พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 940
ตอนที่ ๙๔๐
ณ มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๗
ผู้ฟัง ขอความกรุณาท่านอาจารย์ นานักขณิกกรรมปัจจัยไม่กระจ่างชัด
ท่านอาจารย์ คงไม่ติดที่คำ แต่ก็มีความเข้าใจกันแล้ว เพราะว่าเคยพูดว่ากรรมคืออะไร ได้แก่ เจตนาเจตสิก ซึ่งเวลาที่เกิดขณะใด เช่น เดี๋ยวนี้มีเจตนาเจตสิกเกิดกับจิต เพราะว่าเจตนาเจตสิกสภาพที่จงใจขวนขวายเกิดกับจิตทุกขณะ แต่ก็เป็นไปตามประเภทของเจตนานั้นๆ เช่น เจตนาที่เป็นวิบากเป็นผลของกรรมใช่ไหม แต่ว่าเจตนาที่เกิดกับจักขุวิญญาณเป็นสหชาตกรรมปัจจัย เพราะเหตุว่าเกิดพร้อมจิตที่เห็นใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นชื่อเป็นแต่เพียงบอกให้รู้ว่าขณะนั้นสภาพธรรมนั้นเป็นอย่างไร เช่น เจตนาเจตสิกเกิดกับจิตทุกประเภท เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้เห็นเป็นจิต ก็ต้องมีเจตนาเจตสิกเกิดร่วมด้วย ขณะที่ได้ยินก็เป็นจิต ซึ่งเกิดขึ้นได้ยินเสียงก็ต้องมีเจตนาเจตสิกเกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้นเจตนาเจตสิกต้องเกิดกับจิตทุกขณะทุกประเภทด้วย จึงเป็นสหชาตกรรมคือเกิดพร้อมกัน แต่จิตก็หลากหลายมากเหลือเกินใช่ไหม จิตที่เป็นวิบากไม่ใช่จิตที่เป็นกรรม เพราะฉะนั้นเจตนาที่เกิดกับวิบากจิตเป็นเพียงสหชาตกรรมปัจจัย เกิดพร้อมจิตเป็นสภาพที่ขวนขวายให้สภาพธรรมอื่นกระตุ้นเตือนให้กระทำกิจการงาน พูดยาวแต่ว่าเจตนาก็เกิดสั้นพร้อมกับจิตแล้วก็ดับไป แต่ก็ทำกิจเฉพาะของตน ขณะนั้นเป็นสหชาตกรรมปัจจัย แล้วขณะอื่นซึ่งไม่ใช่ขณะเห็น เจตนาก็เกิดร่วมด้วย
เพราะฉะนั้นขณะใดขณะนั้นที่จิตเกิดขึ้นไม่ว่าจะทำกิจใดๆ ทั้งสิ้น มีเจตนาเกิดร่วมด้วยทุกครั้ง เจตนาที่เกิดร่วมด้วยในขณะนั้นเป็นอะไร
ผู้ฟัง สหชาตกรรมปัจจัย
ท่านอาจารย์ เป็นสหชาตกรรมปัจจัย หมายความว่าขวนขวายให้จิต และเจตสิกที่เกิดร่วมกันทำกิจนั้นๆ ดับแล้ว ถ้าเป็นวิบากคือเป็นผลของกรรม ไม่เป็นเหตุที่จะให้เกิดวิบากต่อไป แต่ถ้าเป็นกุศลจิตหรืออกุศลจิตที่แม้ว่าเกิดแล้วดับไปแล้ว แต่จากการที่เกิดขึ้น และดับไป ก็สะสมสืบต่อในจิตขณะต่อไป ซึ่งเกิดสืบต่อไม่มีระหว่างคั่นเลย เพราะฉะนั้นกุศล และอกุศลที่แม้เกิดแล้วดับแล้ว ก็สืบทอดเป็นพืชเชื้ออยู่ในจิตที่จะทำให้กุศล และอกุศลประเภทนั้นเกิดต่อ
เมื่อถึงกาลที่สมควร เช่น ถ้าเป็นกรรมไม่ใช่เป็นแต่เพียงอกุศลจิต ที่ได้ล่วงไปทางกายทางวาจา ทางใจ ประการใด ก็ตามแต่ ที่ถึงความเป็นกรรมบถ ขณะนั้นมีกำลังที่จะทำให้ผลของกรรมนั้นเกิดขึ้น แม้ว่าสภาพของเจตนาเจตสิกซึ่งเกิดพร้อมกับการกระทำนั้นดับไปแล้วก็ตาม เพราะฉะนั้นในจิตทุกขณะ สะสมกรรม กิเลส และวิบาก ตราบใดที่ยังมีกิเลส และมีกรรม ก็จึงจะต้องมีวิบากซึ่งจะเกิดเมื่อใดแล้วแต่เหตุปัจจัย ซึ่งพร้อมที่จะเกิดขึ้นเมื่อถึงเวลาที่สุกงอม
