พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 901
ตอนที่ ๙๐๑
ณ มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๗
ท่านอาจารย์ เพียงแค่คำว่าอินทรีย์คำเดียวหมายความถึงสภาพธรรมที่เป็นใหญ่ แทนที่เราอยากจะไปรู้ให้ครบจำนวน แต่ว่าควรที่จะได้ทราบว่าจริงๆ เดี๋ยวนี้มีอินทรีไหม อยู่ในตำราเท่าใด กี่อินทรีย์ ๒๒ อินทรีย์ แล้วเดี๋ยวนี้อยู่ไหน จะเอาแค่วิริยินทรีย์ แค่ปัญญินทรีย์หรืออะไรหรือ แต่ตามความจริงเดี๋ยวนี้มีอะไรที่ควรเข้าใจขึ้น จนกระทั่งรู้ว่าเป็นสิ่งที่มีจริงซึ่งไม่ใช่เรา หลงยึดถือมาในสังสารวัฏแสนนาน แต่ว่าความจริงแล้วก็คือว่าสิ่งที่เพียงมีจริงๆ ชั่วขณะที่ปรากฏ และขณะที่ปรากฏก็ต้องมีสภาพที่กำลังรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่กำลังปรากฏ ไม่ใช่สิ่งอื่น ไม่ใช่ไปรู้ทั่วหมด เฉพาะสิ่งหนึ่งที่ปรากฏขณะนี้ แล้วเริ่มฟังจนกระทั่งมีความเข้าใจขึ้น มิฉะนั้นเราก็จะไปคิดถึงคำมากมาย แต่ว่าไม่สามารถที่จะเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังมีจริงเดี๋ยวนี้ได้ เพราะฉะนั้นแต่ละคำให้เป็นการเข้าใจสภาพที่มีจริง ซึ่งจะทำให้ค่อยๆ เข้าใจขึ้นว่าไม่ใช่เรา
อ.ธิดารัตน์ มีข้อความที่อธิบายลักษณะของวิริยะ วิริยะนั้นมีความค้ำจุนเป็นลักษณะ หรือมีความประคองเป็นลักษณะ มีความค้ำจุนสหชาตธรรมเป็นกิจหรือว่าเป็นรส ก็หมายถึงว่าลักษณะที่วิริยะค้ำจุน หรือว่าประคอง
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้มีไหม
อ.ธิดารัตน์ คือขณะนี้มีวิริยะทำกิจเกิดร่วมกับจิต
ท่านอาจารย์ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่ามี หรือไม่มี
อ.ธิดารัตน์ ก็ต้องรู้ลักษณะของวิริยะ
ท่านอาจารย์ ฟังให้เข้าใจก่อน แล้วถึงจะค่อยๆ เข้าใจ ทั้งๆ ที่ขณะนี้จิตเกิด จิตที่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยก็มี จิตที่ไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยก็มี รู้ไม่ได้ อย่างไรๆ ก็รู้ไม่ได้ แต่ว่าจากการฟังก็เห็นความหลากหลายของจิตว่า ไม่มีใครสามารถที่จะดลบันดาลให้จิตนี้มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย หรือว่าจิตนั้นไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่ฟังให้เห็นพระปัญญาคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งทรงตรัสรู้ความจริง ซึ่งทำให้ไม่ยึดถือว่าสภาพนั้นๆ เป็นเรา หรือว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เป็นแต่เพียงสภาพธรรมแต่ละหนึ่งซึ่งมีปัจจัยเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป นี่คือจุดประสงค์
เพราะฉะนั้นเวลานี้ใครจะรู้ว่าวิริยะเป็นอย่างไร จะประคองอย่างไร เมื่อใด อย่างไร ก็ต่อเมื่อสามารถที่จะเข้าใจก่อน ที่ทรงแสดงไว้จิตใดมีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย จิตใดไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย เช่น ขณะนี้เห็นเหมือนมีเห็นตลอดเวลาไม่ได้ดับไปเลย แต่ความจริงก็มีรู้ด้วย สิ่งที่เห็นเป็นอะไร ซึ่งก็คนละขณะแล้ว แล้วก็มีความพอใจไม่พอใจในสิ่งที่เห็นด้วย