พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 881


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๘๘๑

    ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

    วันอาทิตย์ที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖


    ท่านอาจารย์ เมื่อกำลังศึกษาธรรม ฟังธรรม เราสามารถเข้าใจได้ว่า ความรู้ของเราที่ได้ยินได้ฟังมาแล้ว มากน้อยแค่ไหน เป็นเรื่องคิดทั้งนั้นเลย ใช่หรือไม่ คุณธิดารัตน์คิดอย่างนั้น แต่ถ้าดิฉันไม่ทำอย่างนี้ ก็เป็นเพียงความคิดของคุณธิดารัตน์ เพราะฉะนั้นแต่ละหนึ่งขณะ แต่ละหนึ่งขณะ มีความละเอียด มีความวิจิตรที่จะรู้ว่า ฟังเพื่อขัดเกลาการที่ไม่รู้ ไม่เข้าใจอะไรเลยทั้งสิ้น ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งถึงขณะนี้ เข้าใจว่าเป็นเรา แต่เมื่อฟังแล้วก็เริ่มเข้าใจเพิ่มขึ้น จะมากจะน้อยก็แล้วแต่ว่า ทุกอย่างที่มีจริง เป็นธรรมแต่ละหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่เรา และไม่ใช่ของเรา จนกว่าทุกอย่างขณะนั้นสามารถจะปรากฏสภาพที่เป็นธรรม กับความเข้าใจที่ค่อยๆ เจริญขึ้น อบรมขึ้น ที่ใช้คำว่าปัญญา สามารถเข้าถึงลักษณะที่เป็นธรรม แม้ว่าจะเห็นหรือจะกระทบแข็ง หรือว่าจะคิดก็ตามแต่ วางลงไปนี่จิตอะไร เห็นหรือไม่ ง่ายมากเลยตอนนี้

    เพราะฉะนั้นการฟังธรรม เห็นพระคุณจริงๆ ว่า ไม่มีทางที่ใครสามารถที่จะรู้ความจริงของสิ่งที่มีจริง ในชีวิตแต่ละชาติที่เกิดมา ไม่ซ้ำกันด้วย แม้แต่เห็นเมื่อสักครู่นี้ กับเห็นเดี๋ยวนี้ก็ไม่ใช่เห็นเดียวกัน เกิดแล้วดับไปก็ต้องเป็นเห็นใหม่ ซึ่งเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย นี่คือเพียงให้ได้เข้าใจความละเอียดของธรรม และรู้ว่าการศึกษาธรรม ก็จะทำให้ค่อยๆ รู้จักว่า ธรรมเป็นสิ่งที่มีจริง ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร แล้วก็หลากหลายด้วย เป็นทุกขณะจิตนั่นเอง

    อ.ธิดารัตน์ เชิญคุณวิชัย

    อ.วิชัย กราบท่านอาจารย์ครับ การศึกษาธรรมโดยเฉพาะเรื่องของอภิธรรม คือกล่าวธรรมที่เป็นส่วนละเอียด ขณะนี้เป็นเพียงเพื่อเข้าใจ แต่บางครั้งการศึกษาก็อยากจะรู้ว่าสิ่งนั้น มีลักษณะอย่างไร เช่นเมื่อสักครู่ก่อนที่จะเข้ามา ก็มีท่านที่มาถามผมว่า ลักษณะของวาโยเป็นอย่างไร ก็มีการอธิบาย ในข้อความในอภิธรรมปิฎกก็กล่าวถึงว่าลักษณะของวาโย การไหว การตึงต่างๆ แต่ว่าลักษณะจริงๆ ต้องปรากฏที่กาย แต่ว่าลักษณะนั้นจะปรากฏอย่างไร ขณะไหนก็ต้องรู้ได้ทางกาย ดังนั้นการศึกษาธรรม เมื่อเข้าใจธรรม แล้วแต่ว่าสิ่งนั้นจะปรากฏให้รู้

