พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 900
ตอนที่ ๙๐๐
ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๗
อ.คำปั่น ท่านอาจารย์ครับ จริงๆ เวลาที่ได้ยินได้ฟังธรรม ก็จะต้องมีคำ มีชื่อ แต่ได้ฟังท่านอาจารย์กล่าวเสมอว่า คำที่ได้ยิน ชื่อที่ได้ยินนั้น ส่องถึงตัวจริงของธรรมหรือเปล่า แม้แต่ได้ฟังเรื่องของเห็น ก็แสดงว่าฟังเพื่อให้เข้าใจถึงสภาพเห็นที่มีจริงตามความเป็นจริง
ท่านอาจารย์ ค่ะ เห็น
อ.คำปั่น เห็นมีจริงๆ
ท่านอาจารย์ หมายความว่าไม่ได้คิดถึงอย่างอื่น ในขณะที่ได้ยินคำว่าเห็น ถูกต้อง หรือไม่ เพราะรู้ว่าเห็นคืออะไรในภาษาไทย เพราะฉะนั้นในขณะที่ได้ยินคำว่า เห็น ไม่ได้คิดถึงอย่างอื่น จริง แต่ว่าหลังจากนั้นก็คิดถึงอย่างอื่น เพราะฉะนั้นก็ไม่ได้เข้าใจเห็น ในลักษณะที่เพียงเห็น และกำลังเห็น เพียงแต่ได้ยินคำว่าเห็น รู้ว่าหมายความถึงขณะที่มีสิ่งที่กำลังปรากฎ ไม่ใช่ขณะที่ได้ยิน ไม่ใช่ขณะที่คิดนึก เข้าใจเพียงเท่านี้ แต่พอได้ยินคำว่าเห็น จะคิดอย่างอื่นไม่ได้เลย ก็คิดถึงคำว่าเห็น ทั้งๆ ที่เห็นกำลังเห็น แต่ว่าไม่ได้เข้าใจเห็น แม้ว่าได้ยินคำว่าเห็น เพราะถ้าเข้าใจเห็นขณะนั้นคือ ไม่ใช่เรา แต่เป็นธาตุที่กำลังเห็น เดี๋ยวนี้มีจริงๆ ขณะนั้นพูดถึงสิ่งที่มีจริง ที่กำลังเห็น
เพียงคำว่าเห็น พูดถึงสิ่งที่มีจริง ที่กำลังเห็น แต่ขณะนั้นกำลังเข้าใจเห็น หรือเพียงได้ยินคำว่าเห็น รู้ว่าหมายความถึงอะไร แล้วก็กำลังพูดถึงสิ่งที่มีจริง ที่กำลังเห็น ขยับใกล้เข้ามาอีก ที่จะไม่คิดถึงเรื่องอื่น พูดถึงสิ่งที่มีจริง ที่กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ แต่ว่าเข้าถึงความเป็นธรรมที่ไม่ใช่เราหรือยัง เพียงแต่ได้ยินให้ฟังว่า ขณะนี้กำลังมีเห็น และพูดถึงเห็น ไม่ได้พูดถึงเรื่องอื่น แต่ก็ยังไม่มีความเข้าใจถึงความเป็นจริงว่า ไม่ใช่เราที่กำลังเห็น
เพราะฉะนั้นก็พูดต่อไปอีก ใช่ไหม เห็นขณะนี้มี เกิดขึ้นเห็น ไม่ใช่อย่างอื่น เพียงเห็น อยู่ที่ไหนคำว่า เพียงเห็น กำลังเข้าใจเห็น ที่กำลังเพียงเห็น หรือเพียงได้ยินว่า เพียงเห็น นี่ก็เป็นความต่างกัน
ผู้ฟัง กราบท่านอาจารย์ ที่ท่านอาจารย์กล่าวว่า เห็นมี ไม่ใช่คิด เป็นเรื่องที่ยากมาก
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง เห็นไม่ใช่คิด แล้วก็ยากมาก ที่จะรู้ว่า เห็นพียงเห็น
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์คะ อย่างไรที่กล่าวว่า ต้องไม่ลืมว่าคือจิต
ท่านอาจารย์ จิตก็เป็นธาตุรู้ ที่ยังมีชีวิตอยู่ทุกวันนี้ คือเห็นบ้าง ได้ยินบ้าง คิดนึกบ้าง คือ สภาพรู้ทั้งหมด เมื่อไรที่สภาพรู้ไม่เกิด เมื่อนั้นก็ตาย ยังไม่ตายก็ต้องมีสภาพรู้เกิดขึ้นเห็นบ้าง ได้ยินบ้าง คิดบ้าง สุขบ้าง ทุกข์บ้าง เป็นสิ่งที่มีจริง เดี๋ยวนี้สิ่งที่มีชั่วคราว เพียงเห็นแล้วก็หมด ได้ยินแล้วก็หมด คิดนึกแล้วก็หมด ทุกอย่างชั่วคราว เพราะฉะนั้นจะมีเราได้อย่างไร นอกจากมีปัจจัยของสภาพธรรมใดเกิด สภาพธรรมนั้นก็ต้องเกิด ไม่เกิดไม่ได้ เกิดแล้วก็ต้องดับไป
