ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1892
ตอนที่ ๑๘๙๒
สนทนาธรรม ที่ โรงแรมเอเชี่ยน หาดใหญ่ จ.สงขลา
วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
ท่านอาจารย์ ก็สามารถที่จะทำให้คิดถึงสิ่งนั้นโดยความเป็นอนัตตาว่าไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างเนี่ยค่ะ ปัญญาที่เกิดจากการฟังสำเร็จแล้วก็ยังมีปัญญาที่เกิดจากการไตร่ตรองเข้าใจเพิ่มขึ้นละเอียดขึ้นด้วยก็ได้ เช่นขณะนี้นะคะ ได้ยินว่ามีสิ่งที่ปรากฏให้เห็น เมื่อไหร่จะคิดอย่างนี้อีกสักที ถามหน่อย เมื่อไหร่คะ ต่อให้เห็นอีกนานสักเท่าไรเมื่อไหร่เลยคะเป็นแต่เพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ค่อยๆ ชินค่อยๆ ชำนาญ จนในที่สุดก็สามารถที่จะเข้าใจสิ่งที่ปรากฏทันทีที่เห็น เพราะฉะนั้น ปัญญาจึงมีหลายระดับนะคะ ตั้งแต่ขั้นฟัง ขั้นฟังแล้วก็ไม่ลืม และคิดไตร่ตรองพิจารณาแล้วก็ยังจำเป็นตามลำดับด้วยได้จะตามลำดับหรือไม่ลำดับก็เป็นความเข้าใจ แต่บางครั้งความเข้าใจนั้นก็จัดลำดับด้วยก็ได้ใช่ไหมคะ แล้วแต่ก็เป็นเรื่องของธรรมทั้งนั้นซึ่งทำให้ผู้นั้นนะคะ อยู่กับธรรม แทนที่จะอยู่กับอกุศล เพราะฉะนั้น ก็สามารถที่จะไม่ลืมธรรมได้เพราะว่าคิดถึงบ่อยๆ จนแห้งสามารถที่จะเข้าใจความจริง
เพราะฉะนั้น ที่พูดถึงในระยะนี้ที่มูลนิธิฯ ก็จะมี ๓ คำ คือ อุปนิสสยโคจร ชื่อฟังดูใหม่มากเลย แต่ถ้าเราศึกษาธรรม เราจะรู้ได้ว่าคำเดียวมีหลายชื่อได้อย่างสิ่งที่กำลังปรากฏเนี่ย ถ้ามีถ้ารู้ก็ต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ สิ่งที่ถูกรู้นะคะ ภาษาบาลีใช้คำว่ าอารัมมณะหรือ อาลัมพนะ เราก็ตัดสั้นๆ ว่าเป็นอารมณ์คำหนึ่ง อีกคำหนึ่งคือโคจรที่ไปของจิต จิตไม่ไปไหนเลย นอกจากไปสู่สิ่งที่กำลังปรากฏทางหนึ่งทางใด เพราะว่าจิตเป็นธาตุรู้สิ่งนั้น เพราะฉะนั้น ถ้าเราสนใจเรื่องหนึ่งเรื่องใดนะคะ ฟังธรรมบ่อยๆ ฟังแล้วก็ บางท่านก็บอกว่าท่านฟังหกโมงเช้า คิดว่ามีแต่หกโมงเช้าแต่พอสามทุ่มนึกอยากฟังธรรมลองเปิดดูซิ ก็ไปพบรายการสามทุ่ม ใช่ไหมคะนี่ก็เป็นเพราะเหตุว่าฟังแล้วไม่ลืมที่จะได้ฟังอีกนะคะ แล้วจากหกโมงเช้า แล้วก็ฟังอีก ตอนกลางคืนสามทุ่มเป็นอุปนิสสยโคจร เริ่มชินกับสิ่งที่ได้ยินได้ฟังเหมือนเพื่อนเนี่ยคะ แรกพบกันก็เพียงแต่รู้จักหน้าพบกันบ่อยเข้านานเข้าเป็นเพื่อนสนิท
เพราะฉะนั้น ธรรมจะเป็นเพื่อนสนิท ได้แทนที่จะเป็นโลภะ เพื่อนเก่า ซึ่งไม่ได้ประโยชน์อะไรเลยกับเพื่อนใหม่ซึ่งเป็นกัลยาณมิตรที่เป็นประโยชน์ เพราะฉะนั้นการคุ้นเคยกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดบ่อยๆ ที่เราใช้คำว่าอุปนิสัยอย่างเวลาไปโรงเรียน ครูก็จะบอกว่าเด็กคนนี้มีอุปนิสัยยังไง อีกคนหนึ่งมีอุปนิสัยยังไงก็แสดงความหลากหลายของการสะสมมาต่างๆ กัน เพราะฉะนั้น อุปนิสสย อุปนิสัยในการที่ฟังธรรมนะคะ ก็จะอารักขาเวลาที่อกุศลจิต