ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1909


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๑๙๐๙

    สนทนาธรรม ที่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

    วันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗


    ท่านอาจารย์ การที่จะเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็คือพระปัญญาคุณพระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาคุณ เพราะฉะนั้น เมื่อกล่าวถึงอาสวะเป็นส่วนเล็กน้อยในพระไตรปิฎกเพราะว่าพระไตรปิฎก ๔๕ พรรษาทรงแสดงไว้มาก เพื่อที่จะให้รู้ความจริงของเดี๋ยวนี้ ว่าในขณะนี้ที่ไม่ใช่หลับ

    แต่ตื่นแล้วเห็นขณะนั้นกิเลสที่นอนอยู่ก็เป็นปัจจัยให้ความติดข้องในสิ่งที่ปรากฏ เกิดได้ทันทีเบาบางมากไม่รู้ตัวเลยแต่ว่าอาสวะไม่ได้มีแต่เฉพาะความติดข้องในรูปในเสียงในกลิ่นในรสในโผฏฐัพพะ

    โผฏฐัพพะเป็นคำใหม่ แต่ว่าหมายความถึงสิ่งที่ปรากฏให้รู้ได้ทางกายได้แก่ ๓ ธาตุคือเย็นหรือร้อนธาตุไฟ ๑ อ่อนหรือแข็งธาตุดิน ๑ ตึงหรือไหวธาตุลม ๑ เมื่อรวมเรียกแล้วแต่ว่าธาตุใดจะปรากฏก็เรียกว่าโผฏฐัพพะ

    เพราะฉะนั้น ความยินดีพอใจทุกครั้งที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสก็เป็นกามาสวะ มีไหม ใครไม่มี มีกันทุกคน คนที่ไม่มีคือพระอนาคามีบุคคล เพราะฉะนั้น ใครจะคิดว่าไม่มีความพอใจในรูป เสียงกลิ่น รส โผฏฐัพพะ มีก็ไม่รู้ ด้วยเหตุนี้อวิชชาสวะมีแน่

    ทันทีที่เห็นไม่รู้แล้วทิฏฐาสวะไม่เคยที่จะรู้ตัวเลยว่า ชีวิตทุกวันตั้งแต่เกิดจนตายเต็มไปด้วยความไม่รู้ และการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยง เห็นอะไร เห็นดอกไม้ ไม่ได้กล่าวเลยว่าเห็นเพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ คำไหนจริง เห็นเพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้เท่านั้น เห็นเสียงไม่ได้ เห็นกลิ่นไม่ได้ เห็นชื่อไม่ได้ เห็นเรื่องราวต่างๆ ไม่ได้

    แต่ว่าขณะนี้เอง เห็นได้เฉพาะสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ เพราะฉะนั้น อวิชชาสวะมีแน่ ทิฏฐาสวะก็มี จนกว่าจะดับด้วยโสตาปัตติมัคคจิต

    ปัญญากว่าจะถึงระดับที่เข้าใจสิ่งที่ปรากฏจากการฟัง แล้วก็มั่นคง สิ่งที่ล่วงไปแล้วไม่สามารถที่จะให้ความจริงได้สิ่งที่ยังไม่เกิดก็ไม่รู้จะเป็นอะไร แต่ว่าสิ่งที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้สามารถให้ความจริงได้เมื่อฟังพระธรรมแล้วก็ค่อยๆ เข้าใจขึ้น

    ด้วยเหตุนี้ทิฏฐาสวะก็เป็นปัญญาระดับตั้งแต่ต้องได้ฟังธรรมมก่อน คิดเองไม่ได้ ฟังแล้วกว่าจะสะสมความเข้าใจถูก ไม่คลาดเคลื่อนไม่เปลี่ยนแปลงเป็นสัจจญาณ ไม่มีการคิดที่จะไปรู้ธรรมที่อื่น แต่ว่าธรรมที่ปรากฏนั้นแหละเกิดแล้วดับ ถ้าไม่รู้ธรรมที่เกิดแล้วดับแล้วจะไปรู้อะไรในขณะนั้น ด้วยเหตุนี้จึงเป็นผู้ที่มั่นคง ฟังเพื่อเข้าใจถูกจนกว่าความเข้าใจถูกจากขั้นสัจจญาณ ฟังพระพุทธพจน์เป็นปริยัตติเป็นปัจจัยให้ถึงปฏิ ปัตติซึ่งเป็นกิจจญาณไม่มีเราเลย