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นการฟังที่ยังไม่มากพอ ที่จะรู้ว่า เมื่อฟังเรื่องเห็นหรือได้ยิน ก็น้อม หรือว่าใส่ใจไปถึงเห็น และได้ยิน
ท่านอาจารย์ แล้วแต่ ไม่ต้องน้อม ไม่ต้องทำอะไรเลย ทั้งหมดเป็นธรรม กว่าจะเข้าใจจริงๆ จนไม่เหลือความเป็นเรา ก็ต้องมั่นคงว่า ทุกอย่างเป็นธรรม เพราะฉะนั้นโลภะเกิดแล้วเป็นเรา ไม่ได้เป็นธรรม ความไม่รู้เกิดแล้วก็เป็นเราไม่รู้ เราฟังแล้ว เราก็ไม่เข้าใจ เราฟังแล้ว เราก็เข้าใจเล็กน้อยนิดเดียว และก็ไม่เข้าใจอีก ทั้งหมดเป็นเรา แต่ว่าตามความเป็นจริงก็คือว่า ถ้ามีความเข้าใจอย่างมั่นคง ว่าเป็นธรรม จะไม่เดือดร้อนเลยทั้งสิ้น เพราะไม่มีใคร แต่มีสิ่งที่ต้องเกิด เมื่อมีปัจจัยที่ทำให้เกิด ก็ต้องเกิด เกิดแล้วก็ดับไป แม้แต่ประโยคสั้นๆ แต่ถ้าไตร่ตรอง และมีความเข้าใจที่มั่นคง ก็จะเห็นความไม่มีสาระของสิ่งที่เพียงเกิดขึ้นปรากฏ และหมดไป แต่ความไม่รู้ก็ทำให้ติดข้องมากมาย เห็น มี และเห็นเกิดขึ้น และสามารถจะเห็นเพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้เท่านั้น นี่คือความจริงที่ได้ฟัง แต่ผู้ฟังเป็นผู้ที่ไม่รู้ความจริงอย่างนี้มานานแสนนานมาก ความไม่รู้มีมาก เพราะฉะนั้นฟังแล้วก็ไม่รู้ ฟังแล้วก็ลืม ฟังแล้วพยายามน้อมไป ฟังแล้วก็ไปทำอะไรอีกหลายๆ อย่าง ด้วยความไม่รู้
แสดงให้เห็นว่า ความไม่รู้มาก ยอมรับในความไม่รู้ ว่าอีกมากมายมหาศาล การฟังแค่เริ่มเข้าใจเท่านั้นเอง ก็จะเป็นผู้ตรง ไม่เดือดร้อน ว่าขณะนี้แม้จะกล่าวว่าเห็นเกิดเพราะเหตุปัจจัยก็จริง เห็นเกิดแล้วดับไปก็จริง เห็นเพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ก็จริง แต่ปัญญาน้อยมาก เพราะว่าความไม่รู้สะสมมานานมาก ก็รู้ความตามเป็นจริงว่าเข้าใจ ไม่ใช่ไม่เข้าใจ ฟังแล้วเข้าใจ แต่ก็ยังไม่ใช่กาลที่เริ่มรู้ในความเป็นธรรม คือไม่ใช่เรา แม้แต่สิ่งที่ปรากฏ ก็จะไม่ใช่คนนั้นคนนี้ สิ่งนั้นสิ่งนี้เลย แต่เป็นสิ่งที่สามารถปรากฏให้เห็นได้ แล้วดับไป ไม่เหลืออีกเลย ค่อยๆ ไปถึงความจริงถึงที่สุดว่า สิ่งที่เหมือนมีในขณะนี้ เพียงชั่วคราว เพียงเกิดขึ้นปรากฏแล้วก็หมดไป เพราะฉะนั้นฟังเพื่อให้รู้ความจริงอย่างนี้ มั่นคงขึ้น เพราะถึงจะได้ยินได้ฟังสักเท่าไร ก็ไม่สามารถที่จะไปละการที่จำได้ว่า เห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยง ยังไม่ได้เกิดดับ ทั้งๆ ที่ความจริง สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ปรากฏ เกิดแล้วดับแล้ว
