรรม แต่ว่าเข้าใจจนกระทั่งขณะนี้สิ่งที่มีเป็นธรรม หรือไม่ เพราะฉะนั้นความเข้าใจนี้ก็มีหลายระดับ เพราะฉะนั้นก็เป็นผู้ที่รู้ตามความเป็นจริงว่าเข้าใจจริงๆ จึงสามารถที่จะละวางการที่เคยยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ และไม่ใช่เพียงแต่โดยขั้นการฟังเท่านั้น เพราะเหตุว่าขณะนี้กำลังพูดถึง"เห็น" แล้ว"เห็น"ก็มี เข้าใจ"เห็น" หรือไม่ หรือว่าเข้าใจเรื่อง"เห็น"ซึ่งกำลังเกิดดับ แล้วก็"เห็น"นี่ก็แสดงให้เห็นว่าแม้แต่จะใช้คำว่าเข้าใจก็มีหลายระดับขั้น

    อ.กุลวิไล ท่านอาจารย์กล่าวถึงว่าความที่ริษยาสมบัติของผู้อื่น เพราะจริงๆ แล้วก็ทำอะไรกับกุศลกรรมของบุคคลนั้นไม่ได้เลย เพราะว่าการได้ลาภ ยศ สรรเสริญของบุคคลอื่นก็ต้องมาจากผลของกุศลกรรม ก็เป็นความจริง เพราะว่าถึงเราจะมีความไม่พอใจ และก็ริษยาเขาอย่างไรเขาก็ยังได้รับในสิ่งที่เขาได้จากผลของกุศลกรรมแต่เราเองมีอกุศลจิต

    ท่านอาจารย์ ผู้อื่นได้สมบัติ ได้ชื่อเสียง ได้อะไรก็ตามแต่ ได้ลาภ ได้ยศ โลกภายในขณะนั้นเป็นอะไร เห็นไหมว่าไม่เคยคิดที่จะสนใจในโลกภายในแต่ละขณะซึ่งกำลังรับรู้สิ่งที่เราเรียกว่าโลกภายนอกเพราะคิด ถ้าไม่คิดจะไม่มีโลกภายนอกเลย เพราะฉะนั้นทั้งโลกภายใน และภายนอกก็เป็นธรรม แต่ว่าโลกภายในคือจิต และเจตสิกซึ่งเป็นธาตุรู้ โลกภายนอกก็เป็นสิ่งที่จิตกำลังรู้ ทางตาเห็นโลกภายนอกก็เป็นคน เป็นเรื่องราว เป็นเหตุการณ์ต่างๆ แต่ขณะนั้นเมื่อเห็นแล้ว โลกภายในเป็นอะไรก็ไม่รู้เลย เพราะฉะนั้นทุกคนรู้จักเพียงโลกภายนอกแต่ว่าไม่ได้รู้จักโลกภายใน

    เพราะฉะนั้น การฟังธรรมก็เพื่อให้เห็นประโยชน์ว่าแล้วอะไรสำคัญ โลกภายนอกสำคัญ หรือ หรือว่าโลกภายในสำคัญ แล้วแต่ว่าอวิชชาตอบ หรือว่าปัญญาตอบ ซึ่งห้ามกันไม่ได้เลย แม้ว่าจะทรงแสดงโดยละเอียดอย่างไรว่าถ้าไม่มีจิต เจตสิก อะไรๆ ก็ไม่มี ก็ยังไม่เห็นว่าที่วุ่นวายกันเพราะจิต เจตสิกนี้แหละใ่ช่ไหม ที่ลำบากที่เดือดร้อน หรือจะใช้คำง่ายๆ ว่า อยู่ไม่สุขเป็นภาษาไทย เพราะอะไรที่อยู่ไม่สุข เพราะกิเลสใช่ไหม ก็ไม่รู้ตัวว่าที่กำลังเป็นอย่างนี้มีกิเลส และกำลังอยู่ไม่สุขด้วยจนกว่าจะได้ฟังธรรม และมีความเข้าใจขึ้น เพราะฉะนั้นโลกภายในสำคัญที่สุดไม่ว่าจะเกิดในภพไหนภูมิไหน

