ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1900
ตอนที่ ๑๙๐๐
สนทนาธรรม ที่ บ้านคุณทักษพล และคุณจริยา เจียมวิจิตร จ.นครปฐม
วันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
ท่านอาจารย์ แต่ว่าสิ่งที่มีจริงนี่หลากหลายมากใช้คำเดียวไม่ได้ ต้องแต่ละหนึ่งคำ เพื่อให้รู้ว่าหมายความถึงอะไร
ผู้ฟัง กราบเรียนท่านอาจารย์ว่าสิ่งที่บอกว่าธรรมคือความจริง ความจริงคืออย่างไร
ท่านอาจารย์ สิ่งที่มีจริงมีจริงเมื่อเกิดขึ้น เห็นจริงไหมเป็นธรรม ได้ยินจริงไหมเป็นธรรม ไม่ต้องเรียกก็เป็น ไม่ใช่ว่าเพราะเราไปเรียกว่าเป็นธรรมจึงเป็นธรรมไม่ใช่อย่างนั้นเลย ไม่ต้องเรียกก็เป็น รู้ก็เป็น ไม่รู้ก็เป็น คือเปลี่ยนลักษณะของธรรมไม่ได้เลย
เพราะฉะนั้น เมื่อสิ่งที่มีจริง ใครรู้ความจริงของสิ่งที่มีจริง ว่าสิ่งที่มีจริงเกิดหรือเปล่า ถ้าไม่เกิดจะมีไหม นี่ก็เริ่มเป็นความรู้แล้วว่าสิ่งที่มีจริง มีจริงเมื่อเกิดขึ้น ถ้ายังไม่เกิด ไปหาอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ไม่มีปัจจัยที่จะให้เกิด ไม่ใช่ไปค่อยจะเกิดแต่ว่ายังไม่มีปัจจัยที่จะทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น ต่อเมื่อไหร่เกิด เมื่อนั้น จริงเพราะมีลักษณะเฉพาะอย่างๆ อย่างแข็งไม่ใช่เห็น ใช่ไหม แล้วก็ไม่ใช่เสียง แต่แข็งก็มี จะไม่ให้แข็งมีได้ไหม ไม่ได้เพราะแข็งเป็นธรรม ใครจะทำให้แข็งเกิดก็ไม่ได้ไม่ทำให้เกิดก็ไม่ได้ เกิดแล้วเป็นธรรมคือเป็นแข็ง
เพราะฉะนั้น ธรรมคือสิ่งที่มีจริง และสิ่งที่มีจริงไม่ต้องเรียกอะไรเลย จะรู้หรือไม่รู้ก็เป็นอย่างนั้นแหละ เห็นเกิดแล้วดับ ถ้าไม่มีใครมาบอกให้รู้ เราก็ไม่เคยคิดเลยว่าเห็นเดี๋ยวนี้แค่เห็น ยังไม่ทันรู้เลยว่าเป็นใคร สั้นขนาดนั้นเพียงแค่เกิดขึ้นเห็นแล้วดับเหมือนฟ้าแลบแป๊บเดียวเห็นไหมว่าอะไรอยู่ที่นั่น เร็วมากอย่างนั้น แต่นั่นก็ยังช้ากว่าการเกิดดับของจิต ไม่มีอะไรที่จะเกิดดับเร็วเท่าจิต ไม่ว่าใครจะศึกษาวิชาการใดๆ ทั้งสิ้นวิทยาศาสตร์แสงสีเสียงอะไรก็ตามแต่ ไม่มีอะไรเกิดดับเร็วกว่าจิต
เพราะฉะนั้น แสดงว่าเกิดดับเร็วแค่ไหน จึงลวงเพราะเกิดดับบ่อยๆ ซ้ำๆ บ่อยๆ สิ่งที่ปรากฏทางตาก็เหมือนอย่างนี้แหละ เพราะว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดเป็นอย่างนี้ยังคงให้เป็นอย่างนี้อยู่ อย่างเห็นดอกไม้วันนี้ที่เริ่มบานมีปัจจัยที่จะให้เกิดเห็นเป็นอย่างนั้น แต่ความจริงเกิดดับตลอดแล้วก็ถึงวันที่ดอกไม้เริ่มเหี่ยว เห็นไหมก็เป็นความจริงที่ว่าขณะนี้มีสิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นอย่างนั้น เกิดแล้วเป็นอย่างนั้นแต่ก่อนจะเป็นอย่างนั้นต้องมีตอนเกิด เพราะฉะนั้น ทุกอย่างเมื่อมีการเกิดแล้วก็ดับ และสืบต่อ ก็จะเป็นการเปลี่ยนแปลงของรูปที่ปรากฏให้เห็นได้แต่ทางฝ่ายสิ่งที่ไม่ปรากฏทางตาก็ไม่เห็น