เพราะฉะนั้นความรู้ ความเข้าใจความจริง กับการฟังเรื่องสิ่งที่มีจริงแล้วเข้าใจขึ้น จนกระทั่งสามารถที่จะคลายความไม่รู้ ต้องคิดถึงความไม่รู้ว่ามีมาก เอาออกไปทีเดียวทั้งหมดไม่ได้ ที่จะให้เห็นถูกต้องทันที ว่าสิ่งที่ปรากฏขณะนี้ เกิด และดับตามความเป็นจริง ผู้ที่ได้รู้ความจริงมีมาก ตั้งแต่บุคคลแรกคือ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า และผู้ที่ได้ยินได้ฟังพระธรรม ไม่ใช่เฉพาะในชาตินี้ แต่ว่าหลายๆ ชาติมาแล้ว มีความเข้าใจที่ค่อยๆ สะสมความมั่นคงว่า ขณะนี้เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ แล้วก็มีความเข้าใจในสิ่งอื่นด้วย แม้แต่เสียง ก็เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏให้ได้ยินได้ แม้แต่แข็งก็เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏให้รู้ว่ามีแข็ง แม้แต่รสก็เพียงปรากฏให้รู้ว่ารสมีปรากฏ เมื่อมีธาตุที่กำลังลิ้มรส ซึ่งขณะที่ไม่ได้ฟังอย่างนี้ จะเป็นเรารับประทานอาหารชนิดต่างๆ มีรสต่างๆ แต่ว่าตามความเป็นจริง ถ้าไม่มีธาตุที่รู้ สิ่งใดๆ ก็ปรากฏไม่ได้เลย และธาตุรู้จะเกิดเองไม่ได้ ทุกอย่างที่จะเกิด ต้องมีปัจจัยที่จะทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น เป็นอย่างนั้นไม่เป็นอย่างอื่น
เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นกุศล ไม่ว่าจะเป็นอกุศล ไม่ว่าจะเป็นความสุข ไม่ว่าจะเป็นความทุกข์ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เดี๋ยวนี้ที่เกิดแล้วปรากฏ ก็ต้องมีเหตุปัจจัยที่จะให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นเป็นอย่างนั้น แต่เพราะไม่รู้ความจริงมานาน ลืมข้อนี้ไม่ได้เลย ไม่ใช่ว่าฟังแล้วจะไปเข้าใจทันที รู้ทันที ขณะนี้เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ แต่ก็ยังมีรูปร่างสัณฐาน และจะกล่าวว่าเป็นสิ่งที่เพียงปรากฏให้เห็น ได้หรือ เพียงแต่เริ่มเข้าใจว่า เห็น ไม่ใช่ขณะที่กำลังนึกถึงรูปร่างสัณฐานต่างๆ ไม่ใช่ขณะที่จำ เพราะเห็นไม่ใช่จำ เห็นเพียงแต่รู้ว่า สิ่งที่ปรากฏขณะนั้น เป็นอย่างนั้น ไม่ว่าจะเป็นเสียง เสียงนั้นที่กำลังปรากฏก็ไม่ใช่เสียงอื่น เป็นเสียงนั้นที่ปรากฏว่ามี เมื่อจิตนั้นเกิดขึ้นได้ยินเสียงนั้น แล้วก็ดับไปไม่เหลือเลย นี่คือการเพียรฟัง ที่จะค่อยๆ เข้าใจความไม่รู้ ที่เคยมีมากมายมหาศาลในแสนโกฏกัปป์ แล้วก็ได้ฟังทีละเล็กทีละน้อย จนกว่าจะมีความเข้าใจขึ้น
เพราะฉะนั้นเมื่อไรที่ความเห็นผิดเกิดขึ้น แล้วปัญญารู้ว่าแม้ความเห็นผิดนั้น ก็ไม่ใช่เรา กำลังเห็นว่าเป็นคนหนึ่งคนใด ยึดถือว่าเที่ยง ขณะนั้นถ้าไม่รู้ว่าสิ่งนั้นเป็นอะไร ก็ไม่สามารถที่จะประจักษ์ว่า แท้ที่จริงไม่ใช่สิ่งที่เที่ยง ที่เคยจำไว้ แต่เป็นสิ่งที่เกิดปรากฏแล้วก็หมด ฟังธรรมเพื่อเข้าใจอย่างนี้ทีละเล็กทีละน้อย
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ค่ะ ส่วนละเอียดของธรรมที่ลึกลงไปกว่านั้น แม้เรายังไม่เข้าใจเห็น ว่ามีจริงๆ
ท่านอาจารย์ เห็น มีจริงหรือไม่มี
ผู้ฟัง มีจริง