    เพราะฉะนั้น ต้องมีความมั่นคงว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตาไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ของใครหรือว่าไม่มีใครสามารถที่จะทำให้เกิดขึ้นได้เลย แต่เกิดเพราะเหตุปัจจัย ถ้าไม่มีปัจจัยให้เกิดอะไรจะเกิดขึ้นมาได้ลองคิดสิ จะให้อะไรเกิดขึ้นถ้าไม่มีปัจจัยที่จะให้สิ่งนั้นเกิดเกิดไม่ได้ แต่เมื่อไม่รู้ความจริงก็เข้าใจว่ามีเราเป็นเราที่ทำได้

    เพราะฉะนั้น กว่าจะรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจริงๆ โดยการฟังพระธรรมโดยเคารพอย่างยิ่ง คือฟังด้วยความละเอียด ด้วยความรอบคอบ ด้วยความมั่นคง ด้วยความไม่เปลี่ยน คำที่ตรัสแล้วเช่นตรัสว่าอนัตตา อนัตตาโดยตลอด ไม่ว่าอะไรทั้งสิ้น

    สัพเพ ธัมมา อนัตตาหมายความว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ไม่ใช่ใคร ไม่ใช่ของใคร ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใด เพราะฉะนั้น เดี๋ยวนี้ เห็น ทิฏฐาสวะมีไหม อวิชชาสวะมีไหม กามาสวะมีไหม ภวาสวะมีไหม

    เพราะฉะนั้น เมื่อเข้าใจคำว่ากามาสวะแล้ว ความยินดีพอใจในสิ่งที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ทางใจทั้งวันก็คิดแต่เรื่องของสิ่งที่ปรากฏทางตา หูจมูก ลิ้น กายเพราะยึดถือว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยงจนไม่สามารถที่จะรู้ว่าขณะนี้ไม่ใช่เราไม่มีเราแต่ว่ามีธรรมซึ่งเกิดดับ

    เพราะฉะนั้น ผู้ที่จะศึกษาธรรมต้องเป็นผู้ที่ตรง ตรงต่อธรรม ธรรมเป็นอย่างไรไม่เปลี่ยนแปลงเลย แล้วก็สามารถที่จะรู้ว่าถ้าไม่ตรงจะไม่รู้ความจริงเพราะเหตุว่าธรรมเป็นอย่างนี้ เกิดขึ้นเป็นอย่างนี้เปลี่ยนไม่ได้ เช่นสิ่งที่ปรากฏทางตาไม่เป็นอื่นจะไปรู้อย่างอื่นก็คือเปลี่ยนแล้ว ไม่มั่นคงแล้วไม่ใช่สัจจญาณแล้ว

    เพราะฉะนั้น กิจจญาณคือขณะที่กำลังเริ่มเข้าใจลักษณะธรรมจากการที่ได้ฟังเป็นการที่เข้าใจธรรมหนึ่งธรรมใดที่กำลังปรากฏ แม้ว่าจะเร็วมาก สั้นมาก น้อยมาก แต่ก็สะสมไปจนกว่าจะมีความมั่นคงจนสภาพธรรม ปรากฏตามความเป็นจริงเป็นปฏิเวธ

    เพราะฉะนั้น นอกจากปริยัติ ปฏิ ปัตติ ปฏิเวธทรงแสดงธรรมกำกับไว้ด้วย ปริยัติการฟังพระธรรมเดี๋ยวนี้ ฟังเรื่องของสิ่งที่มีจริง มั่นคงระดับไหน มั่นคงระดับที่ใครจะบอกว่าธรรมเป็นอัตตาให้ทำอย่างนั้น ให้ทำอย่างนี้ก็รู้ว่านั่นไม่ใช่คำสอน คำสอนต้องลึกซึ้งกว่านั้น

    สามารถที่จะค่อยๆ สะสมความเห็นถูกจนกระทั่งมั่นคงเป็นสัจจญาณ เป็นความรอบรู้ในปริยัติซึ่งจะเป็นปัจจัยให้เริ่มเข้าใจลักษณะหนึ่งเดี๋ยวนี้ ที่มีจริงๆ เป็นกิจจญาณ จนกว่าจะถึงกตญาณ ได้รู้แล้วในสิ่งที่ได้ฟังแล้วได้เข้าใจแล้ว จนกระทั่งสามารถประจักษ์แจ้งความจริงได้เป็นปฏิเวธ

