พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 907


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๙๐๗

    ณ มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

    วันอาทิตย์ที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๗


    ท่านอาจารย์ ที่สำคัญที่สุดคือฟังเพื่อมีความเข้าใจที่มั่นคง ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนอย่างไรก็สามารถที่จะระลึกถึงธรรมได้ วันก่อนก็มีคนที่บอกว่าเขาโกรธ แต่เขาก็นึกได้ว่าขณะนั้นเป็นธรรม เขาก็หายโกรธ นั่นชั่วขณะที่นึก อารักขาชั่วคราว แต่อุปนิพันธโคจรคืออารมณ์ซึ่งผูกจิตไว้ที่อารมณ์นั้น เกิดหรือยัง มีหรือยัง เพราะว่าพูดเรื่องเห็น แต่ว่าอารมณ์คือสิ่งที่ปรากฏทางตา แม้ขณะที่กำลังฟังว่าเป็นสิ่งที่เพียงปรากฏให้เห็นได้ แต่ก็ไม่ได้เข้าใจอย่างนี้ ไม่ได้นึกถึงอย่างนี้ เพราะเหตุว่าไม่คุ้นเคยต่อการที่จะเข้าใจ ไม่คุ้นเคยต่อการที่จะรู้ความจริงว่าสิ่งที่กำลังปรากฏขณะนี้ปรากฏจริงๆ แต่เพียงปรากฏให้เห็นหนึ่งขณะจิต ที่ภาษาบาลีใช้คำว่าจักขุวิญญาณ หนึ่งขณะที่ทำทัสสนกิจดับ ขณะต่อไปไม่ได้ทำกิจนี้เลย

    เพราะฉะนั้นกว่าการที่ได้ยินได้ฟังแล้ว สิ่งที่กำลังปรากฏขณะนี้ผูกจิตให้อยู่ที่สิ่งที่กำลังปรากฏเพื่อเข้าใจขึ้น มีหรือยัง อุปนิพันธฟังเพื่อไม่ลืม แข็งกำลังปรากฏ หลายวันหลายครั้งฟังไปเรื่อยๆ แข็งมีจริงๆ ก็มีจริงๆ และก็กำลังปรากฏด้วย ธาตุที่รู้แข็งมีไหม ก็ต้องมีในขณะนั้น แต่ฟังอย่างนี้แล้วสิ่งที่ได้ยินได้ฟังผูกจิตไว้ด้วยสติสัมปชัญญะที่ผูกไว้ที่แข็ง หรือว่าผูกไว้ที่สภาพที่รู้แข็งหรือยัง ทิ้งไปเลย หรือว่าไม่เกิดเลยก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นการฟังธรรมนอกจากจะเข้าใจพยัญชนะคือคำที่ทรงแสดง ยังต้องเข้าถึงอรรถความหมายว่าการฟังเพื่ออะไร เพื่อเข้าใจจริงๆ ในสิ่งที่กำลังมีจริงๆ เฉพาะแต่ละหนึ่ง ถ้าแต่ละหนึ่งขณะนั้นก็คือว่าขณะนั้นสติสัมปชัญญะอยู่ที่อารมณ์นั้น ไม่ไปที่อารมณ์อื่น อารมณ์นั้นก็ผูกสภาพของสติสัมปชัญญะอยู่ตรงนั้น อยู่เฉพาะลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นอย่างนั้นจริงๆ

