พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 861
ตอนที่ ๘๖๑
ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
ท่านอาจารย์ สิ่งที่เห็นบ้างได้ยินบ้าง ต้องไม่น่าพอใจ แต่โวฏฐัพพนะสามารถที่จะรู้อารมณ์ได้ ทั้งที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจ เพราะฉะนั้นไม่ใช่วิบาก จึงเป็นกิริยาจิต เพราะว่าจิตทั้งหมดที่เกิดขึ้น ชาติคือการเกิด "ช่วยชาติให้พ้นภัย" คือช่วยจิตแต่ละขณะที่เกิดขึ้น ไม่ให้เป็นอกุศล ไม่ต้องไปรับผลของอกุศลกรรม
เพราะฉะนั้นเวลาที่จักขุวิญญาณเกิดและดับ สัมปฏิจฉันนจิตเกิดและดับ สันตีรณเกิดและดับเป็นวิบาก จบเรื่องของกรรม ต่อจากนั้น โวฏฐัพพนะเป็นกิริยาจิต เพราะเหตุว่าไม่ว่าสิ่งที่น่าพอใจ หรือไม่น่าพอใจเกิด จิตนี้สามารถรู้ได้ ในขณะที่กุศลวิบาก รู้ได้เฉพาะอารมณ์ที่น่าพอใจ อกุศลวิบากรู้ได้เฉพาะอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ สัมปฏิจฉันนกุศลวิบากก็รู้ได้เฉพาะแต่เฉพาะอารมณ์ที่น่าพอใจ อกุศลวิบากก็รู้ได้แต่เฉพาะอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ แต่โวฏฐัพพนะ รู้ได้ทั้งอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจและอารมณ์ที่น่าพอใจ
ถ้าเป็นวิบากก็ต้องรู้เฉพาะอารมณ์ของตน ใช่หรือไม่ เช่นถ้าเป็นอกุศลวิบาก ผลของอกุศลกรรม ก็จะรู้แต่เฉพาะอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ แต่โวฏฐัพพนะรู้อารมณ์ที่น่าพอใจก็ได้ อารมณ์ที่ไม่น่าพอใจก็ได้ เพราะฉะนั้นโวฏฐัพพนะเป็นกิริยาจิต จิตที่เกิด ชาติเกิดแล้ว ต้องเป็นอย่างหนึ่งอย่างใด ถ้าเป็นกุศล เป็นอกุศลไม่ได้ เป็นวิบากไม่ได้ เป็นกิริยาไม่ได้ ถ้าเป็นอกุศล ก็เป็นอกุศล เป็นวิบาก เป็นกิริยาไม่ได้ ถ้าเป็นวิบาก ก็เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นกิริยาไม่ได้ ถ้าเป็นกิริยา ก็ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่เป็นวิบาก
เพราะฉะนั้นกิริยาจิตที่คนทั่วไปมีได้ มี ๒ ประเภท แต่วันนี้ขณะนี้กล่าวถึง ๑ ประเภท คือ โวฏฐัพพนะ หรืออีกชื่อหนึ่งคือมโนทวาราวัชชนะ หรืออีกชื่อหนึ่งชวนปฏิปาทกมนสิการ เพราะว่าเมื่อโวฏฐัพพนะหรือมโนทวาราวัชชนะดับ ชวนจิตต้องเกิดต่อ จิตอื่นจะเกิดต่อไม่ได้เลย และชวนจิตก็ไม่พ้นจากกุศล อกุศลและกิริยา ซึ่งเกิดดับสืบต่อถึง ๗ ขณะ ทำให้ปรากฏ สัมปฏิจฉันนะเกิดแล้วดับแล้วไม่ปรากฏ สันตีรณะเกิดแล้วดับแล้วไม่ปรากฏ โวฏฐัพพนะเกิดแล้วดับแล้วไม่ปรากฏ แต่โลภะเกิดซ้ำ ๗ ขณะ ปรากฏ ชอบอะไรก็พอจะรู้ได้ โกรธอะไรก็พอจะรู้ได้
ผู้ถาม จะเป็นกุศลไม่ได้หรือ
ท่านอาจารย์ กุศลหมายความว่าเป็นเหตุ ถ้าเป็นกุศลก็ต้องประกอบด้วยเจตสิกฝ่ายดีงาม ถ้าเป็นอกุศลก็ต้องประกอบด้วยเจตสิกที่เป็นอกุศล แต่โวฏฐัพพนะไม่มีกุศลเจตสิก และอกุศลเจตสิกเกิด ยังไม่ถึงกาลที่จะเกิด ก็เกิดไม่ได้ แต่พอสัมปฏิจฉันนะดับ สันตีรณะดับ โวฏฐัพพนะดับ เท่านี้ กุศลและอกุศลที่สะสมมาเกิดแล้ว ยับยั้งไม่ได้เลย แต่ถ้าเข้าใจจริงๆ จะลืมหรือไม่ อย่างจิตลืมหรือไม่
