พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 908


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๙๐๘

    ณ มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

    วันอาทิตย์ที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๗


    ท่านอาจารย์ ผู้ที่อบรมเจริญสมถภาวนามีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เพราะเขารู้ความจริงว่าทั้งหมดไม่ได้มีอะไรเลย อยู่ในโลกของรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะก็คืออยู่ในโลกของธาตุดิน ถ้าไม่มีธาตุดินแม้สิ่งที่ปรากฏทางตา หรือเสียง หรือกลิ่น หรือรสก็มีไม่ได้ เพราะฉะนั้นท่านเหล่านั้นเมื่อรู้ว่าแท้ที่จริงแล้วไม่มีอะไรนอกจากดิน จิตของท่านก็ใฝ่ใจเฉพาะการที่ไม่สนใจในสีสันวรรณะในรูปร่างในอะไรเลย แต่น้อมระถึงสิ่งที่เป็นธาตุดิน แต่วิธีการก็คือว่าสมมติที่จะทำเป็นกสิณวงกลมตามที่มีข้อความปรากฏละเอียดในวิสุทธิมรรค เพื่อให้จิตไม่ไปคิดถึงสีสันวรรณะ แต่ให้รู้ความจริงว่าสมบัติทั้งหมดรูปร่างกายทั้งหมดสิ่งที่มีทั้งหมดที่เป็นรูปธรรมไม่พ้นจากธาตุดิน

    เพราะฉะนั้นการฟังธรรมก็จะมีนัยหลากหลายที่จะทำให้ค่อยๆ เข้าใจความจริงของสภาพธรรม ซึ่งปกปิดไว้เนิ่นนานมากไม่สามารถจะรู้ได้เลย ถ้าไม่มีการฟังแล้วก็ไตร่ตรองคล้อยไปจริงๆ ว่าแท้ที่จริงแล้วไม่มีอะไรที่ยั่งยืน แม้แต่สิ่งที่ปรากฏก็เกิดขึ้นแล้วดับไป แต่ผู้ที่อบรมเจริญความสงบยังไม่สามารถจะรู้อย่างนี้ได้เมื่อไม่ได้ฟังพระธรรม ยังไม่มีการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นปัญญาของแต่ละท่านที่สะสมมาก็ไปแต่ละทาง เช่น ท่านที่ติดข้องในสีสันวรรณะ ท่านก็รู้ว่าแท้ที่จริงก็เป็นแต่เพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็นเป็นสีสันต่างๆ เพราะฉะนั้นท่านก็มีการที่จะน้อมนึกถึงในสีขาวบ้าง ในสีเหลืองบ้าง หรือว่าในสีเขียวบ้างก็แล้วแต่ นี่ก็คือว่าแล้วแต่จะสะสมมาที่เห็นโทษของโลภะของโทสะ ของความติดข้องในรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะในรูปธรรมในนามธรรม ซึ่งเป็นอุปาทานขันธ์ยึดมั่นอย่างเหนียวแน่น เหนียวแน่นจนกระทั่งว่าแล้วจะละได้อย่างไร ยังละไม่ได้ แล้วจะคลายได้อย่างไร ยังไม่ต้องคิดเรื่องละ หรือดับเป็นสมุจเฉท แม้แต่เพียงจะค่อยๆ คลายได้อย่างไร

    จากการฟังพอสมควร คลายการติดข้องในอะไรบ้างหรือยัง พระไตรปิฎกเท่าไหร่ มากมายกี่เล่ม อรรถกถาเท่าไหร่ การได้ยินได้ฟังมากเท่าไหร่ แล้วคลายบ้างหรือยัง ก็แสดงให้เห็นว่าแม้แต่การที่จะคลายความติดข้อง ก็ต้องมาจากการรู้ทีละเล็กทีละน้อย และเมื่อรู้แล้วก็ละความไม่รู้ชั่วขณะนั้นที่เรียกว่าละทีเล็กทีละน้อย จนกว่าจะปรากฏในลักษณะของการคลายความติดข้อง ง่ายที่สุดก็คือเดี๋ยวนี้มีสิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็นได้ ฟังแล้วฟังอีกเป็นแต่เพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้เท่านั้นหรือยัง เพียงหนึ่งอย่าง และธรรมมากมายหลายอย่างที่เป็นที่ติดข้อง เพราะฉะนั้นเมื่อไหร่จะหมดความติดข้อง เป็นความจริงไม่ใช่เรื่องลวงเรื่องหลอกให้พอใจให้ดีใจ แต่เป็นวาจาสัจจะที่ต้องเข้าใจตามความเป็นจริงว่า ถ้าไม่มีความเข้าใจถูกไม่มีความเห็นถูก ไม่มีอะไรที่จะไปละคลายสิ่งที่ได้สะสมมาในจิตเอาออกไม่ได้เลย เหนียวแน่นติดยิ่งกว่ากาวหรือเปล่าก็แล้วแต่ เพราะเหตุว่าวัตถุทั้งหลายก็ยังสามารถที่จะแก้ไขทำลายได้ แต่ว่าสภาพของนามธาตุที่ได้สะสมมาแล้ว มีหนทางเดียวก็คือว่าปัญญาค่อยๆ สะสมไป