    เพราะฉะนั้น ให้ทราบว่าขณะนี้ทุกคำเป็นคำจริงเกิดเป็นคำจริง ดับเป็นคำที่จริงด้วย สิ่งหนึ่งสิ่งใดขณะนี้เกิดแล้วดับ

    เพราะฉะนั้น ปัญญาสามารถที่จะอบรมจนกระทั่งถึงการรู้จริงๆ ในสิ่งนั้น เมื่อนั้นอาสวะก็จะค่อยๆ ดับไปตามลำดับขั้นของการรู้แจ้งอริยสัจธรรมคือดับทิฏฐาสวะก่อน การเห็นผิดว่าเที่ยง เพราะเหตุว่ากว่าจะรู้ว่าสิ่งที่ปรากฏทางตาขณะนี้เพียงปรากฏให้เห็น หลับตาเมื่อไรเมื่อนั้นไม่มีสิ่งที่ปรากฏทางตา แต่พอลืมตาก็ไม่รู้ ว่าขณะนี้มีสิ่งที่เพียงปรากฏให้เห็นได้เพราะว่าเกิดดับสืบต่อจนปรากฏเหมือนกับว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยง

    เพราะฉะนั้น กามาสวะ ยังดับไม่ได้ อวิชชาสวะก็ยังดับไม่ได้ แต่ขั้นแรกก็คือดับการเห็นผิดที่ยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ทิฏฐาสวะดับด้วยโสตาปัตติมัคคจิต กามาสวก็ดับด้วยอนาคามิมัคจิต ภวาสวะ และอวิชชาสวะก็ดับด้วยอรหัตมัคคจิต

    เพราะฉะนั้น หนทางมีเป็นไปได้แต่ไม่ใช่เรา แต่ต้องเป็นปัญญาที่ต้องอาศัยบารมีความอดทน รู้ว่าเป็นสิ่งที่รู้ได้แต่รู้วันนี้ไม่ได้ แต่วันนี้ค่อยๆ เข้าใจขึ้นได้ทีละเล็กทีละน้อย และก็มีความตรงเมื่อรู้ก็คือว่ารู้ธรรมนี่แหละ เดี๋ยวนี้เองไม่ใช่เมื่ออื่น แล้วก็มีความมั่นคงด้วยว่าต้องเป็นการที่รู้สิ่งที่ปรากฏวันหนึ่งวันใดก็สามารถที่จะรู้ได้เมื่อฟังวันนี้เข้าใจ ต่อไปก็ไตร่ตรอง และก็คิดถึง และก็ฟังอีกจนกระทั่งสะสมเป็นอุปนิสัยที่เราใช้คำว่าอุปนิสัย นิสยะคือที่อาศัย อุปปะที่มีกำลังที่อาศัยที่มีกำลังคือเมื่อได้ฟังแล้วรู้ว่าเป็นความจริงก็ฟังอีกต่อไป

    เพราะฉะนั้น ก็เป็นผู้ที่มีอุปนิสัยในการฟังความจริง และก็มีความจริงที่กำลังปรากฏให้รู้ว่าสิ่งที่มีจริงขณะนี้ ความจริงเป็นอย่างไร และก็จะได้รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นทีละเล็กทีละน้อยตามกำลังของปัญญา

    เดี๋ยวนี้มีอาสวะไหม เห็นไหม ฟังแล้ว จบแล้วถามต่อได้ ให้ไม่ลืม ให้คิด ให้รู้ว่าจะละได้ด้วยปัญญาที่เข้าใจขึ้น

    ผู้ฟัง ขอกราบเรียนท่านอาจารย์วิทยากรที่เคารพมุทิตามีสัตว์บุคคลเป็นอารมณ์ ส่วนอนุโมทนาจะมีนามธรรมคือการทำความดีของผู้อื่นเป็นอารมณ์ หรือมีสัตว์บุคคลเป็นอารมณ์ด้วย คำถามคือ สภาพธรรมที่เรียกว่ามุทิตากับสภาพธรรมที่เรียกว่าอนุโมทนา ต่างกันหรือไม่อย่างไร