    ผู้ฟัง เรียนถามอาจารย์เกี่ยวกับเรื่องมัจฉริยะ สมมติว่าเราเคยซื้อเสื้อมาตัวหนึ่ง และเราก็ให้เสื้อตัวนี้แก่เพื่อนไป ตอนนั้นสภาพธรรมของเราก็คือว่าเสื้อตัวนี้เราว่าเพื่อนเราใส่ต้องสวยแน่ๆ ซึ่งเราก็ให้ไป แล้วพออีกซัก ๒-๓ วัน และอาทิตย์หนึ่งก็สงสัยว่าทำไมเขาไม่ใส่ เราก็รู้สึกเสียดาย กราบเรียนถามท่านอาจารย์ว่าสภาพธรรมอย่างนี้ ตัวเราเองจะมีสภาพธรรมเป็นอย่างไรในกรณีที่เราให้เขาไปแล้ว และมัจฉริยะได้เกิดขึ้นตามหลัง

    ท่านอาจารย์ ไม่มีกฎเกณฑ์ และอย่าคิดที่จะวางกฎเกณฑ์ใดๆ ทั้งสิ้น แต่ว่าสามารถจะเข้าใจสภาพธรรมในขณะนั้นว่าเป็นกุศล หรืออกุศล และรู้ว่าที่ให้แล้วนี้เสียดายว่าเพราะยังมีกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้นที่สำคัญที่สุดคือตราบใดที่ยังมีกิเลสก็จะมีอาการต่างๆ ของกิเลสเกิดขึ้น อาจจะคิดได้นะว่าต่อไปจะไม่ทำ นี่ก็แค่คิด แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าจะทำอีก หรือไม่ตราบใดที่ยังมีกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น ทางที่ดีที่สุดคือเข้าใจธรรม และทำความดีเพราะว่าถ้ามีอกุศลโปรยธุลีลงในจิตทั้งวัน แล้วจะไปเข้าใจธรรมก็เป็นเรื่องยาก ฟังธรรมนี้ก็ละเอียดมาก ก็คงจะมีอีกหลายคนที่คิด และเคยถามว่าถ้าอย่างนั้นเราก็ไปขอสมบัติพระโสดาบัน เพราะท่านไม่มีมัจฉริยะ ไม่มีความตระหนี่ ไม่มีความริษยาด้วย แต่อย่าลืมว่าท่านยังมีโลภะ หรือไม่ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ท่านให้คือสิ่งที่สมควรเพราะท่านรู้ว่าสมบัติชั่วคราว และยิ่งมีสมบัติมากจะใช้อย่างไรจึงจะหมด และวันหนึ่งๆ ก็แค่เห็น ถ้าไม่เห็น มี หรือไม่ หายไปแล้วก็ได้ สมบัติถูกขโมยไป หรือเกิดอะไรขึ้นก็ได้ทั้งนั้น เพราะฉะนั้นเมื่อท่านมีความเข้าใจธรรมท่านก็จะอยู่ในทางที่แม้ไม่มีมัจฉริยะแต่เมื่อยังมีโลภะท่านก็ไม่ให้ในสิ่งที่ไม่สมควร แต่ถ้าเป็นสิ่งสมควรสมบัติของท่านคือสมบัติของสงฆ์ไม่ว่าสิ่งที่เป็นประโยชน์นั้นจะเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตาม ไม่มีความตระหนี่ในสิ่งที่สมควร ก็คงจะเข้าใจชัดเจนเพราะเดี๋ยวจะเข้าใจว่าไม่มีมัจฉริยะก็จะไปขอสมบัติพระโสดาบันกัน

