ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1905


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๑๙๐๕

    สนทนาธรรม ที่ บ้านท้ายหาด รีสอร์ท จ.สมุทรสงคราม

    วันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗


    ท่านอาจารย์ แต่ว่าถ้าศึกษาธรรมต้องศึกษาใหม่คือให้ตรงคำที่พระเจ้าตรัสว่าหมายความถึงอะไร รู้จักขันธ์แล้วใช่ไหม อุปาทานขันธ์คำที่เราพูดเมื่อกี้นี้ มีเห็นแล้วก็ไม่รู้จักเห็น ใช่ไหม แล้วก็ขณะที่ไม่รู้ ดีหรือไม่ดี

    ผู้ฟัง ไม่ดี

    ท่านอาจารย์ เป็นกิเลส ประเภทที่ยึดถือ ยึดมั่นในเห็นว่าเป็นเรา ถูกไหม

    มีใครบ้างที่กำลังเห็นแล้วไม่เข้าใจว่า เราเห็น ไม่ต้องพูดก็เป็นเราเห็นใช่ไหม นี่ก็แสดงให้เห็นว่าสิ่งที่มีจริงทั้งหมด ขันธ์แต่ละขันธ์ที่เกิดขึ้นเป็นขันธ์ หมดเลย หลากหลายมาก แต่ละหนึ่งนั้นเป็นที่ตั้งของความยึดถือ

    จึงมีคำว่าอุปาทานขันธ์ เวลาที่เราได้ยินคำว่าอุปาทานขันธ์ แล้วก็ผ่านไปหมดเลย แต่เราไม่รู้ว่าขณะใดก็ตามที่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดขึ้นแล้วไม่รู้นี่ก็เป็นที่ตั้งของอุปาทานความยึดถือว่าเป็นเรา ความพอใจในสิ่งที่ปรากฏ ด้วยความเห็นผิดในสิ่งที่ปรากฏ

    ด้วยเหตุนี้การศึกษาพระธรรมก็เพื่อให้เข้าใจไม่ใช่ให้เราไปทำยังไงเลยแต่ว่าจากที่เราไม่รู้เลย และก็รู้ขึ้นมานิดหนึ่งแล้วก็เพิ่มความเข้าใจถูกขึ้นไปอีกเรื่อยๆ เพราะเข้าใจขึ้นเรื่อยๆ ที่จะรู้ว่ามีประโยชน์มากที่จะรู้ว่าตัณหาเป็นกิเลสประเภทที่มีความติดข้อง

    ตัณหาทั้งหมดมีกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหาชื่อเหมือนเป็นคำอื่นที่เราไม่รู้จัก แต่ความจริงมีอยู่ในชีวิตประจำวันทั้งหมดแต่เมื่อมีอยู่ในชีวิตประจำวันก็ไม่รู้ แต่เมื่อทรงแสดง เป็นอีกภาษาหนึ่งเราก็ใช้ภาษานั้นแต่ความจริงก็หมายความถึงสภาพธรรมนั่นเอง แสดงให้เห็นว่าอุปทานในสิ่งที่มี เป็นกิเลสหรือเปล่าถ้าไม่เป็นกิเลสจะเป็นอุปทานไหม ค่อยๆ เข้าใจไปเรื่อยๆ ตามความเป็นจริง

    คือรู้จักธรรมที่เคยยึดถือว่าเป็นเรา เกิดมาเป็นเราโดยไม่รู้เลยสักอย่าง แต่พอศึกษาธรรมแล้วก็เห็นสิ่งที่เคยยึดถือว่าเป็นเราคือเป็นธรรมแต่ละหนึ่งที่ละเอียดขึ้นเพื่อที่จะได้เข้าใจว่าไม่มีเรา เดี๋ยวนี้มีอุปทานไหม มี อุปาทานในอะไร

    ผู้ฟัง ที่เห็น

    ท่านอาจารย์ ในสิ่งที่กำลังปรากฏ

    คำปั่น กราบท่านอาจารย์ก็ดูเหมือนว่าจะมีคำถามว่าสั่งสมกิเลสไว้มากแล้วจะขัดเกลาหรือว่าละคลายกิเลสได้อย่างไร

    ท่านอาจารย์ ประเด็นสำคัญ ไม่มีใครอยากมีกิเลสใช่ไหม แล้วจะไม่มีได้อย่างไร ไม่มีใครอยากมี แต่จะไม่มีได้อย่างไร ในเมื่อกิเลสเป็นอนัตตา พอจะรู้แล้วใช่ไหม จะไม่มีได้อย่างไร

