พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 865
ตอนที่ ๘๖๕
ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
อ.คำปั่น จิตอีกประเภทหนึ่ง เป็นประเภทใหญ่ๆ คือจิตที่เกิดขึ้นโดยไม่อาศัยทวารใดเลยในการรู้อารมณ์ เรียกว่า วิถีมุตตจิต หรือบางครั้งก็จะมีคำยาวทีเดียว ทวารวินิมุตตจิต โดยความหมายก็คือ จิตที่เกิดขึ้นโดยไม่อาศัยทวารใดๆ เลยในการรู้แจ้งอารมณ์ ซึ่งก็มีเพียง ๓ ประเภท คือปฏิสนธิจิต ภวังคจิต แล้วก็จุตจิตเท่านั้น
อ.วิชัย จิตอาศัยทวาร และทวารคืออะไร มีทั้งจิตที่ไม่อาศัยทวารด้วย
ท่านอาจารย์ ศึกษาธรรมจากตัวหนังสือแล้ว ตอนนี้ศึกษาจากตัวจริงๆ เมื่อสักครู่เราพูดถึงปฏิสนธิจิต เข้าใจแล้ว ถ้าไม่มี ก็จะไม่มีใครอยู่ตรงนี้เลย แล้วก็พูดถึงภวังคจิตด้วย หมายความว่า เมื่อปฏิสนธิจิตเกิดขึ้น โลกนี้ปรากฏหรือเปล่า เพียงขณะแรกซึ่งเป็นผลของกรรมเกิดขึ้น แล้วก็ไม่มีการที่จะเห็นขณะนั้น ได้หรือไม่ ถ้าเห็นก็ไม่ใช่ปฏิสนธิจิตแล้ว ถ้าได้ยินก็ไม่ใช่
เพราะฉะนั้นจิตที่ทำกิจปฏิสนธิ ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่คิดนึกอารมณ์ของโลกนี้ไม่ปรากฏ พอปฏิสนธิจิตดับไป จิตที่เกิดต่อเป็นผลของกรรมเดียวกัน ทำให้จิตประเภทเดียวกันเกิดอีก แต่ทำต่างกิจ ไม่ได้ทำปฏิสนธิกิจ แต่ทำภวังคกิจ โลกนี้ปรากฏหรือไม่ ไม่ปรากฏ จิตประเภทเดียวกับปฏิสนธิจิตเกิด แต่ไม่ได้ทำกิจนั้น แต่เป็นประเภทเดียวกัน เพราะฉะนั้นโลกนี้ก็ไม่ปรากฏเลย มาถึงเดี๋ยวนี้ข้ามไปเลย ตั้งแต่เกิดมาไม่รู้กี่ปี แต่มาถึงเดี๋ยวนี้ มีอะไร ทีละคำ
อ.วิชัย เห็น
ท่านอาจารย์ มีเห็น ทุกคนไม่มีใครไม่รู้จักเห็น แต่ไม่รู้ว่าไม่ใช่เรา แต่เป็นจิตที่เกิด เป็นผลของกรรม เพราะฉะนั้นเลือกเห็นไม่ได้ แน่นอน เลือกเวลาที่จะเห็นก็ไม่ได้ เพราะเหตุว่ากรรมทำให้เกิดจิตนี้เมื่อไร จิตนี้จึงจะเกิดขึ้นได้ แล้วก็ก่อนเห็น มีจิตหรือไม่ มีแน่ๆ จิตอะไร ช้าๆ แล้วก็ตามความเป็นจริง ศึกษาธรรมจากธรรมที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้
เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจคำว่า ปรากฏเดี๋ยวนี้ด้วย เดี๋ยวนี้มีเห็น ก่อนเห็นมีจิตหรือเปล่า แน่นอน ต้องมีจิตเกิดก่อนจิตเห็น จิตที่เกิดก่อน เห็นหรือเปล่า นี้ค่อยๆ ขยายความชัดเจนออกมาทีละหนึ่งขณะจิต เดี๋ยวนี้มีจิตเห็นแน่นอน ก่อนจิตเห็นต้องไม่มีเห็น ต้องไม่มีจิตที่เห็น เพราะฉะนั้นก่อนที่จิตเห็นจะเกิด มีจิตเกิดแน่นอน จิตที่เกิดก่อนเห็น เห็นหรือไม่ เห็นได้หรือไม่ ชัดเจนดี มั่นคงดี ว่าจิตก่อนเห็น เห็นไม่ได้ แต่ไม่สามารถที่จะบอกได้ว่า เป็นจิตอะไร จริงหรือเปล่า หรือใครบอกได้ บอกไม่ได้เลย แต่มี ใช่หรือไม่ มีจิตที่เกิดก่อนจิตเห็นแน่ๆ แต่บอกไม่ได้ว่าเป็นจิตอะไร ก่อนจิตเห็น ต้องมีจิตเกิด แต่จิตที่เกิดก่อนเห็น ไม่เห็น เมื่อจิตที่เกิดก่อนไม่เห็น แล้วเป็นจิตอะไร ลองคิด ลองตอบ ก็ไม่รู้ ใช่หรือไม่ ใครจะรู้ ก็เห็นแต่เห็นเดี๋ยวนี้ และก็เรียนรู้เพิ่มเติมว่าก่อนเห็นก็มีจิตด้วย แต่ไม่รู้ว่าจิตอะไร นี่เป็นความจริง
