จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 108


    ควรจะระลึกอย่างไร หรือพิจารณาอย่างไรในขณะที่เห็น จึงจะรู้ว่าเป็นนามธรรมหรือรูปธรรม

    ท่านอาจารย์ ศพไม่เห็นนั่นแหละ ซากศพไม่เห็น แต่เห็นมี เพราะฉะนั้น เห็นในขณะนี้ ...

    . ศพไม่เห็นแน่ๆ แต่ผู้ที่ไม่ได้เจริญสติปัฏฐานก็มีเห็น ผู้ปฏิบัติใหม่ๆ ต้องการที่จะรู้ว่า พิจารณาอย่างไรจึงจะรู้ว่าเป็นนามธรรมหรือรูปธรรม

    ท่านอาจารย์ ซากศพมีรูป แต่ไม่มีเห็น เพราะฉะนั้น กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ ต่างจากรูป

    . โดยการศึกษาเห็นด้วย เป็นอย่างนั้นจริงๆ แต่ขณะที่สติเกิดขึ้น พิจารณาอย่างไรจึงจะรู้ว่าเป็นนามธรรมหรือรูปธรรม

    ท่านอาจารย์ ก็อย่างนี้แหละ สภาพรู้มี นี่คือความต่างกันของซากศพ กับคนที่ยังมีชีวิตอยู่

    . การเจริญสติที่ระลึกนามรูป เช่น หิว ความรู้สึกว่าหิวคงจะเป็นนาม แต่สิ่งที่ทำให้หิวคงจะเป็นรูป เรียนถามว่า สิ่งที่ทำให้หิว เป็นรูปปรมัตถ์อะไร

    ท่านอาจารย์ เวลาหิว และสติเกิด จะระลึกลักษณะของรูป ได้ไหม

    . ผมคิดว่า หิวเกิดจากมหาภูตรูปต่างๆ เกิดขาดแคลนขึ้น ก็ส่งผลไปกระทบให้หิว ความรู้สึกก็เข้าไปจับ ...

    ท่านอาจารย์ นั่นเป็นเรื่อง

    . เป็นความรู้สึก ความรู้สึกนี้ ก็ใช้ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ นั่นเป็นเรื่องที่ว่า ความหิวเกิดจากอะไร แต่เวลาสติระลึกจริงๆ เพื่อที่จะให้ท่านผู้ฟังละคลายความเป็นตัวตนโดยไม่ต้องนึกถึงเรื่อง เพราะถ้ามี เรื่องหนึ่งเรื่องใดแทรกจะเป็นตัวตน

    เพราะฉะนั้น การที่สติระลึกลักษณะของสภาพธรรม ถ้าขณะนั้นไม่มีเรื่องใดๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง ในขณะนั้นจะศึกษาเฉพาะลักษณะของรูปธรรมหรือนามธรรมที่กำลังปรากฏ เช่น ความหิว ทุกคนมี ในขณะที่เกิดหิว สติปัฏฐานระลึกลักษณะของนาม ได้ไหม สติปัฏฐานระลึกลักษณะของรูปได้ไหม ทางไหน ทางตาก็ได้ ขณะที่หิวก็เห็น ทางหูก็ได้ ขณะที่หิวก็ได้ยิน ทางจมูกก็ได้ ถ้าขณะนั้นมีกลิ่นปรากฏ ทางลิ้น กำลังหิวและบริโภคอาหารรสก็ปรากฏได้ ทางกายกระทบสัมผัสได้ ทางใจคิดนึกได้ เพราะฉะนั้น อย่าเจาะจงรูป หรืออย่าคิดเรื่องรูป ถ้ามีความคิดเรื่องรูป จะมีความสำคัญหมายในสิ่งหนึ่งสิ่งใด เพราะนึกถึงรูปที่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อนเป็น สิ่งหนึ่งสิ่งใด แต่การอบรมเจริญสติปัฏฐาน สิ่งที่เคยมีปรากฏที่ประชุมรวมกันให้ยึดถือว่าเป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นวัตถุสิ่งหนึ่งสิ่งใดจะไม่เหลือเลย จะเหลือแต่ลักษณะของรูปๆ เดียวที่กำลังปรากฏ มีลักษณะอย่างเดียว อย่างหนึ่งอย่างใด จน ไม่สามารถจะยึดถือได้ว่าเป็นเรา

    แข็งนิดเดียวปรากฏ ลืมคนในห้องนี้ทั้งหมด ลืมศีรษะตลอดเท้าทั้งหมด เพราะมีแต่แข็งที่ปรากฏ

    ตราบใดที่ยังไม่เพิกอิริยาบถ ความเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตน ต้องมี และทุกคนยังเพิกอิริยาบถยังไม่ได้ ถ้าสติปัฏฐานไม่มั่นคงจริงๆ โดยไม่หวั่นไหวว่า เฉพาะแข็งปรากฏ อย่างอื่นไม่มีเลย