    ท่านอาจารย์ แน่นอน เพราะเหตุว่าขณะนี้ทุกคนมีกาย ถูกต้องหรือไม่ มีอะไรปรากฏที่กายบ้าง ไม่ต้องเรียกวาโย อย่าไปเรียก ถ้าเรียกแล้วงง หาใหญ่เลย ใช่หรือไม่ แต่มีอะไรที่ไหวไปบ้างไหม ที่ลักษณะนั้นตึง ไม่ใช่แข็ง แต่ตึง เป็นอีกลักษณะหนึ่ง ขณะนั้นไม่ต้องเรียก แต่เราพูดภาษาธรรมดาที่เราใช้ว่าตึง เวลากลืนอาหาร อาหารลงคอหรือเปล่า ไม่ลงได้หรือไม่ ใช่ไหม ลักษณะที่เคลื่อนไปไหวไป มีหรือเปล่า หรือว่าอยู่ตรงนั้นเอง

    แต่จริงๆ แล้วละเอียดกว่านั้นอีก วาโยต้องอยู่กับปฐวี ลักษณะที่แข็ง ไม่ได้แยกจากกันไปเลย เพียงแต่ว่าลักษณะใดจะปรากฏ แต่ชื่อจะปิดบัง เพราะเราไปติดใจ สงสัยคำ อยากรู้คำ ใช่หรือไม่ แต่ถ้าเป็นภาษาไทยก็ธรรมดา ขณะนี้เรากำลังพูดเรื่องอะไร พูดเรื่องสิ่งที่มีจริง ถูกไหม ต้องใช้คำว่า ธรรม หรือเปล่า เรากำลังพูดให้เข้าใจสิ่งที่มีจริง และสิ่งที่มีจริงมีอะไรบ้าง เห็นก็มีจริง คิดก็มีจริง ก็พูดเรื่องนี้ พูดทำไม ก็พูดให้รู้ว่ามี แต่ว่าบังคับบัญชาไม่ได้ เกิดแล้วก็ดับไป นี่คือค่อยๆ เข้าใจว่ากำลังเข้าใจสิ่งที่มีจริง ซึ่งภาษาบาลีหรือภาษามคธี ใช้คำอีกต่างหาก ไม่ใช่คำที่เราใช้ เพราะเหตุว่าเป็นคนละภาษา ก็จะใช้คำ วาโยบ้าง ปฐวีบ้าง เตโชบ้าง อาโปบ้าง เราก็ไปติดที่ชื่อ แต่ถ้าศึกษาสิ่งที่มีจริง แล้วชื่อมาทีหลัง เราก็จะเข้าใจได้ เช่นบอกว่าแข็ง ไม่มีใครไม่รู้จัก แล้วแข็งภาษาอื่นเขาว่าอย่างไร ก็พูดได้ตั้งหลายภาษา ภาษาหนึ่งก็บอกว่าปฐวี ก็เท่านั้นเอง แต่ก็คือแข็งนั่นเอง ดีกว่าไปจำว่าปฐวี และปฐวีอยู่ไหน แปลว่าอะไร แข็งอย่างไร คงไม่ลืม ฟังธรรมเพื่อเข้าใจสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้

    อ.ธิดารัตน์ เชิญคุณคำปั่น

    อ.คำปั่น กราบเรียนท่านอาจารย์ถึง พระธรรมคำสอนที่เป็นโอวาทปาฏิโมกข์ ซึ่งเป็นพระธรรมคำสอนที่เป็นหลัก เป็นประธาน ที่เป็นไปเพื่อความพ้นจากการเกิดในอบายภูมิ เป็นพระธรรมคำสอนที่ทำให้พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏฏ์ ซึ่งขึ้นต้นประการแรกก็คือ การไม่กระทำบาปทั้งสิ้น ประการที่สองก็คือ การยังกุศลให้ถึงพร้อม และประการที่๓ คือ การชำระจิตของตนให้ผ่องใส ให้บริสุทธิ์

    กราบเรียนถามท่านอาจารย์ ถึงข้อความที่เกี่ยวเนื่องกันหรือว่า สอดคล้องกันอย่างไร แน่นอนว่าทั้ง ๓ ประโยคนี้ มุ่งหมายถึงสูงสุดเลยก็คือ ถึงความเป็นพระอรหันต์ ก็จะกราบเรียนท่านอาจารย์ถึงความเกี่ยวเนื่องกัน ของพระราชดำรัสทั้ง ๓ อย่างนี้