เพราะฉะนั้นขณะใดก็ตามซึ่งกรรมใดที่ได้ทำแล้ว เป็นปัจจัยให้วิบากเกิดขึ้น วิบากคือผลของกรรมนั้นไม่ได้เกิดพร้อมกันกับเจตนานั้น แต่เกิดภายหลังจึงใช้คำว่านานักขณิกกรรม เป็นเจตนาเจตสิกซึ่งทำให้เกิดผลต่างขณะกับขณะที่กระทำกรรม ถ้าเข้าใจเช่นนี้สงสัยอะไร
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ก็ถามว่าขณะนี้มีนานักขณิกกรรมปัจจัยไหม
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นถ้าเข้าใจเช่นนี้อยากจะตอบให้ถูก หรือว่าอย่างไรก็ได้ ถ้าเข้าใจเช่นนี้แล้วไม่เป็นอย่างอื่น คือต้องมีกรรม และผลของกรรมแน่นอน แต่ว่าจะเป็นสหชาตกรรมคือเพียงเกิดพร้อมกันแล้วก็ดับไป หรือว่าเป็นเจตนาซึ่งเป็นกุศล และอกุศล ซึ่งกระทำกรรมบถถึงความเป็นกรรมบถแล้วดับไปก็สามารถเป็นปัจจัยให้ผลเกิดขึ้นเท่านั้น
ผู้ฟัง ไม่กระจ่างชัดว่าขณะนี้จะเห็นหรือได้ยินอะไร ก็จะต้องเป็นผลของนานักขณิกกรรมปัจจัยในอดีตที่ทำมา
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง แล้วอย่างไร
ผู้ฟัง วิบากตรงนี้เกิดจากเจตนาที่ดับไปแล้วในอดีต
ท่านอาจารย์ ขณะเห็นมีเจตนาเจตสิกเกิดร่วมด้วยกับจิต และเจตสิก ซึ่งเกิดขึ้นเพราะกรรมที่ได้กระทำแล้วเป็นปัจจัย เพราะฉะนั้นจึงเป็นวิบากเป็นผลของกรรม จิตเห็นเป็นวิบากจิต
ผู้ฟัง ขณะนี้ถ้าตั้งใจฟังพระธรรมให้เข้าใจ ก็เป็นการสะสมกุศลกรรมที่ประกอบด้วยปัญญา แล้วก็จะทำให้ได้ฟังอีก เป็นอะไรในอนาคตที่ได้ฟัง
ท่านอาจารย์ ให้ผลเป็นกุศลวิบากแน่นอน
ผู้ฟัง แต่อาจจะประกอบด้วยปัญญาหรือไม่ ก็แล้วแต่กำลังของปัญญา
ท่านอาจารย์ แล้วแต่ปัจจัยซึ่งเราไม่มีทางที่จะรู้ได้ แต่วิบากเป็นผลไม่ใช่เป็นเหตุ เพราะฉะนั้นจากการฟังเดี๋ยวนี้ เป็นกุศลกรรมเดี๋ยวนี้ประกอบด้วยปัญญาเดี๋ยวนี้ ทำให้เกิดเห็นได้ไหม ทำให้เกิดเห็น ทำให้เกิดได้ยินที่น่าพอใจ เพราะเป็นผลของกุศลกรรม ขณะเห็น ขณะได้ยิน มีปัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วยหรือไม่
ผู้ฟัง ไม่มี
ท่านอาจารย์ ไม่มี แต่ว่าจิตทุกขณะที่ได้สะสมมา มีปัญญาเจตสิกสะสมมาด้วย หรือไม่
ผู้ฟัง ก็สะสมไปเรื่อยๆ
ท่านอาจารย์ เกิดมาก็มีปัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่ยังไม่ถึงเวลาที่ปัญญาเจตสิกจะเกิด เช่น ขณะที่เห็น ปัญญาเจตสิกไม่ได้เกิดร่วมกับจิตเห็น แต่เวลาที่สะสมมาแล้วฟังธรรม ปัญญาที่เคยสะสมมามากน้อย ก็สามารถที่จะรู้ และเข้าใจธรรมที่กำลังปรากฏ และที่กำลังฟังได้มากน้อยต่างกันตามการสะสม เพราะฉะนั้นก็รู้ความต่างของวิบาก และความต่างของกุศล และอกุศล
ผู้ฟัง การรู้ ๕ ทางเป็นวิบากจิตที่เป็นผลของอดีตกรรม ถ้าพูดเป็นปัจจัยก็เป็นผลของนานักขณิกกรรมปัจจัย
ท่านอาจารย์ หรือพูดภาษาไทยก็ได้ใช่ไหม เป็นผลของกรรมซึ่งได้กระทำแล้วก็ต่างขณะกัน แสดงว่ากรรม และผลของกรรมจะเกิดขึ้นพร้อมกันไม่ได้