    เพราะฉะนั้น รูปใดที่ไม่ปรากฏ รูปนั้นเกิดแล้วดับแล้วอย่างรวดเร็ว มีแต่ความทรงจำ อย่างที่ดิฉันเคยเรียนถามว่า มีฟันไหม ท่านผู้ฟังมีฟันไหม มีหรือไม่มี

    มีเมื่อไร จำไว้ว่ามี เป็นความจำตั้งแต่ศีรษะตลอดเท้า มีคิ้ว มีตา มีจมูก มีแขน มีขา มีสมอง มีหัวใจ มีตับ มีปอด มีม้าม นี่เป็นเรื่องของความทรงจำ แต่ ไม่มีลักษณะใดๆ ปรากฏ

    เพราะฉะนั้น เรา มี มีความเป็นตัวตน มีความเป็นสัตว์ เป็นบุคคล จนกว่าแข็งเท่านั้นที่ปรากฏ ฟันอยู่ที่ไหน ท้องไส้แขนขาอยู่ที่ไหน จำไว้ ใช่ไหม ก็ยังไม่เพิกอิริยาบถ

    การที่จะเห็นทุกขลักษณะ อนิจจลักษณะ อนัตตลักษณะได้ จะต้องเห็นสภาพความเกิดขึ้นและดับไปของสิ่งที่กำลังปรากฏ แต่ถ้ายังมีความทรงจำว่า เรายังมีฟันอยู่ คิดดูดีๆ ว่า มีเมื่อไร ไม่ปรากฏเลยถ้าไม่กระทบสัมผัส ถ้ากระทบสัมผัสอะไรปรากฏ แข็งปรากฏ แต่ยังจำไว้ว่าเป็นฟัน ใช่ไหม ลักษณะที่แข็งนั้นเมื่อปัญญาเจริญแล้ว จะประจักษ์การเกิดดับทันทีของแข็งที่กำลังปรากฏ และมีแต่แข็งเท่านั้น ไม่ใช่ฟัน ไม่ใช่ผม ไม่ใช่เล็บ ไม่ใช่สิ่งใดๆ เลย เป็นแต่เพียงลักษณะที่ปรากฏและดับไป จึงไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน

    เพราะฉะนั้น ต้องถามตัวเองอยู่เสมอ มีอะไรบ้าง ถ้ายังมีอยู่ทุกสิ่งทุกอย่าง ก็หมายความว่า ยังมีความทรงจำว่า มี แต่ตามความเป็นจริงแล้ว ลองพิสูจน์ดู

    . เวลาเราอ่านหนังสือมากๆ จะรู้สึกปวดหัว ถ้าเราระลึกรู้ว่า ขณะนั้นเป็นเพียงนามธรรม สภาพความปวดหัวจะหายไปไหม

    ท่านอาจารย์ ต้องการให้หายหรืออย่างไร

    . ถ้ากำลังของสติมีมาก ระลึกรู้ว่า ขณะนั้นเป็นเพียงนามธรรมอย่างหนึ่ง สุ. ขอทราบจุดประสงค์ว่า ต้องการอะไร

    . ต้องการรักษาให้หาย

    ท่านอาจารย์ นี่คือจุดประสงค์ที่ถาม แต่การอบรมเจริญปัญญาไม่ใช่เพื่อให้หาย แต่เพื่อรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง ถ้ามีปัจจัยที่จะให้ความปวดนั้นเกิดขึ้น ความปวดนั้นก็ต้องเกิด จะไปยับยั้งไม่ได้ แต่รู้ว่าไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล

    เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ทำวิปัสสนาหรือว่าอบรมเจริญปัญญาเพื่อให้หายปวดหัว ถ้าทำอย่างนั้นไม่มีทางที่ปัญญาจะเกิดเลย เพราะว่าพอใจที่จะหายปวดหัว ไม่ใช่ รู้ความจริงของสภาพธรรมที่ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล

    . หมายความว่า ถ้ามีเหตุปัจจัย ก็จะต้องเป็นอย่างนั้นอยู่

    ท่านอาจารย์ แน่นอน

    . ให้เราเรียนรู้ในขณะนั้นว่า เป็นลักษณะแบบไหน และปล่อยวาง

    ท่านอาจารย์ เป็นสภาพธรรมแต่ละอย่าง อย่าหวังผลอย่างอื่น โดยมากมักจะหวัง ผลพลอยได้ เพราะฉะนั้น ในขณะนี้ถ้าสติระลึกจริงๆ อย่าลืมว่าไม่มีอะไร อย่าให้อย่างอื่นมาปะปนกับลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ จึงจะเป็นการอบรม เจริญสติปัฏฐาน เพราะมีลักษณะสภาพธรรมจริงๆ ที่ปรากฏแต่ละอย่าง และเพียงเล็กน้อยนิดเดียว


