ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1894
ตอนที่ ๑๘๙๔
สนทนาธรรม ที่ โรงแรมเอเชี่ยน หาดใหญ่ จ.สงขลา
วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่าเป็นรูปที่สามารถกระทบกับสิ่งที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้เท่านั้น ถ้าไม่มีรูปนี้ไม่มีการที่สีสันวรรณะจะปรากฏเป็นเรื่องเป็นราวเป็น คนใส่เสื้อสีแดงพับแขนนั่งบนคบไม้กำลังแกว่งขาจะไม่มีอย่างนั้นเลย สำหรับคนที่ไม่มีการเห็น เห็นไหมคะแต่ละขณะนี้ต้องรู้ความจริงไม่งั้นเราก็ไม่มีทางที่จะเข้าถึง สภาวธรรมคือสิ่งที่มีจริงมีภาวะคือลักษณะเฉพาะของตนแต่ละหนึ่งทาง ทางตาจะเป็นอื่นไม่ได้เลยแต่คิด เห็นไหมคะแค่เห็นแล้วดับเนี่ยถ้าเห็นสิ่งต่างๆ ที่เป็นไปตามนายมายากลทำก็คือเดี๋ยวนี้ และเราไม่รู้ความจริงของจิต เจตสิก รูปซึ่งเป็นสิ่งที่มีจริงเกิดปรากฏแสนสั้นไม่สามารถที่จะไปวัดได้เลยว่าแค่ไหนเพราะเห็นก็เป็นคนไปแล้ว เพราะฉะนั้น กว่าจะเป็นคนได้เนี่ยต้องมีสิ่งที่เกิดดับปรากฏซ้ำจนเป็นนิมิตรูปร่างสัณฐานต่างๆ ที่ใช้คำว่าจิตหรือธาตุรู้ทำอะไรไม่ได้เลยนอกจากเกิดขึ้นรู้แล้วดับ ไม่ว่าที่ไหน ไม่ว่าของใครไม่ว่าจิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ว่าจิตของเทวดา ไม่ว่าจิตของพรหม จิตของคนที่เกิดในอบายภูมิหรือแม้แต่มด มดเห็นไหมคะ ตามดได้แค่ไหนมีใครรู้บ้าง มดละเอียดมีตั้งแต่ขนาดใหญ่พอสมควรจนกระทั่งถึงตัวอะไรเล็กแค่นี้ละเอียดมากแต่ก็มีตา มีจักขุปสาทรูป เพราะฉะนั้น ไม่มีใครที่จะมองเห็นจักขุปสาทรูปได้เลยเป็นรูปที่เล็ก และก็เกิดขึ้นเพราะกรรมแล้วก็เกิดดับ เมื่อถึงกาละที่จะเกิดดับเพราะว่าเมื่อปฏิสนธิเกิดเป็นมนุษย์ในครรภ์ยังไม่มีจักขุปสาท เพราะฉะนั้นกว่าจะเป็นอย่างนี้นั่งอยู่ที่นี่เห็นแล้วจำอะไรแต่อะไรเป็นธรรมทั้งหมด
ให้ทราบว่าถ้าได้ศึกษาธรรมต้องรู้ว่าทุกอย่างที่มีจริงๆ ที่ปรากฏ เป็นสิ่งที่มีจริงแต่ไม่เคยรู้ความจริงของสิ่งนั้น เพราะฉะนั้น ใช้คำว่าธรรม บางคนก็ไม่รู้เลย แล้วจะไปหาธรรมที่ไหน นี่ก็คือไม่รู้จักคำในภาษามคธีที่เป็นภาษาบาลีแต่หมายความถึงสิ่งที่มีจริงไม่ต้องไปหาที่ไหน มีอยู่ตลอดเวลาเกิดดับสืบต่อตั้งแต่เกิดจนกว่าจะจากโลกนี้ไป แต่ก็ยังต้องเกิดต่อทันทีเพราะว่าสภาพของธรรมซึ่งเป็นธาตุรู้ซึ่งเป็นใหญ่เป็นประธานซึ่งเราใช้คำว่าจิตแต่ภาษาบาลีมีหลายคำ มโนก็ไม่ใช่ธรรมอื่นนอกจากจิต มนัสก็ไม่ใช่ธรรมอื่นนอกจากจิตหทยก็ไม่ใช่ธรรมอื่นนอกจากจิต เพราะฉะนั้น แม้ว่าจะมีคำหลายคำก็จริงนะคะ ภาษาไทยเราก็ตามไปเถอะ มโนเราก็ใช้มนัสเราก็ใช้ มนาเราก็ใช้ทั้งนั้นแหละแต่ว่าเรารู้ไหมว่าเป็นจิต และก็ยังรู้ไหม จิตนั่นแหละเป็นยังไงเดี๋ยวนี้มีแน่ๆ แต่จิตกำลังทำอะไรนี่เป็นสิ่งที่ว่าเมื่อไหร่เข้าใจเมื่อนั้นเป็นผู้ฟังพระธรรมไม่ใช่ว่าได้ยินชื่อแล้วไปแสวงหาแต่ไม่รู้เลยธรรมคืออะไร อย่างนั้นไม่ใช่สาวก ไม่ใช่ผู้ฟังพระธรรม ไม่มีทางที่จะเข้าใจด้วย เพราะเหตุว่าฟังคนเองแต่ไม่ได้ฟังพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงเพื่อที่จะให้มีความเข้าใจในสิ่งซึ่งมีมาโดยตลอดตามเหตุตามปัจจัยแต่ก็ไม่มีใครสามารถที่จะรู้ความจริงได้จนกว่าจะมีการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ละพระองค์ห่างกันมาก ไม่ใช่เดี๋ยวก็มีเดี๋ยวก็มีไม่ใช่อย่างนั้นเลย
เพราะฉะนั้น ต้องเข้าใจความหมายที่ลึกซึ้ง และละเอียดจริงๆ แต่ว่าเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ และเป็นไปแล้วเพราะเหตุว่ามีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ใช่เฉพาะพระองค์นี้พระองค์เดียว ก่อนนั้นก็มีอนาคตก็มีเพราะเป็นปัญญาที่อบรมจนกระทั่งสามารถเข้าถึงความจริงของสภาพธรรมซึ่งเกิดดับเร็วสุดที่จะประมาณได้ตามความเป็นจริงโดยละเอียดยิ่ง จึงสามารถที่จะดับกิเลสได้หมดไม่เหลือเลยแต่ต้องตามลำดับ
เพราะฉะนั้น ไม่ว่าฟังเรื่องอะไรนะคะ อย่าเพิ่งจบ แต่ว่าให้เข้าใจจริงๆ ในสิ่งที่ได้ยินได้ฟังแต่ละคำ ถ้าฟังเรื่องจิตแล้วยังสงสัยไหมยังเข้าใจไหมถ้ายังสงสัยยังเข้าใจเจ้ากรรมนายเวรก็ไม่รู้ได้แต่คิดเอาเท่านั้นเองใช่ไหมคะแต่ว่าไม่รู้ตามความเป็นจริงว่าคืออะไร เพราะฉะนั้น การฟังธรรมต้องไม่ผิวเผิน รู้แล้วยังไม่พอเข้าใจแค่นี้ก็ยังไม่พอ ต้องอาศัยการไตร่ตรองจนกระทั่งรู้ว่าขณะนี้แม้จิตมีเกิดดับก็ไม่รู้ เพราะเหตุว่าเป็นปัญญาเพียงขั้นฟังผู้ที่รู้ จนกระทั่งสามารถรู้ว่าขณะนี้มีสภาพธรรมไม่ใช่เรา ทุกอย่างในชีวิตก็คือเป็นธรรมแต่ละหนึ่งซึ่งเมื่อมีปัจจัยเกิดแล้วดับไปแล้วไม่กลับมาอีกเลย
เพราะฉะนั้น การเข้าใจทุกคำจะทำให้เข้าใจคำอื่นอีกซึ่งจะสามารถทำให้รู้ว่าแท้ที่จริงแล้วก็คือว่าผู้ที่มีปัญญาทรงแสดงความจริงเพื่อให้รู้ความจริงที่กำลังมีในขณะนี้ เห็นไหมเราฟังแต่ว่าก็จิตก็เกิดดับแต่ก็ยังไม่รู้ซักจิตหนึ่งซึ่งเกิดดับซักจิตเดียวก็ไม่รู้ เพราะฉะนั้น ปัญญาจริงๆ ต้องถึงขณะที่สามารถรู้จิต ไม่ใช่เพียงแต่ฟังเรื่องจิต แต่ว่าสามารถที่จะเข้าใจขึ้นๆ แม้จะนานแสนนานสักเท่าไหร่ ไกลแสนไกลสักเท่าไหร่เหมือนฝั่งนี้ของมหาสมุทรกับฝั่งโน้นของมหาสมุทรแต่ก็ไปถึงได้ด้วยปัญญา แต่ถ้าไม่มีปัญญาเลย ทำอะไร หวังอะไร ต้องการอะไร ไปไหน ไปนั่งทำอะไรมไปคิดอะไรแล้วรู้อะไร นั่นไม่ใช่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น จึงต้องเป็นผู้ที่ไม่ประมาทพระปัจฉิมวาจา วาจาสุดท้ายก่อนที่จะปรินิพพาน จำได้ไหมคะ คุณคำปั่นทบทวนค่ะ
