พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 897
ตอนที่ ๘๙๗
ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗
ท่านอาจารย์ ฟังธรรม เพื่อเข้าใจว่าเป็นธรรม แล้วก็ไม่ใช่เรา แต่ว่าเป็นสิ่งที่มีจริง
อ.วิชัย เมื่อสักครู่ท่านอาจารย์กล่าวถึง สิ่งที่ปรากฏ ยกตัวอย่างดอกกุหลาบ ซึ่งวางไว้บนโต๊ะ ท่านอาจารย์กล่าวถึงความหลากหลายของสิ่งที่ปรากฏว่า มีความหลากหลายต่างๆ กัน จึงให้รู้ว่ามีความต่างกัน ระหว่างดอกกุหลาบกับโต๊ะ ความหลากหลายกับการเห็นสิ่งที่เพียงปรากฏให้เห็น กับการรู้ว่าเป็นดอกกุหลาบกับโต๊ะต่างๆ จะมีความเกี่ยวเนื่อง หรือความรวดเร็วของความเป็นไปของจิตต่างๆ อย่างไร
ท่านอาจารย์ ถ้าเห็นไม่เกิดเลย ไม่มีสิ่งที่ปรากฏให้เห็น
อ.วิชัย แน่นอน
ท่านอาจารย์ และจิตสั้นมาก เกิดแล้วดับ แทบจะกล่าวได้เลย ถึงแม้รูป รูปใดก็ตามที่ปรากฏ เช่นแข็ง เพียงแค่ปรากฏดับแล้ว นี่คือความจริง แต่ความจริงนี้กว่าจะปรากฏ ไม่ว่าอะไรก็ตาม เมื่อปรากฏแล้วดับไป เร็วคือเหมือนกับทันทีที่ปรากฏก็ดับแล้ว เพราะฉะนั้นแสดงความไม่เที่ยง แสดงความไม่รู้ จึงติดข้องในสิ่งซึ่งดับ และก็มีสภาพธรรมอื่น ก็มีปัจจัยเกิดดับไม่ขาดสายเลย อย่างแข็งเกิดแล้วดับ แต่ว่าใครจะรู้กลาป รูปที่เล็กที่สุด มองไม่เห็น ประกอบด้วยรูป ๘ รูป ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม สี กลิ่น รส โอชา พูดเป็นชื่อไปก่อน ไม่ใช่ว่าเราจะรู้จัก แม้ทั้ง ๘ แต่รู้ว่าส่วนที่ย่อยจนกระทั่งละเอียดที่สุด เล็กที่สุดก็ยังมีรูป ๘ รูป เพราะฉะนั้นที่เป็นดอกกุหลาบด้วย กี่รูป
อ.วิชัย ตรงนั้นก็ต้องมี ๘ รูป แต่ที่ปรากฏเฉพาะรูปเดียว
ท่านอาจารย์ แต่ว่ากี่รูป กี่กลาป
อ.วิชัย ถ้ากลุ่มก็มากมาย
ท่านอาจารย์ นับไหวไหม
อ.วิชัย ก็ไม่ได้
ท่านอาจารย์ นับไม่ถ้วน นับไม่ได้เลย จิตเกิดขึ้นรู้ทีละหนึ่ง ที่กระทบจักขุปสาท แล้วก็ดับไปหมด แล้วก็ปรากฏอีก ซ้ำกันจนกระทั่งปรากฏเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เหมือนไม่ดับเลย ความไม่รู้ถึงอย่างนั้น และก็มากกว่านั้นด้วย เพราะว่าไม่ใช่แค่ดอกกุหลาบ ทุกอย่างหมดเลย ไม่รู้ทั้งนั้น ในการเกิดขึ้น และดับไป ทีละหนึ่งอย่างเร็วมาก จนกระทั่งรวมกัน อย่างคุณวิชัยก็มีอากาศธาตุแทรกคั่นแต่ละกลาป
ดอกกุหลาบก็เหมือนกัน แล้วทำไมเป็นดอกกุหลาบกับคุณวิชัย ใช่ไหม อยู่ที่ไหน คุณวิชัยอยู่ที่ไหน ดอกกุหลาบอยู่ที่ไหน จริงๆ แล้วก็คือว่า อยู่ที่มหาภูตรูป คือธาตุดิน ใช้แทนว่าธาตุดิน ภาษาบาลีใช้คำว่าปฐวีธาตุ ธาตุที่แข็ง ไม่ใช่ดินที่เราปลูกต้นไม้อย่างเดียว ข้าวที่เรารับประทาน ก็ต้องมีธาตุแข็ง เพราะฉะนั้นธาตุทั้ง ๔ คือธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ไม่ได้แยกจากกันเลย แยกจากกันไม่ได้ เพราะอะไร เพราะอาศัยกัน และกันเกิดขึ้น ใครไปสั่ง ใครไปบอกให้เป็นอย่างนี้ ก็ไม่ได้ แต่เป็นธรรม คือความจริงเป็นอย่างนี้เอง