ก็เป็นแต่ละหนึ่งสภาพธรรม ซึ่งมีปัจจัยเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เพราะฉะนั้นถ้าจะพูดถึงวิริยะเป็นสภาพธรรมที่มีจริง ถ้าในชีวิตประจำวันเราไม่เคยฟังธรรมเลย เราเห็นคนขยันเราบอกว่าเขาขยันมาก ตื่นมาขุดดินปลูกต้นไม้ไถนาทำไร่ หรือใครจะทำอะไรก็ได้ เข้าครัวทำอาหารทั้งหมด บางคนมีความเพียรที่เห็นได้ชัด ในยุคก่อนสมัยก่อนเขาก็จะมีถั่วงอกที่รับประทานกับอาหารหลายประเภท แล้วก็เด็ดหางออกทุกอัน เพียรไหม ถ้าบางคนก็ข้ามไปก็แสดงว่าไม่มีวิริยะ หรือความอดทน หรือความเพียรพอ นั่นคือเป็นธรรมที่รวมๆ กันหลายๆ อย่าง แล้วเราก็เรียกว่าคนนั้นอาการกระทำเช่นนั้นเราก็บอกว่าขยัน หรือว่าไม่ขยัน หรือเกียจคร้าน แต่ธรรมละเอียดลึกซึ้งกว่านั้นมาก ถ้าไม่มีสิ่งที่มีจริงแต่ละหนึ่งแต่ละหนึ่งซึ่งเกิดดับ จะไม่มีใครเลยทั้งสิ้น
เพราะฉะนั้นไม่ว่าเราจะพูดถึงอุปนิสัยใจคอ ความดีความชั่วต่างๆ หรือสภาพธรรมที่มีจริงต่างๆ เราก็เห็นเพียงรวมๆ กัน แต่ไม่รู้ว่าขณะนั้นไม่ใช่เราเลย แต่ว่าเป็นสิ่งที่มีจริงแต่ละอย่างซึ่งมีลักษณะเฉพาะของตนๆ ที่เกิดขึ้น อย่างที่กล่าวถึงวีระคือความกล้า กล้าทำชั่วได้ไหม กล้าทำดีได้ไหม ความเพียรขยันในทางดีก็มี ในทางที่ไม่ดีก็มี เพราะฉะนั้นก็เป็นสภาพธรรมซึ่งเพียงวิริยะเท่านั้น ไม่สามารถที่จะรู้ได้ว่าดีหรือชั่ว จนกว่าจะมีสภาพธรรมฝ่ายไม่ดีเกิดร่วมด้วย วิริยะนั้นก็เป็นความเพียรในทางไม่ดี ถ้าเป็นฝ่ายทางดีวิริยะนั้นก็เป็นไปในทางฝ่ายดี เดี๋ยวนี้มีวิริยะเพียรที่จะฟังธรรมไหม คือพอจะรู้ได้เท่าที่เราสามารถจะรู้ได้ แต่จริงๆ แล้ววิริยะเป็นเจตสิกหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่ปัญญาเจตสิกไม่ใช่สติเจตสิก แล้วก็จิตส่วนใหญ่ก็จะมีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยเกินกว่าที่เราคิด เพราะว่าเราไม่ได้รู้สภาพของจิตทั้งหมดแต่ละหนึ่งว่าต่างกันอย่างไร แต่จำนวนตามที่ทรงแสดงไว้ก็คือว่า วิริยเจตสิกไม่เกิดกับจิตส่วนใหญ่ หรือส่วนน้อย
อ.วิชัย ไม่เกิดกับจิตส่วนน้อยคือมีแค่ ๑๖ ประเภทเท่านั้นเอง
ท่านอาจารย์ แล้วเราพูดถูกไหมที่เราบอกว่าเขาขยัน หรือบางคราวที่เราบอกว่าเขาขี้เกียจ เราก็พูดผิดแล้ว เพราะเราไม่ได้รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้นการศึกษาธรรมเพื่อเห็นความเป็นอนัตตา จนกระทั่งเราสามารถจะเข้าใจถึงวิริยินทรีย์ซึ่งก็ต้องต่างไปอีก ทุกๆ ชื่อมีความหมายตั้งแต่ธรรมดาระดับธรรมดาจนกระทั่งถึงว่า ขณะนั้นมีสภาพที่เพิ่มความเป็นใหญ่ของความเพียร จึงใช้คำว่าวิริยินทรีย์ได้ แต่ถ้ายังไม่เป็นเช่นนั้นก็ยังไม่ใช่วิริยินทรีย์
อ.วิชัย วิริยเจตสิกคือความเพียรเป็นธรรมประการหนึ่ง ซึ่งก็ไม่เกิดกับจิตเป็นส่วนน้อยคือเพียง ๑๖ ประเภทเท่านั้น เช่น จิตเห็นก็ไม่มีวิริยะเกิดร่วมด้วย ฉะนั้นความต่างขณะที่มาฟังพระธรรม หรือนั่งฟังพระธรรมก็มีวิริยะ แต่ว่าธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียดที่จะรู้ว่าแม้เห็นก็ไม่มีวิริยะเกิดร่วมด้วย กับการที่ขณะนี้อะไรที่มีวิริยะเกิดร่วมด้วย
