ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1902
ตอนที่ ๑๙๐๒
สนทนาธรรม ที่ บ้านคุณทักษพล และคุณจริยา เจียมวิจิตร จ.นครปฐม
วันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
ท่านอาจารย์ ธรรมฝ่ายที่จะทำให้เข้าใจธรรมเพิ่มขึ้นจนกระทั่งถึงความเป็นพระอริยะบุคคลก็เป็นที่พึ่ง
ผู้ฟัง กราบท่านอาจารย์ถ้าเรายังเห็นแล้วเรารู้ว่าเป็นเราที่เห็น มันยังไม่ใช่สภาพรับรู้ที่แท้จริง
ท่านอาจารย์ ปัญญาไม่ได้เกิดขึ้นเข้าใจ ลักษณะเห็นที่กำลังเห็นขณะนี้
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น การปฏิบัติที่ท่านอาจารย์พูดถึงก็หมายถึงว่า เราเห็นแต่ไม่ใช่เราเห็น
ท่านอาจารย์ การปฏิบัติไม่ใช่เรา ธัมมปฏิปัตติ ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ธรรมปฏิบัติเพื่อถึงธรรมคือการรู้การเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ก่อนอื่นไม่ใช่เราปฏิบัติใช่ไหม ปฏิบัติต้องหมายความว่าอะไรปฏิบัติไม่ใช่อยู่ดีๆ ไม่มีอะไรปฏิบัติแล้วจะมีอะไรได้
เพราะฉะนั้น อะไรปฏิบัติ
ผู้ฟัง ก็เป็นสภาวะที่ปฏิบัติ
ท่านอาจารย์ แต่ว่าจริงๆ แล้ว ลักษณะของธรรมหลากหลายมากไม่เหมือนกันเลย สติไม่ใช่ปัญญา ไม่ใช่วิริยะ
เพราะฉะนั้น ขณะนี้ที่กำลังเห็นมีจริงๆ แต่เห็นแล้วดับไปมีความเข้าใจเหมือนเดิมว่าเป็นเราที่เห็นหรือเปล่า
ผู้ฟัง เป็นเราที่เห็น
ท่านอาจารย์ เราเห็นเรากำลังเห็นหรือใครเห็น
ผู้ฟัง ก็ยังเป็นเราที่เห็น
ท่านอาจารย์ เป็นเราที่เห็น เพราะฉะนั้น ยังไม่มีธรรมที่ปฏิบัติ เพราะว่าธรรมที่ปฏิบัติไม่ใช่เรา แต่เป็นธรรม ซึ่งถ้าไม่มีปริยัติการฟังให้เข้าใจ ไม่มีปัจจัยที่จะให้ปฏิบัติ เกิดได้เลย เพราะว่าไม่ใช่อกุศลความไม่รู้ปฏิบัติ แต่ต้องเป็นผู้โพธิปักขิยธรรมเริ่มตั้งแต่สติสัมปชัญญะ ที่เป็นสติปัฎฐานซึ่งเกิดเพราะความเข้าใจจริงๆ ไม่ใช่เกิดเพราะอยากรู้ไม่ใช่เกิดเพราะกำลังทำให้รู้ แต่มีปัจจัยเกิดขึ้นเหมือนสภาพธรรมอื่นอนัตตามีปัจจัยจึงเกิดไม่ใช่ความเข้าใจระดับฟังด้วย
ต้องเป็นความเข้าใจอีกระดับหนึ่ง เพราะฉะนั้นลักษณะของสติต้องปรากฏเพราะเกิด ถ้าสติไม่เกิดก็เหมือนธรรมดาอย่างนี้แหละไม่มีทางที่จะละการยึดถือเห็นว่าเป็นเราได้ นี่คือความลึกซึ้งอย่างยิ่งของธรรม ที่จะรู้จักว่านี่คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้เราเกิดความเข้าใจถูก จนกระทั่งค่อยๆ เข้าใจความจริงว่าไม่ใช่เรา จากขั้นฟังจนกระทั่งมั่นคง จึงจะเป็นปัจจัยให้สภาพธรรมที่กำลังถึงเฉพาะลักษณะธรรมหนึ่งด้วยความเข้าใจที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้น
เพราะฉะนั้น เราจะไม่ใจร้อนไปรู้อะไรเลย เพราะความไม่รู้มากมายมหาศาลทั่วจักรวาลก็ไม่สามารถที่จะไปบรรจุความไม่รู้ซึ่งเคยไม่รู้มาแล้วมาก แล้วก็เหนียวแน่นหนาแน่น ทั้งสกปรกทั้งเป็นเชื้อโรคทั้งเป็นโรคสารพัดไม่สามารถจะเห็นถูกตามความเป็นจริงของสภาพธรรมเกิดดับเร็วสุดที่จะประมาณได้
