ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1904
ตอนที่ ๑๙๐๔
สนทนาธรรม ที่ บ้านท้ายหาด รีสอร์ท จ.สมุทรสงคราม
วันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
ท่านอาจารย์ ขณะนี้เพียงเข้าใจว่ามี แต่ว่าไม่สามารถที่จะรู้ธาตุที่เกิดขึ้นเห็นแล้วดับ แต่ว่าความจริงเป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้น การศึกษาพระธรรมจะทำให้คนนั้นรู้ว่า สิ่งที่ได้ยินได้ฟังเป็นคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือว่าเป็นคำของคนอื่น ถ้าเป็นคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็คือว่าทำให้เข้าใจสิ่งที่มีจริงเดี๋ยวนี้เพิ่มขึ้น แม้ทีละเล็กทีละน้อยก็ยังเพิ่มขึ้น กิเลสสะสมยังไง ถึงได้มากมายอย่างนี้ เพราะเหตุว่าทางตาเห็นก็ไม่รู้ทีละเล็กทีละน้อยไหม ทางหูได้ยินไปก็ไม่รู้ทีละเล็กทีละน้อยจนเป็นความไม่รู้มากมายในสิ่งที่ปรากฏในสิ่งที่มีจริงในขณะที่เห็นในขณะที่ได้ยิน
เพราะฉะนั้น การอบรมเจริญปัญญาก็ต้องเป็นอย่างนั้นจะเป็นอย่างอื่นไม่ได้
ผู้ฟัง ขอความกรุณาท่านอาจารย์อธิบายถึง ระหว่างจำกับรู้ต่างกันมาก คือปกติแล้วเหมือนกับว่าพอเห็น ก็เป็นการจำว่าไม่ใช่ตัวตน แต่ว่าไม่ได้ประจักษ์ตรงนั้นจริงๆ
ท่านอาจารย์ นี่เป็นความต่างกันของปริยัติกับปฏิบัติ พระธรรมที่ทรงแสดงงามทั้งเบื้องต้น งามทั้งท่ามกลาง งามทั้งที่สุดเบื้องต้นคือปริยัติ แต่ละคำนี่มีความหมายมีค่าถ้าเข้าใจจะค่อยๆ ทำให้มีการรู้ลักษณะของสภาพธรรมะที่เป็นปฏิ ปัตติ สติ และสัมปชัญญะกำลังเริ่มเข้าใจลักษณะของสภาพที่กำลังปรากฏจากการที่ได้ฟัง และก็มีความเข้าใจอย่างมั่นคง ว่าสิ่งนี้แหละยังไม่รู้ กำลังเห็นอย่างนี้ยังไม่ได้เข้าใจตามความเป็นจริงเข้าใจอย่างนี้หรือเปล่า
เมื่อเข้าใจอย่างนี้ต้องฟังให้เข้าใจขึ้น เพราะว่าหนทางที่จะอบรมเจริญปัญญาที่จะเข้าถึงธาตุที่กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ไม่ใช่โดยวิธีอื่น แต่ฟังแล้วฟังอีกโดยไม่หวัง ยากแค่ไหนเริ่มเห็นความยากของพระธรรม ถ้าหวังเมื่อไหร่ รู้ไหมว่าขณะนั้นใครหวัง ยังมีความเป็นเราที่ต้องการ แต่ว่าฟังธรรมเพื่อเข้าใจว่าไม่ใช่เรา แต่ว่าฟังด้วยความเป็นเราแล้วก็จะหมดความเป็นเราได้ยังไง
เพราะฉะนั้น ฟังธรรมเพื่อรู้ว่าไม่ใช่เรา เมื่อไม่ใช่เราแล้วจะหวังทำไม หวังเพื่อใคร หวังอะไรเห็นไหมถ้าฟังโดยไม่แยบคาย ฟังเพราะอยากจะเข้าใจโดยเร็ว แต่ว่าถ้าฟังเข้าใจจริงๆ ขณะนี้มีสิ่งที่ไม่รู้ทั้งนั้น ไม่ใช่เฉพาะทางตา ไม่ใช่เฉพาะสิ่งที่ปรากฏไม่ใช่เฉพาะเสียง แม้แต่คิดแม้แต่สุขทุกข์ใดๆ ก็ไม่รู้ทั้งนั้นว่าเป็นเพียงสิ่งที่มีจริง เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยชั่วคราวแล้วก็ดับไปนี่คือพระธรรมที่ทรงแสดงหรือเปล่า ทรงแสดงอย่างนี้หรือเปล่าว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัย ไม่อยากจะโกรธก็โกรธ ไม่อยากจะติดข้องก็ติดข้อง ไม่อยากจะเห็นก็เห็น ไม่อยากจะได้ยินก็ได้ยินทั้งหมดนี้ใครรู้บ้างว่าเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย
เพราะฉะนั้น กว่าจะคลายความเป็นเราทำ ก็คือว่าทำอะไร ใครทำ มีแต่จิต เจตสิก รูปเกิดขึ้น เดี๋ยวนี้ทำกิจของจิต และเจตสิก ไม่ใช่เรา กำลังฟังก็คือธรรมซึ่งเป็นจิตที่เกิดขึ้นได้ยินเสียงไม่ใช่โดยบังเอิญ ถ้าไม่มีกรรมที่ทำไว้แต่ปางก่อนก็จะไม่ได้ยินเสียงซึ่งทำให้สามารถเข้าใจสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ทีละเล็กทีละน้อย
เพราะฉะนั้น แม้แต่การที่จะได้ยินได้ฟังก็บังคับบัญชาไม่ได้ คนที่ไม่ได้ฟังมีมากไหม มีตา มีหูแต่ก็ไม่ฟังใช่ไหม แต่ทำไมบางคนฟัง แล้วก็การฟังนี้ก็ได้ยินอะไร คำของพระพุทธเจ้าหรือคำของใครคนอื่นที่ไม่ใช่ของพระพุทธเจ้า
เพราะฉะนั้นคนที่ฟังก็จะไตร่ตรองได้ว่า คำนี้เป็นคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือเปล่า หรือว่าเป็นคำของคนอีก ถ้าเป็นคำของคนอื่นจะทำให้เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้ให้รู้ตั้งแต่เบื้องต้นว่ายังไม่ได้เข้าใจความจริงเพียงแต่รู้ว่ามี ทุกคนรู้ว่าเห็นมีแต่ยังไม่ได้เข้าใจความจริงว่าเห็นไม่ใช่เรา แต่พระธรรมที่ทรงแสดง ๔๕ พรรษาโดยประการทั้งปวงอุปการะให้ค่อยๆ เข้าใจขึ้น
วันนี้คิดถึงเรื่องอะไรบ้าง คิดว่ามาฟังธรรม ไม่ได้คิดเรื่องอื่นหรือ ไม่ได้คิดเลยหรือ คิดเรื่องอื่นมากกว่าหรือเปล่ามากกว่าเห็นไหม เพราะฉะนั้น กว่าจะคิดที่จะฟังธรรมน้อยกว่า คิดเรื่องอื่นมากกว่าเพราะอะไร ถ้าเราคุ้นเคยกับสิ่งไหน ห้ามที่จะไม่ให้คิดถึงสิ่งที่คุ้นเคยได้ไหม
แต่พอเราคุ้นเคยกับสิ่งนั้นแล้ว เราก็จะคิดถึงสิ่งนั้น ถ้าเราคุ้นเคยกับการฟังพระธรรม ด้วยความเคารพอย่างยิ่งเพื่อเข้าใจถูก เพื่อเห็นถูกเพื่อละความไม่รู้ ถ้ามีความเข้าใจอย่างนี้จริงๆ การฟังธรรมในขณะนั้นก็จะเข้าถึงความเป็นธรรมเพราะไม่ใช่มีเรา ฟังเพื่อว่าจะเก่งหรือว่าจะเข้าใจหรือว่าจะได้เรียนเป็นผู้รู้อย่างนั้นอย่างนี้หรือว่าเพื่อลาภสักการะเพื่อคนอื่นจะชม โดยจะกล่าวถึงในเราว่าเราเป็นคนดีฟังธรรมก็ไม่ใช่ แต่เพราะรู้ว่าไม่เข้าใจ และสามารถเข้าใจได้ทางเดียวคือฟังพระธรรมที่พูดถึงเรื่องนี้สิ่งที่มีจริงในขณะนี้เพื่อให้คุ้นเคยที่จะคิดถึงจนกระทั่งสามารถที่จะเริ่มเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ
เพราะฉะนั้น จะมีคำว่าอุปนิสสยโคจร หลายคนไม่ชอบภาษาบาลี ใครจะชอบไม่ใช่ภาษาของเราใช่ไหม ฟังก็ยากไม่รู้ว่าแปลว่าอะไร พูดรวมๆ มา แล้วก็จำๆ ไปแต่ความจริงถ้าในอดีตชาวมคธี ชาวมคธเขาฟังคำนี้ เขาเข้าใจความหมาย อุปนิสสยโคจร
โค จร เป็นอีกคำหนึ่งของอารัมมณะ หมายความถึงสิ่งที่จิตรู้หรือที่ไปของจิต เพราะฉะนั้น คำที่ใช้ในภาษาที่ชาวเมืองครั้งโน้นใช้ก็เป็นภาษาชาวบ้านอย่างเราที่ใช้ คำๆ เดียวก็มีความหมายหลายอย่างหรือว่าสิ่งเดียวก็มีหลายๆ คำสตรี นารี กุมารีหมายความถึงอะไร ผู้หญิงเท่านั้นเองจะใช้คำว่าผู้หญิงก็ได้