ผู้ถาม ไม่ลืม
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้มีจิตหรือไม่
ผู้ถาม มี
ท่านอาจารย์ มีเจตสิกหรือไม่
ผู้ถาม มี
ท่านอาจารย์ มีรูปหรือไม่
ผู้ถาม มี
ท่านอาจารย์ ไม่ลืม เพราะอะไร
ผู้ถาม ไม่ลืม เพราะเข้าใจอย่างแน่นแฟ้นในขันธ์ ๕ ก็ต้องมีอยู่เพียงเท่านี้
อาจารย์คำปั่น จริงๆ แล้วก็ไม่พ้นจากสภาพจิตเลย ไม่พ้นจากจิต แต่ก็มีข้อความที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ว่า ชำระจิตของตนให้ผ่องใส ชำระอะไร แล้วอะไรเป็นเครื่องชำระจิต
อ.ธิดารัตน์ การที่ต้องชำระจิต เช่น อกุศลจิตที่ใช้คำว่า อกุศลจิต คือจิตที่มีอกุศลธรรมเกิดร่วมด้วย อย่างเช่นโลภมูลจิต ใช้คำว่า จิตนั้นมีโลภะเป็นมูล หรือว่าเป็นเหตุที่ทำให้เกิด เพราะฉะนั้นจิตก็เศร้าหมอง เพราะกิเลสที่เกิดร่วมด้วย และการที่จะชำระจิต ให้พ้นจากความเศร้าหมอง หรือจิตที่จะไม่มีความเศร้าหมอง ปัญญาเท่านั้นที่จะเป็นเครื่องชำแรกกิเลสอกุศลธรรมทั้งหลาย เมื่อดับกิเลสและอกุศลธรรมทั้งหลาย ซึ่งเป็นเหตุหรือว่าเป็นมูลที่จะไปเกิดร่วมด้วยกับจิต ที่จะทำให้จิตนั้นเศร้าหมองเพราะอกุศลธรรมได้ เมื่อดับกิเลสเป็นขั้นๆ ไป จิตก็จะปราศจากกิเลสที่ถูกดับแล้ว กิเลสที่ถูกดับแล้ว อย่างเช่น พระโสดาบัน หรือว่าโสตาปัตติมรรค ดับความเห็นผิด ก็คือทิฏฐิเจตสิก วิจิกิจฉาเจตสิก เหล่านี้ ดับเป็นสมุทเฉท ก็คือตัดขาดออกจากจิตเลย เมื่อไม่มีเหตุเหล่านี้ เมื่อทิฏฐิถูกดับไปแล้ว ทิฏฐิก็จะเกิดร่วมกับจิตอีกไม่ได้
เพราะฉะนั้นโลภมูลจิต หรือจิตที่มีโลภะเป็นมูล สามารถจะมีทิฎฐิเกิดร่วมด้วย แต่เมื่อดับทิฎฐิแล้ว ด้วยโสดาปัตติมรรค โลภะก็จะไม่มีทิฏฐิเกิดร่วมด้วยอีกต่อไป นี้ก็เรียกว่าชำระไปในระดับหนึ่ง เพราะการที่จะตัดอกุศลธรรมหรือว่าเครื่องเศร้าหมองที่เป็นกิเลสเหล่านี้ ต้องด้วยกำลังของมรรคจริงๆ ที่จะตัดขาด ไม่อย่างนั้นก็จะไม่สามารถที่จะละกิเลสได้เป็นสมุทเฉทได้เลย ถ้าไม่มีปัญญาในระดับที่จะเกิดร่วมกับมรรคจิต ที่จะดับกิเลส แต่ในขณะที่กุศลจิตเกิด อกุศลไม่ได้เกิดร่วมด้วย ผ่องใสด้วยอำนาจของโสภณธรรมแต่ละขณะๆ แต่ก็ยังมีอนุสัยกิเลส นอนเนื่องอยู่ในจิตเสมอ ถ้าไม่ได้ถูกดับด้วยอรหัตมรรค คือหมดสิ้นเลย ไม่มีกิเลสใดๆ หลงเหลืออยู่อีก
อ.คำปั่น เมื่อศึกษาพระธรรมคำสอนแล้ว ก็จะเข้าใจว่า สิ่งที่จะชำระล้างสิ่งที่ไม่ดีได้นั้น ก็ต้องอาศัยการอบรมเจริญปัญญา มีข้อความจาก เถรีคาถา ซึ่งกล่าวถึงเรื่องนี้โดยตรงว่า ชำระล้างบาปด้วยอย่างอื่น ได้หรือไม่ เป็นการสนทนากันระหว่างอุบาสิกา ผู้เข้าใจธรรม กับพราหมณ์ผู้กำลังดำเนินหนทางที่ผิด