ท่านอาจารย์ แต่ไม่เข้าใจความเป็นจริงของเห็น ไม่ใช่เห็นไม่มี แสดงให้เห็นอวิชชา พูดแต่คำว่าไม่รู้ พูดแต่คำว่า อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร แล้วแต่เรื่องที่ได้ยินได้ฟัง แต่แม้อวิชชาก็ไม่รู้ว่ามีมากแค่ไหน เพราะฉะนั้นกว่าจะเข้าใจสิ่งที่กำลังได้ยินได้ฟังถูกต้อง จนประจักษ์แจ้ง ก็ต้องอาศัยการรู้ขึ้น จนกระทั่งความไม่รู้ค่อยๆ ลดน้อยลงไป แต่ละวัน แต่ละขณะ เพิ่มขึ้นหรือว่าน้อยลง กำลังก่ออิฐหรือว่ากำลังรื้ออิฐ ข้อความในอัฏฐสาลินี
ผู้ฟัง ฟังสิ่งที่ยาก แล้วเราไม่เข้าใจ ทำอย่างไรๆ ก็ไม่เข้าใจ
ท่านอาจารย์ ยกตัวอย่างสักนิด
ผู้ฟัง เรื่องมรรคมีองค์ ๘
ท่านอาจารย์ มรรค เพราะว่าไม่รู้ว่า มรรคคืออะไร แล้วก็จะไปเข้าใจมรรคได้อย่างไร แต่เริ่มต้นด้วยคำว่า มรรคคืออะไร เข้าใจไหม แล้วจะค่อยๆ เข้าใจขึ้นหรือเปล่า เพราะฉะนั้นก่อนอื่น มรรคคืออะไร ถ้าไม่รู้ไม่มีทาง แล้วก็ยังคิดว่ายากอยู่นั่นแหละ เพราะไม่รู้ว่าคืออะไร แต่ถ้าเริ่มรู้ว่าคืออะไร แล้วค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ เข้าใจขึ้น จะไม่ยากอย่างที่คิด เพราะว่ามีจริงๆ
ผู้ฟัง อย่างเรื่องวิปัสสนา
ท่านอาจารย์ วิปัสสนาคืออะไร ถ้าไม่เข้าใจ แล้วก็ต้องยากแน่ แต่ถ้าวิปัสสนาไม่รู้ว่าคืออะไร ไม่มีทางที่จะเข้าใจวิปัสสนาได้ แต่ถ้ารู้ว่าวิปัสสนาคืออะไร เริ่มเข้าใจวิปัสสนาได้ เข้าใจ แต่ไม่ใช่ธรรมที่เป็นวิปัสสนา
ผู้ฟัง มีความรู้สึกว่าแม้เพียงเห็นกับได้ยิน ในความคิดยังไม่สามารถที่จะเข้าใจสภาพจริงๆ ของธรรมได้
ท่านอาจารย์ นั้นคืออวิชชา ถูกหรือไม่ ไม่เข้าใจคืออวิชชา
ผู้ฟัง สิ่งที่ยากกว่านั้น ฟังกี่ครั้งกี่หนก็ยังไม่เข้าใจ
ท่านอาจารย์ ฟังแล้วมีสิ่งที่เป็นจริงในขณะนั้นให้รู้หรือไม่
ผู้ฟัง เข้าใจในขณะที่ฟัง พอฟัง ได้ยิน ก็เข้าใจ อย่างปัจจัยก็เข้าใจในขณะนั้น
ท่านอาจารย์ ปัจจัยคืออะไร
ผู้ฟัง ตอบไม่ได้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก็คืออวิชชาไม่รู้ แสดงให้เห็นว่า ไม่รู้มากๆ ๆ ยังไม่ต้องคิดว่าจะไปเข้าใจโน้น เข้าใจนี่ที่ว่ายาก แต่เริ่มเข้าใจทีละเล็กทีละน้อย สามารถเข้าใจได้ แต่ต้องไตร่ตรอง ต้องละเอียด มิเช่นนั้นจะไม่มีคำว่า ธัมมวิจยะ
ผู้ฟัง ถ้าจะตอบท่านอาจารย์ก็คือ เปิดตำรา
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ ตำรา มีอะไรในตำรา
ผู้ฟัง ก็มีคำอธิบายว่าปัจจัยคืออะไร
ท่านอาจารย์ นั่นหรือปัจจัย
ผู้ฟัง ไม่ใช่
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก็ต้องรู้ ว่าเดี๋ยวนี้สิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดขึ้นได้เองตามลำพังหรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่ใช่
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ เริ่มเข้าใจคำว่าปัจจัยแล้ว ใช่ไหม ถ้าไม่มีตา เห็นขณะนี้เกิดไม่ได้ เพราะฉะนั้นเห็นขณะนี้ ต้องอาศัยตา กล่าวได้ไหมว่า ตานั่นแหละเป็นปัจจัยให้จิตเห็นเกิดขึ้น เพราะถ้าไม่มีตา เห็นก็เกิดไม่ได้ เพราะฉะนั้นเข้าใจปัจจัยแล้ว สภาพธรรมที่อาศัย สนับสนุนเกื้อกูล ให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดขึ้น และดำรงอยู่ จะเกิดขึ้นตามลำพังไม่ได้เลย ไม่ว่าอะไรทั้งสิ้น