    เพราะฉะนั้นเรากล่าวว่าจิตใจไปสู่อารมณ์ไหน แล้วก็ไปสู่อารมณ์นั้นบ่อยๆ เหมือนผูกจิตไว้กับอารมณ์นั้นไม่ไปที่อารมณ์อื่น เพราะฉะนั้นกว่าจะผูกจิตไว้ที่สภาพธรรมที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้ได้ ก็ต้องอาศัยการฟัง และเข้าใจขึ้นเรื่อยๆ อย่าไปคิดที่จะรู้แจ้งเมื่อใด จะละกิเลสเมื่อใด จะเข้าใจอะไรเมื่อใด แต่จากการฟัง และเข้าใจขึ้น ก็เป็นผู้ที่รู้ด้วยตัวเองว่า ขณะนี้ฟังเรื่องเห็นเป็นโคจรเป็นอารมณ์ของจิตหรือยัง โดยเป็นอุปนิสสย หรือเป็นอารักข หรือว่าเป็นอุปนิพันธ เป็นภาษาบาลีก็จริง แต่ความหมายก็คือว่าเวลาที่ได้ฟังเห็น แล้วรู้จริงๆ หรือยังว่าขณะนั้นไม่มีอย่างอื่นเลย ไม่ใช่ใครจะกะเกณฑ์ได้ แต่ต้องเป็นไปตามการอบรมว่า ถ้าเริ่มรู้ลักษณะของสภาพธรรมเฉพาะหนึ่งการใส่ใจในสิ่งอื่นก็ไม่มี และก็เริ่มที่จะค่อยๆ เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมนั้น แต่ทั้งหมดนี้โดยความเป็นอนัตตา ถ้าฟังผิดนิดเดียวโดยความเป็นอัตตาต้องการที่จะให้เป็นอย่างนั้น

    อ.อรรณพ ที่พูดถึงว่าทำไมต้องมีพื้นฐานพระอภิธรรม ทำไมไม่สนทนาอภิธรรมที่สูงขึ้น หรืออะไรเช่นนี้

    ท่านอาจารย์ คำถามของคุณอรรณพก็ได้ เรื่องรูปเป็นสิ่งที่มีจริง ทำไมเป็นอภิธรรม

    อ.อรรณพ รูปไม่รู้อะไรเลย แต่ก็เป็นอภิธรรมอย่างหนึ่ง

    ท่านอาจารย์ ใครไปตั้งรูปให้เป็นอภิธรรมหรือเปล่า ใครไปเรียกชื่อตั้งชื่อว่านี่อภิธรรมหรือเปล่า หรือว่าลักษณะของรูปมีจริงๆ ธรรมคือสิ่งที่มีจริง ไม่ต้องไปเรียกชื่อ ไม่ต้องไปยกตำแหน่ง ไม่ต้องไปปิดป้าย แต่ว่าสิ่งที่มีจริงรูปมีจริงหรือเปล่า รูปหมายความถึงสภาพธรรมที่ไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลย เกิดจริงๆ มีลักษณะเฉพาะแต่ละรูปไม่เหมือนกัน แล้วก็ไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลย ใครจะเรียกรูปว่ารูป ไม่เรียกว่ารูป หรืออะไรก็ไม่รู้ทั้งสิ้น แต่ว่าสิ่งที่มีจริงซึ่งเกิดขึ้นแต่ไม่สามารถรู้อะไร มีหรือเปล่า ถ้ามีก็คือภาษาไทยว่ามีจริง แล้วก็เป็นเราหรือเปล่า หรือว่าเป็นสิ่งที่แข็ง เกิดเป็นแข็ง ที่เมืองไทยมีแข็งไหม ที่ประเทศอื่นมีแข็งไหม ในน้ำมีแข็งไหม ที่ไหนมีแข็งไหม ก็มีอยู่ทั่วไป แล้วไม่รู้ว่านั่นคือสิ่งที่มีจริงคือเป็นธรรม เมื่อไม่รู้ก็เพราะความลึกซึ้งของธรรมนั้นเป็นอภิธรรม เพราะเหตุว่ากว่าจะรู้ว่าแข็งเกิดขึ้นปรากฎ ไม่ใช่รู้แข็ง แล้วแข็งจะเป็นอะไรได้ แข็งเป็นดอกไม้หรือเปล่า แข็งเป็นโต๊ะหรือเปล่า แข็งเป็นอาหารหรือเปล่า แข็งเป็นผมหรือเปล่า แข็งเป็นแข็ง เพราะฉะนั้นจะว่าแข็งไม่เป็นธรรมได้ไหม

