พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 902
ตอนที่ ๙๐๒
ณ มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗
อ.วิชัย จิตเห็นที่ไม่มีวิริยะเกิดร่วมด้วยเพราะว่ามีการอุบัติขึ้น คืออย่างไร
ท่านอาจารย์ ใช้คำว่าอุปปัตติหมายความว่า ต้องอาศัยการประจวบกันของสภาพธรรมที่พร้อมที่จะเกิดขึ้นโดยมีกรรมเป็นปัจจัย สิ่งที่คนอื่นเขาเห็นกัน หรือกำลังปรากฏให้เห็นขณะนี้ คนตาบอดไม่เห็น เพราะกรรมไม่ได้ทำให้จักขุปสาทรูปเกิด ไม่มีรูปที่สามารถกระทบกับสิ่งที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้ได้ แต่คนที่มีจักขุปสาทรูป กรรมเป็นปัจจัยให้รูปนั้นเป็นรูปพิเศษ ไม่ใช่ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ไม่ใช่กลิ่น ไม่ใช่รส ไม่ใช่โอชา แต่เป็นรูปที่มีลักษณะที่มองไม่เห็นเลย แต่รูปนั้นพิเศษเพราะเหตุว่าสามารถกระทบกับสิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็น โดยจิตเห็นต้องเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปนั้น จึงใช้คำว่าจักขุวิญญาณ จักขุแปลว่าตาหมายความถึงปสาทรูป ธาตุรู้ซึ่งเกิดที่รูปนั้น และอาศัยรูปนั้นเกิดเป็นจักขุวิญญาณ ทำหน้าที่เดียวเกิดขึ้นเห็นแล้วดับ ไม่ทำอะไรอีกเลย ไม่โกรธ ไม่รัก ไม่ชัง ไม่อะไรทั้งหมด เพียงแต่เกิดขึ้นเห็นแล้วดับ ไม่ใช่ใครเลยทั้งสิ้น อยากเห็นไหม อยากเห็นก็เห็นแล้ว ลืมตาก็เห็นแล้ว อยากได้อะไรไหม
อ.วิชัย ต้องขวนขวาย
ท่านอาจารย์ รู้สึกความอยากได้มีประจำใจไม่ขาดเลย เดี๋ยวก็อยากได้นั่นเดี๋ยวก็อยากได้นี่ ลืมคิดว่า อยากได้อะไรก็เคยได้มาแล้วทั้งนั้นในชาติก่อนๆ แล้วก็หมดไปแล้วทั้งนั้น ไม่เหลือเลยทั้งนั้น ยังอยากอยู่ ทั้งๆ ที่ก็เคยได้มาแล้ว จะอยากได้ทรัพย์สมบัติทรัพย์สมบัติก็ได้แล้ว อยากได้รูปสมบัติ ชาติก่อนๆ ก็ต้องมีบ้างใช่ไหม รูปสมบัติคุณสมบัติอะไรทั้งหลายที่อยากจะได้ ที่คิดว่าดี เคยมีแล้วทั้งนั้น แล้วไปไหน มีแล้วก็หมดไป มีแล้วก็หมดไป เพราะฉะนั้นสิ่งที่อยากได้เพียงปรากฏว่ามีได้แล้วก็หมด ยังอยากได้อีกไหม ลืมว่าถึงไม่อยากก็ต้องได้ใช่ไหม ไม่ต้องอยากเลย ต้องเห็น จะอยากเห็นหรือไม่เห็นก็ต้องเห็น เมื่อมีปัจจัยที่จะเห็นก็ต้องเห็น อยากได้ยินไหม ถ้ามีเหตุปัจจัยที่จะได้ยิน ไม่ต้องอยากได้ยินเสียงดังๆ นั่นเลย เสียงน่าตกใจเสียงฟ้าร้องเสียงปืนเสียงอะไรก็ตามแต่ แต่ก็เกิดแล้วตามเหตุตามปัจจัย จะอยากได้หรือไม่อยากได้ก็ต้องเกิดขึ้น แต่ว่าให้คิดดู เกิดขึ้นแล้วยังอยาก แสดงให้เห็นว่าไม่รู้ความจริงเลยว่าเคยได้มาแล้วทั้งหมด แล้วก็สูญเสียไปแล้วทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นอะไรทั้งสิ้น แล้วก็จะเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ไม่รู้จบ ตราบใดที่ยังไม่เห็นว่าเป็นภัย จากไม่มีแล้วมีให้ติดข้อง จากไม่มีให้มีแล้วโกรธขุ่นเคืองเจ็บใจเป็นทุกข์ร้อนต่างๆ แล้วประโยชน์อะไร ซึ่งทั้งหมดนั้นก็หมดไป ไม่มีอะไรที่จะดำรงคงยั่งยืนอยู่ได้เลยทุกอย่างเพียงชั่วคราว