    ถ้าไม่รู้จักกิเลสไม่มีทางที่จะหมดกิเลส อันนี้แน่นอนที่สุด แล้วจะรู้จักกิเลสได้ยังไงใช่ไหม ก็มีคำถามต่อไปได้เรื่อยๆ การสนทนากัน ก็เพื่อความแจ่มแจ้ง เคยได้ยินคำว่ากิเลส แล้วเข้าใจว่าอย่างไร เห็นไหม ดีหรือไม่ดี ไม่ดี แต่ไม่รู้ว่าเดี๋ยวนี้มีกิเลสหรือเปล่า

    เพราะฉะนั้น ก็ไม่มีทางที่จะไม่มีกิเลสถ้าไม่รู้จักกิเลส ก่อนอื่นต้องรู้จักก่อน วันนี้กิเลสอะไรบ้าง เขาบอกเรา เขาเรียกชื่อให้ฟัง แต่ว่าเดี๋ยวนี้ เห็นแล้วมีกิเลสไหม ใครจะบอกถ้าไม่ใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ละเอียดอย่างยิ่งใครจะบอกก็ไม่เหมือนพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงแสดงไว้ ว่าความไม่รู้ ความจริงของสิ่งที่ปรากฏเมื่อไหร่ เดี๋ยวนี้ที่กำลังเห็น ไม่มีใครรู้เลย เห็นดับไม่รู้ เพราะฉะนั้น เมื่อเห็นดับ ไม่รู้ มีความติดข้องในเห็น โดยที่ไม่รู้เลย

    ทุกคนเกิดมาแล้วอยากเห็น ไม่มีใครอยากตาบอดใช่ไหม อยากได้ยิน เพราะฉะนั้น แสดงให้เห็นว่าเพราะความไม่รู้ในสิ่งที่มีจริงๆ ไม่รู้แม้แต่ว่าทันทีที่เห็นดับไปก็ติดข้องในสิ่งนั้นแล้ว

    ผู้ฟัง เมื่อเช้าขณะที่ฟังวิทยุ ท่านอาจารย์พูดถึงจิตตั้งมั่น อยากจะขอท่านอาจารย์อธิบายเพิ่มเติม

    ท่านอาจารย์ จิตเป็นธาตุรู้ มีลักษณะที่รู้แจ้งสิ่งที่ปรากฏ จิตไม่ทำอะไรเลย เดี๋ยวนี้ได้ยินไหม ได้ยิน สภาพที่รู้แจ้งเสียง พอเสียงปรากฏรู้เลยว่าเสียงเป็นอย่างนั้นๆ ๆ เพราะจิตเป็นธาตุที่รู้แจ้งในลักษณะของเสียงนั้นๆ เห็นไหมเสียงนี้เสียงนั้นต่างกัน เพราะจิตเป็นสภาพที่รู้แจ้ง

    เพราะฉะนั้น จิตหรือสภาพธรรมใดๆ ก็ตามจะเกิดตามลำพังไม่ได้ต้องมีสภาพธรรมที่เกิดร่วมกันอาศัยกัน เป็นปัจจัยซึ่งกัน และกันเกิดขึ้น

    เพราะฉะนั้น เวลาที่มีการรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดให้ทราบว่าต้องมีสภาพธรรมที่ไม่ใช่จิต แต่เกิดพร้อมจิตคือเจตสิก รู้สิ่งเดียวกัน ดับพร้อมกัน เกิดพร้อมกัน ถ้าเป็นจิตที่เกิดที่รูปเจตสิกก็เกิดที่รูปเดียวกันด้วย คือเข้ากันสนิทแยกกันไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น เวลาที่ได้ยินเสียง เสียงกำลังปรากฏ มีความรู้สึกในเสียงนั้นไหม

    เห็นไหม มีก็ไม่รู้ แต่ว่ามีความรู้สึกเฉยๆ หรือว่าชอบหรือไม่ชอบเพราะว่าเสียงหลากหลายมาก เสียงทุกเสียงไม่ใช่น่าพอใจทั้งหมดเสียงที่ไม่น่าพอใจก็มีใช่ไหม ทันทีที่ได้ยินก็เกิดความรู้สึกไม่สบายใจ เสียงปืนเสียงดังเสียงฟ้าร้องพวกนี้ ขณะนั้นก็พร้อมกันกับที่ได้ยินความรู้สึกก็เป็นอย่างนี้