    อ.อรรณพ ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ แล้วเวลาที่เห็นดอกไม้แล้วก็ไม่รู้เลยว่าสิ่งที่ปรากฏเป็นอย่างหนึ่ง คือเป็นสิ่งที่สามารถปรากฏได้ กระทบสัมผัสเป็นอีกอย่างหนึ่งคือเป็นเพียงแข็ง เพราะฉะนั้นก็กว่าจะรู้ความจริงอย่างนี้ก็เป็นสภาพที่ลึกซึ้งมาก แล้วก็ยึดถือแข็งหรือเปล่าว่าเป็นเรา พอใจแข็งหรือเปล่า รบราฆ่าฟันกันเพราะแข็งหรือเปล่า ประเทศนั้นประเทศนี้เกาะนั้นเกาะนี้ทะเลมหาสมุทรอะไรทั้งหมด ต้องการแค่แข็ง ถ้าไม่มีแข็งจะต้องการไหม

    อ.อรรณพ คือต้องมีสภาพแข็งแน่นอน ก็เป็นธาตุดินที่เป็นที่ทำให้เกิดกลุ่มก้อนเรื่องราวอะไรต่างๆ มามากมาย แต่ว่าที่เขาแสวงหากัน เขาก็ไม่ได้คิดว่าเขาจะหาแข็ง

    ท่านอาจารย์ แล้วหาอะไร ยกตัวอย่าง

    อ.อรรณพ หาทรัพย์สมบัติ พื้นที่ ผู้คน

    ท่านอาจารย์ ไม่มีแข็งเลย แล้วเอาคนมาจากไหน ทรัพย์สมบัติมาจากไหน

    อ.อรรณพ เพราะฉะนั้นก็ที่มีคนมีสิ่งของมีอะไร ก็ต้องเพราะว่ามีธาตุมีแข็งเป็นต้น

    ท่านอาจารย์ รูปทุกรูปไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลย ทั้งหมดมองเห็นหรือไม่มองเห็นก็ตาม ถ้าไม่มีรูปที่เป็นใหญ่เป็นประธาน ๔ รูป คือธาตุดินธาตุน้ำธาตุไฟธาตุลม รูปใดๆ ก็มีไม่ได้ ดอกไม้มีไม่ได้ ต้นไม้มีไม่ได้ ภูเขามีไม่ได้ คนมีไม่ได้ ทุกรูปจะต้องอาศัยรูป ๔ รูปซึ่งเป็นใหญ่เป็นประธาน แต่ว่าเมื่อวานนี้เราก็สนทนาธรรมกันเรื่องรูป ๔ รูปธาตุดินน้ำไฟลมแต่ละรูป ธาตุดินมีลักษณะที่อ่อนหรือแข็งเป็นที่รองรับรูปอื่นๆ ไฟร้อนก็ต้องอยู่ที่ตรงธาตุดิน หวานขมก็ต้องอยู่ที่ตรงธาตุดิน ใช่ไหม เพราะฉะนั้นธาตุดินเป็นที่รองรับของรูปอื่น เช่น นอกจากธาตุดินน้ำไฟลม ก็ยังมีสิ่งที่สามารถกระทบกับจักขุปสาทเดี๋ยวนี้อยู่ที่มหาภูตรูป ตัวมหาภูตรูปไม่ได้ปรากฏว่าขาวหรือดำ เขียวหรือแดง แต่ว่าเพราะว่าสิ่งที่มีที่มหาภูตรูปหลากหลายมาก จึงปรากฏเป็นสีสันวรรณะต่างๆ ใช้คำว่าเหมือนยักษิณีแปลงกายใช่ไหม ตัวธาตุก็คือธาตุดินน้ำไฟลมเท่านั้นเอง แต่ว่าสิ่งที่ปรากฏไม่ได้ปรากฏว่าเป็นธาตุดินน้ำไฟลม แต่ปรากฏเป็นสีสันวรรณะต่างๆ รูปร่างสัณฐานนิมิตต่างๆ