เพราะฉะนั้นถ้าศึกษาธรรมจริงๆ ละเอียดขึ้น เพื่อเกื้อกูลให้เข้าใจสภาพธรรมที่ปรากฏ เพราะฉะนั้นธรรมสำหรับเข้าใจ ขณะนี้มีเห็นเข้าใจเห็นให้ถูกต้องว่า เห็นมี เห็นเกิดขึ้นเห็นแล้วดับไป เพราะฉะนั้นกว่าจะรู้ทั่วจริงๆ วันนี้ทั้งหมดตั้งแต่เช้ามา ไม่ว่าสภาพธรรมอะไรก็ตาม รู้ตามความเป็นจริงของสภาพธรรมนั้น จนคุ้นเคยจนชินจนมั่นคง สภาพธรรมก็จะปรากฏตามความเป็นจริง
อ.วิชัย ถ้าฟังเช่นนี้จะเรียกว่าคุ้นเคยไหม ฟังเรื่องของการเห็นการได้ยิน
ท่านอาจารย์ คุ้นเคยคือทุกอย่างเป็นธรรม คุ้นไหมคำนี้
อ.วิชัย ฟังมานาน ก็คุ้น
ท่านอาจารย์ คุ้นมานานเท่าใดแล้ว แต่เพียงคุ้นชื่อ ทุกอย่างเป็นธรรม ชื่อคุ้น เห็นเดี๋ยวนี้เป็นอะไร คิดเดี๋ยวนี้เป็นอะไร ชอบเดี๋ยวนี้เป็นอะไร โกรธเดี๋ยวนี้เป็นอะไร ไม่ได้เป็นธรรม ผ่านไปแล้วหมดเลย ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเป็นอะไรบ้าง แต่ว่าถ้ารู้จริงๆ แต่ละหนึ่งการฟังธรรมเพื่อเข้าใจแต่ละหนึ่ง เพื่อที่ว่าเดี๋ยวนี้กำลังพูดเรื่องเห็น และเห็นกำลังมีจนกระทั่งขณะนี้ไม่มีสิ่งอื่นเลย มีแต่เห็น เมื่อนั้นคือสามารถเข้าใจขึ้นว่า ขณะนี้กำลังเริ่มเข้าใจเฉพาะเห็นจริงๆ ที่กำลังเห็น กำลังอ่านหนังสือมีวิริยะไหม
อ.วิชัย ต้องมีด้วย
ผู้ฟัง สลับกัน มีกับไม่มีขณะอ่านหนังสือ เพราะต้องมีเห็นแล้วก็คิดว่าเป็นอะไร
ท่านอาจารย์ ข้อสำคัญให้ทราบว่าจิตเกิดดับนับไม่ถ้วนประมาณไม่ได้เลย เหมือนกับขณะนี้มีเห็น แต่เห็นอะไรมากมายไปหมดเลย แสดงว่าไม่ใช่จิตหนึ่งขณะแล้วใช่ไหม เพราะฉะนั้นจะไม่มีจิตหนึ่งขณะที่เกิดขึ้นแล้วดับไป โดยที่ใครจะไปรู้หนึ่งขณะนั้น เพราะฉะนั้นจึงใช้คำว่าวิญญาณนิมิต แสดงให้เห็นว่าแม้แต่จิตที่รู้ก็ต้องเกิดดับจนกระทั่งสามารถจะรู้ได้ว่าลักษณะนั้นเป็นลักษณะรู้ เช่น เห็นเดี๋ยวนี้ ไม่ใช่มีเพียงหนึ่งขณะที่ปรากฎว่าเห็นสืบต่ออยู่ตลอดเวลา แต่ว่าเห็นจริงๆ หนึ่งขณะ นอกจากนั้นเป็นจิตอื่นทั้งหมดเลย เฉพาะหนึ่งขณะที่ทำทัสสนกิจคือจิตเห็น เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้เหมือนเห็นอยู่ตลอดเวลา แล้วก็ยังรู้ด้วยว่าสิ่งที่เห็นเป็นอะไร และก็ยังมีจิตอีกหลายประเภทที่เกิดโดยที่ว่าเราไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงมากมายทีเดียว
เพราะฉะนั้นให้ทราบว่าเฉพาะจิตเห็นหนึ่งขณะไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย นอกจากนั้นมีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย ทบทวนที่เราได้ฟังแล้วว่าเฉพาะจิตเห็นหนึ่งขณะที่กำลังอ่านหนังสือ จิตเห็นขณะนั้นไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย จิตอื่นที่ปรากฏไม่นับจิตที่เราไม่พูดถึง มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยแน่นอน จึงเว้นว่าชีวิตประจำวันที่ไม่มีวิริยเจตสิกที่จะปรากฏให้รู้ได้ก็คือ ขณะเห็น ขณะได้ยิน ขณะได้กลิ่น ขณะลิ้มรส ขณะรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส แต่ต้องเป็นขณะนั้นจริงๆ เพียงหนึ่งขณะ เพราะฉะนั้นต่อจากนั้นก็จะมีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย กำลังคิดไม่ใช่เห็น เราใช้คำว่าคิด แต่จริงๆ แล้วก็คือจิตซึ่งไม่ใช่ภวังค์ ไม่ใช่จิตที่ดำรงภพชาติที่อะไรๆ ก็ไม่ปรากฏ แต่มีจิตหนึ่งประเภทที่เกิดขึ้นคิด ขณะนั้นมีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย เพราะว่าเห็นตั้งหลายอย่างวันหนึ่งเมื่อวานนี้ปีก่อน เราคิดถึงตอนเราเป็นเด็กได้ไหม ตั้งนานแล้วใช่ไหม แต่วิริยะก็ยังเกิดขึ้นทำให้คิดถึงสิ่งที่ผ่านมาแล้วได้
ด้วยเหตุนี้ขณะใดที่คิด ใช้คำว่าคิด ขณะนั้นต้องมีวิริยะเกิดขึ้น จึงสามารถจะคิดได้ เพราะเราเลือกคิดไม่ได้ว่า เราจะคิดถึงอะไร เช่น เดี๋ยวนี้ เป็นต้น แต่ละคนคิดไม่เหมือนกันเลย เพราะฉะนั้นคิดนั้นต้องมีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย นี่อย่างหยาบๆ แต่ว่าคิดแล้วเป็นกุศลจิตที่คิดเรื่องนั้นรู้เรื่องนั้น หรือเป็นอกุศล ทั้งหมดนั้นมีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีความเข้าใจจริงๆ ว่า ถ้าจะศึกษาอภิธรรมคือธรรมที่ละเอียดยิ่ง ที่จะทำให้รู้ว่าไม่มีเราไม่มีตัวตนเป็นธรรมทั้งหมด ก็ต้องเข้าใจจริงๆ มั่นคงว่าจิตที่ไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย ในวันหนึ่งๆ ที่ปรากฏให้รู้ได้ก็คือ ขณะเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส เพราะฉะนั้นคิดไม่ใช่กำลังรู้แข็ง คิดไม่ใช่เห็น คิดไม่ใช่ได้ยิน เพราะฉะนั้นในขณะใดก็ตามที่คิดมีวิริยะเกิดร่วมด้วย จึงเพียรคิดเรื่องนั้นเฉพาะเรื่อง ไม่ใช่เรื่องอื่น ขณะที่กำลังอ่านคิดหรือเปล่า ถ้าไม่คิดไม่รู้เรื่องเลยคือแค่เห็น
เพราะฉะนั้นไม่ใช่มีแต่เห็นที่เราใช้คำว่าอ่านก็มีจิตเห็น แล้วก็มีจิตที่คิดตามสิ่งที่เห็น เพราะฉะนั้นในขณะที่คิดนั้นก็มีวิริยะเกิดร่วมด้วย ชอบไม่ชอบ เป็นกุศลอกุศล ก็คือขณะนั้นต้องมีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย ไม่ยากเลย ถ้าจะรู้ว่าชีวิตประจำวันแค่ ๑๐ ขณะไม่มีวิริยะเกิดร่วมด้วย แต่ขณะใดที่คิดก็เป็นชีวิตประจำวัน ขณะนั้นก็มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่จิตที่คิดไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย เจตสิกที่เป็นเหตุมี ๖ คือ โลภเจตสิกหนึ่ง โทสเจตสิกหนึ่ง โมหเจตสิกหนึ่ง เป็นอกุศลเหตุ ขณะที่คิดยังไม่เป็นกุศลไม่เป็นอกุศลเลย เพียงแต่ตรึกนึกถึงเป็นกิริยาจิต คือมโนทวาราวัชชนจิตคิด แต่ใครรู้บ้าง รู้แต่ตอนที่เป็นกุศล และอกุศล เพราะเพียงหนึ่งขณะ เหมือนจิตเห็นขณะนี้หนึ่งขณะ จิตอื่นทำทัสสนกิจไม่ได้ เพราะฉะนั้นจิตคิดก็เป็นสภาพธรรมที่ขณะนั้นเพิ่งคิด ยังไม่เป็นกุศล และอกุศลตามเรื่องที่คิด แต่คิดเรื่องนั้นที่เคยเป็นกุศล กุศลก็เกิด คิดเรื่องนั้นที่เคยโกรธ โกรธก็เกิด เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้ว่าขณะใดก็ตามที่คิด ขณะนั้นมีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่ไม่มีเหตุ ๖ เกิดร่วมด้วย นี่เป็นความต่างกัน
