ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1908
ตอนที่ ๑๙๐๘
สนทนาธรรม ที่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
วันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
ผู้ฟัง ขอกราบเรียนเชิญท่านอาจารย์สุจินต์ได้กรุณากล่าวเป็นเบื้องต้นก่อน
ท่านอาจารย์ มีสำคัญที่สุดคือขณะนี้ เป็นขณะที่หาได้ยากยิ่ง คือขณะที่มีโอกาสที่จะได้ฟังเพื่อเข้าใจความจริง ของสิ่งที่มีในชีวิต เพราะว่าชีวิตนี้คือแต่ละหนึ่งขณะ เพราะฉะนั้น ขณะใดก็ตามที่มีชีวิตอยู่โดยไม่ได้เข้าใจสิ่งที่มีในชีวิต ขณะนั้นก็ผ่าน โดยที่ว่าเมื่อไหร่ที่จะได้มีโอกาสที่จะได้ฟังแล้วก็เข้าใจความจริงของสิ่งที่มีจริงๆ ในขณะนี้
ทุกอย่างไม่ได้เกิดขึ้นเพราะความต้องการ ทุกคนอยากจะไม่มีกิเลสอยากจะมีปัญญา อยากจะรู้ความจริงของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ แต่ไม่ใช่ว่าจะสำเร็จไปด้วยความอยาก เพราะว่าสิ่งที่มีในแต่ละขณะ ก็มีทุกขณะแต่ก็ไม่เข้าใจ แสดงถึงความยากความลึกซึ้งความละเอียดอย่างยิ่ง
เพราะฉะนั้น โอกาสที่ประเสริฐสุดคือแต่ละหนึ่งขณะที่มีโอกาสที่จะได้ฟังความจริงของสิ่งที่ปรากฏแล้วก็จะรู้จริงๆ สิ่งนี้ไม่ใช่รู้โดยง่าย ผู้ที่จะรู้ได้ไม่ใช่บำเพ็ญความดีในเวลาสั้นๆ แล้วก็จะรู้ได้ แต่ว่าต้องอาศัยการที่จะรู้จักสภาพธรรมตามความเป็นจริง ตรงต่อธรรม และก็รู้ว่าหนทางเดียวที่จะสามารถเข้าใจความจริง ของสิ่งซึ่งมีจริงซึ่งเคยหลงยึดถือว่าเที่ยง เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่มั่นคง แม้ในขณะนี้ก็ต่อเมื่อมีโอกาสได้ยินได้ฟังพระธรรมพระพุทธพจน์ที่ทรงแสดงเมื่อได้ทรงตรัสรู้แล้ว
เพราะฉะนั้น โอกาสที่แต่ละหนึ่งคนจะได้ยินได้ฟัง ไม่ใช่เพียงแต่ว่าเมื่ออยากฟังก็ได้ฟัง แต่การที่จะได้ฟังแม้ในวันนี้ ก็จะเห็นได้ว่าบางคนก็อยากจะมาฟัง แต่ก็มาไม่ได้ด้วยเหตุต่างๆ นาๆ ประการ
เพราะฉะนั้น ผู้ใดก็ตามที่ได้ฟังก็รู้ว่าขณะที่มีประโยชน์ที่สุด ก็คือได้ฟังด้วยความเคารพเพื่อที่จะรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะเหตุว่าเพียงเห็น รูปพุทธปฏิมากร เตือนให้ระลึกถึง แต่รูปนั้นก็ไม่ใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เพราะฉะนั้น จะไม่ได้เข้าใจความจริงเพียงการกราบไหว้ แต่ต้องโดยการที่รู้ว่าพระธรรมที่ทรงแสดง ๔๕ พรรษา ก็คือเป็นสิ่งที่มีในขณะนี้ และสามารถที่จะเข้าใจถูกเห็นถูกได้ต่อเมื่อได้ฟัง เพราะฉะนั้น การได้ฟังแต่ละครั้งก็เป็นสิ่งซึ่งยากเพราะเหตุว่า แม้สิ่งนี้มีจริงมีศรัทธามีจิตผ่องใส ไม่ติดข้องในสิ่งหนึ่งสิ่งใด ไม่โกรธเคืองหรือว่าไม่ขุ่นเคือง ขณะนั้นจิตสามารถที่จะรับฟังพระธรรม ด้วยการที่ว่าเมื่อฟังแล้วก็จะเห็นความยากยิ่งว่า กว่าที่จะได้รู้คำที่ได้ยินได้ฟังโดยยากยิ่ง ทั้งแม้การได้ฟัง และในการที่ฟังแล้วที่จะรู้ความจริงหรือสิ่งที่ได้ฟังก็ยากยิ่ง
แต่ว่าก็มีบุคคลในครั้งก่อน นานแสนนานมาแล้วก็คิดอย่างนี้ แต่ก็ไม่ละความเพียร และเมื่อมีโอกาสเมื่อไหร่ก็สามารถที่จะสะสมความเห็นถูกความเข้าใจถูก ในสิ่งที่มีจริงเพราะรู้ว่าขณะนี้ ธรรมดาอย่างนี้ เห็นอย่