    ท่านอาจารย์ นั่งๆ อยู่นี่หนักไหมศีรษะ หนักหลายกิโลหรือเปล่า แต่ความจริงแล้ว เปล่าเลย เกิดดับอย่างรวดเร็วที่สุด ขณะที่ไม่มีสภาพธรรมใดปรากฏที่ศีรษะ ยังเป็นศีรษะอยู่หรือเปล่า ถ้ายังจำไว้ว่าเป็นศีรษะอยู่ ขณะนั้นไม่ใช่สติปัฏฐาน เพราะเป็นการจำ ไม่ใช่เป็นการระลึกที่ลักษณะซึ่งกำลังปรากฏจริงๆ

    . สภาพที่แท้จริง คนเราไม่มีน้ำหนัก หมายความว่า สภาพปรมัตถธรรมที่มีน้ำหนักเกิดจากกิเลส ใช่ไหม คือ สภาพตามความเป็นจริง จะเป็นสภาวะแบบ ว่างเปล่า

    ท่านอาจารย์ ทุกคนที่ปัญญายังไม่อบรมเจริญ จะไม่สามารถละอัตตสัญญา นิจจสัญญา และสุขสัญญาได้

    . หมายความว่าต้องสามารถระลึกได้ก่อน จึงรู้สภาวะ

    ท่านอาจารย์ ต้องรู้ว่าขณะที่สติปัฏฐานเกิด คือ การใส่ใจ ศึกษาลักษณะของ สภาพธรรมที่กำลังปรากฏเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่ทั้งตัว ถ้าทั้งตัวก็เป็นเราอยู่นั่นแหละ ยังจำไว้ทั้งหมด เป็นอัตตสัญญา เป็นนิจจสัญญาอยู่ จะต้องค่อยๆ เพิกถอน อัตตสัญญา นิจจสัญญา และสุขสัญญา

    . ต้องเรียนรู้ทั้ง ๖ ทางใช่ไหมว่า ...

    ท่านอาจารย์ เวลาที่ลักษณะของสภาพธรรมเพียงอย่างเดียวปรากฏ นั่นเป็นทางที่จะทำให้ถึงความเป็นอนัตตสัญญาได้ เพราะไม่มีตัวตนในขณะนั้น มีแต่ลักษณะของสภาพธรรมอย่างเดียวปรากฏ

    ขอกล่าวถึงข้อความใน อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต วชิรสูตร ข้อ ๔๖๔ เพื่อให้ท่านผู้ฟังตรวจสอบตัวเองว่า เป็นบุคคลประเภทไหนในเรื่องของความโกรธ ซึ่งวันหนึ่งๆ ความโกรธหรือความขุ่นเคืองใจหรือความไม่สบายใจเกิดขึ้นไม่น้อยเลย แต่ถ้าเป็นลักษณะของความไม่สบายใจ ความขุ่นใจเล็กๆ น้อยๆ เช่น เห็นฝุ่น เห็นขยะพวกนี้ อาจจะไม่รู้สึกเลยว่า ขณะนั้นเป็นโทสมูลจิตแล้ว

    ข้อความในพระสูตรมีว่า

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

    ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๓ จำพวก เป็นไฉน คือ บุคคลที่มีจิตเหมือนแผลเก่า ๑ บุคคลที่มีจิตเหมือนฟ้าแลบ ๑ บุคคลที่มีจิตเหมือนฟ้าผ่า ๑

    ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลที่มีจิตเหมือนแผลเก่าเป็นไฉน

    บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้โกรธ มากด้วยความแค้นใจ เมื่อถูกเขาว่าแม้เล็กน้อยก็ข้องใจ โกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด ทำความโกรธ ความขัดเคือง และความโทมนัสให้ปรากฏ แผลเก่าถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบเข้า ย่อมให้ความหมัก หมมมากกว่าประมาณ แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็น ผู้โกรธ มากด้วยความแค้นใจ เมื่อถูกเขาว่าแม้เล็กน้อยก็ข้องใจ โกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด ทำความโกรธ ความขัดเคือง และความโทมนัสให้ปรากฏ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เรียกว่า บุคคลมีจิตเหมือนแผลเก่า

    ดูรูปร่างกายเหมือนไม่มีแผลเลย สะอาดเกลี้ยงเกลาหมดจด แต่จิต ถ้าเป็นบุคคลที่ ถูกเขาว่าแม้เล็กน้อยก็ข้องใจ โกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด นั่นคือ ผู้มีจิตเหมือนแผลเก่า