ซึ่งต้องศึกษา จึงจะเข้าใจได้ แต่ก่อนจะศึกษา รู้แน่ๆ มั่นคงจริงๆ ไม่เปลี่ยนแปลงการศึกษาเพื่อเข้าใจจริงๆ ถึงการที่ไม่เปลี่ยน เป็นสัจจะจริงๆ ว่าก่อนจิตเห็นต้องมีจิตเกิดก่อนแน่ๆ และจิตที่เกิดก่อนก็ไม่เห็น แต่ไม่รู้ว่าเป็นจิตอะไร ถูกหรือไม่ ลองตอบ
อ.วิชัย อาวัชชนจิต
ท่านอาจารย์ ไปเอามาจากไหน เห็นหรือไม่ ต้องเป็นผู้ที่เคยฟัง แต่ว่าจริงๆ แล้วไม่รู้ ถ้าพระผู้มีพระภาคไม่ทรงแสดง จิตเกิดดับเร็วสุดที่จะประมาณได้ เหมือนเห็น แค่ว่าเห็น เห็นเกิดดับนับไม่ถ้วน พร้อมทั้งจิตอื่นนับไม่ถ้วน ซึ่งเกิดสลับนับไม่ถ้วน เพราะฉะนั้นการศึกษาเพื่อให้รู้ว่า ไม่ใช่เรา เป็นธรรม ก็จะมีอภิธรรม ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงความเป็นจริงโดยละเอียดของสิ่งนั้นให้รู้ว่า ก่อนจิตเห็นจะเกิดขึ้น ใครก็ไม่รู้ ว่าจิตที่เกิดก่อน ไม่ใช่ภวังคจิต เห็นหรือไม่ ใครรู้ จิตที่เกิดก่อนจิตเห็น ไม่ใช่ภวังคจิต ไม่รู้ แต่เริ่มฟัง เพื่อที่จะเห็นความเป็นอนัตตา เพื่อที่จะจำได้ แต่ถ้าให้จำชื่อ เดี๋ยวก็ลืมๆ ใช่หรือไม่ แต่จำด้วยความเข้าใจจริงๆ ว่า ก่อนจิตเห็นต้องมีจิตเกิดก่อน ซึ่งจิตนั้นไม่เห็น และจิตนั้นไม่ใช่ภวังคจิต เพราะอะไร ทำไมไม่ใช่ภวังคจิต เห็นหรือไม่
การศึกษาถ้าเข้าใจจริงๆ แล้ว เราไม่ลืมแน่นอน ทบทวนอีกครั้ง ก่อนจิตเห็น ต้องมีจิตอื่นเกิดก่อน ซึ่งไม่ใช่จิตเห็น และไม่ใช่ภวังคจิต เพราะอะไร บอกไปแล้วต้องคิด คิดเพื่อที่จะได้จำ ในความเป็นจริงในเหตุในผล ก่อนจิตเห็นมีจิตซึ่งเกิดก่อน จิตที่เกิดก่อนไม่เห็น และก็ไม่ใช่ภวังคจิต ถ้าคนที่ไม่รู้ก็คิดว่า จากภวังคจิตมาเป็นเห็น แต่ผู้ที่ทรงแสดงความละเอียดยิ่งของจิตหนึ่งขณะซึ่งต่างกัน ทรงแสดงว่าจิตเห็นขณะนี้ มีจิตที่เกิดก่อนซึ่งไม่เห็น และไม่ใช่ภวังจิต เรียกชื่อกันอีกแล้ว เรียกชื่อ แต่ถามว่า เพราะอะไร ไม่ได้ถามถึงชื่อ แต่ถามว่าเพราะอะไร เพราะว่าถ้าเป็นภวังค์แล้ว ไม่มีทางที่จะรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จะเป็นจิตเห็น จิตได้ยิน ไม่ได้เลย เป็นภวังค์เพราะกรรมทำให้เป็นจิตที่ดำรงรักษาภพชาติ ไม่ต้องเห็น ไม่ต้องได้ยินอะไรทั้งนั้น รักษาไป เกิดสืบต่อไปเรื่อยๆ เป็นผลของกรรม แต่ผลของกรรมเพียงแค่เกิดมา แล้วก็เป็นภวังค์ไปเรื่อยๆ ไม่เพียงพอต่อกรรมที่ได้กระทำแล้ว ทำกรรมแค่นั้น หรือแค่ไหนก็ตามแต่ ให้ผลเพียงแค่เกิดแล้วไม่รู้อะไรเลย สบายดี เหมือนตอนหลับสนิท ไม่เดือดร้อน ไม่เป็นทุกข์ ใช่หรือไม่ แต่ว่าเมื่อเป็นผลของกรรม ต้องไม่ใช่เพียงแค่มีการเกิดขึ้นและเป็นภวังค์
