ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1906
ตอนที่ ๑๙๐๖
สนทนาธรรม ที่ บ้านท้ายหาด รีสอร์ท จ.สมุทรสงคราม
วันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
ท่านอาจารย์ ไม่ว่าใครจะเป็นคนพูด คำจริงคำถูกต้องทั้งหมดเป็นคำที่ทรงแสดง แล้วเดี๋ยวนี้ล่ะ
ผู้ฟัง ตอนนี้พอมาฟังอาจารย์แล้วก็จะหยุดแล้ว ก็จะมาฟังคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ท่านอาจารย์ มิเช่นนั้นจะไม่ทรงแสดงพระธรรม ๔๕ พรรษาเช้า สาย บ่าย ค่ำ ดึก เพื่อประโยชน์คือว่าผู้ฟังจะได้เข้าใจเพราะว่าเข้าใจไม่ง่าย แบบอาศัยการเข้าใจขึ้นๆ ทีละเล็กทีละน้อยก็จะเป็นผู้ที่มั่นคงว่าพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าสอนให้รู้เพื่อละ ไม่มีการที่ใครจะไปละกิเลสใดๆ ด้วยความไม่รู้
เพราะฉะนั้น แต่ละคำที่รู้จริงๆ เข้าใจจริงๆ มั่นคงสัจจญาณก็จะนำไปสู่กิจจญาณ เมื่อมีปริยัติก็จะนำไปสู่ปฏิ ปัตติ แต่อย่าได้ไปปฏิบัติโดยที่ไม่เข้าใจอะไรเลยทั้งสิ้นเพราะนั่นไม่ใช่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ในความเป็นผู้ตรง แล้วก็ต้องจริงใจ มั่นคงแล้วก็ จะเข้าใจคำสอนตรง ไม่ว่าวันต่อไปหรือวันไหนใช่ไหมหรือเฉพาะวันนี้ที่จะไม่ไปปฏิบัติ ต้องเป็นผู้ที่ตรง ไม่เห็นจะสำคัญอะไรจะเดือดร้อนอะไรกับการที่ไปทำอะไรที่ไม่รู้ ยิ่งไปสะสมความไม่รู้เพิ่มขึ้น เป็นเครื่องกั้นไม่ให้รู้ว่าหนทางจริงๆ คืออะไร
ผู้ฟัง อย่างเช่นเข้าพรรษา เช่นอย่างไปถือศีลอุโบสถตามวัดเป็นอะไรหรือเปล่าหนูไม่เข้าใจ
ท่านอาจารย์ นี่ก็เหมือนกันไม่ว่าอะไรทั้งนั้น ควรเข้าใจ
ศีลคืออะไร เห็นไหม มี ๕ ข้อมี ๘ ข้อก็ได้แต่รู้ แต่ว่าคืออะไร ก่อนอื่นที่เป็นปัญญาคือต้องรู้ว่าคืออะไร ศีลเป็นธรรมหรือเปล่า ศีลอยู่ที่ไหน จิตเจตสิก รูป นิพพาน ถ้าไม่มีจิตจะมีศีลไหม
ไม่มี มีแต่กายได้ไหมที่จะไปรักษาศีล ไม่ได้ เพราะฉะนั้น เมื่อทราบว่าทั้งหมดสภาพที่เป็นใหญ่เป็นประธานคือจิต เพียงไม่มีจิตอะไรๆ ก็ไม่มี แต่จิตที่ดีก็มี จิตที่ไม่ดีก็มีตามเจตสิกที่เกิดกับจิต ถ้าอกุศลเจตสิกเกิด โลภะเกิดจิตดีได้ไหม ไม่ได้ จึงใช้คำว่าโลภมูลจิต ถ้าโทสะเกิด ดีไหมไม่ดี ไม่ให้เกิดได้ไหม เกิดแล้วใช่ไหม
เพราะฉะนั้น รู้ตามความเป็นจริงว่าขณะนั้นก็คือจิตประเภทหนึ่งซึ่งเป็นโทสะ เพราะฉะนั้น ศีลคืออะไร คนส่วนใหญ่จะได้ยินคำว่าศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ ดีทั้งนั้น ใช่ไหม แต่ว่าพระธรรมที่ทรงแสดง ถ้าไม่มีจิต กายวาจาจะเคลื่อนไหวไปได้อย่างไร แต่เมื่อมีจิตแล้ว และมีรูป
รูปคือการเคลื่อนไหวทางกายทางวาจาก็เป็นไปตามอำนาจของจิต แต่ไม่ได้หมายความว่าจิตมีอำนาจสั่ง เป็นไปตามปัจจัยคือจิตประเภทใดเกิดขึ้นกายวาจาก็เคลื่อนไหวไปตามจิตประเภทนั้นๆ ถูกต้องไหม
ฟังธรรมต้องพิจารณาถูกหรือผิด ถูกรึเปล่า ถ้าไม่มีจิตรูปทำอะไรไม่ได้เลย คนตายไม่มีจิตเกิดที่รูปนั้น แต่เมื่อมีจิตแล้ว มือไม้แขนขามีหมดครบถ้วนเคลื่อนไหวไปทุกวัน เพราะจิตใช่ไหม
เพราะฉะนั้น ขณะใดที่จิตเป็นอกุศล กายทำอะไร เคลื่อนไหวไปด้วยอกุศลจนถึงกับทุจริตที่ลักขโมยหรือฆ่าหรือเบียดเบียนคนอื่นก็ได้เพราะจิตขณะนั้นเป็นอกุศล
