พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 860
ตอนที่ ๘๖๐
ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
ท่านอาจารย์ สิ่งที่ปรากฎเป็นสี เป็นเสียง เป็นกลิ่น เป็นรส ไม่ใช่จิต
อ.คำปั่น การฟังรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องจิต เป็นสิ่งที่สำคัญ เวลาได้ยินได้ฟังก็เพื่อความเข้าใจถูก ต้องตามความเป็นจริงว่าเป็นธรรมที่เกิดขึ้น ทำกิจหน้าที่ ซึ่งได้ยินชื่อเป็นภาษาบาลี เช่น สัมปฏิจฉันน สันตีรณ โวฏฐัพพน ชวน เป็นต้น ทั้งหมดนี้เป็นการแสดงถึงความจริงของธรรมที่เกิดขึ้น ทำกิจหน้าที่ของตนของตน ไม่มีเราแทรกอยู่ในธรรมเหล่านั้นเลย
ท่านอาจารย์ เพราะเหตุใดเราจึงจำชื่ออื่นๆ ได้ เหตุใดจึงจำคำว่า "ซอฟต์แวร์" ได้ และ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ ถึง ๗ ชื่อ หากพิจารณาคำว่า "จักขุวิญญาณ" ก็ง่ายมาก "จักขุ" แปลว่าอะไร แปลว่าตา ที่ก็ใช้กันคำนี้บ่อยๆ คำว่า "วิญญาณ" ก็คือ ธาตุรู้โดยอาศัยตา ถ้าไม่มีตาก็ไม่มีการเห็น ไม่มีธาตุรู้ หรือสิ่งที่กำลังปรากฎให้เห็น โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ ๕ ชื่อนี้ไม่ยากเลย แต่สัมปฏิจฉันน วันจันทร์ไม่ยาก วันอังคารไม่ยาก วันพุธไม่ยาก มีวันไหนยาก แค่อีก ๓ สัมปฏิจฉันน สันตีรณ โวฏฐัพพน เท่านั้นเอง และการจำชื่อใหม่ๆ อื่นเหตุใดจำได้ แต่ชื่ออย่างนี้ และเป็นสิ่งที่มีจริง ได้ยินบ่อยๆ ด้วย "สัมปฏิจฉันน" ขอเชิญคุณคำปั่นให้คำแปล
อ.คำปั่น สัมปฏิจฉันน เป็นจิตที่เกิดต่อจากจิตเห็น จิตได้ยิน เป็นต้น มาจากคำว่า "สัม" แปลว่าพร้อม และคำว่า "ปฏิจฉันน" แปลว่ารับเฉพาะ ซึ่งเมื่อแปลรวมกันก็หมายถึงจิตที่ทำหน้าที่ รับพร้อมเฉพาะต่อจากจิตที่เกิดก่อนนั้น ซึ่งนี้ก็เป็นการเกิดขึ้นเป็นไปของสภาพจิตที่เป็นไปโดยลำดับด้วยดีไม่สลับลำดับกัน
ท่านอาจารย์ เมื่อได้ฟังคำแปลภาษาบาลี ยิ่งเข้าใจชัดว่าไม่มีคำไหนที่จะทำให้เข้าใจคำนั้นได้ชัดเจน กำชับความหมาย ไม่เป็นอย่างอื่น
อ.คำปั่น จิตเกิดขึ้นก็ต้องรู้สิ่งที่จิตรู้ ก็คือรู้อารมณ์ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ละเอียดมากเพราะกล่าวถึงสิ่งที่มีจริงๆ ในชีวิตประจำวันซึ่งไม่เคยรู้มาก่อนว่าเป็นธรรม จนกว่าจะได้ฟังความจริงที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง
ท่านอาจารย์ วันนี้จำชื่อเดียวพอหรือไม่ แค่คำเดียว "สัมปัฏิจฉันน" ดูซิว่าใครจะลืม เราพบคนใหม่ มีชื่อใหม่ อาจจะเป็นชาวต่างประเทศ ชื่อต่างๆ หลากหลาย เป็นชาวอาหรับบ้างหรืออะไรบ้างก็แล้วแต่ ยังจำได้ แล้วสัมปัฏิจฉนน ยากอะไร ใช่หรือไม่ เพียงชื่อเดียว อาทิตย์หน้าก็อีกชื่อหนึ่ง อาทิตย์หน้าก็อีกชื่อหนึ่งก็ครบ โดยไม่ยากเลย เพราะฉะนั้นคนที่ปฏิเสธจะไม่จำ บอกว่ายาก เพราะอะไร เพราะไม่มีศรัทธาที่จะรู้ความหมายด้วย แล้วก็รู้ว่าคำนั้นก็คือ ไม่ว่าจะชื่ออะไรก็หมายความถึงจิตนี้
อ.คำปั่น ท่านอาจารย์กล่าวเป็นข้อคิดที่ดี สำหรับผู้ที่เห็นประโยชน์ แน่นอนว่าไม่มีใครที่รู้มาตั้งแต่เกิด แต่เมื่อได้ยินได้ฟัง แล้วยังไม่รู้ในส่วนใด ก็มีศรัทธาที่จะฟังเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง มั่นคงยิ่งขึ้น ซึ่งท่านอาจารย์ได้กล่าวข้อความหนึ่งซึ่งควรพิจารณาว่า "เมื่อมีบุคคลผู้ทรงดับกิเลสหมดสิ้น ตรัสรู้ธรรมตามความเป็นจริงทุกอย่าง แล้วแสดงความจริง ควรฟัง ควรฟังพระธรรมในสิ่งที่พระองค์ทรงแสดง" ซึ่งก็ไม่พ้นไปจากสิ่งที่มีจริงๆ ในขณะนี้
ท่านอาจารย์ แต่ความละเอียดไม่ใช่เพียงแค่ ควรฟัง พอบอกว่าควรฟังก็ฟังแต่ไม่รู้เรื่อง ฟัง แล้วไม่เข้าใจ ฟัง แล้วไม่สนใจ แค่ควรฟัง แล้วก็เลยฟังอย่างนั้นก็มีใช่หรือไม่ ต่างจากผู้ที่สะสมมาที่เห็นประโยชน์ ซึ่งไม่สามารถที่จะได้จากที่อื่นเลยในสังสารวัฏฏ์ ไม่ว่าจะเกิดเป็นมนุษย์ เกิดเป็นเทพ เกิดเป็นพรหม ที่ใดๆ ก็ตามแต่ ถ้าไม่มีโอกาสได้ฟังด้วยความเข้าใจจริงๆ ไม่มีวันที่จะเข้าใจ เพราะฉะนั้นการฟังไม่ใช่ฟังเผิน แต่ฟังด้วยความไตร่ตรองแต่ละคำ และก็สามารถที่จะรู้ว่า ในขณะที่กำลังฟังนั้น ได้เข้าใจสิ่งที่กำลังฟังหรือไม่ หรือว่าเพียงฟังไปเฉยๆ ให้ได้ชื่อว่าฟังอย่างนั้นจะไม่ได้ประโยชน์ ไม่ได้สาระเลย เพราะฉะนั้นผู้ที่ตรง สัจจะ มั่นคง คืออธิษฐาน จริงใจ คือฟังเพื่อเข้าใจเท่านั้น ไม่ใช่เพื่อเหตุอื่น ถ้าไม่ได้เป็นแบบนี้หรือฟังด้วยเหตุอื่นก็จะไม่ได้สาระเหมือนกัน
อ.คำปั่น นี้ก็เป็นประโยชน์ของการสนทนาธรรม ยิ่งฟังก็ยิ่งมีความเข้าใจเพิ่มมากยิ่งขึ้นจากข้อความเมื่อสักครู่ก็เป็นถ้อยคำที่เป็นไปเพื่อมีความเพียรในการที่จะฟัง ที่จะศึกษาพระธรรมต่อไป