ท่านอาจารย์ นี่เป็นเหตุที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงความละเอียดยิ่งว่า นอกจากจิต ๑๖ ดวงนั้นแล้ว มีวิริยะทั้งหมดเราจะรู้หรือไม่รู้แต่ก็มี เพราะฉะนั้นก่อนอื่นให้ทราบว่าจิต ๑๖ ดวงเป็นอย่างไรจึงไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย ก็น่าสนใจใช่ไหม จิต ๑๖ ดวงที่ไม่ประกอบด้วยโลภะเจตสิก โทสะเจตสิก โมหเจตสิก ซึ่งใช้คำว่าเหตุฝ่ายไม่ดีเป็นอกุศลเหตุ และไม่ประกอบแม้กับอโลภะเจตสิก อโทสะเจตสิก อโมหะเจตสิก เพราะฉะนั้นจิตทั้งหมดทุกวันมีจิตที่ไม่ประกอบด้วยโลภะเจตสิก โทสะเจตสิก โมหะเจตสิก อโลภะเจตสิก อโทสะเจตสิก อโมหะเจตสิกด้วย และก็ในบางกาลก็มีจิตที่ประกอบด้วยโลภะเจตสิก กับโมหะเจตสิก บางกาลก็มีจิตที่ประกอบด้วยโมหะเจตสิกกับโทสะเจตสิก และบางกาลก็มีจิตที่ประกอบด้วยอโลภะเจตสิก กับอโทสะเจตสิก ส่วนอโมหะนั้นเป็นปัญญา
เพราะฉะนั้นบางครั้งก็มีปัญญาเกิดร่วมด้วย ไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วย ทั้งหมดไม่ใช่ชื่อ แต่เป็นสภาพธรรมที่มีจริงๆ แล้วก็จะรู้ว่าที่ไปเข้าใจว่าเป็นเรา ผิดหมดเลย เพราะเหตุว่าเป็นลักษณะของสภาพธรรมแต่ละหนึ่งซึ่งมีปัจจัยเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นก็ควรที่จะกล่าวถึงจิตที่ไม่มีวิริยะเกิดร่วมด้วย ๑๖ ประเภท ได้แก่ จิตที่ไม่มีเหตุ ๖ เกิดร่วมด้วยจึงชื่อว่าอเหตุก ชื่อธรรมดามากเลย บางคนพอฟังธรรมได้ยินคำว่าอเหตุกไม่อยากเรียนแล้ว เหตุ แล้วก็อเหตุก แล้วก็สเหตุก ไม่เคยรู้จักคำเหล่านี้เลย แต่ไม่ยากเลย ถ้ามีความเข้าใจว่าในบรรดาธรรมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นจิต ไม่ว่าจะเป็นเจตสิก ไม่ว่าจะเป็นรูปใดๆ ก็ตาม สภาพธรรมที่เป็นเหตุแท้จริงมีเพียง ๖ เพราะฉะนั้นเหตุ ๖ เป็นอกุศลเหตุ ๓ และก็เป็นโสภณเหตุ ๓ นี่ชื่อต่างกันแล้ว แม้ความเล็กน้อยที่ต่างกัน ถ้าเข้าใจเป็นประโยชน์ เพราะว่าส่วนใหญ่เราก็คิดเพียงว่ากุศลกับอกุศล
เพราะฉะนั้นก็เข้าใจว่าอกุศลเหตุมี ๓ แน่นอน คือ เจตสิกที่เป็นสภาพที่ติดข้องเป็นโลภเจตสิก เป็นสภาพธรรมที่ตรงกันข้ามกับความติดข้อง เป็นสภาพที่หยาบกระด้างทำร้าย นั่นเป็นโทสเจตสิก และสภาพธรรมที่เป็นเหตุอีกหนึ่งคือโมหเจตสิกเป็นสภาพที่ไม่สามารถเข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏได้ ขณะใดก็ตามมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดกำลังปรากฏ แล้วก็ไม่เข้าใจความจริงของสิ่งนั้น ขณะนั้นก็คือโมหเจตสิก ไม่ใช่เรา ความไม่รู้ต้องเป็นความไม่รู้ จะเป็นใครไม่ได้ จะเป็นโลภไม่ได้ จะเป็นโกรธไม่ได้ เพียงแต่ไม่รู้ในสิ่งนั้น แต่เมื่อไม่รู้แล้วพอใจในสิ่งที่เหมือนกับเที่ยง คือ ไม่ปรากฏการเกิดดับเลย ความติดข้องขณะนั้นก็เป็นโลภเจตสิก และถ้าไม่ได้สิ่งที่พอใจขุ่นใจขณะนั้นก็เป็นโทสเจตสิก เป็นอกุศลเหตุ ๓ ใช้คำว่าเหตุ เพราะว่าจะนำมาซึ่งอกุศลอีกมากเพราะ ๓ เจตสิกนี้