อ.อรรณพ เพียงคำว่าธรรมคำเดียว ก็หมายถึงสิ่งที่มีจริงๆ แล้ว เหตุใดท่านถึงต้องมีคำว่าอภิธรรมด้วย มีคำว่าปรมัตถธรรมด้วย เหมือนจะมากคำ แล้วก็ทำให้รู้สึกว่าจะเป็นเรื่องยาก
ท่านอาจารย์ ทุกคนคงได้ยินคำว่าธรรม แต่ได้ยินแล้วเข้าใจอะไร หรือว่ารู้อะไร หรือไม่ ก็แสดงให้เห็นว่าถ้าได้ศึกษาเท่านั้น จึงสามารถที่จะเข้าใจถูกในคำที่ได้ยินว่าธรรม เพราะถ้าไม่มีการศึกษาเลย ลองถามคนที่ได้ฟังคำนี้ว่าคืออะไร เขาจะตอบได้ไหม เพราะฉะนั้นทุกคนคงไม่ลืมว่าตั้งแต่เกิดจนตาย พูดคำที่ไม่รู้จักแน่นอน แล้วจะไม่รู้ว่าเป็นเช่นนี้เลย จนกว่าจะได้ฟังพระธรรมเมื่อใด ถึงจะเข้าใจจริงๆ ว่าตั้งแต่เกิดมา ถ้าไม่ได้ศึกษาไม่ได้เข้าใจคำว่าธรรม ไม่มีทางที่จะเข้าใจแต่ละคำที่พูดเลย
เพราะฉะนั้นก็แสดงให้เห็นว่า แม้แต่คำว่าธรรมก็ไม่มีใครรู้จัก ถ้าไม่ศึกษา ถ้าถามคนที่ไม่ศึกษาว่าธรรมคืออะไร ก็ตอบไม่ได้ หรือว่าจะมีใครที่จะเป็นตัวแทนที่จะตอบไหมว่า ถ้าไม่ศึกษาแล้วสามารถที่จะรู้ได้ไหมว่าธรรมคืออะไร เป็นไปไม่ได้แน่นอน แต่เมื่อศึกษาแล้ว ก็ไม่ใช่เพียงแต่ได้ยินคำว่า ธรรมคือสิ่งที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ และทรงแสดง เท่านี้ก็ยังไม่รู้อีกว่าธรรมคืออะไร แต่เพิ่มความเข้าใจอีกว่า ธรรมคือสิ่งที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ และทรงแสดง
เพราะฉะนั้นก็ต้องฟังต่อไปอีก คำนี้ไม่ใช่ภาษาไทย เพราะฉะนั้นคนไทยใช้คำที่ไม่ได้เข้าใจความหมายจริงๆ ของคำนั้นมานานมาก จนกระทั่งถามใครว่าธรรมคืออะไรก็ตอบไม่ได้ เหมือนครั้งที่แม้แต่คำว่า "มงคล" ได้แก่อะไร ถามใครเท่าไรก็ตอบไม่ได้ว่าอะไรที่เป็นมงคลจริงๆ ฉันใด เพราะฉะนั้นแม้แต่คำว่าธรรม ถ้าถามคนที่ไม่เคยศึกษาเลย ก็ไม่สามารถที่จะตอบได้ว่าธรรมคืออะไร เพราะว่าคำว่าธรรมไม่ใช่ภาษาไทย ถ้าเราบอกว่าเห็น หรือว่ากิน หรือว่าชอบ รู้ได้ทันทีไม่ต้องศึกษาอะไร เพราะว่าใช้คำนี้ และเป็นที่เข้าใจ แต่พอมีคำในภาษาอื่นมา สิ่งที่จะต้องรอบคอบคือว่าต้องเข้าใจความหมายจริงๆ ของคำนั้น มิฉะนั้นเราก็จะเข้าใจคลาดเคลื่อนหรือว่าเข้าใจผิดได้
เพราะฉะนั้นจึงต้องมีหลายๆ คำ ตั้งแต่เข้าใจก่อนว่าธรรมคืออะไร ธรรมคือสิ่งที่มีจริง เพิ่มมาอีก สิ่งที่มีจริง ถึงอย่างนั้นคนที่ได้ฟังได้ยินคำว่าธรรมคือสิ่งที่มีจริง ก็ยังไม่สามารถที่จะตอบได้ ถ้าถามว่าแล้วอะไรมีจริง เห็นไหม ก็เป็นเรื่องที่ต้องละเอียดจริงๆ ถึงจะรู้ว่าสิ่งที่กำลังจะได้ยินได้ฟังต่อไปเป็นสิ่งซึ่งลึกซึ้ง และยากที่จะเข้าใจได้ตั้งแต่คำแรก เพราะฉะนั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคจะตรัสพระธรรม จึงใช้คำว่า "ดูกร ภิกษุทั้งหลาย" เพื่ออะไร เพื่อให้รู้สึกตัว เวลานี้เห็นแล้ว กำลังได้ยินรู้สึกตัวแค่ไหน หมายความว่าถ้ารู้สึกตัว ก็คือว่าตั้งใจฟัง เพราะเหตุว่าคำที่จะได้ยินเป็นคำที่ละเอียด และยาก แสดงถึงสิ่งที่มีจริงตลอดชีวิตแต่ไม่เคยรู้ไม่เคยเข้าใจเลย
