ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1893
ตอนที่ ๑๘๙๓
สนทนาธรรม ที่ โรงแรมเอเชี่ยน หาดใหญ่ จ.สงขลา
วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
ท่านอาจารย์ จิตคิดไม่ได้ชื่อจักขุวิญญาณโสตวิญญาณ แต่จิตเห็นชื่อว่าจักขุวิญญาณ ถ้าไม่มีตาจิตนี้เกิดไม่ได้สิ่งที่กำลังปรากฏ ปรากฏไม่ได้เลย ถ้าไม่มีโสตปสาทคนหูหนวกจิตได้ยินก็ไม่สามารถจะเกิดขึ้นเสียงปรากฏไม่ได้เลย แต่ขณะนี้สภาพที่กำลังได้ยินเสียงรู้ลักษณะต่างๆ ของเสียงไม่ว่าเสียงอะไรก็ได้ยิน รู้เฉพาะลักษณะของเสียงที่ปรากฏ และก็ดับไป เสียงไม่ได้ยินอะไร หูไม่ได้ยินอะไร แต่จิตได้ยินเกิดเพราะอาศัยเสียงกับโสตปสาท ถ้าไม่มีโสตปสาทก็ไม่มีอะไรมากระทบ จิตได้ยินก็เกิดขึ้นไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ขณะที่ได้ยินนะคะ ใช้คำว่าโสตวิญญาณ
เพราะฉะนั้น วิญญาณกับจิตเหมือนกันธาตุรู้ แต่ว่าถ้าจะแสดงความละเอียดก็ใช้ชื่อพิเศษให้รู้ว่าหมายเฉพาะจิตนั้น เขาบอกว่าจิตก็ไม่รู้ว่าจิตไหนใช่ไหมคะ แต่พอบอกว่าโสตวิญญาณจิตไหนคะ ได้ยินเดี๋ยวนี้แหละไม่ใช่ขณะอื่นเลย ขณะคิดไม่ใช่โสตวิญญาณ ไม่ใช่จักขุวิญญาณ ต้องเป็นขณะที่กำลังได้ยิน เพราะฉะนั้นวิญญาณก็เป็นอีกชื่อหนึ่งของจิต ใช้จิตก็ได้ ใช้วิญญาณก็ได้ ใช้มโนได้ไหมคะ ก็ได้ มนัสได้ไหมก็ได้ ใช้อะไรที่หมายความถึงสิ่งนั้นแหละ เราได้ยินคำว่านารีไหม สตรี กุมารีก็แล้วแต่จะเรียกอะไรก็คือหมายความถึงนั่นแหละ แต่ว่าใช้หลายๆ คำ เดี๋ยวนี้เลยค่ะอยู่คนเดียวหรือเปล่าคะ มองไปรอบๆ ซิเดี๋ยวนี้อยู่คนเดียวหรือเปล่า
ผู้ฟัง ด้วยความเข้าใจของผมนะครับ ว่าผมอยู่คนเดียว อยู่คนเดียวอยู่ตอนนี้
ท่านอาจารย์
ต้องเป็นปัญญาที่สามารถรู้ความจริงว่าไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้นนอกจากจิตที่เกิดขึ้นกำลังมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดปรากฏกับจิตนั้นเท่านั้น ไม่มีเราด้วยไม่มีใครเลยทั้งสิ้น แม้แต่ที่ว่าเป็นเราก็คือจิตหนึ่งขณะที่เกิดขึ้นกำลังรู้สิ่งใดนะคะ สิ่งอื่นจะปรากฏรวมด้วยไม่ได้เลย นี่คือการค่อยๆ คลายความไม่รู้การยึดถือสิ่งต่างๆ จนกระทั่งสามารถที่จะรู้เฉพาะสิ่งเดียวที่กำลังปรากฏ ถึงจะเข้าใจความหมายของคำว่าอยู่คนเดียว
ทั้งๆ ที่ขณะนั้นก็เป็นจิตเป็นเจตสิกเป็นรูปแต่ความรู้ที่ไม่มีคนอื่นเลยทั้งสิ้นรวมอยู่ในที่นั้นเลย จึงจะเข้าใจความหมายของคำว่าอยู่คนเดียวเมื่อจิตเกิดขึ้น และรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดเฉพาะจิต และสิ่งนั้นที่มีที่ปรากฏ ทั้งหมดคือรวมมาที่เป็นธรรมแต่ละหนึ่งซึ่งละเอียดมาก เวลาที่เราทำความดี รู้สึกยังไงคะ ดีใจได้บุญหรือว่ายังไงหรือว่าได้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนอื่น
ผู้ฟัง ทำบุญรู้สึกสบายใจปลื้มใจ