ซึ่งการเกิดดับของจิตเร็วยิ่งกว่ารูปอีก นี่คือพระปัญญาคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือเริ่มฟังเริ่มรู้จัก รู้ว่าสิ่งที่เราเคารพสูงสุดตลอดชีวิตมาคือพระปัญญาคุณ และพระบริสุทธิคุณ ทรงแสดงพระธรรมไม่ได้หวังเครื่องสักการบูชาด้วยดอกไม้ รัตนะต่างๆ แต่บูชาด้วยการเข้าใจธรรม ศึกษาธรรมที่พระองค์บำเพ็ญเพื่อให้คนอื่นสามารถเข้าใจได้ด้วย
เพราะฉะนั้น ทางเดียวที่จะเป็นผู้ที่กตัญญูรู้คุณของพระรัตนตรัย มีความนอบน้อมไม่ใช่เพียงด้วยกาย กราบไหว้ ไม่ใช่เพียงด้วยวาจา เปล่งคำนมัสการ แต่ด้วยใจที่ศึกษาจนกระทั่งมีความเข้าใจในพระคุณจึงเป็นการนอบน้อมทั้งกายวาจา และใจ
มิฉะนั้นแล้วนอบน้อมด้วยกายจบแล้ว นอบน้อยด้วยวาจาก็สวดมนต์จบแล้ว และอะไรล่ะ หมดไม่มีอะไรเหลือแต่ความจริงไม่ใช่เลย
ใจที่นอบน้อมด้วยการที่ยิ่งเข้าใจธรรม ยิ่งรู้คุณ และยิ่งนอบน้อม เพราะฉะนั้น ทุกคำมีความละเอียด แล้วก็มีความหมายตามลำดับนอบน้อม แล้ว ศึกษาแล้วพอไหม ไม่เลย ประพฤติปฏิบัติตามเห็นไหม ประโยชน์เริ่มตั้งแต่ฟัง แล้วก็เข้าใจจนกระทั่งมีปัจจัยที่จะประพฤติปฏิบัติตามได้เพราะว่าไม่มีใครที่สามารถจะได้สิ่งที่ตัวเองคิดว่าทำได้ อย่างโกรธเกิดขึ้นไม่ให้โกรธได้ไหม นี่ไงคำสอนแสดงโทษของความโกรธมากมายใช่ไหม
แต่ลืมหรือว่าอนัตตาไม่ใช่เราจะไปละ แต่ต้องเป็นปัญญาความเห็นที่เข้าใจความจริงของธรรมเพิ่มขึ้นๆ จนกระทั่งสามารถที่จะค่อยๆ ละคลายแล้วก็มีกุศลเกิดมากขึ้นตรงกับโอวาทปาติโมกข์ ละชั่วทำดี ให้ถึงพร้อม ชำระจิตให้บริสุทธิ์ ทุกคำสอดคล้องกันหมด ไม่มีคำไหนที่ไม่จริง ไม่มีคำไหนที่ค้านกันแต่ต้องเป็นความจริงทั้งหมด
เพราะฉะนั้น เดี๋ยวนี้ธรรมทั้งนั้นเลย เคยเป็นเราเคยเป็นคนนั้นคนนี้ ก็เป็นธรรม เห็นทั้งนั้นเลยเห็นเกิดแล้วก็ดับไม่ว่าตรงไหนที่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดปรากฏให้เห็นได้ก็แค่ธาตุที่สามารถเกิดขึ้นเห็นแล้วดับไป อนัตตา สัพเพธัมมาอนัตตา ได้ยินแต่ก่อนนี้เป็นเราใช่ไหม แต่ความจริงได้ยินดับแล้ว เราอยู่ไหน เราก็ดับไปด้วยไม่มีเหลือในความจริงได้ยินไม่ใช่เราเป็นธรรมซึ่งไม่ใช่เห็น ไม่ใช่คิดแต่เป็นธาตุซึ่งอาศัยโสตปสาท
โสตปสาทภาษาไทยคือหู ประสาทหูแต่ต้องหมายความถึงรูปพิเศษที่ไม่ใช่อ่อนไม่ใช่แข็ง แต่ว่าเป็นรูปที่สามารถกระทบเสียง
เพราะฉะนั้น กระทบแข็งยังไงๆ เสียงก็ไม่ปรากฏ ใช่ไหมแต่มีรูปที่สามารถกระทบเสียงแล้วจะปรากฎเสียงต่อเมื่อเสียงกระทบหู ยังไม่พอ ถ้าจิตขณะนั้นไม่เกิดขึ้นได้ยินกำลังหลับสนิท เสียงดังตูมตามที่ไหนเยอะแยะไม่ได้ยินใช่ไหม เพราะว่าจิตไม่ได้เกิดขึ้นได้ยินเสียงจึงไม่ปรากฏ
เพราะฉะนั้น ทั้งหมดนี้ค่ะก็คือเดี๋ยวนี้เป็นธรรมต้องเดี๋ยวนี้ด้วย เริ่มเข้าใจว่าธรรมไม่ไกลเลย มีอยู่ตลอดเวลาแต่เริ่มเข้าใจถูกว่าไม่ต้องไปหาธรรมที่ไหน ธรรมมีแต่ไม่รู้ เพราะฉะนั้น เมื่อฟังแล้วเข้าใจก็คือเริ่มรู้ว่าทุกอย่างเป็นธรรม ไม่ต้องหาธรรมเลยกำลังเป็น แต่ฟังเพื่อเข้าใจธรรม จากผู้ที่ทรงตรัสรู้ไม่ใช่จากคนอื่นถ้าคนอื่นไม่พูดให้เข้าใจธรรมเขาไม่ได้กล่าวธรรม
ผู้ฟัง ที่อาจารย์พูดถึงคำว่าแข็ง หลายคนคงสงสัยว่าแข็งอยู่ที่ไหน