    ท่านอาจารย์ ก่อนอื่นก็คือควรที่จะได้เข้าใจความละเอียด มีคำว่าสัตว์บุคคล แต่ว่าเรากล่าวถึงธรรม เพราะฉะนั้น ธรรมกับสัตว์บุคคลเกี่ยวข้องกันอย่างไร เพราะเหตุว่าธรรมคือสิ่งที่มีจริง ไม่ใช่สัตว์บุคคลใดๆ ที่เข้าใจว่าเป็นสิ่งที่เที่ยงเกิดมาเป็นคนนั้น และก็ยั่งยืนไปจนกว่าจะสิ้นชีวิตไปหรืออะไร นั่นก็คือเข้าใจว่าเที่ยง

    แต่ว่าความจริงเวลานี้ ก็มีทั้งสิ่งที่มีชีวิต และสิ่งที่ไม่มีชีวิต ต่างกัน เพราะฉะนั้น เวลากล่าวถึงสิ่งที่ไม่มีชีวิตเราจะบอกว่าคนนี้ คนนั้นหรือเปล่า ก็ไม่ใช่เพราะเหตุว่าธรรมหลากหลายมาก

    เพราะฉะนั้น ถ้ากล่าวถึงธรรมที่เป็นสภาพรู้คือจิต เจตสิก และสภาพธรรมซึ่งไม่ใช่สภาพรู้สิ่งที่ไม่ใช่สภาพรู้ที่ไม่มีจิต ก็เป็นสิ่งซึ่งไม่ใช้คำว่าสัตว์บุคคล แต่ว่าเมื่อเป็นจิตเจตสิกรูปหลากหลายมากด้วยคุณความดีด้วยว่าด้วยสภาพธรรมอัธยาศัยต่างๆ ที่สะสมมา ก็จำแนกเป็นบุคคลต่างๆ ตามธรรมนั้นๆ เพราะฉะนั้น ถ้าไม่มีธรรมไม่มีสัตว์บุคคล แต่เมื่อมีธรรมประเภทต่างๆ ก็จำแนกธรรมนั้นเป็นบุคคลต่างๆ ตามประเภทของธรรม

    เราบอกว่าคนเลวหมายความว่าธรรมเลวใช่ไหม ถ้าคนดีก็เป็นธรรมดีแต่ถ้าไม่มีธรรมจะกล่าวได้ยังไงว่าคนดีคนเลวด้วยเหตุนี้ โดยความจริงแท้ที่สูงสุดคือปรมัตถ ไม่มีสัตว์ไม่มีบุคคลแต่มีสภาพธรรมซึ่งเป็นจิตเจตสิกซึ่งเป็นธาตุรู้สภาพรู้ แล้วก็มีรูปซึ่งไม่ใช่สภาพรู้ธาตุรู้ เพราะฉะนั้น ความเข้าใจธรรมได้ต้องมีพื้นฐานที่มั่นคงตั้งแต่ต้น

    เมื่อพูดถึงบุคคล แม้ในคัมภีร์อภิธรรมก็มีบุคคลบัญญัติ บัญญัติให้รู้ว่าธรรมอย่างนี้เป็นบุคคลใด เช่น มีคำว่า บุคคลเสรีใช่ไหม แล้วก็มีธรรมเสรี คือทุกอย่างละเอียดมากเลยแต่ว่าถ้ามีความเข้าใจที่ถูกต้องก็จะสอดคล้องกันทั้งหมดในพระไตรปิฎก เพราะฉะนั้น ที่กล่าวว่าเป็นสัตว์บุคคลหมายความถึงจิต เจตสิกรูป ในภูมิที่มีขันธ์ ๕ มีทั้งรูปด้วยมีทั้งนามด้วย และก็มีรูปซึ่งไม่ใช่สัตว์บุคคลเพราะเหตุว่าไม่มีจิตเจตสิก

    ด้วยเหตุนี้เวลากล่าวถึงธรรมใดๆ เช่น เวลาที่เกิดมุทิตาหรืออนุโมทนา ไม่ใช่สิ่งซึ่งไม่มีชีวิตใช่ไหม แต่ว่าจะอนุโมทนาเมื่อไหร่ และมุทิตาเมื่อไหร่

    อนุโมทนาเมื่อบุคคลนั้นทำสิ่งที่ดี ที่เป็นประโยชน์ การฟังธรรมมีประโยชน์มาก ถ้ารู้ว่าใครมีศรัทธาจิตใจผ่องใส่ที่ใคร่ที่จะได้เข้าใจธรรมจึงฟังเพื่อเข้าใจ บุคคลอื่นที่รู้ก็อนุโมทนาในกุศลจิตของบุคคลนั้น