ผู้ฟัง มีประเด็นที่จะสนทนาเรื่องแรกคือ "จำ" ท่านอาจารย์บอกว่าต้องมีศรัทธา ขอแสดงความคิดเห็นในเรื่องของ "จำ" ถ้าเข้าใจ และใส่ใจหรือสนใจ เราก็จะสามารถจำสิ่งนั้นได้ แต่ถ้าเราไม่ใส่ใจ เราไม่สนใจ แล้วรู้สึกว่ายาก เราก็จะจำไม่ได้ จากตนเองเมื่อตอนที่เริ่มฟังใหม่ๆ พบว่าค่อนข้างยุ่งยาก มีคำศัพท์มาก และจำไม่ได้ แต่จริงๆ ถ้าสนใจเรียน และตั้งใจก็จะเหมือนกับว่าความเข้าใจก็จะสามารถจำได้เอง และอีกประเด็นหนึ่งคือ เพราะเหตุใดต้องรู้ความจริงของจิต และถ้าไม่รู้ความจริงของจิต แล้วจะเป็นเช่นไร
ท่านอาจารย์ คุณอรวรรณไม่ดี ไม่ได้หมายถึงอรวรรณนี้ อรวรรณใดก็ได้ เป็นชื่อสมมติ แต่จริงๆ แล้วอกุศลไม่ดี ซึ่งอกุศลไม่ใช่ชื่ออรวรรณ เพราะฉะนั้นการเข้าใจถูกว่าชอบใครหรือไม่ชอบใคร มีใครจริงๆ หรือไม่ หรือว่าชอบโลภะ เห็นหรือไม่ว่าจริงๆ เราไม่ได้รู้อะไรเลยแม้เพียงอย่างเดียว เพราะฉะนั้นการฟังธรรมก็เพื่อเข้าใจถูก เพื่อเห็นถูกตามความเป็นจริง มีประโยชน์หรือไม่ ขอทบทวนคำถามของคุณอรวรรณอีกครั้ง
ผู้ฟัง ถามว่าทำไมถึงต้องรู้ความจริงของจิต ถ้าไม่รู้ความจริงของจิต แล้วจะเป็นเช่นไร
ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่า คิดว่ามีคุณอรวรณ แต่ความจริงมีหรือไม่
ผู้ฟัง ถ้าศึกษา แล้วก็ทราบว่าไม่มี
ท่านอาจารย์ ก็มีจิต เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง เพราะฉะนั้นเวลาที่อกุศลจิตเกิดบ่อยๆ เราก็เรียกชื่อตามอกุศลที่เกิดบ่อยๆ สืบต่อกันว่าโดยชื่อนั้นหรือโดยชื่อนี้ แต่ตามความจริงไม่มีใครเลยนอกจากธรรม แม้ที่เข้าใจว่าเป็นเราก็ไม่มี แล้วตั้งแต่เกิดมารักใครที่สุด ห่วงใครที่สุด ทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อใคร ก็ตัวเอง แล้วตัวเองมีจริงๆ หรือไม่ มีแต่ความติดข้อง มีแต่ความเห็นผิด ล้วนแต่เป็นอกุศลทั้งนั้นใช่หรือไม่ เพราะฉะนั้นถ้าเข้าใจตามความเป็นจริงว่า ไม่มีใคร แต่มีอกุศลธรรม และอกุศลธรรมไม่ได้อยู่ที่อื่นเลย ถ้าไม่มีจิตคิด คนอื่นมีหรือไม่
ผู้ฟัง ไม่มี
ท่านอาจารย์ แล้วการที่คนอื่นทำอะไรต่ออะไร ถ้าไม่คิดว่าคนโน้นทำหรือคนนี้ทำ จะมีใครหรือไม่ ก็ไม่มี แม้แต่ขณะคิด คิดก็เกิดขึ้นคิด แล้วก็ดับไป ต้องไม่ลืม คำที่กล่าวว่า "ช่วยชาติให้พ้นภัย" "ชาติ" คือการเกิด ตั้งแต่หยาบที่สุดคือตายแล้วเกิด เกิดที่ใด ถ้ามีอกุศลคือความไม่รู้ ก็มีสัตว์เดรัจฉานมากมายเต็มโลกให้รู้ว่าต้องเป็นผลของความไม่รู้ เพราะเหตุใด ได้ฟังได้ยินด้วยกันแต่ก็ไม่สามารถจะเข้าใจอะไรได้ นรกก็ยังมีเพราะว่ากรรมนี้หลากหลายมาก มีตั้งแต่อย่างอ่อน และอย่างแรงมาก