ท่านอาจารย์ อยู่ไหนแข็ง มีหรือไม่มี มี ตรงที่แข็ง แข็งอยู่ที่ไหนก็อยู่ตรงที่แข็งไม่ใช่ตรงอื่น ไม่ใช่ตรงเต้นท์ ไม่ใช่ตรงต้นมะม่วง ต้นมะพร้าว แข็งอยู่ตรงที่แข็ง
เกิดตรงนั้นดับตรงนั้นจิตเกิดขึ้นรู้แข็งตรงนั้นด้วยต้องมีปสาทที่ใช้คำว่ากายปสาทเป็นรูปพิเศษที่สามารถกระทบกับลักษณะที่เย็นหรือร้อนอ่อนหรือแข็ง ตึงหรือไหวกระทบเสียงไม่ได้กระทบกลิ่นไม่ได้กระทบได้เฉพาะเย็น เรารู้เลยว่าเย็นกระทบร้อนจับอะไรที่ร้อนๆ ก็ร้อนนั่นแหละใช่ไหม ก็เป็นรูปที่มีกายปสาทจึงสามารถรู้ได้
เพราะฉะนั้น ที่ว่าเป็นเราทั้งหมดเห็นบ้าง ได้ยินบ้าง ได้กลิ่นบ้าง ลิ้มรสบ้าง ความจริงก็คือเป็นรูปแต่หนึ่ง หลากหลายมากตรงกลางตาเปลี่ยนให้เป็นหูไม่ได้ ตรงกลางตาต้องเป็นรูปที่สามารถกระทบกับสิ่งที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้ เกิดได้ยังไง ใครไปทำให้ปสาทนี้เกิด จักขุปสาท ใครก็ทำไม่ได้นอกจากกรรม ได้ยินคำนี้ แต่ยังคิดว่าเป็นเราทำ แต่ความจริงไม่ใช่ ต้องไม่ลืมว่าทั้งหมดเป็นธรรม ค่อยๆ เข้าใจไปว่าธรรมหลากหลาย ธรรมซึ่งไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลยก็มี ธรรมซึ่งเกิดแล้วต้องรู้ต้องคิดต้องจำ ทั้งหมดเป็นธรรมแต่ละหนึ่ง
เพราะฉะนั้น ก็อีกนานกว่าจะได้รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่หนทางเดียวคือฟังพระธรรมตามที่ได้ทรงแสดงไว้ว่า ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา แม้ภิกษุในครั้งพุทธกาลเดินตามหลังที่พระผู้มีพระภาคเสด็จบิณฑบาตก็ไม่รู้ สุนักขัตตะ ไม่ได้รู้ในพระปัญญาคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย สุนักขัต ตะเป็นเชื้อสายเจ้าลิจฉวีแล้วก็บวช บวชด้วย มีศรัทธาถึงกับบวชแต่ไม่สามารถเข้าถึงปัญญาคุณ ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเข้าใจว่าคำสอนทั้งหมดดี ถูกต้อง แต่คิดเท่านั้นเอง
ไม่รู้ว่าการประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรมเดี๋ยวนี้ที่กำลังเกิดดับเป็นไปได้โดยไม่คิด เพราะคิดเป็นคิด แต่กำลังรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏไม่ต้องคิด
เวลาที่อาหารหวานมากเลย ต้องคิดไหมว่าหวาน หรือเค็ม ต้องคิดต้องบอกไหมว่าเค็ม ไม่ต้องบอกเค็มแล้ว รู้แล้ว เพราะฉะนั้น การรู้ความจริงของสภาพธรรมไม่ใช่ไปอาศัยคำมากล่าว แต่หมายความว่าสภาพธรรมนั้นแหละปรากฏจริงๆ ให้รู้จริงๆ เข้าใจจริงๆ ถ้าไม่รู้ก็คือว่าไม่เข้าใจจริงๆ
เพราะฉะนั้น ธรรมก็มีทั้งฝ่ายกุศล ฝ่ายดีงามกับฝ่ายที่เป็นอกุศล มีเดี๋ยวนี้ทั้งนั้นเลย ธรรมทั้งหมดเลย กว่าจะรู้ต้องฟังไม่อย่างงั้นก็กราบไหว้พระสัมมาสัมพระเจ้าแต่รู้อะไรไม่รู้ ใช่ไหม เป็นพระพุทธเจ้าได้ยังไงก็ไม่รู้ พระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ พระมหากรุณาคุณ ถ้ามีใครที่สะสมมาที่จะเข้าใจธรรมแต่อยู่แสนไกล เสด็จจาริกไปเพื่ออนุเคราะห์ พระมหากรุณา แค่ไหน เพราะว่าอีกกี่ชาติกว่าเขาจะได้รู้ความจริงถ้าไม่ได้ฟัง ก็ไปเรื่อยๆ ที่ไม่รู้แต่ถ้าได้ยินได้ฟังก็เริ่มที่จะเข้าใจ และสำหรับคนที่เข้าใจแล้ว ก็สามารถที่จะเข้าใจได้เพิ่มเติมจากที่เคยเข้าใจแล้ว