    อ.ธิดารัตน์ แต่ขณะที่มีมัจฉริยะถึงแม้ว่ามีอยู่ กิเลสก็มีมาก มัจฉริยะก็ไม่ได้เป็นแค่เพียงสังโยชน์ แต่ยังเป็นอกุศลธรรมประเภทอื่นๆ อีก และการที่จะรู้ลักษณะของธรรมเหล่านี้ตามความเป็นจริงก็ต้องอาศัยการฟังธรรมอย่างเดียวเท่านั้นใช่ หรือไม่ และท่านอาจารย์ก็ได้กล่าวว่าปัญญา เป็นต้น ที่จะทำให้รู้ลักษณะของอกุศลธรรม และจริงๆ ถึงแม้เรียนก็เข้าใจเรื่อง แต่เมื่อเวลาที่สภาพธรรมนั้นเกิดจริงๆ ก็ไม่ใช่จะรู้ได้ง่ายๆ

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง เป็นสิ่งที่ลึกซึ้ง เดี๋ยวนี้ทุกคนมีจิตใช่ไหม อยู่ไหน เห็นไหมว่ารู้แต่ว่ามี เพราะฉะนั้นจึงต้องฟังจนกว่าจะเข้าใจ ไม่ได้อยู่ที่อื่น ไม่ได้มีรอคอยไว้ "เห็น"นี่แหละคือจิตเกิดขึ้นเห็น "ได้ยิน"นี่แหละคือจิตเกิดขึ้นได้ยินพร้อมเจตสิก "คิดนึก"ก็จิตนั่นแหละ และจิตที่เป็นกุศลคิด หรือจิตที่เป็นอกุศลคิด ก็เป็นเรื่องที่ควรจะเห็นความสำคัญที่สุดของโลกภายใน ซึ่งถ้าไม่มีพระธรรมที่ทรงแสดงก็ไม่มีโอกาสที่จะได้รู้ความจริง ไม่มีโอกาสที่จะขัดเกลากิเลส ไม่มีโอกาสที่จะรู้ว่าถ้าไม่มีความรู้ขณะนี้ต่อไปความไม่รู้ก็เพิ่มขึ้น ชาตินี้แค่นี้ยังไม่รู้ในสิ่งที่กำลังปรากฎตามความเป็นจริงแล้วก็สะสมอกุศลมากมาย ชาติหน้าเป็นอย่างไร คิดได้ใช่ไหม ก็เพิ่มพูนอกุศลไปอีก แล้วถ้าไม่มีโอกาสได้ฟังพระธรรม ไปไหน ไม่มีใครรู้เลยแต่ไปแน่ อยู่ในโลกนี้สั้นมากประมาทไม่ได้เลย พระปัจฉิมวาจาก็คือว่า ไม่ประมาทเพราะทุกสิ่งทุกอย่างสั้นมาก ชั่วคราวมาก และสิ่งที่เป็นความเห็นถูกความเข้าใจถูกเท่านี้ไม่พอที่จะละกิเลส แต่ก็ได้มีศรัทธาในการฟังที่จะสะสมต่อไป

    อ.วิชัย ขอกราบเรียนถามท่านอาจารย์ ถ้าศึกษาข้อความในพระไตรปิฏกท่านจะกล่าวถึงอิทธิบาทที่อยู่ในส่วนที่เป็นโพธิปักขิยธรรม เป็นธรรมที่จะให้ถึงการตรัสรู้ก็เป็นสิ่งที่ยากแก่การที่จะเป็นการศึกษาในเบื้องต้น ดังนั้นในการที่จะเข้าใจอิทธิบาท ๔ ซึ่งถ้ากล่าวถึงธรรมก็คือสิ่งทีมีจริงๆ ดังนั้นการเริ่มที่จะมีความเข้าใจถึงธรรมที่เป็นอิทธิบาท หรือว่าเป็นธรรมที่เป็นบาท หรือเป็นที่ตั้งให้ถึงความสำเร็จคืออย่างไร