างนี้ คิดอย่างนี้ ได้ยินอย่างนี้ เป็นสิ่งที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญพระบารมีเพื่อรู้ความจริงโดยใช้เวลาที่นานมาก ต้องเป็นการอบรมพระบารมีนานมาก
เพราะฉะนั้น เราเป็นใครก็คือผู้ที่มีโอกาสได้ฟังพระธรรมด้วยความเคารพ คือฟังเพื่อเข้าใจ เข้าใจสิ่งที่กำลังมีในขณะนี้ และรู้ว่ายากที่จะรู้ตามอย่างที่ได้ทรงแสดง รู้อย่างอื่นจะเป็นความจริงได้ไหม ในเมื่อความจริงก็คือว่ายังงี้แหละ
เพราะฉะนั้น ฟังเพื่อมีความเข้าใจอย่างมั่นคงว่าฟังเพื่อชำระจิตจากความไม่รู้ ทำให้เกิดความติดข้องซึ่งนำมาซึ่งการที่จะต้องประสบกับทุกสิ่งทุกอย่างซึ่งไม่เที่ยงเพียงชั่วคราว แม้แต่ชาตินี้จะอยู่นานสักเท่าไรไม่มีใครบอกได้เลย แต่ว่าชีวิตระหว่างที่เป็นอยู่คุ้มค่ากับการที่จะเกิดมา หรือว่าอยู่ไปวันๆ สุขทุกข์ไปวันๆ แล้วก็จากโลกนี้ไปด้วยการที่เก็บความไม่รู้ติดตามไปด้วยมากมายทุกชาติ
เพราะฉะนั้น กว่าจะได้เข้าใจจริงๆ ก็เป็นเรื่องที่ว่ารู้จริงๆ ว่าต้องอาศัยพระธรรมที่ทรงแสดงแต่ละคำไม่ผ่าน แล้วก็ไม่เผิน แม้แต่คำว่าธรรมก็ต้องรู้ว่าเป็นสิ่งที่มีจริงเดี๋ยวนี้กำลังปรากฏแล้วก็เข้าใจแค่ไหน ถ้ารู้ว่าไม่สามารถที่จะรู้การเกิดดับของสภาพธรรมที่มีจริง เพราะเหตุว่าความไม่รู้กั้นไว้มาก และยังมีความติดข้องอาจจะต้องการรู้จนกระทั่งไปทำอย่างอื่นที่ผิดปกติ และก็ไม่ใช่ความเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฎขณะนั้นก็จะเห็นได้ว่าจะทำให้ไม่สามารถเข้าใจความจริงของสิ่งที่ปรากฏ แต่ว่าในขณะนี้ที่ฟัง สิ่งที่ปรากฏถ้าฟังทุกคำยากลึกซึ้ง และละเอียด
เพราะฉะนั้น อาศัยความเข้าใจเท่านั้นที่จะทำให้ละความคิดที่จะเป็นตัวตน ที่จะไปรู้ความจริงเพราะเหตุว่าการที่จะรู้ความจริงได้ต้องเป็นความเข้าใจที่ ค่อยๆ เพิ่มขึ้น เดี๋ยวนี้เห็น เห็นอะไร ไม่ต้องพูดว่าอะไรก็มีสิ่งที่ปรากฏให้เห็น เพราะฉะนั้น สิ่งที่ปรากฏให้เห็น มีแน่นอน แต่ว่าจิตธาตุรู้เกิดขึ้นเพียงเห็นแล้วดับ แต่สิ่งที่กำลังปรากฏ ยังไม่ดับมีจิตอื่นเกิดสืบต่อ และก็ชอบหรือไม่ชอบในสิ่งที่กำลังปรากฏ และสิ่งที่ปรากฏทางตาก็ดับไปคิดถึงจิตหนึ่งขณะว่าสั้นเล็กน้อยแค่ไหน เห็นหนึ่งขณะเท่านั้นเวลานี้ และก็ดับทันที และก็มีจิตอื่นเกิดดับสืบต่อ กว่าจะเห็นอีกหนึ่งขณะ แต่ก็ปรากฏเหมือนกับว่าเห็นตลอดเวลา แล้วก็มีสิ่งที่ปรากฏตลอดเวลา
เพราะฉะนั้น การฟังธรรมเพื่อเข้าใจจริงๆ ว่าความจริงเป็นอย่างนี้แล้วคลายความไม่รู้ ฟังแล้วก็รู้ว่าขณะนี้ทุกสิ่งทุกอย่างก็เพียงแต่ปรากฏเพราะเกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัยแล้วก็ดับไป ฟังเพื่อคลายความไม่รู้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา แล้วก็ไม่นานด้วย
แล้วก็สามารถจะได้ฟังนานอีกเท่าไหร่ ที่จะค่อยๆ เข้าใจขึ้นก็เป็นไปตามการสะสมว่าเมื่อเกิดมาแล้วไม่ใช่มีแต่เพียงเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส คิดนึก แต่ยังมีความไม่รู้ ในสิ่งที่ปรากฏ ทับถมเพิ่มขึ้น หรือว่ามีโอกาสที่จะได้ยินได้ฟังจนกระทั่งความที่เคยไม่รู้ค่อยๆ เป็นความรู้ขึ้นด้วยความอดทน ด้วยความจริงใจด้วยความมั่นคงว่านี่คือพระธรรมที่ลึกซึ้ง