จากการเกื้อกูลกัน ทำให้พราหมณ์ท่านนี้ถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ในที่สุดออกบวชเป็นพระอรหันต์ อุบาสิกาท่านนี้บรรลุเป็นพระโสดาบันแล้ว และในที่สุดก็ออกบวชเป็นพระเถรี ในที่สุดก็เป็นพระอรหันต์ ท่านสนทนากันว่าอย่างไร อุบาสิกาถามว่า ท่านพราหมณ์ ท่านกลัวอะไรจึงลงอาบน้ำทุกเมื่อ ท่านมีตัวสั่นเทา ประสบความหนาวเย็นอย่างหนัก พราหมณ์ก็ตอบว่า ดูกรแม่ปุณณาผู้เจริญ เจ้ารู้ว่าเรากำลังทำกุศลกรรมอันปิดซึ่งบาปกรรม ยังจะสอบถามอยู่หรือหนอ ก็ผู้ใดไม่ว่าแก่หรือหนุ่ม ประกอบกรรมที่เป็นบาป แม้ผู้นั้นก็จะหลุดจากบาปกรรมได้ เพราะการอาบน้ำ นี้คือความเห็นของพราหมณ์
อุบาสิกาก็กล่าวต่อว่า ใครหนอช่างไม่รู้มาบอกกับท่าน ซึ่งก็ไม่รู้ว่าตนจะหลุดพ้นจากบาปกรรมได้ เพราะการอาบน้ำ พวกกบ เต่า งู จระเข้ และสัตว์อื่นๆ ที่สัญจรอยู่ในน้ำทั้งหมด ก็คงจักพากันไปสวรรค์แน่แท้ คนฆ่าแพะ คนฆ่าสุกร คนฆ่าปลา คนฆ่าเนื้อ พวกโจร พวกเพชฌฆาต และคนทำบาปกรรมอื่นๆ แม้คนเหล่านั้นจะหลุดพ้นจากบาปกรรมได้ เพราะการอาบน้ำ ถ้าหากว่าแม่น้ำเหล่านี้ จะพึงนำบาปที่ท่านทำมาก่อนไปได้ไซร้ แม่น้ำเหล่านี้ก็จะพึงนำบุญแม้ของท่านไปด้วย ท่านก็จะพึงเหินห่างจากบุญนั้นไป
ดูกรพราหมณ์ ท่านกลัวบาปกรรมอันใดจึงลงอาบน้ำทุกเมื่อ ท่านพราหมณ์ท่านก็อย่าทำบาปกรรมนั้น ขอความหนาวเย็นอย่าทำลายผิวของท่านเลย นี้ก็เป็นการเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ทำให้ได้เข้าใจตามความเป็นจริงว่า คนจะไม่บริสุทธิ์ด้วยการลงอาบน้ำ ไม่สามารถที่จะลบล้างบาปกรรม ด้วยการลงอาบน้ำ แต่จะบริสุทธิ์ได้ เมื่อได้อาบน้ำในพระธรรมวินัย ก็คือการอบรมเจริญปัญญา
อ.ธิดารัตน์ ลักษณะของโมหะที่ท่านแสดงไว้ ซึ่งในชีวิตประจำวันมีอยู่มาก แต่ก็เหมือนกับรู้ว่ามี แต่ก็ไม่เข้าใจ และท่านก็ยังแสดงถึงความเป็นยอดหรือเป็นศีรษะ เป็นสิ่งที่ต้องทำลายหรือว่าถูกตัดอีก
ท่านอาจารย์ ก็เป็นความมืดมนจริงๆ ขณะนี้ดูเหมือนสว่าง แต่ถ้าไม่เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏขณะนั้นต้องมืดแน่ เพราะเหตุว่าแม้สว่างอย่างไร ก็ยังไม่สามารถที่จะรู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฎ พระผู้มีพระภาคทรงอุปมา อวิชชาเป็นศีรษะ สำคัญหรือไม่ ทุกคนที่นี่ยังมีศีรษะ ยังนั่งอยู่ได้ ยังไปไหนไม่ได้ เพราะมีศีรษะ เมื่อวานนี้อวิชชาทำอะไรบ้าง ไม่ได้ถามถึงใครเลยสักคน แต่ถามถึงธรรม คือสิ่งที่มีจริง คือสภาพที่ไม่รู้ ไม่สามารถที่จะเข้าใจถูก เห็นถูกในสิ่งที่กำลังปรากฏ
เพราะฉะนั้นการศึกษาธรรม ถ้าไม่พูดถึงสิ่งที่มีจริงๆ ไม่สามารถที่จะเข้าใจได้ เพียงชื่อ เพียงคำ แต่ตัวจริงอยู่ที่ไหน เพราะฉะนั้นเวลาพูดถึงศีรษะ ขณะนี้ก็กำลังมีศีรษะ แล้วก็เมื่อผู้มีพระภาคทรงอุปมาว่า อวิชชาเหมือนศีรษะ เพราะฉะนั้นเมื่อวานนี้ ยังมีศีรษะ เมื่อวานนี้อวิชชาทำอะไรบ้าง เรียนแล้วไม่ลืม แล้วก็ไม่ใช่ว่าทิ้งไปเลย แต่ทุกคำที่ได้ฟังมีประโยชน์ เพราะเหตุว่าสามารถที่จะทำให้เข้าใจสิ่ง ซึ่งในขณะนี้แสงสว่าง ไม่สามารถที่จะทำให้เข้าใจถูกได้ แต่พระธรรมที่ทรงแสดงความจริงให้เข้าใจ สามารถที่จะเกิดความเห็นที่ถูกต้อง ยิ่งกว่าแสงสว่าง เพราะแม้ในความมืด ก็ยังสามารถเข้าใจธรรมได้