อ.คำปั่น สำหรับพระวาจาครั้งสุดท้ายหรือว่าพระปัจฉิมวาจาก็คือดูก่อนภิกษุทั้งหลายสังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เราขอเตือนพวกเธอทั้งหลายว่า เธอทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่ศึกษาธรรมเลยเข้าใจคำนี้ไหมคะ แม้แต่คำว่าภิกขุ แม้แต่คำว่าสังขาร แม้แต่คำว่าไม่ประมาท แล้วก็เป็นพระปัจฉิมวาจา เพราะฉะนั้น ไม่ประมาทตั้งแต่ต้นคือตั้งแต่เริ่มฟัง ไม่ใช่ว่าตอนนี้ไม่เป็นไรไม่ประมาทตอนโน้นไม่ได้ เพราะว่าพระธรรมของใครจากการตรัสรู้ ชาวบ้านธรรมดาเนี่ยคิดเองได้ไหม คนโน้นคนนี้ไปอ่านซักบรรทัดนึงแล้วก็มาบอกว่าอย่างนั้นอย่างนี้ได้ไหม แต่ว่าต้องเป็นผู้ที่ละเอียดจริงๆ เข้าใจจริงๆ มั่นคงจริงๆ เพราะเหตุว่าเมื่อเข้าใจธรรมมีคำตอบ สำหรับทุกคำถามเพราะเป็นธรรมทั้งหมด
เพราะฉะนั้น ไม่ว่าชีวิตนี้จะได้ยินทั้งเรื่องสนุกขบขันเรื่องเศร้าเรื่องอะไรทั้งหมดก็เป็นแต่เพียงชั่วขณะซึ่งมีปัจจัยที่จะแสดงให้เห็นจิต และธรรมทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นอะไรทั้งสิ้น เพื่อที่จะได้รู้ตามความเป็นจริงว่าก็ไม่มีอะไรมาก และก็ไม่ใช่ของเราด้วย เกิดมาก็เพียงแต่ว่าสนุกสนานไปวันหนึ่งๆ โศกเศร้าไปวันหนึ่ง เห็นไปวันหนึ่ง ได้ยินไปวันนึง คิดนึกไปวันนึงแล้วก็นอน แล้วก็หลับสนิท เพิ่งจะรู้ว่าไม่มีอะไรเหลือเลย ในขณะที่หลับสนิท
ทั้งวันที่สนุกสนานอยู่ไหนหายไปหมดเลยอาหารอร่อยๆ แต่ละมื้อไม่เหลือเรื่องราวจะสุขจะทุกข์ยังไงก็ไม่มี แม้แต่เป็นใครก็ยังไม่รู้เลย กำลังหลับสนิทเหมือนกันหมดไม่ว่าภพไหนภูมิไหนขณะที่หลับสนิทไม่มีอะไรปรากฏไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ไม่คิดนึกด้วย ชอบใช่ไหม
ถามกันว่าหลับสบายดีไหมพอตื่นมาก็เริ่มแล้ว ไม่รู้เลยว่าถามทำไม ใช่ไหมแต่ความจริงเนี่ยอยากหลับใช่ไหม ชอบหลับมากๆ ใช่ไหมแต่หลับตลอดไปไม่ได้ใช่ไหม เพราะว่าต้องมีเหตุปัจจัยต้องเห็น ต้องได้ยินเป็นผลของกรรม เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรมไม่มีจบตราบใดที่ชีวิตยังมี และก็ไม่รู้ความจริงสภาพธรรมก็จะต้องเป็นไปตามนิยามหรือธรรมเนียมคือว่าเกิดแล้วดับก็จริง แต่การดับไปของจิตดวงก่อนก็ทำให้เกิดจิตขณะต่อไปสืบต่อไม่ใช่ไปต่อกับจิตอื่นหรือไม่ใช่ว่าไปขอยืมของใครมาแต่ต้องต่อจากจิตที่ดับไปแล้วทันทีนั่นแหละ เพราะฉะนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างที่สะสมมาในชีวิตทั้งดีทั้งชั่วนานแสนนานรวมทั้งชาตินี้ด้วย ใครขโมยไปไม่ได้ใครมาชำระล้างให้ไม่ได้ทำความสะอาดให้ไม่ได้เลยแต่ต้องเป็นปัญญา ธาตุรู้ธาตุเข้าใจถูกต้องตามความเป็นจริงซึ่ง กำลังเกิดดับแม้ปัญญาก็เกิดดับมีธรรมเดียวซึ่งไม่เกิด และไม่ดับคือนิพพาน