    เมื่อวานนี้สนทนาธรรมกับชาวต่างประเทศ เขาก็ใช้คำว่าแข็งก็แต่งตัวออกมาเป็นตัวต่างๆ ด้วยสีสันต่างๆ เหมือนดินเราเอามาแต่งเป็นตุ๊กตาอ้าปากก็มี ร้องไห้ก็มี ก็แล้วแต่ แต่ทั้งหมดก็คือแข็ง แต่ก็แปลงตัวไปได้สารพัด เป็นหญิงเป็นชายเป็นคนเป็นโต๊ะเป็นดอกไม้เป็นภูเขา ซึ่งถ้าไม่มีธาตุแข็ง หรือธาตุดินน้ำไฟลมรวมกันอยู่ ก็ไม่สามารถที่จะมีสิ่งที่สามารถกระทบจักขุปสาทตามส่วนสัดของแต่ละกลาปที่ผสมกันรวมกัน ทำให้มีสีสันต่างๆ ซึ่งทำให้จำได้ว่าเป็นนิมิตรูปร่างต่างๆ แล้วต้องการแข็ง หรือเปล่า แต่คิดว่าต้องการลาภ ต้องการยศ ต้องการสรรเสริญ ต้องการสิ่งต่างๆ แต่ความจริงถ้าเป็นสิ่งที่เป็นรูปธรรมซึ่งไม่ใช่สภาพรู้ ก็จะขาดธาตุดินน้ำไฟลมไม่ได้ ซึ่งเป็นมหาภูตรูป แล้วเป็นธรรมหรือเปล่า

    อ.อรรณพ เป็น

    ท่านอาจารย์ เพราะอะไรว่าเป็นธรรม

    อ.อรรณพ เป็นธรรมเพราะว่าไม่ใช่ใคร แล้วก็เกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัย แล้วก็มีจริงๆ

    ท่านอาจารย์ คือเป็นสิ่งที่มีจริง บังคับบัญชาไม่ได้ แล้วแต่ละหนึ่งก็เป็นธรรมซึ่งไม่ปะปนกัน เพราะฉะนั้นรูปจึงมีหลากหลายไม่ใช่รูปเดียว

    อ.อรรณพ เพราะฉะนั้นคำว่าเป็นธรรมหรือเป็นอภิธรรม แม้ในข้อความที่ท่านอาจารย์เพิ่งกล่าวไปว่ามีจริงใครจะไปเปลี่ยนไม่ได้ แข็งก็เป็นอย่างนี้จริงๆ มีลักษณะมีสภาพแข็ง ไฟก็เป็นธาตุที่มีความเย็นร้อน ก็เป็นอย่างนั้นใครจะไปเปลี่ยนจะไปแปลงจะไปอะไรก็ไม่ได้เลยจริงๆ เพราะฉะนั้นก็พื้นฐานจริงๆ วันนี้พื้นฐานจริงๆ เลย ท่านอาจารย์พูดว่าพื้นฐานอภิธรรมคืออะไร ทำไม ก็ค่อยๆ เข้าใจธรรมที่เป็นพื้นฐานก่อน บางท่านก็พื้นฐานมาหลายปีแล้ว เดี๋ยวก็พื้นฐานอยู่อย่างนี้ ไม่เห็นขึ้นขั้นอื่นบ้างเลย

    ท่านอาจารย์ มั่นคงหรือยัง พื้นฐาน มั่นคงคือสัจญาณ และจะรู้ว่ามั่นคงก็ต่อเมื่อกิจญาณเกิด