เพราะฉะนั้นจิตที่เกิดก่อนจิตเห็น แต่ไม่ใช่ภวังค์ ไม่ใช่ภวังค์ จึงรู้อารมณ์ที่ไม่ใช่อารมณ์ของภวังค์ จึงเป็นภวังค์ไม่ได้ ตราบใดที่เป็นภวังค์ต้องมีอารมณ์เดียวกับปฏิสนธิจิต จิตที่จะเกิดโดยไม่มีอารมณ์ไม่ได้ เพราะเหตุว่าจิตเป็นสภาพรู้ ต้องรู้สิ่งที่ถูกรู้ ก็สามารถที่จะปรากฏ ว่ามีจริงๆ รู้ได้ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ประเภทหนึ่งที่ใช้คำว่าวิถีจิต แต่จิตที่เป็นปฏิสนธิจิต หรือจุติจิต หรือภวังคจิต ซึ่งเป็นจิตประเภทเดียวกัน เป็นผลของกรรมเดียวกันด้วย ไม่ได้รู้อารมณ์ใดๆ ของโลกนี้เลยทั้งสิ้น แต่มีอารมณ์เดียวกัน เหมือนกัน ปฏิสนธิจิตมีอารมณ์อะไร ภวังคจิตก็มีอารมณ์เดียวกันไปตลอดทั้งชาติ จนถึงจิตขณะสุดท้าย ซึ่งจากโลกนี้ไป ไม่น่ากลัวเลย เหมือนภวังค์ ไม่มีการรู้สึกที่จะเจ็บปวดอะไรเลย เพราะว่าเหมือนภวังค์ เหมือนขณะที่หลับสนิท แต่ว่าไม่ได้ทำกิจของภวังค์อีกต่อไป ทำกิจเคลื่อนพ้นสภาพความเป็นบุคคลนี้
เพราะฉะนั้นมีจิตประเภทเดียวกัน คือปฏิสนธิจิต ภวังคจิตและจุติจิต ซึ่งมีอารมณ์เดียวกันด้วย เพราะฉะนั้นการที่จิตที่เกิดก่อนจิตเห็น ไม่ใช่ภวังค์ เพราะว่าถ้าเป็นภวังค์จะเห็นไม่ได้ จะรู้อารมณ์อื่นไม่ได้เลย ถ้าไม่เป็นภวังค์ก็เป็นจุติ ใช่หรือไม่ เพราะฉะนั้นจะเป็นจิตอื่นไม่ได้เลยทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นจิตที่ไม่ใช่จิตเห็น แต่ไม่ใช่ภวังค์ เพราะมีสิ่งที่สามารถกระทบตา ซึ่งเมื่อสักครู่นี้คุณวิชัยยกตัวอย่างเฉพาะเห็นก่อน ทีละหนึ่ง ถ้าไม่มีสิ่งที่สามารถกระทบจักขุปสาทะ คือตา รูปพิเศษที่ตัว ที่มองไม่เห็นเลย แต่มี มีแน่ๆ แต่ว่ามองไม่เห็นเลย แล้วก็รู้ว่าอยู่ที่กลางตาด้วย แต่ถึงจะมองสักเท่าไร ก็เห็นเพียงแค่สิ่งที่สามารถกระทบตาได้ จะใช้คำสั้นๆ ว่า สี เห็นสีได้ แต่เห็นจักขุปสาทรูปไม่ได้ รูป รูปพิเศษที่สามารถกระทบตา ไม่ใช่สิ่งที่สามารถปรากฏให้เห็นในขณะนี้ เพราะฉะนั้นเมื่อมีสิ่งที่สามารถกระทบตา เวลานี้ทุกคนรู้ ใช่หรือไม่ อะไรสามารถกระทบตาได้
อ.วิชัย สิ่งที่ปรากฏทางตา
ท่านอาจารย์ สิ่งที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้เท่านั้น ที่สามารถกระทบจักขุปสาทรูปนั้น เป็นปัจจัยให้ถึงเวลาที่กรรมให้ผล จิตเห็นจึงเกิด ถ้าไม่ถึงเวลา จิตเห็นก็เกิดไม่ได้ เพราะเหตุว่าสิ่งที่กระทบตา ถ้าเป็นสิ่งที่น่าพอใจ เป็นโอกาสที่กุศลกรรมที่ได้กระทำแล้ว จะให้ผล คือเกิดขึ้นเพียงเห็นสิ่งที่น่าพอใจ เพราะฉะนั้นผลของกรรมเล็กน้อยมาก แต่ก็อยากได้กันเหลือเกิน ไม่รู้ว่าความเล็กน้อย เล็กน้อยเหลือเกิน แค่กระทบตาปรากฏให้เห็นแล้วดับไป แล้วก็ไม่กลับมาอีก ก็อยากได้เหลือเกิน นี่เป็นความไม่รู้อย่างยิ่ง ใช่หรือไม่