ท่านอาจารย์เป็นเราทำบ่อยๆ จะได้ปลื้มใจบ่อยๆ
ผู้ฟัง ใช่เป็นอย่างนั้นจริงๆ
ท่านอาจารย์ อย่างนั้นเป็นบุญหรือคะ เพราะฉะนั้น บุญในภาษาบาลีหมายความว่าอะไรคะ
อ.คำปั่น นี่ก็คือการเริ่มต้นในการศึกษาพระธรรมให้เข้าใจจริงๆ นะครับ บุญในภาษาบาลี หรือว่าในคำไทยก็คือบุญ ท่านก็ได้ให้ความหมายในอรรถกถาทั้งหลาย ว่าหมายถึงสภาพธรรมที่เป็นเครื่องชำระจิตให้สะอาด อันนี้คือความหมายของบุญครับ แสดงว่าโดยปกติ ชีวิตประจำวันจิตเป็นไปกับด้วยสิ่งสกปรกสิ่งที่มัวหมองมากมายก็คืออกุศล เพราะฉะนั้นขณะใดก็ตามที่คุณความดีเกิดขึ้นนั่นแหละคือบุญเกิดขึ้น ที่จะเป็นเครื่องชำระสิ่งที่ไม่ดีให้เบาบางไป แม้แต่ในขณะที่กำลังฟัง พระธรรมเข้าใจ จะไม่เรียกว่าบุญก็ได้ เพราะว่าความเป็นจริงของธรรมเป็นจริงอย่างนั้นแต่ถ้าใส่ชื่อก็คือเป็นบุญเพราะว่าเป็นความดีที่เกิด ขึ้นชำระความไม่รู้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ในขณะที่ใช้คำว่าทำบุญเนี่ยนะคะ ทำอะไร
ผู้ฟัง คือสร้างกรรมที่เป็นกุศล
ท่านอาจารย์ จริงๆ ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนอื่น แม้แต่ในเรื่องการให้ เราให้สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนอื่นเค้าใช้ได้ เป็นประโยชน์สำหรับเค้า ควรให้ แต่ถ้าเขาไม่ได้ใช้หรือใช้ไม่ได้ให้เค้าไปทำไมในเมื่อเค้าใช้ไม่ได้ ใช่ไหมคะ เพราะฉะนั้น ต้องเข้าใจทุกอย่างจริงๆ ค่ะแม้แต่ทานการให้ก็ต้องให้สิ่งที่เป็นประโยชน์เพื่อเขา ไม่ใช่เพื่อเราจะได้บุญ นี่ก็ต่างกันแล้วใช่ไหมคะ เวลาที่คิดจะได้ และมีความเป็นตัวเราที่ต้องการแต่ถ้าให้เนี่ยหมายความว่าขนาดนั้นสามารถสละสิ่งซึ่งเป็นประโยชน์กับคนอื่นไม่เสียดาย เคยทำบุญแล้วเสียดายมั้ยค่ะ เป็นได้ใช่ไหมคะ ตอนให้รู้สึกว่าจะให้เร็ว แต่พอให้ไปแล้วเสียดาย เอ๊ะก็ยังใช้ได้อยู่เหมือนกันหรืออย่างนี้ก็เป็นไปได้ เพราะฉะนั้นแสดงให้เห็นจิตต่างขณะ ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาเลยแม้ว่าได้ทำสิ่งที่สมควรไปแล้วแต่ก็ยังเกิดความเสียดายขึ้นได้ หมายความว่าอกุศลมากเหลือเกินในใจ จนกระทั่งถ้าไม่รู้หนทางที่จะขจัดอกุศล ก็จะมีแต่โทษซึ่งเกิดจากจิตซึ่งเพราะไม่รู้คำเดียวไม่รู้ว่าไม่ดีอย่างไรไม่รู้ว่าโลภะไม่ดี โทสะไม่ดี มานะไม่ดี ริษยาไม่ดี ถ้ารู้ก็คงจะไม่เป็นอย่างนั้นเพราะรู้ และเข้าใจจริงๆ แต่เพราะไม่รู้
เพราะฉะนั้น ทั้งหมดมาจากเพราะไม่รู้แม้แต่ที่ว่ากลัว ถ้ารู้จะกลัวไหม เห็นไหมคะ ถ้ารู้ว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็นเท่านั้นมีความเข้าใจชัดเจนว่าหมดแล้ว ก็ไม่มีการที่จะกลัวใช่ไหม แต่ถ้าไม่มีความรู้อย่างนี้ไม่มีความเข้าใจอย่างนี้ ดึกๆ ขึ้นมามีเสียงดังสนั่นเกิดขึ้นตกใจไหมคะ กลัวแล้วเพราะไม่รู้ มีเสียงเบาๆ กระซิบกระซาบกลัวไหม ก็กลัวอีกกลัวไปหมดเพราะไม่รู้ความจริงว่าขณะนั้น