พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 930
ตอนที่ ๙๓๐
ณ มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๗
ท่านอาจารย์ ได้ยินคำว่าธรรมที่ไม่มีโทษ ต้องดีแน่ ใช่ไหม เพราะฉะนั้นก็ต้องคิดลึกกว่านั้น ละเอียดกว่านั้น ว่าธรรมที่ไม่มีโทษคืออะไร ทุกวันๆ โกรธไหม ขุ่นใจสักเล็กน้อยไหม เป็นโทษหรือไม่ เริ่มที่จะเข้าใจตัวธรรม ซึ่งเป็นกุศลหรืออกุศลโดยไม่ไปติดที่คำแปลความหมาย แต่เข้าใจลักษณะจริงๆ ทุกคนโกรธ ไม่พอใจ มีใครบ้างที่เกิดมาแล้วไม่โกรธ ในเมื่อความจริงก็ยังมี เคยโกรธมาแล้วมาก แล้วจะให้ความโกรธที่สะสมมามาก หายไปไม่เกิดอีกเป็นไปไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นต้องมีความขุ่นใจแม้เพียงเล็กน้อย ซึ่งไม่สามารถจะรู้ได้ ถ้าไม่มีการฟังพระธรรม เพราะฉะนั้นเห็นดอกไม้ที่เหี่ยวแห้งแล้ว เป็นอย่างไร
อ.วิชัย อาจจะไม่ค่อยชอบเท่าใด
ท่านอาจารย์ ไม่ค่อยชอบแค่นั้น เป็นโทษไหม ไม่รู้สึกเลยใช่ไหม ว่าเพียงเท่านั้น เป็นโทษ เพราะฉะนั้นกว่าจะรู้จักโทษจริงๆ ว่าโทษที่แท้จริงไม่ใช่อยู่ที่ดอกไม้ แต่อยู่ที่สภาพที่กำลังขุ่นเคืองหรือไม่พอใจ เพราะฉะนั้นธรรมคือธรรมจริงๆ อภิธรรมละเอียดอย่างยิ่ง และไม่สามารถที่จะดับกิเลสได้ ถ้าไม่รู้ตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้นกว่าจะเข้าใจความละเอียดในชีวิตประจำวันแม้เพียงเล็กน้อย ธรรมที่ไม่มีโทษเป็นกุศล ถ้าสมมติว่าขณะนั้นไม่ได้เกิดความรู้สึกเช่นนั้น โทษไม่มี ไม่เดือดร้อนเลย เรื่องอะไรไปไม่พอใจ อยู่ดีๆ แค่เห็นดอกไม้เหี่ยวแห้งก็ไม่พอใจ คิดดู เรื่องอะไรอยู่ดีๆ แท้ๆ เป็นโทษเกิดขึ้น คือขณะนั้นทำร้ายจิต ทันทีที่ขุ่นเคือง ไม่เป็นสุข ขณะนั้นแม้เพียงเล็กน้อย แล้วถ้ามาก โทษมากไหม
เพราะฉะนั้นก็จะค่อยๆ รู้ตามความเป็นจริงในชีวิตประจำวันจากการฟัง ธรรมที่เป็นโทษให้โทษตั้งแต่เริ่มเกิดกับบุคคลนั้นเอง ความขุ่นเคืองใจเห็นได้ชัดเจน แต่ความติดข้องซึ่งเป็นเหตุที่จะให้เกิดไม่ได้สิ่งที่ต้องการแล้วก็เป็นทุกข์ คือขุ่นเคืองใจ วันหนึ่งๆ มากกว่าโทสะไหม ใช่ไหม
เพราะฉะนั้นการฟังธรรมก็คือให้เข้าใจความจริงของธรรมอย่างละเอียด ซึ่งไม่มีใครสามารถที่จะให้บุคคลอื่นได้ยิน ได้ฟัง ได้ไตร่ตรอง ได้เข้าใจในความไม่ใช่เรา แต่เป็นธรรม ๒ ฝ่าย ที่กล่าวย่อๆ คือฝ่ายดีกับฝ่ายไม่ดี มี ๒ อย่าง แล้ววันหนึ่งๆ อะไรมาก และอะไรเป็นโทษ ก็ต้องธรรมที่เป็นโทษตั้งแต่เกิดขึ้น เช่น ความติดข้อง ทุกคนชอบทุกสิ่งที่ปรากฏ ถ้าเป็นทางตาก็ชอบสิ่งที่สวยงาม ทางหูก็ชอบเสียงที่เพราะ แต่ไม่รู้เลยว่าขณะนั้นเป็นโทษอย่างไร หวั่นไหวแล้วเพราะติดข้อง ใช่ไหม จากการที่ไม่มีโลภะ แต่ไม่มีโลภะต้องรู้ด้วยว่าขณะใด ขณะเห็นไม่ใช่กุศลไม่ใช่อกุศล แต่เป็นผลของกรรมที่ทำให้ต้องเห็นนิดเดียว ยังไม่ทันที่จะเป็นโลภะหรือโทสะ จากไม่มีโลภะ ไม่มีโทสะ แล้วมี หวั่นไหวหรือไม่