เพราะฉะนั้น จะใช้คำว่าอารัมมณะ หรือว่าอาลัมพนะหรือว่าโคจรหมายความถึงอารมณ์ของจิต เพราะจิตไปสู่อารมณ์ เกิดขึ้นมาแล้วไปไหน ไปสู่อารมณ์ เกิดมาแล้วรู้สิ่งที่กำลังปรากฏ อย่างจิตเห็นไม่ได้ไปที่เสียงเลย ใช่ไหม จิตเห็นเกิดขึ้นไปที่สิ่งที่กระทบตาจึงได้เห็นสิ่งที่กำลังปรากฏ เวลาที่เป็นจิตได้ยินไม่ได้ไปทางลิ้นใช่ไหม แต่เมื่อกระทบกับโสตปสาทคือหู เสียงกระทบหูจิตเกิดขึ้นจะให้ไปไหนจะให้ไปรู้อะไร ก็ต้องรู้เฉพาะเสียงที่กระทบหู ถ้าเสียงไม่กระทบหูจิตเกิดขึ้นได้ยินไม่ได้เลย
ต้องอาศัยปัจจัย คนหูหนวกมี คนตาบอดมีใช่ไหม เพราะฉะนั้น ให้เข้าใจความละเอียดถึงสภาพธรรมที่กำลังมีจริงๆ ว่าฟังเพื่อสะสมความเข้าใจจนกระทั่งเป็นอุปนิสัยที่มีกำลัง เพราะเหตุว่าโคจรเป็นชื่อของอารมณ์คือสิ่งที่จิตรู้ อุปปะแปลว่ามีกำลัง นิสสยะแปลว่าที่อาศัย
เพราะฉะนั้น ขณะนี้อารมณ์ใดเป็นที่อาศัยที่มีกำลังของจิต รู้ได้เลยเกิดแล้ว ใช่ไหม สนใจเรื่องอาหารไหมไม่สนใจ สนใจเรื่องต้นไม้ไหม สนใจเรื่องตัดเย็บไหม
เพราะฉะนั้น สนใจอะไรมีหรือที่จะไม่คิดถึงสิ่งที่สนใจ
เพราะฉะนั้น ถ้าได้ยินได้ฟังบ่อยๆ มีหรือที่จะไม่คิดถึงสิ่งนั้น ด้วยเหตุนี้การฟังพระธรรมเช้าสายบ่ายค่ำเพื่อเป็นอุปนิสัยในภาษาไทยหมายความว่าเป็นที่อาศัยที่มีกำลังให้เราไม่ละเลยการจะได้ฟังสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในชีวิต คือความเห็นถูกความเข้าใจถูกซึ่งยากที่จะรู้ได้ เกิดมาแล้วไม่รู้ แล้วก็ตายไป สนุกมากเลย เกิดมาแล้วอร่อยมากเลย แต่ว่าแล้วก็ตายไปโดยที่ไม่รู้ความจริงเลย แล้วก็จำไม่ได้ด้วย และทุกคนก็มีชีวิตอยู่เพียงชั่วระยะซึ่งเราไม่สามารถจะรู้ได้ว่าจะจากโลกนี้ไปเป็นบุคคลอื่นไม่ใช่คนนี้อีกต่อไปเมื่อไหร่ แต่ว่ายังไม่ได้รู้ความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏในชาตินั้นเลยแต่ละชาติไปนี่ก็แสดงความเห็นของผู้ที่เป็นพระโพธิสัตว์ กับผู้ที่ไม่สนใจที่จะเข้าใจความจริงของสิ่งที่เกิดมาแล้วมีให้รู้ก็ไม่รู้
เพราะฉะนั้น แต่ละคนที่ได้เห็นประโยชน์ก็จะฟังพระธรรมเพื่อเข้าใจขึ้น ถูกต้องไหม หรือเพื่ออย่างอื่น ตรง ต้องตรง ถ้าฟังเพื่อเข้าใจขึ้นจะเข้าใจขึ้นแน่ๆ ไม่มีอะไรเป็นเครื่องกั้นเลย แต่ถ้าฟังเพื่ออย่างอื่นมีเครื่องกั้นไม่สามารถจะเข้าใจได้
เพราะฉะนั้น พระธรรมเป็นสิ่งที่ละเอียดลึกซึ้ง แล้วมีประโยชน์แต่ละคำ แม้แต่ รู้สิ่งที่ได้ยินโดยยากยิ่ง เห็นไหม ฟังกันทั้งนั้นแหละ แต่ว่ารู้ไม่ใช่เพียงเข้าใจ รู้สิ่งที่ได้ยินอย่างเห็นเดี๋ยวนี้ รู้สิ่งที่ได้ยินโดยยากยิ่ง ยากที่จะได้ฟัง ฟังแล้วยากที่จะเข้าใจ เข้าใจแล้วยากที่จะรู้ โดยยากยิ่ง แต่เป็นไปได้เป็นไปแล้ว บุคคลในครั้งพุทธกาลพระโสดาบันก็มากพระสกทาคามีพระอนาคามีพระอรหันต์ถอยไปแสนโกฏกัป ท่านเหล่านั้นก็มีกิเลสอย่างนี้แหละฟังแล้วไม่เข้าใจอย่างนี้แหละ แต่ว่ามีความเพียรมีความเห็นประโยชน์ของสัจจะความจริงว่าเกิดมาแล้วจะไม่รู้ก็เหมือนนกเหมือนงู เหมือนช้างเหมือนมด เกิดมาแล้วรู้ได้ไหมก็ไม่รู้ใช่ไหม