เพราะฉะนั้นที่ใดที่มีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ๔ รูป ยังมีรูปอื่นที่เกิดร่วมด้วย คือหนึ่งรูปสามารถกระทบจักขุปสาท ปรากฏเป็นสีสันวรรณะต่างๆ นับไม่ถ้วน จนปรากฏเป็นรูปร่างสัณฐาน เพราะฉะนั้นก็ไม่สงสัยแล้วใช่ไหม ว่าความไม่รู้มากแค่ไหนสภาพธรรมมากแค่ไหน เกิดดับไปรวดเร็วแค่ไหน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ และทรงแสดงให้เข้าใจ จริงหรือไม่
อ.วิชัย ตามขั้นของการได้ยินได้ฟัง ก็เป็นจริงตามนั้น
ท่านอาจารย์ จะมีความรู้อย่างอื่นยิ่งกว่านี้หรือไม่
อ.วิชัย ถ้าอบรมมากขึ้น ก็เจริญมากขึ้นได้
ท่านอาจารย์ แต่อย่างไรก็รู้ตามที่ได้ฟังตั้งแต่ต้น แม้แต่คำเดียว ทุกอย่างเป็นธรรม ธรรมคือสิ่งที่มีจริง สิ่งที่มีจริงทั้งหมด เปลี่ยนเป็นไม่จริงไม่ได้ ไม่มีไม่ได้ เพราะมีจริงๆ เพราะฉะนั้นก็เข้าใจความหมายของคำว่าธรรม สิ่งที่มีจริงเดี๋ยวนี้ด้วย ศึกษาจนกว่าจะเข้าใจขึ้นเรื่อยๆ เพราะชีวิตไม่นาน ใช่หรือไม่ สั้นหรือยาวไม่รู้ จะได้ฟังอีกหรือเปล่า ก็ไม่แน่ ใช่ไหม แต่จากการที่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน ทำให้มีโอกาสได้ยินได้ฟังอีก เพราะฉะนั้นการเข้าใจธรรมที่ได้ยินได้ฟัง ก็ไม่สูญหาย เวลาที่มีโอกาสที่จะได้ยินได้ฟังอีก ก็เข้าใจอีกได้
อ.ธิดารัตน์ ท่านอาจารย์ได้ยกตัวอย่างว่า ดอกไม้กับโต๊ะ ที่เราเห็นว่าเป็นดอกไม้อย่างหนึ่ง เป็นโต๊ะอย่างหนึ่ง ท่านอาจารย์กำลังจะอธิบายให้เห็นว่า แม้สีที่เพียงกระทบตา เป็นสิ่งที่ปรากฏทางตา แต่สีก็ยังมีความต่างกัน
ท่านอาจารย์ แน่นอน เพราะเหตุว่า สิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้อยู่ที่ไหน ถ้าไม่มีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม สีไม่มี สิ่งที่ปรากฏทางตาไม่มี เพราะเราเห็นสิ่งที่แข็งไม่ได้
อ.ธิดารัตน์ เห็นแข็งไม่ได้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นต้องมีอีกรูปหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่แข็ง แต่อยู่ที่ไหน อยู่ที่แข็งนั่นแหล่ะ ด้วยเหตุนี้ ธาตุที่เป็นใหญ่ เป็นประธานใช้คำว่า มหาภูตรูป ขอเชิญคุณคำปั่นให้ความหมาย
อ.คำปั่น โดยความหมาย มหาภูตรูป มหาภูตะหมายถึงเป็นใหญ่ แล้วก็รวมกับคำว่ารูป ก็หมายถึงรูปที่เป็นใหญ่ เป็นประธานของรูปทั้งหมด ซึ่งรูปที่เป็นใหญ่ ที่เป็นมหาภูตะก็มี ๔ รูป ก็คือธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และธาตุลมเท่านั้น ที่เป็นมหาภูตรูป ส่วนรูปอื่นๆ ก็อาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้นเป็นไป นี้คือในเรื่องของความหมาย
ท่านอาจารย์ ที่ใด ที่มีมหาภูตรูปอย่างย่อๆ ธาตุดินอ่อนหรือแข็ง ธาตุไฟเย็นหรือร้อน ธาตุลมตึงหรือไหว และธาตุน้ำก็เป็นธาตุที่ซึมซาบ เกาะกุมรูปทั้งสาม แยกกันไม่ได้เลยทั้ง ๔ รูป แต่ว่าเวลาที่กระทบสัมผัส ธาตุน้ำไม่ปรากฏ เพราะเป็นสภาพที่ซึมซาบเกาะกุมรูป เพราะฉะนั้นตัวรูปที่ถูกซึมซาบเกาะกุมนั้นก็ปรากฏ แต่ธาตุน้ำซึ่งเป็นธาตุที่ซึมซาบเกาะกุมรูปนั้นไว้ไม่ปรากฏ