นี่คือความละเอียดของชีวิตที่ค่อยๆ ดำเนินไป ค่อยๆ เป็นไป ค่อยๆ สะสมมากจนมองไม่เห็นโทษถ้าไม่มีการฟังธรรมจริงๆ แต่ถ้ามีการฟังธรรมจริงๆ โดยละเอียด ก็จะเป็นผู้ที่ได้สาระ เพราะรู้ว่าสิ่งใดที่เป็นโทษสิ่งนั้นนำมาซึ่งทุกข์ เพราะฉะนั้นทุกข์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นไม่มีใครทำเลย แต่มีเหตุที่สมควรที่สภาพธรรมนั้นๆ จะเกิดก็ต้องเกิด ไม่เกิดไม่ได้ จนกว่าจะรู้ความจริงว่าเป็นธรรมทั้งหมดไม่ใช่เรา ซึ่งก็คือปัญญาที่เป็นกุศล ธรรมฝ่ายดีเพราะเหตุว่าไม่เป็นโทษเลย
การรู้ความจริงของสิ่งที่มีจริง ทำให้ละคลายความไม่รู้ เมื่อละคลายความไม่รู้ ความติดข้องในสิ่งที่ไม่รู้ก็น้อยลง เพราะฉะนั้นเมื่อความติดข้องน้อยลง ความขุ่นเคืองใจก็ต้องน้อยลงด้วย การกระทำใดๆ ที่เป็นฝ่ายที่รุนแรงก็ลดน้อยลงตามลำดับเพราะมีความเข้าใจขึ้น เพราะฉะนั้นก็จากชีวิตประจำวันจริงๆ ที่เราได้ยิน ๓ คำนี้บ่อยๆ โลภะ โทสะ โมหะ เป็นอกุศล แต่ก็ต้องไตร่ตรองด้วย เป็นโทษจริงๆ ตั้งแต่น้อยจนถึงมาก แต่ธรรมที่เป็นประโยชน์เป็นคุณไม่ให้โทษเลยก็คือ อโลภะ ค่อยๆ เห็นแล้ว ถ้าไม่ติดข้อง ถ้าเป็นได้จริงๆ ทีละเล็กทีละน้อย จะสบายสักเพียงใด ไม่เดือดร้อนที่จะต้องไปแสวงหา ไม่เดือดร้อนเมื่อสิ่งนั้นพลัดพรากจากไป เพราะเหตุว่าไม่มีความติดข้อง แต่แสนยาก เพราะเหตุว่าติดข้องมานานแสนนาน หนทางเดียวก็คือปัญญาความเห็นที่ถูกต้อง ค่อยๆ เห็นตรงตามความเป็นจริง
ด้วยเหตุนี้ธรรมที่ไม่มีโทษเลย ไม่นำความทุกข์ความเดือดร้อนมาให้เลย ก็คือ อโลภะ ความไม่ติดข้อง ซึ่งจะทำให้ไม่ขุ่นเคืองคืออโทสะ แล้วก็จะทำให้รู้ความจริง เป็นปัญญาคืออโมหะ สภาพธรรมทั้งหลายจึงจะสามารถค่อยๆ ลดทางฝ่ายอกุศล แล้วก็เพิ่มทางฝ่ายกุศลขึ้น เพราะฉะนั้นแม้แต่เพียง ๓ คำ ก็ต้องคิด ต้องไตร่ตรอง ต้องพิจารณา ต้องเข้าใจจริงๆ ไม่ใช่รู้คำแปลแล้วก็บอกว่ามีโทษมาก เมื่อใด เดี๋ยวนี้เห็นไหม มีหรือไม่ เป็นโทษระดับใด เห็นแล้วติดข้อง แค่นี้เป็นโทษแล้ว เพราะฉะนั้นเมื่อติดข้องแล้วยังไม่รู้ ยังยึดถืออย่างมั่นคงว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยง เพิ่มโทษคือความเห็นผิด ความเข้าใจผิด ไม่ตรงตามความเป็นจริงของสภาพธรรมนั้น นี่เพียงเริ่มนิดๆ หน่อยๆ แล้วถ้ามากขึ้นๆ จะเป็นอย่างไร
อ.วิชัย ก็เป็นการเริ่มเข้าใจถูกว่าลักษณะของธรรมที่เป็นกุศลก็อย่างหนึ่ง และที่เป็นอกุศลก็อย่างหนึ่ง ซึ่งต่างกันแน่นอน และการให้ผลของธรรมที่เป็นกุศลก็อย่างหนึ่ง การให้ผลของธรรมที่เป็นอกุศลก็อีกอย่าง ก็เป็นการที่จะเริ่มเข้าใจถูกต้องยิ่งขึ้น
ท่านอาจารย์ อภิธรรม ธรรมลึกซึ้งตามความเป็นจริง ต้องอาศัยปัญญาระดับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงบำเพ็ญพระบารมีที่จะเข้าใจถึงที่สุด และทรงแสดงความจริงทุกคำ เพื่อที่จะอุปการะให้ผู้ที่ไม่ประมาท แม้แต่ได้ยินคำว่ากุศล อกุศล ก็ต้องรู้ว่าอะไรที่เป็นโทษแม้เพียงเล็กน้อยก็เป็นโทษ แต่ไม่ใช่หมายความว่าเท่านี้แล้วให้เราหมดกิเลส หมดการเป็นโทษ ไม่ใช่ กว่าจะสะสมจนกระทั่งมีความเข้าใจทีละเล็กทีละน้อยแล้วก็มั่นคง