เพราะฉะนั้น ให้ทราบว่าศีลก็คือจิต เมื่อจิตเป็นอกุศลกายวาจาเป็นอกุศลศีล ให้เห็นความสอดคล้อง โดยมากถ้าไม่ศึกษาธรรมโดยละเอียด ไม่ว่าจะในวิสุทธิมรรคซึ่งชื่อเรื่องบอกแล้ว หนทางแห่งความบริสุทธิ์ เพราะฉะนั้น จะไม่กล่าวถึงอกุศล แต่ว่าในพระไตรปิฎกไม่เว้นสักอย่าง ที่จะให้เข้าใจถูกต้องว่าไม่ใช่เรา แม้กายเคลื่อนไหวไปก็ตามการสะสม
แต่ละคนขณะนี้นั่งเหมือนกันไหม ทำไมถึงเป็นอย่างนี้ไปได้ ใช่ไหมแต่ละคนก็แต่ละหนึ่ง เพราะฉะนั้น ความละเอียดของจิตแม้แต่อกุศลเล็กๆ น้อยๆ ก็ทำให้กายวาจาเป็นไปตามที่สะสมมา แม้แต่เป็นพระอรหันต์แล้วดับกิเลสหมดแล้ว แต่ยังสะสมความคุ้นเคย ในสังสารวัฎฏ์ที่ชินต่ออาการของกายวาจาก็ยังต้องเป็นไปตามการสะสม ที่ใช้คำว่าวาสนา
วาสนาหมายความถึงสภาพธรรมทั้งหลายทั้งหมดเลย ไม่ว่าจะดีหรือไม่ดีก็สะสมที่จะทำให้คิดดู แม้แต่การเคลื่อนไหวการนั่งการนอน การยืนการเดินการพูดการรับประทานอาหาร แต่ละหนึ่งวิจิตรมาก นี่คือความละเอียดอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาว่าถ้าไม่มีจิตจะมีการกระทำหลากหลายอย่างนั้นไหม ก็ไม่มีแต่ทรงแสดงไว้โดยละเอียดว่าเมื่อจิตเป็นอกุศลไม่เคยรู้เลย ว่าอกุศลศีลมี จะปฏิเสธไหม ฟังแล้วบอกไม่ใช่รึเปล่า ก็ลองคิดดู ทุกคำเป็นคำจริง
เพราะฉะนั้น ถ้าจิตเป็นกุศลกายเคลื่อนไหวยังไงช่วยเหลือ ใช่ไหมสงเคราะห์คนอื่นทำสิ่งที่เป็นประโยชน์วิรัติเว้นอาการกิริยาที่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนไม่มีการทำร้ายไม่มีการฆ่าเป็นต้น ไม่มีการรังแกเพื่อความสนุกด้วยใช่ไหม หรือเพื่ออะไรก็แล้วแต่
เพราะฉะนั้น ความเป็นผู้ละเอียดก็สามารถที่จะรู้ได้ว่าขณะนั้นเป็นศีลอะไร เพราะไม่เคยรู้มาก่อนเรื่องอกุศลศีล ถ้าไม่รู้จะวิรัติจะเว้นได้ไหม ไม่ได้ใช่ไหม แต่เพราะมีความเข้าใจที่ละเอียดขึ้น ปัญญานั้นเองจะนำไปในกิจทั้งปวง ไม่ใช่เรา ต้องเข้าใจจริงๆ ว่าไม่ใช่เรา ฟังธรรมทั้งหมดมาจากพระไตรปิฏก ๔๕ พรรษาละเอียดอย่างยิ่งเพื่ออนุเคราะห์คนที่ไม่รู้แล้วก็ยึดถือสภาพธรรมไว้มากมาย ให้ค่อยๆ เข้าใจถูกขึ้น
เพราะฉะนั้น ทุกคำตรวจสอบในพระไตรปิฏกแม้แต่คำว่าอกุศลศีล กุศล ศีลมีไหม มี แล้วก็ยังมีอพยากตศีล จิตสำหรับคนที่ยังไม่ได้ดับกิเลสเดี๋ยวเป็นกุศล เดี๋ยวเป็นอกุศล เดี๋ยวเป็นผลของกุศลซึ่งไม่ใช่ตัวเหตุ เดี๋ยวก็เป็นผลของอกุศล เพราะฉะนั้น ถ้าไม่ศึกษาจริงๆ จะไม่สามารถรู้ว่าขณะนี้เป็นจิตอะไร เพียงขั้นฟังก็สามารถจะค่อยๆ ละคลายการยึดถือว่าเป็นเราโดยความเข้าใจขึ้นจนกว่าจะถึงปฏิ ปัตติที่สามารถจะเข้าใจลักษณะที่กำลังปรากฏตรงตามที่ได้ฟัง ที่ใช้คำว่าปฏิบัติในภาษาไทยหมายความถึงปัญญาถึงระดับที่สามารถจะเข้าใจ สิ่งที่ปรากฏตามความเป็นจริงตามที่ได้ฟัง
เพราะฉะนั้น เมื่อดับกิเลสแล้วมีกุศลไหม มีไหมดับกิเลสแล้วจิตเป็นกุศลได้ไหม ไม่ได้เพราะถ้ายังเป็นกุศลต้องมีผลคือวิบากยังเป็นเหตุให้เกิดผลที่ดี เพราะฉะนั้น แม้ว่าจิตขณะนั้นจะประกอบด้วยสภาพธรรมคือเจตสิกที่ดี แต่ไม่เป็นเหตุที่จะให้เกิดอีก จิตนั้นจึงเป็นกิริยาจิต เป็นโสภณจิตเป็นจิตที่ดีไม่ใช่อกุศล อกุศลนี่เกิดอีกไม่ได้เลย ดับคือดับ แต่ถ้าคนที่ไม่รู้ไม่ใช่พระพุทธเจ้า ก็พยายามหาทางไม่ให้เกิดชั่วคราวแต่ดับไม่ได้ เพราะว่าลึกมากละเอียดมากหนาแน่นมาก