เพราะฉะนั้นสำหรับมหาภูตรูปมี ๔ แต่ที่สามารถปรากฏเมื่อกระทบมี ๓ ใช้คำเรียกรวมว่า โผฏฐัพพะ แล้วแต่ว่าจะกระทบเย็นร้อน อ่อนหรือแข็ง ตึงหรือไหว ก็รวมเรียกว่า โผฏฐัพพะ แล้วก็รู้เองในขณะที่กำลังกระทบ ว่าเย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง ตึงหรือไหว เมื่อมี ๔ รูปที่เป็นใหญ่ เป็นประธาน ก็จะต้องมีรูปอื่น เช่นสิ่งที่สามารถกระทบตา จะใช้คำว่าสี หรืออะไรก็ตามแต่ มีจริงๆ หรือเปล่า
อ.ธิดารัตน์ มีจริง
ท่านอาจารย์ อยู่ไหน เวลาเห็นไม่รู้เลยว่าอยู่ที่ไหน ใช่หรือไม่ เพราะว่ากระทบตาได้ ในเมื่อรูปอื่นกระทบไม่ได้ เพราะฉะนั้นแม้ว่าจะมีมหาภูตรูปด้วย เกิดที่มหาภูตรูป แต่มหาภูตรูปกระทบตาไม่ได้ เฉพาะสิ่งที่รวมอยู่ มีอยู่ เป็นอีกรูปหนึ่งที่มหาภูตรูป ซึ่งใช้คำว่า วัณณะหรือวัณโณ นิภา หรือสิ่งที่ปรากฏทางตา สิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ ก็แล้วแต่ หมายความถึงเดี๋ยวนี้ สิ่งนี้ที่มีจริง ที่กำลังปรากฏ รวมอยู่กับมหาภูตรูป อีกนัยหนึ่ง ถ้าไม่มีมหาภูตรูป จะมีสิ่งที่ปรากฏทางตาให้เห็น ได้หรือไม่
อ.ธิดารัตน์ ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ไม่เคยคิดเลย ใช่ไหม แต่ใครเดินมา มองเห็นเป็นคน แต่ความจริงก็ต้องมีมหาภูตรูปด้วย เพราะฉะนั้นนอกจากสิ่งที่สามารถกระทบตาอีกรูปหนึ่ง รูปเพิ่มขึ้นแล้ว ใช่ไหม สิ่งที่ไม่สามารถจะรู้อะไรได้ ที่เป็นใหญ่ เป็นประธาน ๔ รูป ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ยังเพิ่มสิ่งที่มี ที่มหาภูตรูปอีกรูปหนึ่ง ที่สามารถกระทบตาได้ ต่อไปรูปจะเพิ่มขึ้นอีก เพราะเหตุว่ากล่าวถึงสิ่งที่มีจริง ดอกกุหลาบ มีกลิ่นหรือไม่
อ.ธิดารัตน์ มี
ท่านอาจารย์ ดอกมะลิ มีกลิ่นหรือไม่
อ.ธิดารัตน์ มี
ท่านอาจารย์ ไม่เหมือนกันเพราะอะไร
อ.ธิดารัตน์ ถ้าพูดตามการศึกษา หมายถึงว่าการที่สีหรือกลิ่นนั้น อาศัยมหาภูตรูปความต่างๆ กันของมหาภูตรูป หรือรูปอื่นที่ประชุมกันก็จะทำให้สี ทำให้กลิ่นต่างด้วย
ท่านอาจารย์ ส่วนผสมของมหาภูตรูปที่ต่างกัน หลากหลายมาก แล้วเราไปเรียกเองว่ามะลิ เราไปเรียกเองว่าดอกกุหลาบ แต่ความจริงก็คือ ส่วนผสมของมหาภูตรูปที่ต่างกันนั่นแหละ แค่อ่อนแข็ง เย็นร้อน ตึงไหว ซึมซาบเกาะกุม แค่นี้ก็ยังหลากหลาย จนกระทั่งทำให้สิ่งที่สามารถกระทบตาได้ ต้องต่าง ไม่ต่างไม่ได้ เพราะความต่างของมหาภูตรูป
เพราะฉะนั้นสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตามที่ปรากฏให้รู้ว่า แม้แต่ดอกกุหลาบดอกเดียว ก็ยังต่างกันแต่ละกลีบ ก็ตามความหลากหลายของมหาภูตรูป ซึ่งมีสิ่งที่สามารถกระทบตาได้ คือวัณณะหรือสีสันวัณณะต่างๆ ที่ปรากฏรวมอยู่ด้วย แล้วกลิ่นก็ยังต่างกันด้วย รสก็ยังต่างกัน มะนาวกับทุเรียน ต้องมีมหาภูตรูปแน่นอน กลิ่นก็ต่าง รสก็ต่าง เพิ่มขึ้นมากี่รูปแล้ว ศึกษาต่อไปก็รู้ว่ามีรูปทั้งหมดเท่าไร แต่ที่ปรากฏในชีวิตประจำวันเท่าไร นี่คือการเข้าใจธรรม ค่อยๆ เริ่มเข้าใจความจริงละเอียดขึ้นๆ จนกระทั่งสามารถเป็นปัจจัยให้เข้าใจถูก ในสิ่งที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง ที่กล่าวแล้วว่าเป็นอีกโลกหนึ่ง ซึ่งต่างจากโลกที่ปรากฏกับอวิชชา และความติดข้อง