เพราะฉะนั้น ยังไม่ได้ประจักษ์การเกิดดับเลยแต่เริ่มฟัง และก็รู้ว่าการฟังยังไม่ใช่ระดับอีกขั้นหนึ่งซึ่งเป็นปฏิ ปัตติ เพราะเหตุว่าขั้นปริยัติ มีสติมีสภาพธรรมที่กำลังรู้ในคำที่ได้ยิน และเข้าใจ เพราะฉะนั้น สติมีหลายขั้น ขั้นทานก็มี ขั้นศีลก็มี ขั้นความสงบก็มี ขั้นปัญญาก็มี
เพราะฉะนั้น ปัญญารู้ตรงลักษณะของสติแต่ละขั้นไม่ใช่เรา ไม่ใช่เราก็ต้องเป็นธรรมหนึ่ง และธรรมนั้นมีลักษณะอย่างไร ใช้คำนี้หมายความถึงสภาพธรรมอะไร ไม่ใช่เรียกทั่วไป
ผู้ฟัง ความเข้าใจที่ท่านอาจารย์บอก มีหลายขั้นใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง
ผู้ฟังไม่ใช่แค่ว่าเราฟัง
ท่านอาจารย์ รู้ว่าธรรมมีจริง และเริ่มรู้ว่าธรรมไม่ใช่เราอย่างไร จากการฟังแล้วฟังอีกถึงเหตุที่ว่าแต่ละหนึ่งอย่างนี้จะเกิดขึ้นได้ยังไง ถ้าไม่มีจากจักขุปสาท จะให้จิตเห็นเกิดไม่ได้ แต่จิตได้ยินเกิดได้เมื่อมีโสตปสาท และก็เกิดแล้วก็ดับไปค่อยๆ เก็บไว้ในความเข้าใจจนกระทั่งมั่นคงไม่เปลี่ยนแปลงจึงจะเป็นปัจจัยให้สติสัมปชัญญะเกิด และก็เริ่มค่อยๆ เข้าใจสิ่งที่ได้ฟังมาแล้วว่าเป็นความจริงทีละเล็กทีละน้อย
ผู้ฟัง อย่างนี้นอกจากว่าเราจะต้อง ฟังสุตะมากๆ แล้ว ก็คือเราก็ต้องมีความสังเกต
ท่านอาจารย์ ทั้งหมดเป็นธรรมไม่ใช่เรา ขณะนี้เราพูดถึงจิต มีจิตกันทุกคนใช่ไหม มีเจตสิกสภาพธรรมที่เกิดพร้อมจิตดับพร้อมจิตด้วยใช่ไหม เจตสิกมากไหม หลายประเภทไหม รู้ไหม ดับแล้วไม่รู้
ฟังเพื่อให้เข้าใจจนกระทั่งมีความเข้าใจที่มั่นคงว่าขณะนี้เป็นธรรมที่กำลังปฏิบัติกิจของธรรมขั้นฟังเข้าใจ ไม่มีใครไปทำอะไรเลยเข้าใจเมื่อไหร่ เจตสิกที่เกิดทั้งหมดพร้อมจิต ทำหน้าที่ของตนทั้งนั้นเลย เพราะฉะนั้น จะมีเราไปนั่งสังเกตก็ไม่ใช่ ขณะที่กำลังฟังเข้าใจ เข้าใจรู้ไหมว่าจิตเจตสิก และทำหน้าที่อะไรจนถึงกำลังเข้าใจเดี๋ยวนี้ ไม่ใช่เราเลย
เพราะฉะนั้น กว่าจะรู้แต่ละหนึ่งที่ไม่ใช่เราได้ปัญญาก็ต้องมากขึ้นมั่นคงขึ้น แล้วข้อสำคัญคือละคลายมากขึ้นในความเป็นอนัตตา ถ้ายังคงเป็นอัตตาจะทำอย่างนั้นอย่างนี้ จะปฏิบัติอย่างนั้นอย่างนี้ก็คือไม่ได้เข้าใจธรรม ใช้คำว่าไม่เข้าใจ เพราะลืมว่าเป็นอนัตตา เพราะฉะนั้น ความเข้าใจว่าเป็นธรรมซึ่งเป็นอนัตตาต้องมั่นคงถึงจะเป็นปัจจัยให้สติสัมปชัญญะ อีกขั้นหนึ่ง ไม่ใช่ขั้นฟังสามารถจะเกิด และเริ่มเข้าใจตัวจริงของธรรมเดี๋ยวนี้
นี่กำลังฟังเรื่อง เข้าใจเรื่องเห็น เข้าใจเรื่องได้ยิน แต่เห็นเกิดดับนี่ไม่ได้ไปรู้เลย ยังไม่ได้เข้าใจลักษณะเห็นซึ่งไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้น ก็เป็นผู้ที่ละเอียด ที่จะรู้ว่าการอบรมจริงๆ เหมือนการจับด้ามมีดจนกว่าด้ามมีดจะสึก วันนี้จับแล้วไม่เห็นสึกเลย จับทั้งวันด้วยไม่สึก จับอีกนานเท่าไหร่ก็ยังไม่สึก นี่คือธรรมที่มีเดี๋ยวนี้ทนต่อการพิสูจน์ คือค่อยๆ เข้าใจขึ้นโดยไม่ใช่เรา แต่เป็นการที่เข้าใจถูกต้องว่าขณะนั้นอะไร สติไม่ใช่อย่างอื่น ไม่ใช่ปัญญาสามารถที่จะรู้ลักษณะที่ต่างกันได้