    ท่านอาจารย์ ประการที่หนึ่ง

    อ.คำปั่น การไม่ทำบาปทั้งสิ้น

    ท่านอาจารย์ ยากหรือไม่ การไม่ทำบาปทั้งสิ้น เพราะว่าอกุศลหรือบาปทั้งหลาย จะรู้แจ้งอริยสัจธรรมได้ไหม เห็นไหม บางคนก็อยากรู้แจ้งอริยสัจธรรม แต่ทำบาป บางคนอย่างคราวก่อนที่เล่าให้ฟัง มีคนไปเดินจงกรมสบายมาก เพราะมีลูกตบยุงตามหลัง ใช่หรือไม่ อย่างนี้จะเป็นการงดเว้นบาปทั้งปวงหรือเปล่า

    เพราะฉะนั้นแม้แต่อะไรเป็นบาป ขณะไหนบ้าง อย่างเมื่อสักครู่ที่ยกดอกไม้ขึ้นมา เว้นการไม่ทำบาปทั้งปวง นี่เพียงอกุศลจิต ยังไม่ได้ทำทุจริตกรรม แต่อกุศลจิตมีแล้ว เกิดแล้วสะสมแล้ว เพิ่มขึ้นอีกเรื่อยๆ จนกระทั่งสามารถที่จะกระทำทุจริตกรรมได้ แล้วอกุศลทั้งหลาย แม้แต่เพียงอย่างเดียว จะสามารถทำให้รู้แจ้งอริยสัจธรรมได้ไหม เมื่อเป็นผู้ที่หวังที่จะรู้ความจริง ของสิ่งที่มีจริงๆ ขณะนี้ ซึ่งเป็นอริยสัจจะ เป็นความจริงที่ประเสริฐ ซึ้งรู้ยาก ไม่ใช่ใครๆ ก็จะรู้ได้ง่ายๆ เพียงด้วยการฟัง แต่ว่าจากการฟังโดยละเอียด ไม่ใช่เฉพาะ ปฐมพุทธพจน์ คือคำแรกที่ตรัส เมื่อได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว หรือว่า ปัจฉิมพุทธพจน์ คือคำสุดท้ายก่อนที่จะปรินิพพาน แล้วระหว่างนั้นมัชฌิมพุทธพจน์ไม่ควรฟังหรือ ๔๕ พรรษา ถ้าจะกล่าวเพียงแค่ ปฐมะหรือปฐมพุทธพจน์กับปัจฉิมพุทธพจน์เท่านั้น จะมีประโยชน์อะไร แต่ ๔๕ พรรษาเป็นเรื่องที่ละเอียดมาก ที่จะต้องเข้าใจว่า เว้นการทำบาปทั้งปวง หรือไม่กระทำบาปทั้งปวง ต้องเข้าใจจริงๆ ว่า เพราะบาปนั้นไม่สามารถที่จะทำให้เข้าใจความจริงของสิ่งที่มีจริงๆ ในขณะนี้ได้

    ด้วยเหตุนี้ การที่จะเว้นได้ต้องด้วยปัญญา ถ้าไม่มีปัญญา เราก็รู้อยู่แล้ว บาปไม่ควรทำ แต่ก็ทำ เพราะเหตุว่าปัญญาไม่พอที่จะละเว้น และถ้ารู้จริงๆ ว่าผู้ที่ละเว้นทุจริต ๕ ประการ หรือว่าเป็นผู้ที่รักษาศีล ๕ ได้ครบถ้วนคือพระโสดาบัน ก็คือต้องมีปัญญา ปัญญาเท่านั้นที่จะสามารถทำให้กุศลเจริญขึ้น และอกุศลลดน้อยลง เพราะเหตุว่าถ้าอกุศลยังเพิ่มมากเท่าไร ไม่มีทางเลย ที่หวังจะรู้แจ้งอริยสัจธรรมได้ เพียงไม่กระทำบาปทั้งปวง พอไหม เห็นหรือไม่ ก็ยังไม่พอ เพราะเหตุว่าปัญญาไม่ได้เจริญจนกระทั่งสามารถที่จะรู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏได้ ด้วยเหตุนี้ก็จะเห็นได้ว่า ก่อนอื่นอกุศลมากเหลือเกิน กุศลวันหนึ่งๆ ก็เกิดน้อย และถ้าใครไม่คิดที่จะเจริญกุศลแม้เพียงเล็กน้อย อกุศลก็เพิ่มขึ้น ยากต่อการที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรม

    ขอกล่าวไปถึงเรื่องของอาสวะว่า เดี๋ยวนี้มากหรือไม่ อกุศลสามารถที่จะเกิดขึ้นได้ เพียงแค่หลังจากเห็นแล้ว หลังจากได้ยินแล้ว อย่างบางเบามาก ก็เป็นเหตุที่จะทำให้โอฆะ ห้วงน้ำที่จะถึงอีกฝั่งหนึ่ง กว้างออกๆ สักแค่ไหน เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่แม้แต่อกุศลอย่างบางเบา ที่เป็นอาสวะเกิดขึ้น ก็ทำการขยายห้วงน้ำคือโอฆะ ที่จะถึงฝั่งการดับกิเลส อีกฝั่งหนึ่งหมายความถึงฝั่งที่ดับกิเลส ฝั่งนี้คือฝั่งที่มีกิเลส จากความเป็นผู้ที่มีกิเลสมากๆ แล้วจะไปถึงการดับกิเลสได้ ถ้ายังคงไม่เข้าใจธรรมเลย อาสวะก็เพิ่มขึ้น ในขณะนั้นโอฆะที่จะกว้าง ก็กว้างขึ้นอีก แล้วก็เป็นเครื่องประกบหรือประกอบไว้ คันถะ ไม่ให้ไปที่ไหนเลย

    อย่างที่เคยอุปมาว่า เหมือนคนที่ถูกล่าม จองจำอยู่ในห้องขัง ปิดกุญแจ ไปถึงรั้วข้างนอก ก็ใส่กุญแจไว้ด้วย ถึงแม้ว่าจะหลุดออกไปแล้ว ก็ยังมีกุญแจที่รั้วข้างนอกด้วย เพราะฉะนั้นอาสวะ แล้วก็โอฆะ แล้วก็คันถะ ที่ประกอบไว้เหมือนกับถูกจองจำ ถึงแม้จะหลุดไปแล้ว ก็ยังโยคะอยู่ข้างหน้า โยคะคือ ไม่พ้นไปจากการที่จะประกอบไว้ แต่ไม่ใช่แบบล่าม ประกอบให้อยู่ห่างๆ ถึงรั้ว ไม่ว่าใครจะถามว่า เมื่อไรจะรู้แจ้งอริยสัจธรรม รู้หรือไม่ว่า นั่นคือโยคะ ไม่พ้นไปเลย คิดว่ากำลังมีกุศล อยากจะเข้าใจธรรม แต่ขณะเดียวกันกุศลก็เกิดแล้ว เมื่อไรจะรู้แจ้งอริยสัจธรรม

    เพราะฉะนั้นคนที่จะเข้าใจถึงการที่จะละอกุศล ไม่กระทำบาปทั้งปวง ก็ต้องเป็นผู้ที่มีความเข้าใจละเอียดว่า บาปทุจริตมาจากอกุศลทีละเล็กทีละน้อย จนกระทั่งสามารถที่วันหนึ่งกระทำทุจริตกรรมได้ ถ้าไม่ใช่วันนี้ วันนี้อาจจะไม่ถึงเวลา ปัจจัยที่จะทำให้เกิดทุจริตกรรม แต่วันหนึ่งเมื่อสิ่งที่เป็นอกุศลมีมากขึ้น จะพ้นได้หรือ

    เพราะฉะนั้นอีกอย่างหนึ่งที่ไม่ควรเว้น ก็คือทำความดีให้ถึงพร้อม นี่ก็มากมายหลายประการเลย เพราะเหตุว่ามีตั้งแต่ ความดีขั้นกุศลกรรมบถ จนกระทั่งถึงการฟังธรรม อบรมเจริญปัญญา เพื่อที่จะรู้แจ้งสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏในขณะนี้ได้ ไม่มีทางอื่นแล้ว และไม่มีทางอื่นเลย อกุศลอย่างนี้ กว่าที่จะเบาบางด้วยการเข้าใจ และทำความดีเพิ่มขึ้น แล้วก็ชำระจิตให้บริสุทธิ์ ทั้งหมดนี้คือการที่จะต้องเป็นไปตามลำดับด้วย