ที่รู้ว่าปัญญาระดับนี้ทำอะไรอกุศลที่ได้สะสมมาแล้วมากที่จะให้หมดไป ไม่ได้ จะต้องมีปัญญาที่เพิ่มขึ้นๆ หมายความว่า อบรมจนกระทั่งสามารถที่จะเริ่มเข้าใจถูกในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ไม่ใช่เพียงฟังเรื่อง ด้วยเหตุนี้ถ้าจะตอบคำถามว่าเดี๋ยวนี้เป็นกุศลหรืออกุศล ใครจะตอบได้เพียงด้วยการฟัง ตอบไม่ได้เลย แต่ถ้าสามารถที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏจริงๆ แม้เพียงเล็กน้อย ก็ต้องตามลำดับ ขณะนี้เพียงแค่จะรู้ว่าเป็นธรรม แค่นี้ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ยังยาก เพราะฉะนั้นเวลาที่จะรู้ว่าขณะนี้เป็นกุศลหรืออกุศล ต้องยากแน่ๆ และก็ยากกว่ามากด้วย
ด้วยเหตุนี้ ปัญญาของผู้ที่รู้ความจริง จึงตามลำดับขั้นจริงๆ ถ้ายังไม่รู้ว่าขณะนี้เป็นธรรม จะรู้ถึงความเป็นกุศลอกุศลไม่ได้แน่นอน เพราะว่าแม้ว่าธรรมนั้นเป็นกุศลหรือเป็นอกุศล หรือไม่ใช่กุศลไม่ใช่อกุศล คืออัพยากต เป็นเพียงชื่อ แต่ลักษณะที่เป็นธรรมยังไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้นต้องมีลักษณะที่เกิดจริงปรากฏจริง เปลี่ยนแปลงไม่ได้จริง เป็นเฉพาะลักษณะนั้นที่เริ่มเข้าใจถูก ทำไมเดี๋ยวนี้ฟัง แล้วไม่มีปัญญาระดับนั้น เพราะว่าขณะนั้นมีสภาพธรรมซึ่งไม่ใช่สติสัมปชัญญะ เพราะฉะนั้นก็เป็นสติเพียงขั้นไม่ได้คิดเรื่องอื่น แต่ฟังแล้วก็ไตร่ตรองจนกระทั่งค่อยๆ เข้าใจสิ่งที่กำลังได้ยินได้ฟังว่า หมายความถึงสิ่งที่มีจริงเดี๋ยวนี้ แต่ว่าลึกซึ้ง และรู้ยาก จึงต้องฟังจริงๆ เพราะเป็นสิ่งที่รู้ในสิ่งที่ยากที่จะได้ฟัง แต่ละคำที่ทรงแสดง ยากที่ใครจะได้ฟัง เพราะฉะนั้นรู้ในสิ่งที่ยากที่จะได้ฟังก็ยิ่งยาก และจนกระทั่งสามารถที่จะรู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังฟังว่าหมายความถึงสิ่งที่มีจริงเดี๋ยวนี้นั่นเอง ก็ยิ่งยาก
เพราะฉะนั้นคำถามธรรมดา ซึ่งบางคนอาจจะตอบว่าเขาตอบได้ว่าเดี๋ยวนี้เป็นกุศล และอกุศล ไม่ถูกต้อง เพราะเหตุว่านั่นเป็นความคิด ในเมื่อกุศล และอกุศลก็ดับไปอย่างเร็ว จะไปรู้ขณะไหนที่จะตอบว่านี่เป็นกุศล หรือว่านี่เป็นอกุศล เพราะฉะนั้นการฟังธรรมก็คือว่าเพื่อเข้าใจก่อนอื่นทั้งหมด คำแรกเป็นธรรม แข็งขณะนี้ ยังไม่ต้องไปคิด ว่าเป็นอัพยากต หรือไม่ใช่สภาพรู้ หรืออะไร แต่ลักษณะนั้นมีจริงๆ เท่านี้เอง มีจริงๆ คือไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใด ค่อยๆ เพิ่มความมั่นคงที่จะรู้ว่าเป็นเพียงสิ่งที่มีจริง โดยที่ยังไม่ได้นึกเลยว่าเป็นอะไร
เพราะฉะนั้นกว่าจะเข้าใจแม้ขณะที่คิดแล้วว่าเป็นธรรมด้วย เรื่องราวต่างๆ ที่กำลังคิดเพราะคิดเป็นธรรมที่เกิดคิด ไม่ใช่เรา เรื่องสุขเรื่องทุกข์ทั้งหลาย เป็นสภาพที่ขณะนั้นเพราะจิตคิดด้วยความรู้สึกเช่นนั้น ทั้งหมดที่เป็นธรรม ละเอียด และก็ยาก แต่ว่าสามารถที่จะรู้ได้ต่อเมื่อความเข้าใจเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นคำตอบที่จะตอบว่าขณะนี้เป็นกุศล และอกุศล เป็นไปไม่ได้เลย ถ้าขณะนั้นไม่รู้ก่อนว่าเป็นธรรม จนคลายความติดข้อง จึงสามารถที่จะเข้าใจถูกยิ่งขึ้นในลักษณะนั้นได้