เพราะฉะนั้นผลจึงเท่ากันไม่ได้เลยต้องเป็นไปตามเหตุ เปรตอีกภพภูมิหนึ่งก็มี อสูรกายก็มี แล้วเมื่อไหร่จะไปภพภูมินั้น ช้าหรือเร็ว หรืออาจจะเป็นเดี๋ยวนี้ก็ได้ เย็นนี้ก็ได้ วันนี้ก็ได้ แล้วไม่เห็นโทษเลยหรือว่าไม่รู้อะไร ซึ่งเป็นเพราะไม่รู้ ทุกอย่างเป็นเพราะไม่รู้จึงเกิดที่โน่นเกิดที่นี่ ที่เป็นอบายภูมิ คือทำสิ่งที่ไม่ดี แทนที่จะทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ ก็เป็นเพราะไม่รู้ เพราะฉะนั้นเมื่อไม่รู้ว่าจะไปภพภูมิใดเมื่อใด ซึ่งดูเหมือนอีกนาน นั่นก็ประมาทแล้ว เพราะไม่นานเลยแต่จะไปเมื่อใดไม่รู้ ซึ่งถ้าเข้าใจเช่นนี้ก็จะไม่ประมาท
นอกจากนั้นเหตุที่จะให้ไปยังกำลังเกิดด้วย คือความไม่รู้ ความติดข้อง และการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นเรานำมาซึ่งอกุศลอีกมากมาย มีความสำคัญตน ถ้าไม่มีตนจะสำคัญตนหรือไม่ มีความเป็นเราหลายอย่าง เช่น เราต้องเก่งกว่าคนอื่น หรือว่าเราต้องเหนือกว่าคนอื่น เราต้องอย่างนั้น เราต้องอย่างนี้ ด้วยความสำคัญตน หรือเราต้องสบาย เราต้องรับประทานของอร่อย คนอื่นก็เอาอย่างที่ไม่ค่อยอร่อยไป อันอร่อยนี้ต้องเป็นของเรา ในวันหนึ่งๆ มีอกุศลที่ไม่รู้ตัวเลยว่ามากแค่ไหน เพราะฉะนั้นผลของอกุศลจะพาไปที่ใด จะนำไปสู่ที่ใด ไม่ว่าจะรู้หรือไม่รู้ก็ได้นำมาสู่โลกนี้ โดยที่ไม่รู้มาก่อนเลยว่าจะมาสู่โลกนี้หรือเป็นบุคคลนี้ด้วย ไม่เป็นคนอื่น แต่กรรมคือเหตุที่ได้กระทำไว้แล้ว เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างต้องเป็นไปตามเหตุ ผลทั้งหลายย่อมมาจากเหตุ แล้วอย่างนี้จะไม่ทำกุศลหรือ แต่จะต้องมีปัญญามิฉะนั้นจะเข้าใจว่าอกุศลเป็นกุศล ทั้งหมดต้องขึ้นอยู่กับปัญญา ความเห็นที่ถูกต้อง แล้วมีแล้วหรือยัง แล้วมีแค่ไหน แล้วยังประมาท เพราะฉะนั้นไปไหนกัน ไปแน่ๆ แต่บอกไม่ได้ว่าใครไปไหน
ผู้ฟัง หมายความว่าจริงๆ แล้ว ถ้าจะยกตัวอย่างคือไม่มีอรวรรณ ก็คือมีแต่จิต เจตสิก ซึ่งถ้าไม่รู้ความจริงก็เต็มไปด้วยความไม่รู้ ก็ไปตามที่อาจารย์กล่าว
ท่านอาจารย์ แล้วถ้าอรวรรณดี เป็นอรวรรณหรือกุศล กุศลดีไม่ใช่อรวรรณดี แล้วตั้งแต่เช้ามาคุณอรวรณดีหรือไม่
ผู้ฟัง ตั้งแต่เช้าก็ส่องกระจกดูว่าใส่เสื้อตัวนี้ดีหรือยัง เต็มไปด้วยความยึดถือว่า มีเรา ต้องดูดี อกุศลมีมาก
ท่านอาจารย์ แล้วอรวรรณดีเมื่อใด
ผู้ฟัง ต้องเป็นขณะที่กุศลจิตเกิด