เพราะฉะนั้นขณะนี้มีเห็น ไม่รู้จักเห็น ไม่รู้ว่าเห็นเกิดจากปัจจัยอะไร แต่พอรู้ว่าเห็นเกิดเองไม่ได้ แต่ต้องมีสิ่งที่อาศัย เป็นปัจจัยสนับสนุนเกื้อกูลให้เห็นเกิดขึ้น ทุกคนรู้ ถ้าไม่มีตา เห็นไม่เกิด แค่นี้ก็รู้ว่าเห็นเป็นปัจจัยแน่ๆ หนึ่ง ที่ทำให้เห็นขณะนี้เกิดขึ้น แต่ไม่ใช่เฉพาะตา ต้องมีปัจจัยอื่นอีก เพราะฉะนั้นเริ่มเข้าใจความหมายของคำว่าปัจจัย และก็รู้ด้วยว่าปัจจัยคือสิ่งที่มีจริงๆ ด้วย
ผู้ฟัง ขณะที่ฟัง แล้วมีความเข้าใจ เมื่อเดินออกจากห้องไป ก็ลืมทันที
ท่านอาจารย์ อวิชชาอยู่ไหน
ผู้ฟัง อยู่ตรงลืม
ท่านอาจารย์ เอาไปทิ้งหมดเลย ได้หรือไม่ มากมายมหาศาลที่มีอยู่ในจิต อยู่ในจิต อวิชชานุสัย อวิชชา ความไม่รู้ที่เกิดขึ้นแต่ละครั้ง ดับไป สะสมอยู่ในจิต โดยฐานะความเป็นอนุสัยกิเลส ที่เป็นพืชเชื้อให้กิเลสที่เกิดแล้วดับไป สามารถที่จะเป็นปัจจัย เป็นเชื้อให้กิเลสนั้นเกิดขึ้นอีกได้ เพราะฉะนั้นผู้ที่สามารถดับอนุสัยกิเลส ต้องเป็นผู้ที่เข้าใจถูกต้อง เพราะว่ากิเลสทั้งหลายเกิดจากอวิชชา ถ้าไม่มีอวิชชา ไม่มีกิเลสเลย แต่เพราะมีความไม่รู้ จึงมีกิเลส
เพราะฉะนั้นในขณะที่กำลังฟังอย่างนี้ เริ่มรู้ว่าอวิชชามาก จะค่อยๆ ละคลายหมดไปได้ ก็ต่อเมื่อมีการเข้าใจ สิ่งที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏ ทีละเล็กทีละน้อย จนกว่าจะถึงการรู้แจ้ง ตอนนี้ก็จะได้ยินคำว่า วิปัสสนา และก่อนนั้นก็จะได้ยิน สติปัฏฐาน ก่อนนั้นก็จะได้ยินโพธิปักขิยธรรม ก็คือสภาพธรรมนั้นๆ ที่มีตามลำดับ ถ้าขณะนี้ไม่มีสติปัฏฐาน แต่มีการเข้าใจ ก็มีสติขั้นเข้าใจ ยังไม่ใช่สติปัฏฐาน แต่ทั้งหมดที่มีจริงๆ เพราะมีเหตุปัจจัยทำให้เกิดขึ้น
อ.คำปั่น อ.ธิดารัตน์ครับ เมื่อสักครู่ท่านอาจารย์กล่าวถึง ขณะนี้กำลังก่ออิฐ รื้ออิฐ ในความเป็นจริงของธรรม เป็นเช่นไร
อ.ธิดารัตน์ ขณะที่ก่ออิฐ ขณะที่เป็นไปกับอกุศลทั้งหลาย ก็ไม่ได้รู้ความจริง ก็คือพอกพูนความไม่รู้ พอกพูนอกุศลธรรม แล้วก็ยังเป็นปัจจัยที่จะทำให้มีชาติภพสืบต่อไปข้างหน้ามากมาย ก่ออิฐก็เหมือนกับการก่อวัฏฏะ หรือว่าการก่อชาติภพ เพราะฉะนั้นขณะนี้เราเป็นอกุศลมากน้อยแค่ไหน ที่จะเป็นปัจจัยสะสม ขณะนั้นก็คือกำลังพอกพูน ก่ออิฐหรือว่าเพิ่มวัฏฏะขึ้น แล้วกุศลที่จะละหรือทำลายอิฐได้ ก็ต้องเป็นกุศลที่ประกอบด้วยปัญญาที่มีกำลัง ที่จะเป็นปัจจัยให้พ้นจากวัฏฏะนั่นเอง
จริงๆ ก็คือการฟังธรรมที่ค่อยๆ สะสมเพิ่มขึ้นไป รื้อถอนความไม่เข้าใจ หรือว่าอกุศลธรรมทั้งหลาย ค่อยๆ ที่จะลดละไปเรื่อยๆ ค่อยๆ รู้จักสภาพธรรมตามความเป็นจริงว่า อกุศลเป็นอย่างไร ขณะนั้นกุศลธรรมก็เจริญขึ้น ด้วยความเข้าใจ จนกว่าการจะรู้ลักษณะสภาพธรรมตามความเป็นจริง ท่านอาจารย์คะ เวลาที่กล่าวถึง เรื่องของวิปัสสนาญาณหรือว่ามรรคผล ก็เป็นเรื่องที่ไกล แต่เราควรจะเข้าใจหรือไม่ ว่ามีลักษณะอย่างไร