    ท่านอาจารย์ ทุกคนอยู่ที่นี่ต้องการอะไร ต้องการความสำเร็จใช่ไหม ถ้าใช้หัวข้อว่า "อิทฺธิปาท" (อิด-ทิ-ปา-ทะ) หรืออิทธิบาท อยู่ดีๆ ความสำเร็จเกิดได้ไหม ไม่มีทางจะเป็นไปได้เลย เพราะฉะนั้นก่อนอื่นก็คือว่าต้องการอะไรเป็นความสำเร็จในชีวิตที่เกิดมา ต้องการเข้าใจสิ่งที่กำลังมีในขณะนี้ หรือไม่ เพราะเหตุว่ามีจริงๆ แต่สิ่งที่มีจริงๆ ก็เกิด และก็ดับไป ไม่มีใครสนใจที่จะต้องเข้าใจเลย ก็มีชีวิตไปวันๆ หนึ่งโดยที่ว่าไม่รู้ว่าแท้ที่จริงสิ่งที่มีสามารถที่จะเข้าใจได้จนถึงที่สุด นี้เป็นความสำเร็จของแต่ละคนที่กำลังฟังในขณะนี้ หรือไม่ คือก่อนอื่นต้องทราบว่าจุดประสงค์แม้ของการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น แม้แต่การฟังธรรม ไม่ใช่ฟังโดยไม่มีจุดประสงค์ใดๆ เลยทั้งสิ้นเพียงแต่จะฟัง แต่จุดประสงค์ที่แท้จริงต้องเป็นผู้ที่เห็นว่าขณะนี้มีสิ่งที่ปรากฎ และหมดไปโดยที่ไม่เคยรู้ไม่เคยเข้าใจความจริงเลยแล้วก็จากโลกนี้ไปแน่นอนที่สุด ก็ยังคงไม่รู้อะไรทั้งสิ้น ซึ่งเมื่อมีโอกาสที่จะได้ฟัง ได้เข้าใจ ได้รู้ ก็แล้วแต่บุคคลนั้นว่ามีความคิดที่จะสำเร็จในเรื่องใด สำเร็จในการที่จะเข้าใจความจริงของสิ่งที่ปรากฏ หรือว่าเพียงฟังเฉยๆ

    เพราะฉะนั้นนี้เป็นจุดเริ่มของฉันทิทธิบาท คืออิทธิบาทที่เบื้องต้นที่จะทำให้สำเร็จคือฉันทะ ความพอใจที่จะกระทำ เราไม่ได้พอใจอย่างอื่นเลยแต่ว่ามีโอกาสที่ตอนเป็นเด็กก็อาจจะผ่านหูได้ยินได้ฟังธรรม แต่ธรรมคืออะไร ก็ผ่านไปเรื่อยๆ และฟังธรรมก็ผ่านไปอีก ไม่รู้ว่าธรรมคืออะไร จนกระทั่งมีโอกาสที่จะรู้ว่าแท้ที่จริงคำว่า "ธรรม" คืออะไร และสามารถที่จะเข้าใจได้ โดยที่ว่าไม่ใช่คิดเอง ถ้าคิดเองไม่มีใครคิดได้ เพราะโดยมากก็จะคิดถึงเรื่องอื่นๆ เกือบทั้งนั้นเลย ไม่ได้คิดถึงสิ่งที่กำลังปรากฎจริงๆ ในขณะนี้ว่าสิ่งนี้มีจริงแน่นอน อย่างอื่นขณะนั้นไม่มี เช่นในขณะที่กำลังเห็น เห็นมีแน่นอนอย่างอื่นยังไม่มี และเวลาที่เสียงปรากฎ เสียงมีจริงแน่นอน สิ่งที่ปรากฎทางตาหายไปแล้วเพราะไม่ได้ปรากฎในขณะที่เสียงปรากฎ นี้คือความคิดของผู้ที่เริ่มที่จะมีความสำเร็จที่ตั้งไว้ที่เกิดมาแล้วก็ขอสำเร็จในการเข้าใจความจริงของสิ่งที่มีจริงๆ ในขณะนี้