เพราะฉะนั้น คำใดก็ตามที่ไม่ทำให้สามารถเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏคำนั้นไม่ใช่คำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยเหตุนี้การที่ได้ยินได้ฟังพระธรรมก็จะทำให้เป็นผู้ที่สามารถรู้ได้ว่ากำลังฟังคำที่พระผู้มีพระภาคทรงพระมหากรุณาแสดงไว้ ๔๕ พรรษาซึ่งเป็นความจริงที่ไม่เปลี่ยนแปลงเลย เป็นอย่างนี้ และก็ผู้ฟังก็มีโอกาสจะค่อยๆ เข้าใจขึ้น
การฟังธรรมเป็นมงคล มงคลคือสิ่งที่ทำให้เจริญ ทำให้เป็นประโยชน์เพิ่มขึ้น การสนทนาธรรมก็เป็นมงคลเพราะเหตุว่าต่างคนต่างฟัง ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาโมคัลลานะ ท่านพระอนุรุทธะท่านก็ฟังธรรมด้วยกันทั้งนั้นเลย และก็เมื่อฟังแล้วท่านก็สนทนาธรรมกัน เพราะฉะนั้นประโยชน์ที่สุดคือเมื่อฟังแล้ว ก็ยังมีการสนทนาเพื่อที่จะได้เข้าใจสิ่งที่ได้ฟังเพิ่มเติมขึ้นด้วย
เพราะฉะนั้น ก็ขอเชิญร่วมกันสนทนาธรรม
ผู้ฟัง กราบท่านอาจารย์สุจินต์ ในหัวข้อที่บอกว่า ประโยชน์ของการฟังพระธรรมทุกครั้ง คือเข้าใจความจริงในสิ่งที่มีจริง สิ่งที่ปรากฏแล้วก็หมดไป
ท่านอาจารย์ ธรรมเป็นสิ่งที่ค่อยๆ คิด เพราะว่าส่วนใหญ่เราคิดเรื่องอื่น กว่าเรื่องอื่นจะเป็นเรื่องใหญ่โตก็ต้องอาศัยความคิดแต่ละหนึ่งขณะ เพราะฉะนั้น พระธรรมที่ได้ฟังก็เหมือนกันกว่าจะเป็นความเข้าใจเพิ่มขึ้นในแต่ละคำในพระไตรปิฏก เราก็จะต้องเข้าใจจริงๆ โดยการที่ต้องคิดต้องไตร่ตรองธรรมที่ได้ฟังด้วย เพราะว่าส่วนใหญ่บางคนฟังแล้วจบแล้ว ไม่ได้คิดไตร่ตรองในสิ่งที่ได้ยินได้ฟังแต่ละคำเพราะว่าเวลาฟังเรื่องอื่นเราไปคิดไตร่ตรองเรื่องอื่นเป็นเรื่องเป็นราว ใหญ่โตมากมาย
แต่ลืมว่าเมื่อได้ฟังธรรมแล้วก็เช่นเดียวกัน ที่จะทำให้เป็นความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นก็ต่อเมื่อพิจารณาไตร่ตรองเพิ่มขึ้น เช่นทุกสิ่งขณะนี้เกิด แน่นอนปรากฏ และหมดไปอย่างรวดเร็ว ฟังแล้วยังไม่เห็นการที่สิ่งนี้กำลังปรากฏเกิดแล้วดับไปเลย แต่ว่าถ้าเข้าใจถูกต้อง วันนี้มีอะไรบ้าง มีเห็น และก็มีได้ยิน และก็มีคิดนึกแล้วก็มีสุขมีทุกข์
มีแล้วใช่ไหมเมื่อเช้านี้ เดี๋ยวนี้อยู่ไหน กลับไปอีกไม่ได้เลย เพียงชั่วมีแล้วก็หมดไป แล้วก็ไม่กลับไปอีกเลยสักอย่างเดียว แต่ก็ลืม ลืมแม้แต่ที่จะนึกว่าเดี๋ยวนี้เองก็กำลังเป็นอย่างนั้น เพราะเหตุว่าเห็นไม่ใช่ได้ยิน และก็ไม่ใช่คิดด้วย ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ ธรรมเป็นแต่ละหนึ่งจริงๆ ซึ่งรวมกันไม่ได้เมื่อรวมกันแล้วไม่สามารถที่จะเข้าใจอย่างละเอียด จนกระทั่งรู้ว่าไม่ใช่เราไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยง แต่เมื่อรวมกันแล้วรูปร่างสัณฐานการเกิดดับสืบต่อ ก็ทำให้ปรากฏเหมือนกับว่าไม่ได้ดับเลยเพราะทันทีที่สภาพธรรม หนึ่งดับไป ก็เป็นปัจจัยให้สภาพธรรมอื่นเกิดสืบต่อทันทีไม่มีระหว่างขั้นเลย เช่นคำว่า เช่นคำว่าต่อกันแล้วใช่ไหม ไม่มีสภาพธรรมใดซึ่งเกิดแล้วไม่ดับเป็นเรื่องไปเลย
แต่ว่าถ้ามีความเข้าใจจริงๆ ว่าเป็นความจริงทุกขณะ เพราะฉะนั้น กว่าจะได้รู้ว่าการที่จะมีความเข้าใจเพิ่มขึ้น ก็คือว่าทีเรื่องอื่นไม่ลืม ได้ฟังแล้วก็คิดต่อ แล้วทำไมธรรมฟังแล้วไม่ค่อยจะคิดไตร่ตรองถึงธรรมที่ได้ฟัง แต่ถ้ามีการคิดไตร่ตรองถึงธรรมที่ได้ฟัง คือเดี๋ยวนี้เห็น แน่นอน แต่ว่ากำลังเข้าใจเดี๋ยวนี้เห็นจริงๆ หรือเปล่า ไม่คิดเรื่องอื่นเลย เพราะกำลังมีเห็นแต่ก็ลืมที่จะคิดถึงเห็น เพราะฉะนั้น ก็ได้ยินคำว่าเดี๋ยวนี้เห็น ไม่ต้องคิดถึงคำว่าเดี๋ยวนี้ แต่ว่าเห็นมี เพราะฉะนั้น ก็เดี๋ยวนี้เห็นก็เตือนให้รู้ว่าขณะนี้มีสิ่งซึ่งเกิดแล้วดับ ฟังธรรมเพื่อค่อยๆ เข้าใจขึ้น