จะเกิดก็คิดถึงธรรม เพราะฉะนั้น ขณะนั้นไม่เป็นอกุศล อย่างคนที่โกรธบ่อยๆ เริ่มเห็นโทษ ของความโกรธทำร้ายตัวเองเท่านั้นไม่ได้ทำร้ายคนอื่นคิดว่าทำร้ายคนอื่นแต่ความจริงก่อนจะถึงคนอื่นทำร้ายตัวเองแค่ไหน เพราะฉะนั้น ถ้าเข้าใจธรรมขึ้น เกิดมาชาติเดียว จะไม่ชอบคนโน้นไม่ชอบคนนี้มีประโยชน์อะไรคะ กับการที่เป็นเพื่อนพร้อมที่จะช่วยเหลือมีความหวังดีเพราะว่า แต่ละคนมาจากชาติก่อน แต่ไม่รู้จักเลยว่าชาติก่อนเป็นใครอยู่ที่ไหนทำอะไรไว้บ้าง แต่กุศล และอกุศลในชาติก่อน ก็สืบต่อมาเป็นอุปนิสสยะอุปนิสัยในชาตินี้ซึ่งเคยทำมาแล้วก็ทำให้มีอัธยาศัยต่างๆ กัน
เพราะฉะนั้น จากโลกนี้ไป ก็จะเป็นคนใหม่ ดีไหมคะ พ้นคนเก่าหรือว่าคนเก่าก็ดีแล้วนี่นาจะไปเกิดเป็นอะไรอีกก็ไม่รู้ใช่ไหมคะ ก็แล้วแต่ค่ะแต่ว่าความดีความชั่วไม่หายไปไหนเลย แต่ละครั้งที่เกิดแล้วดับแล้วก็สะสมสืบต่ออยู่ในจิต เพราะฉะนั้น คิดถึงภาพคนใหม่ดีๆ ไปแน่ๆ มีคนใหม่แน่ๆ มาจากไหนมาจากชาตินี้ ถ้าทำดีไว้ชาตินี้ชาติหน้าคนใหม่นั้นแสนดีเลยใช่ไหมคะเป็นคนที่น่ารักช่วยเหลือคนอื่นมีความเป็นมิตรมีทุกสิ่งทุกอย่างมีการให้อภัยมีการที่เรารู้ว่าคนนี้เป็นคนดี เพราะเค้าสะสมมาดี นี่คือจากอุปนิสสยโคจรเสพคุ้นบ่อยๆ จนกระทั่งสามารถที่จะอารักขาความชั่วไม่ทำ ทำไม่ได้ บางคนนะคะ โกหกไม่เป็น พูดแต่ความจริงอารักขา และไม่ให้พูดคำที่ไม่จริง เพราะฉะนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างนะคะ ก็จะไม่พ้นไปจากธรรมที่ทรงแสดง แม้ว่าภาษาหรือคำอาจจะยาก
อุปนิสสยะโคจร โคจรเป็นอีกคำหนึ่งของอารมณ์ที่จิตรู้บ่อยๆ ฟังบ่อยๆ คิดบ่อยๆ นึกถึงบ่อยๆ เพราะฉะนั้น ขณะนั้นก็เป็นอุปนิสัย อยากมีอุปนิสัยอะไรคะไม่รู้จักธรรมหรือมีอุปนิสัยที่เข้าใจธรรมก็ต้องอาศัยเหตุคือถ้ามีอุปนิสัยที่จะฟังเข้าใจได้ก็คือฟังบ่อยๆ ค่อยๆ เข้าใจขึ้นจะมาถามว่าแล้วทำยังไงโน่นถึงจะเจริญนี้ถึงจะเจริญทำยังไงกิเลสถึงจะหมดไปไม่มีอีก ไม่มีความเข้าใจ เพราะฉะนั้น เป็นเรานะคะ ยังไม่ได้เข้าใจแม้ธรรมซึ่งไม่ใช่เราไม่ใช่ใครเลยทั้งสิ้น จนกระทั่งถึงอุปนิพันธโคจร ประโยชน์จริงๆ ของการฟังไม่ใช่เพียงเข้าใจเก็บไว้เท่านั้นนะคะ หรือไม่ใช่เพียงประพฤติปฏิบัติตามเพราะอารักขาให้เป็นกุศลซึ่งก่อนนี้อาจจะเป็นอกุศลไม่เคยช่วยใครเลย หน้าที่ของเขาเราไม่เกี่ยวใช่ไหมคะอย่างนั้นหรือคะ หรือว่าเขาเหนื่อยหรือว่าเราทำได้เราช่วยเค้าดีกว่าหรืออะไรอย่างนี้นะคะ ก็เริ่มสะสมอุปนิสัยที่น่ารักเป็นคนดีเป็นมิตรเป็นเพื่อนดีจริงๆ เกื้อกูลทุกโอกาสเพราะรู้ว่าขณะใดที่กุศลไม่เกิดขณะนั้นอกุศลเกิด น่ากลัวไหมคะค่อยๆ สะสมไปทีละเล็กที่ละน้อยคิดถึงคนข้างหน้าก็แล้วกัน คนใหม่จากชาตินี้นะคะ มาจากชาตินี้จริงๆ เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นได้นะคะ ว่าฟังบ่อยๆ เป็นอุปนิสัยอารักขาให้ทางฝ่ายกุศลเกิดขึ้น