นิ วา นะ แล้วคนไทยก็ใช้คำว่านิพพาน อยากได้ไหม ทุกอย่างเป็นที่ตั้งของความต้องการ แม้แต่ชื่อ ชื่อนิพพานเลยอยากได้อยากจะไปนิพพานกันทั้งนั้นเลยแต่ไม่รู้อะไร เพราะฉะนั้นอยากได้อะไรแล้วจะได้ไหม ก็ไม่มีทางเป็นไปได้เลย ด้วยเหตุต้องเป็นผู้ตรงเป็นผู้ที่ละเอียดเป็นผู้ที่ไม่เผิน เพราะฉะนั้น ไม่ว่าสัตว์ก็ยังมีรูปร่างต่างๆ กัน ตั้งแต่หมดตัวละเอียดจนกระทั่งถึงไดโนเสาร์หรือจะอะไรก็ตามแต่ช้างหรือว่านกหรือว่าแพนด้าหรืออะไรก็ตามที่ตื่นเต้นกัน
ทั้งหมดก็เป็นแต่เพียงนามธรรม และรูปธรรมต่างกันด้วยกรรม ผีเสื้อปีกไม่เหมือนกันเลย ใหญ่เล็กไม่เหมือนกันด้วยเหมือนคน สูงต่ำขนาดไม่เท่ากันเลย ผิวพรรณก็ไม่เหมือนกันส่วนประกอบแต่ละหนึ่งของหน้าตาก็ต่างๆ กันไป ไม่มีใครสามารถทำได้เลยแต่กรรมทำได้ทุกอย่าง
เพราะฉะนั้น ข้างหน้าเนี่ยเพียงแค่ขณะจิตสุดท้ายที่จะเกิดเมื่อไรก็ไม่มีใครรู้เลยประมาทไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น คิดเองได้แล้วใช่ไหมเจ้ากรรมนายเวรมีไหม และอะไรเป็นเวร และอะไรเป็นกรรม แต่บุคคลอื่นจะมาเป็นเจ้านาย อย่างที่เราแยกว่าเจ้ากรรมนายเวรไม่ได้เลยแม้แต่ขณะจิตที่เกิดขึ้นเป็นผลของกรรมหนึ่ง เลือกไม่ได้ กรรมทำมาแล้วมากมายในสังสารวัฎแสนโกฏิกัปป์ กรรมไหนคะทำให้เกิดเป็นคนนี้ กุศลกรรม กรรมดีเพราะว่าไม่ได้เกิดในนรก ไม่ได้เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ไม่ได้เกิดเป็นเปรต ไม่ได้เกิดเป็นอสุรกาย แต่ว่าเกิดเป็นมนุษย์
ถ้ากรรมดีกว่านี้อีกที่ได้ทำแล้วเนี่ยจะทำให้เกิดที่ไหน เทวโลก บนสวรรค์ อยากไปไหม อีก และเห็นไหม อยากหรือไม่อยาก อยากหรือคะ เหมือนอย่างนี้ค่ะ เหมือนเลยมีเห็น มีได้ยิน มีได้กลิ่น มีลิ้มรส มีการรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสคิดนึก แต่ไม่เจ็บไข้อย่างมนุษย์ ดีแล้วใช่ไหม แต่ว่าสวรรค์เนี่ยมีแต่ผลของบุญนะคะ ที่จะให้ในระหว่างที่ยังเป็นชาวสวรรค์อยู่เนี่ย อาหารก็ไม่ต้องเข้าครัวอาหารทิพย์ยิ่งอร่อยรึเปล่า เห็นไหม
นี่ค่ะมีแต่เรื่องคิดเรื่องสุขเรื่องอะไรทั้งนั้น แต่โกรธมีไหม โลภะมีไหม ขุ่นใจมีไหม กิเลสมีไหมยังไม่ได้ดับเลย แล้วจะไปให้ทานใครบนสวรรค์ จะเอาอะไรไปให้ใครบนสวรรค์ ทุกอย่างเลอเลิศหมดแล้ว
เพราะฉะนั้น ถ้ามีโอกาสได้ฟังธรรมมาก่อนเกิดบนสวรรค์ ที่สวรรค์มีศาลาสุธรรมาไปได้เลย ถ้าจะไป แต่จะไปหรือเปล่า เหมือนคนในโลกนี้เกิดมาก็มีการที่จะได้ยินได้ฟังธรรม แต่ฟังหรือเปล่าบังคับกันก็ไม่ได้ใช่ไหม ถ้าไม่มีปัจจัยที่สะสมมา ไม่มีแม้แต่คิดที่จะฟังกำลังได้ยินก็ยังไม่ฟังเลย ได้ยินแต่ฟังนี่ต่างกัน ได้ยินก็ผ่านหูไป แต่ฟังแล้วคิดแล้ว ไตร่ตรองแล้ว เริ่มเข้าใจแล้ว