ผู้ฟัง ความเข้าใจในระดับนั้นไม่ใช่ความเข้าใจในขั้นของสติปัญญาใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ทุกครั้งที่เข้าใจต้องมีสติเจตสิกเกิดถ้าไม่มีสติเจตสิกเข้าใจไม่ได้ มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ โสภณเจตสิก ๑๙ ประเภท เกิดพร้อมจิตดับพร้อมจิต เป็นสังขารขันธ์ กำลังทำหน้าที่ทุกครั้งพอได้ยินดับแล้วก็มีการคิดการตรึก ถูกต้องแยบคายหรือไม่แยบคายก็เป็นสภาพธรรมที่สะสมมาที่บังคับไม่ได้ เวลาไม่รู้ก็ไม่รู้จะไปเปลี่ยนไม่รู้ให้รู้ตรงนั้นก็ไม่ได้ เวลาเข้าใจก็จะไปเปลี่ยนที่กำลังเข้าใจให้กลายเป็นไม่เข้าใจก็ไม่ได้
เพราะทั้งหมดเป็นธรรม มีความเข้าใจที่มั่นคงในความไม่ใช่เรายิ่งขึ้น ไม่ใช่จะทำจะสังเกตหรือจะอะไรเลย มีแล้วทั้งนั้นเดี๋ยวนี้ เห็นก็มี คิดก็มีเข้าใจก็มี ศรัทธาก็มี สติก็มี แต่ไม่มีสักอย่างที่ปรากฏจนกว่าปัญญาจะค่อยๆ เจริญขึ้นแล้วก็รู้เฉพาะอย่างทีละอย่างไม่สับสนไม่ปะปนกัน
ผู้ฟัง ในฐานะที่เราศึกษาธรรม และก็เชื่อเรื่องกรรมแต่ว่าถ้าเกิดมีเหตุปัจจัยที่เราจะต้องเห็นผีขึ้นมา เราควรจะปฏิบัติยังไง
ท่านอาจารย์ ไม่เข้าใจธรรม ไม่เข้าใจเลย ตั้งต้นใหม่ แม้แต่คำว่ากรรม เดี๋ยวนี้มีกรรมไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้เป็นกรรมหรือเปล่า
ผู้ฟัง เป็น
ท่านอาจารย์ เป็น เป็นกรรมอะไร
ผู้ฟัง กุศลกรรมที่เรากำลังฟังธรรม
ท่านอาจารย์ เมื่อไรเป็นกุศลกรรม
ผู้ฟัง ขณะได้ยินได้ฟังธรรม
ท่านอาจารย์ ฟังทั้งนั้นแหละ ขณะที่เข้าใจเท่านั้นที่เป็นกุศลกรรม ฟังแล้วไม่เข้าใจไม่รู้เรื่องเป็นกุศลหรือเปล่า ก็ไม่เป็น เพราะฉะนั้น ต้องเข้าใจด้วยกรรมเป็นเราหรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่ใช่
ท่านอาจารย์ เป็นอะไร
ผู้ฟัง เป็นสภาพปัจจัยที่
ท่านอาจารย์ อะไรล่ะ สภาพธรรม เป็นธรรมทั้งนั้นเลย ไม่ใช่ใครเลย แต่ต่างกันเป็นประเภทใหญ่ๆ สองคือสภาพธรรมอย่างหนึ่งมีจริงแต่ไม่สามารถจะรู้อะไรได้ ส่วนสภาพธรรมอีกอย่างหนึ่งไม่มีรูปร่าง ไม่มีสีสัน ไม่มีกลิ่นมีจริงเกิดเมื่อไหร่ต้องรู้เช่นขณะนี้กำลังเห็น รู้เลยว่าสิ่งที่ปรากฏเป็นอย่างนี้ เพราะเห็นอย่างนี้
เพราะฉะนั้น มีสภาพธรรมสองอย่างธาตุรู้กับธาตุที่ไม่รู้ ถ้าจะกล่าวก็คือธาตุที่ไม่รู้เป็นรูปธรรม ธาตุรู้ก็คือนามธรรมเป็นจิตหนึ่ง เจตสิกหนึ่ง เพราะฉะนั้น ธรรมจริงๆ ก็มีจิต มีเจตสิก มีรูป ส่วนสภาพธรรมอีกอย่างหนึ่งเดี๋ยวนี้ไม่มี เป็นนิพพาน แต่มีจริงๆ
เพราะฉะนั้น กรรม เป็นอะไร ถ้าไม่ตรงไม่มีทางที่จะละความเป็นเราได้เลย นี่คือปัญญาค่อยๆ เข้าใจขึ้นจากขั้นฟังจนกระทั่งสามารถปฏิปัตติ มีปัจจัยที่จะเข้าใจถึงลักษณะหนึ่งทีละหนึ่ง ถึงจะเรียกว่าเข้าใจได้หลายๆ อย่างรวมกันแล้วจะเรียกว่าเข้าใจได้ยังไง มารวมกันไปหมดใช่ไหม แต่ทีละหนึ่งหมายความถึงเริ่มรู้ชัด
เพราะฉะนั้น กรรมคืออะไร
ผู้ฟัง นามธรรม
ท่านอาจารย์ นามธรรมชนิดไหน
ผู้ฟัง จิต