    ผู้ฟัง เหมือนกับว่าที่ท่านอุปมาอุปไมยว่า มหาภูตรูปเหมือนอสรพิษเป็นสัตว์ที่เลี้ยงไม่เชื่อง ต้องดูแลเอาใจใส่อย่างดี และไม่ใช่ว่าเขาจะดี ถึงเวลาก็กัดเอา ตรงนี้เป็นอย่างไรในชีวิตประจำวันที่เกี่ยวกับมหาภูตรูปที่สนทนากัน

    ท่านอาจารย์ วันนี้ทะนุถนอมมหาภูตรูปมากไหม

    ผู้ฟัง ตื่นมาก็ต้องดูแลอาบน้ำแต่งตัว

    ท่านอาจารย์ แล้ววันไหนป่วยไข้นั่นอะไรป่วย

    ผู้ฟัง ก็มหาภูตรูป แต่คิดว่าเป็นเรา

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีมหาภูตรูปไม่เป็นอย่างนั้นเลยใช่ไหม

    ผู้ฟัง กราบอนุโมทนา

    อ.อรรณพ ที่สนทนาไม่เกินไปจากในอรรถกถาเลย ซึ่งข้อความในอรรถกถาท่านจะอธิบายที่ว่ามหาภูตรูปเพราะวิการใหญ่ก็หมายความว่า เป็นรูปหลักซึ่งทั้งรูปนอกกายนี้ และรูปในกายนี้ก็ตามต้องประกอบด้วยมหาภูตรูป ซึ่งจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ใหญ่ๆ เช่นเกิดอุบัติภัยมากๆ แผ่นดินถล่มอะไรอย่างนี้ หรือว่าถึงเวลาที่กัปพินาศไปด้วยไฟบ้างด้วยลมบ้างก็เห็นชัด หรือในกายนี้จะเห็นชัดก็ตอนที่เจ็บป่วยเป็นโรคตึงมากเลยตึงคอไปหมดเลย หรือเป็นลมเป็นธาตุลมที่ไหวไปมากก็มี มหาภูตรูปเหมือนงูเหมือนอสรพิษทั้งสี่ตัวที่พี่อรวรรณได้สนทนาไปแล้วอันนี้ก็ความหมายหนึ่ง

    ท่านอาจารย์ เรากำลังพูดถึงรูปที่มีจริงที่เป็นใหญ่เป็นประธาน ต้องเข้าใจรูปที่มีจริงที่เป็นใหญ่เป็นประธานจนรู้จักรูปนั้นถ่องแท้แต่ละหนึ่ง เพราะฉะนั้นเวลานี้พูดถึงมหาภูตรูป ๔ คุณชุณห์เข้าใจมหาภูตรูปไหน