ถึงเป็นมนุษย์ก็ไม่รู้เหมือนสัตว์ต่างๆ เหล่านั้นแล้วมีประโยชน์อะไรกับการที่เป็นมนุษย์ที่ได้ยินแล้วเข้าใจได้ และสามารถที่จะพิจารณาจนกระทั่งเป็นความเห็นถูกได้ เพราะฉะนั้น สิ่งใดมีค่าที่สุดในชีวิต ตอบได้ไหม เห็นไหมถ้าฟังเข้าใจ ถ้าฟังเข้าใจจะรู้ว่าสิ่งใดมีค่าที่สุดในชีวิตเพราะชีวิตสั้นมาก จากความเป็นบุคคลนี้ไปไหนก็ไม่รู้ไม่มีโอกาสได้ยินได้ฟังอีกก็ได้หรือว่าไปเกิดเป็นเทพธิดาเทพบุตรในเทวโลกมีศาลาสุธรรมา แต่จะได้ไปไหม
แต่ว่ามีโอกาสที่ว่าได้ฟังมาแล้วใช่ไหม เพราะฉะนั้น ถ้าไม่เคยฟังมาก่อนโอกาสที่จะได้ฟังไม่มี เพราะฉะนั้น เป็นผู้ที่ประมาทไม่ได้เลยว่าพระธรรมลึกซึ้งเป็นเรื่องละความไม่รู้ เป็นเรื่องละความไม่เข้าใจ ทรัพย์สมบัติมหาศาลทำให้เข้าใจธรรมได้ไหม ไม่ได้
เพราะฉะนั้น ทางเดียวก็คือว่าเป็นผู้ที่เห็นประโยชน์แล้วก็รู้ประโยชน์ว่าถ้าไม่ชำระจิตซึ่งเต็มไปด้วยกิเลสมากมาย ให้ค่อยๆ เบาบางไม่เพิ่มอกุศลเข้าไปเรื่อยๆ โอกาสที่จะเข้าใจธรรมมีได้ไหม ต้องเป็นบุคคลที่รู้ประโยชน์ตั้งแต่ว่าการฟังธรรมเป็นการชำระจิตให้ผ่องใสแต่ประมาทไม่ได้ว่าเราจะฟังธรรมอย่างเดียว และใจของเราซึ่งเต็มไปด้วยขยะ เชื้อโรคมากมายยังมีพอที่จะหันไป เป็นโรคโลภะบ้าง เป็นโรคโทสะบ้าง ใช่ไหม ก็เป็นโรคกันอยู่อย่างนี้ทุกวัน โดยที่ไม่ได้รักษาแล้วจะหายโรคได้อย่างไร
เพราะฉะนั้น การที่จะสามารถเข้าใจธรรมได้ไม่ใช่เฉพาะการที่ฟังอย่างเดียวแต่ต้องรู้ว่าเพราะจิตสะสมอกุศลมามาก
เพราะฉะนั้น ถ้าไม่มีกุศลเกิดแทนอกุศล จะเพิ่มอกุศลที่สะสมมาแล้วยิ่งขึ้นแล้วจะเข้าใจธรรมได้ยังไง เพราะฉะนั้น ผู้ที่ฟังพระธรรมแล้วเห็นประโยชน์ของกุศลจิตแม้เพียงชั่วขณะแทนที่จะเป็นอกุศล ขณะนั้นก็เห็นประโยชน์ว่ากว่าจะได้เข้าใจธรรมกว่าจิตที่เต็มไปด้วยขยะจะน้อยลงไปแล้วก็มีกุศลเพิ่มขึ้นที่จะทำให้ไม่ติดข้องในความเป็นเรา จึงสามารถที่จะทำให้ค่อยๆ คลายการยึดถือสภาพธรรม และเข้าใจธรรมเพิ่มขึ้นได้ คือการฟังธรรม และสนทนาธรรม และเป็นผู้ตรง และจริงใจ
ผู้ฟัง จะเรียนถามอาจารย์ว่าแล้วการเพิ่มกุศลนี้จะต้องทำอย่างไรบ้าง
ท่านอาจารย์ คิดจะทำ หรือว่าเข้าใจขึ้นว่าอะไรเป็นกุศล ขณะนี้เป็นกุศลหรือเปล่า เวลาที่ไม่เข้าใจแต่ได้ยินเป็นกุศลหรือเปล่า ไม่เป็น เพราะฉะนั้น เราจะตอบว่าเป็นกุศล เราตอบถูกไหม ไม่ถูกใช่ไหมได้แต่เข้าใจเอง เดาเองแต่พระธรรมไม่ใช่ให้เดาแต่สามารถที่จะเข้าใจจริงๆ ว่ากุศลธรรมหมายความถึงสภาพธรรมที่ดีงามไม่เศร้าหมองไม่ติดข้องแล้วก็ขณะนั้นกำลังมีการที่ได้เข้าใจคำที่ได้ยินจึงเป็นกุศล
เพราะฉะนั้น จะตอบได้ไหมว่าเดี๋ยวนี้เป็นอะไร
ผู้ฟัง อาจารย์ตั้งใจมาอย่างนี้ไม่เป็นกุศลหรือ
ท่านอาจารย์ เป็นกุศลก็ไม่รู้ ไม่เป็นกุศลก็ไม่รู้ ถูกต้องไหม ได้แต่คิด ตั้งใจจะฟังธรรม
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ แล้วดับไหม
ผู้ฟัง ดับ
ท่านอาจารย์ และต่อไปอะไรเกิด