ท่านอาจารย์ ได้ยินคำอะไร เข้าใจคำนั้นดีหรือไม่ หรือว่าได้ยินแล้วก็ไม่รู้ ไม่มีคำอธิบายที่จะทำให้เราเข้าใจได้ แต่ได้ยินคำไหน สามารถที่จะสอบถาม สนทนา และก็เข้าใจคำนั้น ดีกว่าที่จะผ่านไปเลย เพราะวิปัสสนาแท้จริงก็คือปัญญา แต่ว่าเป็นปัญญาระดับไหน ขณะนี้มีสิ่งที่กำลังปรากฏ อวิชชาไม่รู้เลย ว่าเป็นสิ่งที่เพียงเกิดแล้วก็ดับไป แต่ว่าปัญญาจากการฟัง เริ่มเข้าใจถูก ว่าขณะนี้สิ่งที่มี ถ้าไม่มีปัจจัยที่สมควรที่จะเกิดขึ้น เกิดขึ้นไม่ได้ แม้ได้ยิน เพียงได้ยิน ถ้าไม่มีปัจจัยที่สมควร คือไม่มีหู ที่เราใช้คำว่าหู คือโสตปสาทรูป รูปที่สามารถกระทบเสียง คิดดู เสียงเป็นเสียง แต่ก็มีรูปที่สามารถกระทบเฉพาะเสียง เป็นธรรม ซึ่งไม่มีใครสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้
ถ้าเพียงได้ยินได้ฟัง แล้วก็เข้าใจทีละเล็กทีละน้อย นี่คือปัญญา จะบอกว่าไม่เข้าใจ ไม่รู้ เป็นเราไป ได้ยินคำว่าอนัตตาเลย กับได้ยินคำว่า อนัตตา และไม่ใช่เพียงได้ยินเฉยๆ ต้องรู้ว่า อนัตตาคือไม่ใช่อัตตา ไม่ใช่สิ่งที่เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ตามที่เข้าใจกันว่า เป็นโต๊ะ เป็นคน เป็นดอกไม้ แต่ว่าแต่ละหนึ่งเป็นอนัตตา คือเฉพาะสิ่งนั้น จะเป็นสิ่งอื่นไม่ได้ เช่นกลิ่น เราจะเรียกว่ากลิ่นดอกไม้ กลิ่นอาหาร หรือกลิ่นอะไร ก็แล้วแต่ แต่กลิ่นเป็นกลิ่น จะเป็นอื่นไม่ได้เลย แข็งเป็นแข็ง เสียงเป็นเสียง ได้ยินเป็นได้ยิน
เพราะฉะนั้นสักอย่างหนึ่งมีไหมที่เป็นเรา ก็ไม่มี เพราะว่าความจริงก็เป็นเพียงธรรม แต่ละหนึ่ง ซึ่งหลากหลาย ภาษาไทยเข้าใจอย่างนี้ ภาษาบาลีก็ใช้คำว่า ปัญญา ได้ ใช้คำว่าทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูกได้ แต่เพราะเหตุว่าปัญญามีหลายระดับ ที่จะให้รู้ว่าหมายความถึงปัญญาระดับไหน ก็ต้องมีคำที่แสดงความต่าง เช่น สุตตมยปัญญาปัญญาสำเร็จจากการฟัง ไม่ใช่แค่ได้ยิน สำเร็จจากการฟัง เข้าใจ สิ่งที่กำลังฟัง
เพราะฉะนั้นจะเปลี่ยนปัญญานั้น ให้เป็นระดับอื่นไม่ได้ จะเป็นความไม่รู้ไม่ได้เพราะว่าเป็นการที่ได้ยินได้ฟัง และสามารถเข้าใจ เพราะฉะนั้นจากเข้าใจ ก็จะมีปัญญาที่เจริญขึ้น เพิ่มขึ้น จากการฟังละเอียดขึ้น เข้าใจขึ้น จนกระทั่งสามารถที่จะรู้แจ้งตามความเป็นจริงของสภาพธรรม ที่เพียงได้ยินเรื่องของสภาพธรรมนั้น ว่าสภาพธรรมนั้นเกิด และดับ นี่คือได้ยิน แต่เวลาที่สภาพธรรมเกิด และดับจริงๆ อวิชชารู้ไม่ได้ แต่ปัญญาสามารถประจักษ์แจ้งได้ สืบเนื่องมาจากปัญญาขั้นฟัง ปัญญาขั้นไตร่ตรอง ปัญญาขั้นที่สติสัมปชัญญะเกิด และเริ่มเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม ขณะที่สภาพธรรมนั้นปรากฏ ไม่ใช่เพียงคิดเรื่องเห็น ขณะที่เห็นขณะนี้ก็เกิดดับไปเรื่อยๆ นั้นแค่คิด แต่ว่าขณะใดที่ไม่มีสิ่งอื่น แต่สามารถมีเห็นให้เข้าใจ ไม่ใช่ต้องคิด แต่เห็นขณะนั้น มี ลักษณะของเห็น ซึ่งไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใดเลยทั้งสิ้น ถูกต้องหรือไม่ เป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้นเห็นเท่านั้น และก็มีสิ่งที่ปรากฏ ซึ่งไม่ใช่เห็น เมื่อสภาพธรรมสองอย่างนี้ปรากฏต่างกัน ทำให้ปัญญาสามารถประจักษ์แจ้งความจริงว่า ที่ได้ฟังมาเป็นความจริง สามารถพิสูจน์ได้ สามารถถึงความจริงนั้นได้ เพราะฉะนั้นปัญญาระดับนั้นก็เป็นวิปัสสนา