เพราะฉะนั้นให้ทราบว่า ขณะเห็นต้องมีจิต ซึ่งเกิดก่อนจิตเห็น แม้ว่าจิตนั้นไม่เห็น แต่ก็ไม่ใช่ภวังค์ เพราะจิตนั้นเกิดขึ้นได้ ต่อเมื่อมีสิ่งที่สามารถกระทบจักขุปสาทะ แล้วก็เป็นปัจจัยให้จิตนั้นเพียงรู้ แต่ไม่เห็น เพียงรู้ว่ามีสิ่งที่กระทบ จึงใช้คำว่า อาวัชชนะ รู้ว่ามีสิ่งที่กระทบ ภาษาบาลีแปลเป็นไทยว่า รำพึงถึง คนไทยชินกับคำว่า รำพึง ต้องคิดเสียนาน รำพึงขณะเดียวคงไม่ได้ ใช่หรือไม่ แต่ตามความเป็นจริงก็คือว่า ถ้าจะกล่าวถึงจิตนั้นโดยกิจ ก็คืออาวัชชนกิจ
เพราะเหตุว่าต่อเมื่อมีอารมณ์ ซึ่งเป็นรูปที่สามารถกระทบปสาทะ ๕ ได้ จึงจะเป็นปัจจัยให้จิตนี้เกิดขึ้น เพียงรู้ว่าอารมณ์กระทบ ทางทวารหนึ่งทวารใด อย่างเช่นในขณะนี้ ก่อนเห็นมีจักขุทวาราวัชชนะ คือจิตที่อาศัยตา รู้สิ่งที่กำลังกระทบก่อนดับไป และจิตเห็นขณะนี้จึงเกิดได้ นี่คือความไม่ใช่ตัวตน ถ้าจะจำชื่อก็ต้องรู้ว่า เกิดเมื่อไร แล้วก็ทำกิจอะไร และก็เป็นชาติอะไรด้วย เมื่อจิตนี้สามารถที่จะรู้อารมณ์ที่ดีก็ได้ ไม่ดีก็ได้ จึงไม่ใช่วิบากจิต ถ้าเป็นวิบากจิต ต้องรู้แต่อารมณ์ของกรรมนั้นๆ เช่นถ้าเป็นผลของอกุศลกรรม วิบากจิตก็ต้องเป็นอกุศลวิบาก จะรู้อารมณ์ที่ดีไม่ได้ ที่น่าพอใจไม่ได้ แต่ถ้าเป็นอารมณ์ที่ดี ก็เป็นกาลของกุศลกรรม ที่ทำให้จิตเกิดขึ้นรู้สิ่งที่ดี
เพราะฉะนั้นในเมื่อจิตที่เกิดก่อนจิตเห็น ก็เกิดก่อนจิตได้ยิน ก็เกิดก่อนจิตได้กลิ่น เกิดก่อนจิตลิ้มรส เกิดก่อนจิตที่รู้สิ่งที่กระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย เพราะฉะนั้นจิตนั้นทำหน้าที่ได้ ๕ ทาง จึงใช้คำว่า ปัญจทวาร และขณะที่กำลังรู้ว่า มีสิ่งกระทบเท่านั้น คืออาวัชชนกิจ เพราะฉะนั้นจิตนั้นจึงชื่อว่า ปัญจทวารวัชชนจิต แต่ถ้ากล่าวเพียง ๑ ทางตา ก็เป็นจักขุทวาราวัชชนจิต เพราะว่าขณะนั้นไม่ได้ไปทำกิจทางทวารอื่น ทำกิจเฉพาะทางจักขุทวาร จึงเป็นจักขุทวาราวัชชนจิต และขณะที่ได้ยิน มีจิตเกิดก่อนหรือไม่ มี ภวังคจิตหรือเปล่า ไม่ใช่ ไม่ได้ทำกิจภวังค์ เพราะอะไรก็รู้ว่า ต้องมีเสียงซึ่งสามารถกระทบโสตปสาทะ กระทบตาไม่ได้แล้ว รูปนี้ไม่สามารถจะกระทบตา แต่ต้องกระทบรูปที่สามารถกระทบหู คือ โสตปสาทะ ทันทีที่กระทบ รูปยังไม่ดับเลย เพราะว่ารูปมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ นี่เพียงแค่ขณะซึ่งกระทบภวังค์ ๓ ขณะ ก่อนที่จิตจะเปลี่ยนอารมณ์ได้ เพราะว่าก่อนที่จะเป็นปัญจทวาราวัชชนจิต เป็นภวังค์อยู่ แต่เป็นภวังค์ซึ่งเป็นภวังค์สุดท้าย ถ้าภวังค์นี้ดับไป ภวังค์จะเกิดต่ออีกไม่ได้เลย ต้องเป็นจิตที่เกิดเพราะการกระทบกันของรูปที่กระทบกัน