เพราะฉะนั้น บางทีบางคำที่เป็นชีวิตประจำวันที่เราได้ยินได้ฟังเนี่ยแต่ถ้าเราเข้าใจธรรมแล้วก็มีคำตอบของเราเองไม่ว่าจะเป็นเรื่องผี เรื่องเจ้ากรรมนายเวรเขาพูดกัน แล้วบอกเขาสิว่าเจ้ากรรมเขาอยู่ไหนนายเวรเขาอยู่ไหน มองเห็นหรือเปล่าคนนี้ใช่ไหมที่เคยเป็นเจ้ากรรมนายเวรกันมาแต่ชาติก่อนคนโน้นใช่ไหมที่เคยเป็นเจ้ากรรมนายเวรกันมาแต่ชาติก่อนก็ไม่รู้แต่คิดว่ามีได้ยังไง ก็เป็นความเข้าใจหรือความคิดเห็นที่เลื่อนลอยมาก พระพุทธศาสนาไม่มีที่จะเลื่อนลอยพูดถึงสิ่งที่มีจริง โดยละเอียดยิ่ง ทั้งเหตุ และผล แม้แต่จิตหนึ่งขณะมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเท่าไหร่ แต่ละเจตสิกเป็นปัจจัยโดยสถานะใดโดยฐานะได้ โดยเป็นแต่เพียงสภาพธรรมที่เกิดพร้อมกัน แยกกันไม่ได้ ทันทีที่จิตเกิด จิตเจตสิกนี้ต้องเกิดร่วมด้วยทุกครั้งเป็นสหชาตปัจจัยเห็นไหมเราเข้าใจภาษาไทยแล้ว ไม่จำเป็นต้องพูดภาษาบาลีแต่ถ้ามีภาษาบาลีก็ตรงกับที่เราใช้จิตเจตสิกเกิดดับพร้อมกัน สหชาต เกิดพร้อมกันแล้วก็ดับพร้อมกันด้วย แต่ว่าสภาพธรรมบางอย่างนะคะ เกิดพร้อมกันก็จริงแต่ไม่ได้ดับพร้อมกันก็มี ก็ต้องศึกษาต่อไปอีกเพราะเหตุว่าเป็นปัจจัยต่างปัจจัย และจะให้เป็นปัจจัยเดียวกันก็ไม่ได้
ถ้ามีใครอยากรู้จะรู้เดี๋ยวนี้หรือว่า ฟังธรรมไปเรื่อยๆ เข้าใจขึ้นเรื่อยๆ ในภาษาไทย แล้วพอเป็นปัจจัยภาษาบาลีก็ชื่ออย่างนี้ อย่างเมื่อกี้เราพูดเรื่อง ฟังธรรมเข้าใจ ไม่ลืม แล้วก็พอได้ยินว่าจะมีการสนทนาธรรมเห็นประโยชน์ก็มาฟังอีก เป็นปกติหรือเปล่า เป็นอุปนิสัยต่อไปจะมีกำลังกำลังดูอะไรสนุกๆ ฟังอะไรสนุกๆ ถึงเวลาฟังธรรม ฟังธรรมทันที เลิกสิ่งนั้นได้
ก็เป็นการแสดงให้เห็นว่าทั้งหมดที่เป็นความเข้าใจถูกทรงแสดงไว้ในอีกภาษาหนึ่งนั่นคือปกตูปนิสสยปัจจัยก็ได้ หรือว่าอารมณ์เฉพาะแต่ละหนึ่ง ไม่ได้กล่าวโดยธรรมอื่นๆ ด้วยกล่าวเฉพาะอารมณ์ก็เป็น อุปนิสสยโคจร หมายความว่าโคจรเป็นอารมณ์ของจิต จิตต้องไปสู่อารมณ์นั้นบ่อยๆ จนกระทั่งมีกำลัง
จริงๆ แล้วไม่จำเป็นต้องใช้ภาษาบาลีเลยนะคะ ต้องเข้าใจภาษาไทยก่อน และก็พอได้ยินภาษาบาลีจำก็ได้ไม่จำก็ได้แต่ค่อยๆ คุ้นหูไปเองอย่างคนไทยพูดภาษาบาลีโดยไม่รู้ตัว ตารู้จักไหม จักขุหรือจักษุใช้แล้ว ดี งามคนชื่อโสภณมีไหม ก็มีก็ใช้อยู่ตลอดเวลา แต่ว่าไม่รู้เลยว่านั่นก็คือคำในภาษาอื่นนะคะ แต่ว่าถึงแม้ว่าจะเป็นภาษาอื่นหรือภาษาไทยต้องฟังให้เข้าใจ
พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมในภาษามคธีกับชาวมคธซึ่งชาวมคธรู้แล้วเพราะใช้คำนั้นเป็นประจำแต่ทรงแสดงให้เข้าใจ เพราะฉะนั้น ภาษาไทยเราก็เหมือนกัน ก็เป็นคำที่เราใช้อยู่แล้วแต่พูดคำ และก็กล่าวถึงความจริงเพื่อให้เข้าใจสิ่งที่มีจริงในภาษานั้น ฉันใด ชาวมคธก็ต้องฟังเพื่อให้เข้าใจความจริงซึ่งเขามีอยู่เช่นเขาก็โกรธ อดีตกาลนานมาแล้ว เดี๋ยวนี้คนอื่นก็โกรธ โกรธก็ต้องมีแต่เมื่อเขาโกรธแล้วได้ฟังพระธรรมเรื่องความโกรธในภาษาของเขา เขาก็เข้าใจเราก็เข้าใจ โกรธ โก ธะ โกโธเป็นภาษาอะไร ไม่ใช่ภาษาไทยแต่เอามาใช้จนไม่รู้ว่ามาจากไหนใช่ไหม
เพราะฉะนั้น จริงๆ แล้วเราใช้คำที่เราไม่รู้จักแต่ถ้าเราจะศึกษาค่อยๆ เข้าใจขึ้นไม่สงสัยเลย เรื่องกรรมเวรเพราะมีคำว่าเจ้ากรรมนายเวรนะคะ ขอเชิญคุณคำปั่นให้ความหมายของทั้งสองคำด้วย
อ.คำปั่น ความหมายจริงๆ ของเวร ก็คือสภาพธรรมที่ตรงกันข้ามกับกุศลธรรม ตรงกันข้ามกับคุณความดี เพราะฉะนั้นความหมายของเวรก็ไม่พ้นไปจากอกุศลธรรมทั้งหลายนั่นเอง แต่ในบ้างครั้งเวลาที่ทรงแสดงถึงธรรม ประเภทหนึ่งก็คือความโกรธ ความผูกโกรธก็จะมีคำว่าผูกเวร ก็พูดถึงสภาพธรรมที่เป็นอกุศลธรรมคือโทสะที่มีกำลังซึ่งก็จะได้พบบ่อยในส่วนของชาดกบ้างหรือว่าในส่วนของคาถาธรรมบทบ้าง ที่ยกเรื่องการผูกเวรกัน นี้คือความหมายของเวร
ส่วนเรื่องกรรม ซึ่งกรรมนี้ก็ละเอียด แต่ว่าเมื่อศึกษาพระธรรมก็จะเข้าใจว่ากรรมคือเจตนา เจตนาเจตสิกซึ่งก็เกิดกับจิตทุกขณะแต่ว่ากรรมที่จะเป็นเหตุให้เกิดผลในภายหน้าก็ต้องมีสองประการก็คือกรรมดีที่เป็นกุศลกรรมกับกรรมไม่ดีที่เป็นอกุศลกรรมที่สำเร็จแล้วเท่านั้น จึงจะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดผลในภายหน้า
ท่านอาจารย์ ธรรมต้องสอดคล้องกัน ไม่ว่าเรื่องอะไรทั้งนั้น เพราะฉะนั้นก่อนอื่นเนี่ยเข้าใจแล้วใช่ไหมในเรื่องกรรมหมายความถึงการกระทำได้แก่ความจงใจความตั้งใจ ซึ่งถ้าศึกษาโดยละเอียด สภาพของความจงใจตั้งใจได้แก่ สภาพธรรมที่เป็นเจตสิกชนิดหนึ่งใช้คำว่าเจตนาเจตสิกคนไทยก็บอกว่าเจตนาพอทำอะไรก็ขอโทษไม่ได้เจตนาแต่ความจริง เจตนาเจตสิกต้องเกิดกับจิตทุกขณะไม่เว้นเลย ล
เพราะฉะนั้น เจตนาก็มีกิจการงานที่เกิดกับจิต เกิดพร้อมจิตดับพร้อมจิตอย่างหนึ่งเรียกว่าสหชาตกรรมปัจจัยเพราะว่าเจตนาเป็นกรรมที่เกิดกับจิตทุกขณะ
เพราะฉะนั้น ลักษณะของเจตนาที่เกิดพร้อมจิตทุกขณะไม่ว่าจะเป็นจิตดีจิตชั่วก็ตามแต่ขณะนั้นถึงแม้แต่เพียงขณะที่ กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ ถ้าเราไม่ลืมว่าเจตนาต้องเกิดกับจิตทุกขณะตอบได้ไหมคะว่ากำลังเห็นเดี๋ยวนี้มีเจตนาเจตสิกเกิดด้วยไหม ไม่รู้แต่ก็มีใช่ไหม เพราะเหตุว่าเจตนาที่เกิดกับจิตเห็นในขณะนี้พร้อมกับเจตสิกอื่นอีก ๖ ประเภทเพราะว่าจิตเห็นหนึ่งขณะจะมีสภาพเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยน้อยที่สุดค่ะไม่เกิน ๗ ประเภทเลย ใครก็ไม่สลามารถจะรู้ได้แต่ว่าเมื่อฟังแล้วก็รู้ได้ถึงสภาพของเจตสิกแต่ละหนึ่งซึ่งเกิด ต้องเกิดกับจิตในขณะที่เห็น ใครบังคับจิตให้เห็นได้ไหมคะ