ยังไม่พอ เพราะว่าพระธรรมที่ทรงแสดงเพื่อเห็นถูกเข้าใจถูกในสิ่งที่มีจริงๆ เกิดจริงๆ ดับจริงๆ ไม่ใช่เราเลยจริงๆ ซักขณะเดียว เพราะฉะนั้น ขณะนั้นเป็นอุปนิพพันธะ ความเข้าใจอันนี้ค่ะ จะผูกจิตไว้ ที่อารมณ์ที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้ เพื่อเข้าใจในขณะที่กำลังฟังหรือแม้ในขณะที่ไม่ได้ฟังนะคะ แต่ก็รู้ว่าความจริงอยู่ที่ไหนความจริงคือเห็นแต่ยังไม่รู้แต่ฟังมามากค่อยๆ เข้าใจขึ้นความจริงอยู่ที่ไหนขณะที่ได้ยินก็คือได้ยินนั่นแหละจริง เสียงก็จริง
เพราะฉะนั้น การรู้ความจริงก็คือว่าไม่ใช่ขณะเอง เพราะอะไรคะทุกสิ่งทุกอย่างดับแล้วหมดแล้วไม่กลับมาอีกเฉพาะสิ่งที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้แสนสั้น ถ้าไม่สะสมความเข้าใจก็หมดไปอีก เมื่อกี้นี้ตลอดเวลา ที่ไม่ได้เข้าใจธรรมธรรมก็เกิดแล้วดับแล้ว กับอวิชาซึ่งไม่รู้แต่ขณะใดที่กำลังเริ่มเข้าใจ ขณะนี้ธรรมก็ปรากฏกับความเข้าใจขึ้นไม่ต้องใช้คำว่าสติปัฎฐานไม่ต้องใช้คำว่ากายานุปัสสนาสติปัฐานไม่ต้องใช้คำว่าวิปัสสนาเพราะเหตุว่าเข้าใจในภาษาไทยความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นจนกระทั่งสามารถรู้ความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้ นี่คือได้รับประโยชน์ได้รับมรดกจากพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะว่าให้ตั้งแต่ทรัพย์เล็กๆ น้อยๆ นะคะ ที่จะทำให้ถึงทรัพย์ใหญ่สิ่งที่มีค่าเหนือสิ่งอื่นใดในสากลจักรวาลคือการรู้ความจริง เพราะถูกลวงมาตลอดไม่เคยรู้ความจริงเลยแต่ความจริงนี้หาซื้อไม่ได้ มูลค่าไม่มีใครไปประมูลนะคะ ไม่มีทางเลยค่ะ ต้องเป็นการสะสมปัญญาทีละเล็กทีละน้อยซึ่งเป็นอริยทรัพย์ เพราะฉะนั้น สิ่งที่มีค่ามากๆ เดี๋ยวนี้มีปัญญาพอซื้อไหมคะ ถ้าจะกล่าวโดยวัตถุ นะคะ แพงมากประมาณค่าไม่ได้เลยมีเงินพอไหมไม่มีแต่ปัญญาที่รู้ความจริงยิ่งกว่านั้นอีกยิ่งกับของที่สามารถซื้อได้ด้วยเงิน ต้องเป็นการสะสมความเห็นถูกความเข้าใจถูก ทีละเล็กทีละน้อย และก็จะรู้ว่าความเข้าใจเนี่ยก็ไม่ต้องถามใคร เพราะเข้าใจหมายความถึงเห็นถูกตามความเป็นจริงสิ่งที่มีที่ได้ฟัง เปลี่ยนแปลงไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น ก็เหมือนการตั้งต้นนะคะ เหมือนเมล็ดพืชซึ่งรอวันที่จะเติบโตเมื่อมีน้ำมีปุ๋ยมีอะไรที่จะทำให้อากาศดีๆ นะคะ ก็จะทำให้มีกิ่งมีก้านมีใบ มีดอกข้างหน้าได้แต่ต้องมีเมล็ดพืชคือเริ่มมีศรัทธา ที่จะเห็นประโยชน์จริงๆ ว่าตลอดชีวิตนี้ ที่พึ่งอันแท้จริงคืออะไร มีเงินมากมายมหาศาลเป็นทุกข์ไหมคะ เอาเงินมาซื้อทุกข์นั้นให้หมดไปได้ไหม ไม่ได้ เพราะฉะนั้น ก็เห็นได้เลยคะเมื่อไหร่มีปัญญาเมื่อนั้นไม่มีทุกข์ ไม่เป็นทุกข์เพราะปัญญาไม่ทำให้เกิดความทุกข์ใดๆ เลย