    อ.อรรณพ เพราะฉะนั้นใครที่จะคิดว่าพอแล้วพื้นฐาน ถ้าพื้นฐานพระอภิธรรมเข้าใจพอเพียงเป็นพื้นฐานจริงๆ สติปัฏฐานเกิดหรือยัง ประจักษ์สภาพธรรมหรือยัง เพราะฉะนั้นความเข้าใจอภิธรรมที่เป็นพื้นฐาน ก็ยิ่งใหญ่ไพศาลมากสำหรับระดับพวกเรา เพราะใครจะไปเข้าใจอภิธรรมละเอียดได้เหมือนผู้ที่มีเรียกว่าบุญญาธิการสะสมมาที่จะเข้าใจสภาพธรรมอย่างละเอียด อย่างท่านพระสารีบุตรเป็นไปไม่ได้เลยข้อความในอรรถกถาอ่านแล้วเข้าใจ อ่านอีกก็เข้าใจอีกแต่น้อยมาก ถ้าเทียบกับบุคคลสมัยพุทธกาลที่ท่านสะสมปัญญามามาก เพราะฉะนั้นพื้นฐานถ้าเข้าใจจริงๆ เป็นปัจจัยให้มีการที่จะรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงได้ เพราะฉะนั้นก็พื้นฐานอย่างนี้ไป แต่ว่าจริงๆ แล้ว ถ้าคิดจะข้ามเมื่อใดพื้นฐานก็ไม่มีเมื่อนั้น

    ผู้ฟัง สนใจที่ท่านอาจารย์กล่าวมีสองประเด็น อันแรกที่บอกว่าโคจรสามก็มีอุปนิสสย อารักข แล้วก็อุปนิพันธ ทีนี้จริงๆ ก็สงสัยคุยกับอาจารย์อรรณพว่ามีเหตุให้ปัญญาเจริญกับมีเหตุให้ปัญญาเสื่อม เมื่อท่านอาจารย์กล่าวถึงอุปนิสสยโคจร ความเข้าใจก็หมายถึงว่าอารมณ์นั้นที่ทำให้ฟังแล้วเข้าใจความจริงที่เป็นอยู่ขณะนี้ แต่ความเป็นจริงส่วนใหญ่จะไม่เป็นอุปนิสสยโคจรคือ เหมือบกับอกุศลก็เพลิดเพลินไปกับอารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ การที่จะให้อารมณ์เป็นอุปนิสสยโคจรอย่างไรในผู้ศึกษา

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีความเข้าใจก็เหมือนเดิม แต่ว่ามีคำใดที่เป็นคำจริง คบหากัลยาณมิตรคือ ผู้ที่สามารถที่จะให้ความเข้าใจได้ และความจริงคำว่ามิตรในทางธรรมที่เป็นกัลยาณมิตรก็ยังมีสองอย่าง มิตรในปริยัติอย่างหนึ่ง และมิตรในอธิคม หรือปฏิเวธอีกอย่างหนึ่ง ในปริยัติหนึ่ง ในปฏิเวธหนึ่ง เพราะฉะนั้นก็แสดงให้เห็นว่าถ้าเราได้มิตรที่สามารถที่จะทำให้เราเข้าใจสิ่งที่มีจริง เพราะว่าสิ่งที่มีจริงมีจริงๆ แต่ว่ากับความไม่รู้ หรือโลภะ หรืออกุศลมาก กุศลน้อยมาก เพราะฉะนั้นไม่ว่าใครจะมีอกุศลหรือกุศล ก็ยังไม่ได้เข้าใจความจริงของสิ่งที่กำลังมีจริงๆ จนกว่าจะได้ฟัง กัลยาณมิตรผู้สูงสุดคือพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