ผู้ฟัง ฟังเช่นนี้แล้วเหมือนกับความละเอียด เช่น เพียงคำถามว่าเวลาอ่านหนังสือมีวิริยะเกิดร่วมหรือเปล่า ถ้าลงรายละเอียดจะต้องรู้ว่าจิตเขาเกิดดับเร็ว ขณะไหนเป็นอย่างไร
ท่านอาจารย์ นี่เป็นการที่กว่าจะรู้ว่าไม่ใช่เรา ต้องอาศัยปริยัติ การฟัง และก็การรอบรู้คือเข้าใจ ถ้าเราฟังเผินๆ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ จิตนี้มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเท่าใด จะทำให้เราเห็นความไม่ใช่ตัวตนได้ไหม เพียงแต่ตัวเลข แต่ถ้าเห็นความละเอียด และการที่สอดคล้องกันว่า จิตต่างกันเพราะอย่างนั้น แม้แต่คิดก็ยังไม่ใช่กุศลอกุศล แต่หลังจากที่คิดแล้วเป็นกุศลอกุศลตามเรื่องที่คิด เพราะฉะนั้นขณะรับประทานอาหารมีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยไหม เหมือนกันเลยขณะออกกำลังกาย เล่นกีฬา ขับรถ ดูโทรทัศน์
ผู้ฟัง สับสนคำว่าคิด คือ เดิมคิดว่าถ้าคิดต้องเป็นกุศลหรืออกุศลจิตทำกิจชวนะ แต่ถ้าเป็นก่อนที่จะตรงชวนะก็เป็นคิดแล้ว
ท่านอาจารย์ คุณอรวรรณคิดอะไร ก่อนนั้นถ้าไม่มีมโนทวาราวัชชนจิตที่คิด จะเป็นกุศลอกุศลได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นหนึ่งขณะที่คิด เหมือนหนึ่งขณะที่เห็นถูกต้องไหม แล้วก็ดับไป เพราะฉะนั้นคิดดับ กุศลหรืออกุศลก็เกิดตามเรื่องที่คิด โกรธใครนี่ยังจำได้ไหม
ผู้ฟัง ก็จำได้
ท่านอาจารย์ คิดได้ไหม
ผู้ฟัง ได้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นขณะนั้นที่คิด เพียงคิดยังไม่ใช่โทสะ แต่ว่าหลังจากคิดเรื่องนั้นโทสะก็เกิดได้ เพราะคิดเรื่องที่เคยไม่ชอบ คิดหนึ่งขณะเหมือนเห็นหนึ่งขณะได้ยินหนึ่งขณะ
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นมโนทวาราวัชชนจิตมีวิริยะเกิดร่วมด้วย เป็นอเหตุกจิตที่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย ก็ดูเหมือนว่าหลังจากนั้นจะต้องเป็นกุศลหรืออกุศลถ้าไม่ใช่พระอรหันต์
ท่านอาจารย์ ที่จริงการที่จะเข้าใจ ค่อยๆ เข้าใจ และค่อยๆ จำ ก็คือว่ามโนทวาราวัชชนอันนี้ก็เอ่ยชื่อเลยก็แล้วกัน แทนที่จะเอ่ยว่าคิด ก็คือว่าขณะใดก็ตามซึ่งเป็นภวังค์อารมณ์ใดไม่ปรากฏเลยทั้งสิ้น เสียงก็ยังไม่ปรากฏ กลิ่นก็ยังไม่ปรากฏ คิดได้ไหม
ผู้ฟัง ถ้าเป็นภวังค์ ก็คิดไม่ได้
ท่านอาจารย์ แต่ขณะที่เป็นภวังค์ไม่ได้คิดไม่มีอะไรปรากฏเลย แล้วก็ตามปกติจะเป็นภวังค์ตลอดไปไม่ได้เลย ไม่มีใครที่สามารถจะดำรงภพชาติโดยเพียงแค่ภวังค์ แต่จะต้องมีจิตที่เกิดดับสืบต่อ แล้วแต่ว่าจะเป็นผลของกรรมที่เป็นวิบาก หรือไม่ใช่วิบาก นี่เป็นความละเอียดที่เราจะต้องรู้ให้แน่ชัดเลยว่า วิบากจิตได้แก่อะไรบ้าง และมีจำนวนเท่าใด นอกจากนั้นไม่ใช่วิบากจิต เพราะฉะนั้นคิดไม่ใช่ผลของกรรม แต่ตามการสะสม กุศลจิต และอกุศลจิตใดๆ ก็ตามที่เกิดแล้วดับแล้ว สะสมสืบต่อในจิตทุกขณะ สามารถที่จะเป็นปัจจัยทำให้สัญญานึกจำ และวิตกตรึกคิด และวิริยะก็เพียรในขณะนั้นได้ ที่จะทำให้คิดถึงเรื่องนั้น นี่คือสภาพธรรมทั้งหมด ที่กล่าวถึงจิต และเจตสิกโดยละเอียด ก็เพื่อให้เข้าใจขึ้น