เพราะฉะนั้นแต่ละคำที่ได้ยินตั้งใจฟัง เพื่อเสียง และคำจะไม่คลาดเคลื่อนด้วยพยัญชนะ นี่คือความละเอียดของธรรม เพราะเหตุว่าถ้าฟังไม่ดีไม่ตั้งใจ จับเสียงไม่ถูกเข้าใจผิดไปได้ แม้แต่ในภาษาไทยเอง ฟังด้วยกันอีกคนหนึ่งเข้าใจอีกอย่างหนึ่ง ทั้งๆ ที่เสียงก็เสียงเดียวกับที่ทุกคนได้ยิน แต่ความคิดของแต่ละคนต่างไป เพราะฉะนั้นก็แสดงให้เห็นว่าเมื่อใดที่มีความตั้งใจฟัง เป็นผู้ที่รู้สึกตัวแล้วก็เห็นประโยชน์ว่าการฟัง เพื่อที่จะได้ไม่ให้เสียง และคำคลาดเคลื่อนจากพยัญชนะซึ่งลึกซึ้งโดยธรรม และโดยเทศนา ทุกคำแสดงให้เห็นว่าประมาทไม่ได้เลย เพราะเทศนาที่ทรงแสดงด้วยพระองค์เองทั้งหมด เป็นเรื่องของสิ่งที่มีจริง ลึกซึ้งไหม ยังไม่รู้เลยว่าเดี๋ยวนี้อะไรมีจริงๆ แต่พระธรรมที่ทรงแสดงทั้งหมดทรงแสดงความจริงของสิ่งที่มีจริง และกำลังมีด้วย
เพราะฉะนั้นก็แสดงให้เห็นว่าเดี๋ยวนี้ก็มีสิ่งที่กำลังมีจริงแต่ไม่รู้ จนกว่าจะได้ฟังพระธรรม นี่คือความลึกซึ้งที่ว่าทำไมถึงตรัสคำว่าธรรมคำเดียวไม่พอ ซึ่งความจริงธรรมก็เป็นภาษาของชาวมคธ ภาษามคธีซึ่งใช้กันอยู่เป็นประจำ แต่ว่าอรรถหรือความหมายเพราะว่าแต่ละคำเป็นไปตามสภาพธรรมที่มีจริงๆ ทุกคำ เพราะฉะนั้นคำที่ได้ฟังก็ลึกซึ้งโดยอรรถ เพราะว่าทุกคำแสดงความจริงของสิ่งที่มีจริงๆ ลึกซึ้งโดยอรรถ และโดยปฏิเวธ ปฏิเวธหมายความถึงการสามารถเข้าใจจริงๆ ถูกต้องตามที่ได้ฟังแต่ละคำด้วย
เพราะฉะนั้นธรรมหมายความถึงสิ่งที่มีจริง แค่นี้ ต้องหา ต้องคิดแล้วด้วยตัวเองว่าขณะนี้อะไรมีจริง ดูเหมือนคนที่ฟังแล้วตอบได้เลยทุกคน แต่คนที่เพิ่งได้ยินเป็นครั้งแรก ธรรมคือสิ่งที่มีจริง ถ้าค้นหาด้วยตัวเองพอจะรู้ได้ไหมว่า ขณะนี้อะไรมีจริงๆ คุณคำปั่นคิดว่าคนอื่นที่ไม่เคยฟังธรรมเลย จะตอบคำถามนี้ได้ไหมด้วยความคิดของเขาเอง
อ.คำปั่น ถ้าเป็นคนที่ไม่ได้ศึกษาธรรม พอถูกถามว่าอะไรที่มีจริง ก็จะตอบว่าคนมีจริง ต้นไม้มีจริง โต๊ะมีจริง ที่ต่างๆ มีจริงๆ อันนี้คือความเห็นของผู้ที่ยังไม่ได้ศึกษาพระธรรม
ท่านอาจารย์ ถ้าคนมีจริง คนอยู่ไหน หาเจอไหมคนอยู่ไหน หรือว่านั่งอยู่ตรงนี้ เพราะฉะนั้นความลึกซึ้งของธรรม แสดงให้เห็นว่าเป็นสิ่งซึ่งใครก็ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงลักษณะของสิ่งที่มีจริงให้เป็นอย่างอื่นเลย ถ้ากล่าวว่าคนมีจริง คนอยู่ไหน คนนั่งอยู่ตรงนี้ บอกได้อย่างไรว่าคนนั่งอยู่ตรงนี้ ถ้าตอบว่าคนอยู่ตรงนี้นั่งอยู่ตรงนี้ บอกได้อย่างไรว่าเป็นคนที่อยู่ตรงนี้
อ.คำปั่น เขาก็กล่าวตามความคิดความจำว่า มีคนที่นั่งอยู่ตรงนี้จริงๆ ตามความคิด