เพราะฉะนั้นวันนี้ ก่อนจิตเห็น ไม่ลืมจิตนี้ ถ้าลืม เป็นอะไรหรือเปล่า ก็ไม่เป็นอะไร เพราะว่าใครจะรู้จิตนั้น ใช่หรือไม่ แต่เห็นกำลังเห็นแน่ๆ และก็มีจิตที่เกิดก่อนจิตเห็นด้วย และก็ก่อนจิตนั้นก็ต้องเป็นภวังค์ และก่อนภวังค์สุดท้ายก็ต้องมีภวังค์ๆ อีก นี่ก็เป็นเรื่องที่ค่อยๆ เข้าใจไปทีละเล็กทีละน้อย
อ.วิชัย สำหรับการสนทนา ก็พอที่จะทราบถึงว่า จิตก็มีหน้าที่ ที่ว่าเป็นกิจของจิต โดยขณะแรก เป็นจิตที่ทำกิจอะไร ปฏิสนธิ ในภูมินี้ ซึ่งไม่มีบุคคลใดที่จะให้ปฏิสนธิแก่ใครได้เลย แต่ว่าการเกิดขึ้นในภูมิที่ดีหรือไม่ดี เพราะมีกรรมนั่นเอง ที่จะเป็นปัจจัยให้วิบากจิต ทำกิจปฏิสนธิในภูมิต่างๆ ตามกรรมที่ได้กระทำไว้แล้ว เป็นสุคติก็มี เป็นทุคติก็มี แต่ไม่ใช่มีเฉพาะปฏิสนธิจิตอย่างเดียว หลังจากที่ปฏิสนธิจิตดับแล้ว จิตอะไรเกิดต่อ ภวังคจิต ซึ่งทำภวังคกิจ คือยังเป็นบุคคลนั้นอยู่ และก็ไม่ใช่เฉพาะปฏิสนธิจิต ภวังคจิต แต่ต้องมีการที่จะรู้อารมณ์ตามทวารต่างๆ ด้วย จิตขณะแรกที่รู้อารมณ์ทางตา คือจิตอะไร ก็คือจักขุทวาราวัชชนจิต ใช้คำว่า รำพึงหรือว่านึกถึง เพราะเหตุว่ามีอารมณ์ มีรูป ซึ่งมากระทบกับปสาทรูป เมื่อมีการกระทบกัน ก็เป็นปัจจัยที่จะให้จิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ที่มากระทบนั่นเอง เรียกว่าเป็น อาวัชชนจิต เพราะเหตุว่า จิตนั้นทำอาวัชชนกิจ ถ้าทางปัญจทวาร ทวารทั้ง ๕ ก็เป็นปัญจทวาราวัชชนจิต หลังจากนั้นก็จะเป็นจิตเห็นบ้าง ได้ยินบ้าง ซึ่งก็เป็นแต่ละขณะตามทวารนั้นๆ และสัมปฏิจฉันนะ คือจิตที่อะไร รับอารมณ์ต่อ สันติรณะ คือพิจารณาอารมณ์ โวฏฐัพพนะ คือตัดสิน หรือเป็นจิตที่กระทำทางให้ชวนจิตเกิดขึ้น ก็จะสืบต่อเนื่องกัน จนถึงชวน เป็นจิตที่แล่นไป ก็เป็นจิตที่สำคัญมาก ชวนจิต
อ.คำปั่น เวลาที่มีโอกาสได้ฟังความจริง ก็จะทำให้ได้เข้าใจธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่มีจริงๆ ในชีวิตประจำวัน เพราะเหตุว่าทุกขณะเป็นธรรม มีแต่ธรรมเท่านั้นที่เกิดขึ้นเป็นไป แต่ถ้าหากว่าไม่มีโอกาสได้ฟังความจริง ที่เป็นพระธรรมคำสอน ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงเลย ก็ไม่มีทางที่จะเข้าใจถูก เห็นถูกตามความเป็นจริงได้ ซึ่งก็น่าพิจารณา ว่า แม้จะมีธรรมอยู่ทุกขณะ แต่ไม่รู้ แล้วจะรู้ความจริงได้อย่างไร