ไม่มีเราแต่มีสภาพธรรมที่เกิดขึ้น และดับไป เพราะฉะนั้น ไม่ว่าใครจะกลัวผีชนิดไหนก็ตามระดับไหนก็ตามเพราะไม่รู้แต่ขณะใดก็ตามที่เริ่มเข้าใจความจริง และขณะนั้นสามารถเข้าใจลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ กลัวแข็งไหม กลัวกลิ่นธรรมดาไหม ก็ไม่กลัว แต่ที่นี้เพราะไม่รู้ความจริง แล้วก็เป็นสิ่งซึ่งอาจจะไม่เหมือนที่เคยเห็น ก็มีความคิดแล้วก็นึกถึงสิ่งต่างๆ ขณะนั้นไม่ได้เข้าใจว่าเป็นแต่เพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็นแล้วดับ แม้ขณะนี้ก็ไม่ใช่ผีแต่ว่ามีสิ่งที่ปรากฏทางตาแล้วก็ดับขณะนี้แม้สิ่งที่เป็นดอกไม้ ก็เป็นสิ่งที่เพียงปรากฏให้เห็นแล้วก็ดับ ไม่ว่าอะไรทั้งสิ้นถ้าจิตเห็นเกิดขึ้นขณะนั้นก็เป็นเพียงสิ่งที่มีจริงที่ปรากฏ แล้วก็ดับไป
เพราะฉะนั้น กว่าจะมีความเข้าใจจนกระทั่งไม่หวั่นไหวเพราะจริงๆ แล้ว จะไม่รู้เลยว่าแท้ที่จริงแล้วจิตที่เป็นอกุศลมากมายหวั่นไหวอยู่ตลอดเวลาไม่สงบแต่ว่าไม่เคยรู้เลยกลับไปแสวงหาอะไรก็ไม่รู้ที่เข้าใจว่าสงบ ทั้งๆ ที่ขณะนั้นก็ไม่สงบเลยเพราะไม่รู้ นั่งอย่างเนี้ยแค่ขยับนิดเดียวเนี่ยแสวงหาอะไรหรือเปล่า เห็นไหมคะ เพราะฉะนั้นทั้งวันเนี่ยแสวงหาหรือเปล่า ก็ไม่รู้เลยว่าแท้ที่จริงแล้วก็คือจิตที่หวั่นไหวแล้วก็มีแต่การต้องการแม้แต่จะเดินไปหยิบแก้วน้ำนั่งเฉยๆ แก้วน้ำคงไม่ลอยมาใช่ไหมคะขยับได้นิดเดียวก็หวั่นไหวแสวงหาตลอดชีวิตแสวงหาแล้วก็ไม่รู้ด้วยว่าเกิดมาแล้วแสวงหาตลอดเวลา ไม่แสวงหาไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น ก็เป็นทุกข์นอกจากทุกโดยการที่สภาพนั้นเกิดแล้วดับ ไม่มีอะไรที่ตั้งอยู่ถาวรเลยที่จะเที่ยงแท้เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ยังมีความติดข้องที่ทำให้เพิ่มความไม่สงบหรือว่ามีความหวั่นไหวอยู่ตลอดเวลาโดยไม่รู้ตัว เพราะฉะนั้น พระธรรมกับความเข้าใจ ยิ่งเข้าใจมากขึ้นก็จะเห็นประโยชน์จริงๆ ว่าจากการที่เคยหวั่นไหวไปด้วยประการต่างๆ ก็จะรู้ตามความเป็นจริงว่าแท้ที่จริงก็ไม่มีอะไรเที่ยงเลยแต่เนื่องจากมีความไม่รู้ และมีความต้องการชีวิตก็จะเป็นอย่างนี้ไปไม่รู้จบสิ้น ที่ใช้คำว่าสังสารวัฎคือเกิดดับสืบต่อหมุนเวียนไปเรื่อยๆ จากเป็นคนนี้จบแล้วเป็นคนอื่นต่อไปอีกแล้วเป็นคนอื่นต่อไปอีก และก็เป็นคนอื่นต่อไปอีกโดยจำคนเก่าไม่ได้เลย ไม่รู้เลยว่าใคร อย่างเห็นกระดูกสักพันปีมาแล้วเนี่ย ขุดพบเนี่ยใครคะ
อ.คำปั่น ไม่ทราบครับ
ท่านอาจารย์ เราได้ไหมเพราะฉะนั้น ก็ไม่รู้อะไรเลยทั้งสิ้นแต่ว่าเวลาที่ฟังธรรมแล้วนะคะ ก็จะไม่ได้ติดข้องในสิ่งหนึ่งสิ่งใดเลยมีชีวิตอยู่ด้วยปัญญา คือรู้ความจริงว่าไม่เกิดก็ไม่ได้ต้องเป็นอย่างนี้บังคับให้หยุด ไม่มีทางที่จะบังคับได้เลย ใครจะบังคับจิตไม่ให้เกิดแบบดับแล้วไม่เกิดต่อก็เป็นไปไม่ได้ แล้วจิตก็หลากหลายไปตามการสะสม