ท่านอาจารย์ ตามความคิด แล้วคิดอย่างนี้ได้อย่างไร เห็นไหม ต้องมีเหตุด้วยทำไมคิดอย่างนี้ว่ามีคนนั่งอยู่ตรงนี้ เพราะอะไรจึงคิดอย่างนี้ นี่คือธรรม เพราะอะไรจึงเข้าใจว่ามีคนนั่งอยู่ตรงนี้ ทำไมคิดว่ามีคนนั่งอยู่ตรงนี้
อ.คำปั่น เพราะว่าเคยเห็นแล้ว เคยจำไว้
ท่านอาจารย์ กำลังเห็นใช่ไหม แต่เขาไม่มีความเข้าใจธรรม สิ่งที่มีจริงในขณะที่เห็นไม่ใช่คน เห็นไหม นี่คือธรรมคำเดียวไม่พอ แต่ต้องแสดงความจริงโดยใช้คำที่กล่าวถึงปรมัตถธรรม ปรม+อัตถ+ธรรม เชิญคุณคำปั่นให้ความหมายด้วย
อ.คำปั่น คำว่าปรมัตถธรรม มีคำ ๓ คำรวมกัน คือ ปรม คำหนึ่ง อัตถ คำหนึ่ง ธรรมอีกคำหนึ่ง "ปรม" คือ บรม หรือ อย่างยิ่ง เปลี่ยนแปลงไม่ได้ "อัตถ"คือ ลักษณะความเป็นจริง "ธรรม" คือสิ่งที่มีจริงๆ เพราะฉะนั้นเมื่อรวมกันเป็นปรมัตถธรรมจึงหมายถึงสิ่งที่มีจริงๆ ที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งใครๆ ก็เปลี่ยนแปลงลักษณะของธรรมนั้นไม่ได้
ท่านอาจารย์ ตอนนี้เริ่มเข้าใจแล้วว่า ทำไมใช้คำว่าปรมัตถธรรม ไม่ใช่เพียงแต่ธรรม เพราะเหตุว่าสิ่งที่มีจริงมีลักษณะเฉพาะแต่ละอย่าง ซึ่งใครก็ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงลักษณะนั้นให้เป็นอย่างอื่นได้ เพราะฉะนั้นที่กล่าวว่าเข้าใจว่าคนมีจริงๆ เพราะอะไร เพราะเห็นคน แสดงให้เห็นว่าเราเข้าใจความจริงหรือยัง ถ้าใครบอกว่าคนมีจริงเพราะเห็นคน
อ.คำปั่น จริงๆ ยังไม่เข้าใจตามความเป็นจริง
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นนี่ไม่ใช่ธรรม ถ้าไม่ได้ศึกษาว่าคนมีจริงเพราะเห็นคน เป็นความเข้าใจของทุกคน แต่เข้าใจว่าสิ่งที่มีจริงนั้นคืออะไรหรือเปล่า เพราะฉะนั้นธรรมละเอียดอย่างยิ่ง ซึ่งจะได้ฟังต่อไป เพื่อที่จะรู้ได้ว่าละเอียดอย่างไร เพราะเหตุว่าในขณะใดก็ตามที่่มีความคิดว่าเห็นคน อย่าลืมว่า ต้องมีเห็น ถ้าไม่มีเห็นเลยสิ่งนั้นจะเป็นอะไรได้ไหม ก็ไม่ได้ แต่เพราะมีเห็น ก็ไม่รู้ความจริงว่าเห็นต้องมีแน่ๆ แต่เห็นเป็นใครหรือเปล่า หรือว่าเห็นขณะนี้ เดี๋ยวนี้เองเกิดขึ้นเห็น ถ้าเห็นไม่เกิดขึ้นจะไม่มีการเห็นเลย ลึกซึ้งไหม นี่คืออภิธรรม
เพราะฉะนั้นสิ่งที่มีจริง คนที่ไม่ได้ฟังพระธรรมเลย จะไม่สามารถมีความเห็นที่ถูกต้องเลยว่า ขณะนี้อะไรมีจริง แต่พอเริ่มฟังโลกเปลี่ยน จากความไม่รู้มาเป็นการที่เริ่มเข้าใจความจริงที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ มิฉะนั้นไม่มีทางที่จะรู้จักพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย แม้จะกล่าวว่ามีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง แต่ไม่ได้พึ่งอะไร เพราะว่าเดี๋ยวนี้มีสิ่งที่ปรากฏเหมือนเดิม ไม่ได้เข้าใจอะไรถูกต้องเลย แต่เมื่อใดที่เริ่มฟังแล้วก็เริ่มเข้าใจถูก และเข้าใจความหมายของธรรมจริงๆ เมื่อนั้นก็จะรู้ว่าทุกคำมีค่ามีประโยชน์ที่สุด เพราะว่ากล่าวถึงสิ่งที่มีจริงซึ่งไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้ ทำให้การที่เคยเข้าใจว่ามีเรา มีโลก มีทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ความจริงลืมไปว่าแท้ที่จริงมีเห็น แล้วก็มีสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ อยากฟังไหม หรือว่าเบื่อ