    ผู้ฟัง ก็เข้าใจพอๆ กันทั้ง ๔ มหาภูตรูป

    ท่านอาจารย์ ไม่ชัดเจน เพราะฉะนั้นจะแสดงให้เห็นว่าเข้าใจอย่างนี้เพียงแค่คิด ยังไม่ใช่การที่เข้าใจสภาพธรรมที่มีจริง ซึ่งขณะนั้นเป็นสิ่งที่มีจริงอย่างหนึ่งแม้ไม่ต้องเรียกชื่อว่าอะไรเลย แต่ความเข้าใจในขณะนั้นรู้ว่าสิ่งนั้นมีชั่วคราวเพราะเกิดขึ้นแล้วดับไป แต่แม้ขณะนั้นที่กำลังเริ่มที่จะรู้ตรงลักษณะนั้น ก็ยังไม่ได้ประจักษ์การเกิดขึ้น และดับไป จึงไม่ใช่เป็นการรู้จัก จึงไม่ใช่เป็นการเข้าใจสิ่งที่เราได้ยินได้ฟังจริงๆ เพียงแต่ว่าเราได้ฟังเรื่องของสิ่งที่มีจริง แต่สภาพธรรมที่มีจริงแต่ละหนึ่งขณะนี้เกิดแล้วดับอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นตลอดเวลาที่สภาพธรรมนั้นๆ เกิดดับไม่รู้ จะกล่าวว่ารู้ไม่ได้ เพียงแต่ว่าได้ฟังเรื่องของสภาพธรรมนั้นๆ แต่ยังไม่รู้สักหนึ่ง เพราะฉะนั้นก็ยังต้องเป็นเราไป จนกว่าเข้าใจสภาพธรรมใดก็ค่อยๆ ละการไม่รู้ในสภาพธรรมนั้นจนกว่าจะทั่วหมด และประจักษ์จริงๆ ตามที่ได้ฟังทุกอย่าง

    อ.อรรณพ ก็มีผู้ส่งข้อความมา ซึ่งก็ไม่ทราบว่าเป็นการแสดงความเห็น หรือว่าเป็นประเด็นคำถาม เป็นข้อความที่เกี่ยวกับเรื่องรูป ฟังเรื่องรูปแข็งว่ามีความละเอียดมาก ซึ่งโดยนัยเดียวกันถ้ามีความเข้าใจจริงคือ เข้าใจลักษณะก็สามารถเข้าใจรูปอื่นๆ เช่นสีเสียงกลิ่นรสเย็นร้อนลักษณะเดียวกันแต่ละอย่างได้ ท่านก็เขียนมาอย่างนี้ ถ้ากล่าวว่าถ้าเข้าใจลักษณะของแข็งแล้วก็จะเข้าใจลักษณะของรูปอื่นๆ ด้วย

    ท่านอาจารย์ ลองทบทวนคำถาม

    อ.อรรณพ คือก็เป็นคำปรารภมากกว่า แต่ก็คงถามไปในตัวว่าฟังเรื่องรูปแข็งว่ามีความละเอียดมาก ซึ่งโดยนัยเดียวกันถ้ามีความเข้าใจจริงถึงลักษณะของแข็งก็สามารถจะเข้าใจรูปอื่นๆ

    ท่านอาจารย์ ใช้คำว่าเข้าใจใช่ไหม

    อ.อรรณพ ครับ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นจริงๆ แล้วไม่ใช่สิ่งที่ฟังเรื่องนี้แล้วเข้าใจเรื่องนั้น ฟังเรื่องไหนก็เข้าใจเรื่องนั้น ถ้าฟังเรื่องแข็งจะเข้าใจเรื่องจักขุปสาทรูปไหม

    อ.อรรณพ ไม่ได้ เพราะฉะนั้นก็ต้องเป็นความเข้าใจเป็นเรื่องๆ ไป และการที่จะรู้ลักษณะสภาพธรรมก็ต้องรู้เป็นลักษณะๆ ไป

    ท่านอาจารย์ ทบทวนตั้งแต่ต้นก็ได้

    อ.อรรณพ ฟังเรื่องรูปแข็งว่ามีความละเอียดมาก ซึ่งโดยนัยเดียวกันถ้ามีความเข้าใจจริงถึงลักษณะก็สามารถเข้าใจรูปอื่นๆ เช่น สีเสียงกลิ่นรสเย็นร้อนแต่ละอย่างได้

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก็ต้องเป็นผู้ที่ตรง ฟังเรื่องไหนเข้าใจเรื่องนั้น ฟังเรื่องแข็ง ไม่ใช่ฟังเรื่องจักขุปสาทรูป จะเข้าใจจักขุปสาทรูปไม่ได้ แต่ฟังเรื่องแข็งก็เข้าใจเรื่องแข็ง เพราะฉะนั้นที่กล่าวว่าถ้ารู้จริงๆ หมายความว่าขณะนั้นรู้อะไรจริง ก็ต้องรู้เฉพาะสิ่งนั้นจริง จะรู้สิ่งอื่นซึ่งไม่ปรากฏในขณะนั้นได้ไหม

    อ.อรรณพ คือคงจะหมายความว่าถ้ารู้ตรงลักษณะของแข็ง

    ท่านอาจารย์ รู้ตรงลักษณะที่แข็ง แข็งกำลังปรากฏตรงนั้นแข็งจริงๆ รู้จริงในลักษณะที่แข็งเท่านั้น ไม่มีลักษณะอื่นปะปนเลย เพราะฉะนั้นขณะที่กำลังรู้จริงในแข็งจะรู้จริงในอย่างอื่นได้ไหม