    เพราะฉะนั้นถ้าได้ฟังธรรม แล้วก็ค่อยๆ เข้าใจขึ้น ขณะนั้นก็สะสมเป็นอุปนิสัย ทำให้เรารู้ว่าแท้ที่จริงแล้วสิ่งที่มีจริงๆ คืออะไร อย่างเห็นเกิดเห็นชั่วคราวแล้วก็หมดไป ได้ยินก็เกิดได้ยินขึ้นชั่วคราวแล้วก็หมดไป ทุกอย่างแต่ละหนึ่งปรากฏสั้นมากเร็วมาก สืบต่อเหมือนกับปรากฏพร้อมกัน แต่จากปัญญาที่อาศัยการฟังค่อยๆ เข้าใจเป็นอุปนิสัย ทำให้เป็นผู้ที่มีศรัทธาสภาพจิตที่ผ่องใสปราศจากโลภะโทสะโมหะ แล้วก็มีสติที่รู้ว่าสิ่งใดควรฟัง สิ่งใดควรเข้าใจ สิ่งใดควรรู้ ขณะนั้นก็มีการฟังจนกระทั่งมีความเข้าใจความเห็นถูก ทั้งหมดก็เป็นอุปนิสัยซึ่งแต่ละคนสะสมมาตามแต่ว่ากุศลจิตจะเกิดเมื่อใด เรื่องอะไร อกุศลจิตมากน้อยแค่ไหน ก็ทำให้อุปนิสัยต่างกัน แต่อุปนิสัยในการเข้าใจธรรมเป็นอุปนิสัยซึ่งมีไม่ได้ ถ้าไม่มีการฟังพระธรรมซึ่งเป็นวาจาสัจจะ

    เพราะฉะนั้นการฟังก็ฟังเรื่องสิ่งที่มีจริง จนกระทั่งทำให้มีความเข้าใจในคำนั้นเป็นปริยัติ คือสามารถที่จะเข้าใจรอบรู้ในแต่ละคำในแต่ละพระวาจาที่ตรัสซึ่งเป็นวาจาสัจจะ จนกระทั่งไม่เข้าใจผิด จนกระทั่งสามารถที่จะเป็นปัจจัยให้เกิดกิจญาณได้ คือสติสัมปชัญญะกำลังรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมที่เข้าใจ ไม่ใช่ไม่เข้าใจแล้วก็ไปรู้ เป็นไปไม่ได้ที่จะไปเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมโดยไม่มีความเข้าใจขั้นพื้นฐาน หรือขั้นปริยัติเบื้องต้น

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นจริงๆ อย่างที่อาจารย์อรรณพเริ่มต้นว่า พื้นฐานพระอภิธรรมกับการถ้าติดคำก็คือเป็นอุปนิสสยโคจร ก็ต้องตั้งต้นที่คบกัลยาณมิตรคือคำสอนของพระพุทธเจ้าที่สูงสุด ถึงจะมีอุปนิสัยที่ฟังเรื่องของความจริงให้เข้าใจความจริงที่ถ้าไม่ฟังก็จะไม่รู้ และไม่เข้าใจ

    ท่านอาจารย์ และก็ไม่สนใจด้วย และก็คิดเรื่องอื่นไป

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นตรงนี้ดูเหมือนว่าก็ย้อนไปเหตุปัจจัยก็คือสะสมบุญมา มีเหตุปัจจัยปัจจุบันให้ได้ฟัง ก็ค่อยๆ สะสมความเข้าใจไปแต่ละขั้นๆ ขออีกเรื่องหนึ่งที่ท่านอาจารย์บอกว่า ที่เกิดสงครามสู้รบกันมากมายก็เพื่อแข็ง ถ้าฟังจริงๆ เป็นคำที่ลึกซึ้งเมื่อเข้าใจ ชีวิตประจำวันของทุกคนถ้ารู้ว่าอะไรไปก็เพื่อแข็ง ก็คงจะไม่ต้องไปดิ้นรน หรือว่าต่อสู้เพื่อให้ได้แข็ง แต่จริงๆ อะไรที่ทำให้ไม่รู้เลย และทำให้ไปต่อสู้ หรือไปทำอะไรดิ้นรนมากมายเพื่อแข็ง