ตอนนี้แค่นี้รู้จักแล้วใช่ใหม คือค่อยๆ ไป ธรรมไม่ใช่ว่าอยากจะรู้ทั้งหมดทีเดียว แต่เดี๋ยวนี้มีไหม มีเป็นเราหรือเปล่า ถ้าไม่ใช่เราเป็นอะไร ขณะใดก็ตามที่มีความไม่รู้สภาพธรรมที่ปรากฏ ขณะนั้นดีไหม ไม่ดี เป็นอกุศลเหตุ ด้วยเหตุนี้ถ้าได้ยินคำว่าอกุศล จะเป็นอกุศลเหตุ หรืออกุศลเจตสิก หรือว่าอกุศลธรรมก็ตาม ให้ทราบว่าสภาพธรรมนั้นเป็นได้อย่างเดียวคือ เกิดเมื่อใดเป็นอกุศลทันที จะไม่เป็นอกุศลไม่ได้ มานะความสำคัญตนดีไหม ภาษาไทยบอกว่ามานะดี ใช่ไหม แต่ว่าความจริงถ้ากล่าวถึงธาตุชนิดหนึ่งสภาพธรรมอย่างหนึ่ง มานะเป็นเจตสิกไม่ใช่จิต แต่เกิดกับจิต เจตสิกทั้งหมดต้องเกิดกับจิต ไม่เกิดกับจิตไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นเวลาใดที่สำคัญตน ขณะนั้นไม่ใช่จิต เพราะบางขณะก็สำคัญตน บางขณะก็ไม่ได้สำคัญตน แต่จิตมีตลอดตั้งแต่เกิดจนตายไม่เคยขาดเลย แล้วแต่ว่าจะมีเจตสิกใดเกิดกับจิตใดในขณะไหน แต่เจตสิกจะต้องเกิดดับสืบต่อ แล้วก็มีเจตสิกแล้วแต่ว่าขณะนั้นมีเจตสิกประเภทใดเกิดร่วมด้วย มานะไม่ดี เพราะฉะนั้นขณะใดที่สำคัญตนอย่าหลงเข้าใจว่าดี ขณะนั้นเป็นอกุศลธรรม
เพราะฉะนั้นสภาพธรรมของอกุศลเจตสิกทั้งหมดมี ๑๔ ประเภท ไม่ว่าเกิดเมื่อใดเป็นอกุศลทันที แต่นอกจากนั้นเจตสิกอื่นทั้งหมดเป็นกุศลก็ได้ เป็นอัพยากตะก็ได้แล้วแต่ แต่ถ้าเป็นสภาพธรรมฝ่ายดีใช้คำว่าฝ่ายดี เป็นได้คือกุศลหรือกุศลวิบากนี้ก็เป็นสิ่งซึ่งแสดงความละเอียด ไม่ใช่ให้เบื่อ แต่ให้รู้ว่านี่คือชีวิตจริงๆ ซึ่งไม่เคยรู้เลย ได้ยินชื่อก็คิดว่ายาก แต่ความจริงก็คือสิ่งที่กำลังมีในขณะนี้
เพราะฉะนั้น จิต ๑๖ ดวง เวลานี้เราคงไม่ต้องนั่งคิด แต่ว่าเท่าที่สามารถจะปรากฏในขณะนี้ได้ให้เข้าใจ เวลาที่กำลังพอใจชอบติดข้องแม้เพียงเล็กน้อยมีวิริยะเกิดร่วมด้วยแล้ว เวลานี้เกือบจะไม่รู้สึกเลยว่าเราชอบอะไรบ้างใช่ไหม เพราะว่าสภาพธรรมเกิดดับเร็วมาก แต่ว่าขณะนี้ถ้าไม่เป็นกุศลก็เป็นอกุศล อกุศลก็มีเพียงแค่จิตที่ประกอบด้วยความติดข้องหนึ่งเป็นโลภมูลจิต มีโลภเจตสิกเกิดร่วมด้วย หรือจิตที่ประกอบด้วยความขุ่นเคืองประทุษร้ายรำคาญใจ หรืออะไรก็ตาม สังเกตได้จากความรู้สึกที่ไม่สบายใจในขณะนั้น ก็เป็นโทสมูลจิต หมายความว่ามีโทสะเกิดร่วมด้วย แล้วก็ขณะใดก็ตามไม่มีโลภะโทสะ แต่ก็ไม่รู้ไม่เข้าใจสิ่งที่ปรากฏ ขณะนั้นก็เป็นโมหะ
เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้ศึกษาธรรมโดยยังไม่ต้องคิดถึงจำนวนเลย จิตเห็นไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย เพราะเหตุว่าเป็นการอุปปัตติเกิดขึ้น เมื่อถึงกาลที่กรรมจะให้ผลทำให้ต้องเห็น ใครจะรู้หรือไม่รู้ เวลานี้เห็นนี่เองเดี๋ยวนี้เองทุกขณะที่เห็นเกิดขึ้น เพราะกรรมที่ได้ทำแล้วเป็นปัจจัยถึงกาลที่จะเห็นสิ่งที่กำลังปรากฏ บางกาลเราก็เลือกไม่ได้อีกเหมือนกัน เห็นสิ่งที่ไม่น่าพอใจกลางถนนหนทางมีไหม อุบัติเหตุต่างๆ ไม่ได้คิดมาก่อนเลย แต่อุปปัตติเกิดแล้ว และจิตเห็นขณะนั้นก็ได้เห็นสิ่งนั้น เพราะฉะนั้นการเห็นเราจะเลือกไม่ได้เลยว่า เราอยากจะเห็นอะไรแล้วจะได้เห็น อยากเห็นพยายามสักเท่าไหร่ก็ตาม ตาบอด พยายามมาตั้งมากมาย แต่ถึงเวลาอยากเห็นก็เห็นไม่ได้ เพราะว่ากรรมไม่ได้เป็นปัจจัยให้จิตเห็นเกิดขึ้นเห็นสิ่งนั้น