อ.ธิดารัตน์ เชิญพี่อรวรรณค่ะ
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ค่ะ ในการศึกษาเมื่อรู้ว่าความจริงเป็นอย่างที่เรียนกันว่า เป็นรูป เป็นนาม นามก็คือสภาพรู้ รูปไม่ใช่สภาพรู้ ในการอบรมเพื่อให้รู้ความจริงเช่นนั้น ท่านอาจารย์ก็จะย้ำว่า ต้องมีสัญญามั่นคงว่าเป็นธรรมแต่ละลักษณะ ซึ่งความไม่รู้ที่สะสมไว้มาก ก็จะจำไปแล้วว่า เห็นก็เป็นท่านอาจารย์ ท่านวิทยากร ดอกกุหลาบหรือว่าเคาน์เตอร์ จริงๆ แล้วเมื่อสัญญามั่นคงตรงนี้ว่า เห็นเพราะเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ในขณะที่สัญญาจำว่าเป็นธรรมแต่ละลักษณะ ยังไม่ไปแทนที่ตรงนั้น ก็ดูเหมือนว่าก็ค่อยๆ ฟังไปจนกว่าจะย้ำๆ ซ้ำๆ ตรงนี้ ไม่ใช่ว่าไปทำสติ พิจารณาว่า เป็นอย่างที่ฟังอยู่ในตรงนี้ ก็จะขอความกรุณาอาจารย์ว่า เพื่อศึกษาให้ถูก ไม่ใช่ไปผิดๆ
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่เข้าใจลักษณะของสิ่งที่มีจริง ที่กำลังปรากฏที่หลากหลายมาก แล้วจะรู้อะไร แล้วสติคืออะไร เกิดเมื่อไร เป็นไปไม่ได้เลย เพราะเหตุว่าทั้งหมดมาจากความเข้าใจถูก ความเห็นถูก ความรู้ถูก ในสิ่งที่มีจริงๆ โดยไม่ต้องไปคำนึงว่าแล้วอะไร ในเมื่อขณะนี้ยังไม่ได้เข้าใจ เพราะฉะนั้นอบรมก็คือว่า เกิดขึ้นบ่อยๆ ฟังบ่อยๆ ขณะที่ฟังก็เข้าใจขึ้นบ่อยๆ ทีละเล็กทีละน้อย ภาวนาอบรมให้มี จากสิ่งที่ไม่เคยมี จากสิ่งที่มีน้อยเป็นมีเพิ่มขึ้น
เพราะฉะนั้นขณะใดก็ตามที่มีความเข้าใจเพียงเล็กน้อย ไม่พอที่จะรู้ความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏ และรู้ว่ารู้ได้แน่ ถ้ามีความเข้าใจขึ้น เพราะว่าผู้ที่รู้แล้วมีมากในสมัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรม
ผู้ฟัง หมายความว่าถ้าฟังเข้าใจ ก็จะไม่ไปเจริญสติแบบเข้าใจผิด ความเข้าใจก็จะค่อยๆ รู้ว่าเป็นธรรมแต่ละลักษณะ
ท่านอาจารย์ ถ้าสติไม่เกิด จะชื่อว่าเจริญได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่มีใครคนใดคนหนึ่งไปเจริญสติ แต่สติที่เกิดบ่อยๆ ก็ค่อยๆ เจริญขึ้น คือเพิ่มขึ้น มากขึ้น ในขั้นการฟัง ขณะใดที่เข้าใจ มีสติ เราไม่รู้ ไม่เคยเรียกชื่อ ไม่เคยรู้ว่าเพียงขณะที่เข้าใจนั่นแหละ มีสภาพธรรมอะไรที่เกิดร่วมกัน เพราะขณะนั้นปรากฏแต่เพียงลักษณะที่เข้าใจ เหมือนขณะนี้ มีเห็น แต่ไม่รู้ว่ามีผัสสเจตสิก มีเวทนาเจตสิก มีสัญญาเจตสิก ไม่สามารถจะรู้ได้เลย จนกว่าจะได้ฟังพระธรรม
