พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 843
ตอนที่ ๘๔๓
ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
อ.คำปั่น กราบเรียนท่านอาจารย์ถึงธรรมที่ได้ยินได้ฟัง ก่อนหน้านี้ท่านอาจารย์ได้กล่าวถึงโอกาสพิเศษ วาระพิเศษ สมัยพิเศษ ก็คือโอกาสที่ได้ยินได้ฟังพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง คือ การฟังพระธรรม เวลาที่มีการฟังธรรมก็จะมีผู้กล่าวธรรม เป็นประเด็นที่มีผู้ถามว่า อย่างไหนคือพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง อย่างไหนที่ไม่ใช่ธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ในการที่จะแยกแยะสิ่งที่ได้ยินได้ฟังว่า สิ่งใดคือเป็นพระธรรม สิ่งใดคือไม่ใช่พระธรรม เพราะบางครั้งอาจจะมีการยกข้อความในพระไตรปิฎกมา และมีการกล่าว มีการอธิบายตามความเห็น ตามความคิดของตนเอง อย่างไรจึงจะชื่อว่า เป็นการฟังธรรมจริงๆ และเป็นการฟังในสิ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง
ท่านอาจารย์ สิ่งที่ได้ยินได้ฟังถูก หรือผิด ใครจะพูดอะไรก็พูดได้แต่ว่า พูดผิด หรือพูดถูก วาจาสัจจะ หมายความถึงพระพุทธพจน์เพราะเหตุว่า วาจานั้นเป็นคำที่กล่าวถึงสัจจะความจริง เช่น เห็นมีจริงๆ พูดถึงเรื่องเห็นให้เข้าใจขึ้นว่า เป็นสิ่งที่มีจริง เกิดขึ้นเพราะมีปัจจัยให้เห็นแล้วก็ดับไป เป็นคำของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือคำของใคร ใครสามารถที่จะรู้อย่างนี้ได้ ถ้าไม่มีการฟัง และมีการเข้าใจ เพราะฉะนั้นพระผู้มีพรภาคตรัสว่า คำใดที่เป็นคำจริง คำนั้นทั้งหมดเป็นคำของพระองค์ไม่ว่าใครจะกล่าว ยังต้องสงสัยอีกไหม
อ.คำปั่น เพราะฉะนั้นจะต้องกล่าวถึงสิ่งที่มีจริงๆ และผู้ที่ฟังก็เริ่มที่จะสะสมความเข้าใจที่ได้ยินได้ฟังในสิ่งที่มีจริงนั้น
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเป็นความผิดของผู้ที่พูดไม่จริง หรือเปล่าถ้าเชื่อเขา มีวาจาจริงกับวาจาไม่จริง ถ้าบอกว่า "เราทำได้" อัตตา หรือเปล่า ทำอะไรได้ไหนลองบอก ทำเห็น หรือ หรือว่า ทำได้ยิน หรือว่าทำคิด หรือว่าทำอะไร ทำได้จริงๆ หรือเปล่า เพราะฉะนั้นใครจะพูดอย่างไรก็ตาม เป็นความผิดของคนพูด หรือว่าเป็นความผิดของคนเชื่อ เรามีสิทธ์์ ใครพูดอะไรไม่มีใครบังคับให้เชื่อ เพราะฉะนั้น "เชื่อเขา" ใช่ไหม เขาก็ไม่ได้บังคับ เชื่อเอง ฟังแล้วเชื่อ ความผิดของใคร เพราะฉะนั้นใครจะพูดอะไรทุกคนมีสิทธิ์ สะสมมาอย่างไร สะสมความเห็นผิดมาจะให้พูดถูกไม่ได้ สะสมมาผิดๆ เห็นผิด เข้าใจผิด คำพูดนั้นก็ต้องผิดตามความเห็นแต่ใครจะเชื่อก็เป็นเรื่องของการสะสมของคนนั้นที่เชื่อเอง แต่ว่าคำใดก็ตามที่เป็น "วาจาสัจจะ" คำจริงกล่าวถึงสิ่งที่ีมีจริง คำทั้งหมดที่กล่าวถึงสิ่งที่มีจริงเป็นวาจาสัจจะ คนที่ฟังสามารถที่จะพิจารณาไตร่ตรอง หลายคนไม่สนใจ หลายคนก็ไม่เชื่อ บังคับใครก็ไม่ได้แต่ว่า คำพูดนั้นจริง หรือเปล่า พูดถึงสิ่งที่มีจริงตามความเป็นจริงให้เข้าใจได้ว่า สิ่งที่ได้ยินได้ฟังละเอียดขึ้นๆ นี้เป็นความจริง หรือเปล่า