ผู้ฟัง ดิฉันเป็นคนช่างสังเกต เป็นคนพูดชัดเป็นคนที่รับรู้ไว ใจของเรานี่มันกวัดแกว่งไปตามสิ่งที่เราปรารถนาเราต้องการแล้วเวลาโกรธก็ชัดเจนอะไรอย่างเนี้ย ก็อาจจะทำร้ายเบียดเบียนคนอื่นได้ แต่พอฟังธรรมแล้วเนี่ยก็ค่อยๆ ดีขึ้นช่วยได้มากขึ้น
ท่านอาจารย์ ก็เข้าใจสิ่งที่ได้ฟังใช่ไหมคะอารักขาเพราะเหตุว่าอุปนิสสยโคจร อารักขโคจรแล้วก็อุปนิพันธโคจรก็เป็นเรื่องของสิ่งที่แวดล้อมทั้งหมดไม่ว่าทางตา หู จมูก ลิ้นกาย ใจ และคำที่กล่าวที่ถูกต้องเพราะขณะนี้นะคะ ที่เสื่อมที่สุดคือคุณธรรม ไม่ใช่ว่าเจริญเลยนะคะ เพราะเหตุว่าสภาพของสิ่งแวดล้อมหรือว่าวัตถุต่างๆ มาจากไหน พฤติกรรมต่างๆ
เพราะฉะนั้น เราต้องมีความเข้าใจอย่างละเอียดจริงๆ ทุกคำที่ใช้ในทางโลกที่เข้าใจว่าไม่ใช่ธรรมความจริงเป็นธรรมทั้งหมดแม้แต่ประเทศชาติหรือว่าชาติศาสนาพระมหากษัตริย์สถาบันอะไรต่างๆ ที่เราใช้ทั้งหมด ก็คือสิ่งที่มีจริง ตามระดับขั้นซึ่งทั้งหมดเนี่ยค่ะ ถ้าขาดคุณธรรม คือศาสนาหลักของการที่จะดำเนินชีวิตนะคะ ไม่มีอะไรเจริญแน่ ต้องเสื่อม และก็กำลังเสื่อมด้วย เพราะฉะนั้น ที่จะต้องพูดจริงๆ นะคะ ให้มีขึ้นมากจริงๆ ฟื้นฟูจริงๆ คือคุณธรรมที่จะมาได้ก็จากความเข้าใจความจริงคือพระธรรมคำสอนที่กล่าวถึงความจริง มิฉะนั้นแล้วก็ไม่มีทางเลยค่ะถ้าไม่รู้จักความจริงว่าโลภ โลภะคืออะไร โทสะคืออะไร โมหะคืออะไรเป็นฝ่ายดีหรือฝ่ายไม่ดีเพราะเหตุว่าส่วนใหญ่นะคะ คนไม่รู้จักโลภะ คิดว่าดี มีมากๆ ยิ่งดีใช่ไหมคะแต่ว่าความจริงตรงกันข้าม ต่อไปนี้แค่คำเดียวที่เราเข้าใจจริงๆ นะคะ ไม่ต้องคิดถึงคำอื่นเข้าใจสิ่งที่กำลังฟัง ยังไม่ต้องคิดถึงอย่างอื่นเลย เพราะเหตุว่าขณะที่กำลังฟังเรื่องไหนเข้าใจเรื่องนั้น แน่ใจจริงๆ ว่าเข้าใจจะไม่สับสน แต่ขณะที่กำลังฟังแล้วคิดถึงเรื่องอื่นจะไม่เข้าใจ เพราะฉะนั้น ต้องตั้งต้นใหม่ นะคะ ฟังแล้วก็เข้าใจสิ่งที่ได้ฟัง เมื่อเป็นความจริงก็ไม่เปลี่ยน เพราะว่าเป็นความจริงแล้วจะเป็นอื่นไม่ได้ เพราะฉะนั้น ทีละคำดีมั้ยคะ จะเอาคำไหนดีคะ
ผู้ฟัง ก็ยังยืนอยู่ที่หูครับ
ท่านอาจารย์ ค่ะ จับได้ใช่ไหมคะ
ผู้ฟัง จับได้
ท่านอาจารย์ ค่ะ เมื่อกี้นี้อะไรจับอะไร
ผู้ฟัง มือจับ
ท่านอาจารย์ จับอะไร
ผู้ฟัง จับหู
ท่านอาจารย์ ค่ะ มีหูไหมคะ หูรู้ไหมคะ รู้อะไรไหม
ผู้ฟัง หูไม่รู้ครับ
ท่านอาจารย์ หูไม่รู้ และหูถ้าไม่เรียกว่าหู ลักษณะที่ปรากฏจริงๆ เวลากระทบอะไรปรากฏ ยังจับอยู่ก็ได้ตรงหูนั่นแหละอะไรปรากฏ มีอะไรหรือเปล่า
ผู้ฟัง อ้อมีอ่อนครับ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เริ่มเข้าใจว่าอ่อนมีจริงๆ เห็นอ่อนใหม่
ผู้ฟัง ไม่เห็นครับ
ท่านอาจารย์ แล้วอ่อนรู้อะไรได้ไหม
ผู้ฟัง อ่อนไม่รู้อะไร
ท่านอาจารย์ อ่อนไม่รู้นะคะ ลองคลำหูให้ทั่วหูซิคะ มีอะไรค่ะ
ผู้ฟัง มีอ่อน มีแข็ง
ท่านอาจารย์ ค่ะ รู้อะไรไหมคะ
ผู้ฟัง ไม่รู้ครับ