เดี๋ยวนี้มีเห็น และมีสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ นี่คือสิ่งที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เห็นมีแน่นอน แต่เห็นเกิดขึ้นเพียงเห็นแล้วก็ดับไป ยังไม่มีความรู้ว่าสิ่งที่ปรากฏให้เห็นเป็นอะไร เพราะว่าเพียงเห็น เพราะฉะนั้นตลอดชีวิตมา ก็เห็นโดยที่ไม่รู้ความจริงว่าแม้แต่เห็นก็ไม่ได้รู้จักตามความเป็นจริงว่า ไม่มีใครสามารถบังคับบัญชา หรือทำให้เห็นเกิดขึ้นได้เลย นอกจากจะมีปัจจัยที่ทำให้เห็นเกิด เช่น ต้องมีตา จักขุปสาท ใช้คำว่าตาในภาษาไทย เราคิดถึงตาทั้งหมดเลยใช่ไหม ตาขาว ตาดำ ตาขาวล้อมรอบตาดำ ก็คิดไปเช่นนั้น เมื่อพูดถึงตา ทุกคนก็เข้าใจเพียงเท่านี้ แต่จริงๆ แล้ว ที่ใช้คำว่าตา หรือจักขุปสาทในภาษาบาลี หมายความถึงรูปพิเศษ ไม่ใช่อ่อน ไม่ใช่แข็ง ไม่ใช่รส ไม่ใช่เสียง แต่รูปนี้เกิดขึ้นสามารถกระทบกับสิ่งที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้ พิเศษไหมรูปนี้ แข็งกระทบไม่ได้ เสียงกระทบไม่ได้ แต่ทั้งหมดมีหนึ่งรูปในร่างกาย ซึ่งเป็นรูปที่เกิดเพราะกรรมเป็นสมุฏฐาน ทำให้เป็นรูปที่สามารถกระทบกับสิ่งที่กำลังปรากฏทางตาเดี๋ยวนี้
นี่คือการตรัสรู้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครเลย เพียงแค่เห็นหนึ่งขณะก็ต้องมีปัจจัยที่จะทำให้เกิดขึ้นเห็นแล้วดับไปด้วย เพราะฉะนั้นไม่ใช่ผู้ที่เผินที่จะได้ยินเพียงคำสองคำ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่ก็ไม่รู้ว่าหมายความถึงอะไร แต่ถ้าเป็นผู้ที่ศึกษาจริงๆ ก็จะทราบได้ว่า อนิจจังสภาพธรรมใดก็ตามยังไม่เกิด แต่เมื่อมีปัจจัยก็เกิด เกิดแล้วก็ดับไป เพราะฉะนั้นทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดไม่เที่ยง อนิจจัง ทุกขัง สิ่งที่ไม่เที่ยงควรหรือที่จะยินดีพอใจ ชั่วคราวมาก หมดแล้วเมื่อสักครู่นี้ แต่ขณะใดก็ตามที่ไม่รู้ ก็ยังมีความติดข้องยินดีพอใจในขณะที่สิ่งนั้นปรากฏ
เพราะฉะนั้นทุกคนได้ยินคำว่ากิเลส สิ่งที่ไม่ดีเลยให้ผลเป็นทุกข์มากมาย แล้วจะดับกิเลสได้อย่างไร ถ้าไม่มีการเข้าใจความจริงของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้นสำหรับบางคน พระธรรมเหมือนยาขม ฟังทำไม พูดถึงอะไร ไม่เห็นสนุกเลย ไม่ได้เป็นละคร หรือว่าเรื่องราวอะไรที่จะทำให้ตื่นเต้น แต่เป็นเรื่องที่มีแล้วไม่รู้ เพราะฉะนั้นผู้ที่ได้สะสมมาที่จะเห็นประโยชน์ของความเข้าใจชีวิต เพราะถ้าไม่มีเห็นไม่มีได้ยิน ไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ ก็ไม่มีสิ่งที่มีชีวิตเลยใช่ไหม แต่เกิดมาทั้งหมดจะพ้นจากเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสไม่ได้เลย