อ.อรรณพ นึกถึงเหตุการณ์ที่ชนชาวกาลามะที่ก็คงได้ฟังกันจนชินหูว่ามีหลายๆ ลัทธิมาแสดงความเห็น สุดท้ายพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไป ชนกาลามะก็ถามว่ามีหลายลัทธิที่มาบอกว่าของตัวเองก็ถูก ของตัวเองก็ถูก แล้วจะวินิจฉัยได้อย่างไร พระองค์ท่านก็ทรงแสดงว่าคำสอนใดที่เป็นไปเพื่อการรู้ว่า เป็นกุศลหรือเป็นอกุศลตามความเป็นจริง แสดงว่าผู้ฟังก็ต้องเป็นผู้ที่อบรมเจริญปัญญาด้วย มิฉะนั้นก็จะไม่สามารถที่จะว่าคำสอนนี้เป็นไปเพื่อให้รู้ว่าขณะกุศลเกิดก็ให้รู้ หรือขณะที่อกุศลเกิดก็รู้ตามความเป็นจริง ไม่ใช่ว่าเผินๆ ว่าให้มานั่งวินิจฉัยกันเองว่า เรื่องนี้เป็นกุศล เรื่องนี้เป็นอกุศล แต่ต้องลึกลงไปจนเข้าใจสภาพธรรมที่เป็นกุศลธรรมหรืออกุศลธรรมที่ปรากฏ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ แต่ละคำข้ามไม่ได้เลย ปัญญาคืออะไร รู้อะไร เข้าใจอะไร มิฉะนั้นก็เหมือนกับพูดว่าเป็นธรรม พูดว่าเป็นปัญญาทั้งหมด แต่ว่าลักษณะนั้นก็ไม่ได้เข้าใจชัดเจนว่าคืออะไร
อ.วิชัย ปัญญาคือความเข้าใจ
ท่านอาจารย์ แน่นอน จะเป็นอื่นไปไม่ได้เลย ความเข้าใจถูกความเห็นถูกในอะไร ในสิ่งที่มีที่กำลังปรากฏ มิฉะนั้นเราก็ไปติดคำว่าปัญญา เราก็ไปติดคำว่าธรรม เป็นเรื่องไปหมดเลยใช่ไหม แต่ว่าเข้าใจสิ่งที่กำลังได้ยินได้ฟังว่าพูดถึงอะไร พูดถึงสิ่งที่กำลังมีจริงเดี๋ยวนี้ใช่ไหม เพื่อเข้าใจความจริงของสิ่งที่มี นี่คือภาษาไทย ไม่ใช่บอกว่าเพื่อปัญญารู้ว่าขณะนี้กำลังเป็นปริยัติรอบรู้ในพระพุทธพจน์ ไม่ใช่เช่นนั้น แต่ต้องรู้ว่าเข้าใจสิ่งที่มีเดี๋ยวนี้ จากการที่ฟัง จากการที่สนทนารู้ว่าทั้งหมดก็เพื่อเข้าใจความจริงของสิ่งที่มีจริงๆ
ผู้ฟัง ฟังท่านอาจารย์กล่าว เหมือนกับว่าความเข้าใจเบื้องต้น จะต้องรู้ว่าทุกสิ่งเป็นธรรม หมายถึงว่าสิ่งที่มีจริงคือธรรม แต่เวลาเราศึกษาธรรม เราก็อดที่จะพิจารณาไม่ได้ว่า วันหนึ่งๆ จิตที่เกิดขึ้น มีทั้งจิตที่เป็นกุศลหรือว่าจิตที่เป็นอกุศล ทั้งๆ ที่เราไม่สามารถที่จะทราบได้เลยว่าลักษณะจริงๆ ของจิตที่เป็นกุศลเป็นอย่างไร และลักษณะของจิตที่เป็นอกุศลเป็นอย่างไร
ท่านอาจารย์ ฟังแล้วลืมไหม
ผู้ฟัง ฟังแล้วลืม
ท่านอาจารย์ แล้วเมื่อใดจะไม่ลืมว่าเดี๋ยวนี้เป็นธรรม เห็นไหม พูดว่าธรรมคืออะไร แล้วก็กล่าวว่าทุกอย่างเป็นธรรม แล้วมีใครรู้ว่าเดี๋ยวนี้เป็นธรรม คิดเรื่องอื่นหมดเลยใช่ไหม เพราะฉะนั้นกว่าจะรู้ว่าขณะนี้สิ่งที่มีจริงแต่ละหนึ่ง ความจริงก็คือว่าเป็นสิ่งนั้นที่มีจริงเท่านั้นเอง ไม่ต้องไปคิดอะไรมากเลย เพราะว่าสิ่งนั้นเกิดแล้วดับแล้วมีสิ่งอื่นเกิดสืบต่อ เพราะฉะนั้นกว่าจะรู้ทั่วว่าแม้สิ่งอื่นซึ่งเกิดต่อก็เป็นลักษณะที่มีจริงๆ เช่นนั้นชั่วขณะที่สั้นมากแล้วก็หมดไป นี่คือการคลายการติดข้อง แต่กว่าจะเป็นเช่นนั้น แม้แต่ว่าขณะนี้เป็นธรรมก็ลืม