    อ.ธิดารัตน์ ท่านอาจารย์ได้ยกตัวอย่างถึง หัวข้อของการจำแนกอกุศลกรรม ถ้าอย่างเป็นอาสวะ ก็เหมือนกับบางเบามาก ทั้งอาสวะ แล้วก็ยังเป็นห้วงน้ำ ซึ่งเป็นโอฆะ แล้วก็ถูกประกอบไว้ด้วยโยคะ ก็เป็นเจตสิกที่เหมือนกันเลย และท่านอาจารย์ก็ได้กล่าวถึงคันถะ อย่างคันถะก็จะเพิ่มมา เหมือนกับมีกำลังมากกว่า อย่างเช่นโลภะก็เป็นอภิชฌากายคันถะ พยาปาทะเพิ่มโทสะด้วย เหมือนกับนอกจากกิเลสที่ ระดับอาสวะรู้ได้ยาก แต่ถ้าคันถะเหมือนกับถูกล่ามเริ่มมีกำลังมากกว่า

    ท่านอาจารย์ เราก็นั่งคิด ว่าอะไรเป็นอะไร แต่เพื่อให้รู้ว่ามากขนาดไหน ยากหรือไม่กว่าที่จะขยับออกไปจากอกุศล ซึ่งประกบ และประกอบไว้แน่น จนกระทั่งไปถึงรั้ว ก็ยังมีกุญแจอีกที่ปิดกั้นไว้ โยคะ เพราะฉะนั้นอย่างเราบอกว่า อยากเข้าใจธรรม อยากเข้าใจธรรม ใครล่ะ

    อ.ธิดารัตน์ เรา

    ท่านอาจารย์ เรา ขณะนั้นมองไม่เห็นโยคะโน้นประตูรั้ว ไกลมาก แต่ออกไม่ได้ปล่อยมาแค่นี้ๆ เหมือนกับอยากเข้าใจธรรม แต่ความจริง อยากก็คือเรา

    อ.ธิดารัตน์ ยังมีสังโยชน์เป็นเครื่องผูก ก็เพิ่มอกุศลธรรมอีก

    ท่านอาจารย์ ทั้ง ๙ ประเภท ๙ กอง คือที่ทรงแสดงความจริง ก็เพื่อให้เห็นว่าการที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรม ที่จะดับกิเลสไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่ใช่เรื่องไม่รู้ ไม่ใช่เรื่องการไม่อบรม ไม่ใช่เรื่องการไม่เข้าใจ แต่ต้องเข้าใจอะไร สิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ นี่สำคัญที่สุด แม้แต่จะเอ่ยคำว่า ธรรม ถ้าไม่ใช่เดี๋ยวนี้ แล้วอะไรเป็นธรรม สิ่งที่ยังไม่เกิดหรือสิ่งที่ดับหมดไปแล้ว ก็ไม่สามารถที่จะให้ความจริงได้ แต่สิ่งที่มีจริงทุกอย่าง ทุกขณะเป็นธรรม อย่าลืมทุกอย่าง ทุกขณะเป็นธรรม แล้วรู้อย่างไหนบ้าง เห็นหรือไม่ มากมายเหลือเกิน แต่ละหนึ่งขณะ ไม่ซ้ำกันเลยในสังสารวัฏฏ์ เมื่อวานนี้ไม่ได้ซ้ำกับวันนี้เลย และพรุ่งนี้ก็จะไม่เป็นอย่างวันนี้ด้วย

    เพราะฉะนั้นแต่ละหนึ่งๆ มากมายแค่ไหน เพราะฉะนั้นการที่จะรู้ความจริง ก็คือว่าในสิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะขณะนี้ดับแล้ว ปัญญาที่สามารถที่จะรู้ถึงการเกิดดับ ก็จะเริ่มละคลายความติดข้อง และความเป็นตัวตน และเริ่มรู้ว่า หลงติดในสิ่งที่ไม่มี เพราะดับหมดแล้ว แล้วก็มีสิ่งอื่นเกิดสืบต่อ เหมือนเมื่อสักครู่นี้เลย ทำให้เหมือนกับว่ายังมีอยู่ ก็ทำให้ติดต่อไป