    อ.อรรณพ ขณะนั้นก็รู้จริงเฉพาะแข็ง

    ท่านอาจารย์ เฉพาะแข็งที่ปรากฏจริงๆ เท่านั้น จึงชื่อว่ารู้จริง มิฉะนั้นแล้วจะกล่าวได้อย่างไรว่าไปรู้จริงเรื่องอื่น ก็แสดงว่าขณะนั้นไม่ได้รู้แข็งจริงๆ ถ้ารู้แข็งจริงๆ เฉพาะแข็งที่ปรากฏจริง ก็รู้จริงเฉพาะแข็งที่ปรากฏ

    อ.อรรณพ อันนี้ไม่ใช่ผมจุกจิก แต่ว่าจะได้ชัดเจน เขาอาจจะคิดว่าเหมือนเกลือ

    ท่านอาจารย์ นั่นคือความคิด แต่เหตุผลก็คือว่าต้องพิจารณาไตร่ตรองจริงๆ มิฉะนั้นแล้วจะทรงแสดงธรรมไหมว่ารู้ทั่ว ทั่วไม่ใช่หนึ่ง

    อ.อรรณพ เขาจะคิดว่าเกลือ ถ้าเม็ดหนึ่งเค็มอันอื่นก็เหมือนกัน

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นถ้ารู้แข็งจริงๆ ไม่ว่าแข็งที่ไหนก็รู้แข็งตรงนั้น

    อ.อรรณพ แต่ก็ไม่ใช่สีเสียง

    ท่านอาจารย์ ถ้าอย่างนั้นไม่ต้องทำอะไรเลย ก็จบไปหมด เพียงรู้อย่างเดียวก็จบไปหมด ก็เป็นสิ่งที่ไม่เป็นไปไม่ได้ ต้องตรง และจากการที่ได้อบรมเจริญปัญญาจริงๆ ก็จะรู้ได้วิจิกิจฉานุสัยดับเมื่อใด

    อ.อรรณพ พระโสดาบัน

    ท่านอาจารย์ เป็นอนุสัยด้วย ยังมีอยู่ แม้ว่าไม่เกิดก็ยังมีพร้อมที่จะเกิดเมื่อมีเหตุปัจจัย

    ผู้ฟัง จากคำถามนี้ ความเข้าใจลักษณะของรูปธรรม และนามธรรมนั้น ต้องเข้าใจลักษณะทีละลักษณะ แล้วลักษณะใดที่ปรากฏจะไม่มีอะไรเจือปน

    ท่านอาจารย์ แม้แต่ข้อความที่ว่าเข้าใจลักษณะทีละลักษณะเมื่อใดอย่างไร ไม่ใช่เพียงแต่กล่าวว่าเข้าใจลักษณะทีละลักษณะ แต่ขณะไหนเข้าใจลักษณะไหนอย่างไร เวลานี้ทุกคนพิจารณาแข็งปรากฏไหม มีปรากฏ ไม่ใช่อย่างอื่นนอกจากแข็ง ใครไม่รู้บ้าง ธรรมดาที่สุดใช่ไหม ฟังธรรมหรือไม่ฟังธรรมถามว่าแข็งไหม ก็ตอบว่าแข็ง ก็มีสภาพที่รู้แข็ง แข็งจึงปรากฏให้รู้ เพราะฉะนั้นปัญญาอยู่ที่ไหน ปกติธรรมดารู้แข็งมีแน่ๆ ใครๆ ก็รู้แข็งทั้งนั้น แต่ว่าปัญญาที่รู้แข็งอยู่ที่ไหน ต่างกันแล้ว นี่เป็นเหตุที่ว่าแม้ว่าสภาพธรรมจะมีจริงมีชื่อให้เราเข้าใจได้ มีสภาพธรรมที่ปรากฏให้รู้ว่าเป็นอย่างนั้น แข็งเป็นแข็ง เสียงเป็นเสียง แต่ปัญญารู้อะไร นี่อีกเรื่องหนึ่ง

    ผู้ฟัง ปัญญาก็คงต้องรู้สภาพธรรมแข็งที่กำลังปรากฏ

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีการฟังเลย จะมีการรู้ แล้วละการยึดถือไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้แน่นอน