ผู้ฟัง กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์
ผู้ฟัง ขอกราบท่านอาจารย์ วันนี้เราก็สะสมความดี สะสมบุญเพื่อจะให้เกิดปัญญาในอนาคตอีกด้านหนึ่งคือสะสมบาปหรือสะสมชั่วเรียกว่าอาสวะ อยากเรียนถามท่านอาจารย์ว่าการสะสมชั่วที่เรียกว่าอาสวะนี้มีอะไรบ้าง
ท่านอาจารย์ ได้ยินคำว่าอาสวะเป็นสิ่งที่ไม่ดี เป็นอกุศลธรรม ธรรมฝ่ายไม่ดี แต่ว่าธรรมฝ่ายไม่ดีต่างๆ กันไปหลากหลาย เพราะฉะนั้น ก็ทรงจำแนก ความจริงของธรรมแต่ละหนึ่ง ว่าธรรมหนึ่งนี้เป็นประเภทใดบ้าง เพราะว่าธรรมเมื่อเป็นอกุศลธรรมก็จำแนกออกไปตั้งแต่ระดับที่ละเอียดมาก จนกระทั่งถึงระดับที่สามารถที่จะปรากฏให้รู้ได้
ได้ยินคำว่าอาสวะ ขอเชิญคุณคำปั่นให้คำแปล
อ.คำปั่น ความหมายของอาสวะหมายถึงอกุศลธรรม ที่บางเบาไหลไปทางตา ทางหู ทางจมูกทางลิ้น ทางกาย และทางใจ
และอีกความหมายหนึ่ง ก็คือเป็นกุศลธรรมที่สะสมหมักหมม อยู่ในสันดานของตน ซึ่งก็เป็นสิ่งที่มีจริงๆ เพราะว่าเป็นการกล่าวถึงอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นเป็นไปในชีวิตประจำวัน ซึ่งมีระดับที่บางเบา
กราบท่านอาจารย์เวลาที่จำแนกอาสวะนี้ก็จำแนกเป็นประเภทต่างๆ ซึ่งก็มีทั้งความติดข้องยินดีพอใจในรูป เสียงกลิ่น รส โผฏฐัพพะที่เป็นกามาสวะ และเป็นความติดข้องยินดีพอใจในภพที่เป็นภวาสวะหรือเป็นความเห็นผิดที่เป็นทิฏฐาสวะ
และก็ที่ร้ายไปกว่านั้นก็คือความไม่รู้ความจริงที่เป็นอวิชชาสวะ
เพราะฉะนั้น เวลาที่ อธิบายถึงอาสวะก็คือกิเลสอกุศลธรรมที่บางเบาไหลไปทางทวารต่างๆ และก็แสดงถึงว่าหมักหมม หมักดองอยู่ในสันดานแล้วก็ไหลไปทุกภพภูมิด้วย
แสดงถึงความเป็นจริงของอกุศลธรรมที่มีจริงๆ
ท่านอาจารย์ สภาพธรรมซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ดีเป็นนามธรรม เป็นเจตสิกเกิดกับจิต ดับพร้อมจิตแยกออกจากจิตไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น จิตแต่ละประเภท จะเป็นจิตที่ดีหรือไม่ดีก็แล้วแต่สภาพของธรรมที่เป็นนามธรรมที่เป็นเจตสิกที่เกิดร่วมกัน แล้วแต่ว่าสภาพธรรมนั้นเป็นฝ่ายกุศลหรือเป็นฝ่ายอกุศล
แต่ว่าทุกคำ ควรที่จะเข้าใจ กำลังหลับสนิทมีกิเลสไหม หรือว่าหมดกิเลสไปเลย ตอนหลับนี่ไม่มีกิเลสเป็นไปไม่ได้เลย แล้วกิเลสทั้งวันนี้อยู่ที่ไหนก็สะสมอยู่ในจิต แต่ว่าเมื่อไม่เกิดขึ้นแต่มีก็เหมือนสิ่งที่นอนอยู่ ถ้าเป็นแก้วมีน้ำก็มีสิ่งที่นอนก้นอยู่ ที่ก้นของแก้วถ้าไม่มีอะไรไปทำให้เกิดขึ้นก็อยู่อย่างนั้นแหละ
เพราะฉะนั้น ขณะที่นอนหลับสนิท เมื่อวานนี้ทั้งวันมีอกุศลเท่าไหร่ไม่ได้หายไปเลย ทุกครั้งที่มีอกุศลธรรมหรือกุศลธรรมเกิดขึ้น และดับไป การเกิด และดับไปของสภาพธรรมนั้นก็สะสมสืบต่ออยู่ในจิต แต่ขณะใดที่ไม่เกิด เช่นขณะที่นอนหลับสนิท แม้มีก็เป็นอนุสยะหมายความว่าตามนอนอยู่ ไม่ได้หายไปเลยไม่ได้ออกจากจิตเลยไม่ว่าขณะต่อไปจะเป็นจิตประเภทใด สิ่งที่มีอยู่ในจิตก็ยังคงเป็นเชื้อที่จะทำให้สภาพธรรมที่เป็นอกุศลเกิดได้เมื่อเป็นอนุสยะหรือว่าอนุสัยกิเลส