ท่านอาจารย์ เนี่ยค่ะคือสิ่งที่เราจะต้องเข้าใจเข้าใจไม่ใช่จำนะคะ เข้าใจจริงๆ ว่าที่เราเรียกว่าหูเนี่ย เวลากระทบสัมผัสแค่อ่อนแข็ง แต่เราเรียกว่าหู ใช่ไหมคะ ไปเรียกรูปร่างสัณฐานนั้นว่าหู แต่ความจริงก็รูปร่างสัณฐานของสิ่งที่เมื่อกระทบสัมผัสแล้วก็อ่อนหรือแข็งซึ่งไม่รู้อะไร เพราะฉะนั้น ต่อไปนี้นะคะ หูได้ยินหรือเปล่า
ผู้ฟัง หูไม่ได้ยินครับ
ท่านอาจารย์ แน่ใจนะคะ
ผู้ฟัง อ่อนแข็ง ไม่ใช่เรา
ท่านอาจารย์ รูปร่างอย่างนี้เรียกว่าหูไม่ใช่เรียกว่าตา แต่รู้อะไรรึเปล่า หูรู้อะไรหรือเปล่า
ผู้ฟัง ถ้าพูดถึงตามรูปหูที่อ่อนแข่งนี่ไม่รู้
ท่านอาจารย์ แน่ใจนะคะ
ผู้ฟัง เพราะว่ามันรู้อ่อนรู้แข็ง
ท่านอาจารย์ หูรู้ว่าอ่อนหรือแข็งคะ หรือว่าหูอ่อนหรือแข็งสองอย่างไม่เหมือนกันค่ะ กว่าจะรู้ว่าสภาพรู้ธาตุรู้เนี่ย ไม่ปรากฏรูปร่างสัณฐานเลยแต่รู้ทุกอย่างที่ปรากฏ เพราะฉันยากไหมคะทั้งๆ ที่มีธาตุรู้ก็ไม่รู้ว่านั่นแหละเป็นธาตุรู้ ทั้งๆ ที่มีรูปที่ไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลย ก็ไม่รู้แล้วก็สับสนใช่ไหมคะแต่ถ้ามีการฟังค่อยๆ พิจารณาค่อยๆ เข้าใจไม่ต้องไปเอาอะไรมากมายเลยไม่หวังอะไรเลยทั้งสิ้นขอเพียงเข้าใจความจริงของสิ่งที่มีจริง
มีท่านที่ฟังธรรมท่านหนึ่งนะคะ ท่านเสียชีวิตเพราะมะเร็งแต่ก่อนที่ท่านจะเสียชีวิตนะคะ ก็ไปเยี่ยมท่านก็ ขอขอมีชีวิตต่อไปอีกสักหน่อยนึงเถอะเผื่อเข้าใจธรรม ไม่ต้องการอะไรอีกแล้วค่ะท่านก็ฟังมานานนะคะ แต่ให้เห็นประโยชน์ว่าฟังเพื่อเข้าใจ
เพราะฉะนั้น มีชีวิตอยู่เพื่อเข้าใจธรรม สิ่งที่ได้ฟังแล้วฟังอีกฟังแล้วฟังอีกนะคะ ขอให้ได้เข้าใจสิ่งที่ได้ฟัง เพราะฉะนั้นต้องเป็นผู้ที่ละเอียดนะคะ ไม่ใช่จำแต่พิสูจน์ฟัง และไตร่ตรอง และก็มีสิ่งที่พร้อมที่จะให้รู้ความจริงด้วย เราพูดถึงธรรมซึ่งเกิด เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดแต่ไม่สามารถจะรู้อะไรได้เช่นเกิดเป็นแข็งไม่ใช่เกิดแล้วเป็นเสียงใช่ไหมคะ แสดงว่าแข็งเนี่ยเกิดเป็นแข็ง แต่ไม่รู้อะไรเลยใครจะกระทบสัมผัสใครจะกระแทกใครจะตีแข็งไม่รู้สึกอะไรเลย จนกระทั่งแข็งแตกละเอียดอย่างแก้วแข็งก็ไม่รู้อะไร เพราะฉะนั้น ให้รู้ว่านะคะ ตามความเป็นจริงเนี่ยที่เรารวมๆ กันว่าเป็นเราเนี่ย ก็จะมีธรรมสองอย่าง คือสภาพธรรมที่ไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลยทั้งสิ้น กับสภาพธรรมที่เกิดแล้วต้องรู้ไม่รู้ไม่ได้ คนที่ตายแล้วนะคะ ก็มีรูปถ้าเพิ่งตายก็เหมือนเดิมเลย หูก็ยังมีอยู่เหมือนเดิม เท้ามีเหมือนเดิมแต่ไม่สามารถจะรู้อะไรได้เพราะเหตุว่าไม่มีธาตุรู้ ธาตุรู้เกิดที่รูปนั้นระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่แต่ธาตุที่รู้ไม่ใช่สิ่งที่ไม่รู้อะไรก็มีสองอย่างนะคะ มีธาตุรู้ซึ่งไม่ใช่รูปร่างสัณฐานไม่มีรูปร่างใดๆ เลยทั้งสิ้นเกิดแล้วมองไม่เห็นเลยแต่เกิดแล้วรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ อย่างเวลานี้นะคะ ได้ยินเกิดแล้วค่ะ มีเสียงปรากฏเพราะ ธาตุชนิดหนึ่งเกิดขึ้นได้ยินที่ใช้คำว่าได้ยิน คือรู้เสียงที่กำลังปรากฏรู้ลักษณะของเสียงเสียงเหมือนกันไหมคะ