ทั้งหมดนี้คือต้องกล่าวถึงเพื่อให้เข้าใจคำเดียวคือสิ่งที่มีจริงที่เป็นธรรม ซึ่งใครไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงลักษณะนั้นให้เป็นอย่างอื่นได้ แล้วก็ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น ไม่ว่าขณะใดก็ตาม ไม่ว่าสภาพธรรมใดก็ตาม เกิดเพราะเหตุปัจจัยแล้วก็ดับไป แค่ ๓ คำ ธรรม ปรมัตถธรรม และอภิธรรม
อ.อรรณพ ท่านใช้ภาษาซึ่งไม่ใช่ภาษาไทย ธรรม ปรมัตถธรรม อภิธรรม ก็เพื่อแสดงความจริงที่มีอยู่จริง ให้เข้าใจขึ้น ให้เข้าใจขึ้น ก็ดูเหมือนจะเป็นการขยายเพื่อให้ผู้ฟังได้มีโอกาสที่จะได้พิจารณาแล้วก็ได้เข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ ในลักษณะต่างๆ แต่จริงๆ แล้วในชีวิตประจำวันก็มีธรรมเหล่านี้จริงๆ แล้วก็มีความเป็นไปของจิต แล้วก็อาจจะแสดงออกมาทางกายบ้าง ทางวาจาบ้าง ซึ่งก็จริงๆ แล้วสะท้อนความเป็นธรรมอยู่ แต่ว่าไม่ได้รู้ตามความเป็นจริงนั้น เช่นที่ท่านอาจารย์ไปสนทนาที่แม่กลอง ก็ดีมาก เช่น ให้นั่งกันอยู่ที่ริมน้ำแม่กลองแล้วก็สนทนา ก็มีลมเย็นๆ พัดมา ท่านอาจารย์ก็ถามผู้ร่วมสนทนาว่า รู้สึกอย่างไรบ้าง เขาก็ตอบว่าเย็นสบายดี
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 901
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 902
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 903
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 904
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 905
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 906
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 907
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 908
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 909
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 910
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 911
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 912
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 913
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 914
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 915
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 916
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 917
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 918
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 919
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 920
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 921
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 922
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 923
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 924
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 925 -VB
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 926 -VB
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 927
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 928
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 929
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 930
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 931
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 932
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 933
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 934
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 935
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 936
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 937
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 938
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 939
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 940
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 941
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 942
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 943
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 944
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 945
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 946
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 947
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 948
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 949
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 950
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 951
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 952
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 953
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 954
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 955
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 956
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 957
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 958
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 959
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 960