    เพราะฉะนั้น ขณะนั้นก็มีสภาพธรรมที่เกิดกับจิตแต่ไม่ใช่จิตไม่ใช่สภาพที่รู้แจ้ง เพราะฉะนั้น ที่ใช้คำว่าจิตเป็นสภาพที่รู้แจ้งลักษณะของสิ่งที่ปรากฏไม่ว่าจะทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจก็มีเจตสิกที่เกิดร่วมกับจิต

    เจตสิกหนึ่งคือสภาพที่ตั้งมั่นในอารมณ์ เพราะฉะนั้น จิตหนึ่งขณะนี้จะรู้เพียงเฉพาะสิ่งที่ปรากฏหนึ่งอย่าง เพราะเจตสิกที่เกิดร่วมกันเป็นสภาพที่ตั้งมั่นในอารมณ์ที่จิตกำลังรู้จิตจึงรู้หลายอย่างไม่ได้จิตหนึ่งต้องรู้อย่างหนึ่งเท่านั้น

    เพราะฉะนั้น จิตตั้งมั่นก็คือว่ามีเจตสิกซึ่งตั้งมั่นในอารมณ์ ทำให้จิตไม่ไปสู่อารมณ์อื่น แต่ให้รู้อยู่ที่เฉพาะอารมณ์ที่เจตสิกนั้นตั้งมั่น ขณะที่ได้ยิน จิตรู้อย่างอื่นด้วยหรือเปล่า เพราะว่าเอกัคคตาเจตสิกตั้งมั่นในเสียง เพราะฉะนั้น จิตก็รู้เสียงไม่ไปสู่อารมณ์อื่นจึงใช้คำว่าตั้งมั่นในอารมณ์

    ผู้ฟัง คือขณะที่ฟังก็ไม่ได้ว่าจะตั้งใจฟังอยู่ตลอดเวลา

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ขณะที่ได้ยินเสียง

    ผู้ฟัง ขณะนั้นก็เป็นคนละจิตแล้วใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ใช่ ถูกต้อง เพราะฉะนั้น ในขณะที่ได้ยินเสียง จิตตั้งมั่นที่ไหน

    ผู้ฟัง ที่เสียง

    ท่านอาจารย์ ในขณะที่คิดจิตตั้งมั่นที่ไหน

    ผู้ฟัง ที่เรื่อง

    ท่านอาจารย์ ก็สิ่งที่จิตรู้นั้น ทีละหนึ่ง

    ผู้ฟัง แต่เคยได้ยินคำว่าจิตตั้งมั่น เหมือนกับว่าเป็นสัมมาสมาธิ

    ท่านอาจารย์ สัมมาด้วยหรือ

    ผู้ฟัง บางโอกาสที่เคยได้ยินผ่านมา

    ท่านอาจารย์ ในอกุศลตั้งมั่นได้ไหม

    ผู้ฟัง ได้

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ไม่ใช่สัมมาสมาธิเสมอไปใช่ไหม พอได้ยินคำว่าสมาธิไม่ได้หมายความว่าเป็นสัมมาหรือถูกหรือเป็นกุศล มิจฉาสมาธิก็มี อกุศลสมาธิก็มี เพราะว่าเอกัคคตาเจตสิกเกิดได้ทั้งกุศลจิต และอกุศลจิต

    เพราะฉะนั้น เวลาที่จะใช้จะคำว่าตั้งมั่นก็จะต้องรู้ว่า ถ้าจิตเกิดรู้อารมณ์เดียวบ่อยๆ อารมณ์อื่นไม่ปรากฏมากเท่ากับอารมณ์นั้นเหมือนกับว่าจิตนั้นตั้งมั่นเฉพาะในอารมณ์นั้น แต่ขณะนั้นก็ต้องมีอารมณ์อื่นแทรกเช่น มีเสียงแทรก มีเห็นแทรก มีกลิ่นแทรกแต่ว่าจิตกำลังตั้งมั่นในอารมณ์หนึ่งอารมณ์ใดอารมณ์นั้นก็ปรากฏว่า สมาธิ

    เพราะฉะนั้น เอกัคคตาเจตสิกเป็นเจตสิกเมื่อตั้งมั่นในอารมณ์หนึ่งนานๆ บ่อยๆ ก็มีลักษณะอาการของที่เราใช้คำว่าสมาธิ แต่ว่าเป็นอกุศลก็ได้เป็นกุศลก็ได้ ไม่ใช่ว่าเมื่อเป็นสมาธิแล้วเป็นกุศลทุกครั้งหรือว่าเป็นสัมมาทุกครั้งเพราะมีมิจฉาสมาธิด้วย

    แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าเป็นสัมมาสมาธิหรือมิจฉาสมาธิ พูดแล้วต้องรู้ไม่ใช่พูดแล้วผ่านไปเลย ถ้ามีมิจฉาสมาธิมีสัมมาสมาธิแล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าขณะไหนเป็นมิจฉาสมาธิขณะไหนเป็นสัมมาสมาธิ เห็นไหม

    ไม่ใช่ศึกษาธรรมด้วยชื่อ แต่ต้องด้วยความเข้าใจ และสามารถที่จะสนทนาซักถามจนเข้าใจแจ่มแจ้งถึงที่สุด ต้องมีคำตอบจึงจะเป็นความถูกต้อง

    เพราะฉะนั้น แค่คำว่าตั้งมั่นไม่พอ ต้องหมายความว่าสภาพธรรมนั้นไม่ใช่จิตแต่เป็นเจตสิกแต่เมื่อเจตสิกใดเกิดกับจิตใดทำให้จิตนั้นเป็นอย่างนั้นจึงใช้คำว่าจิตตั้งมั่นก็ได้ จิตโกรธก็ได้ แต่ว่าตามความเป็นจริงที่ใช้คำว่าจิตโกรธเพราะมีโทสเจตสิกเกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้น ถ้าเรียกเต็มกับโทสมูลจิตใช่ไหม แต่บางทีเราเป็นที่เข้าใจแล้วเราก็พูดกันสั้นๆ แต่ถึงจะพูดสั้นยาวยังไงก็ต้องให้เข้าใจให้ถูกต้อง

    เพราะฉะนั้น สมาธิที่เป็นอกุศลก็มี ถ้าเกิดกับอกุศลจิตเพราะเอกัคคตาเจตสิกเกิดกับจิตทุกขณะทุกประเภท และเดี๋ยวนี้เป็นสัมมาหรือมิจฉา กุศล หรืออกุศล เห็นไหมแค่คิดแต่รู้จริงๆ ได้ไหมต้องเป็นปัญญาอีกระดับหนึ่ง จึงสามารถที่จะรู้เฉพาะลักษณะของสภาพธรรมแต่ละอย่าง

    อยากทราบไหมว่าเมื่อไรเป็นกุศลสมาธิ เมื่อไหร่เป็นอกุศลเมื่อไหร่เป็นมิจฉาเมื่อไหร่เป็นสัมมาควรจะรู้ใช่ไหม

    ผู้ฟัง หมายความว่าในขณะที่เป็นกุศลสมาธิก็ไม่ใช่สัมมาสมาธิเสมอไป

    ท่านอาจารย์ สัมมาสมาธิ มิจฉาสมาธิสองคำนี้ สัมมาสมาธิถูกต้องตามความเป็นจริงก็ต้องประกอบด้วยปัญญา มิจฉาสมาธิก็ต้องประกอบด้วยความเห็นผิด

    มรรคมีองค์ ๘ ทรงแสดงไว้สองอย่างมิจฉามรรคกับสัมมามรรค ตั้งแต่องค์ที่หนึ่งไปเลยมิจฉาทิฎฐิ มิจฉาสังกัปปะมิจฉาวายามะ มิจฉาสติมิจฉาสมาธิ มิจฉาหมด

    แต่ต้องเข้าใจด้วยว่าจริงๆ แล้วสติเป็นมิจฉาไม่ได้แต่ทรงแสดงคู่กันเป็นการเปรียบให้เห็นความเข้าใจผิดคิดว่าขณะนั้นเป็นสติ แต่ความจริงไม่ใช่สติ มีสองอย่าง อกุศลสมาธิ กุศลสมาธิมิจฉาสมาธิ สัมมาสมาธิ

    แล้วจะรู้ได้เมื่อไหร่ว่าขณะนั้นเป็นอะไร ถ้าไม่มีการศึกษาธรรมเลยว่าพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนให้ทำอย่างนั้นหรือเปล่า คิดว่าท่านสอนให้ทำอย่างนั้นหรือเปล่า

    ผู้ฟัง หรือว่าเป็นวิธีเพื่อที่จะให้..