เพราะฉะนั้นหนทางที่จะเข้าใจจริงๆ ก็คือว่าฟังแล้วก็เข้าใจขึ้น ขาดการฟังเมื่อใด ได้ยินเรื่องอื่น ขณะนั้นไม่รู้ว่าเป็นธรรม
ผู้ฟัง แล้วการที่เราคิด แล้วก็เป็นเรื่องราวมากมายไปหมดเช่นนี้ นั่นก็คือยิ่งห่างไกลกับสิ่งที่ท่านอาจารย์กล่าว
ท่านอาจารย์ เพราะว่าธรรมคือสิ่งที่มีจริง มีลักษณะแต่ละอย่าง ปะปนกันไม่ได้เลย ฟังให้เข้าใจก่อน ความเข้าใจก็ไม่ใช่เรา ฟังแล้วเข้าใจนิดนึงแล้วก็ลืม แสดงให้เห็นว่ายังไม่มั่นคงเลยใช่ไหม เพราะการฟังน้อย การเข้าใจน้อย แล้วก็พูดถึงสิ่งซึ่งแสนไกลว่าเข้าใจ จนกระทั่งประจักษ์การเกิดดับ จะมีขึ้นได้อย่างไร ถ้าขาดปัจจัยคือแม้แต่จะฟังก็ไม่ฟัง แล้วจะเอาความเข้าใจมาจากไหน แต่ขณะใดที่ฟังขณะนั้นเข้าใจหรือไม่ ก็ต้องเป็นผู้ที่ตรงอีก ฟังแล้วคิดเรื่องอื่นหรือไม่ ทำไมถึงใช้คำว่าได้ยินคำ หรือว่าที่จะเข้าใจคำที่ยากที่จะได้ยิน มีประโยชน์อะไรที่จะพูดคำนี้ การที่จะรู้หรือเข้าใจคำที่ยากที่จะได้ฟัง ยากเพียงใดที่จะได้ฟัง แล้วที่จะเข้าใจก็ยากเพียงใด
เพราะฉะนั้นเพียงเท่านี้ ทำไมพูดประโยคนี้ ทำไมมีข้อความนี้ในพระไตรปิฎก เพื่อให้เห็นประโยชน์ของการตั้งใจฟัง ว่าถ้าไม่ตั้งใจฟังไม่มีทางจะเข้าใจสิ่งที่กำลังฟังเลย ฟังแล้วคิดเรื่องอื่น นอกเรื่อง ใช่ไหม แล้วจะเข้าใจสิ่งที่กำลังฟังได้อย่างไร เพราะฉะนั้นผู้ที่ได้สะสมมาที่จะเห็นประโยชน์ ว่าคำนี้สิ่งนี้ที่จะได้ยินได้ฟังแสนยาก ได้ยินแล้วก็ยากที่จะเข้าใจ ก็จะเพิ่มประโยชน์ของการที่รู้ว่าต้องตั้งใจฟังจริงๆ เพื่ออย่างเดียวคือเพื่อเข้าใจสิ่งที่ได้ฟัง เพื่อที่จะได้เข้าใจความจริงของสิ่งที่มีจริง ซึ่งกำลังได้ยินได้ฟังในขณะนี้
อ.วิชัย ก็เหมือนกับการกล่าวถึงความโกรธ การที่จะเข้าใจลักษณะความโกรธก็เหมือนกับเป็นการที่คิดเอา ไม่ใช่เป็นลักษณะจริงๆ ที่เขากำลังเกิดขึ้น แล้วก็รู้ในลักษณะนั้น
ท่านอาจารย์ พูดถึงความโกรธให้รู้ว่ามี แม้ว่าขณะนั้นไม่ได้เกิดขึ้น เพื่ออะไร เพื่อจะได้ขณะใดที่โกรธเกิดก็จะได้เข้าใจ เพราะว่าได้ฟังมาแล้วว่าสภาพธรรมที่มีจริง ความขุ่นเคืองใจต้องมีเมื่อมีปัจจัย และก็เกิดขึ้นเฉพาะเมื่อมีปัจจัยพร้อมที่จะเกิด ฟังให้เข้าใจเช่นนี้ เพื่ออะไร เพื่อเวลาที่ขุ่นเคืองใจเกิด ก็เข้าใจทันที เพราะได้สะสมความเข้าใจมาแล้ว แต่ถ้าไม่ได้สะสมความเข้าใจมา และก็ให้รู้จักโกรธ ให้รู้ว่าโกรธไม่ใช่เราในขณะนั้นทันทีย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นที่ฟังทั้งหมดไม่สูญหาย สะสมเพื่อชำระจิตให้สะอาดจากอกุศล จากความไม่รู้ จากความติดข้อง ไม่ใช่เพื่อจะมาประจักษ์การเกิดดับของสภาพธรรมเดี๋ยวนี้ ด้วยความอยาก ด้วยความต้องการ ด้วยความเพียรเพราะรู้ว่าเป็นไปไม่ได้ ไม่สามารถจะเป็นเช่นนั้นได้ เพราะปัญญาความเห็นถูกยังไม่พอ