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นจะรู้เมื่อใดว่าละการยึดถือแข็งที่เคยไม่รู้

    ผู้ฟัง ในขณะที่กำลังรู้แข็งที่กำลังปรากฏ

    ท่านอาจารย์ เป็นปัญญาระดับใดที่สามารถที่จะละคลายการยึดถือ

    ผู้ฟัง เป็นปัญญาในระดับต้องอย่างน้อยก็เป็นพระโสดาบัน

    ท่านอาจารย์ ก่อนเป็นพระโสดาบัน

    ผู้ฟัง ก่อนเป็นพระโสดาบันก็ได้

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นแสดงให้เห็นว่า เรากำลังเรียนเรื่องของสภาพธรรมที่มีจริง ค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ เข้าใจ ค่อยๆ ไตร่ตรองว่าขณะที่รู้แข็งเป็นธรรมดา เสียงปรากฏก็รู้ว่าเสียง ร้อนปรากฏก็รู้ว่าร้อน แล้วปัญญาอยู่ไหน ไม่มีเลยกับปัญญาค่อยๆ เข้าใจสภาพธรรมนั้นระดับใด แต่ละหนึ่งจนกว่าจะหมดวิจิกิจฉา

    ผู้ฟัง เมื่อเวลาสภาพธรรมเกิดปรากฏ ไม่มีขั้นตอนไม่มีระเบียบแบบแผน

    ท่านอาจารย์ แต่ความเข้าใจต้องตามลำดับ เพราะฉะนั้นเราไม่คิดเอง แต่เราฟังว่าการฟังธรรมมีสามระดับ ปริยัติฟังเข้าใจ ได้เกิดในประเทศที่สมควร ได้พบได้ฟังธรรมที่สมควร แล้วก็ยังต้องพิจารณาเข้าใจธรรมที่ได้ฟังให้ถูกต้องด้วย แล้วจึงจะสามารถปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมได้ จะขาดไม่ได้เลย เพียงได้ยินได้ฟัง แต่ว่าไม่พิจารณาให้เข้าใจสิ่งที่เข้าใจตามความเป็นจริงโดยละเอียดโดยถูกต้อง ไม่มีทางที่จะปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

    เพราะฉะนั้นเวลาที่กล่าวถึงการรู้ลักษณะของสภาพธรรม ให้ทราบว่ารู้โดยอะไรอย่างที่กล่าวถึงโดยสัญญาจำ หรือว่าโดยวิญญาณ ธาตุรู้เกิดขึ้นต้องรู้แจ้งขณะนี้ทุกสิ่งทุกอย่างกำลังปรากฏ เพราะว่ามีธาตุรู้ที่กำลังปรากฏรู้เฉพาะสิ่งนั้นๆ แต่ละหนึ่งแล้วก็ดับไปอย่างรวดเร็ว แต่ปัญญาเป็นความเห็นถูกความเข้าใจถูก ซึ่งไม่ใช่เพียงสัญญา และวิญญาณ หรือสภาพที่กำลังรู้แจ้งเท่านั้น เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจความหมายของปัญญาด้วย ปัญญาขั้นฟังต้องเข้าใจจริงๆ ฟังเพื่อละความไม่รู้ เพราะฉะนั้นเพราะไม่รู้จึงถามให้คนอื่นบอก นั่นไม่ใช่ แต่ว่าฟังเพื่อละความไม่รู้แล้วเป็นปัญญาของตนเอง เข้าใจด้วยตัวเองว่าอะไรคืออะไร นั่นถึงจึงจะชื่อว่าปัญญา ตราบใดที่ยังไม่สามารถที่จะรู้ แล้วยังต้องถามคนอื่นก็แสดงว่าการฟังนั้นไม่ใช่ความเข้าใจของตนเอง แต่ว่าเมื่อมีความเข้าใจแล้วก็สามารถที่จะรู้ได้ว่า ขณะนั้นเป็นปัญญาระดับใด ขั้นฟังหรือว่าขั้นกำลังเข้าใจถูกในลักษณะสภาพธรรม

    เพราะฉะนั้นจะข้ามขั้นฟังไปถึงการที่จะไปรู้ลักษณะของธรรมแต่สงสัย เห็นไหม เพราะเหตุว่าความเข้าใจขั้นฟังไม่พอ เพราะฉะนั้นเมื่อความเข้าใจขั้นฟังไม่มีพอ เวลาที่มีสภาพธรรมปรากฏ ก็สงสัยว่านี่เป็นความรู้ขั้นใด