เพราะฉะนั้น ก็จะต้องเป็นผู้ที่เข้าใจถูกต้องว่าเมื่อรู้จักอกุศลศีลแล้ว รู้จักกุศลศีลแล้ว ก็ยังมีอพยากตศีล สำหรับจิตซึ่งไม่ใช่กุศล และอกุศล เพราะฉะนั้น แม้แต่ว่ารักษาศีลใช่ไหม ที่ว่าเมื่อครู่นี้ รู้จักศีลหรือ ถ้ายังไม่รู้จักศีลรักษาอะไร จิตมีรักษาจิตรึเปล่าหรืออะไร หรือว่าทำไปด้วยความไม่รู้ เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องของความรู้ทั้งหมด
ต้องไม่ลืมว่าพระพุทธศาสนาคำสอนศาสนาของผู้ที่ทรงตรัสรู้ เพราะฉะนั้น จะไม่มีการเว้นสักอย่างเดียวในชีวิตประจำวันที่จะไม่กล่าวถึง เพื่อจะให้เข้าใจถูกต้องจริงๆ ว่าไม่ใช่เราเป็นธรรมแต่ละอย่าง จึงจะเป็นการศึกษาธรรม ขอเชิญคุณคำปั่นให้ความหมายของ สี ละ ภาษาบาลีด้วย
อ.คำปั่น ถ้ากล่าวถึง สีละโดยทั่วไปก็จะหมายถึงความเป็นปกติ ปกติเป็นกุศลก็มี ปกติเป็นอกุศลก็มี ปกติที่ไม่ใช่กุศลไม่ใช่อกุศลก็มี อันนี้คือความหมายของ สี ละ โดยครอบคลุมตามความเป็นจริงของความประพฤติเป็นไปของสัตว์โลก
แต่ถ้ามุ่งหมายถึงเฉพาะ สี ละ ที่เป็น กุศลศีล ท่านก็แสดงว่า หมายถึงการรวบรวมความประพฤติเป็นไปจากที่ไม่เหมาะไม่ควรทั้งทางกายทางวาจา ก็ให้เป็นความประพฤติเป็นไปที่ถูกต้องดีงาม อันนี้คือความหมายหนึ่ง อีกความหมายถึงก็แสดงถึงเป็นเบื้องต้นหรือว่าเป็นการรองรับ คุณธรรมเบื้องสูงขึ้นไป อย่างเช่นผู้ที่เป็นพระภิกษุท่านก็จะต้องมีความสำรวมระวังในเรื่องของสิกขาบถต่างๆ เพื่อที่จะไม่ล่วงละเมิด เพราะว่าการล่วงละเมิดสิกขาบทหรือว่าล่วงละเมิดพระวินัยของพระภิกษุก็จะเป็นเครื่องกั้นในการที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรมได้
เพราะฉะนั้น ในเบื้องต้นถ้าพระภิกษุเป็นผู้ที่สำรวมระวังในสิกขาบทไม่ล่วงละเมิดก็จะสามารถที่จะเป็นเครื่องรองรับคุณธรรมเบื้องสูงขึ้นไปได้อันนี้คือในความหมายของ สี ละโดยนัยต่างๆ
ท่านอาจารย์ แสดงเห็นว่าพระธรรมที่ทรงแสดงไว้มาก อุปการะให้เรามีความเข้าใจจริงๆ ในความไม่ใช่ตัวตน หรือว่าไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะฟังโดยนัยใดๆ ก็ไม่ลืมว่าเป็นธรรม แล้วแต่ว่าจะเป็นจิตเป็นเจตสิกเป็นรูปความประพฤติทางกายหรือทางวาจาทั้งหมดไม่พ้นจากสิ่งที่มีจริง ใช้คำว่าปรมัตถธรรม เพราะเหตุว่าใครก็เปลี่ยนจิตให้เป็นอย่างอื่นไม่ได้ เปลี่ยนเจตสิก เปลี่ยนรูปไปเป็นอย่างอื่นไม่ได้ แต่ที่จะต้องเข้าใจคือทั้งหมดไม่ใช่เรา
อ.ธิดารัตน์ ศีลก็มีหลายความหมาย แล้วก็มีหลายระดับด้วย แม้กระทั่งศีลที่เป็นปกติงดเว้นทุจริตทางกายทางวาจาธรรมดาเหมือนกับเรารักษาศีลกันเป็นข้อๆ ก็คืออย่างหนึ่งก็เป็นกุศลขั้นศีลไม่ได้ประกอบด้วยปัญญาก็ได้ แล้วศีลที่จะประกอบด้วยความเข้าใจถูกจนกระทั่งมีการสะสมจนเป็นศีลบารมีจะเริ่มต้นอย่างไรกราบเรียนท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์ เข้าใจธรรม อันนี้คือหัวใจสำคัญที่สุด จะใช้ชื่อหลากหลายยังไงก็คือว่าขณะนั้นเข้าใจ หรือว่าไม่รู้ไม่เข้าใจเลย อย่างได้ยินคำว่าศีลถ้าไม่รู้ไม่เข้าใจเลย รักษาศีลคืออะไร ขณะนั้นเป็นเราแน่นอนใช่ไหม เพราะฉะนั้น แม้แต่ขณะนั้นก็เป็นเพียงระดับต้นเพราะเหตุว่ายังไม่รู้ความจริงว่าไม่ใช่เรา
ผู้ฟัง ผมชื่อพงษ์ธร ไชยวรรณ รบกวนท่านอาจารย์อธิบายกฎของไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขังอนัตตา
ท่านอาจารย์ อนิจจังคืออะไร
ผู้ฟัง ความไม่เที่ยง ไม่แน่นอน
ท่านอาจารย์ อะไรไม่เที่ยง
ผู้ฟัง ก็ทุกสรรพสิ่งไม่ว่าจะเป็นจิต ความรู้สึก สัญญา เวทนาทุกอย่างไม่เที่ยง
ท่านอาจารย์ ขณะนี้ใช่ไหม
ผู้ฟัง ขณะนี้ด้วยทุกขณะ
ท่านอาจารย ขณะนี้คือทีละหนึ่งขณะสืบต่ออย่างเร็วมากเป็นทุกขณะ ไม่เที่ยง สิ่งที่เพียงเกิดขึ้นปรากฏ สั้นมากเล็กน้อยมาก และหมดไปเป็นสิ่งที่ควรติดข้องพอใจไหมในเมื่อสิ่งนั้นเกิดแล้วดับไปแล้วไม่กลับมาอีกเลย เพราะฉะนั้น จะพอใจสิ่งหนึ่งสิ่งใดเพราะไปจำไว้ยังอยู่ ในความจริง จริงๆ ดับหมดแล้วไม่เหลือเลย
เพราะฉะนั้น ลักษณะที่เกิดดับนั้นแหละ คำว่าทุกข์ที่นี่หมายความว่าไม่ใช่สิ่งที่ควรที่จะยินดีติดข้องเพลิดเพลิน เพราะเพลิดเพลินในสิ่งที่ไม่มีหมดแล้ว เพราะฉะนั้น กว่าจะรู้จริงๆ ว่าความหมายของทุกข์ก็คือว่าสิ่งที่น่าพอใจก็ดับ ติดข้องแล้วมีประโยชน์อะไรในเมื่อไม่กลับมาอีกเลยหลงสะสมความติดข้องในสิ่งที่เพียงปรากฏชั่วคราว แต่จำผิด สัญญาวิปลาส ด้วยทิฏฐิวิปลาสว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยง
เพราะฉะนั้น อนิจจังเป็นลักษณะของสภาพธรรมทั้งหมดซึ่งเกิดไม่มีสักอย่างเดียวซึ่งเกิดแล้วไม่ดับ เพราะฉะนั้น ลักษณะ ๓ อย่างของสภาพธรรมที่เกิดก็คือเมื่อเกิดแล้วดับไม่เที่ยงจึงเป็นทุกข์ แล้วก็เป็นอนัตตาเพราะเหตุว่าไม่ใช่เราแน่ๆ ดับแล้วจะเป็นเราได้อย่างไร ใช่ไหม แล้วก็เป็นใครก็ไม่ได้ ไม่เหลือเลยสักนิดเดียว เพราะฉะนั้น เป็นอนัตตาไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาด้วย
พระธรรมให้รู้ความจริงว่าที่หลงอยู่ในสังสารวัฏเพราะไม่รู้ความจริง เพราะความติดข้องด้วยความไม่รู้
ผู้ฟัง อย่างคำว่าทุกขังความหมายจริงๆ ที่พระพุทธเจ้าอยากจะบอกเราคืออะไร
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีการเกิดดับจะมีการเปลี่ยนแปลงไหม เพราะฉะนั้น ที่เปลี่ยนแปลงเพราะเกิดดับ ด้วยเหตุนี้อะไรเป็นทุกข์
ผู้ฟัง จิตเป็นทุกข์
ท่านอาจารย์ เพราะอะไร
ผู้ฟัง เพราะมีเกิดมีดับ
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีจิตเลย จะมีอะไรเกิดดับไหม ไม่มี แต่เมื่อมีจิตเกิดจิตดับไหม
ผู้ฟัง ดับ
ท่านอาจารย์ จิตเป็นเราหรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่เป็น
ท่านอาจารย์ ไม่เป็นเพราะเหตุว่าเป็นสิ่งที่เกิดเพราะเหตุปัจจัยแล้วดับ แล้วไม่กลับมาอีกจะเหลือเราที่ไหน
สิ่งที่เกิดทั้งหมดไม่ว่าอะไรก็ตามเกิดลอยๆ ได้ไหม หรือว่าต้องมีปัจจัยที่ทำให้เกิดขึ้น
ผู้ฟัง ต้องมีปัจจัย
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น สิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตามที่เกิดเป็นสังขารธรรมทั้งหมดเลย ถ้าไม่มีเหตุที่เหมาะสมควรที่จะทำให้สิ่งนั้นเกิด สิ่งนั้นเกิดไม่ได้เช่น
จิตได้ยินถ้าไม่มีโสตปสาทที่สามารถกระทบเสียง รูปอื่นกระทบเสียงไม่ได้เลย ตาก็กระทบเสียงไม่ได้ เฉพาะรูปนี้รูปเดียวที่เกิดแล้วกระทบกับเสียงซึ่งเกิด แล้วทั้งสองอย่างยังไม่ดับเพราะว่าเสียงก็มีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ
จิตเกิดขึ้นรู้ว่ามีเสียงดับไปเป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิดขึ้นได้ยิน แล้วจิตได้ยินก็ดับไป แล้วเป็นปัจจัยให้จิตอื่นเกิดสืบต่อ