ท่านอาจารย์ เวลาฟังธรรม เวลาเป็นกุศล เพราะฉะนั้น ก็มีธรรมเท่านั้นจึงมีกุศลธรรม อกุศลธรรม และอพยากตะธรรม เป็นธรรมที่มีจริงๆ แต่ไม่ใช่กุศล และไม่ใช่อกุศล เพราะฉะนั้นไม่ใช่สัตว์ บุคคลใดๆ เลยทั้งสิ้น
ผู้ฟัง ถ้าจำคำ ก็ดูเหมือนว่าทำให้ได้เข้าใจสภาพธรรมแล้ว คือมัวจำคำ แต่ถ้าจำเพื่อเข้าใจหรือว่าเข้าใจ แล้วจำได้ก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง ในตรงนี้ก็เหมือนกับว่าถ้าศึกษาผิดก็ไม่มีโอกาสได้รู้ความจริง
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นบางคนจึงฟังธรรมเพื่อตอบ จะได้ตอบถูกอย่างหนึ่ง แล้วก็ฟังธรรมเพื่อไปบอกคนอื่นใช่หรือไม่ กลัวว่าจะผิดก็จึงถามก่อนว่า อย่างนี้ใช่หรือไม่หรืออย่างนั้นใช่หรือไม่ เพื่อที่จะไปบอกคนอื่น ก็ไม่ใช่ความเข้าใจ เพราะฉะนั้นที่ถูกคือฟังธรรมเพื่อละความไม่รู้ และความไม่รู้มีมากเพียงใด แม้แต่เพียงคำที่ว่าสภาพธรรมเมื่อสักครู่นี้ไม่เหลือเลย มีความเข้าใจลึกซึ้งเพียงใด เพราะเช่นนั้นจึงไม่มีใคร มีแต่สภาพธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย บังคับบัญชาไม่ได้
ผู้ฟัง คือความเข้าใจน้อย ในเมื่อความจริงยังมีลักษณะปรากฎให้รู้ได้ ถ้าฟัง แล้วไม่ไตร่ตรองก็จะทำให้ไม่สามารถรู้ความจริงได้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเริ่มจากฟัง แล้วเข้าใจสิ่งที่กำลังฟัง เป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพราะไม่ใช่คิดว่า แล้วเมื่อใดเราจะหมดโลภะ แล้วเมื่อใดเราจะรู้ แล้วเมื่อใดเราจะประจักษ์ความจริงของสภาพธรรม นั่นไม่ได้เข้าใจสภาพธรรมเลย เพราะฟังด้วยความเป็นเรา ฟังเพื่อหวังให้เราเป็นอย่างนั้น ให้เราเป็นอย่างนี้ ยังคงมีเราอยู่ เพราะฉะนั้นถ้าฟังจริงๆ ก็คือให้รู้ว่าเป็นสิ่งที่มีจริงในขณะที่ฟังเข้าใจ และต่อไปก็มีเราอีก เพราะว่ายังไม่ได้รู้ความจริงว่าแท้ที่จริง แล้วว่าสิ่งที่มีจริงนั้นตรงตามที่ได้ฟังทุกอย่าง เช่น เกิดขึ้น แล้วดับไป ถ้าประจักษ์เช่นนั้นจริงๆ ก็จะไม่เหมือนกับการที่เพียงพูด เพียงฟังว่าขณะนี้สภาพธรรมกำลังเกิดดับ ปัญญายังไม่ถึงระดับที่จะละความเป็นตัวตน หรือความยึดมั่นในความเป็นตัวตน เพราะเพียงฟังเรื่องการเกิดดับ แต่ยังไม่ได้ประจักษ์การเกิดดับของสภาพธรรมใดๆ เลย
ผู้ฟัง ที่บอกว่าเข้าใจสิ่งที่กำลังฟังก็คือ ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฎให้รู้ได้ ไม่ได้พูดถึง..