เพราะฉะนั้นได้ยินคำไหน ต้องเข้าใจให้ถูกต้อง และต้องรู้ด้วยว่าขั้นฟัง ไม่ใช่วิปัสสนา แต่เป็นปัญญา ซึ่งอาศัยการฟังเกิดขึ้น จึงสามารถที่จะเริ่มเข้าใจถูกต้อง เพียงรู้ และเข้าใจถูกต้อง แต่ยังไม่ใช่การประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรม ซึ่งขณะนี้เป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นปัญญาที่อบรมแล้ว สามารถจะเข้าใจสภาพธรรมใดก็ได้ขณะนี้ที่กำลังเกิดดับ แต่ไม่ใช่เรา เป็นปัญญาที่เกิดจากการฟัง และอบรม จนกระทั่งละคลายความไม่รู้ ซึ่งมีมาก จนกระทั่งความไม่รู้นั้นน้อยลงๆ จนกระทั่งปัญญาสามารถที่จะมีกำลัง รู้สภาพธรรม แม้อวิชชา หรือทิฏฐิ ความเห็นผิด หรือสภาพธรรมใดๆ ทั้งสิ้น ที่กำลังมีในขณะนี้ โดยไม่ต้องเรียกชื่อเลย แต่ว่าคุ้นหูกับชื่อ ที่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นวิจิกิจฉา ความสงสัย เกิดแล้ว ขณะนั้นมีลักษณะอย่างนั้น ไม่ใช่เราอย่างนั้น แต่ไม่ใช่ติดตามเรียกชื่อว่า นี่วิจิกิจฉา หรือสงสัยว่านี่วิจิกิจฉาหรือเปล่า
นี่ก็คือการที่ปัญญาต้องรู้ตามที่ได้ฟัง ตามที่ได้พิจารณาแล้วว่า เป็นความจริง ขณะนี้ใครไม่รู้ว่าสภาพธรรมเกิดดับบ้าง จากขั้นการฟัง จริง ใช่ไหม สามารถประจักษ์แจ้งได้ ด้วยปัญญาที่อบรม แต่ไม่ใช่ด้วยการเพียงแค่ฟัง แล้วก็ยังไม่รู้ความจริงของสภาพธรรม
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 841
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 842
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 843
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 844
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 845
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 846
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 847
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 848
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 849
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 850
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 851
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 852
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 853
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 854
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 855
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 856
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 857
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 858
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 859
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 860
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 861
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 862
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 863
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 864
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 865
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 866
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 867
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 868
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 869
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 870
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 871
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 872
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 873
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 874
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 875
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 876
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 877
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 878
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 879
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 880
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 881
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 882
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 883
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 884
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 885
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 886
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 887
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 888
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 889
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 890
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 891
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 892
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 893
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 894
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 895
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 896
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 897
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 898
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 899
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 900