เพราะฉะนั้นกำลังฟัง สะสมความเข้าใจถูกความเห็นถูกในสิ่งที่ได้ฟัง จนกระทั่งสามารถที่จิตสะอาดขึ้น เข้าใจขึ้นเมื่อใด ค่อยๆ ละคลายความไม่รู้ พร้อมที่จะเข้าใจสิ่งซึ่งปรากฏ โดยที่ไม่สามารถจะรู้ล่วงหน้าเลยว่าวันใดจะรู้อะไร แต่ว่ามีปัจจัยพร้อมที่จะเข้าใจสิ่งนั้น จึงสามารถเข้าใจสิ่งนั้นได้
ผู้ฟัง ผู้ฟัง ได้ฟังว่าธรรม และ อภิธรรมคืออะไร อภิธรรม ท่านบอกไว้ว่าลึกซึ้งด้วยสภาวะ กราบเรียนถามท่านอาจารย์ว่า ธรรมที่เป็นสภาวะนั้นเป็นอย่างไร
ท่านอาจารย์ ได้ยินคำนี้บ่อย ก็ต้องแปลอีกบ่อยๆ เพื่อที่จะได้ไม่ลืม ขอเชิญคุณคำปั่น
อ.คำปั่น โดยความหมายของสภาวะ ก็คือภาวะที่มีอยู่จริงๆ ความเป็นอย่างนั้นจริงๆ อย่างเช่นที่กล่าวถึงในเรื่องของความโกรธ สภาวะจริงๆ ของความโกรธก็มี ขณะที่เห็น ภาวะจริงๆ ของเห็นก็มี ซึ่งจะไม่ปะปนกันเลยในความเป็นจริงของสิ่งที่มีจริงแต่ละหนึ่งแต่ละหนึ่ง
ผู้ฟัง ถ้าเราฟังธรรมแล้ว เพื่อจะให้เข้าใจ แต่ไม่ได้คำนึงถึงสภาวะ ความเข้าใจก็คงจะไม่มีใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ขณะนี้กำลังเห็น ภาวะความเป็น ความมีของเห็น เป็นอื่นไม่ได้ ภาวะของเห็นคือเห็น ภาวะของได้ยินคือได้ยิน ได้ยินจะไปเป็นเห็นไม่ได้ เห็นจะเป็นได้ยินไม่ได้ เพราะฉะนั้นแต่ละหนึ่งที่เป็นธรรมมีภาวะความเป็นสิ่งนั้นไม่เป็นสิ่งอื่น เฉพาะของตนจริงๆ ด้วยเหตุนี้กำลังพูดถึงเห็น ไม่ได้พูดถึงสิ่งที่ไม่มี ไม่ใช่ให้คุณชุณห์ไปค้นหาสิ่งที่ไม่มี แต่ว่ากำลังเห็นนั่นเอง รู้ความจริงหรือยังว่าเห็นเกิดขึ้นแน่ๆ เพราะมีเหตุปัจจัยที่จะให้เห็นเกิด และเห็นทำอย่างอื่นไม่ได้เลย ภาวะของเห็นคือเป็นเห็น เกิดขึ้นกำลังเห็นเดี๋ยวนี้ เป็นภาวะเป็นความจริงของสภาพธรรมที่เกิดโดยอาศัยจักขุปสาท และสิ่งที่กระทบกันเท่านั้น จึงสามารถที่จะเกิดขึ้นได้แล้วก็ดับไป ไม่ได้พูดถึงสิ่งที่ไม่มี แต่ไม่เคยเข้าใจถูกว่าขณะนี้เห็นเกิดแล้วเห็นดับตามเหตุตามปัจจัย ไม่ใช่เรา และไม่ใช่ของเรา
เพราะฉะนั้นทั้งหมดตั้งแต่เกิดจนตาย ไม่ว่าตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ บ้านช่องสมบัติ ลาภยศทั้งหมด ก็เป็นแต่เพียงภาวะของสิ่งที่มีจริงแต่ละหนึ่ง แล้วแต่ว่าขณะนั้นเป็นอะไร
ผู้ฟัง ภาวะคือสิ่งที่มีจริงแต่ละหนึ่ง แต่ท่านแสดงไว้ว่าลึกซึ้ง
ท่านอาจารย์ แน่นอน
ผู้ฟัง ลักษณะที่ลึกซึ้ง เป็นอย่างไร เพราะว่าแต่ละหนึ่งๆ ก็มีอย่างเดียว
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้เห็นเกิดหรือเปล่า
ผู้ฟัง เห็นเกิด
ท่านอาจารย์ เห็นดับหรือเปล่า
ผู้ฟัง ดับครับ
ท่านอาจารย์ รู้หรือยัง
ผู้ฟัง ยังไม่รู้
ท่านอาจารย์ ทำไมไม่รู้
ผู้ฟัง แสดงว่าต้องรู้ถึงความลึกซึ้ง ถึงจะรู้ได้
ท่านอาจารย์ แน่นอน กว่าจะรู้ได้ลึกซึ้งระดับใด ระดับที่ว่าถ้าไม่มีการฟังเรื่องนี้เลย ไม่มีโอกาสที่จะรู้ว่าขณะนี้เห็นเกิดดับ ได้ยินเกิดดับ คิดนึกเกิดดับ ทุกอย่างที่มีซึ่งไม่เคยรู้ถูกปกปิดไว้ด้วยความไม่รู้ความจริงก็คือสภาพธรรมที่เกิดดับเพราะเหตุปัจจัยเท่านั้นเอง นี่คือความลึกซึ้งอย่างยิ่ง จึงต้องอาศัยการฟังความจริงของสิ่งที่มีจริง จนกว่าจะค่อยๆ เข้าใจขึ้นตามลำดับ