มโนทวาราวัชชนจิตคืออะไร มโนคือใจ อาวัชชนจิตที่รำพึงถึง หรือว่าถ้ารำพึงในภาษาไทยเหมือนกับยาวมาก เอาเป็นว่าจิตที่คิดก็แล้วกัน เพราะฉะนั้นคิดหมายความว่าใจแน่นอน ขณะนั้นเกิดก่อนที่จะพอใจหรือไม่พอใจในเรื่อง ซึ่งเรื่องนั้นมีเพราะคิดต้องเกิดก่อน แล้วแต่ว่าจะคิดถึงเรื่องอะไร
อ.ธิดารัตน์ หมายถึงว่ามโนทวาราวัชชนคิด ก็คือรู้อารมณ์ ขณะนั้นมโนทวารก็มีวิริยะเกิดร่วมด้วย และไม่ว่าจะเป็นกุศลหรืออกุศลก็ตาม ก็มีวิริยะทั้งวิถีอยู่แล้ว
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เราได้รู้จิตที่มีวิริยะเกิดร่วมด้วยเพิ่มขึ้น ซึ่งถ้ากล่าวถึง ๑๐ ดวง จิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส จิตรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส เดี๋ยวนี้เป็นผลของกรรม ไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยเลย นอกจากนั้นแล้วมีเท่าที่ปรากฏถ้าไม่กล่าวถึงความละเอียด ก็ขอกล่าวในความละเอียดเพิ่มขึ้นอีกหนึ่ง คือจากจิต ๑๐ ประเภท ที่ไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย มาเป็นชีวิตประจำวัน ซึ่งไม่ใช่มีแค่เห็น แค่ได้ยิน แต่ยังมีคิดนึกด้วย มีกุศลด้วยใช่ไหม เพราะฉะนั้นขณะใดก็ตามที่ไม่เห็นแต่คิด ชีวิตประจำวันแม้คิดก็มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่ขณะที่คิดยังไม่มี โลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหเจตสิกเกิดร่วมด้วย เป็นแต่เพียงจิตที่เกิดทางใจสามารถที่จะมีการนึกถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใด ที่ใช้คำว่ารำพึงถึง หรือนึกถึงปกติเดี๋ยวนี้เลย นึกถึงอะไรนั่นคือมโนทวาราวัชชนจิต นึกแล้วโกรธไหม ถ้าโกรธต้องต่อจากนึกใช่ไหม เพราะฉะนั้นนึกถึงเรื่องใดก็โกรธเรื่องที่นึกนั่นเอง หรือว่านึกถึงเรื่องใดก็ชอบสนุกสนานจำได้ในเรื่องที่นึกนั่นเอง เพราะฉะนั้นมโนทวาราวัชชนจิต ไม่ใช่จิต ๑๐ ดวง มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย ชอบไม่ชอบที่เกิดหลังจากคิด ก็ไม่ใช่จิต ๑๐ ดวง เพราะฉะนั้นก็มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย ชีวิตประจำวันยังไม่เป็นอินทรีย์
อ.วิชัย ท่านอาจารย์กล่าวถึงการที่จะคิดทางใจ แต่ถ้าพูดถึงทางตาหูจมูกลิ้นกาย ก็มีจิตก่อนการเห็นด้วย แต่ว่าจิตก่อนการเห็นเรียกว่าเป็นปัญจทวาราวัชชนจิต ไม่มีวิริยะเกิดร่วมด้วย