ท่านอาจารย์ ตอนที่เข้าใจ แล้วขณะใดที่ไม่เข้าใจ? เป็นธรรมหรือไม่
ผู้ฟัง เป็น
ท่านอาจารย์ เป็น แล้วก็ลืม ก็กลายเป็นตัวตนที่อยากจะทำอย่างนั้น อยากจะทำอย่างนี้ เพราะฉะนั้นปัญญาเห็นทุกสิ่งทุกอย่างตามความเป็นจริง เห็นความเห็นผิด เห็นโลภะ เห็นโทสะ โดยที่ว่าเป็นธรรม นั่นเป็นความเห็นที่ถูกต้อง จนกว่าจะหมด ลองคิดดูว่าความสงสัยก็เป็นธรรม ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรม โดยที่ไม่มีเหลือเยื่อใยของความเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดเลยก็สามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรมได้
อ.คำปั่น ก็เป็นการฟังในสิ่งที่มีจริง แม้จะกล่าวว่าเป็นคนดีหรือเป็นคนไม่ดี ก็เพราะว่ามีธรรมเกิดขึ้นเป็นไป ซึ่งก็ไม่พ้นจากจิตเลย จิตเกิดขึ้นเป็นไปกับสภาพธรรมที่เกิดร่วมกับจิต เป็นธรรมที่ดีงามก็ทำให้จิตนั้นเป็นจิตที่เป็นกุศล เป็นเหตุที่ดี ไม่เป็นโทษเป็นภัยแก่ใคร ในทางตรงกันข้าม ถ้าจิตนั้นมีอกุศลเจตสิกเกิดด้วย ก็ทำให้เป็นจิตไม่ได้ ซึ่งก็เป็นความเกิดขึ้นเป็นไปของธรรมที่มีจริงทั้งหมด ซึ่งจะรู้จะเข้าใจก็ต่อเมื่อมีการฟัง มีการศึกษา ค่อยๆ ไตร่ตรองในความเป็นจริงของธรรม ซึ่งก็ประทับใจที่ท่านอาจารย์ได้สนทนากับคุณอรวรรณเมื่อสักครู่ว่า ถ้าไม่ศึกษาเรื่องจิตแล้วจะเป็นอย่างไร ก็คือไม่ดี เพราะว่าเป็นอกุศลมีความไม่รู้สะสมมากขึ้น เพราะว่าอกุศลจะดีไม่ได้เลย ก็เป็นการศึกษาเพื่อให้เข้าใจถูกเห็นถูกตามความเป็นจริงในสภาพธรรมที่มีจริงๆ ในชีวิตประจำวัน
อ.อรรณพ ปรมัตถธรรมแรกก็คือจิต เพราะจิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้ โลกทั้งหลายที่ปรากฎทั้งหลายที่เป็นไปก็ด้วยอำนาจของจิต เพราะอำนาจของจิตคือจิตนั้นเป็นใหญ่ในการรู้ เป็นมนินทรีย์ แม้แสนสั้น แต่ก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไปสั้นๆ ๓ ขณะย่อยสั้นๆ แต่จิตนั้นก็สามารถที่จะรู้แจ้งในอารมณ์นั้นอย่างเป็นไปตามนั้น อารมณ์เป็นอย่างไร สีเป็นอย่างไร จิตเห็นก็รู้ตามนั้นเลย เสียงเป็นอย่างไร ลักษณะจะเบา จะค่อย จะประณีตหรือไม่ประณีตอย่างไร เสียงก็ปรากฎอย่างชัดเจนกับจิตได้ยินนั้น เพราะฉะนั้นนี้จึงเป็นความเป็นเหตุเป็นปัจจัย ทุกอย่างที่เกิดขึ้นต้องมีเหตุ มีปัจจัย ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า พระมหาสมณทรงแสดงถึงเหตุปัจจัยในการเกิดขึ้นของสภาพธรรมทั้งหลายแม้ในเรื่องของจิต
อ.คำปั่น แสดงถึงความเป็นจริงของธรรมที่อาศัยกัน และกันเกิดขึ้น และแสดงถึงความเป็นอนัตตาที่ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น และไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน เพราะฉะนั้นพระธรรมคำสอนทั้งหมดที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงก็เป็นไปเพื่อความเข้าใจว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา
ผู้ฟัง จิตเห็น แล้วก็สัมปฏิจฉันน จิตแรกที่รู้อารมณ์ต่อจากจิตเห็น เห็นสีก็เห็นสี ได้ยินเสียงก็ได้ยินเสียงอันเดียวกัน ก็ต่อมาก็สันติรณ แล้วตรงนี้คือ ...