อ.คำปั่น ขอบพระคุณท่านอาจารย์ที่ได้กล่าวย้ำตรงนี้ เป็นเครื่องเตือนที่ดีเพราะพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นวาจาสัจจะ เป็นคำจริงที่แสดงถึงสิ่งที่มีจริง พระพุทธพจน์ทุกคำ ทุกพยัญชนะเป็นคำจริงเพื่อเข้าใจความจริง จะไม่มีคำใดที่ผิดเลย เป็นไปเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องโดยตลอด เพราะฉะนั้นเมื่อมีความละเอียดในการฟัง ในการศึกษา ความเข้าใจก็จะค่อยๆ เจริญขึ้นเพราะว่า ผู้ที่ได้ฟังพระธรรมก็เป็นผู้ที่ได้สะสมบุญ สะสมความดี สะสมเหตุที่ดีมาแล้ว เป็นผู้ที่เห็นประโยชน์ของพระธรรมมาแล้วจึงมีโอกาสได้ฟัง ได้ศึกษา ได้อบรมปัญญาต่อไปซึ่งเมื่อสักครู่ท่านอาจารย์ได้กล่าวก่อนหน้านี้ว่า วาสนาภาวนา หมายถึงเป็นการอบรมเพื่อที่จะเป็นอุปนิสัยที่ดีต่อไปในอนาคต
ผู้ฟัง ในสังสารวัฏฏ์เราก็หลับมาตลอด แล้วตื่นเมื่อไหร่ และมีหลับๆ ตื่นๆ ไหม
ท่านอาจารย์ เข้าใจเมื่อไหร่ เข้าใจระดับไหน เข้าใจเพียงเรื่อง เหมือนได้ยินได้ฟังในฝัน หรือเปล่า เพราะว่าเป็นเรื่องอย่างเมื่อกี้นี้เราได้คุยกันว่า ที่ห้องนี้มีมหาภูตรูปอะไรบ้าง นี่ก็เป็นเรื่องใช่ไหม ตื่น หรือยังตอนนั้น
ผู้ฟัง เพราะว่าเมื่อกี้บอกว่า ถ้าตื่นเมื่อเป็นพระโสดาบัน
ท่านอาจารย์ ก็ไปคิดถึงชื่ออีก ไม่ต้องไปสนใจอะไรเลยเพราะว่า มีสิ่งที่กำลังปรากฏแล้วเข้าใจแค่ไหน หรือว่าไม่เข้าใจเลย หรือว่าไม่ได้ยินไม่ได้ฟังเรื่องสิ่งที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏ หรือว่าสนใจในเรื่องอื่น แสดงถึงสิ่งที่มีจริงแต่ละ ๑ อกุศลเป็นอกุศล กุศลเป็นกุศล ความสนใจเป็นธรรมอย่างหนึ่ง ความเพียรเป็นธรรมอย่างหนึ่ง ขอให้ไม่ต้องไปติดชื่อจะดีกว่าดเพราะชื่อจะบัง คิดแล้วว่าเป็นพระโสดาบัน เรื่องอะไรต่างๆ แต่ว่า ขณะนี้ถ้ายังไม่รู้ความจริงเพียงแต่ฟัง ตื่น หรือเปล่า
ผู้ฟัง ยังไม่ตื่น
ท่านอาจารย์ แล้วมีลักษณะของสภาพจริงๆ ให้เข้าใจแต่ยังไม่เข้าใจลักษณะนั้น ตื่น หรือยัง
ผู้ฟัง เมื่อไรที่รู้ลักษณะความจริงของธรรมก็เป็นการตื่น
ท่านอาจารย์ เพียงว่าตลอดมาในสังสารวัฏฏ์ หลับมาตลอดใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ แค่นี้ก็พอจะรู้ได้ถึงความต่างกันกับการที่ได้ยินได้ฟังแล้วเข้าใจทีละเล็กทีละน้อยจนกระทั่งสามารถที่จะเข้าใจตรงตามที่ได้ฟังทุกคำ เช่น ธรรมทุกอย่างเป็นอนัตตา สอดคล้องกับการที่ได้ยินได้ฟังต่อไปอีกๆ หรือเปล่าแม้แต่เพียงธรรมเป็นสิ่งที่มีจริง และเป็นอนัตตาด้วย และเกิดแล้วก็ไม่รู้เหมือนสภาพธรรมอื่นๆ ในขณะนี้ซึ่งก็เกิดดับโดยที่ว่า ไม่ได้เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมนั้น จะชื่อว่าตื่นไหม ก็ยังใช่ไหม
ผู้ฟัง ยังไม่ตื่น
ท่านอาจารย์ ก็ไม่ต้องไปสนใจว่า จะตื่นเมื่อไหร่ ตื่น หรือยัง เดี๋ยวฟังไปก็ "เอ๊ะ ตื่นรึยัง?" ก็มาเป็นห่วงกังวลอีกซึ่งจริงๆ เป็นเรื่อง "ละ" เพราะฉะนั้นกว่าจะเห็นโลภะ หรือตัณหาจนกระทั่งสามารถที่จะใช้คำว่า "ได้รู้จักนายช่างผู้สร้างเรือน" ก็ยากเพราะว่า ทรงแสดงเรื่องของโลภะอย่างละเอียด เช่น ขณะใดก็ตามที่ติดข้อง มีไหมแม้ขณะนี้เห็น ติดแล้วเพราะไม่รู้ความจริง เมื่อติดแล้วต่อไปอะไร เรื่องของโลภะไม่จบง่ายๆ เลย ละเอียด