จิตเห็นเป็นผลของกรรม เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะเห็นอะไรที่ไหนยังไง ต้องไม่ลืมว่าถ้าไม่มีกรรมอีกต่อไปจะไม่มีการเห็นอีกเลยแต่ตราบใดที่ยังมีกรรมก็ยังมีจิตเห็น ซึ่งขณะนั้นการที่จิตเห็นเกิดขึ้นเพราะกรรม ตัวจิตเห็นไม่ใช่กรรม ไม่ได้กระทำกรรมที่จะให้เกิดผลอะไรแต่ว่าเป็นผลของกรรมที่ได้ทำแล้วทำให้เห็นสิ่งที่น่าพอใจหรือไม่น่าพอใจแล้วแต่ว่าเป็นผลของกรรมใด
เพราะฉะนั้น เจ้ากรรมนายเวรมีไหม ไม่มี กำลังเห็นสิ่งที่สวยงาม เจ้ากรรมไหนนายเวรไหนนายเวรเจ้ากรรมคนไหนมาถามก็เปล่าเลย แต่กรรมที่ได้กระทำแล้วเป็นปัจจัยทำให้เมื่อมีสิ่งที่น่าพอใจกระทบตา กุศลกรรมเท่านั้นที่จะเป็นปัจจัยทำให้จิตเกิดขึ้นเห็นสิ่งที่น่าพอใจนั้นแล้วดับ
เพราะฉะนั้น ถ้ากล่าวถึงกรรม ไม่ได้หมายความถึงเฉพาะที่เกิดกับจิตทุกขณะแต่ต้องหมายความถึงขณะที่กระทำสิ่งที่ดีเป็นกุศลเช่นกันช่วยเหลือคนอื่น การให้สิ่งที่เป็นประโยชน์กับคนอื่น การฟังธรรมขณะนี้ ไม่มีโลภะ ไม่มีโทสะ ไม่มีโมหะจึงฟัง ถ้าไม่ชอบโกรธไม่อยากเห็นหน้าไม่อยากฟังคนนี้คนนั้นฟังไหม
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1861
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1862
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1863
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1864
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1865
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1866
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1867
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1868
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1869
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1870
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1871
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1872
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1873
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1874
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1875
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1876
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1877
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1878
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1879
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1880
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1881
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1882
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1883
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1884
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1885
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1886
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1887
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1888
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1889
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1890
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1891
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1892
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1893
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1894
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1895
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1896
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1897
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1898
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1899
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1900
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1901
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1902
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1903
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1904
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1905
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1906
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1907
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1908
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1909
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1910
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1911
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1912
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1913
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1914
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1915
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1916
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1917
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1918
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1919
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1920