ผู้ฟัง กิเลสเกิด
ท่านอาจารย์ แล้วจะเป็นกุศลไหม
ผู้ฟัง ไม่เป็น
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรมเพื่อรู้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงจึงเป็นปฏิปัตติถึงสภาพธรรมที่กำลังเป็นอย่างนั้นในขณะนั้นด้วยสติสัมปชัญญะ และปัญญา เพราะฉะนั้นส่วนใหญ่คนเข้าใจผิดเพราะไม่ได้ศึกษา ได้ยินคำว่าปฏิบัติเข้าใจว่ายังไง
ผู้ฟัง ปฎิบัติ
ท่านอาจารย์ เข้าใจว่าทำ แล้วเข้าใจว่าทำอะไร
ผู้ฟัง ก็ไปนั่ง
ท่านอาจารย์ แล้วนั่งทำไม
ผู้ฟัง ไม่รู้ หนูก็ไม่เคยนั่งกับเขา
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรมอารักขา ทำให้พ้นจากความเห็นผิด สิ่งที่เราได้ยินได้ฟังบ่อยๆ และมีความเข้าใจขึ้นธรรมที่เข้าใจจะอารักขาไม่ให้เป็นอกุศล
มีท่านผู้หนึ่งท่านโกรธแล้วท่านฟังธรรมแล้วท่านคิดว่าไม่มีประโยชน์เลยใช่ไหม ขณะนั้นที่คิดว่าไม่มีประโยชน์ ขณะนั้นถูกไหม เป็นกุศลหรือเปล่าแต่ไม่ใช่ให้เราไปนั่งเลือกนั่งคิดว่า นี่เป็นกุศลนั่นไม่เป็นกุศลแล้วมานั่งวิจัยใช่ไหม แต่ต้องเป็นผู้ตรงต่อลักษณะของสภาพธรรมซึ่งเกิดแล้วดับไปเร็วมาก
เพราะฉะนั้น เราตอบไม่ได้เพราะเหตุว่ายังเป็นเรา เวลาที่เราฟังธรรมเราฟังเพื่อเข้าใจว่าเป็นธรรมไม่ใช่ว่าเราฟังเพื่อจะรู้ว่าเป็นธรรม แค่นี้ก็ต่างกันแล้ว เรายังมีอยู่ ใช่ไหม แต่ความจริงก็คือว่าฟังเพราะเราไม่เข้าใจใช่ไหมยังมีเรา แต่ฟังเพื่อเข้าใจถูกตามความเป็นจริงไม่ใช่เพื่อเราหรือไม่ใช่ด้วยความเป็นเราซึ่งยากมากเพราะเหตุว่าสภาพธรรมขั้นปริยัติขั้นฟังไม่สามารถที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมซึ่งเดี๋ยวนี้เป็นธรรมเกิดดับอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่เราเลย
เพราะฉะนั้น ปัญญาก็สามารถที่จะเป็นผู้ที่ตรงที่รู้ว่าขณะนี้ฟังเข้าใจเรื่องของสิ่งที่มีจริงแต่ยังไม่ได้รู้ตรงลักษณะของธรรมหนึ่งธรรมใดซึ่งเกิดแล้วดับ ต้องเป็นปัญญาอีกระดับหนึ่งซึ่งถ้าปัญญาที่เกิดจากความเข้าใจไม่มั่นคงพอซึ่งเป็นสัจจญาณ กิจจญาณคือปฏิ ปัตติก็เกิดไม่ได้ ทรงแสดงธรรมไว้โดยละเอียดเพื่ออุปการะไม่ให้เห็นผิดไม่ให้เข้าใจผิดไม่ให้หลงทางผิดไม่เช่นนั้นก็จะไม่ใช่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งทรงอนุเคราะห์ทุกคนให้เป็นผู้ที่ละเอียด และก็ตรงตามหนทางที่ได้ทรงตรัสรู้
ผู้ฟัง กราบอาจารย์อย่างฟังให้มั่นคงคือต้องฟังบ่อยๆ ใช่ไหม หนูมีความรู้สึกตัวหนูเองเพื่อนชวนเที่ยวหนูไปเลย ธรรมไว้ก่อน
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง ถูกต้อง เป็นธรรมทั้งหมดเห็นไหมกว่าจะรู้ว่าขณะนั้นไม่ใช่เรา ไม่ใช่เปลี่ยนตัวด้วยความเป็นเรา สิ่งที่ต่างกันก็คือว่าถ้าฟังเผินคนจะพยายามเป็นตัวตนที่จะไม่มีกิเลส นั่นผิด ผิดจริงๆ กิเลสที่สะสมมามากมายมหาศาลถ้าไม่แสดงการเกิดขึ้นตามความเป็นจริงจะละได้ไหม เข้าใจว่าดีจังเลยไม่ไปไหนอยู่กับบ้านอยู่กับเหย้าเฝ้ากะเรือนฟังธรรมใช่ไหม แต่นั่นผิด