และยาวตลอดไม่เคยขาดไปเลย เพราะฉะนั้นเมื่อติดข้องแล้วต่อไปคืออะไร แสวงหา มีใครบ้างซึ่งไม่แสวงหาด้วยโลภะ ด้วยความต้องการทุกอย่าง จะก้าวเดินไปก็ยังไม่รู้ว่า ขณะนั้นก็แสวงหาแล้ว ไม่อยู่กับที่แล้ว ไปแล้วใช่ไหม เพราะฉะนั้นทุกอย่างโลภะจะทำกิจหน้าที่อยู่เพิ่มขึ้นๆ เมื่อมีความติดข้องต่อไปก็คือแสวงหา แสวงหาได้มา ตอนที่ยังไม่ได้ก็แสวง แสวงไปเรื่อยจนกว่าจะได้มา ได้มาแล้วอย่างไร เสวยบริโภคสิ่งที่ได้ในขณะที่ได้ แล้วต่อไปอีกคือ เก็บไว้ด้วยใช่ไหม จริง หรือเปล่าทุกวันเก็บไว้ ยังไม่จบเรื่องของโลภะ แล้ว "สละ" คำนี้ยากที่จะเข้าใจแต่ต้องไม่ลืม ไม่ได้พูดถึงปัญญา ไม่ได้พูดถึงการปล่อยวาง ไม่ได้พูดถึงการสละด้วยปัญญาแต่พูดถึงโลภะตั้งแต่ติดข้อง แสวงหา ได้มา ชื่นชม บริโภค แล้วเก็บไว้ แล้วสละ ต้องเป็นโลภะสละด้วยความหวังที่จะได้ ใครรู้ตัวบ้างว่า จริงๆ แล้วเป็นอย่างนั้น หรือเปล่า ทุกอย่างที่ได้มาแม้แต่ดอกไม้ถ้าไม่สละเงินจะได้มาไหม ไม่มีทางที่จะได้มาเลยแต่ด้วยความอยากได้จึงสละสิ่งที่เก็บไว้
อ.ธิดารัตน์ หมายถึงว่า ด้วยกำลังของโลภะ สละสิ่งหนึ่งเพื่ออีกสิ่งหนึ่ง
ท่านอาจารย์ สละสิ่งที่เก็บรักษาไว้มากมายเงินทองเพื่อได้สิ่งที่ต้องการ แล้วแต่ว่าต้องการอะไรก็จะสละเพื่อสิ่งนั้น บางคนก็ไปบูชาอะไรๆ เพราะหวังว่าจะได้อย่างนั้นอย่างนี้ ปล่อยนก ปล่อยปลา ฯลฯ จริงๆ แล้วขณะนั้นถ้าไม่มีปัญญาไม่สามารถจะรู้ได้เลยว่า ขณะนั้นเป็นความหวัง เป็นความติดข้อง หรือว่าเป็นการให้ การซื้อขายเป็นการให้ หรือเปล่า ไม่ใช่ใช่ไหม ถ้าให้ด้วยหวังที่จะได้สิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นการให้ หรือเปล่า เหมือนกับการซื้อเพราะรู้ว่า ถ้าสละอย่างนี้แล้วจะได้อย่างนั้น บางคนบอกว่า สละอย่างนี้แล้วจะได้เกิดในสวรรค์ ฯลฯ ก็สละกันเพื่อหวังสิ่งนั้น เพราะฉะนั้นถ้าไม่เข้าใจจริงๆ ในคำที่ได้ตรัสไว้ โลภะตลอดอย่างไรก็จะเข้าใจว่า ขณะนั้นสละแต่ไม่ใช่เลย ไม่ได้สละอะไรเลยเพราะหวัง ด้วยเหตุนี้กว่าจะรู้จักโลภะจริงๆ เมื่อตรัสรู้แล้วทรงเปล่งอุทานว่า "เราได้พบนายช่างผู้สร้างเรือน" คือโลภะ จะเห็นได้ว่า รู้ยากแม้เดี๋ยวนี้ขณะนี้มีก็ไม่รู้ และถ้ายิ่งเป็นการแสวงหาอยากจะได้ก็ยิ่งเห็นกำลัง ถ้าไม่ต้องการจะแสวงหาไหม บางคนชอบมะละกอรสอร่อยก็ต้องปลูกใช่ไหมเพื่อที่จะได้มา ทุกอย่างเป็นการแสวงหาทั้งนั้นเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ เพื่อบริโภค ได้มาก็ต้องใช้ ปลาบปลื้มใจที่ได้มา และยังต้องเก็บสะสมไว้อีกเพื่ออะไร เพื่อสละแม้สละก็ด้วยโลภะเพื่อจะได้สิ่งที่ต้องการ เพราะฉะนั้นพระธรรมเป็นสิ่งที่ลึกซึ้ง ถ้าอ่านเผินเห็นว่า พระธรรมคงจะดีแต่อย่าลืมโลภะ หน้าที่กิจการงานของโลภะทั้งนั้นตั้งแต่ต้นจนสามารถแม้จะกล่าวว่า "สละ" แต่พิจารณาทุกคนที่คิดว่าสละ เพื่ออะไร
อ.อรรณพ กราบเรียนท่านอาจารย์ เลยนึกถึงข้อความในอรรถกถาสั้นๆ ว่า "ไปตามกระแสของตัณหา" ตั้งแต่ติดข้อง แสวงหา ได้มา ใช้สอยบริโภค และยังเก็บเอาไว้เพราะยังจะต้องใช้ต่อ แล้วเอาไปที่ว่าสละก็เพื่อหวังที่จะได้ต่อไป ก็เป็นโลภะตลอดเลย