เพราะฉะนั้นแม้แต่ในขณะที่สิ่งหนึ่งสิ่งใดปรากฏ และก็มีความเข้าใจขั้นฟัง ฟังอีกเข้าใจอีก เพิ่มขึ้นอีกทีละเล็กทีละน้อย จนกระทั่งสามารถที่จะเริ่มรู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏ ทรงใช้คำต่างกันจากสติขั้นฟัง สติขั้นอื่น โดยใช้คำว่า สติปัฏฐาน แต่ถ้าไม่มีความเข้าใจ ไม่มีทางเลย ที่สติสัมปชัญญะหรือสติปัฏฐานจะเกิดรู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏได้ ไม่ใช่สติปัฏฐานไปทำอะไร ไม่ใช่สติปัฏฐานไปรู้อะไร แต่สติปัฏฐานเข้าใจถูกต้องว่า ขณะนี้มีธรรม เช่น สิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ ไม่ใช่ใครเลยทั้งสิ้น เห็นไหม ไม่มีคุณอรวรรณ ไม่มีอ.อรรณพ ไม่มีใคร
ขณะใดก็ตามที่เห็น ขณะนั้นมีสิ่งที่สามารถกระทบตา ปรากฏให้เห็นว่า สิ่งนี้มีจริง หลังจากนั้นแล้ว เพราะจำรูปร่างสัณฐาน ซึ่งเกิดดับนับไม่ถ้วน ก็สามารถที่จะเริ่มรู้ว่าสิ่งนั้นเป็นอะไร
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นที่ท่านอาจารย์กล่าวว่า ไม่ต้องทำอะไร นอกจากฟังให้เข้าใจ ก็หมายถึงว่า ความเข้าใจในความเป็นธรรม และเป็นอนัตตา จากการฟังธรรมซ้ำๆ ย้ำๆ บ่อยๆ เนืองๆ ก็จะเข้าใจเพิ่มขึ้นจริงๆ ว่าเป็นธรรม ซึ่งถ้าเมื่อไรไปทำ ก็ไม่ใช่แล้ว หรือไม่เข้าใจตามที่ท่านอาจารย์กล่าวว่า ให้ฟังเพื่อเข้าใจ
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีจิต ไม่มีเจตสิกเลย จะมีอะไรเห็น ได้ยิน และเข้าใจได้หรือไม่
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ไม่ได้ เพราะฉะนั้นที่เข้าใจก็เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ซึ่งไม่ใช่จิต แต่เป็นเจตสิก สภาพธรรมที่เกิดกับจิตฝ่ายดี
อ.ธิดารัตน์ ท่านอาจารย์ได้กล่าวถึงว่า แม้กระทั่งสี ยังต้องอาศัยรูปอื่นๆ อีกมาก อย่างนี้ก็เหมือนกับให้เข้าใจว่า ดอกไม้ไม่ได้มีแค่สีอย่างเดียว แต่สีที่เราเห็นก็ยังมาจากรูปอื่นๆ ที่เป็นที่อาศัย ซึ่งจะได้เข้าใจว่า แม้กระทั่งการเห็น หรือว่ารูปภายนอก ก็ยังต้องอาศัยรูปอื่นๆ ที่ทำให้สิ่งที่ปรากฏทางตานั้นต่างๆ ไป
ท่านอาจารย์ เกิดดับสืบต่อ จนกระทั่งปรากฏรูปร่างสัณฐาน แล้วก็จำไว้ว่า เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด
อ.ธิดารัตน์ เชิญพี่สุกัญญาค่ะ
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์กล่าวถึงความแตกต่าง ของดอกกุหลาบในแต่ละดอก กราบเรียนถามพระอาจารย์ถึง สภาพของนามธรรมที่แตกต่างกัน ถึงแม้จะไม่มีสัตว์บุคคลตัวตน แต่ในสภาพความเป็นจริง ก็ยังมีสัตว์ บุคคล ตัวตนอยู่ ยังมีคนดีกับคนไม่ดี จึงขอกราบเรียนถามท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีจิต เจตสิก ไม่มีดี ไม่ดี จะมีคนดี คนไม่ดีหรือไม่
ผู้ฟัง ไม่มี
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเราสมมติเป็นบุคคล จากสิ่งที่มี คือจิต เจตสิก บัญญัติสิ่งที่มีว่าเป็นคนไหน เพราะอย่างกุศลธรรม เมื่อไรเกิดก็คือเป็นกุศลธรรม ไม่ได้จำกัดเลยว่าเฉพาะตรงนี้หรือตรงนั้น แล้วจะรู้ว่าหมายความถึงเมื่อไร ที่ไหน อย่างไร จึงต้องใช้คำบัญญัติเป็นบุคคล เป็นสัตว์ต่างๆ ให้รู้ความต่างของสภาพธรรมที่เกิดขึ้น