เพราะฉะนั้น การเกิดดับสืบต่อเป็นสุขน่าพอใจควรยึดถือ หรือว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดหรือเปล่าตามความเป็นจริง
ผู้ฟัง ไม่ควรยึดถือ
ท่านอาจารย์ ก็เป็นธรรมซึ่งเกิดดับอนิจจัง ทุกขัง และก็อนัตตาด้วยหมายความว่าไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาแล้วก็ไม่ใช่ใครสักคนไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใด
ถ้าศึกษาโดยละเอียดจะรู้ว่าธรรมแต่ละหนึ่งไม่ปะปนกันเลย เพราะฉะนั้น กว่าจะรู้ตามความเป็นจริงที่จะไถ่ถอนความติดข้องความพอใจซึ่งมีอยู่ในทุกอย่างที่ปรากฏ
ถ้าไม่ปรากฏจะติดข้องไม่ได้ แต่เมื่อปรากฏแล้วจะไม่ติดข้องก็ไม่ได้เพราะความไม่รู้ความจริงว่าสิ่งนั้นดับแล้วไม่เหลือให้ติดข้อง แต่เพราะว่าไม่รู้ความจริงจึงจำไว้ และก็ติดข้อง
เพราะฉะนั้น ก็จะเข้าใจความหมายของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ใช่คำลอยๆ แต่ต้องหมายความถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เกิดสิ่งนั้นดับ การเกิดดับนั่นแหละเป็นสิ่งที่ไม่น่ายินดี
คำว่าทุกขังที่นี่ ไม่ใช่เฉพาะความรู้สึกเจ็บปวด ไม่ใช่เฉพาะความรู้สึกไม่แช่มชื่นไม่พอใจ แต่หมายความถึงสภาพธรรมที่เกิดดับเป็นที่ตั้งของความยินดี หรือว่าไม่ควรยินดี เพราะว่าเรายินดีในสิ่งที่นำสุขมาให้ แต่เมื่อสิ่งนั้นดับแล้ว จะนำสุขมาให้ได้อีกหรือ ใช่ไหม
ก็หลงเข้าใจว่าเป็นสุขแต่ว่าความจริงอนิจจังความไม่เที่ยงนั่นแหละเป็นทุกข์อย่างยิ่ง ใครก็บังคับบัญชาไม่ให้เป็นอย่างนั้นไม่ได้ เป็นสิ่งที่ไม่ควรยินดีอย่างยิ่งใช่ไหมเพราะว่าเป็นความเข้าใจผิดว่ายังมีอยู่ แล้วก็เป็นอนัตตา
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาเป็นลักษณะของสภาพธรรมที่เกิดดับเป็นทุกข์ไม่เที่ยง แต่ถ้าลักษณะของสภาพธรรมที่ไม่เกิดดับ นิจจังเพราะไม่เกิด สุขขังสภาพธรรมที่ไม่เกิดจะทำให้เกิดทุกข์ได้อย่างไรแล้วก็เป็นอนัตตา
เพราะฉะนั้น จึงทรงแสดงว่าสัพเพ ธัมมา อนัตตา ธรรมทั้งหมดไม่ว่าจะเกิดหรือไม่เกิด ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ใช่ของใคร เพราะฉะนั้น เริ่มเข้าใจความหมายของคำว่าธรรม
เพราะธรรมมาจากคำว่าธาตุหรือ ธา ตุ ซึ่งไม่เป็นของใครเลยทั้งสิ้น เป็นแต่สิ่งที่มีจริงในลักษณะต่างๆ กัน เดี๋ยวนี้ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาหรือเปล่า
อะไรเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาเดี๋ยวนี้
ผู้ฟัง ความไม่รู้แล้วดับไปก็รู้มากขึ้น
ท่านอาจารย์ อย่างนั้นยังกว้าง เห็นเดี๋ยวนี้ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาหรือเปล่า ได้ยินเดี๋ยวนี้อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาหรือเปล่า แข็งที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาหรือเปล่า
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ นี่คือความมั่นคงที่จะเข้าใจว่าธรรมคืออะไร คือสิ่งที่มีจริงทุกอย่าง
เห็นต้นไม้ต้องเป็นเพราะมีสิ่งปรากฏให้เห็น สิ่งที่ปรากฏให้เห็นเป็นต้นไม้ได้ไหม หรือเป็นธาตุชนิดหนึ่งซึ่งสามารถกระทบตาแล้วทำให้จิตเกิดขึ้นเห็นแล้วดับไป