เพราะฉะนั้น กิเลสทั้งหลายในรูปแบบต่างๆ ในรูปแบบของกลัวผี กลัวคนไหมคะ เห็นผู้ร้ายก็ตกใจจะแย่แล้วใช่ไหม อาจจะยิ่งกว่าผีอีก ใช่ไหมคะก็เป็นไปได้ เพราะฉะนั้น ก็แสดงเห็นว่าทั้งหมดเนี่ยค่ะเพราะไม่รู้
ด้วยเหตุนี้กว่าอกุศลทั้งหลายจะค่อยๆ น้อยลงไปได้ก็ตอบเมื่อได้รู้ความจริง ทั้งหมดเป็นเรื่องจิต ยากที่จะเข้าใจได้ และก็ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาด้วย แม้แต่ว่ากุศลที่ทำแล้วดับแล้ว แต่ก็ยังสามารถที่จะมีกุศลเกิดอีกได้โดยอาศัยกุศลที่ได้ทำแล้วเพราะรู้ว่าธรรมดาเนี่ยค่ะ คนเราก็จะอนุโมทนาในสิ่งที่ดี ในสิ่งที่ไม่ดีเราไม่อนุโมทนาแน่
เพราะฉะนั้น ถ้าใครสามารถที่จะรู้ว่ามีการกระทำสิ่งที่ดีที่ไหนไม่จำกัดเลยว่าเป็นใคร แล้วเกิดยินดีด้วยในกุศลที่เกิดขึ้นในขณะนั้นไม่ว่าของใครขณะนั้นแม้ไม่ได้ทำเองแต่จิตที่ยินดีในกุศลของบุคคลอื่น นั่นก็เป็นกุศลที่ชื่อว่าอนุโมทนายินดีตามที่เขามีโอกาสที่ได้ทำกุศล เพราะฉะนั้น เราจะบังคับบัญชาคนอื่นไม่ได้เลยใช่ไหมคะอุทิศไปเขาไม่อนุโมทนาได้ไหม ตั้งยาวๆ ไม่ทราบว่าใครจะอนุโมทนาบ้างหรือว่าไม่อนุโมทนาบ้าง หรือแม้ยังไม่สิ้นชีวิตนะคะ ไปฟังธรรมคนที่บ้านมีกี่คนเขารู้ไหมว่าเราไปไหนนี่คือธรรมๆ เป็นเรื่องจริงไม่ใช่เป็นเรื่องเราเตรียมแผนกะเกณฑ์วางรูปแบบที่จะให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้แต่ว่าต้องเข้าใจความจริงที่เกิดขึ้นแล้วก็สามารถที่จะรู้ได้ว่ากาลไหนเป็นประโยชน์ และกาลไหน เวลาไหนไม่เป็นประโยชน์ เพราะว่าคนที่บ้านเนี่ยถ้ามี ๙ คน ๙ วัดต่างกันเลยได้ไหมแต่ถ้าคนนี้ไปฟังธรรมเป็นกุศลแล้วก็ไปบอกอีก ๘ คนซึ่งความเห็นอีกเนี่ยเขาจะอนุโมทนาไหม เพราะฉะนั้น เป็นเรื่องที่ละเอียดมากไม่ใช่ว่าเมื่อมีคำอย่างนี้ว่าอย่างนี้ก็จะต้องทำอย่างนี้หรือว่าเป็นอย่างนี้ไม่ใช่เลย นี่เป็นการแสดงสภาพของจิตที่หลากหลายมากแล้วรู้ว่ากุศลเป็นกุศล แม้ไม่ได้ทำกุศลด้วยตนเองแต่กุศลจิตก็ยังอนุโมทนาในกุศลของคนอื่นได้ แล้วเวลาที่คนอื่นทำอกุศลเนี่ยเราจะอนุโมทนาไหม ไม่มีใครอนุโมทนา เพราะฉะนั้นทำอกุศลเสร็จอุทิศได้ไหมใครจะรับ รับที่นี่ไม่ได้หมายความว่าส่งทางไปรษณีย์แต่หมายความว่าทันทีที่รู้เนี่ยค่ะ กุศลจิตเกิดรึเปล่า พลอยยินดีด้วยแม้ว่าตนเองไม่ได้ทำ เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องที่ละเอียดมาก อย่างคนชั่ว ทำชั่วแล้วก็อุทิศส่วนกุศลไม่มีใครรับแน่ใช่ไหมคะ
แต่ว่าเวลาที่คนที่ชั่วมาก ชั่วเป็นประจำความประพฤติไม่ดีแล้วก็ให้ทาน และอุทิศส่วนกุศลให้คนอื่นอนุโมทนา ยังไม่ต้องเป็นคนอื่นนะคะ เราอนุโมทนาหรือเปล่าเพราะเหตุว่าเราไม่รู้จิตของคนอื่นเลยสามารถจะรู้ได้แต่เฉพาะจิตของตนเอง ถ้าเป็นคนที่มีความละเอียดก็จะอนุโมทนาเฉพาะส่วนที่เป็นกุศล แต่อกุศลทั้งหลายไม่อนุโมทนาเลย