    เพราะฉะนั้นกว่าที่จะถึงกาลที่ปัญญาจะถึงความสมบูรณ์ ที่จะหน่าย ที่จะคลายจนกว่าถึงการที่จะดับได้ ก็เป็นเรื่องการอบรม ถึงเมื่อไร คำถาม ให้คิด ไม่ใช่โยคะ ไม่ใช่ด้วยความต้องการว่าถึงเมื่อไร แต่ถามให้คิด ให้เข้าใจถูกต้องว่า จะถึงเมื่อไร เมื่อมีปัญญา สามารถรู้ความละเอียดของธรรม ที่กำลังปรากฏในขณะนี้

    อ.ธิดารัตน์ พูดถึงขณะที่กำลังรู้ลักษณะของธรรมที่ปรากฏ ก็ไม่พ้นจากศีล ก็เป็นศีลอีก ใช่หรือไม่ พูดถึงศีล นอกจากที่เรากล่าวถึงวิรตีเจตสิกต่างๆ แล้ว ที่เป็นไปทางกาย ทางวาจาแล้ว ศีลที่เป็นไปทางใจ

    ท่านอาจารย์ ก็เป็นศีลที่ละเอียดขึ้นอีก เพราะทั้งหมดมาจากใจ เดี๋ยวต่อไปก็ได้ยินคำอื่นอีกเยอะแยะ สังวรบ้าง อะไรบ้าง ก็ไม่พ้นจากตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

    อ.ธิดารัตน์ ท่านอาจารย์สรุปเสียย่อๆ เลย

    ท่านอาจารย์ เพราะว่าทรงแสดง ๔๕ พรรษา เราพูดกี่นาที หรือว่ากี่ชั่วโมง และจะให้เข้าใจอย่างนั้นก็คงเป็นไปไม่ได้ และก็เป็นเรื่องความเข้าใจ อย่าลืม ไม่ใช่เพียงฟัง แต่เข้าใจ ฟังแล้วเข้าใจ

    อ.ธิดารัตน์ เชิญอาจารย์อรรณพค่ะ

    อ.อรรณพ กราบท่านอาจารย์ครับ ฟังที่ท่านอาจารย์แสดงโอวาทปาฏิโมกข์ และเชื่อมโยงกับอกุศลที่เป็นอาสวะ โอฆะ โยคะ เป็นประโยชน์มากๆ เลย เพราะว่าขยายห้วงน้ำ แม้อาสวะซึ่งเป็นกิเลสที่บางเบา ทำไมท่านอาจารย์จึงใช้คำว่า ขยายห้วงน้ำ เพราะว่ากิเลสแรงๆ อย่างเช่นนิวรณ์ น่าจะทำให้มีการสะสมอกุศลที่รุนแรงมากมาย มากกว่าอาสวะ

    ท่านอาจารย์ ทั้งหมด ประมาทไม่ได้

    อ.อรรณพ แสดงว่าแม้เล็กน้อย อาสวะทางตาอะไรอย่างนี้ ก็ขยายโอฆะให้กว้างขึ้น

    ท่านอาจารย์ ก็เกิดแล้ว เป็นอกุศลแล้ว จะไปไหน

    อ.อรรณพ สะสม

    ท่านอาจารย์ อยู่ในจิต สะสมอยู่

    อ.อรรณพ อีกประเด็นหนึ่ง ที่พูดมาตั้งแต่แรก ท่านก็กล่าวไว้ว่า ศีลเป็นพื้นฐานหรือว่าเป็นเบื้องต้นของการที่กุศลธรรมต่างๆ เจริญขึ้น ท่านก็แสดงว่า ศีลเหมือนเป็นรากฐาน เหมือนแผ่นดินที่จะรองรับ ที่จะทำให้พืชพรรณต่างๆ เจริญขึ้น แต่ท่านก็กล่าวว่า ปัญญาก็อบรมศีลให้เจริญ แล้วศีลอบรมปัญญา หรือว่าปัญญาอบรมศีล หรือว่าอบรมกันอย่างไร ศีลกับปัญญา