    ข้อความในอรรถกถาอธิบายว่า

    บทว่า กุปปติ ความว่า ย่อมกำเริบด้วยสามารถแห่งความโกรธ

    คนที่เป็นไข้ เวลาสร่างไข้แล้วก็ยังกำเริบขึ้นได้อีก เพราะยังมีเชื้อไข้อยู่ ฉันใด ผู้ที่สะสมความโกรธไว้ เวลาที่ความโกรธไม่ปรากฏ ก็เหมือนกับเป็นคนที่ไม่โกรธ แต่เวลาที่มีเหตุปัจจัย ความโกรธย่อมเกิด เพราะฉะนั้น บทว่า กุปปติ ความว่า ย่อมกำเริบด้วยสามารถแห่งความโกรธ

    บทว่า พยาปัชชติ ความว่า ละเสียซึ่งภาวะปกติ คือ เป็นของเสีย

    บทว่า ปติตถิยติ ได้แก่ ย่อมถึงความเป็นของแข็ง ความเป็นของกระด้าง

    บทว่า โกปัง ได้แก่ ความโกรธอันมีกำลังทราม

    บทว่า โทสัง ได้แก่ ความโกรธอันมีกำลังมากกว่าโกปะนั้น ด้วยสามารถแห่งการเบียดเบียน

    บทว่า อัปปัจจยัง ความว่า อาการอันบุคคลไม่ยินดีแล้ว คือ โทมนัส

    สองบทว่า อาสวัง เนติ ความว่า ย่อมไหลไปมา คือ ธรรมดาของแผลเก่าทั้งหลายย่อมหมุนไปสู่ฐานะ ๓ ประการเหล่านี้ คือ หนอง เลือด ช้ำเลือดช้ำหนอง แต่ว่าอาการที่รุนแรงกว่าย่อมส้องเสพฐานะ ๓ ประการเหล่านั้น เพราะการกระทบกัน ก็คนมักโกรธเป็นดุจแผลเก่า การประพฤติของคนมักโกรธอันทำความโหดร้าย ดุจแผลอันบวมพองขึ้นแล้วตามธรรมดาของตน ถ้อยคำแม้มีประมาณน้อยเป็นเหมือนแผลถูกกระทบด้วยไม้หรือกระเบื้อง

    โกรธง่ายๆ บ้างไหม คำนิดๆ หน่อยๆ ก็เสียใจ น้อยใจ แค้นใจ นั่นคืออาการของแผลเก่า เมื่อถูกกระทบอะไรๆ ก็บวมพองขึ้น

    . ความโกรธกับความกลัว แตกต่างกันอย่างไร

    ท่านอาจารย์ ขณะใดที่กลัว ขณะนั้นไม่ต้องการสิ่งที่กำลังปรากฏ เป็นลักษณะอาการหนึ่งของโทสมูลจิต จะสังเกตได้จากความรู้สึกไม่สบายใจแม้เพียงเล็กน้อย นิดเดียว นั่นคือลักษณะของโทสมูลจิตแล้ว

    วันหนึ่งๆ จะรู้สึกตัวได้ว่า วันนี้ขุ่นข้องหมองใจ หรือว่าจิตใจแช่มชื่นเบิกบาน นั่นคือลักษณะที่ต่างกันของโทสมูลจิตกับโลภมูลจิต

    ต่อไปนี้ มีอะไรก็ตาม ให้สังเกตที่ลักษณะของความรู้สึก ซึ่งจะบอกได้ว่า ขณะนั้นเป็นอาการของโทสมูลจิตอาการหนึ่งอาการใด แม้แต่ความกลัวก็เป็นอาการของโทสมูลจิต เพราะไม่ชอบ ขณะที่กลัวนั้นไม่สบายใจ

    ขณะที่ริษยา สบายใจไหม ไม่สบายใจ ก็ต้องเป็นโทสมูลจิต ขณะที่หวงแหนตระหนี่ สบายใจไหม ไม่สบายใจ ขณะนั้นก็ต้องเป็นโทสมูลจิต เพราะฉะนั้น วันหนึ่งๆ เป็นผู้มีจิตเป็นแผลเก่า ใหญ่มากน้อยแค่ไหนก็แล้วแต่แผล

    ส่วนบุคคลผู้ที่มีจิตเหมือนฟ้าแลบ ได้แก่ ผู้ที่รู้แจ้งอริยสัจธรรม ๔ อุปมาเหมือนคนที่มีจักษุเห็นรูปในขณะฟ้าแลบ จากการที่มีโทสะ โลภะ โมหะ อกุศลเต็มที่ และอบรมเจริญปัญญาจนกระทั่งรู้แจ้งอริยสัจธรรม จากการเป็นผู้ที่มีจิตเหมือนแผลเก่า ไปเป็นผู้ที่มีจิตเหมือนฟ้าแลบ ก็ต้องอาศัยการอบรมเจริญปัญญา

    แสดงให้เห็นถึงความต่างกันของความเป็นปุถุชน กับการที่จะอบรมเจริญปัญญาเพื่อรู้แจ้งอริยสัจธรรม