เพราะฉะนั้นให้ทราบว่าชีวิตที่มีอยู่ในวันหนึ่งๆ ก็มีการเห็น จิตขณะเห็นเกิดขึ้นเห็นไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย ถ้าจะกล่าวถึงเฉพาะวิริยเจตสิกเพียงหนึ่ง เราก็จะพูดถึงเฉพาะขณะใดบ้างที่ไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย จิตเห็นเดี๋ยวนี้ชั่วหนึ่งขณะที่เห็นไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย เมื่อใดก็ตามเห็นที่ไหนก็ตาม เห็นสิ่งที่น่าพอใจก็ตามไม่น่าพอใจก็ตาม ไม่ต้องมีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยเลย เพราะว่าจิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส จิตรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสกาย มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเพียง ๗ เท่านั้นน้อยที่สุด จิตต้องอาศัยเจตสิกเป็นปัจจัยเกิดขึ้น และเจตสิกก็ต้องเกิดกับจิตแยกจากกันไม่ได้เลย ที่ใดมีจิตที่นั่นต้องมีเจตสิก เจตสิกทั้งหมดมี ๕๒ ประเภท แต่สำหรับจิตเห็นเดี๋ยวนี้มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเพียง ๗ ไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย จิตได้ยินขณะที่กำลังได้ยินเสียงปรากฎ จิตที่รู้เสียงขณะนั้นก็มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๗ ประเภทไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย
เพราะฉะนั้นการศึกษาเรื่องเจตสิก เราค่อยๆ ศึกษาไปทีละเจตสิก ไม่ต้องมารวมกันเป็น ๕๒ ทีเดียวก็ได้ เพื่อที่ว่าเราจะได้เข้าใจจริงๆ ว่า ต่อนี้ต่อไปจากไม่เคยรู้เรื่องจิตเลย ก็มารู้ว่าจิตหลากหลายตามเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย บางขณะจิตก็ดีเพราะมีเจตสิกฝ่ายดีเกิดร่วมด้วย บางขณะจิตก็ไม่ดีเพราะเหตุว่ามีเจตสิกฝ่ายไม่ดีเกิดร่วมด้วย บางขณะไม่ใช่จิตดี และไม่ดีซึ่งเป็นเหตุ แต่เป็นผลของเหตุ เพราะฉะนั้นมีคำว่ากรรมเป็นเหตุ และมีวิบากคือผลของกรรม เพราะฉะนั้นเมื่อกุศลกรรมมีเป็นปัจจัยให้เกิดกุศลวิบาก จิตนั้นเป็นผลของกรรมทำให้เกิดขึ้น และเวลาที่อกุศลดับไปแล้วก็จริง แต่ขณะใดก็ตามที่มีการเห็น มีการได้ยิน ได้กลิ่นลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสกายที่ไม่น่าพอใจทั้งหมด เป็นผลของอกุศลกรรมเป็นอกุศลวิบากไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย
ถ้าจะศึกษาเรื่องวิริยะก็ให้เข้าใจตั้งแต่ต้นเลยว่า ชีวิตประจำวันเดี๋ยวนี้จิตเห็นจิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส จิตรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย จิตอื่นไม่ต้องพูดถึงก็ได้เพราะไม่ปรากฏ นอกจากนั้นแล้วมีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย พอจะเข้าใจคร่าวๆ ก่อน แต่ถ้าจะรู้ว่านอกจากจิต ๑๐ ดวงนี้แล้ว มีจิตอื่นอีกไหมซึ่งไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย มี แต่ค่อยๆ รู้ ค่อยๆ เรียน ค่อยๆ จำ ค่อยๆ เข้าใจ แต่เดี๋ยวนี้เห็นไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย ตอนที่ไม่เห็น ชอบหรือไม่ชอบ ดีหรือชั่วทั้งหมด ต้องมีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย
อ.ธิดารัตน์ หลังจากเห็นแล้วชอบไม่ชอบในสิ่งที่เห็น ขณะนั้นมีวิริยะเกิดแล้ว เพราะว่าขณะนั้นลักษณะของโลภะ ซึ่งเป็นความพอใจเหมือนกับจะมีกำลังจนไม่เห็นลักษณะของวิริยะเลย
ท่านอาจารย์ ไม่ต้องไปเห็น ไม่ต้องไปเห็นลักษณะของวิริยะเลย ให้รู้ว่ามีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย ใครจะไปเห็นผัสสเจตสิก ใครจะไปเห็นชีวิตินทริยเจตสิก หรือใครจะไปเห็นวิริยเจตสิก มนสิการเจตสิก ให้ทราบว่ามี เพื่ออะไร เพื่อรู้ว่าไม่ใช่เรา สภาพธรรมที่เกิดต้องมีปัจจัย จิตจะเกิดตามลำพังไม่ได้ จิตต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย และอย่างน้อยที่สุดต้องมีเจตสิกถึง ๗ ประเภทเกิดกับจิตหนึ่งขณะ นั่นอย่างน้อย ยังไม่ใช่กุศลจิต อกุศลจิต ถ้าเป็นอกุศลจิตมีอกุศลเจตสิกเกิดร่วมด้วยอีกก็มากกว่า ๗ ถ้าเป็นฝ่ายกุศลก็ยิ่งมีเจตสิกเกิดมากกว่าอกุศลจิตอีก เพราะเหตุว่ากว่าจะเป็นกุศลแต่ละครั้งได้ต้องอาศัยโสภณเจตสิกฝ่ายดีมาก จึงสามารถจะทำให้ขณะนั้นไม่เป็นอกุศล
เพราะฉะนั้นขณะนี้เรากำลังพูดถึงเจตสิกหนึ่ง วิริยะสภาพธรรมที่เพียรหรือประคองสภาพธรรมในขณะนั้นให้เป็นเช่นนั้น ให้เกิดขึ้นเป็นเช่นนั้น อยู่ดีๆ จากเห็นแล้วจะไปเป็นโทสะ ถ้าไม่มีวิริยะเจตสิก โทสะก็เกิดไม่ได้ เพราะว่าเพียงแค่เห็นก็เห็นเท่านั้นเอง แต่เห็นแล้วจะเป็นกุศลหรือจะเป็นอกุศล ต้องมีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย เราไม่พูดถึงจิตที่ไม่ปรากฏขณะนี้ เช่น สัมปฏิจฉันนจิต สันตีรณจิต โวฏฐัพพนจิต มโนทวาราวัชชนจิต ซึ่งมี แต่ไม่ปรากฏ ก็ไม่ต้องกล่าวถึง เอาเฉพาะที่ปรากฏก่อนเข้าใจก่อน เมื่อเข้าใจมากกว่านี้ ก็จะได้กล่าวถึงจิตซึ่งมีวิริยเจตสิกเกิด แม้ว่าขณะนี้ไม่ได้ปรากฏ แต่โลภะปรากฏใช่ไหม พอเกิดขึ้นนั่นเองมีวิริยะจึงได้เป็นโลภะ ถ้าไม่มีวิริยะโลภะก็เกิดไม่ได้ โทสะก็เหมือนกันก็มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย ถ้าไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย จิตจะเป็นโทสะไม่ได้ คิดถึงเจตสิกที่สามารถจะทำให้จิตเป็นอย่างหนึ่งอย่างใด
ผู้ฟัง มีความเข้าใจว่าจิตที่เป็นวิบากจิตไม่มีวิริยเจตสิกประกอบด้วย ถ้าเข้าใจเช่นนี้จะถูกหรือผิด
ท่านอาจารย์ ยังแคบไป เพราะว่าวิบากจิตที่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย ก็มี นี่คือความละเอียด แต่ว่าโดยคร่าวๆ โดยที่ว่าเดี๋ยวนี้เรามีเห็นมีได้ยิน บางขณะก็มีได้กลิ่น บางขณะก็ลิ้มรส บางขณะก็รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส เป็นชีวิตปกติประจำวัน ความรู้เพิ่มเติมคือจิตเหล่านี้ไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้นนอกจากนี้ซึ่งจิตที่ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วยไม่ได้ปรากฏ เราก็ไม่กล่าวถึง เรากล่าวถึงว่าเห็นแล้วชอบ ชอบจะเกิดเป็นชอบมีโลภเจตสิกเกิดได้ก็ต้องอาศัยวิริยะ หรือแม้แต่ความโกรธไม่ง่าย เราดูเหมือนง่ายใช่ไหม เดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็โกรธ แต่ไม่ง่ายเพราะต้องมีวิริยะจึงโกรธ ถ้าไม่มีวิริยเจตสิกโกรธไม่ได้เลย นี่คือความละเอียดยิ่งของสภาพธรรม