เพราะฉะนั้นเมื่อวานนี้ ทบทวน อวิชชาทำอะไรบ้าง คิดว่าเราทำทั้งนั้น แต่ความจริงอวิชชา และธรรมอื่นๆ ทั้งนั้น เพราะฉะนั้นตอบได้หรือไม่ เมื่อวานนี้อวิชชาทำอะไรบ้าง ทำมากมายทุกอย่าง เว้นขณะที่เป็นกุศล และเป็นผลของกรรมที่เป็นวิบากกับกิริยา นี่คือกล่าวโดยความละเอียด แต่ในพระสูตรไม่ต้องแสดงละเอียดถึงอย่างนี้ แต่ก็สามารถที่จะทำให้เห็นความจริง ซึ่งขณะนี้เป็นอย่างนั้นชัดเจนว่า เมื่อวานนี้ไม่มีใครทำอะไร แต่อวิชชาทำตลอดเวลา บางคนก็อาจจะคิดว่า มือทำต่างหาก ใช่หรือไม่ ขาทำต่างหาก ปากทำต่างหาก แต่ว่าตามความจริงแล้ว รูปทำอะไรไม่ได้ ถ้าไม่มีจิต
เพราะฉะนั้นขณะนี้รูปก็กำลังเกิดดับสืบต่ออย่างเร็วมาก รูปเป็นรูป รูปไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลยทั้งสิ้น ไม่คิด ไม่จำ ไม่มีเรื่องราวใดๆ กับรูปใดๆ เลยทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นเมื่อวานนี้ ขณะใดที่ไม่ใช่กุศล ขณะนั้นอวิชชาทำทุกอย่าง ไม่ว่าจะพูด ไม่ว่าจะคิด ไม่ว่าจะเดินไปไหน หรือว่าทำอะไรก็เพราะอวิชชา นั่นคือเมื่อวานนี้ แล้ววันนี้ ยังมีศีรษะอยู่ ก็ยังทำเหมือนเดิม โดยอวิชชาก็ทำไป จนกว่าจะมีอะไรที่ตัดศีรษะ ทำต่อไปอีกไม่ได้เลย อวิชชาทำงานต่อไปอีกไม่ได้ แต่ว่าตราบใดที่ยังไม่มีอะไรที่จะตัดศีรษะให้ขาด ไม่เกิดอีกเลย อวิชชาก็ทำงานอยู่ตลอดเวลา เกิดแล้วเกิดเล่า แล้วก็ทำอยู่ทุกวัน
เพราะฉะนั้นเมื่อวานนี้ก็หมดไปแล้ว ผ่านไปแล้ว โดยอวิชชาก็ทำ และวันนี้อวิชชาทำหรือเปล่า หรือว่าพักผ่อนหรือเปล่า จิต เจตสิกไม่ได้พักเลย ไม่ได้พักเหมือนอย่างที่เราคิด จิต เจตสิกเกิดดับสืบต่อไม่หยุด เพราะฉะนั้น จากขณะนี้ถอยไปแสนโกฏกัปป์ ก็คือจิตสืบต่อ จากที่ได้เคยเกิดแล้วก็ดับไป แล้วไม่กลับมาอีก แต่ปรุงแต่งให้ขณะนี้ ใหม่ทุกขณะ โดยที่ว่าไม่เหมือนเก่า แม้ว่าจะเป็นจิตประเภทเดียวกัน แต่สิ่งที่สะสมก็เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทางฝ่ายกุศล หรือทางฝ่ายอกุศล
เพราะฉะนั้นเมื่อวานนี้ อวิชชาไม่เกิดตอนไหน ตอนเข้าใจธรรม ก็สะสมความเข้าใจธรรมนั้นไว้ ว่าอวิชชาคือความไม่รู้ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะปรากฏ ก็ไม่สามารถที่จะเข้าใจได้ แต่เมื่อวานนี้ก็ได้สะสมปัญญาที่ได้ฟัง และเข้าใจพระธรรมที่ทรงแสดงว่า อวิชชาเป็นศีรษะ เพราะเหตุว่าตราบใดที่ยังมีศีรษะอยู่ ก็จะต้องมีการกระทำต่างๆ ตั้งแต่เช้ามาอวิชชาก็ทำงานแล้ว ตอนหลับอวิชชาทำงานหรือเปล่า นี่คือความละเอียด การฟังธรรม ไม่ใช่ฟังเผิน ถ้าฟังเผิน ไม่มีทางที่จะละการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตนเลย เพราะฉะนั้นหลับสนิท อวิชชาทำงานหรือเปล่า
อ.ธิดารัตน์ อวิชชาก็หลับด้วย