    ท่านอาจารย์ วิธีของใคร

    ผู้ฟัง เราจะต้องรู้ว่าเรามีโลภะหรือเปล่าใช่ไหม การที่เรานั่ง

    ท่านอาจารย์ เพียงแค่อยากทำสมาธิเป็นกุศลหรือเปล่า โดยที่ไม่รู้ว่าสมาธินี้คืออะไร ไม่ต้องทำอกุศลสมาธิเลยเป็นอยู่แล้ว ต้องทำไหมอกุศลสมาธิ ไม่ต้องทำใช่ไหม แล้วอยากทำสมาธิ

    สมาธิที่อยากทำคือสมาธิอะไร ประเภทไหน เพราะว่าสมาธิมีอยู่แล้วเดี๋ยวนี้ก็มี แล้วเราทำหรือว่าเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย เพราะฉะนั้น ต้องรู้ก่อนว่าสมาธิที่ว่าไปทำสมาธิคืออะไร เป็นกุศลหรือเปล่าหรือเป็นอกุศลต้องตรง

    ถ้าไม่ตรงไม่ได้สาระจากพระธรรมเลย พระธรรมไม่อารักขาให้เรามีความเข้าใจที่ไม่คลาดเคลื่อน เพราะเข้าใจธรรม แต่ถ้าไม่เข้าใจธรรมโอกาสที่จะผิด และคลาดเคลื่อนมีตลอด พอได้ยินชื่อว่าทำสมาธิยังไม่ได้เข้าใจอะไรเลยใช่ไหม แต่ทำแล้ว

    หรือว่ามีความเข้าใจ อะไรจึงทำ ความเป็นผู้ตรงคือจะทำสมาธิมีความเข้าใจอะไรหรือเปล่า หรือว่าไม่มีความเข้าใจอะไรเลยก็จะทำสมาธิ จิตเกิดเมื่อไหร่ก็มีเอกัคคตาเจตสิกเกิดร่วมด้วยเป็นสภาพของเจตสิกชนิดหนึ่งซึ่งต้องเกิดกับจิตทุกขณะทำให้จิตขณะนั้นตั้งมั่นในอารมณ์หนึ่ง เพราะฉะนั้น เมื่อเจตสิกเกิดกับจิตที่กำลังรู้อารมณ์ใด ก็ตั้งมั่นในอารมณ์นั้นชั่วขณะ ใช้คำว่าขณิกสมาธิแต่ละหนึ่งขณะๆ มีอยู่แล้ว

    เพราะฉะนั้น ธรรมมีอยู่แล้วแต่การฟังพระธรรมเพื่อเข้าใจสิ่งที่มีอยู่แล้วจะถูกหรือจะผิดอย่างไรก็เพื่อให้เข้าใจตามความเป็นจริงว่า ไม่สามารถที่จะคิดเองได้ เข้าใจได้หรือเข้าใจผิดถ้าไม่ได้ฟังพระธรรม

    เพราะฉะนั้น การฟังพระธรรมประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่งก็คือว่ากั้นไม่ให้เราเห็นผิด ทำให้มีความเข้าใจที่ถูกต้อง และสาระก็คือว่าไม่ทำสิ่งที่ไม่จริง และไม่ตรงกับความเป็นจริง และไม่ใช้ทึกทักเอาเอง ทำสมาธิทั่วโลกไม่ใช่มีแต่เฉพาะประเทศไทยต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างมีแบบของการทำใช่ไหม มีชื่อหลายชื่อ หลายวิธีการ แต่ว่าที่พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ และทรงแสดงถึงสภาพธรรมที่มีจริงว่าที่ว่าเป็นสมาธินั้นคืออะไร

    คือสภาพของเจตสิกที่ตั้งมั่นในอารมณ์แล้วแต่ว่าจะตั้งมั่นในอารมณ์อะไรที่เป็นอกุศลหรือที่เป็นกุศลมิฉะนั้นจะไม่มีสมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนา เพราะฉะนั้น คนที่ไม่ศึกษาธรรมเลย ทำสมาธิกันทั่วโลก ทั่วโลกจริงๆ แต่ว่าสมถภาวนาคืออะไร วิปัสสนาคืออะไรสมถภาวนา และวิปัสสนา เป็นกุศลจิต แต่ว่าถ้าสมาธิอื่นถ้าเกิดกับอกุศลก็เป็นอกุศล ถ้าเกิดกับกุศลก็เป็นกุศล แต่ไม่ใช่ภาวนา

    ภาวนาคืออบรมให้มีมากขึ้นให้มั่นคงขึ้น คำว่าภาวนาอบรมในสิ่งที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น อบรมในสิ่งที่มีแล้วให้เจริญขึ้น เพราะฉะนั้น สมถภาวนาชื่อบอกแล้วอบรมอกุศลหรือกุศล