เพราะฉะนั้น ชาติก่อน เป็นใครอยู่ที่ไหนใครรู้บ้าง มีแน่ๆ ในพระไตรปิฎกมีคนมาก ในครั้งนั้นพระนครเวสาลี พระนครพาราณสีมีผู้คนมากมายทรงแสดงอดีตชาติ
ที่ใช้คำว่าชาตกะหมายความถึงการเกิดขึ้นของชาตินั้นๆ ว่าครั้งหนึ่งเคยเป็นอะไร แม้แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเองก็เคยเป็นถึงคนยากไร้เข็ญใจ เป็นได้ถึงอย่างนั้นแต่จากการที่มีวิริยะเป็นบารมีเพียรที่จะเข้าใจสิ่งที่มีจริง มีสัจจะความตรง และความจริงใจว่าไม่ใช่อย่างอื่น ต้องสิ่งที่กำลังปรากฏนี่แหละที่จริงที่สามารถจะรู่ได้ มีอธิษฐานบารมีความมั่นคงไม่เปลี่ยนแปลงที่จะเป็นอย่างอื่นแต่เพื่อที่จะเข้าใจความจริงของสิ่งที่ปรากฏ
บารมีทั้งหมดเหนือบุคคลใดทั้งสิ้นเพียงได้รับคำพยากรณ์จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่าทีปังกรนานมาแล้วว่าต่อไปอีกสี่อสงไขยแสนกัปสุเมธะดาบสจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่าโคตมะหรือโคดม ความปีติ สี่อสงไขยแสนกัปจะไปเกิดเป็นอะไรที่ไหนอีกมากมาย แต่ก็เมื่อบำเพ็ญความดี และก็มีความมั่นคง และมีการไม่ท้อถ้อยก็สามารถที่จะไม่คิดถึงอย่างอื่น แต่ค่อยๆ เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏกำลังเห็นเดี๋ยวนี้ความจริงก็คือว่าสิ่งที่ปรากฏให้เห็นไม่ใช่เห็น เข้าใจได้แล้ว
แต่เราถ้าไม่เคยได้ยินมาฟังเลยคิดเองไม่ออก ใช่ไหมใครจะมาคิดได้ว่าสิ่งที่กำลังปรากฏทางตาไม่ใช่เห็น และทั้งหมดก็คือว่าเกิดขึ้นแต่ว่าเป็นหลากหลายแต่ละอย่างซึ่งเกิดขึ้นแล้วก็หมดไปค่อยๆ คิดค่อยๆ ไตร่ตรองค่อยๆ อบรมจนถึงความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในสี่อสงไขยแสนกัปแต่ของเราสาวกไม่ต้องถึง แต่ถ้าใครอยากเป็นถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ต้องได้เฝ้า และก็ได้รับคำพยากรณ์ว่ามั่นคงหรือยังเพราะบางคนก็แค่อยากประเดี๋ยวเดียวแล้วก็หมดไป
เพราะฉะนั้น กว่าจะได้ฟังก็คือว่า ชาติก่อนก็คงจะเคยอยู่แถวๆ พระเชตวันแต่ทำอะไรก็ไม่รู้ แต่ก็ยังได้ยินได้ฟังทำให้สามารถที่จะมีโอกาสได้ยินอีกได้ฟังอีก แต่ที่สำคัญคือฟังแล้วเห็นประโยชน์ที่จะรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือยังหรือว่าก็ไม่เป็นไร เราก็ของเราอยู่ไปจนถึงเดี๋ยวนี้ก็สบายดีแล้ว จะต้องไปรู้จักอะไรจะต้องไปขวนขวายอะไร แต่ความรู้กับความไม่รู้ แค่นี้สั้นๆ ง่ายๆ อะไรดีกว่ากัน
เพราะฉะนั้น แต่ละคนก็เป็นแต่ละหนึ่ง เกิดแล้วตายแล้วไม่รู้กี่ชาติ ต่อไปก็ยิ่งไม่รู้ใช่ไหม แต่ถ้าสะสมการที่จะเป็นคนดีในชาตินี้ก็มีหวังว่าบุคคลอื่นต่อไปที่ไม่ใช่คนนี้จะเป็นอย่างที่ได้สะสมมา
ผู้ฟัง เรียนถามอาจารย์ คือจริงๆ การติดข้องมันเป็นสาเหตุทำให้เราเกิดความทุกข์ แต่การที่จะหลุดไปจัดการติดข้องได้ก็คือ ต้องมีปัญญา ถึงระดับหนึ่งใช่ไหมที่ทำให้การติดข้องค่อยๆ น้อยลง อย่างหนูนี่ปัญญาอาจจะไม่มากพอ