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ จิตเขาเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้อย่างเดียว เพราะฉะนั้น อะไรทั้งหมดในชีวิตประจำวันที่เราพูดถึงเป็นเจตสิกหมด ง่วง เป็นอะไร
ผู้ฟัง เจตสิก
ท่านอาจารย์ โกรธ ขยัน ขี้เกียจทั้งหมดเจตสิกทั้งนั้น จิตเขาเกิดขึ้นรู้สิ่งที่ปรากฏเท่านั้นไม่ทำอะไรเลย แต่ถ้าจิตไม่เกิดเจตสิกก็เกิดไม่ได้ จะไปชอบไปชังอะไรในสิ่งที่จิตไม่รู้ไม่ได้ ต้องสิ่งที่จิตรู้แจ้ง รู้แจ้งจริงๆ อย่างฟ้ากับน้ำยังรู้เลยว่าฟ้าไม่ใช่น้ำ
เพราะฉะนั้น เป็นเจตสิกกรรมเป็นเจตสิกได้แก่เจตสิกอะไร เห็นไหมถ้าละเอียดแล้วเราจะเห็นความไม่ใช่เรา แต่ถ้าหยาบๆ ก็คือยังไงยังไงก็เป็นเรา รู้นิดรู้หน่อยก็ยังเป็นเรา แต่ยิ่งละเอียดขึ้นจะเห็นได้ว่าไม่ใช่เราเลยด้วยประการทั้งปวง
ด้วยเหตุนี้พระมหากรุณาที่รู้ว่ารู้ยาก เพราะฉะนั้น แสดงอย่างละเอียดยิ่งเกื้อกูลให้สามารถค่อยๆ เข้าใจขึ้น เพราะฉะนั้น เมื่อกี้ตอบว่ากรรมเป็นเจตสิกอะไร เจตสิกมี ๕๒
ผู้ฟัง เจตนา ที่บอกว่ากรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา
ท่านอาจารย์ เจตนาก็ได้ยินได้ฟังมาบ้าง แล้วเจตนาคือลักษณะที่เป็นยังไง
ผู้ฟัง ความจงใจตั้งใจ
ท่านอาจารย์ ความจงใจตั้งใจ เห็นมีเจตนาเจตสิกเกิดร่วมด้วยหรือเปล่า
ผู้ฟัง ตั้งใจจะเห็น
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ ไม่ตั้งใจก็เห็น ใช่ไหม นี่คือความละเอียด และแม้แต่เจตนาเจตสิกหนึ่งก็ยังมีระดับขั้นหลากหลายมากเป็นสหชาตกัมมะหรือว่าเป็นนานขณิกกัมมะละเอียดยิบเพื่ออะไรอนุเคราะห์ให้เราเข้าใจจริงๆ ว่าไม่ใช่เรา
เพราะฉะนั้น เจตนาเจตสิกเป็นสภาพที่จงใจ เกิดกับจิตทุกประเภท จิตจะเกิดโดยไม่มีเจตตนาไม่ได้เลย นี่คือความรู้จากการที่ไม่เคยรู้ ค่อยๆ เข้าใจขึ้น ความจงใจความตั้งใจมีทุกขณะจิตก็เกิดกับจิตทุกขณะแต่ถ้าไม่ใช่กุศลเจตนาไม่ใช่อกุศลเจตนาไม่รู้ว่ามีเจตนา รู้ได้เฉพาะเวลาที่กุศลจิตเกิด จะไปทำบุญจะให้ทาน จะไปช่วยเด็กกำพร้าหรืออะไรอย่างนี้ อันนั้นน่ะเป็นกุศลรู้ได้ แต่เจตนาที่ไม่ใช่กุศลไม่ใช่อกุศล มีไม่รู้ แต่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ และทรงแสดงว่าจิตหนึ่งขณะที่เกิดต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยอย่างน้อยที่สุดน้อยที่สุดน้อยกว่านั้นไม่ได้ ๗ ประเภท เพราะเป็นปัจจัยที่จะทำให้จิตเกิดขึ้นได้ทั้งนั้น
เริ่มเห็นความไม่ใช่ตัวตนค่อยๆ สะสมไปจนกว่าธรรม ปฏิปัตติเกิดเป็นสติที่กำลังเริ่มเข้าใจ เฉพาะลักษณะหนึ่งจริงๆ ที่กำลังปรากฏ อย่างแข็งกำลังปรากฏไม่ใช่ไปเข้าใจเรื่องเห็นเรื่องคน รู้ลักษณะเฉพาะแข็งที่เกิด และด้วยความเข้าใจขั้นฟัง ที่ได้ฟังจนรู้ว่าเป็นอนัตตาไม่ใช่อะไรเลย ลักษณะนั้นไม่ใช่โต๊ะ ไม่ใช่เก้าอี้ ไม่ใช่คนเป็นธาตุแข็งเกิดขึ้นแข็ง และก็ดับไป เพื่อให้รู้ว่าเป็นอนัตตา ทั้งหมดคือไม่ใช่เรา