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นถ้าฟังให้เข้าใจ ถ้าเข้าใจได้ก็คือเห็นความลึกซึ้งของสภาวธรรม
ท่านอาจารย์ ยัง แค่เข้าใจก่อน ขั้นปริยัติ ไม่ลืม ฟังแล้วก็ลืม จึงไม่ประจักษ์การเกิดดับสักที ทำอย่างไรจะให้ไม่ลืม ทำอย่างไรจะให้ประจักษ์ก็ไม่ได้ เพราะต้องอาศัยเหตุปัจจัยคือความเข้าใจจากการฟังค่อยๆ เพิ่มขึ้น ค่อยๆ ละคลายความไม่รู้ แล้วก็มีขณะซึ่งกำลังเริ่มถึงเฉพาะลักษณะของสภาพธรรมหนึ่ง ซึ่งแม้ขณะนั้นสภาพธรรมอื่นก็ยังมีเพราะการเกิดดับสืบต่ออย่างเร็ว แต่เห็นความต่างของขณะซึ่งไม่เคยเข้าใจลักษณะที่มีจริงๆ เพียงฟัง จนกระทั่งเริ่มมีขณะซึ่งกำลังรู้ลักษณะจริงๆ แต่ความเข้าใจก็ยังน้อยอยู่เพราะเป็นการเริ่มต้นเท่านั้น
เพราะฉะนั้นการอบรมเจริญปัญญาจริงๆ ก็คือรู้จริงในสิ่งที่มีจริงทีละเล็กทีละน้อย จนกว่าจะประจักษ์แจ้งสภาพธรรมซึ่งเป็นอริยสัจจะ
อ.วิชัย ดังนั้นการศึกษา การฟังธรรม ก็เป็นการเริ่มที่จะมีความเข้าใจถูก แม้กล่าวคำว่า กุศลหรือว่าอกุศลก็รู้ได้ยาก เพราะเหตุว่าจิตเกิดดับเป็นไปอย่างรวดเร็ว แต่ว่าศึกษาทั้งหมดเพื่อเข้าใจว่าความต่างของธรรมที่เป็นกุศลก็มีลักษณะอย่างหนึ่ง คือไม่มีโทษให้ผลเป็นสุข กับอกุศลซึ่งมีโทษให้ผลเป็นทุกข์ ก็เป็นความต่างกัน แต่ให้รู้ให้เข้าใจว่า สิ่งที่ศึกษาจริงๆ ที่จะรู้ และเข้าใจ คือ สิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้
อ.ธิดารัตน์ ก็ได้กล่าวถึงกุศลธรรม อกุศลธรรม แม้จิตชาติกุศลก็มี ชาติอกุศลก็มี ชาติวิบากก็มี ชาติกริยาก็มี ธรรมหมวด ๓ ที่เว้นจากกุศลธรรม อกุศลธรรม คืออัพยากตธรรม ได้แก่จิต และเจตสิกที่เป็นชาติวิบาก และชาติกิริยา รูป และนิพพาน
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 901
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 902
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 903
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 904
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 905
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 906
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 907
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 908
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 909
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 910
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 911
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 912
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 913
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 914
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 915
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 916
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 917
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 918
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 919
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 920
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 921
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 922
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 923
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 924
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 925 -VB
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 926 -VB
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 927
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 928
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 929
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 930
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 931
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 932
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 933
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 934
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 935
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 936
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 937
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 938
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 939
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 940
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 941
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 942
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 943
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 944
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 945
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 946
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 947
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 948
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 949
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 950
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 951
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 952
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 953
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 954
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 955
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 956
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 957
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 958
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 959
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 960