    ท่านอาจารย์ อวิชชาความไม่รู้ แล้วแข็งก็เกิดดับก็ไม่รู้ ไม่รู้ไปหมดทุกอย่าง

    ผู้ฟัง ทีนี้แต่แข็งเอง เขาสามารถหลอกลวงแปลงร่างให้น่าพึงพอใจ

    ท่านอาจารย์ เพราะมีรูปที่เกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้นก็ปรากฏแทนที่จะเป็นแข็งปรากฎ ก็กลายเป็นสีสันวรรณะต่างๆ ปรากฏ

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นในความไม่รู้ ถ้าไม่ศึกษาก็จะทำให้แช่มชื่นกับมหาภูตรูป ๔ โดยที่เขาเกิดแล้วดับด้วย เป็นทุกข์เกิดแล้วดับ แต่ผู้ไม่รู้ก็ไปหลงใหลได้ปลื้ม หรือว่าแช่มชื่นกับสิ่งที่เพียงเกิดแล้วดับ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นถ้าไม่มีแข็งเลย จะมีอย่างอื่นได้ไหม ที่เป็นรูปธรรมทั้งหลายไม่ว่าเสียงไม่ว่ากลิ่นไม่ว่ารส แต่เวลาที่รับประทานอาหารไม่ได้คิดถึงแข็ง ซึ่งเป็นธรรมใช่ไหม คิดถึงกลิ่นบ้าง คิดถึงรสบ้าง

    ผู้ฟัง ก็ทราบว่าถ้าไม่มีมหาภูตรูป ๔ เป็นใหญ่เป็นประธานให้รูปอื่นเกิด รูปธรรมอะไรทั้งหลายก็ไม่มี

    อ.อรรณพ ท่านอาจารย์สนทนาตั้งแต่เมื่อวานว่าเหมือนยักษิณีดินน้ำไฟลม ซึ่งยักษิณีก็คือนางยักษ์ นางยักษ์ร้ายไหม ร้าย แปลงหลอกมาเสร็จแล้วจับกินหมดเลยอันนี้อุปมา สรุปเป็นสาระในเรื่องของนางยักษิณีคือท่านบอกว่า เป็นสภาพที่ปกปิด สภาพที่น่ากลัวโดยการที่หลอกลวง ซึ่งเมื่อสักครู่ท่านอาจารย์ก็อธิบายแล้วว่า โดยให้สีสันทรวดทรงให้เป็นสิ่งของเป็นบุคคลเป็นอะไรต่างๆ ให้ติดให้หลงให้ชอบในสีสันรูปร่างทรวดทรงของวัตถุสัตว์บุคคลต่างๆ แต่ปกปิดสภาพที่น่ากลัวของเขาไว้อย่างไรเพิ่มตรงนี้

    ท่านอาจารย์ คุณอรรณพเห็นตุ๊กตา แล้วคิดถึงดินหรือเปล่า

    อ.อรรณพ ไม่ได้คิดถึง

    ท่านอาจารย์ เห็นไหม ทั้งๆ ที่แข็ง แค่ดินธรรมดา ยังไม่แต้มสีอะไรเลย เอามาทำให้เป็นรูปร่างต่างๆ ยังไม่พออีกแต้มสีไป และก็ยังมีเครื่องประดับต่างๆ แล้วแต่ว่าจะให้ตุ๊กตาตัวนั้นเป็นอะไร