สิ่งที่กระทบตาอยู่ที่มหาภูตรูปเกิดพร้อมกับมหาภูตรูปแต่ไม่ใช่แข็งไม่ใช่อ่อนไม่ใช่เย็นร้อนตึงไหว เพราะสิ่งนั้นกระทบตาไม่ได้ แต่ที่ใดที่มีธาตุเย็นร้อนอ่อนแข็งตึงไหว มหาภูตรูป ๔ ที่นั่นต้องมีสิ่งที่สามารถกระทบตาได้ และปรากฎเมื่อเห็นเกิดขึ้น
เพราะฉะนั้น แม้แต่สิ่งที่กระทบตาก็ต้องเกิด เกิดแล้วก็ต้องดับ ยากที่จะรู้ความจริงแต่ว่าผู้ที่ทรงตรัสรู้ทรงแสดงไว้ว่า "สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่มีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้นมีความดับเป็นธรรมดา"
เกิดแล้วไม่ให้ดับได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ แต่รู้การดับไหม รู้การเกิดไหม ไม่ใช่เราแต่ปัญญาที่เข้าใจขึ้นๆ จนกระทั่งละคลายความไม่รู้
เพราะฉะนั้น จะไปปฏิบัติให้เห็นการเกิดดับได้อย่างไร นอกจากไปคิด ไปประจักษ์ด้วยความไม่รู้ คิดว่านั่นแหละรู้แล้วแต่ความจริงไม่ได้เข้าใจอะไรเลยที่เป็นปกติตามความเป็นจริง
เพราะฉะนั้น นั่นไม่ใช่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะพูดถึงสิ่งที่มีเป็นปกติ และให้เข้าใจความจริง เพราะฉะนั้น โดยอริยสัจจะ ทุกขอริยสัจจะทรงแสดงไว้ว่าขันธ์ ๕ หมายความถึงทุกสิ่งนามธรรมรูปธรรมทุกชนิดที่เกิด และดับนั่นแหละเป็นทุกข เป็นอริยสัจจะ
เพราะฉะนั้น ไม่ใช่เพียงฟังแล้วเข้าใจตามเล็กๆ น้อยๆ นี่คือปริยัติขั้นต้นจะนำไปสู่ปฏิ ปัตติทำให้มีการเข้าใจลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ จากคำนี้แหละแต่ฟังบ่อยๆ เข้าใจขึ้นๆ จนกระทั่งค่อยๆ เข้าใจทีละเล็กทีละน้อยเป็นปฏิ ปัตติ แต่ยังไม่ใช่ปฏิเวธ
ปฏิเวธคือเมื่อไหร่ที่สภาพนั้นปรากฏโดยความไม่ใช่เรา ทีละหนึ่งจึงจะรู้ว่านี่เป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่สามารถที่จะรู้จริงๆ อย่างนั้นได้
เพราะฉะนั้น จะไม่มีผู้ใดที่ถึงนิพพาน มีนิพพานเป็นอารมณ์โดยไม่รู้ทุกขอริยสัจจะ อันดับแรกเลยต้องเข้าใจธรรมไม่ใช่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร และธรรมจริงๆ ก็มีจิตธาตุรู้เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้ซึ่งเกิดพร้อมเจตสิก
เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะมีความคิดว่ากำหนดหมายความถึงอะไร ก่อนที่จะได้ศึกษาธรรมเราจะพูดคำที่เราไม่รู้จักแน่ๆ เลย อย่างจะพูดคำว่า โลก จะพูดคำว่า จิต พูดคำว่าอะไรก็ตามแต่ เราไม่ได้รู้จักสิ่งนั้นเลยจริงๆ
เพราะฉะนั้น การฟังธรรมต้องตามลำดับขั้นเพื่อที่จะเข้าใจสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้
ขอถามย้อนไปเมื่อกี้นี้ ขณะนี้เป็นทุกข์หรือเปล่า เดี๋ยวนี้เองเป็นทุกข์หรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่
ท่านอาจารย์ นี่แสดงว่าเข้าใจธรรมหรือเปล่า เห็นไหมเราพูดกัน แล้วเราก็พูดกันซ้ำๆ แต่ว่าความเข้าใจจริงๆ ต้องเป็นไปตามที่ได้ยินได้ฟัง
สิ่งหนึ่ง สิ่งใดที่มีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงล้วนมีความดับเป็นธรรมดา
เกิดแล้วไม่ดับไม่ได้ เพราะฉะนั้น ความหมายที่ใครเปลี่ยนแปลงไม่ได้เลยซึ่งเป็นอริยสัจจะคือการเกิดขึ้น และดับไปเป็นทุกข์ ตอนแรกที่ตอบว่าไม่เป็นเพราะอะไร
ผู้ฟัง เพราะว่าเราไม่เร่าร้อน ไม่กระวน กระวาย ไม่ทุกข์ใจ เป็นอารมณ์สบายๆ