    จะไปอบรมอกุศลธรรมทำไม ใช่ไหม ไม่ต้องไปอบรมมีอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น สมถภาวนาคืออบรมความสงบจากอกุศล ถ้าตรงๆ ก็คือว่าอบรมความสงบจากอกุศลให้มั่นคงขึ้น เพราะว่าใครจะยับยั้งอกุศลซึ่งมีมากเกิดอยู่เรื่อยไป เห็นก็เกิดแล้วใช่ไหม ติดข้อง กามุปาทานยึดมั่นในสิ่งที่ปรากฏ รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ ละไม่ได้เลย แต่ว่าถ้าจะเป็นการอบรมเจริญต้องเจริญทางฝ่ายกุศลคือสงบจากความติดข้อง

    ภาวนาทั้งหมดที่เป็นสมถภาวนาคือสงบจากอกุศล เพราะฉะนั้น กุศลต่างหากที่สงบ ถ้าไม่ใช่กุศลไม่สงบเลย เพราะฉะนั้น สมถภาวนาคืออบรมความสงบจากอกุศลให้ตั้งมั่น วิปัสสนาภาวนาก็เป็นการอบรมเจริญปัญญาความเห็นถูกต้องในสิ่งที่กำลังปรากฏไม่ใช่สิ่งที่หมดไปแล้วหรือสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น เดี๋ยวนี้การฟังแล้วค่อยๆ เข้าใจขึ้นจะนำไปสู่วิปัสสนา แต่ถ้าไม่มีปัญญาเลยยังไงๆ ก็เรียกกันไป แต่ไม่ได้เข้าใจเลยว่าหมายความว่าอะไรเหมือนสมาธิ ใช่ไหมก็ไม่รู้ว่าขณะนั้นเป็นอกุศล เพราะว่าถ้าเป็นกุศลต้องเป็นสมถภาวนาอบรมความสงบจากอกุศล เพราะฉะนั้น อยู่ดีๆ จะเกิดความสงบจากอกุศลได้ไหม ทำได้ไหม

    ทำไม่ได้ แต่ปัญญาค่อยๆ ทำให้รู้ว่าขณะไหนเป็นกุศลขณะไหนเป็นอกุศล แล้วก็ขณะที่เป็นกุศลนั้นเพราะอะไร เพราะฉะนั้น ก็มีปัญญาที่จะรู้ว่าขณะนี้เป็นกุศลหรือเปล่าอบรมกุศลก็คือว่าอบรมให้พ้นจากความไม่รู้ และความติดข้อง การฟังธรรมเป็นการอบรมเจริญความสงบของจิตแต่ยังไม่ถึงขั้นสมถภาวนา

    ฟังธรรมขณะนี้คิดถึงใครบ้างไหม มีใครคิดถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบ้าง แต่ละคำ มาจากไหน ถ้าไม่มีพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจะมีโอกาสได้ยินได้ฟังได้เข้าใจอย่างนี้ไหม

    เพราะฉะนั้น เมื่อระลึกถึงพระคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจิตสงบไหม นั่นคือพุทธานุสติ เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ว่าคิดอะไรอะไรก็ไปที่ท้องแล้วก็สงบ อย่างนั้นได้ยังไง

    ผู้ฟัง แสดงว่ารูปแบบนี้ไม่จำเป็นเลย

    ท่านอาจารย์ ไม่ให้เหตุผลเลย ระลึกแล้วรู้อะไรแล้วสงบได้อย่างไร ถ้าจะไปดูที่ท้องพองยุบสงบหรือเปล่า

    ผู้ฟัง อย่างงั้นแล้วเราจำเป็นต้องนั่งสมาธิที่เขามีวิธีการไหม

    ท่านอาจารย์ เราจำเป็นต้องนั่งสมาธิที่เขามีวิธีการไหม เขาคือใคร?

    ผู้ฟัง ที่แสดงให้เห็นกัน

    ท่านอาจารย์ ตั้งแต่คำแรกเลย เขาคือใคร เท่านี้ เขาคือใครไม่ใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแน่นอน และมีพระธรรมพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้โดยครบถ้วน โดยละเอียดยิ่ง โดยประการทั้งปวงที่จะไม่ให้เห็นผิดไม่ให้เข้าใจผิดเลย

    แล้วเราจะฟังใคร คิดว่าคนอื่นสามารถจะทำให้เราเข้าใจได้หรือ ในเมื่อไม่ได้บอกให้เราเกิดปัญญาอะไรเลยแต่ให้ทำ ขณะนั้นเป็นเราใช่ไหม ไม่ใช่ความเห็นถูกว่าไม่ใช่เรา และไม่รู้ด้วยว่าขณะไหนสงบ ขณะไหนไม่สงบ ขณะไหนมีความเห็นถูก ขณะไหนไม่มีความเห็นถูกเลย ได้แต่หลงต้องการพยายามที่จะทำพยายามที่จะจ้อง โดยถูกบอกให้ทำ