ด้วยเหตุนี้นะคะ แม้แต่การอนุโมทนาก็ไม่ใช่ไปบังคับไปฝืนใจเราอุทิศแล้วต้องอนุโมทนาไม่ใช่อย่างนั้นเลยค่ะแล้วแต่ว่าจิตใจของคนที่รู้ในขณะนั้นจะอนุโมทนายินดีด้วยหรือเปล่าในกุศล ถ้าไม่ยินดีก็เป็นเรื่องของเค้า เพราะฉะนั้น สัตว์เดรัจฉานเนี่ยไม่มีทางหรอกค่ะ เดินไปเดินมาแล้วก็ไปอุทิศส่วนกุศลที่ได้ทำเนี่ยไม่มีทางที่จะรู้ได้ถึง
แม้คนที่จากโลกนี้ไปแล้วจะเกิดเป็นเทพหรือเกิดเป็นเปรตก็ตามแต่ที่สามารถจะรู้ก็แล้วแต่ว่าอนุโมทนาหรือเปล่าเพราะว่าเทวดาเห็นผิดมีไหมคะ มี เพราะฉะนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่าเทวดาทั้งหมดจะเห็นถูก ก็มีพอใจในความเห็นผิดต่างๆ เหมือนมนุษย์นี่แหละ เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องที่ต้องเข้าใจแต่ละหนึ่งจิตไม่ก้าวก่ายไปถึงจิตของคนอื่น แต่จิตเป็นจิต จิตเห็นไม่ว่าของใครเห็นเป็นเห็น จิตเห็นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของท่านพระเทวทัตของนก ของงู ของรูปพรหมก็คือจิตเห็น ประกอบด้วยเจตสิกเท่ากันเลยเพียงแต่ว่าอนุสัยกิเลส กิเลสที่สะสมมายังมากเหมือนเดิมหรือว่าได้ดับไปแล้วถ้ากิเลสใดที่ดับไปแล้ว จิตขณะต่อไปจะไม่มีกิเลสประเภทนั้น เลย เพราะฉะนั้น แม้แต่จิตเห็นของคนที่มีกิเลสกับคนที่ดับกิเลสแล้วนะคะ เจตสิกเกิดเท่ากันก็จริงแต่ว่ากิเลสที่หมักดองอยู่ในจิตของคนที่เป็นปุถชนยังไม่ดับไปแต่กิเลสของผู้ที่ดับหมดแล้วเป็นพระอรหันต์ไม่มีเลยค่ะ เพราะฉะนั้น ก็มีความต่างกันว่าคนเห็น ถ้ามีกิเลสมากทันทีที่เห็นก็เป็นอกุศลสำหรับผู้ที่ดับกิเลสแล้ว พระอรหันต์ทั้งหลายเห็นเหมือนกันเลยได้ยินเหมือนกันเลย ไม่ว่าพราหมณ์จะกล่าววาจาก้าวร้าวสักเท่าไหร่ไม่มีกิเลสไม่เดือดร้อนเลยเพราะว่าได้ดับกิเลสหมดแล้ว เพราะฉะนั้น การที่ แม้แต่จะใช้คำว่าอุทิศหรือว่าอนุโมทนาก็ต้องรู้ด้วยว่าจิตคนอื่นทั้งนั้น
แต่ขณะใดก็ตามที่ผู้ใดทำกุศลแล้วก็ยังมีเมตตาจิตคิดถึงคนอื่นว่าผู้นั้นๆ ถ้าได้รู้คงจะอนุโมทนา เพราะฉะนั้น จึงอุทิศส่วนกุศลให้โดยเฉพาะ เราก็ กล่าวถึงผู้ที่มีคุณเจาะจงให้ท่านได้รับรู้เพราะเหตุว่าแม้แต่เปรตซึ่งครั้งหนึ่งเป็นญาติของพระเจ้าพิมพิสารแต่ว่าเวลาที่พระเจ้าพิมพิสารถวายทานแด่พระผู้มีพระภาคไม่ได้อุทิศแก่พวกเปรต ซึ่งพวกเปรตรอคอยการที่จะได้รับอุทิศส่วนกุศล จากญาติซึ่งขณะนั้นเป็นพระเจ้าพิมพิสารไม่ใช่จากคนอื่นที่จะไปอนุโมทนาในกุศลของคนนั้นคนนี้ไม่ใช่จำกัด แต่จิตที่เป็นกุศลไม่เกิดแต่เวลาที่ญาติคนคุ้นเคย เวลาที่ทำกุศล และยังมีการระลึกถึงคิดถึง ความเป็นมิตรความดีที่ทำต่อกันบุคคลที่เป็นมิตรกันก็เกิดกุศลจิตอนุโมทนาในบุคคลนั้นได้ เพราะฉะนั้น เราก็พิสูจน์ได้จากเราเองนะคะ ใครทำดี ชื่อนั้นหรือเปล่าแล้วคนนั้นหรือเปล่าคนที่เคยไม่ชอบหรือเปล่า หรือคนที่เคยเป็นที่รักหรือเปล่า ไม่สำคัญเท่าความดีว่าอนุโมทนาในความดีเฉพาะในความดีนั่นจึงจะเป็นอนุโมทนา