    หรือว่ามีการกล่าวธรรมมีการสนทนากันเพื่อเข้าใจขึ้นก็เป็นที่อนุโมทนาในสิ่งที่กำลังทำสิ่งที่ดี

    แต่สำหรับมุทิตาเวลาที่สัตว์โลก ได้ลาภ ได้ยศ ได้สรรเสริญสุขเขาทำความดีหรือเปล่าหรือว่าเป็นผลของกรรมดี ในการที่บุคคลนั้นจะมีลาภ มียศ มีสรรเสริญ มีสุข เพราะฉะนั้น ก็อนุโมทนาในความดีที่ได้กระทำแล้ว

    เขาไม่ได้ทำความดีมาก่อน ไม่มีทางที่จะมีลาภมียศมีสรรเสริญมีสุขได้แต่เพราะเหตุว่าเป็นผลของกุศลที่ได้กระทำแล้ว เพราะฉะนั้น ใครก็ตามที่กำลังมีสิ่งที่น่าพอใจเป็นผลของกุศลธรรมก็ยินดีด้วยในกุศลที่ได้กระทำแล้วที่ให้ผลในขณะนั้น

    วันนี้อนุโมทนาหรือยัง ไม่ต้องพูดก็ได้ เห็นใครที่ทำความดีแล้วชื่นชม ไม่ว่าเขาเป็นใคร เป็นเด็กเป็นผู้ใหญ่ ไม่มีจีนไทยอะไรเลยทั้งสิ้น แต่ความดีเป็นความดี

    เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่าไม่ว่าใครทำความดี ก็จะมีการกล่าวถึงความดีของบุคคลนั้นในที่ต่างๆ เช่นการช่วยเหลือการสงเคราะห์เราก็ได้ยินได้ฟังบ่อยๆ ตามวิทยุก็มี คนนี้ช่วยคนที่กำลังได้รับอันตราย ได้ยินแค่นี้เราก็อนุโมทนาที่เขาสามารถที่จะสละเวลา ไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยากด้วยความทุกข์ซึ่งอาจจะเกิดเพราะอันตราย แต่ก็ยังสามารถช่วยเหลือคนอื่นได้ ขณะนั้นก็อนุโมทนาในความดี แต่ถ้าเป็นสิ่งที่เขาได้จากผลของความดีเราก็ ยินดีด้วยในกุศลที่ทำให้เขาได้รับสิ่งนั้นก็เป็นมุทิตา

    ทุกคน ทุกวันพูดทำตามจิต ถ้าไม่มีจิตจะทำอะไรได้ไหม ร่างกายนี้จะเคลื่อนไหวไปได้ไหม แต่กิริยาอาการทั้งหมดแม้ว่าจะก็เกิดจากจิต เพราะฉะนั้น ขณะใดก็ตามที่จิตเป็นกุศล กายก็เคลื่อนไหวเป็นไปในทางที่เป็นกุศลวาจาก็เป็นไปในทางที่ อนุเคราะห์คนอื่น พูดจาน่าฟัง และก็เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์

    เพราะฉะนั้น ไม่ต้องห่วงเลย ธรรมเป็นธรรม ถ้าใครทำดีขณะนั้นเป็นเหตุที่จะให้ผลที่ดีเกิด ไม่ใช่ให้ผลที่ดีเกิด แต่ต้องศึกษาให้เข้าใจว่าผลคืออะไร แล้วก็เกิดเมื่อไหร่ มิเช่นนั้นก็คิดเองเออเองหมด เข้าใจเอาเองว่าคนนี้ทำผิดถูกจับเป็นผลของอกุศลที่เขาได้ทำผิด นั่นยังน้อยไป คือเดาๆ แต่ว่าถ้าเป็นความจริงก็คือว่าเดี๋ยวนี้ อะไรเป็นเหตุอะไรเป็นผล

    ผลของกรรมได้เราพูดบ่อยๆ ทั้งกรรม และผลของกรรม แต่ก็ไม่ชัดเจนว่าเมื่อไหร่ขณะไหนที่เป็นกรรม และเมื่อไหร่ขณะไหนที่เป็นผลของกรรม