ผู้ฟัง ไม่เหมือนกันครับ
ท่านอาจารย์ ไม่เหมือนเลยค่ะแค่โทรศัพท์ก็รู้แล้วว่าใครพูด ไม่ต้องเห็นหน้าเลยยังจำได้ และความจำนี้ก็จำเก่งนะคะ เห็นข้างหลังยังรู้ว่าใคร เก่งมากใช่ไหมคะ เพราะฉะนั้น แสดงความจริงในชีวิตประจำวันว่าสภาพธรรมะแต่ละอย่างเนี่ยมีหน้าที่เฉพาะอย่างเฉพาะอย่างสภาพที่จำมีไหมคะ
ผู้ฟัง มีครับ
ท่านอาจารย์ มองเห็นไหมคะ
ผู้ฟัง ไม่เห็นครับ
ท่านอาจารย์ ไม่เห็นแต่เกิดขึ้นจำ ไม่เกิดขึ้นโกรธไม่เกิดขึ้นสุขทุกข์ แต่เกิดขึ้นเมื่อไหร่จำทันที จำอะไร จำสิ่งที่ปรากฏเพราะจิตกำลังรู้สิ่งนั้น เพราะฉะนั้น สภาพของจิต และเจตสิกซึ่งเป็นธาตุรู้สองอย่างนะคะ อาศัยกันเกิดขึ้น และก็ต่างก็มีกิจหน้าที่เฉพาะของตนของตน จิตนี่สามารถรู้ได้ทุกอย่างไม่เว้นเลยแต่ไม่สุขไม่ทุกข์ไม่จำไม่อะไรเลยเพียงเกิดขึ้นรู้สิ่งนั้น และเจตสิกที่เกิดกับจิตนะคะ ก็ทำหน้าที่ของเจตสิกนั้นๆ เช่นเจตสิกหนึ่งมีหน้าที่จำไม่ใช่เรา กำลังจำเดี๋ยวนี้ค่ะ เจตสิกเกิดกับจิต เพราะฉะนั้น จิตเกิดไม่เคยขาดเลยตั้งแต่เกิดจนตายไม่ว่างไม่เว้นแล้วก็มีเจตสิกที่เกิดพร้อมกับจิตดับพร้อมจิตไม่ว่างไม่เว้นต่างก็ทำหน้าที่นะคะ เป็นภาระไหมคะ กว่าจะเข้าใจคำว่าภาระในพระสูตร ก็ต้องรู้ว่าเป็นสภาพธรรมที่เกิดแล้วต้องเป็นอย่างนั้นต้องทำอย่างนั้นไม่จำไม่ได้ เกิดเป็นธาตุที่จำก็จำ และก็ดับ เกิดเป็นธาตุที่รู้สึกสุขทุกข์เกิดขึ้นแล้วก็ดับ เกิดเป็นธาตุที่กำลังรู้สิ่งที่ปรากฏทางตาที่ปรากฏให้เห็นได้แล้วก็ดับ
เพราะฉะนั้น ทั้งหมดที่ว่าเป็นธรรมก็คือว่าเป็นสิ่งที่มีจริงนะคะ ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาแลกเปลี่ยนสับเปลี่ยนกันไม่ได้เลยทั้งสิ้นค่ะ เพราะฉะนั้น ที่ว่าเป็นคนเป็นสัตว์เป็นสิ่งที่มีชีวิตไม่ได้มีแต่เฉพาะรูปนะคะ แต่มีธาตุรู้คือ สภาพที่เป็นจิต และเจตสิกเกิดที่รูปนั้น เกิดนอกรูปนั้นไม่ได้เลยต่อไปนะคะ ก็จะรู้โดยละเอียดว่าจิตไหนเกิดที่รูปไหน ทั้งจิตเจตสิกดับเร็วมากแต่ปัญญาเท่านั้นที่สามารถจะรู้ความจริงได้จากการที่ค่อยๆ ฟังตอนนี้หูได้ยินอะไรรึเปล่าคะ
ผู้ฟัง ไม่ได้ยินครับ
ท่านอาจารย์ ได้ยินไม่ได้เลยนะคะ เพราะกระทบสัมผัสแล้วก็แข็ง เพราะฉะนั้น รูปทั้งหมดตั้งแต่ศีรษะจรดเท้าเนี่ยเป็นเราหรือเปล่า ไม่รู้อะไรเลย แต่เวลาที่มีธาตุรู้เกิดขึ้นนะคะ รู้สิ่งที่ปรากฏที่เย็น ที่ร้อน ที่อ่อน ที่แข็ง ที่กายที่ตัวเนี่ยว่าเป็นเรา แต่เย็นร้อนอ่อนแข็งนอกตัวไม่ใช่เรา เป็นดอกไม้เป็นต้นไม้เป็นรองเท้าเป็นเสื้อผ้าเป็นอาหารแต่รูปแข็ง จานก็แข็ง แต่จานก็ไม่ใช่เรา แต่ที่ตัวนี้นะคะ ยึดถือว่าเป็นเรา และก็เข้าใจว่าเป็นร่างกายของเรา ร่างกายของคนอื่นก็เป็นร่างกายของคนอื่น ไม่ใช่โต๊ะไม่ใช่เก้าอี้ เพราะฉะนั้น ก็แสดงให้เห็นความหลากหลายของรูปมาก