เพราะฉะนั้น อนุสัยกิเลสยังไม่ใช่อาสวะ
เพราะฉะนั้น ความละเอียดก็คือว่าเมื่อกุศลเกิดดับ สะสมอยู่ในจิตกุศลก็เกิดดับไม่สะสมได้ไหม หรือว่าไม่ใช่จะไปสะสมแต่เฉพาะอกุศล เพราะฉะนั้น ทั้งกุศล และอกุศลเป็นอาสยานุสยะคือสะสมทั้งฝ่ายดี และฝ่ายไม่ดี แต่ถ้ากล่าวถึงฝ่ายไม่ดีซึ่งจะต้องละให้หมดสิ้น ก็กล่าวเฉพาะอนุสยะซึ่งเป็นอกุศล เพราะว่าแม้ว่าเป็นพระอรหันต์แล้ว สิ่งที่ดีไม่ควรที่จะต้องหมดไปแต่ว่าสิ่งที่ดีนั้นเมื่อไม่มีกิเลสก็ไม่สามารถที่จะทำให้เกิดผลอีกต่อไปได้
เพราะฉะนั้น นี่ก็เป็นความละเอียดของธรรมซึ่งต้องอาศัยการฟังเพื่อเห็นจริงว่าไม่ใช่เราทั้งหมดทุกคำเป็นลักษณะของสภาพธรรมแต่ละหนึ่ง ซึ่งละเอียดอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้น สำหรับอนุสัยไม่ใช่อาสวะ
โดยเฉพาะเมื่อกล่าวถึงอกุศลเจตสิก ๑๔ เริ่มจำแนกแจกอกุศลเจตสิก ๑๔ ประเภทออกเป็นประเภทต่างๆ คือประเภทที่เป็นอนุสัยมี ๗ ไม่ใช่ทั้ง ๑๔
ก็ธรรมดาๆ ถ้าศึกษาต่อไปก็จะรู้ว่าอะไรบ้าง แต่ว่าไม่ใช่จำตัวเลขแต่ให้รู้ความจริงว่า ความไม่รู้มี เพราะฉะนั้น ความไม่รู้เป็นอนุสัยไหม เป็น ความติดข้องในรูปในเสียงในกลิ่นในรสมีมากในวันนี้ เมื่อวานนี้ เพราะฉะนั้น วันนี้ขณะใดก็ตามซึ่งเป็นภวังคจิต หรือจะใช้คำว่าหลับสนิทก็ได้ ถ้าจะกล่าวถึงสภาพธรรมซึ่งมีจริงหลับสนิทไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ได้ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส
ที่แล้วมาติดข้องในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะคือสิ่งที่กระทบกายไม่ได้หายไปเลย มีอยู่เป็นอนุสัย พร้อมที่จะเกิด เมื่อมีการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส การรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสทางตา หูจมูก ลิ้น กาย และใจที่คิดนึก
เพราะฉะนั้น เริ่มเข้าใจอกุศลที่ละเอียดยิ่งคืออนุสัย แต่ว่าเวลาที่มีการเห็นเช่นหลับแล้วก็ตื่น เห็นหรือได้ยิน ขณะนั้นใครจะรู้ ถ้าพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงแสดงว่าขณะนั้นไม่ใช่อนุสัยแล้ว แต่ว่าเพราะอนุสัยที่มีนั่นแหละ ทันทีที่เห็น ก็มีความไม่รู้ในสิ่งที่ปรากฏ
เพราะฉะนั้น เมื่อเกิดแล้วเป็นสภาพธรรมที่ไม่ใช่อนุสัยก็เป็นอาสวะ เพราะการหมักดองสะสมพร้อมที่จะไหลไปสู่อารมณ์หนึ่งอารมณ์ใด สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ปรากฏตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นลำดับของความละเอียดของอกุศลว่าจากอนุสัยทันทีที่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดปรากฏเกิดแล้วแต่ไม่มาก ไม่สามารถจะรู้เลย เดี๋ยวนี้ที่เห็นไม่ใช่อนุสัย อวิชชามี ไม่รู้ เป็นอาสวะ
เพราะฉะนั้น สภาพธรรมซึ่ง ทันทีที่สภาพธรรมหนึ่งสภาพธรรมใดปรากฏ อนุสัยก็เป็นปัจจัยให้อกุศลประเภทที่เป็นอาสวะเกิดได้ได้แก่กามาสวะ ๑ ภวาสว ๑ ชื่อใหม่ๆ แต่ว่าเดี๋ยวก็เข้าใจ ทิฏฐาสว ๑ อวิชชาสวะ ๑