ผู้ฟัง ถ้าเราไม่ได้เข้าใจสภาพที่แท้จริง ของลักษณะที่เป็นกุศลหรืออกุศล เราก็จะไม่รู้จัก ว่าคนดี หรือคนไม่ดี
ท่านอาจารย์ แน่นอน อะไรจะทำให้เรารู้ว่าดีหรือไม่ดี
ผู้ฟัง กำลังจะกราบเรียนถามท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์ ถ้าเบียดเบียนคนอื่นให้เดือดร้อน ประทุษร้ายคนอื่น กาย วาจาที่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน ดีไหม
ผู้ฟัง ไม่ดี
ท่านอาจารย์ ตรงกันข้าม ถ้าเป็นการช่วยเหลือ การที่จะหวังดี แล้วก็ทำทุกสิ่งทุกอย่างที่ดี ที่เป็นประโยชน์ ไม่ใช่เป็นโทษ อย่างนั้นดีไหม
ผู้ฟัง ดี ในส่วนละเอียดคืออย่างไร
ท่านอาจารย์ ในส่วนละเอียดก็คือ ดี ได้แก่อะไร พูดว่าดี แล้วดีจริงๆ สภาพที่ดีได้แก่อะไร
ผู้ฟัง กุศลจิต
ท่านอาจารย์ เมื่อสักครู่นี้เราพูดเพียงว่า ไม่เบียดเบียน ไม่ประทุษร้ายกับการช่วยเหลือ ซึ่งต่างกันพอจะเห็นได้ว่าอะไรเป็นประโยชน์ อะไรไม่เป็นประโยชน์ แต่ตัวจริงของธรรมนั้นๆ ในขณะนั้นคืออะไร
ผู้ฟัง ต้องเป็นกุศล
ท่านอาจารย์ อะไรเป็นกุศลบ้าง ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง ได้หรือไม่ คือตัวจริง ถ้าโกรธกับไม่โกรธ มีสภาพธรรมสองอย่าง สภาพธรรมอย่างหนึ่งเกิดขึ้นแล้ว ประทุษร้ายจิต แล้วก็สามารถที่จะเบียดเบียนด้วยกาย วาจา ใจ ให้คนอื่นเดือดร้อน ด้วย ด้วยโทสะ สภาพที่หยาบกระด้าง ขุ่นเคือง ประทุษร้าย นั่นคือใช้คำบัญญัติศัพท์สภาพนั้นว่า โทสเจตสิก มีจริงๆ โกรธ เคยมีใครไม่โกรธบ้างไหม หรือว่าไม่เคยโกรธบ้างไหม ทุกคนรู้จักโกรธดีไหม ใช่ไหม แต่ไม่รู้ว่าไม่ใช่เรา แต่เป็นธรรมอย่างหนึ่ง เมื่อเกิดแล้วเป็นอย่างนั้นไม่เป็นอย่างอื่นเลย
เพราะฉะนั้นทั้งๆ ที่ใช้คำว่า คนนั้นโกรธ คนนี้โกรธ ความจริงก็คือว่า ธาตุหรือสภาพธรรมนั่นแหละเกิดขึ้นเป็นอย่างนั้น นี่ก็เป็นสิ่งที่ไม่ดี ใช่ไหม เพราะฉะนั้นไม่โกรธก็มีจริงๆ เป็นสภาพธรรมอีกอย่างหนึ่ง ถ้าจะใช้คำบัญญัติให้เข้าใจก็คือว่า อโทสะ ไม่โกรธ เก่งนะ เก่งมากๆ เลย ที่จะไม่โกรธ แต่สภาพธรรมนั้น ยังเกิดเป็นไปได้
เพราะฉะนั้นอาศัยการอบรม หรือว่าการฟัง แล้วรู้ว่าอะไรมีประโยชน์ อะไรไม่มีประโยชน์ แต่เพียงขั้นฟัง ดับสิ่งที่ไม่ดี ที่เป็นอกุศลไม่ได้ เพราะว่าสะสมมานานมาก เพียงแค่ระลึกได้นิดหน่อย ไม่มีประโยชน์เลยที่จะโกรธ ไม่มีประโยชน์กับใครทั้งสิ้น แม้แต่กับตัวเอง ถ้าระลึกอย่างนี้ ยังจะโกรธสะสมต่อไปอีกหรือเปล่า ขึ้นอยู่กับสะสมมามากน้อยแค่ไหน ถ้าสะสมมามาก นับหนึ่งถึงสิบถึงร้อยถึงพันก็ไม่ได้ บอกเท่าไรก็ไม่ได้ ใช่ไหม
เพราะเหตุว่าใครจะยับยั้งธรรม ซึ่งเป็นอนัตตา เมื่อมีเหตุปัจจัยสะสมมามาก ก็ต้องเกิดมาก เกิดบ่อย แต่สามารถที่จะรู้ความต่างกันได้ ว่าธรรมไหนเป็นฝ่ายดี และธรรมอะไรที่ไม่ดี เพราะฉะนั้นรากมูลที่จะทำให้ความไม่ดีเพิ่มขึ้นมากมาย เป็นอกุศลมูลก็มี ๓ คือสภาพธรรมที่ติดข้อง โลภะ กล่าวเป็นประการแรก เพราะเหตุว่าเกิดบ่อยมากในชีวิตประจำวัน เกือบหนีไม่พ้นเลย แล้วก็โทสะ เมื่อไม่ได้สิ่งที่พอใจต้องขุ่นเคือง แล้วก็โมหะ ไม่มีใครเห็น ไม่มีใครรู้ ไม่มีใครคิด เพราะไม่รู้ความจริง