    อ.อรรณพ ก็ต้องศึกษาธรรม แล้วก็ฟังไปไม่รู้จักจบ พอจบจริงๆ ก็หมดกิเลส ไม่มีทางหมดง่ายๆ ไม่จบง่ายๆ การศึกษาธรรม เราก็ได้ศึกษาเรื่องรูปกัน เป็นพื้นฐานความเข้าใจรูปหลักๆ ๔ รูป ซึ่งท่านก็อธิบายไว้หลากหลายมากมาย ซึ่งแสดงถึงลักษณะของรูปนั้นต่างๆ ถ้าถามให้คิดดูว่า อะไรที่แอบอิงสิงอยู่ในสิ่งต่างๆ ทั้งสิ่งของ และบุคคลต่างๆ อะไรที่เหมือนกับแอบอิงสิ่งอื่น เหมือน เหมือนสิง เหมือนแอบอิงอยู่ ไม่ให้เห็นในสิ่งต่างๆ วัตถุ และบุคคลต่างๆ ทั้งๆ ที่สิ่งที่แอบอิงอยู่เขาอาศัยพึ่งพิงกันเกิดอยู่

    อ.ธีรพันธ์ คือมหาภูตรูปนั่นเอง คือธาตุดินอ่อนแข็ง ธาตุน้ำเอิบอาบเกาะกุม ธาตุลมตึงไหว ธาตุไฟเย็นร้อน นี่คือสภาพธรรมที่มีจริง มีจริง แต่ก็ยากที่จะเข้าใจยากที่จะรู้ จึงไม่เห็นความจริงของสิ่งที่ปรากฏ อย่างเช่นสิ่งที่ปรากฏทางตาเห็นเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นสิ่งของเป็นวัตถุเป็นสัตว์บุคคลต่างๆ เมื่อไม่รู้ความเป็นจริงก็เหมือนกับสิ่งนั้นแอบอิง สิ่งที่แอบไว้ปกปิดไว้ไม่เห็นตามความเป็นจริงนั่นเอง เพราะว่าไม่สามารถที่จะรู้ตามความเป็นจริงก็เป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งเลย ถ้าได้สัมผัสก็แข็ง หรือเย็นร้อน หรือไม่ต้องรูปภายนอกที่กายที่ยึดถือว่าเป็นกายของเรา ก็มีสภาพธรรมที่อ่อนแข็งเย็นร้อนตึงไหว ไม่ใช่สิ่งของภายนอก เป็นที่กายก็ไม่รู้ตามความเป็นจริง ก็เหมือนแอบอิงเป็นเราเป็นของเราเป็นตัวตนของเรา จริงๆ แล้วถ้าถูกเปิดเผยด้วยปัญญาเพราะว่ารู้ตามความเป็นจริง ขณะนั้นจะไม่มีการแอบอิงของมหาภูตรูปเลย คือรู้ตามความเป็นจริงว่า เป็นเพียงสภาพธรรมที่เป็นอ่อนแข็งเย็นร้อนตึงไหว ก็ไม่สามารถที่จะแอบอิงได้ แต่ที่แอบอิงเพราะว่าไม่รู้ตามความเป็นจริง ที่กายไม่รู้ตามความเป็นจริงแล้ว ภายนอกก็ไม่รู้ตามความเป็นจริงอีกเหมือนกัน เป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นบุคคลนั้นเป็นบุคคลนี้ เรื่องราวก็เยอะแยะก็แอบอิงซ่อนเร้นเข้าไปอีก

    อ.อรรณพ ดีมากเลย เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นรูปภายนอก หรือภายในกาย ก็มีดินน้ำไฟลมซึ่งเขาอาศัยพึ่งพิงกันเกิด และเป็นรูปหลักอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่รู้เลยเหมือนแฝงเร้นอยู่ในสิ่งต่างๆ เห็นเข้าก็เป็นสีเป็นรูปร่างรูปทรง