ท่านอาจารย์ ไม่ได้ทำงานเลย เพราะเหตุว่าอกุศลทั้งหมด ไม่เกิดกับวิบาก เพราะเหตุนั้นอกุศลเป็นชาติเดียว คือเกิดเมื่อไรเป็นอกุศล จะเป็นวิบาก จะเป็นกิริยา จะเป็นกุศลไม่ได้ เพราะฉะนั้นในขณะที่หลับสนิท จากเกิดมา แล้วก็มีการเห็น การได้ยิน สืบต่อมาทุกวันจนถึงเมื่อวานนี้ ก็เป็นผลของกรรมเดียวกับที่ทำให้ปฏิสนธิเป็นบุคคลนี้ ยังไม่เปลี่ยนเป็นบุคคลอื่นเลย จึงเหมือนกับปฏิสนธิจิต คือไม่ได้มีการรู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และเมื่อเป็นผลของกรรม ขณะนั้นอกุศลเกิดไม่ได้เลย เว้นชั่วคราวก็ยังดี ใช่หรือไม่ พักผ่อนตอนที่อะไรๆ ก็ไม่ปรากฏ แต่พอตื่นขึ้นมา เห็นเป็นผลของกรรม จำเป็นต้องเห็น อยากเห็นหรือไม่อยากเห็น ก็ต้องเห็น ถึงเวลาที่กรรมให้ผล ให้เห็นก็ต้องเห็น บางคนแทนที่จะเห็น ก็ตื่นมาได้ยิน ก็เป็นผลของกรรมที่จะให้ผลทางตาหรือทางหู
เพราะฉะนั้นให้ทราบว่า ชีวิตตลอดตั้งแต่เกิดจนตาย ก็มีธาตุที่เกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัย ทั้งหมดนี้ถ้าศึกษาโดยละเอียดจะรู้ว่า ถ้าไม่มีปัจจัยอะไรๆ ก็เกิดไม่ได้ เพราะฉะนั้นการเห็น เป็นการอุปปัตติ เกิดขึ้นของการกระทบกันของสิ่งที่สามารถกระทบกันได้ คือตา จักขุปสาทะ สามารถกระทบกับสิ่งที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้ แล้วก็เป็นปัจจัยให้กรรมทำให้จิตเห็นเกิดขึ้น เพียงเห็นแล้วดับไป แล้วไม่กลับมาอีกเลย อวิชชาก็ยังไม่ได้ทำหน้าที่ใดๆ จนกว่าเห็นแล้ว ถ้าโดยพระสูตรก็จะไม่แสดงโดยวิถีจิตโดยละเอียด แต่ก็ให้ทราบว่า ใครบ้างที่เห็นแล้วเป็นกุศล ยากหรือไม่ ถ้ารู้ว่ากุศลเป็นไปในอะไรบ้าง และในขณะที่ไม่รู้ความจริง พอเกิดแล้วก็ไม่รู้ แล้วก็ยึดถือสิ่งที่ปรากฏสืบต่อโดยนิมิต ซ้ำจนกระทั่งปรากฏเป็นนิมิต เพราะความรวดเร็ว ไม่มีใครสามารถที่จะรู้ว่า การที่ทั้งนามธรรมและรูปธรรม เกิดดับสืบต่อ ก็ทำให้เป็นเครื่องหมายหรือนิมิตว่า สิ่งนั้นเป็นอย่างนั้นยังปรากฏ เช่นในขณะที่กำลังเห็นขณะนี้ เห็นเป็นอะไรขณะนั้น ก่อนจะเป็นอะไรนั้นอวิชชาทำหน้าที่แล้ว คือไม่รู้ความจริง
เพราะฉะนั้นการฟังพระธรรม เป็นเหตุที่ได้กระทำไว้ในปางก่อน ทำให้สามารถรู้ว่าสิ่งใดควรฟังอย่างยิ่ง ควรเข้าใจอย่างยิ่ง แล้วก็ยากอย่างยิ่งที่จะเข้าใจได้ แต่ก็สามารถที่จะเข้าใจได้ เมื่อมีศรัทธา แล้วก็มีความอดทน และมีการเข้าใจถูกต้องว่า รู้ดีกว่าไม่รู้แน่นอน เพราะประโยชน์มาก มิฉะนั้นวันหนึ่งๆ ก็ยังคงเป็นผู้ที่มีศีรษะ คืออวิชชา แล้วก็ทำทุกอย่างด้วยอวิชชา
เพราะฉะนั้นการฟังธรรม ก็เป็นการสะสมอาวุธที่จะตัดศีรษะ แต่อาวุธนี้แค่ไหน ยังตัดไม่ได้แน่ เพราะเหตุว่าศีรษะนี่ใหญ่มากเลย แล้วก็เหนียวหนาแน่นมาก เพราะฉะนั้นก็ต้องอาศัยปัญญา ความเข้าใจ เพราะฉะนั้นเข้าใจเท่านั้น ไม่ต้องทำอะไรเลย ไม่มีเราที่จะทำอะไรได้ แต่ว่ามีธาตุชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถที่จะเกิดขึ้น จากการฟังและไตร่ตรอง ขณะนั้นก็เป็นนามธาตุมากมายหลายอย่าง ซึ่งเราใช้คำว่า เจตสิก เกิดร่วมกับจิต ทำให้ขณะนี้ ขณะใดที่กำลังเข้าใจ ขณะนั้นอวิชชาเกิดขึ้นทำงานไม่ได้ แต่แล้วก็ทำอีกได้