ผู้ฟัง เครียดมากเลยทำอย่างนี้
ท่านอาจารย์ ใครไปบอกให้ทำ
ผู้ฟัง อย่างนี้หนูเครียดมากเลยแล้วหนูจะไม่ได้อะไรเลย
ท่านอาจารย์ ฟังอย่างไหนเครียด
ผู้ฟัง ถ้าให้หนูอยู่บ้านฟังธรรมทั้งวันอาจารย์ ไม่ไหว
ท่านอาจารย์พระพุทธเจ้าบอกอย่างนั้นหรือ
ผู้ฟัง ทั่วๆ ไปท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์ ไม่ต้อง คือถ้าฟังธรรมต้องรู้ว่ากำลังฟังอะไรจากใคร ต้องมั่นคง คำใดที่เป็นคำจริงเป็นไปเพื่อการขัดเกลาเป็นไปเพื่อความเห็นถูกเป็นไปเพื่อความเข้าใจด้วยความเป็นอนัตตา เพราะฉะนั้น ถ้าใครให้ทำโดยความเป็นอัตตาค้านคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำลายคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระธรรมก็จะค่อยๆ ลบเลือนไป เพราะฉะนั้น ต้องเป็นผู้ที่ละเอียดมาก อะไรที่เกิดแล้วยับยั้งได้ไหม ที่ใครมาชวนก็ไปแล้วก็เป็นธรรมทั้งหมดเลย ไม่มีกิเลสแล้วหรือ เพราะฉะนั้น ก็เป็นอย่างที่เป็น จะเป็นอย่างอื่นตามที่ไม่สะสมได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น การฟังธรรมแล้วรู้สิ่งที่เกิดแล้วมีแล้วเดี๋ยวนี้นั่นถูก แต่ถ้าจะไปทำอะไรนั่นผิด
ผู้ฟัง แต่ก็แปลกอย่างเวลาเราไปเที่ยวเพลิดเพลินอะไรอย่างนี้ ถ้าหายไปเป็นเดือนๆ ไม่ได้เข้ามูลนิธิแล้วอยู่ๆ ก็นึกขึ้นได้ว่ารู้สึกไม่ดีแล้วเหลวไหลมากเลย
ท่านอาจารย์ เป็นเราหรือเปล่า
ผู้ฟัง เป็น
ท่านอาจารย์ ไม่ได้เข้าใจว่าเป็นธรรมที่ได้ฟัง
ผู้ฟัง แต่ในความรู้สึกว่าไม่ได้แล้วต้องมาฟังธรรมบ้าง
ท่านอาจารย์ เป็นเรารึเปล่า
ผู้ฟัง เป็นเรา
ท่านอาจารย์ ยังไม่รู้ว่าเป็นธรรม เพราะฉะนั้น กว่าจะรู้ทั่วหมดว่าเป็นธรรมทั้งนั้น นานไหม แต่จริง ถ้ายังหลงติดข้องยังคงสงสัย ยังคงไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมก็ต้องอบรมด้วยการฟังจนเข้าใจขึ้นว่า ไม่ใช่เราจะไปทำอะไรแต่อาศัยความเข้าใจว่าสิ่งที่มีคือตัวจริงๆ ธรรมจริงๆ เกิดแล้วเป็นอย่างนี้ แล้วเป็นอย่างอื่นไม่ได้ จึงสามารถที่จะละความเป็นเราจากสภาพธรรมนั้น ไม่ใช่จากอย่างอื่นเลย
ทุกคำต้องละเอียด ได้ยินคำว่าขันธ์ใช่ไหมคืออะไร
ผู้ฟัง ขันธ์ก็การเกิดดับ
ท่านอาจารย์ อะไรการเกิดดับ
ผู้ฟัง ก็อนัตตาใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ฟังธรรมต้องละเอียดมาก เพราะฉะนั้น ฟังต่อไปให้เข้าใจขึ้นเห็นไหม ให้เข้าใจขึ้นไม่ใช่ว่าไปรู้อย่างอื่น แต่ให้เข้าใจขึ้น
ขณะนี้มีอะไร ทีละหนึ่ง
ผู้ฟัง ก็มีเห็น
ท่านอาจารย์ มีเห็นๆ เกิดขึ้นหรือเปล่า
ผู้ฟัง เกิด
ท่านอาจารย์ เห็นดับไหม
ผู้ฟัง ดับ
ท่านอาจารย์ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดดับเป็นขันธ์ เปลี่ยนได้ไหมคำนี้
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ถ้าเข้าใจแล้วไม่ลืมแล้วต้องตรงด้วยเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ เสียงเป็นขันธ์หรือเปล่า
ผู้ฟัง เป็น
ท่านอาจารย์ โกรธเป็นขันธ์หรือเปล่า
ผู้ฟัง เป็น