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นต้องศึกษาพระธรรมด้วยความละเอียดยิ่งที่จะรู้ว่า ธรรมแต่ละ ๑ ปะปนกันไม่ได้เลย
อ.วิชัย กราบท่านอาจารย์ ก่อนหน้านั้นได้ฟังเกี่ยวกับเรื่องของความยินดีพอใจ ไม่ว่าจะเป็นการแสวงหา การเสวย การสละ เพื่อมีความหวังที่จะได้บางอย่าง ดูเหมือนชีวิตประจำวันเต็มไปด้วยความต้องการ ความหวังรต่างๆ แต่ถ้าคิดตามเข้าใจอีกครั้งความเข้าใจก็รู้ว่า ความยินดีพอใจก็เป็นธรรมดา
ท่านอาจารย์ ก็เป็นธรรมซึ้งไม่ใช่เรา ทุกอย่างเป็นธรรม
อ.วิชัย แต่ต้องมีหนทางที่จะละใช่ไหม
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นต้องเป็นปัญญาที่สามารถที่จะเข้าใจถูกเห็นถูก เช่น แม้แต่เพียงถามว่า "มหาภูตรูปเดี๋ยวนี้มีไหม?" แค่นี้ก็แสดงแล้วใช่ไหม โลภะมี หรือเปล่าถ้าไม่รู้ความจริง แล้วจะบอกว่า "อะไรๆ ก็โลภะ" ก็จริงเมื่อไม่รู้ก็ต้องติดข้อง ติดข้องสิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็น ติดข้องในเสียง ติดข้องในทุกอย่างที่ไม่รู้ จะกล่าวว่าไม่ติดข้องในได้ยิน หรือ จะกล่าว่าไม่ติดข้องในเสียง หรือ ถ้าไม่รู้ว่าเสียงคือสิ่งที่มีจริง ชั่วคราวยิ่งกว่าที่เพียงเกิดแล้วดับไป เกิดแล้วดับไปมีโลภะแล้วในขณะที่จิตกำลังมีเสียงเป็นอารมณ์ แม้ว่าจะไม่ใช่จิตที่ได้ยินแต่เสียงยังไม่ดับก็มีโลภะในเสียงนั้นแล้ว แล้วจะหนีไปไหน ต้องรู้ตามความเป็นจริงว่าเป็นะรรม เพราะฉะนั้น ั้งหมดที่ได้ฟังเพื่อที่จะมีความเข้าใจถูกเห็นถูกว่า เป็นสิ่งที่มีจริงซึ่งไม่ใช่เรา จะเป็นระดับไหนก็เป็นธรรมทั้งหมด เพราะฉะนั้นความเข้าใจไม่ใช่โลภะ ไมใช่ความติดข้อง ไม่ใช่ความไม่รู้
อ.วิชัย พอรู้สึกว่ามีความต่างระหว่างความไม่รู้กับความเข้าใจขึ้น
ท่านอาจารย์ ธรรมที่รู้กับไม่รู้ก็ต่างกันอยู่แล้ว ติดข้องกับไม่ติดข้องก็ต่างกันอยู่แล้ว
อ.วิชัย แม้จะไม่รู้ในลักษณะของเขาแต่ก็พอพิจารณาได้
ท่านอาจารย์ ลักษณะของความรู้ไม่ใช่ความไม่รู้ ขณะที่เข้าใจไม่ใช่ลักษณะที่ไม่เข้าใจ ชั่วขณะๆ
อ.คำปั่น กราบท่านอาจารย์สำหรับในการศึกษาพระธรรมในฐานะที่เป็นผู้ที่ยังมีความติดข้องยินดีพอใจในกามคือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะอยู่ซึ่งกล่าวได้ว่า ชีวิตของแต่ละคน แต่ละท่านนั้นไม่พ้นไปจากความเป็นบุคคลผู้บริโภคกาม กราบเรียนถามท่านอาจารย์ถึงความแตกต่างว่า บุคคลผู้บริโภคกามจะมีประเภทใหญ่ๆ อย่างไรเพื่อประโยชน์ในการศึกษาพระธรรมเพื่อความเข้าใจธรรมถูกต้องตรงยิ่งขึ้น
ท่านอาจารย์ ข้อความในพระไตรปิฎกกล่าวถึงความจริงทุกกาลสมัย เพราะฉะนั้นขณะนี้แต่ละคนก็แต่ละหนึ่ง เพราะฉะนั้นเราจะไปมีกฏเกณฑ์ให้ใครก็ไม่ได้ นอกจากว่า ให้เข้าใจถูกต้องตามความเป็นจริงเท่านั้นว่า ขณะนี้ทุกคนเป็นใคร ก็ไม่ยากที่จะตอบ ก็ยังเป็นผู้ที่บริโภคกามเท่านั้นเองตามความเป็นจริง กามได้แก่ รูปที่ปรากฏทางตา เห็น ไม่ได้เข้าใจตามความเป็นจริงก็เป็นประเภท ๑ ที่ไม่มีการฟัง ไม่มีการสนใจ และไม่มีความเข้าใจ เพราะฉะนั้นชีวิตของแต่ละคนก็ยังคงเป็นไปด้วยการบริโภค ขณะนี้ มีสิ่งที่ปรากฏ กำลังบริโภครู้ตัว หรือเปล่าว่า แท้ที่จริงที่บอกว่า