เพราะฉะนั้นการฟังธรรม ก็คือเป็นผู้ที่ตรง ที่จะรู้ว่าไม่มีเรา ก่อนอื่นอย่าได้คิดที่จะไปละกิเลสอื่นใดๆ ทั้งสิ้น ถ้าตราบนั้นยังคงมีความไม่รู้ และยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นเรา ที่ยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นเรา เพราะไม่รู้ เพราะฉะนั้นการที่จะละคลายความไม่รู้ คืออวิชชา ที่ยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นเรา ก็ด้วยปัญญา ความเห็นถูก ความเข้าใจถูกจากการฟังและไตร่ตรอง และก็ค่อยๆ เข้าใจความจริง จนกระทั่งสามารถที่จะเข้าใจในขณะที่ฟังตามปัจจัย ไม่ใช่เป็นเราไปขวนขวายพยายามอะไรเลย
เพราะเหตุว่าเครื่องล่อของโลภะมีมาก เจ้านายคนนี้หลอกเก่ง ทำให้หลงผิด คิดว่าขณะนั้นเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยง หลอกลวงว่าเที่ยง ทั้งๆ ที่ไม่เที่ยง และมีความยินดีพอใจที่จะไม่เข้าใจธรรมก็มี สำหรับบางท่าน พอใจที่เกิดมาแล้วมีความสุข ก็ไม่ต้อง เข้าใจธรรม ก็มีมากมายตามการสะสม เพราะฉะนั้นก่อนอื่นให้ทราบอวิชชามี อวิชชาทำงาน แล้วแต่ว่าถึงโอกาสที่อวิชชาจะเกิดขึ้นทำงานเมื่อไร ก็ทำเมื่อนั้นเรื่อยๆ แต่โอกาสของธรรมที่เป็นกุศลก็มี คือเห็นประโยชน์ของการฟังธรรมเป็นเบื้องต้น มีศรัทธา แล้วก็ฟัง แล้วก็ไตร่ตรอง จนกระทั่งเป็นความเข้าใจ แค่ขยับมือ อวิชชาทำงานหรือเปล่า
อ.ธิดารัตน์ ทำร่วมกับโลภะ
ท่านอาจารย์ เห็นหรือไม่ ใครจะหนีพ้น ต้องอาศัยการฟังจริงๆ เข้าใจจริงๆ แล้วก็รู้ว่า ถ้ายังคงเป็นเรา ไม่มีทางที่จะละอกุศลใดๆ เลยทั้งสิ้น
อ.ธิดารัตน์ ข้อสุดท้ายที่อธิบายลักษณะของโมหะ เหมือนกับความเป็นมูล เป็นราก หรือว่าเป็นเหตุ เป็นเหตุใกล้ที่ทำให้เกิด เพราะฉะนั้นถึงแม้ขณะที่เป็นอกุศลธรรมทั้งหลาย ก็จะต้องมีอวิชชาเป็นเหตุเป็นมูล ถึงแม้จะไม่รู้
ท่านอาจารย์ ขาดอวิชชาไม่ได้เลย ไม่ว่าอกุศลประเภทใดทั้งสิ้น ต้องมีอวิชชาเกิดร่วมด้วย
อ.ธิดารัตน์ จริงๆ แล้วท่านก็แสดงลักษณะของอวิชชาโดยความเป็นเหตุ ทั้งเป็นเหตุโดยการเกิดพร้อม โดยความเป็นเหตุปัจจัยเป็นเหตุเป็นมูล แต่ก็ยังอธิบายโดยความเป็นเหตุโดยอีกนัยหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุทั่วไป ซึ่งเป็นสาธารณเหตุ จะกว้างขวางกว่าอย่างไร
ท่านอาจารย์ ถ้ากล่าวโดยปัจจัย เราก็คุ้นหูมาบ้างบางคำ เช่นสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตาม ที่เกิดแล้วขณะนี้ ต้องมีปัจจัยที่ทำให้เกิด ถ้าไม่มีปัจจัยที่ทำให้เกิด เกิดไม่ได้เลย ไม่ว่าขณะไหนทั้งสิ้น แต่ว่าสภาพธรรมที่เป็นปัจจัยลึกซึ้ง เช่นขณะใดก็ตาม แม้ชีวิตของเจ้าชายสิทธัตถะ ก่อนที่จะได้ตรัสรู้ ขณะนั้นก็มีอวิชชา ถ้าไม่มี ต้องดับหรือไม่ ก็ไม่ต้องดับ