    เพราะฉะนั้น การศึกษาพระธรรม จะไม่ทำให้เราต้องเสียเวลาคิดเองเดาเองผิดๆ ถูกๆ แต่มีความชัดเจน และมีความละเอียด ผลของกรรมเมื่อไหร่ เดี๋ยวนี้มีไหม ตั้งแต่เกิดขณะแรก เป็นผลของกรรม จิตประเภทนั้นไม่ได้เห็นไม่ได้ยินแต่ทำกิจเกิด ทำให้เป็นบุคคลนั้นจนกว่าจะสิ้นชีวิต เปลี่ยนไม่ได้เลย ก็เป็นเรื่องที่ละเอียด แต่ให้ทราบว่ามีแน่นอน ผลของกรรมเดี๋ยวนี้ก็มี

    ผู้ฟัง กราบเรียนท่านอาจารย์ว่า

    ๑.ตามความเข้าใจของกระผมว่าอารมณ์ของปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิตมีอารมณ์อย่างเดียวกัน

    ๒.อารมณ์ที่ปรากฏในชวนวิถีจิตในมรณาสันวิถีจะเป็นอารมณ์ของปฏิสนธิจิต ภวังคจิต และจุติจิตของภพชาติต่อๆ ไปถูกต้องหรือไม่

    ท่านอาจารย์ จริงๆ ต้องขอประทานโทษ ที่จะกล่าวว่าถ้าเข้าใจแล้วไม่ต้องถาม ว่าถูกหรือผิด ตราบใดที่ถามว่าถูกหรือผิดแสดงว่าไม่เข้าใจ

    เพราะฉะนั้น จริงๆ แล้วถ้าเข้าใจแล้วเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ถึงคนที่ตอบเราจะตอบว่าผิด แต่ความจริงถูกเราก็รู้ว่าไม่ใช่อย่างนั้นเขาเข้าใจผิดเขาจึงตอบว่าผิด เพราะฉะนั้น พึ่งพาอาศัยใครไม่ได้ เราจะรู้ได้ยังไงว่าเขาตอบถูกหรือตอบผิด แต่ถ้าเราศึกษาเอง และก็มีความเข้าใจ เราก็สามารถที่จะรู้ได้ว่า ความจริงหรือความถูกต้อง ต้องเป็นอย่างนั้น ส่วนคนอื่นจะตอบยังไงจะคิดยังไง จะผิด จะถูกเราสามารถที่จะรู้ได้

    เพราะฉะนั้น ขอทบทวนคำถามอีกครั้งหนึ่งสั้นๆ ทีละข้อความก็ได้

    ผู้ฟัง ตามความเข้าใจของกระผมว่าอารมณ์ของปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิตมีอารมณ์อย่างเดียวกัน

    ท่านอาจารย์ เท่านี้ก่อนได้ไหม

    ตามความเข้าใจของกระผม หรือว่าของทุกคน เพราะใครสามารถจะรู้อารมณ์ของปฏิสนธิจิต ภวังคจิต และจุติจิตได้

    แต่ฟังมา ว่าอารมณ์ จิตเกิดขึ้นอารมณ์คือสิ่งที่ถูกจิต เสียงในป่าเกิดแล้วดับแล้ว ถ้าจิตไม่ได้ยินเสียงนั้นไม่ใช่อารมณ์ของจิตเพราะว่าอารมณ์มาจากคำว่าอารัมมณะ หมายความถึงสิ่งที่ถูกจิตรู้จิตเกิดขึ้นต้องรู้ เพราะฉะนั้น จิตจะเกิดขึ้นโดยไม่รู้ไม่ได้

    เพราะฉะนั้น เมื่อจิตเป็นธาตุรู้ต้องมีอารมณ์คือสิ่งที่ถูกจิตรู้ ขณะเกิดหนึ่งขณะเท่านั้น เหมือนขณะตายก็หนึ่งขณะเท่านั้น เพราะฉะนั้น ขณะที่เกิดใครรู้บ้างว่าจิตที่เกิดมีอารมณ์อะไร หรือกำลังรู้อารมณ์อะไร ขณะเห็นรู้ได้มีสิ่งที่กำลังปรากฏทางตาให้เห็น ขณะได้ยินก็รู้ได้ ได้ยินต้องเสียง จิตกำลังรู้เสียงขณะนั้นไม่ได้รู้เลยว่าจิตเกิดขึ้นได้ยินเสียงแต่คิดว่าได้ยิน รู้เพียงเท่านั้นว่าได้ยิน แต่ไม่รู้ว่าได้ยินนั่นแหละเป็นจิตเป็นธาตุรู้ซึ่งเกิดขึ้นได้ยินเสียง ไม่ใช่เราเลย