เพราะฉะนั้น สภาพธรรมใกล้เคียงกันมากระหว่างความเป็นมิตรกับความผูกพัน ระหว่างโลภะความติดข้องโยงใยเยื่อใยห่วงใยกับสภาพธรรมที่เป็นมิตรจริงๆ คือพร้อมที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้ เพราะฉะนั้น ธรรมเป็นเรื่องต้องศึกษา ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ฟังเผินแล้วก็ไปเตรียมแผนการว่าจะทำอย่างนั้นอย่างนี้นะค่ะ แต่ให้ทราบจริงๆ ว่าเจ้ากรรมนายเวรมีรึเปล่าคะ เห็นไหมคะพูดแต่ละคำคิดแต่ละคำเข้าใจเรื่องนี้เข้าใจเรื่องอุทิศส่วนกุศลก็มาติดที่เจ้ากรรมนายเวรอีก
เพราะฉะนั้น ก็แสดงว่ากว่าจะได้เข้าใจธรรมที่ถูกต้องจริงๆ ต้องเป็นผู้ที่ละเอียดแล้วก็เข้าใจจริงๆ ด้วยเมื่อเข้าใจแล้วจะไม่มีการอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวร และสัตว์เดรัจฉาน ก็ขอให้เราได้ทราบว่าการฟังธรรมถ้าเข้าใจว่าทุกอย่างเป็นธรรมไม่ว่าเรื่องอะไรทั้งนั้นสามารถจะมีความชัดเจนละเอียดคลี่คลายหายสงสัยได้แต่ต้องเป็นคนตรงทุกคำที่พูด และคิดนะคะ
ถ้าไม่มีสิ่งที่สว่างปรากฏเป็นสีสันวรรณะเลยอยู่ในโลกไหนคะ โลกมืด ในโลกมืดนั้นกระทบสิ่งที่แข็งได้ไหม ไม่ต้องมองเห็นเลย เพราะฉะนั้น แข็งก็ปรากฏในความมืด อยู่ในความมืดสนิทน มองอะไรไม่เห็นเลย ได้ยินเสียงได้ไหม เสียงปรากฏได้ไหม ได้
เพราะฉะนั้น ขณะที่ได้ยินเสียงก็อยู่ในความมืด ไม่ใช่เหมือนกับที่กำลังปรากฏทางตา เพราะฉะนั้น บอกว่าเวลาที่เห็นใครร้องเพลง และขนาดนั้นรู้ไหมว่ากี่โลกเกิดดับสลับกันแต่ละทางปะปนกันไม่ได้เลยทางตาต้องเป็นเห็น ทางหูต้องเป็นได้ยิน ทางใจต้องเป็นคิดนึกแล้วว่าใครหรือว่ากำลังทำอะไรอยู่ที่ไหน
เนี่ยค่ะคือถ้ามีความเข้าใจที่จะเข้าใจความจริงต้องถึงที่สุดค่ะ ทุกคำธรรมมีคำตอบเพราะว่าเป็นสิ่งที่มีจริงแต่ต้องไตร่ตรองนะคะ เพื่อที่จะได้เข้าใจว่าไม่ใช่เรา สำคัญที่สุดค่ะไม่ว่าจะฟัง ไม่ว่าจะคิด ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม กว่าจะรู้ว่าไม่ใช่เราแต่มีจริงๆ แต่ทั้งหมดที่มีจริงเนี่ยไม่ใช่เรา ไม่เช่นนั้นไม่ชื่อว่าฟังพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้ และทรงแสดงความจริงของสิ่งที่มีจริงซึ่งไม่ใช่ของใครจึงได้ทรงแสดงว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ไม่ใช่ใครไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร เพราะฉะนั้น เราก็จะรู้ได้ว่าพ้นจาก ๖ โลกได้ไหมไม่ว่าจะเห็นอะไรแล้วคิดอะไรแต่ต้องรู้ตามความเป็นจริงแต่ละหนึ่งขณะให้ถูกต้อง เพราะฉะนั้น ถ้าถามนะคะ เพื่อความมั่นคงที่ได้ฟังเข้าใจไม่ปฏิเสธความจริง นอกจากทางตาแล้วการรู้ทางอื่นมืดหรือสว่าง มืดหมด แล้ววันหนึ่งคิดมากไหม คิดทั้งวัน เห็นแล้วคิดได้ยินแล้วคิด ได้กลิ่นแล้วคิด ลิ้มรสแล้วคิด กระทบสัมผัสก็คิด ไม่มีสิ่งต่างๆ เหล่านี้ปรากฏก็คิด