ท่านอาจารย์ ก็หมายถึงปัญหาที่ว่า ฟังธรรมแต่เป็นเรา แค่นี้ผิดหรือถูก ต้องเป็นผู้ที่ตรงจริงๆ ขณะนี้กำลังฟังธรรม มีธรรมแล้วก็ไม่รู้จักธรรมแต่ฟังให้เข้าใจว่าเป็นธรรมไม่ใช่เราถึงจะถูก แต่นี่ฟังแล้วเป็นเราก็ผิดแล้ว ยิ่งนานต่อไปอีก ยิ่งหวังก็ยิ่งเพิ่มความยาวนานต่อไปอีก
ผู้ฟัง เนื่องจากว่าชีวิตที่มันผ่านมา มันก็คิดอยู่แต่เรา แต่ทีนี้พอเราจะให้หลุดจากการเป็นเรา
ท่านอาจารย์ เราอีกแล้ว
ผู้ฟัง เราอีกแล้ว การที่จะให้หลุดไป
ท่านอาจารย์ คือไม่เข้าใจธรรมว่าเป็นธรรม ตรงนี้จุดนี้ที่จะคลาย
ผู้ฟัง หนูก็เลยมีความรู้สึกว่าไม่เข้าใจ
ท่านอาจารย์ จะให้ไม่ติดของหรือ
ผู้ฟัง คืออาจจะลดน้อยลงไปบ้างก็ยังดี แต่ว่าเนื่องจากว่าการที่จะลดน้อยลงไป นั่นหมายถึงก็ต้องฟังธรรมในระดับหนึ่งถูกไหมเพื่อเกิดปัญญา คือก็ยังยึดว่ามีเราอยู่
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เป็นธรรมหรือเปล่า
ผู้ฟัง ก็ถ้ายึดว่ามีเราก็ไม่ใช่ธรรม
ท่านอาจารย์ แม้แต่การยึดก็มีจริงๆ ใช่ไหม ก็ไม่รู้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้น ก่อนฟังเข้าใจธรรมหรือเปล่า
ผู้ฟัง คิดว่าไม่เข้าใจเท่าไหร่
ท่านอาจารย์ ถูกต้องถ้าใครก่อนฟังเข้าใจธรรมนี่ก็แปลกมากเลย คือธรรมอยู่ที่ไหนคืออะไร ถ้าบอกว่าเข้าใจ จะน้อยมากไม่สำคัญ ขอเพียงเข้าใจก็ไม่มี ถ้าไม่ได้ฟัง
เมื่อฟังแล้วกว่าจะละความเป็นเรา ไม่ใช่เรา แต่ฟังจากที่ไม่เคยรู้แล้วรู้ขึ้นละความไม่รู้ จนกว่าจะหมดความเป็นเรา ระหว่างที่พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีสี่อสงไขยแสนกัปยังไม่ได้รู้ความจริงของธรรม ไม่เป็นแม้พระโสดาบัน เป็นไม่ได้เพราะถ้าเป็นต้องเป็นสาวก แต่นี่ต้องตรัสรู้ด้วยตัวเองจากการที่บำเพ็ญบารมี เพื่ออะไร เพื่ออนุเคราะห์คนอื่น พระมหากรุณาแค่ไหน ถ้าไม่มีใครคิดที่จะเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย รู้เฉพาะตัว เราไม่มีโอกาสได้ยินได้ฟังอย่างนี้เลย และสัตว์โลกก็มากมาย อาศัยปัญญาของผู้เดียวอัครบุรุษจริงๆ ยิ่งใหญ่จริงๆ มั่นคงจริงๆ ที่จะช่วยคนอื่น
เพราะฉะนั้น ความกรุณามากสักแค่ไหนจึงใช้คำว่าพระมหากรุณา เพราะฉะนั้น ฟังธรรมเพื่อรู้ความจริง และความติดข้องมี เป็นธรรม ยืนอยู่คำเดียวว่าเป็นธรรมจนกระทั่งมั่นคง ถึงจะค่อยๆ คลายความเป็นเรา เพราะตราบใดที่เป็นเรา ดับกิเลสไม่ได้เลย
พระโสดาบันยังไม่หมดกิเลสยังไม่ใช่พระอรหันต์แล้วเราเป็นใคร เท่านี้เอง เพราะฉะนั้น ธรรมให้ฟังเพื่อเข้าใจเท่านั้นเองเพราะว่าทุกอย่างยังมี และจะหมดไปได้ต่อเมื่อเข้าใจ
เพราะฉะนั้น ถ้าไม่ฟังก็คือไม่เข้าใจก็แล้วแต่ ไม่ฟังก็ไม่เข้าใจไปอีก ฟังเมื่อไหร่ก็เข้าใจขึ้นทีละเล็กที่ละน้อยอยู่ที่เหตุมีความเข้าใจ
ผู้ฟัง ต้องยืนให้มั่นคงว่าทุกอย่างเป็นธรรม
ท่านอาจารย์ ถูกต้องไหม
ผู้ฟัง ถูก
ท่านอาจารย์ เห็นไหมไม่ใช่ปัญญาของใครเลยของตัวเองที่จะมั่นคง
ผู้ฟัง แต่ว่ายืนไม่ยืนเฉยๆ
ท่านอาจารย์ ถ้ายืนเฉยๆ จะมั่นคงไหม กว่าจะมั่นคงได้ไม่เปลี่ยนแปลงไม่ขยับไปไหนเลยนอกจากเดี๋ยวนี้
ผู้ฟัง ความมั่นคงเกิดขึ้นจากการเข้าใจที่สะสมไปทีละน้อย