    ท่านอาจารย์ ธรรมก็มีหลายสำนวน ถ้าสำนวนตรงๆ ก็คือว่าขณะใดที่รูปหนึ่งรูปใดที่มีอยู่ในที่นั้น ๘ รูปปรากฏ รูปอื่นก็ไม่ปรากฏ เช่น ขณะใดที่ธาตุแข็งปรากฏ ธาตุอื่นแม้มีอยู่ในที่นั้นก็ไม่ปรากฏ ขณะใดที่สีสันวรรณะที่มีที่มหาภูตรูปปรากฏ รูปอื่นก็ไม่ได้ปรากฏ เพราะฉะนั้นธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธาน ๔ รูปนี่แน่นอน เพราะว่าปราศจาก ๔ รูปนี้ไม่ได้เลย คือแม้ธาตุดินธาตุน้ำธาตุไฟธาตุลม ถ้ารูปหนึ่งรูปใดปรากฏรูปอื่นก็ไม่ปรากฏ หรือรูปที่มีอยู่ในที่นั้นคือสี หรือสิ่งที่สามารถกระทบตาได้ กลิ่นก็มี รสก็มี โอชา สภาพธรรมซึ่งเมื่อกลืนกินเข้าไปแล้ว สามารถที่จะทำให้กลุ่มของรูปกลุ่มต่อไปเกิดขึ้นได้ นี่ก็แสดงให้เห็นว่าถ้ารูปนั้นๆ ไม่ปรากฏ มีเฉพาะรูปเดียวที่ปรากฏ รูปอื่นก็ปรากฏไม่ได้

    อ.อรรณพ ก็ค่อยๆ ได้เข้าใจขึ้นตามสมควร นิดๆ หน่อยๆ เพราะว่ารูปที่เป็นรูปหลักทั้ง ๔ รูป ถ้าไม่มีรูปหลักทั้ง ๔ รูป รูปอื่นก็อาศัยเกิดไม่ได้ เขาก็แปลกเขาเป็นรูปหลักที่รูปอื่นอาศัยเกิด อย่างสีเขาก็อาศัยดินน้ำไฟลมเกิด แต่ว่าสีกลับปรากฏตัวมากกว่าดินน้ำไฟลม

    ท่านอาจารย์ ก็เพราะเหตุว่าเป็นรูปที่สามารถกระทบจักขุปสาทได้

    อ.อรรณพ แข็งนี้ก็กระทบกายปสาทได้

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง เพราะฉะนั้นมีรูปพิเศษ ๕ รูปที่ใช้คำว่าปสาทรูปเป็นรูปที่ไม่ใช่ธาตุดินน้ำไฟลม แต่สามารถกระทบเฉพาะสิ่งที่กระทบกันได้ เช่น สิ่งที่ปรากฏทางตาที่มหาภูตรูปรูปนี้ เฉพาะรูปนี้เท่านั้นที่สามารถกระทบจักขุปสาท กลิ่นก็มีแต่กลิ่นกระทบจักขุปสาทไม่ได้ แต่กลิ่นกระทบอีกรูปหนึ่งซึ่งมีความใสคือสามารถที่จะกระทบกับกลิ่น รูปนั้นก็คือฆานปสาท ขณะใดก็ตามที่กลิ่นปรากฏต้องมีฆานปสาท กลิ่นกระทบฆานปสาทเป็นปัจจัยให้ธาตุรู้เกิดขึ้นรู้แล้วก็ดับไป เพราะฉะนั้นปสาทรูปมี ๕ ซึ่งทุกคนชินตาหนึ่งหูหนึ่งจมูกหนึ่งลิ้นหนึ่งกายหนึ่ง กายไม่ใช่ทั่วกายแต่เฉพาะส่วนที่สามารถกระทบกับเย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง ตึงหรือไหว จักขุปสาทก็ไม่ใช่ทั่วตัว เฉพาะตรงที่เกิดซึ่งปกติก็จะอยู่ที่กลางตา ไม่ใช่อยู่ข้างหลังไม่ใช่อยู่ที่บ่าไม่ใช่อยู่ในหู รูปนี้ก็เป็นรูปที่สามารถกระทบตา แล้วจิตเห็นก็เกิดขึ้นเห็นสิ่งที่ได้กระทบกับตา เพราะฉะนั้นไม่ได้เห็นข้างหลัง แต่ว่าจักขุปสาทอยู่ที่ไหน เห็นเกิดที่นั่น กระทบรูปนั้น แล้วจิตก็เกิดขึ้นเห็นแล้วก็ดับไป สำหรับกลิ่นรสก็โดยนัยเดียวกัน ถ้าเอารสไปใส่จมูกหวานไหม แต่ต้องกระทบลิ้น เพราะว่ามีรูปพิเศษที่กลางลิ้นที่สามารถกระทบได้เฉพาะรส แต่ถ้าจิตไม่เกิดขึ้น ลิ้นคือรู้ รสนั้นไม่ปรากฏเลย เพราะฉะนั้นก็เป็นธรรมทั้งหมดคือ สิ่งที่มีปัจจัยเกิดขึ้นแล้วดับไปชั่วคราวแต่ละหนึ่งแล้วก็ไม่กลับมาอีกเลย และไม่ใช่ของใคร และไม่ได้อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครด้วย