พอคุ้นหูบ้างบางคำอย่างกามาสวะ คำว่ากามหมายความถึงสิ่งที่น่าใคร่ อะไรบ้างน่าใคร่ที่ทุกคนพอใจ แสวงหาสิ่งที่ปรากฏให้เห็นทางตา น่าใคร่มากเลยใช่ไหม เป็นสิ่งต่างๆ ซึ่งปรากฏเหมือนกับพร้อมกันที่จะเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดทันที แต่ความละเอียดยิ่งก็คือว่าต้องมีสิ่งที่ปรากฏให้เห็นก่อนแล้วก็ดับไป กว่าจะรู้ว่าสิ่งที่เกิดดับสืบต่อเห็นแล้วเห็นอีกเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ก็หมายความว่าสิ่งนั้นต้องเกิดดับสืบต่อนานพอสมควร
เดี๋ยวนี้เห็นเป็นดอกไม้ แสดงให้เห็นว่าการเห็นต้องเกิด และดับมาก กว่าจะมีรูปร่างสัณฐานของสิ่งที่ปรากฏเป็นกลีบดอกไม้ และก็สีต่างๆ
เพราะฉะนั้น แสดงให้เห็นว่าจิตเกิดดับเร็วสุดที่จะประมาณได้ แต่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญพระบารมีทรงรู้ความจริง และก็แสดงให้เห็นว่าความละเอียดยิ่ง ของธรรมคนอื่นไม่สามารถจะรู้ได้เลยถ้าไม่มีการฟังพระธรรม เพราะฉะนั้น ผู้ที่ฟังพระธรรมเป็นสาวกเป็นอุบาสกอุบาสิกาผู้นั่งใกล้เพื่อที่จะได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มิฉะนั้นอยู่ไกลๆ ไม่มีทางเห็นเลย ถ้าไม่ฟังพระธรรมให้เข้าใจไม่รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้ว่าจะเห็นพระวรกาย พระรูปกายเช่นชาวเมืองสาวัตถี ชาวมคธก็ได้เห็นผู้มีพระภาคเสด็จบิณฑบาต ใครรู้ว่าเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแม้แต่ผู้ที่จับชายจีวรตามหลังที่เสด็จไป ถ้าไม่รู้จักพระปัญญาคุณไม่เข้าใจเลย คนนั้นก็ไม่สามารถที่จะเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เห็นแต่รูปรู้จักชื่อว่าเป็นใคร แต่พระคุณธรรมพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ พระมหากรุณาคุณไม่เห็น
เพราะฉะนั้น สำหรับยุคนี้สมัยนี้ ถ้าไม่มีการฟังพระธรรม ใครเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บอกว่าเห็นพระพุทธรูปพระพุทธรูปไม่ใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่พระพุทธรูปแม้ไม่ใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่เหมือน ไม่ใช่ แต่ก็เตือนให้ระลึกถึงพระคุณของการที่จะเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็คือพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาคุณ
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1861
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1862
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1863
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1864
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1865
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1866
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1867
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1868
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1869
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1870
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1871
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1872
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1873
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1874
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1875
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1876
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1877
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1878
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1879
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1880
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1881
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1882
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1883
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1884
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1885
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1886
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1887
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1888
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1889
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1890
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1891
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1892
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1893
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1894
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1895
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1896
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1897
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1898
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1899
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1900
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1901
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1902
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1903
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1904
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1905
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1906
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1907
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1908
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1909
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1910
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1911
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1912
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1913
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1914
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1915
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1916
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1917
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1918
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1919
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1920