    ปัญญาของใคร เวลาที่ถูกบอกให้ทำ คนบอกก็ไม่มีปัญญา อย่าว่าแต่คนที่ทำตามคำที่บอก เพราะอะไร ถ้าเข้าใจถูกจะไม่ให้คนอื่นเข้าใจถูกหรือ ถ้าเข้าใจถูกจะให้คนอื่นทำอะไรซึ่งไม่ใช่ความเข้าใจหรือ เพราะฉะนั้น แม้แต่ผู้บอกก็ไม่มีปัญญา เพราะฉะนั้น ผู้ฟังทำตามจะมีปัญญาไหม

    ลืมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ลืมพุทธัง สะระนัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ เป็นผู้ที่ไม่ตรง เพราะฉะนั้น ถ้าไม่ใช่สัจจบารมี ไม่มีทางถึงความเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏเพราะไม่ตรง เชื่อใคร เชื่อพระพุทธเจ้าก็ต้องศึกษา ใครก็ตามที่บอกว่ามีพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง มีพระธรรมเป็นที่พึ่ง มีพระอริยสงฆ์เป็นที่พึ่งต้องตรง พึ่งอะไร พึ่งคำสอน

    ถ้าไม่สอนเลยเราจะพึ่งได้ไหม นั่งนิ่งเลยที่พระวิหารเชตวันไม่มีซักเสียงไม่มีซักคำ และเราจะพึ่งอะไร แต่เพราะเหตุว่าทรงแสดงพระธรรม ไม่ได้ให้ใครไปทำอะไรที่ไหนเลยทั้งสิ้น แต่ให้มีความเห็นถูกให้มีความเข้าใจถูกเป็นที่พึ่ง ไปพึ่งปัญญาของคนอื่นไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น ใครก็ตามที่ให้ความเข้าใจผู้นั้นต้องมาจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกคำที่พูดเป็นความจริงเป็นสัจธรรม ซึ่งใครก็คิดเองไม่ได้ รับรองได้เลยไม่มีใครคิดเองได้ แล้วเรายังฟังคำคนอื่น ซึ่งไม่ทำให้เกิดปัญญาเลย

    เพราะฉะนั้น คนฟังสามารถที่จะรู้จักคนพูด ซึ่งคนพูดไม่มีโอกาสคิดว่าพูดอะไรคนฟังก็เชื่อไม่ใช่อย่างนั้นเลย พูดมาสิแล้วจะรู้ว่าคนที่พูดนั้นพูดผิดหรือเปล่า ถ้าคนนั้นศึกษาพระธรรม มีความเข้าใจที่ถูกต้องสามารถจะบอกได้ด้วยผิดตรงไหน ผิดตรงที่ไม่ได้ให้ใครเกิดปัญญาเลย แล้วให้เขาทำอะไร นี่เป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือ ในเมื่อพระองค์ทรงแสดงให้คนฟังเกิดปัญญาของตนเอง

    เป็นสมบัติที่ล้ำค่าที่สุดซึ่งเงินทองก็ซื้อไม่ได้ เงินเท่าจักรวาล กี่จักรวาลก็ทำให้ปัญญาเกิดไม่ได้ แต่ทุกคำที่ทรงแสดงสามารถที่จะทำให้คนฟังเกิดความเห็นถูกต้องเป็นปัญญาของตนเอง แล้วจะเชื่อใครแล้วจะฟังใคร

    เพราะฉะนั้น ถ้าไม่ใช่ความเห็นที่ถูกต้องตามเหตุตามผลจะทำให้ตามเขาบอก แค่เขาบอกก็ทำ ไม่มีเลยในพระไตรปิฎกที่จะให้ใครไปทำอะไร ที่ว่าดูที่ท้องพองยุบแล้วเกิดอะไรขึ้น ลองยกเหตุผลมีไหม

    ผู้ฟัง การดูท้องพองยุบ

    ท่านอาจารย์ แค่นี้ก่อน การดูท้องพองยุบ ทำไมดูท้องพองยุบไม่ดูอย่างอื่น

    ผู้ฟัง เป็นวิธีการ

    ท่านอาจารย์ วิธีการมาจากไหน

    ผู้ฟัง เพื่อที่จะดูความจริง ณ ขณะนั้นไหม

    ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้เห็นจริงไหม ได้ยินจริงไหม เที่ยงไหม เกิดไหม ดับไหม แล้วจงใจไปดูท้องพองยุบเข้าใจอะไร