เราเป็นผู้ที่บริโภคกามแต่ความจริงคือ ขณะใดก็ตามที่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดปรากฏ โลภะเกิดแล้ว อร่อย ดี ชอบ แล้วแต่ว่าสิ่งที่ปรากฏเป็นอย่างไร ไม่รู้ตัวเลย เพราะฉะนั้นแทนที่เราจะไปคิดเองในเรื่องต่างๆ พระธรรมที่ทรงแสดงทั้งหมดทุกคำ แต่ละคำ เป็นความจริงให้เข้าใจอะไร ให้เข้าใจสิ่งที่มีจริงเพื่ออะไร เพื่อรู้ว่าเป็นสิ่งซึ่งเกิดเพราะเหตุปัจจัยแล้วดับไป ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ของใครทั้งสิ้นเพื่ออะไร เพื่อชำระจิตซึ่งเต็มไปด้วยความไม่รู้ ก่อนอื่นต้องรู้ว่า โลกนี้จะปรากฏไม่ได้เลยถ้าไม่มีจิตแต่เมื่อจิตเป็นธาตุรู้เกิดขึ้นเมื่อไหร่ โลกแต่ละโลกก็ปรากฏ เช่น สิ่งที่มีจริงในโลกนี้คือ สิ่งที่กำลังปรากฏทางตาก็ปรากฏให้รู้ว่า มีจริงๆ ในขณะที่กำลังเห็น โลกนี้มีเสียงแต่จะปรากฏว่าเสียงมีต่อเมื่อธาตุรู้คือ จิต เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้เกิดพร้อมเจตสิก และมีเสียงเป็นอารมณ์ คือขณะนี้ทั้งหมดทุกคนเป็นผู้บริโภคกาม จะรู้ตัว หรือเปล่าว่า บริโภคทุกวันทุกขณะที่มีการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส การรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส การคิดนึกในเรื่องที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะฉะนั้นไม่ใช่ว่า เราไปเอาคำในพระไตรปิฎกมานั่งไตร่ตรองว่าเป็นอย่างไร แต่ชีวิตจริงเป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้นแต่ละคำแม้แต่ กาม ความยินดีพอใจ ความติดข้อง ความใคร่ทุกวันนี้ในอะไรไม่พ้นเลย เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส คิดนึก คือ ต้องการเห็นสิ่งที่ปรากฏให้เห็นเพื่อบริโภค พอใจที่จะเห็นด้วยโลภะ หรือว่าด้วยโทสะ หรือด้วยโมหะ เพราะฉะนั้นตามความเป็นจริงทุกคนเป็นใครก็ชัดเจนอยู่แล้ว ถ้าไม่เคยรู้มาก่อนก็รู้ว่าเป็นผู้ที่บริโภคกาม ในบรรดาผู้ที่บริโภคกามทั้งหลายชีวิตก็หลากหลายไป บริโภคกามตามได้ ตามเหตุ ตามปัจจัย หรือว่ามีความติดข้องจนกระทั่งแสวงหาจนเดือดร้อนด้วยการทำทุจริตต่างๆ เพราะฉะนั้นแต่ละชีวิตพรรณาไม่หมดแต่ประมวลไว้ว่า ความจริงของแต่ละชีวิตหลากหลายมาก ผู้ที่ติดข้องในกามอย่างมาก ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ มีไหมญาติพี่น้องเพื่อนฝูง มี ไม่สนใจที่จะเข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ เลย และลืมด้วยว่า อยู่ในโลกนี้ไม่นาน ไม่นานเลยแล้วก็จากโลกนี้ไปแต่ว่า จากไปด้วยอะไร ด้วยความไม่รู้ ด้วยความติดข้อง บางคนกำลังจะจากโลกนี้ไปใส่แหวนอยู่ มีคนลองใจค่อยๆ ดึงก็ยังชักมือหนี แสดงให้เห็นว่า แม้ในวาระสุดท้ายไม่เคยได้ยินได้ฟังเลยว่า ไม่มีอะไรที่เป็นของเราจริงๆ แม้แต่ขณะนี้ที่นั่งอยู่ที่นี่เหมือนกับรูปนี้เป็นของเราตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ความจริงไม่ใช่เลยตราบใดที่จิตเกิดที่รูปนี้ๆ ก็เคลื่อนไหวไป แล้วไปด้วยจิตประเภทไหน ด้วยการบริโภคกามโดยที่ไม่สนใจเลยว่า สามารถที่จะเข้าใจถูก มีผู้ที่ทรงตรัสรู้ทรงแสดงความจริงให้เข้าใจว่า