    สำหรับบุคคลประเภทที่ ๓ คือ บุคคลผู้มีจิตเหมือนฟ้าผ่า คือ พระอรหันต์ เพราะไม่ว่าจะเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตาม จะมีความแข็งแกร่งเป็นแก้วมณี หรือเป็นหินชนิดหนึ่งชนิดใดก็ตาม ที่ฟ้าไม่สามารถจะผ่าทำลายได้ ไม่มี เพราะฉะนั้น อกุศลทั้งหมดสามารถที่จะดับทำลายได้เป็นสมุจเฉทโดยอรหัตตมรรค พระอรหันต์จึงเป็นผู้ที่มีจิตเหมือนฟ้าผ่า เพราะสามารถดับอกุศลได้ทั้งหมด

    เป็นเรื่องที่อีกนาน ใช่ไหม ตามความเป็นจริง ไม่ใช่เป็นเรื่องหลอกตัวเอง เป็นเรื่องที่จะต้องรู้จักตัวเองละเอียดขึ้นๆ แม้แต่สภาพของจิตแต่ละประเภทที่ เป็นอกุศล ก็ไม่ใช่อยู่ที่อื่น แต่อยู่ที่การสะสมของแต่ละบุคคลนั่นเอง

    . ส่วนมากคนแก่เวลาทำบุญ มักจะกล่าวว่า มีปีติถึงกับร้องไห้ จนกระทั่งเราจำมาเป็นข้อปฏิบัติว่า ถ้าเราทำบุญแล้วมีปีติ จะต้องน้ำตาไหล ไม่ทราบว่า ปีติกับน้ำตาไหล เป็นของคู่กัน หรือไม่ใช่ของคู่กัน

    ท่านอาจารย์ ปีติมี ๕ อย่าง แต่ต้องเป็นผู้ที่สังเกตด้วยสติปัฏฐานจึงจะรู้ว่า ขณะนั้นหลอกตัวเองหรือเปล่า เพราะกิเลสหลอกเก่ง ไม่ได้ตั้งใจจะหลอกตัวเอง แต่กิเลสนั่นเองทำกิจของกิเลสด้วยประการต่างๆ แม้แต่การหลอกตัวเอง อย่างเช่น ทำบุญและอยากจะปีติจนถึงกับน้ำตาไหล เพราะได้ยินได้ฟังมาว่า ถ้าปีติมากๆ ก็น้ำตาไหล ในขณะที่น้ำตาไหล ลองสังเกตดูว่า ด้วยปีติจริงๆ หรืออยากจะปีติจนน้ำตาไหล เพราะฉะนั้น ในขณะที่น้ำตาไหล หลอกตัวเองบ้างหรือเปล่า

    . ก็มีความรู้สึกปีตินะ แต่ตอนที่น้ำตาไหลผมคิดว่า เป็นโทมนัสเวทนามากกว่า ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ใช่ และไม่ควรจะพยายามให้มีปีติขั้นนั้นขั้นนี้ ควรเป็นไปตามความ เป็นจริง บางครั้งทำกุศลอาจจะไม่ค่อยปีติเท่าไร ก็เป็นเรื่องจริง ข้อสำคัญที่สุด คือ เป็นจริงอย่างไรก็เป็นผู้ตรงต่อลักษณะของสภาพที่เป็นจริงอย่างนั้น มิฉะนั้นแล้วโลภะจะเสแสร้งอีก เพราะอาการเสแสร้งต่างๆ เป็นลักษณะของโลภะทั้งหมด ต้องมีความปรารถนาอย่างหนึ่งอย่างใดแอบแฝง จึงสามารถทำให้เกิดกิริยาอาการต่างๆ อย่างนั้นได้ แต่ถ้าไม่ต้องการที่จะปีติจนถึงกับน้ำตาไหล อาจจะได้ของจริง คือ ปีติ ขั้นใดกำลังปรากฏ ก็รู้ลักษณะของปีติขั้นนั้นจริงๆ

    และถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ขั้นน้ำตาไหล แต่เป็นขั้นที่มีความปลาบปลื้มใจ ซึ่งนั่น ก็น่าจะเพียงพอแล้ว ไม่ต้องพยายามไปทำให้ถึงกับน้ำตาออกมา ถ้าไม่เป็นตามความเป็นจริง

    ขอกล่าวถึงลักษณะของปีติเพื่อจะได้พิจารณาว่า เวลาที่กุศลจิตเกิดและมี ความปีติปลาบปลื้มเกิดขึ้นนั้น จะมีลักษณะอย่างไร ซึ่งข้อความใน อัฏฐสาลินี จิตตุปปาทกัณฑ์ อธิบายความหมายของปีติว่า