    เพราะฉะนั้นแต่ละคำไม่ใช่เพียงคำที่เราพูดแล้วก็จำได้ อาจจะใช้คำว่าพูดพร่ำเพรื่อ ถ้าเราพูดบ่อยๆ แต่เราไม่เข้าใจอะไรเลย เพราะบางคนก็ใช้คำว่าทำอะไรก็ต้องมีอิทธิบาทแสดงว่าไม่เข้าใจแล้วใช่ไหมว่าจุดประสงค์ในการทำนั่นแหละคืออะไร เพียงทำอะไรก็ต้องมีอิทธิบาท และความสำเร็จเพียงเท่านั้น หรือที่เป็นอิทธิจริงๆ ความสำเร็จจริงๆ ซึ่งต้องอาศัยบาท (ปาทะ) ตั้งแต่เริ่มต้น คือต้องเป็นผู้ที่ตรง และก็จริง และรู้ว่าแม้แต่การฟังในแต่ละขณะไม่ใช่แค่เพียงฟัง หรือคิดว่าเราฟังคนนั้น หรือเราฟังคนนี้ แต่ฟังสิ่งที่มีจริงๆ ซึ่งกำลังปรากฎ ซึ่งสามารถที่จะเข้าใจได้ เพราะฉะนั้นแม้แต่ความสำเร็จในการที่จะเข้าใจสิ่งที่มีจริงที่กำลังปรากฎในขณะนี้ก็ต้องเริ่มตั้งแต่การฟัง ฟังให้เข้าใจสิ่งที่กำลังฟัง สิ่งที่กำลังฟังคือสิ่งที่มีจริงๆ ในขณะนี้

    อ.วิชัย ไม่ใช่เพียงความพอใจเท่านั้น

    ท่านอาจารย์ พอใจในอะไร เห็นไหมว่าต้องเป็นผู้ที่ละเอียดมาก จะพูดอะไรก็รู้จักคำที่พูดจริงๆ ว่าถ้าพูดคำว่าพอใจ พอใจในอะไร

    อ.วิชัย พอใจที่จะมาฟังธรรม

    ท่านอาจารย์ มาฟังทำไม ต้องการอะไรเป็นความสำเร็จ หรือว่าวันนี้ไม่รู้ว่าจะไปไหนก็มาฟังธรรมอย่างนั้น หรือ

    อ.วิชัย ก็เป็นความละเอียดในจิตใจของแต่ละบุคคล

    ท่านอาจารย์ ต้องเป็นผู้ละเอียดที่รู้ว่าการฟังเพื่ออะไร เพราะว่ามีค่าจริงๆ พิจารณาถึงสิ่งที่ฟังว่าไร้สาระมาก หรือสิ่งที่ได้ฟังมีสาระมาก นี้ก็ต่างกัน ขอยกตัวอย่างคำหนึ่ง ซึ่งจะแสดงให้เห็นความต่างของผู้ที่เข้าใจธรรมกับผู้ที่ไม่รู้จักธรรม ทุกคนคงเคยได้ยินคำว่า "ช่วยชาติให้พ้นภัย" เคยได้ยินไหม คิดอย่างไรช่วยชาติให้พ้นภัย ดูเหมือนกับเรื่องที่ไม่ใช่ธรรม แต่ว่าแต่ละคำที่พูด พูดด้วยความเข้าใจจริงๆ หรือว่าพูดคำที่ไม่รู้จัก "ช่วยชาติให้พ้นภัย" พูดคำที่ไม่รู้จัก หรือว่าพูดด้วยความเข้าใจจริงๆ ชาติ (ชา-ติ) คือการเกิด ไม่ผิดแน่ใช่ไหม ชา-ติ คือการเกิด ทุกคนขณะนี้เกิดเป็นอะไร สัตว์โลกเป็นมนุษย์ ดังนั้นช่วยชาติ (การเกิดเป็นมนุษย์) ให้พ้นภัยจากนรก


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 193
    4 ม.ค. 2567

    ซีดีแนะนำ