ท่านอาจารย์ เพราะไม่ได้คิดเลย อุปปัตติเกิดขึ้นแล้วก็ต้องรับต่อ สำหรับปัญจทวาราวัชชนจิตยังไม่ทันเห็นเลย แต่ว่ามีสิ่งที่กระทบ แขกมาหา คนอยู่ในบ้าน ใครมารู้ไหม แขกอยู่ที่ประตู เราอยู่ในบ้าน แต่รู้ว่าแขกมาแล้ว แต่เป็นใครไม่รู้ เพราะฉะนั้นขณะที่กำลังเป็นภวังคจิตหมายความว่าอะไร หมายความว่าโลกนี้ไม่ปรากฏ ไม่มีการรู้อารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจเลย เพราะฉะนั้นทันทีที่จิตขณะแรกคือปฏิสนธิจิตดับไปแล้ว เป็นผลของกรรมใด กรรมนั้นก็ทำให้จิตประเภทเดียวกันนั้นเป็นวิบากเป็นผลของกรรมเดียวกัน เกิดสืบต่อจากจิตขณะแรก เป็นจิตขณะที่สองเป็นต้นไป เพราะจิตขณะแรกต้องเกิดสืบต่อจากจิตขณะสุดท้ายของชาติก่อน คือ จุติจิต จิตที่ทำกิจเคลื่อนพ้นสภาพความเป็นบุคคลนั้น จะย้อนกลับไปเป็นบุคคลนั้นอีกไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นเมื่อจุติจิตดับเป็นปัจจัยให้จิตขณะแรกของชาตินี้เกิดสืบต่อ จึงใช้คำว่าปฏิสนธิจิตหรือปฏิสันธิจิต เกิดสืบต่อจากจุติจิตแล้วก็ดับ ทำกิจเดียวครั้งเดียวในชาติหนึ่ง ต่อจากนั้นกรรมก็ทำให้จิตประเภทเดียวกันนั่นเอง ดำรงความเป็นบุคคลนั้นไว้โดยทำภวังคกิจ ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่คิดนึก ไม่อะไรทั้งสิ้น จะสังเกตรู้ว่าภวังคจิตเป็นขณะใดตอนหลับสนิท นั่นคือภวังคจิต ซึ่งเกิดต่อจากปฏิสนธิจิตทันที ไม่มีอะไรปรากฏเลย แล้วเสียงปรากฎ แต่ก่อนเสียงปรากฏเสียงต้องกระทบกับโสตปสาท แล้วจะได้ยินทันทีไม่ได้ เพราะขณะนั้นกำลังเป็นภวังค์ เพราะฉะนั้นภวังค์ก็จะต้องมีการสิ้นสุดกระแสของภวังค์ก่อน แล้วจิตอื่นจึงจะเกิดสืบต่อได้ เพราะฉะนั้นในขณะใดก็ตามที่เสียงกระทบกับโสตปสาทรูป เสียงมีอายุ ๑๗ ขณะของจิตหมายความว่า จิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ เสียงหนึ่งจึงดับ
เพราะฉะนั้นรูปมีอายุยืนยาวกว่าจิตคือ จิตหนึ่งขณะดับไปดับไปถึง ๑๗ ครั้ง เสียง หรือรูปๆ หนึ่งจึงดับไปได้ เพราะฉะนั้นเสียงที่กระทบกับโสตปสาทรูปยังไม่ดับ แต่ว่ากระทบภวังค์ จะใช้คำว่ากระทบภวังค์ หรือจะใช้คำว่าอย่างไรก็ตามแต่ เพราะว่าขณะนั้นกำลังเป็นภวังค์อยู่ เพื่อที่จะให้รู้ว่ารูปดับเมื่อใด ก็กล่าวถึงตั้งแต่ขณะที่รูปเกิด และกระทบกับปสาทรูปเป็นหนึ่งขณะ แล้วก็ภวังค์ก็ยังไม่ดับทันที เพียงไหวเพื่อที่จะรู้อารมณ์ใหม่ ใช้คำว่าภวังคจลนะ แต่ยังเป็นภวังค์อยู่ ยังไม่เห็นยังไม่ได้ยินทั้งสิ้น แล้วก็ยังไม่รู้ด้วยว่ามีอะไรกระทบ เพราะว่าจิตหนึ่งขณะต้องรู้เพียงอย่างเดียว เพราะฉะนั้นเมื่อไหวแล้วก็คือ ไม่เกิดอีกต่อไปแล้ว เป็นภวังค์ต่อไปไม่ได้ เพราะอารมณ์นั้นกระทบกับปสาท เพราะฉะนั้นภวังค์ขณะสุดท้ายซึ่งเมื่อเกิดแล้ว ภวังค์จะเกิดต่อไปไม่ได้ ใช้คำว่าภวังคุปัจเฉทะ บางคนจะใช้คำว่าตัดกระแสภวังค์ ซึ่งหมายความว่าเป็นภวังค์ขณะสุดท้าย ซึ่งจะไม่มีภวังค์ทำหน้าที่เกิดเป็นภวังค์ต่อได้เลย เพราะว่าต่อจากนั้นไป การกระทบกันของเสียง และโสตปสาทเป็นปัจจัยให้ปัญจทวาราวัชชนจิตรู้ว่ามีอารมณ์กระทบ