เพราะฉะนั้นก็ต้องอาศัย พระธรรมที่พระองค์ทรงแสดง เพราะเหตุว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง และทรงแสดงให้สัตว์โลกได้เข้าใจถูก เห็นถูกตามความเป็นจริง ผู้ที่ได้ฟังพระธรรม ต้องเป็นผู้ที่ได้สะสมบุญมาแล้ว ตั้งแต่ชาติปางก่อน จึงทำให้ผู้นั้นน้อมมาสู่การฟังพระธรรม และทุกครั้งที่มีโอกาสได้ยิน ได้ฟังพระธรรมนั้น จะเป็นผู้ประมาทในคำที่ได้ยิน ได้ฟัง ไม่ได้เลย เพราะเหตุว่าพระธรรมละเอียดลึกซึ้งอย่างยิ่ง
เพราะฉะนั้นวันนี้จะนำเข้าสู่ การสนทนาธรรมจากคำๆ เดียว คือคำว่า เจตสิก เจตสิกเป็นคำไทย แต่บาลีก็คือเจตสิกะ ซึ่งส่วนใหญ่ชาวพุทธหรือว่าสังคมไทย ก็จะได้ยินคำว่า จิตบ้าง ได้ยินคำว่ารูปบ้าง แต่เจตสิกดูเหมือนว่าจะเป็นคำใหม่ กราบเรียนท่านอาจารย์ว่า จุดเริ่มต้นในการที่จะเข้าใจสภาพธรรมที่มีจริงๆ ในขณะนี้เป็นอย่างไร และ เมื่อได้ยินคำว่าเจตสิก จะนำไปสู่การเข้าใจสภาพธรรมที่มีจริงๆ ในขณะนี้อย่างไร
ท่านอาจารย์ ธรรมก็คือชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้นการที่จะเข้าใจธรรม ก็คือไม่ว่าสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่มีจริงๆ ทุกขณะในชีวิตประจำวัน ภาษาบาลีใช้คำว่า ธรรม เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่เอาคำ ธรรม มาขวางหรือมากั้นอีกภาษาหนึ่ง เราก็ใช้ภาษาไทยธรรมดาว่า สิ่งที่มีจริงนี้ เรารู้ความจริงของสิ่งที่มีจริงหรือเปล่า ถ้ายังไม่รู้ ควรรู้หรือว่าควรที่จะปล่อยผ่านไป โดยที่ว่าก็ไม่รู้ตั้งแต่เกิด จนกระทั่งตายไป ก็ไม่รู้ว่าสิ่งที่มีในชีวิตประจำวันคืออะไร
เพราะฉะนั้นก่อนอื่นก็คือ ให้ทราบว่า เพราะมีสิ่งที่มีจริงๆ แล้วก็กำลังปรากฏด้วย แต่ว่ายังไม่ได้เข้าใจความจริงของสิ่งที่มีจริง เพราะสิ่งที่มีจริงหลากหลายมาก ขณะนี้เห็นก็มีจริงๆ ได้ยินก็มีจริงๆ คิดนึกก็มีจริงๆ ลมพัดเย็นๆ ก็มีจริงๆ หรือจะใช้คำว่า เย็นก็มีจริงๆ เพราะฉะนั้นทุกอย่างที่มีจริงเป็นอะไร ต้องเป็นผู้ที่ตรงอย่างยิ่ง แล้วก็ไม่เปลี่ยน ถ้าได้รู้ว่าความจริงเป็นอย่างนั้น ก็ต้องเข้าใจว่าเป็นอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากเป็นอย่างนั้น เช่น เย็นเป็นหวาน ได้หรือไม่ เป็นแข็ง ได้หรือไม่ ไม่ได้ เพราะฉะนั้นเย็น เป็นสิ่งที่มีจริง พอได้ยินคำว่า ธรรม ตอนนี้ก็รู้ได้ ใช่หรือไม่ว่า ภาษามคธี ซึ่งเป็นภาษาบาลี ก็ใช้คำว่า ธรรม หมายความถึงสิ่งที่มีจริงๆ เพราะฉะนั้นฟังธรรม ศึกษาธรรมต้องเข้าใจก่อนว่า ธรรมคืออะไร มิเช่นนั้นก็ไม่รู้ว่ากำลังศึกษาอะไร เช่นในขณะนี้พอรู้ว่า ธรรมคือสิ่งที่มีจริง ทุกคนเข้าใจแล้ว กำลังฟังเพื่อเข้าใจความจริงของสิ่งที่มีจริง