ท่านอาจารย์ เวลาที่จิตได้ยินเกิดขึ้นที่ภาษาบาลีใช้คำว่าโสตวิญญาณ เป็นจิตที่เกิดโดยอาศัยหู เพราะฉะนั้นก็คือได้ยินเสียง เวลาที่โสตวิญญาณดับไปแล้ว จิตอะไรเกิดต่อจากจิตนั้น
ผู้ฟัง สัมปฏิจฉันน
ท่านอาจารย์ แล้วเวลาที่สัมปฏิจฉันน ดับไปแล้ว จิตอะไรเกิดต่อ
ผู้ฟัง สันติรณ
ท่านอาจารย์ เวลาจิตได้กลิ่น จิตที่เกิดโดยต้องอาศัยฆานประสาท อาศัยอื่นไม่ได้ จิตนั้นกำลังรู้กลิ่นเพราะอาศัยจมูก จึงสามารถรู้กลิ่นได้ จิตนั้นก็คือฆานวิญญาณ เมื่อฆานวิญญาณดับไปแล้ว จิตอะไรเกิดต่อ
ผู้ฟัง สัมปฏิจฉันน
ท่านอาจารย์ แล้วเวลาที่สัมปฏิจฉันน ดับไปแล้ว จิตอะไรเกิดต่อ
ผู้ฟัง สันติรณ
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง แล้วเวลาที่รับประทานอาหาร เคยรู้สึกหรือไม่ว่าขณะนั้นเป็นธรรม รสปรากฎเพราะอะไร
ผู้ฟัง เพราะจิตรู้รส
ท่านอาจารย์ จิตที่รู้รสต้องอาศัยลิ้น ภาษาบาลีใช้คำว่า "ชิวหา" เพราะฉะนั้นจิตที่อาศัยลิ้นลิ้มรสจึงเป็น "ชิวหาวิญญาณ" ชิวหาวิญญาณเป็นรสหรือไม่
ผู้ฟัง ชิวหาวิญญาณรู้รส
ท่านอาจารย์ รสเป็นชิวหาวิญญาณ หรือไม่
ผู้ฟัง รสไม่ใช่ชิวหาวิญญาณ รสเป็นรูป
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นชิวหา เป็นชิวหาวิญญาณหรือไม่
ผู้ฟัง ไม่ใช่
ท่านอาจารย์ เพราะอะไร
ผู้ฟัง เพราะว่าชิวหาเป็นรูป
ท่านอาจารย์ ชิวหาไม่ใช่รส ชิวหาเป็นลิ้น
ผู้ฟัง ครับ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นชิวหาเป็นชิวหาวิญญาณหรือไม่
ผู้ฟัง ไม่เป็น
ท่านอาจารย์ รสเป็นชิวหาวิญญาณหรือไม่
ผู้ฟัง รสไม่ใช่ชิวหาวิญญาณ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นชิวหาวิญญาณ เป็นชิวหาหรือไม่
ผู้ฟัง ไม่ใช่
ท่านอาจารย์ หลังจากที่ชิวหาวิญญาณดับไปแล้ว จิตอะไรเกิดต่อ
ผู้ฟัง สัมปฏิจฉันน
ท่านอาจารย์ หลังจากที่สัมปฏิจฉันนดับไปแล้ว จิตอะไรเกิดต่อ
ผู้ฟัง สันติรณ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นจิตอะไรบ้างที่เกิดเพราะกรรมเป็นปัจจัย ที่เป็นผลของกรรมมีจิตอะไรบ้าง
ผู้ฟัง มีจิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตรู้รส จิตรู้กระทบสัมผัส
ท่านอาจารย์ จริงๆ ยังมีอีก แต่กล่าวถึงเฉพาะเท่านี้ๆ ในแต่ละวัน แต่ละครั้ง และมีอะไรอีกหรือไม่ที่เป็นผลของกรรมที่นอกจากจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ ที่กล่าวภาษาบาลีซ้ำก็เพื่อให้เข้าใจ จำได้ แต่เราจะใช้ภาษาไทยก็ได้ แต่ถ้าให้ชินหู จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ เป็นผลของกรรม
ผู้ฟัง ที่กล่าวว่าเป็นผลของกรรมนี้ก็ถือว่าเป็นชาติวิบากทั้งหมดหรือไม่
ท่านอาจารย์ ไม่ถือ เพราะเป็นจริงๆ กรรมเป็นปัจจัยให้เกิดจิตเหล่านี้ และเมื่อจิตดับไปแล้วยังมีวิบากจิตเกิดต่อหรือไม่
ผู้ฟัง ต้องมี
ท่านอาจารย์ ได้แก่อะไร
ผู้ฟัง สัมปฏิจฉันน
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง สัมปฏิจฉันนเป็นวิบาก มีวิบากอื่นอีกหรือไม่
ผู้ฟัง สันติรณ เป็นวิบาก
ท่านอาจารย์ เป็นวิบาก รู้เลยว่าสิ่งนี้ใครจะไปบังคับบัญชาได้ ไม่ให้สัมปฏิจฉันนเกิดได้หรือไม่ ไม่ให้สันติรณเกิดได้หรือไม่ ไม่ได้ เพราะเหตุว่ากรรมเป็นปัจจัยให้ทั้งวิญญาณธาตุ สัมปฏิจฉันน และสันติรณ เกิดต่อตามลำดับ ตอนนี้จำได้อีกชื่อหนึ่งแล้วใช่หรือไม่ "สันติรณ" และเวลาที่สันติรณดับไปแล้ว จิตอะไรเกิดต่อ
ผู้ฟัง โวฏฐัพน
ท่านอาจารย์ ดังนั้น กล่าวแล้วถึงจิต ๓ ดวง คือ จักขุวิญญาณ สัมปฏิจฉันน สันติรณ เป็นวิบาก และจบหน้าที่ของวิบากเพียงเท่านั้น จักขุวิญญาณเกิดแล้ว จะไม่ให้สัมปฏิจฉันนเกิดต่อ ไม่ได้ เพราะเป็นวิบากจิตที่ต้องรับรู้สิ่งนั้นที่ยังไม่ดับโดยที่ไม่ต้องเห็น สันติรณก็รับต่อจากสัมปฏิจฉันน ไม่ต้องเห็นเหมือนกัน ไม่ได้ทำทัศนกิจ แต่กรรมทำให้ทั้งสัมปฏิจฉันน และสันติรณเกิดต่อ เป็นวิบาก ต่อจากนั้นโวฏฐัพน ที่เราใช้คำว่า "ชวนปฏิปาทกมนสิการ" เป็นกริยาจิต เพราะเหตุว่าสามารถที่จะรู้อารมณ์ทั้งที่น่าพอใจ และไม่น่าพอใจ ในขณะที่วิบากต้องเป็นไปตามกรรม ถ้าอกุศลกรรมจะให้เห็นอารมณ์ที่น่าพอใจเช่นนั้นไม่ได้ เพราะว่าอกุศลกรรมที่ทำแล้ว อย่างไรจะให้เห็นสิ่งที่น่าพอใจหรือเสียงที่น่าพอใจนั้นก็ไม่ใช่เหตุกับผลที่ตรงกัน ถ้าเหตุไม่ดี สิ่งที่เห็นบ้างได้ยินบ้างต้องไม่น่าพอใจ
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 841
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 842
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 843
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 844
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 845
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 846
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 847
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 848
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 849
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 850
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 851
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 852
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 853
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 854
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 855
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 856
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 857
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 858
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 859
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 860
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 861
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 862
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 863
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 864
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 865
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 866
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 867
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 868
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 869
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 870
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 871
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 872
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 873
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 874
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 875
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 876
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 877
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 878
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 879
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 880
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 881
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 882
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 883
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 884
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 885
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 886
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 887
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 888
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 889
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 890
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 891
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 892
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 893
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 894
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 895
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 896
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 897
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 898
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 899
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 900