    แล้วทำเพื่อเข้าใจหรือเปล่า หรือทำเพื่อไม่รู้ แล้วเข้าใจว่าสงบ สงบจากอกุศลคือความไม่รู้ แต่ถ้ามีความไม่รู้ไม่สงบ เพราะฉะนั้น ทั้งๆ ที่ไม่สงบก็ชวนไปทำความไม่สงบ ไม่สงบอยู่แล้วยังไม่พอ ไปทำให้ไม่สงบมากขึ้นๆ จนไม่รู้ตัว ไม่ได้เกิดปัญญาความเห็นถูกใดๆ เลยทั้งสิ้นเพราะขณะนั้นไม่รู้สึกตัว เท่าที่ได้ฟังวิทยุบางคนก็บอกว่าดูไปแล้วก็เหมือนไก่ขยับปีก บางคนก็ตัวแข็งไปทั้งตัวก้าวไม่ออก

    ปัญญาอยู่ที่ไหน ปัญญารู้อะไรเป็นปกติหรือเปล่า เพราะฉะนั้น พระธรรมที่ทรงแสดงที่ทิ้งไม่ได้เลยเป็นผู้มีปกติ รู้ความจริงของสภาพธรรมที่มีจริงๆ ที่ปรากฏใครไปทำอะไรไม่ได้เพราะเกิดแล้ว เกิดแล้วสิ่งที่เกิดแล้วไม่รู้แล้วจะไปรู้หรือไปทำอะไรให้รู้ ในเมื่อยังไงๆ ก็ไม่รู้สิ่งที่เกิดแล้วเพราะเหตุปัจจัย

    เพราะฉะนั้น ต้องรู้เลยคำไหนเป็นคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คำไหนไม่ใช่ เพราะว่าไม่จริงเดี๋ยวนี้ก็มีสภาพธรรมไม่ต้องไปดูอะไรเกิดแล้วนี่ เกิดแล้วกำลังเห็นจะไปดูอะไร แต่ฟังแล้วเข้าใจเห็นค่อยๆ รู้ว่าเห็นเป็นธาตุที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยต้องอาศัยจากจักขุปสาทรูปพิเศษ ซึ่งไม่เหมือนเย็น ร้อน อ่อน แข็ง เพราะว่ารูปนี้สามารถกระทบกับสิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็น และรูปนั้นก็เห็นไม่ได้ แต่ต้องมีธาตุรู้เกิดขึ้นเพราะการกระทบกัน แสดงความเป็นอนัตตาโดยตลอดตั้งแต่แม้รูปที่กระทบสิ่งที่ปรากฏทางตาได้ เกิดขึ้นได้อย่างไร ไม่มีใครไปทำให้เกิดขึ้นมาได้เลย แต่ทรงแสดงเหตุปัจจัย แม้รูปนั้นก็เกิดขึ้นเพราะอะไร นี่เป็นความรู้ถูกหรือเปล่า แทนที่จะไปดู โดยไม่รู้อะไรเลย

    เพราะฉะนั้น แต่ละคำนี่ยังไม่ต้องยาวไปถึงไหน แค่ดูท้องพองยุบเป็นคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพระเจ้าหรือเปล่า เพราะทุกคำของพระองค์ทำให้เกิดความเข้าใจสิ่งที่กำลังมีตามความเป็นจริง

    จะดูท้องพองยุบต่อไปอีกหรือเปล่า ศึกษาธรรมต้องเป็นผู้ตรงจริงๆ จริงใจ ตรง เพราะว่าพระธรรมที่ทรงแสดง แสดงสภาพธรรมที่มีจริงเดี๋ยวนี้ตรงลักษณะนั้นจริงๆ ถ้าไม่ตรงนิดเดียวไม่มีทางเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังเป็นอย่างนั้นได้ ถามไม่ใช่เพื่ออย่างอื่นเลย เพื่อจะรู้ว่าเข้าใจหรือเปล่าที่ได้ฟังว่า คำใดเป็นคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อให้เกิดความเห็นถูกความเข้าใจถูก ไม่ใช่เพราะอยากเพราะต้องการ แต่ไม่รู้อะไรเลย

    แล้วคนที่บอกเป็นใคร ใช่ไหม มีอะไรที่จะทำให้เข้าใจถูกได้ไหม เพราะว่าการที่จะเข้าใจถูกทุกอย่างต้องมาจากคำของพระพุทธเจ้าไม่ว่าใครจะเป็นคนพูด คำจริงคำถูกต้องทั้งหมดเป็นคำที่ทรงแสดง

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 201
    12 ก.ค. 2567

    ซีดีแนะนำ