สิ่งที่เคยยึดถือว่าเป็นเรา ไม่สามารถที่จะเป็นของเราได้เลยเมื่อเข้าใจถูกต้องว่า แต่ละหนึ่งๆ กว่าจะมารวมกันเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยแล้วดับไปเพราะว่า ตาไม่ใช่ของเรา เห็นก็ไม่ใช่ มีปัจจัยเกิดแล้วก็ดับไป หูก็เช่นเดียวกัน เสียงก็เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นตลอดเวลาที่ยังมีชีวิตอยู่ จะอยู่นานอีกเท่าไหร่ไม่สามารถที่จะรู้ได้ เราเห็นสิ่งที่มีชีวิตไม่ได้มีแต่เฉพาะมนุษย์ สัตว์นานาชนิดก็มี ผีเสื้อ นก งู จิ้งจก มาจากไหนก็เห็นเหมือนกันอย่างนี้ บริโภคกามด้วย หรือเปล่า จิ้งจก ตุ๊กแก บริโภคกามด้วย หรือเปล่า ก็บริโภคกาม ธรรมเป็นธรรม ไม่ได้เป็นใครสักคน ไม่ได้เป็นคนหนึ่งคนใด ชื่อนั้นชื่อนี้ เป็นแต่เพียงจำเป็นต้องใช้คำเพื่อให้เข้าใจความหมายว่า หมายความถึงธรรมอะไรเท่านั้นเอง เราใช้คำว่า นก เพราะว่า รูปร่างต่างกับมนุษย์ ต่างกับช้าง ต่างกับมดแต่เห็นเหมือนกันหมดไม่ว่าเป็นใครถ้าไม่คิดถึงรูป เพราะฉะนั้นตามความเป็นจริงคือว่า ตราบใดที่ยังไม่มีปัญญาที่จะรู้ความจริง ก็เป็นสัตว์โลกประเภทบริโภคกามจนกระทั่งติดข้องมากมาย เราจะมองดูพฤติกรรมต่างๆ ของแต่ละคนได้ ติดข้องมากมายในกาม ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส จนกระทั่งชีวิตไม่มีสำหรับอย่างอื่นเลย ไม่มีแม้แต่จะฟังธรรม หรือทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ นั่นก็ประเภท ๑ คนอื่นก็คงจะแสดงถึงผู้บริโภคกามประเภทอื่นที่เป็นเพื่อนฝูง ญาติพี่น้องได้ว่า ไม่ใช่มีแต่ผู้ที่บริโภคกามมัวเมามากอย่างนั้นแต่ก็ยังมีผู้ที่สนใจนั่งฟังธรรม เพียงเท่านี้ย่อมต่างกันแล้วในบรรดาผู้ที่บริโภคกาม เพราะฉะนั้นจึงหลากหลายมากแต่ให้ทราบความหมายเมื่อได้ยินคำว่า " กามโภคี" ในภาษาบาลีหมายความถึงแต่ละคนที่นั่งอยู่ที่นี่ที่บริโภคกามทุกวัน
อ.คำปั่น ประเด็นนี้คิดว่า น่าจะมีความคิดเห็นเพิ่มเติมจากคณะวิทยากร ขอเชิญอาจารย์อรรณพได้ช่วยสนทนาในประเด็นนี้ด้วย
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 841
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 842
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 843
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 844
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 845
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 846
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 847
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 848
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 849
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 850
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 851
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 852
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 853
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 854
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 855
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 856
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 857
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 858
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 859
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 860
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 861
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 862
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 863
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 864
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 865
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 866
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 867
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 868
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 869
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 870
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 871
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 872
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 873
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 874
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 875
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 876
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 877
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 878
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 879
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 880
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 881
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 882
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 883
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 884
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 885
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 886
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 887
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 888
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 889
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 890
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 891
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 892
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 893
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 894
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 895
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 896
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 897
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 898
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 899
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 900