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เราได้ยินคำว่าอริยสัจจ ๔ ด้วยในหนังสือก็บอกไว้ ฟังครูก็มากพูดได้ไม่ลืม แต่ว่าไม่พอ
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระมหากรุณารู้ว่าความไม่รู้มากมายมหาศาล ความติดข้อง แค่ได้ยินนิดเดียวก็อยากไม่มีกิเลสแล้ว เห็นไหมความติดข้องนี่แค่ไหน เพราะฉะนั้น ในปฐมเทศนาธัมมจักกัปวัตนสูตรทรงแสดงธรรมกับพระปัญจวัคคีย์
ท่านบำเพ็ญบารมีมามากเหลือเกิน จนกระทั่งได้เป็นสาวกรูปแรกไม่มีใครก่อนท่านเลยคือท่านพระอัญญาโกณฑัญญะแสดงถึงสัจจญาณ กิจจญาณ กตญาณในอริยสัจ ๔ ไม่มีช่องทางที่จะให้เราไปคิดเอง ให้ไปผิดให้ไปอะไรเลย แต่อาศัยพระธรรมที่ทรงแสดงอย่างละเอียดยิ่งทรงแสดงอริยสัจ ๔ แล้วยังทรงกำกับไว้ด้วยญาณคือปัญญา ๓ รอบในอริยะสัจ ๔ สัจจญาณ ๑ กิจจญาณ ๑ กตญาณ ๑ ไม่อย่างนั้นจะหลงว่ารู้ธรรมแล้วดับกิเลสแล้ว เข้าใจผิดใช่ไหม
เพราะฉะนั้น สัจจญาณหมายความถึงความเข้าใจจริงๆ ในอริยสัจทั้ง ๔ เริ่มต้นจากทุกขอริยสัจ ทุกอย่างที่เกิดแล้วดับเป็นทุกข์ ไม่ใช่อย่างอื่น
ถ้าไม่รู้อย่างนี้ไปทำอย่างอื่นใช่ไหม แต่ไม่ใช่ปัญญาไม่ใช่ความจริง เพราะฉะนั้น ความจริงเป็นความจริงว่าถ้ายังไม่มีการมั่นคงว่าเดี๋ยวนี้สภาพธรรมเกิดดับ ไม่มีทางเข้าใจว่าอริยสัจที่เป็นทุกขอริยสัจนั้นคืออะไร และเมื่อไหร่ ต้องเดี๋ยวนี้เลย เพราะทรงแสดงไว้ด้วยได้แก่ขันธ์ ๕ ได้แก่สิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตามที่เกิดแล้วดับนี่แหละเป็นทุกข์ ใครเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อเปลี่ยนแปลงไม่ได้ก็คืออริยสัจ ผู้ใดเห็นความจริงอย่างนี้ ผู้นั้นเป็นอริยะผู้เจริญแล้วอบรมแล้วมีปัญญาที่รู้จริงๆ แล้ว
แต่ในขั้นต้น กำลังฟังใช่ไหม ยังไม่ถึงสัจจญาณเพราะถามว่าเมื่อไหร่จะรู้เมื่อไหร่จะไม่มีกิเลส เพราะฉะนั้น แม้แต่สัจจญาณก็ต้องในอริยสัจ ๔ ด้วยว่าต้องรู้การเกิดดับเป็นทุกข์ และต้องรู้ว่าโลภะเมื่อกี้นี้แหละทำให้ยาวต่อไปอีกใช่ไหม
อยากแล้ว อยากก็กั้นทันทีกั้นไปเรื่อยๆ แทนที่ปัญญาจะเจริญ โลภะก็มาขวาง ถ้ายังคงเป็นอย่างนี้ไม่มีทางรู้แจ้งอริยสัจที่ ๓ ทุกขนิโรธอริยะสัจคือนิพพานซึ่งเป็นธรรมที่ดับทุกข์ จึงจะถึงความเป็นพระอริยบุคคลเพราะว่าได้ดำเนินหนทางคือมรรค ใช่ไหม ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค หนทางของปัญญาเวลานี้กำลังเป็นทางของปัญญา เข้าใจเมื่อไหร่ทางของปัญญาทั้งนั้น ปัญญาไม่ไปทางไม่รู้ ใครไม่รู้เมื่อไหร่ไม่ใช่ทางของปัญญา และปัญญาไม่นำไปสู่ความไม่รู้ เพราะฉะนั้น รู้มาเมื่อไหร่ทางของปัญญาที่จะรู้ขึ้น และรู้ได้จริงๆ ด้วยจากการที่เข้าใจขึ้นๆ
เพราะฉะนั้น แม้แต่อริยสัจ ๔ ก็ประมาทไม่ได้ ยังทรงแสดงสัจจญาณ กิจจญาณ กตตญาณถึง ๓ รอบจึงเป็นอาการ ๑๒ เพราะฉะนั้น ถ้าไม่ศึกษาธรรมจริงๆ เราก็ผ่านไปๆ ไม่ต้องรู้ไม่ต้องเข้าใจ แต่ไม่รู้เลยว่าความเข้าใจโดยละเอียดจะเกื้อกูลไม่ให้ผิด ทางผิดมีมาก ทางคิดเองมีมาก ทางตามผู้อื่นซึ่งไม่ใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็มาก