จุดประสงค์ทั้งหมดการฟังธรรมเพื่อถึงความเข้าใจที่ถูกต้องว่าไม่ใช่เรา ถ้ามีเราเดือดร้อน เดือดร้อนมากเลย ใช่ไหม ต้องรับประทานอาหารมีประโยชน์มาแล้ว สารพัดอย่าง
เพราะฉะนั้น ทุกข์นี่ท่านแสดงไว้มากมาย ทุกข์เพราะเกิด เพราะแก่ เพราะเจ็บ เพราะตาย ๔ แล้ว แต่ยังมีอีก ๔ ทุกข์เพราะมูลรากในอดีตที่ได้เกิดขึ้นแล้วเป็นเหตุใช่ไหมทำให้มีทุกข์ในปัจจุบัน และทำให้มีทุกข์ที่จะเกิดต่อไปในอนาคต
แต่ทุกที่ทุกคนไม่เคยคิดเลย แต่พระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุเคราะห์ว่าทุกวันนี้ทุกคนไม่รู้เลยว่ามีทุกข์เพราะการแสวงหา เกิดมาแล้วไม่ได้อยู่เฉยเลย ตื่นมาลืมตาแล้ว ลืมทำไม แสวงหาอะไรหรือ แน่นอน ไปไหนแน่นอนแสวงหาสิ่งที่ต้องการแสวงหาไปทุกขณะโดยไม่รู้ว่านั่นคือทุกข์ ถ้าไม่ต้องแสวงหาดีกว่าไหม
เพราะฉะนั้น กว่าจะไปถึงเรื่องกรรม ละเอียดจริงๆ คือว่า เป็นบุญที่ได้สะสมมาแล้วแต่ปางก่อน ชาตินี้จะเป็นปางก่อนของชาติหน้า ถ้าไม่มีวันนี้ไม่มีทางก็จะได้ฟังแล้วก็เข้าใจขึ้น
เพราะฉะนั้น จะรู้ได้เลยฟังแล้ว ใครเข้าใจมากน้อย แม้ในครั้งพุทธกาลคนที่ไปเฝ้าบรรลุเป็นพระโสดาบันได้ ที่ไม่เข้าใจเลยก็มี จะให้เหมือนกันได้ยังไง เหมือนเดี๋ยวนี้เลย ใครจะเข้าใจแค่ไหนไม่ใช่ใครสักคนแต่เป็นการเกิดดับสืบต่อของธาตุแต่ละหนึ่งซึ่งเป็นจิต และเจตสิกหลากหลายมาก
เพราะฉะนั้น การฟังธรรมต้องละเอียดเพื่อละความไม่รู้แต่ถ้าใครฟังแล้วอยากรู้ อยากถึง อยากทำ อยากอะไรก็ตามแต่ไม่เข้าใจธรรม บอกได้เลยไม่เข้าใจธรรม
เพราะฉะนั้น ต้องละเอียด เพราะฉะนั้น ถ้าจิตเป็นกุศล เจตนาขณะนั้นก็เป็นกุศลหรือเพราะเจตนาเป็นกุศลจิตจึงเป็นกุศลหรือเพราะสภาพธรรมทั้งหมดที่เกิดร่วมกันเป็นกุศลจิตจึงเป็นกุศล เจตนาก็เป็นกุศลด้วย
ถ้าจิตขณะนี้เช่นจิตเห็น ไม่ใช่กุศลเป็นวิบาก ภาษาบาลีเป็นวิปากเป็นสภาพธรรมที่เป็นผลของกรรมที่ต้องเกิดขึ้นเห็น ไม่อยากเห็นก็ต้องเห็น อะไรตั้งหลายอย่างที่ไม่อยากเห็นใช่ไหม รถชนกันกลางถนน ซากศพไม่อยากเห็นแต่ก็เห็น เพราะอะไรต้องเห็น กรรมทำให้ต้องเห็น กรรมทำให้ต้องได้ยิน กรรมทำให้ต้องได้กลิ่นแล้วแต่ว่าจะเป็นกลิ่นที่หอมหรือไม่หอมก็ตามแต่กรรมทำให้ต้องลิ้มรส กรรมทำให้ต้องรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ถ้าเป็นสิ่งที่ดีก็เป็นสุขเวทนาความรู้สึกสบาย ถ้ากระทบแรงๆ เราไม่เรียกว่าลูกปืนแต่แรงจนเป็นแผลได้ทะลุได้ขณะนั้นก็ทุกขเวทนาเพราะกรรม
เพราะฉะนั้น กว่าจะรู้จักกรรมจริงๆ เราก็ต้องรู้จักจิต รู้จักเจตสิก รู้จักสภาพธรรม รู้แม้แต่ว่าเจตนา เกิดกับจิตทุกขณะ แม้แต่จิตที่เป็นผลของกรรมก็มีเจตนาเกิดร่วมด้วย เพราะเจตนาเป็นหนึ่งใน ๗ เจตสิกที่ต้องเกิดกับจิตทุกประเภท เพราะฉะนั้นเจตนาที่เกิดกับจิตเห็นไม่ใช่กุศลไม่ใช่อกุศลแต่เป็นผลของกรรมที่ต้องเกิดขึ้นทำกิจกระตุ้นเตือนสหชาตธรรม จิต และเจตสิกที่เกิดร่วมกันให้ทำกิจการงาน
เพราะฉะนั้น เจตสิกแต่ละหนึ่งละเอียดมากๆ เลย ยากที่จะรู้ได้เพราะว่าบางเจตสิกก็คล้ายคลึงกันมาก