เพราะฉะนั้นสิ่งที่มีจริง ทำไมทั้งๆ ที่ปรากฏ เราก็ไม่สามารถที่จะรู้ความจริงได้ เพราะเหตุว่าไม่เคยสนใจ ใส่ใจ ในความจริงแต่ละหนึ่ง ซึ่งเปลี่ยนแปลงไม่ได้เลย เช่นเห็นเป็นเห็น ได้ยินเป็นได้ยิน คิดคือคิด เพราะฉะนั้นแต่ละคำ จะต้องเข้าถึงความจริงว่า เราได้เข้าใจคำนั้นถูกต้องแล้ว เช่นสิ่งที่มีจริง เห็น เข้าใจหรือยัง เข้าใจเพียงแค่ว่ามีจริง ถูกต้องไหม แต่เห็น เห็นตลอดไปหรือเปล่า เห็นทั้งวันทั้งคืน ไม่มีอย่างอื่นเลย มีแต่เห็นเท่านั้นหรือเปล่า ก็ไม่ใช่
เพราะฉะนั้นชีวิตจริงๆ คือเห็นบ้าง ได้ยินบ้าง แล้วแต่ละอย่างก็ไม่ปะปนกัน เพราะฉะนั้นในขณะที่ เห็นเป็นเห็น สิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็น ไม่ใช่ได้ยินเสียง ไม่ใช่คิดนึก เพราะฉะนั้นก็จะเข้าใจความหมาย ความหลากหลายของสิ่งที่มีจริงว่า ถ้าจะศึกษาสิ่งที่มีจริง ต้องเข้าใจแต่ละหนึ่งให้ถูกต้อง เพราะว่าความจริงปรากฏได้เพียงทีละหนึ่งอย่าง ในขณะที่เสียงกำลังปรากฏ อย่างอื่นปรากฏไม่ได้เลย ในขณะที่คิด กำลังคิด อย่างอื่นก็ปรากฏไม่ได้ นอกจากคิด
นี่คือการศึกษาเพื่อที่จะเข้าใจว่า ตั้งแต่เกิดจนตาย ก็มีแต่สิ่งที่มีจริง ซึ่งเกิดขึ้นเป็นจริงอย่างนั้นๆ แล้วก็ดับไป เพราะฉะนั้นในขณะนี้ เรายังไม่ใช้คำภาษาบาลีเลยทั้งสิ้น ขณะนี้มีเห็น มีสิ่งที่ปรากฏให้เห็น
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 841
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 842
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 843
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 844
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 845
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 846
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 847
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 848
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 849
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 850
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 851
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 852
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 853
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 854
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 855
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 856
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 857
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 858
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 859
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 860
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 861
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 862
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 863
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 864
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 865
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 866
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 867
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 868
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 869
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 870
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 871
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 872
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 873
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 874
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 875
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 876
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 877
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 878
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 879
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 880
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 881
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 882
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 883
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 884
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 885
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 886
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 887
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 888
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 889
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 890
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 891
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 892
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 893
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 894
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 895
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 896
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 897
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 898
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 899
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 900