เพราะฉะนั้น ก็ไม่ใช่สาวกไม่ใช่ผู้ฟังไม่ใช่ชาวพุทธที่แท้จริง เราเรียกเราเองใช่ไหม ชาวพุทธ คนอื่นมาเรียกเราด้วยใช่ไหม เขาก็บอกว่าเราเป็นชาวพุทธ แต่เป็นจริงๆ รึเปล่าใครรู้
ผู้ฟัง เรียนถามอาจารย์เข้าใจว่าทุกคนก็มีกรรมเป็นของตัวเอง และตอนนี้ตามวัดเขามีพิธีตัดกรรมมา คืออะไร
ท่านอาจารย์ ไม่รู้ ใช่ไหม ไม่รู้ก็ไม่ใช่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตัดสินได้เลย อะไรที่ทำให้ไม่รู้ ไม่ใช่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เพราะฉะนั้น ทุกคำก่อนที่จะต้องฟังธรรมพูดคำที่ไม่รู้จักรับรองได้เลย ทุกคำไม่รู้จัก แต่ถ้าพูดตั้งแต่เกิดมา พูดคำว่าโลกหรือเปล่า พูด พูดคำว่าจิตหรือเปล่า พูดคำว่ากรรมหรือเปล่า พูดทุกคำแต่ไม่รู้จักสักคำ โลกคืออะไร โล กะเป็นอีกคำหนึ่งของสภาพธรรมที่เกิดแล้วดับ เป็นโลก
เพราะฉะนั้น เหนือโลกคือไม่เกิดไม่ดับคือนิพพาน พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้รู้เพียงเรื่องโลกอย่างที่คนอื่นรู้ แต่รู้จนถึงธรรมที่พ้นจากโลกคือไม่มีปัจจัยที่จะทำให้เกิดดับอีกเลย
เพราะฉะนั้น ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าโลกจริงๆ คืออะไรใหญ่มากไหมโลก มีทะเล มีมหาสมุทร มีภูเขา ใหญ่มากเหลือเกินใช่ไหม แต่ถ้าไม่มีจิตเกิดขึ้นรู้โลกมีไหม แล้วไงใหญ่ ที่ว่าใหญ่มากเพราะจิตเกิดขึ้นรู้โดยเห็นบ้าง โดยได้ยินบ้างแล้วก็คิด แล้วก็จำแล้วก็เข้าใจว่านั่นคือโลก แต่โลก โล กะจริงๆ ไหมความถึงธรรมซึ่งเกิดแล้วดับไม่เที่ยง เพราะฉะนั้น แต่ละคนเป็นแต่ละโลก ปนกันได้ที่ไหน นี่ก็จิต นั่นก็จิต และจิตนี้จะไปปนกับจิตนั้นได้ยังไงใช่ไหม ก็ต่างจิตแต่ว่าจิตนี่แหละเกิดขึ้นเมื่อไหร่เป็นธาตุรู้ต้องรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่กำลังปรากฏ
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1861
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1862
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1863
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1864
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1865
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1866
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1867
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1868
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1869
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1870
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1871
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1872
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1873
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1874
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1875
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1876
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1877
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1878
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1879
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1880
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1881
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1882
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1883
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1884
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1885
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1886
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1887
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1888
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1889
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1890
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1891
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1892
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1893
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1894
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1895
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1896
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1897
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1898
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1899
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1900
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1901
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1902
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1903
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1904
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1905
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1906
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1907
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1908
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1909
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1910
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1911
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1912
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1913
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1914
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1915
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1916
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1917
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1918
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1919
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1920