    ท่านอาจารย์ อยากฆ่าสัตว์ ไม่ฆ่าเลย พอได้ยินคำนี้ หรืออย่างไร เป็นไปได้หรือไม่

    อ.ธิดารัตน์ ไม่ได้

    อ.อรรณพ ถ้าไม่เข้าใจ

    ท่านอาจารย์ ทุกอย่างเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ถ้าคนนั้นไม่เข้าใจว่า ขณะนั้นเป็นอกุศลธรรม เป็นธรรม ไม่ใช่เรา แต่เป็นธรรมที่ไม่ดีเลย ที่นำทุกข์โทษภัยมาให้ ฟังแค่นี้ก็เห็นโทษได้ ใช่หรือไม่ ว่าไม่ใช่เรา แต่ว่าเป็นเหตุที่ไม่ดี ที่จะให้ผลที่ไม่ดีข้างหน้า ถ้ารู้อย่างนี้จะเจริญทางฝ่ายเหตุดี ที่จะให้ผลดีหรือไม่ เพราะทุกคนก็ไม่ต้องการที่จะมีความทุกข์ใดๆ ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นที่เข้าใจอย่างนี้ ถูกหรือผิด ใช่หรือไม่ ตามระดับขั้น เว้นเพราะอะไร เพราะเห็นโทษ หรือเว้นเพราะผู้ใหญ่ห้าม หรืออะไรก็ตามแต่ ใช่หรือไม่ เดี๋ยวจะถูกตี อะไรอย่างนี้ ก็ไม่ใช่การที่จะเป็นศีลจริงๆ ขณะนั้นเพราะกลัวใช่หรือไม่ แต่ไม่ใช่ว่าเพราะเห็นโทษ

    อ.อรรณพ เพราะฉะนั้นท่านอาจารย์ก็เน้นถึงความเข้าใจ เมื่อมีความเข้าใจ เช่นเห็นโทษของอกุศล การฆ่า การเบียดเบียน จึงมีศีลที่วิรัติงดเว้น

    ท่านอาจารย์ คงไม่ลืม พุทธศาสนา คำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นไปเพื่อปัญญา คือความเห็นที่ถูกต้อง ไม่ใช่เพียงแต่บอกว่า อย่าทำอย่างนี้ หรือทำอย่างนั้น แต่ว่าความเห็นที่ถูกต้อง ตามเหตุตามผล ตามความเป็นจริง

    อ.อรรณพ ก็พอเข้าใจได้ว่า เมื่อมีความเข้าใจ เช่นเห็นโทษของอกุศลว่า มีโทษ ดังนั้น เขาก็เป็นปัจจัยให้มีการวิรัติงดเว้น มีศีลเพิ่มขึ้น ศีลเป็นพื้นฐานของกุศลธรรม และธรรมเป็นพื้นฐานของปัญญาอย่างไร

    ท่านอาจารย์ กุศลศีล ก็ต่างกับ อกุศลศีล

    อ.อรรณพ ขณะที่เป็นกุศล ก็สะสมทุกอย่างประกอบกันไป อย่างนั้นหรือ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นที่คุณอรรณพถาม ก็คงจะเกี่ยวข้องกัน ใช่ไหม ว่าเมื่อมีความเข้าใจ ศีลก็เจริญขึ้น และเมื่อศีลเจริญขึ้น ปัญญาก็เจริญขึ้น เพราะเหตุว่าไม่มีอกุศลที่จะกั้น ไม่ให้รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง อกุศลใดใดก็ไม่สามารถจะทำให้รู้สภาพธรรมในขณะนี้ตามความเป็นจริงได้ แม้แต่เพียงนิดเดียวหรืออย่างเดียว โลภะก็ไม่สามารถจะรู้ความเป็นจริงของสิ่งที่ปรากฏ โทสะ มานะ ริษยา อวิชชา ทั้งหมด อกุศลทุกประเภท ไม่ทำให้เข้าใจสภาพธรรม ที่มีในขณะนี้

    อ.อรรณพ เพราะฉะนั้นก็คือ ถ้าไม่ค่อยมีการสะสมกุศลศีลเพิ่มขึ้น วันๆ ก็ถูกกลุ้มรุมจากอกุศล และตอนที่อกุศลเกิด ไม่ว่าจะเป็นโลภะ โทสะ โมหะ อะไรทั้งหลาย ก็ไม่ใช่โอกาสที่ปัญญาจะเกิด

    ท่านอาจารย์ แล้วจะมีคำถามว่า เมื่อไรจะเข้าใจสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏได้หรือไม่ ในเมื่อเต็มไปด้วยอกุศลที่เพิ่มขึ้นๆ เพราะฉะนั้นปัญญาที่เข้าใจถูก ก็จะทำให้ละเว้นอกุศล และเมื่ออกุศลน้อยลง ก็สามารถที่จะเข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริงได้ถูกต้อง