ผู้ฟัง ถ้าโกรธ หรือชอบ ก็เป็นอกุศลไปแล้ว
ท่านอาจารย์ เราไม่ได้กล่าวถึงเฉพาะอเหตุกจิต เรากล่าวถึงจิตเดี๋ยวนี้ ซึ่งสามารถจะรู้ได้ เช่น เห็นกำลังเห็น เห็นเป็นอเหตุกหมายความว่าไม่มีเจตสิก ๖ เกิดร่วมด้วย แต่จิตที่ไม่มีเจตสิกที่เป็นเหตุเกิดร่วมด้วยมีถึง ๑๘ ประเภท ใน ๑๘ ประเภท มี จิต๑๐ ประภท คือจักขุวิญญาณกุศลวิบากหนึ่ง อกุศลวิบากหนึ่ง โสตวิญญาน ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ จิต ๑๐ ดวงนี้ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย และไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้นเราจะกล่าวเฉพาะจิตที่สามารถรู้ได้ แต่จิตอื่นที่แม้ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย เราไม่กล่าวถึง เช่น ปัญจทวาราวัชชนจิต มโนทวาราวัชชนจิต สัมปฏิจฉันนจิต สันตีรณจิต จะกล่าวถึงเมื่อสมควรที่ควรจะกล่าว และทำให้เข้าใจละเอียดขึ้น แต่วันนี้เราจะพูดถึงวิริยเจตสิก และจะพูดถึงเฉพาะจิตที่เดี๋ยวนี้กำลังมี ก็ให้เริ่มรู้ว่าจักขุวิญญาณ โสตวิญญาน ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ ไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่ไม่ใช่มีเพียงจิตเห็นเห็นแล้วชอบ แต่จะชอบไม่ได้ ถ้าไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย โลภะจะเกิดไม่ได้เลย แสดงให้เห็นความเป็นไปว่าแม้แต่จิตแต่ละประเภทที่เกิดก็ต้องอาศัยเจตสิกที่อาศัยกัน และกัน อุปการะกันเกื้อกูลกันจึงสามารถจะเกิดได้
อ.วิชัย จิตเห็นที่ไม่มีวิริยะเกิดร่วมด้วย เพราะว่ามีการอุบัติขึ้นคืออย่างไร
ท่านอาจารย์ ใช้คำว่าอุปปัตติหมายความว่า ต้องอาศัยการประจวบกันของสภาพธรรมที่พร้อมที่จะเกิดขึ้นโดยมีกรรมเป็นปัจจัย สิ่งที่คนอื่นเขาเห็นกัน หรือกำลังปรากฏให้เห็นขณะนี้ คนตาบอดไม่เห็น
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 901
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 902
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 903
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 904
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 905
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 906
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 907
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 908
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 909
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 910
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 911
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 912
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 913
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 914
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 915
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 916
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 917
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 918
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 919
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 920
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 921
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 922
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 923
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 924
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 925 -VB
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 926 -VB
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 927
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 928
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 929
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 930
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 931
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 932
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 933
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 934
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 935
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 936
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 937
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 938
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 939
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 940
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 941
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 942
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 943
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 944
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 945
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 946
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 947
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 948
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 949
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 950
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 951
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 952
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 953
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 954
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 955
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 956
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 957
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 958
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 959
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 960