    สภาพธรรมที่ชื่อว่าปีติ เพราะเอิบอิ่มปีตินั้น

    สัมปิยายนลักขณา มีการชื่นชมยินดีเป็นลักษณะ

    กายจิตตปีนนรสา ผรณรสา วา มีการทำกายและจิตให้เอิบอิ่มเป็นรสะ หรือว่าซาบซ่านไปเป็นรสะ คือ เป็นกิจ

    โอทัคยปัจจุปัฏฐานา มีการฟูกายและใจเป็นปัจจุปัฏฐาน คือ เป็นอาการปรากฏ

    ก็ปีตินั้น มี ๕ อย่าง คือ

    ขุททกาปีติ ขณิกาปีติ โอกกันติกาปีติ อุพเพงคาปีติ ผรณาปีติ

    บรรดาปีติเหล่านั้น ขุททกาปีติสามารถเพื่อทำเพียงขนในร่างกายให้ชูชันเท่านั้น

    คือ เวลาปีติมากๆ อาจจะขนลุก

    ขณิกาปีติ ย่อมเป็นเช่นกับความเกิดขึ้นแห่งฟ้าแลบขณะหนึ่งๆ

    โอกกันติกาปีติ ก้าวลงสู่กายแล้ว ครั้นก้าวลงแล้วก็แตกไปเหมือนคลื่นที่ ฝั่งสมุทร

    อุพเพงคาปีติ เป็นปีติมีกำลัง ทำกายให้ฟูขึ้นถึงการลอยไปในอากาศได้

    ผรณาปีติ เกิดขึ้นแล้วก็แผ่ไปสู่สรีระทั้งสิ้น เหมือนถุงที่เต็มด้วยลม

    เพราะฉะนั้น เวลาที่เกิดดีใจมาก ปลาบปลื้มปีติ ควรจะพิจารณาว่า ขณะนั้นเป็นปีติในลักษณะใด ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีปีติมากมายก็ได้ เพียงรู้สึกดีใจนิดหน่อย ลักษณะอาการของปีติก็ไม่ได้ปรากฏเหมือนอย่างนี้ นอกจากว่าเมื่อปีติมีกำลังมากขึ้น เช่น ในการอบรมเจริญสมถภาวนา หรือวิปัสสนาภาวนา ก็จะมีลักษณะของปีติที่มีกำลังเพิ่มขึ้นได้ แต่ถ้าเป็นปกติในชีวิตประจำวันที่ดีใจเล็กๆ น้อยๆ ก็ลองพิจารณาดูว่า ปีติจะถึงขั้นเหล่านี้หรือเปล่า หรือว่าเป็นเพียงความเอิบอิ่ม ความอิ่มอกอิ่มใจ

    และไม่ว่าจะเป็นปีติที่เกิดกับโลภมูลจิตซึ่งเป็นอกุศล หรือปีติที่เกิดกับ มหากุศลจิต ก็เป็นสภาพลักษณะที่มีความเอิบอิ่ม รู้สึกอิ่มอกอิ่มใจเวลาได้สิ่งที่พอใจ นั่นเป็นลักษณะของปีติที่เกิดกับโลภมูลจิตที่เป็นอกุศล แต่เวลาที่ทำกุศล บางครั้งรู้สึก เอิบอิ่มใจมาก ในขณะนั้นก็เป็นลักษณะของปีติ น้ำตาไหลหรือเปล่าขณะที่กำลัง เอิบอิ่ม ความจริงแล้ว หน้าตาน่าจะชื่นบานมากกว่าที่น้ำตาจะไหล

    เพราะฉะนั้น เรื่องของน้ำตาไหลเป็นเรื่องที่สติควรจะระลึกจริงๆ ว่า เวทนาเป็นอะไร มีความรู้สึกอื่นแทรกซ้อนหรือเปล่าจึงเกิดน้ำตาไหลขึ้น เพราะถ้าเป็นลักษณะของปีติ จะทำให้เกิดการยิ้มแย้มเบิกบานมากกว่าน้ำตาไหล ซึ่งได้เคยกล่าวถึงแล้วในเรื่องการยิ้มและการหัวเราะ ๖ อย่าง จากข้อความใน คัมภีร์สุโพธาลังการ ฉบับ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งมีข้อความว่า

    ลักษณะของการเบิกบานใจ และมีอาการแย้มยิ้มเกิดขึ้นปรากฏ จะทำให้เพิ่มความเบิกบานและการแย้มยิ้มขึ้น ตามลำดับ คือ

    สิตะ การแย้มยิ้มที่มีนัยน์ตาชื่นบาน นัยน์ตาสดชื่นแจ่มใสด้วยความดีใจ แต่ว่ายังไม่มีการที่จะยิ้มมากๆ นั่นเป็นลักษณะของการยิ้มด้วยตา เป็นสิตะ