    อ.อรรณพ ไม่คิดถึงดินเลย

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง

    อ.อรรณพ ไม่คิดถึงแข็งอะไรเลย

    ท่านอาจารย์ แต่ความจริงก็คือว่าถ้าไม่มีธาตุดิน ตุ๊กตาตัวนั้นก็ไม่มี แต่พอเห็นทันทีเลย นี่เป็นตุ๊กตา ถ้าเป็นตุ๊กตาทหารแต่งตัวทหาร ทหารบกทหารเรือทหารอากาศ ถ้าเป็นนางละครก็เป็นตัวนั้นตัวนี้มีชฎามีอะไรใช่ไหม แต่ว่าไม่ได้คิดถึงดิน เพราะสิ่งที่ปรากฏที่กระทบตาได้ไม่ใช่ธาตุดิน แต่เป็นสิ่งที่มีอยู่กับธาตุดินไม่ได้แยกจากกันเลย เพราะฉะนั้นส่วนผสมของธาตุดินแต่ละกลาปเล็กๆ ที่รวมกัน ก็ทำให้สิ่งที่ปรากฏทางตาหลากหลายมาก โดยที่ว่าไม่ได้คิดถึงความจริงว่าแท้ที่จริงก็คืออ่อน หรือแข็ง เย็นหรือร้อนนั่นเอง

    อ.อรรณพ ประเด็นตรงนี้ชัดเจน เช่น ผมก็เห็นพวกนิสิตที่เขาเล่นโขนกัน ก็มีหัวโขนซึ่งเป็นหัวหนุมานเป็นหัวทศกัณฐ์อะไรต่างๆ ประดับประดา เราก็ไม่ได้คิดถึงสภาพแข็ง หรืออะไร คิดเป็นกลุ่มก้อนทรวดทรงว่าเป็นหัวโขนของตัวไหนๆ อะไรเช่นนี้ อันนี้ชัดเจนพอเข้าใจแล้ว แต่ว่ามหาภูตรูปมีความน่ากลัวอย่างไรปกปิดความน่ากลัว

    ท่านอาจารย์ เกิดดับเท่านั้นเอง ไม่มีอะไรมากกว่านั้นทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป

    อ.อรรณพ เพราะว่าที่น่ากลัว เป็นของน่ากลัวคือเกิดแล้วดับ

    ท่านอาจารย์ ก็ลวงได้ให้เห็นว่าเป็นสิ่งต่างๆ ที่น่าพอใจ

    อ.อรรณพ แต่ที่แท้แล้วเป็นสภาพแข็งซึ่งเกิดแล้วดับไม่เหลือ นี่คือต้องเป็นปัญญาจริงๆ ที่จะรู้ว่าเป็นแข็ง แล้วแข็งนั้นเกิดดับจึงน่ากลัวเป็นภัยเป็นอะไร

    ผู้ฟัง ฟังแล้วก็ให้วิตกระลึกไปว่า พระสูตรนี้ฟังบ่อยมากว่ามหาภูตรูป ๔ อุปมาเหมือนกับอสรพิษร้าย แต่คนที่ไม่รู้ก็นึกว่าเป็นเครื่องประดับ ตรงนี้จะขอความกรุณาท่านอาจารย์ว่าให้พวกเราเข้าใจอย่างไร

    ท่านอาจารย์ ก็เกิดมารูปร่างหน้าตาต่างกันที่แท้ก็คืออ่อนหรือแข็ง เย็นหรือร้อนตึงหรือไหว งูแต่ละตัวใช่ไหม งูตัวแข็ง งูตัวร้อน งูตัวไหว งูที่เกาะกุม คำอุปมาทั้งหลายเพียงเพื่อให้จิตน้อมไปที่จะรู้ว่า กว่าสามารถที่จะละความติดข้องในสิ่งที่มีจริงๆ ที่ปรากฏให้เห็นให้ได้ยินพวกนี้ ต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องในขณะที่สภาพนั้นๆ กำลังปรากฏ เช่น ในขณะที่สีสันวรรณะกำลังปรากฏแล้วมีความติดข้อง เพราะฉะนั้นจะละความติดข้องในสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้อย่างไร นี่ก็อย่างหนึ่งทางเสียงด้วย ด้วยเหตุนี้ผู้ที่อบรมเจริญสมถภาวนามีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 194
    27 มิ.ย. 2567

    ซีดีแนะนำ