    เพราะฉะนั้น ก็พอจะรู้อารมณ์ทางตาเห็นสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ ทางหูก็ได้ยินเสียงที่ปรากฏให้ได้ยินได้ แน่นอน ทางจมูกขณะนี้ถ้ามีกลิ่นปรากฏจิตนั่นแหละเป็นธาตุที่กำลังได้กลิ่น ถ้าจิตไม่เกิดขึ้นรู้กลิ่น กลิ่นนั้นปรากฏไม่ได้เวลาที่รับประทานอาหารก็เช่นเดียวกันรสต่างๆ ปรากฏเมื่อจิตเกิดขึ้นลิ้มคือรู้รสนั้น

    ทั้งวัน มีแต่สิ่งที่ปรากฏ ลืมว่าทั้งวันจิตเกิดรู้สิ่งที่ปรากฏแล้วก็ดับอย่างรวดเร็ว ก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วสุดที่จะประมาณได้จิตเกิดดับหนึ่งขณะสั้นแค่ไหน เพราะฉะนั้น ที่วันหนึ่งๆ เราสามารถจะรู้ได้ก็คือรู้เมื่อเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส วันนี้ร้อนไหม ไม่ต้องไปคิดถึงสิ่งที่กระทบสัมผัสแต่ร้อนนั่นแหละใช่ไหมบอกว่าร้อนไหม แล้วรู้ว่าร้อน ร้อนปรากฎเมื่อจิตเกิดขึ้นรู้ร้อน ร้อนจึงปรากฏได้ ถ้าจิตไม่เกิดขึ้นรู้ร้อน จะมีใครบอกว่าร้อนไหม ก็ไม่ได้

    เพราะฉะนั้น ในชีวิตวันหนึ่งวันๆ ก็มีการเห็นได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส และคิดนึก เพราะฉะนั้น เวลาที่ไม่เห็นมีไหม ไม่เห็น ไม่ได้ยินไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ไม่คิดนึก เวลาที่หลับสนิทยังมีจิตไหม ยังไม่ใช่คนตาย

    เพราะฉะนั้น จิตเกิดดับสืบต่อดำรงภพชาติเมื่อเป็นจิตเกิดขึ้นต้องรู้ เพราะฉะนั้น ที่ถามว่ากระผมเข้าใจอย่างนี้ ก็ทุกคนก็ต้องเข้าใจตามที่ได้ฟัง

    เพราะเหตุว่าจะให้ปฏิสนธิมีอารมณ์อะไรถ้าไม่ใช้อารมณ์ของจิตใกล้จุติของชาติก่อน และจะให้ภวังคจิตมีอารมณ์อะไรในเมื่อสืบเนื่องดำรงภพชาติเช่นเดียวกับ เป็นจิตประเภทเดียวกับปฏิสนธิ ก็ต้องมีอารมณ์เดียวกันจนถึงจุติจิตขณะสุดท้าย ก็คือพ้นสภาพความเป็นบุคคลนั้น จะเป็นบุคคลนั้นกล่าวไปอีกสักหนึ่งขณะก็ไม่ได้

    เพราะฉะนั้น จิตประเภทนั้นก็สิ้นสุดความเป็นบุคคลนั้น สิ้นสุดการที่จะมีอารมณ์ของภวังค์ของชาตินั้นต่อไป

    ผู้ฟัง อารมณ์ที่ปรากฏในชวนวิถีจิต ในมรณาสันวิถีจะเป็นอารมณ์ของปฏิสนธิจิต ภวังคจิต และจุติจิตของภพชาติต่อๆ ไปถูกต้องหรือไม่

    ท่านอาจารย์ ตอนนี้ตอบเองได้แล้วใช่ไหมเมื่อเข้าใจ

    ผู้ฟัง ๒.ได้ฟังจากวิทยากรจากวิทยุว่าสติปัฐาน ๔ เกิดที่มรณาสันวิถีได้ ขออาจารย์ได้โปรดอธิบายด้วย

    ท่านอาจารย์ ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตาหรือเป็นอัตตา

    ผู้ฟัง เป็นอนัตตา

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ถ้าสะสมการที่สติปัฎฐานจะเกิดใครยับยั้งไม่ให้เกิดได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 201
    7 มิ.ย. 2567

    ซีดีแนะนำ