เพราะฉะนั้นอาวัชชนจิตสามารถจะรู้อารมณ์ที่กระทบ แต่ไม่ได้ทำทัสสนกิจ ไม่เห็นแต่รู้ เพียงรู้ว่าอารมณ์กระทบทางหนึ่งทางใดใน ๕ ทาง แล้วแต่ว่าจะเป็นสิ่งที่กระทบตาได้ หรือว่าเสียงที่กระทบหูได้ กลิ่นที่กระทบจมูก รสที่กระทบลิ้น และเย็นร้อนอ่อนแข็งตึงไหวซึ่งกระทบกาย เพราะฉะนั้นเมื่อมีการกระทบเช่นนี้แล้ว และภวังค์ดับไปหมดแล้ว ปัญจทวาราวัชชนจิตหรือจะใช้คำว่าจักขุทวาราวัชชนจิตถ้าเป็นทางตา ใช้คำว่าโสตทวาราวัชชนจิตถ้าเป็นทางหู ก็ใช้ตามคำ แต่หมายความว่าจิตนี้สามารถจะรู้อารมณ์ที่กระทบทางหนึ่งทางใดได้ทั้ง ๕ ทาง แต่ว่าทีละทาง จึงรวมเรียกว่าปัญจทวาราวัชชนจิต แสดงให้รู้ว่าจิตนี้ไม่สามารถจะเกิดทางใจ สามารถจะเกิดได้เฉพาะรู้อารมณ์ที่กระทบทางหนึ่งทางใดใน ๕ ทวารนี้เท่านั้น จึงชื่อว่าปัญจทวาราวัชชนจิตเป็นวิถีจิตแรก ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิตไม่รู้อารมณ์หนึ่งอารมณ์ใดทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ ชื่อว่าวิถีมุตตจิต หมายความว่าไม่ใช่วิถีจิต แต่ว่าจิตอื่นนอกจากนี้ทั้งหมดนอกจากจิต ๓ ขณะนี้แล้ว เป็นวิถีจิต วิถีจิตหมายความว่า จิตที่เกิดรู้อารมณ์อื่นที่ไม่ใช่อารมณ์ของภวังค์
เพราะฉะนั้นเสียงปรากฏว่าเป็นเสียงโดยอาศัยโสตปสาท ทำให้เมื่อกระทบกันแล้วถึงกาลที่กรรมจะให้ผลให้ได้ยินเสียง ไม่ใช่เห็น ไม่ใช่ได้กลิ่น แต่ให้ได้ยินเสียง ขณะนั้นก็เป็นปัจจัยให้โสตวิญญาณที่เราใช้คำว่าได้ยินเกิดขึ้น แต่ก่อนนั้นเกิดได้ยินทันทีไม่ได้เลย ต้องมีอาวัชชนจิตที่พึ่งรู้ว่ามีสิ่งหนึ่งสิ่งใดกระทบหรือปรากฏทางนั้น แต่ไม่ได้ทำทัสสนกิจ นี่คือก่อนได้ยิน ก่อนเห็น ก่อนได้กลิ่น ทั้ง ๕ ทวารนี้ต้องมีจิตหนึ่งซึ่งเกิดก่อน จิตนั้นไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่ว่ามีเจตสิกเกิดมากกว่า ๑๐ เป็นสิ่งซึ่งละเอียดยิ่งว่าความต่างกันก็ต้องมีตามเจตสิกที่ต่างกันตามกิจการงานด้วย
อ.วิชัย จิตที่เกิดก่อน เช่น ทางใจ คือทางที่จะให้จิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์มี ๖ ทาง
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 901
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 902
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 903
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 904
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 905
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 906
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 907
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 908
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 909
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 910
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 911
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 912
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 913
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 914
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 915
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 916
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 917
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 918
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 919
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 920
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 921
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 922
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 923
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 924
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 925 -VB
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 926 -VB
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 927
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 928
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 929
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 930
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 931
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 932
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 933
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 934
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 935
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 936
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 937
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 938
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 939
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 940
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 941
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 942
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 943
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 944
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 945
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 946
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 947
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 948
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 949
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 950
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 951
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 952
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 953
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 954
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 955
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 956
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 957
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 958
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 959
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 960