รูปที่มีชีวิตต่างกับรูปที่ไม่มีชีวิตไม่ใช่นึกเอาเอง แต่ว่ารูปนั้นเกิดจากจิต หรือว่าเกิดจากกรรม หรือว่าเกิดจากอุตุ ความเย็นความร้อนหรือว่าเกิดจากอาหารที่รับประทานเข้าไป ไม่งั้นเราไม่ต้องรับประทานอาหาร แต่รูปอยู่ไม่ได้ ถ้ามีแต่เพียงรูปที่เกิดจากกรรมเช่นตาจักขุปสาทมองไม่เห็นเลยนะคะ แล้วปกติก็คืออยู่กลางตา เกิดดับอยู่ตรงนั้นนะคะและสิ่งที่ปรากฏให้เห็นกว้างใหญ่เป็นสิ่งที่กระทบตาได้ แต่ตาก็ไม่เห็น สิ่งที่กระทบตาก็ไม่เห็น แต่เป็นปัจจัยให้ธาตุรู้เกิดขึ้นเห็นเป็นจิตชนิดหนึ่ง ภาษาบาลีในการใช้คำว่าจักขุ วิญญาณ ภาษาไทยค่ะจับคำว่าวิญญาณมาแล้ว แต่ก็คือจิตประเภทหนึ่งนะคะ แต่ มีจิตมากมายหลายประเภท
เพราะฉะนั้น จะรู้ได้ยังไงว่าหมายความถึงจิตไหนก็ต้องใช้คำที่สามารถให้รู้ว่าเจาะจงหมายความถึงจิตประเภทนั้นที่เกิดเพราะอาศัยตา จึงเป็นจักขุวิญญาณ จิตที่รู้โดยต้องอาศัยตาเกิดขึ้นเห็นนั่นเอง ถ้าไม่มีตาจิตขณะนี้ จะเกิดขึ้นเห็นไม่ได้เลย ไม่มีเสียงจิตที่จะเกิดขึ้นได้ยินก็เกิดไม่ได้ใช่ไหมคะแต่เพราะเสียงกระทบกับโสตปสาทรูป เสียงไม่รู้อะไร โสตปสาทรูปก็ไม่รู้อะไร แต่เป็นปัจจัยให้จิต เกิดขึ้นได้ยินจึงบัญญัติเรียกจิตนั้นว่าโสตะวิญญาณ เพราะฉะนั้น เข้าใจคำว่าวิญญาณ นะคะ ก็คือจิต แต่ทำไมเรียกวิญญาณเพราะเจาะจงให้รู้ว่าจิตนี้ต้องอาศัยหู ไม่เหมือนจิตคิด จิตคิดไม่ใช่ชื่อจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ แต่จิตเห็นชื่อว่าจักขุวิญญาณ
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1861
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1862
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1863
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1864
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1865
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1866
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1867
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1868
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1869
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1870
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1871
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1872
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1873
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1874
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1875
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1876
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1877
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1878
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1879
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1880
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1881
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1882
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1883
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1884
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1885
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1886
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1887
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1888
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1889
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1890
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1891
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1892
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1893
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1894
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1895
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1896
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1897
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1898
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1899
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1900
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1901
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1902
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1903
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1904
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1905
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1906
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1907
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1908
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1909
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1910
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1911
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1912
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1913
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1914
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1915
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1916
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1917
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1918
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1919
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1920