เพราะฉะนั้นตราบใดที่ยังไม่รู้ความจริง จะพ้นจากโลภะ โทสะ ไม่ได้ นี่ก็คือมูลรากที่จะทำให้อกุศลทั้งหลายเพิ่ม เจริญขึ้น เติบโตขึ้น ซึ่งตรงกันข้ามกับทางฝ่ายดี อโลภะ อโทสะ อโมหะ อโลภะ ไม่ติดข้องนี่ยาก ไม่โกรธยากไหม อโทสะ เพราะต้องเข้าใจถูกตามความเป็นจริง อโมหะเป็นอีกชื่อหนึ่งของปัญญา ที่สามารถที่จะเข้าใจจริงๆ ว่าไม่มีเรา แต่ว่ามีธรรมทั้งนั้นเลย ชาตินี้เป็นธรรมที่จะมีปัจจัยเกิดขึ้นเป็นอย่างนี้ ชาติหน้าต่อไปอีกก็ยังมีเหตุปัจจัยที่จะให้เกิดเป็นอย่างนั้นๆ ต่อไปอีก ลืมชาตินี้หมดเลย พอถึงชาติโน้นก็เป็นไปอีก ไม่รู้จบ จึงเป็นสังสารวัฏฏ์
ผู้ฟัง ถ้าเป็นเช่นนี้ สมมติเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน แม้ตัวเราขณะนี้เป็นคนดี อีกขณะก็เป็นคนไม่ดี แล้วแต่ว่าสภาพจิตใจในขณะนั้น จะอุดมไปด้วยกิเลสประเภทไหน
ท่านอาจารย์ ไม่มีเราจริงๆ เหลือแต่ชื่อ ใช่ไหม คุณอรรณพ ชาติก่อนชื่ออะไร ชาตินี้ชื่ออะไร ชาติหน้าชื่ออะไร
ผู้ฟัง การแบ่งแยกว่าเป็นคนดีหรือไม่ดี ก็คือ ไม่ได้แบ่งแยกเป็นบุคคล
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ตามใจชอบ เพราะสภาพที่ไม่ดีเกิดขึ้น จะบอกว่าดีได้ไหม คนนั้นดีได้หรือไม่ สภาพที่ไม่ดีเต็มทั้งวัน บอกว่าเขาดี ได้ไหม
อ.ธิดารัตน์ ชีวิตน้อย อย่างที่ท่านอาจารย์ได้กล่าวแล้ว จิตแต่ละขณะเกิดแล้วดับอย่างรวดเร็ว แล้วจิตขณะนั้น จะเป็นกุศลจิตหรืออกุศลจิต ฉะนั้นชีวิตตั้งอยู่ในแต่ละขณะได้ ที่ท่านใช้คำว่า ชีวิตนี้น้อยนัก
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 841
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 842
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 843
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 844
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 845
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 846
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 847
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 848
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 849
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 850
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 851
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 852
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 853
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 854
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 855
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 856
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 857
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 858
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 859
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 860
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 861
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 862
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 863
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 864
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 865
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 866
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 867
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 868
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 869
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 870
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 871
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 872
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 873
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 874
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 875
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 876
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 877
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 878
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 879
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 880
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 881
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 882
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 883
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 884
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 885
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 886
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 887
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 888
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 889
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 890
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 891
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 892
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 893
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 894
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 895
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 896
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 897
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 898
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 899
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 900