การศึกษาธรรมหยาบไม่ได้เพราะเป็นเรา แต่ถ้าละเอียดคือไม่ใช่เรา เพราะว่าเป็นธรรมที่ลึกซึ้งแล้วก็ค่อยๆ สะสมความเห็นถูกความเข้าใจถูกทีละเล็กทีละน้อย ชาติหน้าคงไม่ต้องมาถามกัน เคยฟังธรรมที่ไหนหรือเปล่า เพราะเดี๋ยวนี้ ขณะนี้เองเป็นชาติก่อนของชาติหน้าแน่นอน ถามใครๆ ก็บอกเราไม่ได้ ไปทำอะไรมาที่ไหนบ้าง แต่เดี๋ยวนี้ไม่ต้องใครบอกก็รู้ ทุกอย่างที่เกิดในชาตินี้ชัดเจนไม่ต้องไปคอยแก้กรรมไม่ต้องคอยไปถามว่ากรรมอะไรเพราะเขาไม่รู้แน่ๆ
ถ้าเขารู้เขาจะไม่ใช้คำว่าแก้กรรม อีกกรรมหนึ่งซึ่งหมายความถึงเจตนาที่เกิดกับกุศลจิต และอกุศลจิตเป็นสหชาตเกิดพร้อมจิต และก็เป็นนานักขณิกกัมมปัจจัยเพราะให้ผลต่างขณะ เมื่อกุศลกรรมสำเร็จลงไปแล้วนะคะ เจตนานั้นได้กระทำแล้วก็เป็นปัจจัยที่จะทำให้ผลเกิดขึ้นข้างหน้าต่างวาระ กับที่เจตนานั้นเกิด นี่คือไม่ใช่เรา
ทั้งหมดนี่ค่อยๆ ไม่ใช่เราไปทีละเล็กทีละน้อย ทีละเล็กทีละน้อยจนมั่นคง ฟังธรรมวันนี้ แล้วจะฟังต่อไปไหม นี่คือ ท่านใช้คำว่าอุปนิสสยโคจร คำในภาษาบาลีเข้าใจได้ คำว่าโคจรหมายความถึงสิ่งที่จิตรู้เวลานี้ ถ้าได้ยินเสียงเป็นสิ่งที่จิตได้ยิน ถ้ากลิ่นปรากฏแปลว่าขณะนั้นจิตกำลังรู้กลิ่น
เพราะฉะนั้น จิตเป็นธาตุรู้เกิดเมื่อไหร่ต้องรู้ และสิ่งที่จิตกำลังรู้เฉพาะสิ่งนั้นสิ่งเดียวเป็นอารมณ์นี่ภาษาไทย แต่ภาษาบาลีต้องออกสิว่าอารัมมณะคือสิ่งที่จิตรู้ เพราะฉะนั้นจะมีธาตุรู้คือจิตเกิดโดยไม่มีอารัมมณะไม่ได้ และก็ภาษาบาลีก็เหมือนภาษาไทยใช้คำหลายๆ คำ สำหรับความหมายอย่างเดียว
นารี กุมารี สตรีหมายความถึงอย่างเดียวใช่ไหมคือผู้หญิง เพราะฉะนั้น สำหรับเจตสิกก็มีการที่จะใช้หลายๆ ชื่อก็ได้หรือว่าคำว่าอารมณ์สิ่งที่จิตรู้พระผู้มีพระภาคทรงใช้คำว่าโคจร ที่ไปของโค โคคือจิตคือธาตุรู้ โคจรที่เราพูดว่าไปแต่ความจริงก็คือจิตที่จะไม่ไปสู่อารมณ์ไม่มี เกิดขึ้นแล้วไปที่เดียว สู่อารมณ์ที่ปรากฏเพื่อรู้สิ่งนั้น
เพราะฉะนั้น ขณะนี้เราไม่รู้เลยว่าจิตกำลังไปสู่แต่ละคำ เพราะฉะนั้น กำลังค่อยๆ คุ้นเคย ถ้าเราฟังบ่อยๆ เป็นที่อาศัยที่มีกำลังที่จะทำให้ขาดไม่ได้ เป็นอุปนิสสยโคจร คำแปลคืออุปะมีกำลัง นิสสยแปลว่าที่อาศัย โคจรคืออารมณ์ที่จิตรู้
เพราะฉะนั้น ถ้าเราคุ้นเคยกับอารมณ์ใดมากๆ ไม่ต้องห่วงคิดถึงแต่อารมณ์นั้น ไม่ใช่อารมณ์อื่น เพราะฉะนั้น ถ้าเราฟังธรรมบ่อยๆ แทนที่เราจะคิดถึงอารมณ์อื่นยังเคยก็มีกาล และเวลาที่เราจะคิดถึงธรรม ไม่ใช่ไปบังคับแต่มีปัจจัยเพราะฟังบ่อยจนกระทั่งเป็นที่อาศัยที่มีกำลัง แล้วก็จะคิดถึงอะไรดีถ้าไม่ใช่ธรรมซึ่งสามารถเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ ในเมื่อคิดถึงอย่างอื่นคิดไปเถอะ แล้วอยู่ไหนหมดไปแล้ว พอหยุดคิดก็ไม่มี รับรองได้ มีเมื่อคิด เรื่องต่างๆ ถ้าไม่คิดจะมีไหม