    อ.อรรณพ ก็สนทนากันเรื่อยๆ บางทีก็เหมือนกับไม่ค่อยได้ฟังแบบนี้เลย ทั้งๆ ที่ก็ฟังเรื่องรูปเรื่องมหาภูตรูปมาอยู่เรื่อยๆ ก็แสดงว่าการฟังธรรมต้องยังคงฟังต่อไปๆ ค่อยๆ เข้าใจขึ้น

    ท่านอาจารย์ แล้วก็ละเอียดขึ้นด้วย เพราะแม้สิ่งที่มีจริงทั้งหมด ๒๘ รูป เป็นรูปหยาบ ๑๒ รูป หาเจอไหม ถ้าไม่ทรงแสดงไว้ แต่จากการฟังแล้วก็ไม่ลืมแล้วก็ไตร่ตรองก็หาได้

    อ.อรรณพ เพราะฉะนั้นการศึกษาแม้ในปรมัตอย่างหนึ่งคือรูปปรมัตถ์ ก็มีความละเอียดเป็นอภิธรรม ในวันนี้เราก็พอจะมีพื้นฐานความเข้าใจความเป็นอภิธรรมของรูปต่างๆ ต่างๆ ว่าเป็นแต่ละอย่างๆ

    ท่านอาจารย์ เดี๋ยวจะคิดมากก็ตอบเสียเลยก็ได้ สิ่งที่ปรากฏทางตาหยาบไหม

    อ.อรรณพ หยาบ

    ท่านอาจารย์ เพราะมองเห็น

    อ.อรรณพ เพราะมองเห็น

    ท่านอาจารย์ เสียงหยาบไหม

    อ.อรรณพ หยาบ

    ท่านอาจารย์ เพราะปรากฏให้รู้ว่าเป็นอย่างนั้น กลิ่นหยาบไหม

    อ.อรรณพ หยาบ

    ท่านอาจารย์ หยาบ รสหยาบไหม

    อ.อรรณพ ก็หยาบ

    ท่านอาจารย์ เย็นร้อนอ่อนแข็งตึงไหว ๗ รูป

    อ.อรรณพ อันนี้กระทบกายโดยตรง

    ท่านอาจารย์ ขาดธาตุน้ำเพราะไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้นจะเป็นรูปหยาบไม่ได้ เพราะฉะนั้นถึงแม้ว่าจะพูดทางตาหูจมูกลิ้นกายก็ยังต้องมีความเข้าใจในความละเอียดด้วยตามความเป็นจริง นอกจาก ๗ รูปนี้แล้ว จักขุปสาทรูป โสตปสาทรูป ฆานปสาทรูป ชิวหาปสาทรูป กายปสาทรูป ไม่เห็นเลยไม่มีทางจะรู้ แต่รู้ว่ามีได้ ในขณะที่มีการเห็นการได้ยินจึงเป็นประเภทที่หยาบพอที่จะรู้ได้ว่ามีแน่นอน และก็เป็นรูปเฉพาะแต่ละรูปด้วย นับหรือยังเท่าไหร่ ๑๒ รูปคงไม่ลืม และทางตาหูจมูกลิ้นกาย ตาหนึ่งหูหนึ่งจมูกหนึ่งลิ้นหนึ่งกายหนึ่งห้า อีกเจ็ดก็ต้องเป็นทางตาปรากฏได้ หูจมูกลิ้นกายก็ครบ ทำให้ไม่ลืมว่า ธาตุน้ำไม่สามารถที่จะกระทบกายปสาทได้

    อ.อรรณพ เพราะฉะนั้นไหนๆ เกิดมาในภพภูมิที่มีรูป ได้ยินได้ฟังเข้าใจเรื่องรูปตามความเป็นจริง ก็จะเป็นปัจจัยให้รู้ลักษณะของรูป ทั้งที่รูปนั้นน่าพอใจแช่มชื่น และรูปนั้นไม่น่าพอใจ ก็จะเป็นปัจจัยให้ค่อยๆ มีการที่จะละคลายสลัดออกจากความติดข้องในรูปในอนาคตอันไกล


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 194
    5 ก.ค. 2567

    ซีดีแนะนำ