เพราะฉะนั้นก็แสดงให้เห็นว่า ตราบใดที่ยังไม่เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมตรงตามความเป็นจริง ขณะนั้นก็คือความไม่รู้ ซึ่งเป็นอวิชชา เพราะไม่รู้จึงเกิดอกุศลกรรม อกุศลธรรมทั้งหมด ไม่ว่าอะไร ทั้งทางกาย ทั้งวาจา ทั้งใจ แม้ว่าทางกายยังไม่ได้มีการกระทำใดๆ ทางใจยังไม่มีการกระทำใดๆ แต่ขณะใดที่ไม่รู้ หนีอวิชชาไม่พ้นเลย เพราะอวิชชานั่นเอง จึงทำให้ไม่รู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏ เป็นสภาพธรรมที่ปิดบัง ความจริง ส่วนปัญญาตรงกันข้าม เป็นสภาพธรรมที่เข้าใจ เพราะไม่มีอวิชชาปิดบัง ก็เป็นสิ่งซึ่งค่อยๆ เข้าใจขึ้น แล้วก็ต้องรู้ว่า ไม่ว่าจะเป็นอกุศลประเภทใด ขณะใดทั้งสิ้น ถ้าไม่มีอวิชชา อกุศลนั้นๆ เกิดไม่ได้เลย
เพราะฉะนั้นอวิชชาจึงเป็นราก หรือใช้คำว่ามูล ด้วยเหตุนี้สภาพธรรมที่เป็นมูลรากของธรรมทั้งหลายทั้งหมด ก็มีเพียง ๖ ซึ่งเป็นมูลรากที่ใช้คำว่า ปัจจัย ทำให้สิ่งต่างๆ เกิดขึ้น ทางฝ่ายอกุศลที่เป็นมูล เป็นราก มี ๓ ขาดอวิชชาไม่ได้เลย โลภะเห็นได้ โทสะเห็นได้ แล้วโมหะก็ต้องมีอยู่ แต่ไม่เห็นว่าเพราะโมหะ ทางฝ่ายกุศลก็มีอีก ๓ ทางฝ่ายโสภณ คืออโลภะ อโทสะ อโมหะ ได้แก่ปัญญาเจตสิก ในบรรดาธรรมทั้งหมด ไม่ว่าจะเกิดเมื่อไรก็ตาม ธรรมที่เป็นรากหง้า เป็นมูลที่จะทำให้เกิดธรรมอื่นๆ ก็มีเพียง ๖
อ.ธิดารัตน์ ความไม่รู้เป็นปัจจัยให้ทำอะไรได้บ้าง ยกตัวอย่างในชีวิตประจำวัน เพราะว่ามากมาย
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 841
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 842
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 843
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 844
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 845
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 846
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 847
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 848
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 849
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 850
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 851
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 852
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 853
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 854
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 855
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 856
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 857
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 858
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 859
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 860
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 861
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 862
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 863
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 864
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 865
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 866
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 867
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 868
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 869
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 870
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 871
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 872
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 873
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 874
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 875
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 876
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 877
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 878
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 879
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 880
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 881
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 882
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 883
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 884
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 885
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 886
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 887
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 888
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 889
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 890
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 891
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 892
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 893
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 894
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 895
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 896
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 897
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 898
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 899
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 900