    ต่อไป คือ หสิตะ การแย้มยิ้มนั้นเพิ่มขึ้นอีกด้วยกำลังของความดีใจ ความอิ่มใจ หรือความปลื้มใจ ทำให้เกิดการแย้มยิ้มเพียงเห็นฟันปรากฏนิดหน่อย เป็นลักษณะซึ่งเบิกบานขึ้น

    ต่อจากนั้นเป็น วิหสิตะ เมื่อความปีติที่มีกำลังขึ้นอีก ก็เป็นการหัวเราะเบาๆ ที่มีเสียงไพเราะ ซึ่งเสียงหัวเราะย่อมฟังดีกว่าเสียงร้องไห้ เพราะฉะนั้น เวลาที่มีการหัวเราะเบาๆ ก็เป็นวิหสิตะ

    เมื่อมีกำลังเพิ่มขึ้นอีกก็เป็น อุปหสิตะ การหัวเราะซึ่งมีไหล่และศีรษะหวั่นไหว เพราะฉะนั้น เมื่อเป็นการหัวเราะก็ต้องมีเสียงดังขึ้นอีก ใช่ไหม เวลาที่หัวเราะจนไหล่และศีรษะหวั่นไหว

    ถ้าเป็นการสนุกสนานมากยิ่งกว่านั้นอีกก็เป็น อวหสิตะ หัวเราะมีน้ำตาไหล บางคนยั้งไม่อยู่เลยเวลาหัวเราะ หัวเราะมากจนน้ำตาไหลจริงๆ

    ถ้ามากยิ่งกว่านั้นอีก คือ อติหสิตะ หัวเราะจนอวัยวะโยกโคลง บางคนก็ถึงกับล้มกลิ้งไปกลิ้งมา

    นั่นเป็นลักษณะอาการของปีติที่มีกำลัง ซึ่งจะต้องดูว่า ขณะที่ใครเกิดปีติ และน้ำตาไหล ขณะนั้นเป็นการหัวเราะหรือเปล่า ถ้าไม่ใช่ มีความรู้สึกอื่นผสม แฝงอยู่ จะทำให้เกิดความรู้สึกระส่ำระสาย ไม่แน่ใจ ไม่แน่ชัดว่า ขณะนั้นความรู้สึกเป็นอะไร เพราะปะปนกับสภาพของจิตอื่นๆ แต่จะสังเกตได้ว่า ถ้าขณะที่เบิกบาน ต้องเป็นปีติ และถ้ายิ้มจริงๆ ก็เป็นปีติเหมือนกัน จนกระทั่งถึงหัวเราะอาการต่างๆ

    เพราะฉะนั้น ทุกอย่างจะรู้ได้ชัดเจนเมื่อสติระลึกลักษณะสภาพของจิตในขณะนั้นตามความเป็นจริง เป็นผู้ที่ไม่หลอกตัวเอง และไม่คิดว่าจำเป็นต้องมีน้ำตาไหลในขณะที่ปีติ

    . เมื่อก่อนผมเคยบวชเป็นพระภิกษุ ตอนที่บวชนั้นก็ระลึกถึงคุณมารดาที่เคยประสบความยากลำบากมา ขณะที่ระลึกน้ำตาก็ไหลออกมา ไม่ทราบว่าขณะนั้นเป็นกุศลจิตหรือเปล่า เป็นปีติหรือเปล่าไม่ทราบ

    ท่านอาจารย์ เป็นเรื่องไม่รู้ แต่สามารถรู้ได้โดยเวทนา ความรู้สึกว่า ถ้าไม่ระลึกถึงความทุกข์ยากของบิดามารดา น้ำตาจะไหลไหม

    . ไม่ไหล

    ท่านอาจารย์ เวลาที่ระลึกถึงพระคุณอื่นๆ โดยที่ไม่ระลึกถึงความทุกข์ยากของท่าน น้ำตาก็ไม่ไหล แต่เมื่อระลึกถึงคุณ พร้อมกันนั้นก็ระลึกถึงความทุกข์ยากด้วย จึงเป็นเหตุปัจจัยให้น้ำตาไหล

    . ครั้งหนึ่งที่ผมไปจังหวัดนนท์ มีผู้หญิงคนหนึ่งถวายปัจจัยมา แต่ตา ทั้งสองข้างเขามองไม่ค่อยเห็น จวนจะบอด ผมรู้สึกเมตตาสงสาร เมื่อกลับมาถึงกุฏิ ก็น้ำตาไหล ไม่ทราบว่าเป็นอะไร

    ท่านอาจารย์ เพราะระลึกถึงตาที่บอดและเกิดความสงสารขึ้น เพราะฉะนั้น เป็นเรื่องที่สติต้องระลึกจริงๆ จึงจะรู้ว่า ถ้าเป็นลักษณะของปีติ เป็นความอิ่มเอิบ จะไม่มี ความเศร้าโศกเสียใจ จะไม่มีน้ำตาไหล