ท่านอาจารย์ ขณะนั้นลืมอะไรหรือเปล่า ลืมว่าเป็นธรรม
ศึกษาธรรมแล้วก็ลืมว่าเป็นธรรม แต่ถ้าศึกษาธรรมรู้ว่าเป็นธรรม ไม่ลืม
ผู้ฟัง อย่างการเกิดดับมันจะต้องทุกข์
ท่านอาจารย์ ไม่มีอะไรที่เกิดแล้วไม่ดับเลย
ผู้ฟัง พอเกิดดับแล้วจะต้องทุกข์ตามด้วยเสมอ
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ ต้องเข้าใจก่อน ทุกข์มีหลายอย่าง แต่ทุกข์จริงๆ ซึ่งใครก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้คือสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เกิดเพราะมีปัจจัยทำให้เกิดขึ้น ไม่เกิดก็ไม่ได้ เกิดแล้วก็ดับไปเลยไม่กลับมาอีกด้วย
เพราะฉะนั้น การเกิดขึ้น และดับไปไม่กลับมาอีกนี่แหละใครเปลี่ยนแปลงได้
ผู้ฟัง ไม่มีใครเปลี่ยนแปลงได้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เป็นทุกขอริยสัจจะเป็นความจริงของผู้รู้ว่าสภาพธรรมใดๆ ก็ตามเป็นธรรมคือนอกจากไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา แต่สิ่งที่เกิดนั้นต้องดับทั้งหมดเลย
ไม่มีอะไรที่เกิดแล้วไม่ดับ อย่างนี้ไม่ลืม แต่พอลืม
ผู้ฟัง คืออนิจจังพอเข้าใจ ทุกขังที่อาจารย์ว่านี่
ท่านอาจารย์ ต้องไม่ลืมว่าทุกขังที่นี่เป็นทุกขอริยสัจจะ ความหมายคือการดับไปไม่กลับมาอีก แล้วจะมีประโยชน์อะไร
เกิดขึ้นเห็นแล้วดับไปแล้วไม่กลับมาอีกเลย เกิดขึ้นได้ยินแล้วดับไปแล้วไม่กลับมาอีกเลย ทั้งสังสารวัฏเป็นอย่างนั้น แล้วมีประโยชน์อะไรในการที่เพียงปรากฏแล้วดับแล้วไม่กลับมาอีก
ปรากฏให้ติดข้อง ใช่ไหม
ไม่ว่าอะไรเกิดขึ้นติดข้องหมดเลย หรือว่าปรากฏให้เข้าใจความจริงว่าสิ่งนั้นแหละไม่ควรติดข้อง
เพราะฉะนั้น คำว่าทุกข์ที่นี่ไม่ได้หมายความถึงความรู้สึกเป็นทุกข์แต่หมายความถึงสภาพที่เป็นทุกข์ของสิ่งนั้น คือสิ่งนั้นไม่สามารถที่จะยั่งยืน ไม่มีใครไปทำให้ยั่งยืนได้ เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ต้องดับไป ยับยั้งไม่ได้ด้วย แล้วไม่กลับมาอีกด้วย ติดข้องในสิ่งที่ไม่เหลือ ฉลาดไหม ไม่มีอะไรเลยก็ยังติดข้อง
เพราะฉะนั้น การฟังธรรมเพื่อพ้นจากความไม่รู้ และความติดข้อง แต่ไม่ใช่เราจะพ้นไปได้ง่ายๆ ต้องไปด้วยปัญญาที่เข้าใจจริงๆ ทุกคำ
ทุกคำนี่ทิ้งไม่ได้เลยธรรมเป็นอนัตตา เพราะฉะนั้น ถ้าถามว่าเดี๋ยวนี้เป็นทุกข์ไหม
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1861
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1862
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1863
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1864
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1865
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1866
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1867
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1868
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1869
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1870
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1871
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1872
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1873
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1874
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1875
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1876
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1877
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1878
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1879
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1880
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1881
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1882
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1883
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1884
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1885
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1886
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1887
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1888
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1889
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1890
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1891
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1892
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1893
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1894
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1895
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1896
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1897
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1898
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1899
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1900
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1901
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1902
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1903
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1904
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1905
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1906
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1907
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1908
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1909
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1910
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1911
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1912
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1913
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1914
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1915
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1916
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1917
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1918
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1919
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1920