ท่านอาจารย์ หิวเป็นขันธ์หรือเปล่า
ผู้ฟัง เป็น
ท่านอาจารย์ เจ็บเป็นขันธ์หรือเปล่า
ผู้ฟัง เป็น
ท่านอาจารย์ ตอนนี้ไม่เปลี่ยนเลยใช่ไหม เพราะอะไร ทำไมเป็นขันธ์
ผู้ฟัง เพราะมีการเกิดดับ
ท่านอาจารย์ เพราะเป็นธรรมซึ่งมีจริง ซึ่งเกิดขึ้นแต่ละหนึ่ง ไม่ซ้ำกันไม่เหมือนกัน และหลากหลายมากจะซ้ำกันไม่ได้เลย รูปหนึ่งเกิดขึ้น แล้วดับไป รูปต่อไปไม่ใช่รูปเก่าแล้ว เพราะฉะนั้น จึงเป็นแต่ละหนึ่งขันธ์
เพราะฉะนั้น ขันธ์นี้ละเอียดมากหลากหลายมากนับไม่ถ้วนเลย เริ่มเข้าใจแล้วใช่ไหม
เดี๋ยวนี้กี่ขันธ์ เมื่อกี้นี้
ผู้ฟัง หลายขันธ์
ท่านอาจารย์ เห็นไหมนี่คือความเข้าใจที่ถูกต้องขั้นนั้นว่างเปล่า เกิดมีแล้วหามีไม่ กลับมาอีกไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น ชีวิตว่างเปล่า ใช่ไหม สาระอยู่ที่ไหน ในบรรดาสังขารธรรม ธรรมที่เกิดทั้งหมดปัญญาประเสริฐสุด ไม่ว่ายามทุกข์หรือว่ายามสุขหรือยามใดๆ ก็ตามเมื่อมีปัญญาสามารถที่จะเห็นถูกต้องตามความเป็นจริงละความไม่รู้ และความติดข้อง
ผู้ฟัง แล้วถ้าฟังบ่อยๆ หรือฟังเพื่อความเข้าใจปัญญามันก็จะทวีไปเรื่อยๆ
ท่านอาจารย์ ความหมายความเข้าใจในภาษาไทย ปัญญาเป็นภาษาบาลี เพราะฉะนั้น ไม่มีปัญญาไหนที่ไม่เข้าใจใช่ไหม แล้วเราก็ไม่ต้องไปติดคำซึ่งบางคนเขาก็ไม่รู้แล้วปัญญาคืออะไร แต่พอบอกเข้าใจไหม นี่เขาตอบได้ว่าเข้าใจหรือไม่เข้าใจ เพราะฉะนั้น ปัญญาคือความเข้าใจถูกความเห็นถูก
ผู้ฟัง นี่หนูนึกว่าปัญญาเป็นภาษาไทยเลย
ท่านอาจารย์ ก็ภาษาไทยเอาภาษาบาลีมาใช้ผิดๆ ถูกๆ มากมาย เราก็เลยเข้าใจผิดไปมากๆ ด้วย แต่ว่าถ้าศึกษาธรรมต้องศึกษาใหม่คือให้ตรงคำที่พุทธเจ้าตรัสว่าหมายความถึงอะไร
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1861
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1862
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1863
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1864
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1865
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1866
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1867
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1868
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1869
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1870
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1871
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1872
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1873
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1874
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1875
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1876
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1877
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1878
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1879
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1880
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1881
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1882
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1883
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1884
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1885
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1886
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1887
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1888
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1889
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1890
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1891
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1892
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1893
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1894
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1895
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1896
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1897
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1898
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1899
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1900
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1901
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1902
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1903
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1904
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1905
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1906
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1907
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1908
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1909
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1910
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1911
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1912
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1913
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1914
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1915
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1916
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1917
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1918
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1919
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1920