    ถ้าจะหัวเราะจนกระทั่งน้ำตาไหล นั่นก็เป็นอาการของความเบิกบานขั้นหนึ่งที่ต้องหัวเราะและน้ำตาจึงไหล แต่โดยมากจะเป็นการผสม คือ ระลึกถึงพระคุณและระลึกถึงความทุกข์ยาก ระลึกถึงความเมตตาที่ผู้นั้นได้ถวายปัจจัย แต่ก็ระลึกถึงการ ตาบอดของเขาด้วย

    . ผมเคยระลึกถึงพระคุณ น้ำตาไม่ไหล แต่คิดว่าจะช่วยเหลือเขา น้ำตาจึงไหล

    ­สุ. ก็แล้วแต่ขณะจิต ซึ่งไม่ต้องฝืน แต่ถ้าน้ำตาจะไม่ไหล จะดีกว่าไหม เพราะฉะนั้น อย่าพยายามให้น้ำตาไหล อย่าคิดว่าต้องน้ำตาไหล

    . น้ำตาไหลออกมาเอง

    ท่านอาจารย์ ถูก แต่บางคนไม่ใช่อย่างนั้น บางคนอยากน้ำตาไหล อย่างที่ท่านผู้ฟังท่านหนึ่งกล่าวว่า ผู้ใหญ่ในสมัยก่อนบอกว่า ถ้าทำกุศลปลื้มมากจะปีติจนน้ำตาไหล แต่ท่านผู้นั้นคงไม่ได้สอบถามความละเอียดว่า คิดถึงเรื่องอื่นด้วยหรือเปล่าในขณะที่ปีติ เพราะเป็นขณะที่สลับกับอกุศลจิตอื่นๆ ได้ ถ้าไม่คิดถึงเลย ก็จะมีแต่ลักษณะของความเอิบอิ่ม ความอิ่มอกอิ่มใจ หน้าตาก็ชื่นบานแจ่มใส แต่ถ้าคิดถึงเรื่องที่จะทำให้น้ำตาไหล ก็สลับกันไป

    . หมายความว่า จิตมี ๒ ขณะ คือ ขณะเอิบอิ่มกับขณะที่น้ำตาไหล ซึ่งรวดเร็วมากจนแยกไม่ออกว่า ความรู้สึกไหนเกิดก่อนกัน

    ท่านอาจารย์ ใช่ เพราะฉะนั้น สติต้องระลึกลักษณะของเวทนา ความรู้สึก จึงจะทราบว่า ความรู้สึกขณะนั้นเป็นกุศลหรือเป็นอกุศล แม้ว่าจะเกิดสลับกันอย่างรวดเร็ว ก็สามารถรู้ได้ และรู้ได้แม้การเสแสร้งหรือมารยา ซึ่งอาจจะมีแทรกอยู่ในขณะนั้น

    บางคนอาจจะเป็นอุปนิสัยหรือเป็นนิสัยจริงๆ ที่ทำจนชิน และไม่รู้ว่า เพราะอะไร ใช่ไหม แต่ถ้ารู้ ก็จะเลิก จะละได้ และจะรู้ว่า อกุศลทั้งหลายเป็นสิ่งที่ ไม่ควรให้เกิดบ่อยๆ ลักษณะของความโศกเศร้า ความเสียใจ เป็นอกุศลธรรมที่เป็น โทสมูลจิต ซึ่งไม่ควรจะเกิดบ่อยๆ

    ทุกอย่างจะรู้ได้ชัดเจน เมื่อสติระลึกลักษณะของสภาพของจิตในขณะนั้น ตามความเป็นจริง จะเป็นผู้ที่ไม่หลอกตัวเอง และไม่คิดว่าจำเป็นต้องมีน้ำตาไหลในขณะที่ปีติ เพราะถ้าเป็นปีติที่มีกำลังขึ้น แต่ไม่ใช่เป็นผู้ที่อบรมเจริญภาวนา ปีติจะไม่ถึงขั้นที่เมื่อมีกำลังแล้วจะทำให้ปัสสัทธิ ๒ อย่าง คือ กายปัสสัทธิและจิตตปัสสัทธิบริบูรณ์ จะเพิ่มความสงบของจิตด้วยกำลังของปีติขึ้น

    เพราะฉะนั้น ปีติที่ชาวโลกมี และยิ้มแย้มแจ่มใสทุกๆ วัน นั่นไม่ใช่ปีติในขณะที่จิตสงบ เพราะถ้าเป็นปีติที่มีกำลังและจิตสงบ จะทำให้กายปัสสัทธิและจิตตปัสสัทธิบริบูรณ์ และเมื่อปัสสัทธิทั้ง ๒ มีกำลัง


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 20
    24 ต.ค. 2566

    ซีดีแนะนำ