    อ.อรรณพ ก็เป็นเรื่องของการปรุงแต่งจริงๆ ที่จะเห็นว่า กุศลทั้งหลายก็สะสม และเป็นประโยชน์

    ท่านอาจารย์ ที่ทรงแสดงไว้คือ ศีลมยญาณ ปัญญาที่สำเร็จด้วยศีล เมื่อมีศีลดี อกุศลน้อยลง ปัญญาก็เพิ่มขึ้น เพราะปัญญานั่นแหล่ะที่วิรัติอกุศล และขณะเดียวกัน ศีลนั้นก็สำเร็จเพราะปัญญา ถ้าไม่มีปัญญาก็ไม่สามารถที่จะมีศีลที่มั่นคงขึ้น

    อ.ธิดารัตน์ ท่านอาจารย์คะ เหมือนกับที่ท่านแสดงศีล เมื่อเป็นมูล เป็นรากเบื้องต้น คือโดยเกื้อกูลต่อพระภิกษุด้วย ใช่หรือไม่ เพราะว่าพระภิกษุ ท่านยังมีไม่สมบูรณ์ อาจจะทำให้ไม่สามารถจะอบรมปัญญาที่เจริญขึ้น

    ท่านอาจารย์ โดยธรรมจิต เจตสิก รูป

    อ.ธิดารัตน์ เชิญคุณรักค่ะ

    ผู้ฟัง ผมขอเรียนถามเรื่องกิเลส ๕ อย่างกามฉันทะร้ายแรง หลงในรูป รส กลิ่น เสียง เป็นกิเลสที่มีกำลังมาก แต่อย่างอุทธัจจะกุกกุจจะ ก็ไม่ร้ายแรง ทำไมมาอยู่ในกิเลส ๕ ความร้ายแรงของความฟุ้งซ่าน ความรำคาญใจ อุทธัจจะกุกกุจจะ มีกำลังมากขนาดไหน ถึงเป็นกิเลส

    อ.วิชัย ดูเหมือนเราจำชื่อ จำเรื่องเยอะเลย ถ้าจะเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงๆ อย่างเช่นกล่าวถึงอุทธัจจะ ใช่หรือไม่ ความไม่สงบ

    ผู้ฟัง ความฟุ้งซ่าน รำคาญใจ

    อ.วิชัย ไม่สงบ ใช่หรือไม่ เป็นกุศลหรืออกุศล

    ผู้ฟัง เป็นอกุศล เพราะเป็นกิเลส

    อ.วิชัย ดังนั้นขณะใดที่เป็นอกุศล สามารถที่จะรู้ และเข้าใจถูกว่า ขณะนั้นต้องเป็นไปพร้อมกับอุทธัจจะ ไม่ใช้คำก็ได้ แต่ลักษณะของความที่ไม่สงบนั้นมีด้วย ในขณะที่เป็นอกุศล ดังนั้นความเข้าใจในการศึกษาเพื่อเข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ ที่เป็นปกติในชีวิตประจำวัน แม้จะกล่าวถึงเรื่องกามฉันทะ ความยินดี พอใจ ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัส ไม่ใช่คำ ใช่หรือไม่ แต่เป็นสิ่งที่มีจริงๆ พอใจในรูป เมื่อเกิดขึ้น ลักษณะของเขามีจริง และสามารถจะเข้าใจว่า ลักษณะนั้นเป็นธรรมอย่างหนึ่ง นี้คือประโยชน์จากการที่ได้ศึกษาธรรม

    ผู้ฟั ง แต่ว่าความร้ายแรง เรื่องกามฉันทะ มันรุนแรงก็จริง แต่อุทธัจจะไม่น่าจะร้ายแรงถึงกับทำให้เป็นกิเลสได้ ทั้งที่เป็นอกุศลอย่างเบาบาง

    อ.วิชัย ขณะที่มีความยินดี พอใจในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัส ขณะนั้นมีอุทธัจจะเกิดร่วมด้วยไหม ขณะที่มีความพอใจในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัส เป็นอกุศลหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็นอกุศล

    อ.วิชัย มีอุทธัจจะเกิดร่วมด้วยหรือเปล่า


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 193
    30 ม.ค. 2568

    ซีดีแนะนำ