เพราะฉะนั้น ตามความเป็นจริงถ้าจะรู้ความจริงโดยประจักษ์แจ้งจะต้องรู้จักโลกที่มืด เพราะเหตุว่ามีโลกเดียวที่สว่าง ถูกต้องไหมคะ
เพราะฉะนั้น ในสิ่งที่ปรากฏในชีวิตอย่างมากที่สุดตลอดเวลาก็คืออยู่ในความมืด และก็ในความมืดจะมีถ้าเราจะเปรียบเทียบหรืออุปมาให้เข้าใจแต่ก็ไม่ใช่สิ่งนั้นจริงๆ เช่นมีจุดอยู่ ๕ จุด นี่อุปมาจุดหนึ่งสว่าง อีกจุดหนึ่งเสียงปรากฏ อีกจุดหนึ่งกลิ่นปรากฏ อีกจุดหนึ่งรสปรากฏ อีกจุดหนึ่งอ่อนหรือแข็งปรากฏ ทำไมใช้คำว่าเป็นจุดๆ และบอกด้วยว่านี่เป็นเพียงสมมติไม่ใช่มีจุดจริงๆ แต่มีกาลเวลา ซึ่งจะมีสิ่งต่างๆ เหล่านี้ปรากฏเพราะว่าที่ตัวเนี่ยค่ะมีรูปที่มีลักษณะพิเศษ ๕ รูป
ที่ตัวนี้ไม่เคยรู้เลยแต่ว่าคิดว่าเป็นตาของเรา เราเกิดมามีตา บางคนตาสวยมากเลย ตาใหญ่ แค่ตาสองข้างก็จะเต็มหน้าแล้ว ผู้หญิงที่สวยมากคือผู้หญิงอินเดียนะคะ ในความรู้สึกของดิฉัน เพราะว่าสวยจริงๆ ค่ะทั้งตาทั้งทุกสิ่งทุกอย่างก็คิดดูก็แล้วกัน แต่นั่นไม่ใช่จักขุประสาท เป็นสีสันวรรณะใช้คำว่าสะสัมภาระหมายความว่าส่วนประกอบ ของตาแต่ตาจริงๆ ไม่มีใครมองเห็นเลย อยู่ตรงกลางตา เห็นเมื่อไรก็เป็นแต่เพียงสิ่งที่ปรากฏ ตาบางคนก็ฟ้า บางคนก็เขียว บางคนก็ดำเห็นไหมไม่ได้มีแต่สีเดียว แต่ว่าจักขุประสาทรูปเหมือนกันหมด เพราะเหตุว่าเป็นรูปที่สามารถกระทบกับสิ่งที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้เท่านั้น
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1861
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1862
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1863
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1864
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1865
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1866
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1867
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1868
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1869
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1870
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1871
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1872
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1873
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1874
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1875
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1876
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1877
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1878
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1879
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1880
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1881
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1882
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1883
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1884
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1885
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1886
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1887
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1888
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1889
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1890
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1891
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1892
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1893
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1894
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1895
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1896
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1897
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1898
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1899
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1900
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1901
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1902
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1903
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1904
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1905
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1906
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1907
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1908
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1909
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1910
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1911
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1912
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1913
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1914
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1915
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1916
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1917
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1918
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1919
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1920