เพราะฉะนั้น สิ่งที่เป็นสาระที่สุดในชีวิต ซึ่งเป็นบุญนิธิ เป็นทรัพย์ที่ประเสริฐสุดก็คือความเข้าใจ หายาก ถ้าหมดคำสอนซึ่งวันหนึ่งจะอันตรธาน อันตรธานคือไม่มีใครสามารถเข้าใจได้อีกเลย แม้มีพระไตรปิฏกแม้เดี๋ยวนี้ก็ดู พระไตรปิฎกมหายาน หินยานเถรวาท อรรถกถาต่างๆ เข้าใจหรือเปล่า หรือว่ามีไว้แต่ไม่เข้าใจ ถ้าเข้าใจเข้าใจทุกคำ แล้วก็จะเข้าใจทั้งหมด เท่าที่สามารถจะเข้าใจได้ เพราะว่ารับรองได้ ไม่มีใครสักคนอ่านพระไตรปิฎกเล่มเดียว พระสุตตันตปิฏกหรือพระอภิธรรมปิฏกพระวินัยปิฏกเล่มไหนก็ได้ที่จะเข้าใจตลอดทั้งหมดไม่มี
อีกไม่นานถ้าเราไม่เข้าใจ พระธรรมก็อันตรธานจากความเข้าใจ เพราะฉะนั้น คนที่ไม่ได้ฟังธรรมไม่เข้าใจพระธรรมก็อันตรธานไปแล้วสำหรับเขา แต่ยังอยู่สำหรับผู้ที่ฟัง และเข้าใจจนกว่าจะไม่มีใครเลยไม่เหลือใครเลย เมื่อนั้นพระศาสนาก็อันตรธาน เร็วไหม เพราะว่าขณะนี้มีใครบ้างที่ศึกษาธรรมจริงๆ เทียบได้ว่าจะอันตรธานเร็วแค่ไหน ไม่ได้มีความเห็นผิดความเข้าใจผิดเพราะไม่รู้อีกมาก
แก้กรรมก็ผิดแล้ว พระไตรปิฎกไม่มีคำนี้เลย เพราะฉะนั้น ก็อันตรธานเร็วขึ้นไปอีก ทุกครั้งที่มีความไม่ได้เข้าใจจริงๆ
ผู้ฟัง ก็ขออนุญาตเรียนว่าธรรมทั้งหลายที่ท่านอาจารย์ได้อธิบายแนะนำเรานี้ดิฉันคิดว่า เราคงจะค่อยๆ ศึกษาไปไม่ต้องรีบเร่งอย่างที่คิดว่าเราจะรู้เมื่อไหร่ เพราะถ้าเราจะรู้เมื่อไหร่เราก็เริ่มเป็นทุกข์แล้วก็จะเริ่มรู้สึกว่าการศึกษาธรรม เป็นเรื่องยากแต่ถ้าเราตั้งใจว่าเราจะศึกษามีศรัทธามั่นคงในพระศาสนาค่อยๆ ศึกษาไปไม่เข้าใจก็ถามท่านผู้รู้เข้าใจแล้วยังไม่มั่นคงก็สอบถามให้เข้าใจให้มั่นคงดิฉันคิดว่าศรัทธาที่เรามั่นคงก็คงจะเป็นบันไดขั้นแรกที่จะทำให้ทุกท่านเดินทางไปสู่ทางที่ถูกต้องในวันนี้ก็ขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์เป็นอย่างยิ่งที่เมตตามาแสดงธรรมสนทนาธรรมกับพวกเรา
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1861
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1862
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1863
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1864
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1865
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1866
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1867
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1868
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1869
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1870
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1871
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1872
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1873
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1874
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1875
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1876
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1877
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1878
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1879
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1880
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1881
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1882
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1883
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1884
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1885
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1886
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1887
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1888
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1889
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1890
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1891
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1892
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1893
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1894
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1895
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1896
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1897
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1898
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1899
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1900
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1901
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1902
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1903
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1904
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1905
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1906
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1907
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1908
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1909
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1910
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1911
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1912
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1913
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1914
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1915
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1916
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1917
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1918
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1919
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1920