ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1910
ตอนที่ ๑๙๑๐
สนทนาธรรม ที่ บ้านเรือนไหม จ.ราชบุรี
วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
อ.คำปั่น กราบท่านอาจารย์เวลาที่มีการสนทนาธรรมท่านอาจารย์ก็จะปรารภว่าพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงนั้นยากหรือง่าย แล้วก็มีคำหนึ่งที่ต่อเนื่องกันก็คือ
เป็นบุญแล้วที่มีโอกาสได้ยินได้ฟัง กราบเรียนท่านอาจารย์ในช่วงแรกเป็นเบื้องต้น
ท่านอาจารย์ ก็คงได้ยินบ่อยๆ พระธรรมลึกซึ้ง เพราะฉะนั้น ใครจะเปลี่ยนคำนี้หมายความว่าไม่เข้าใจพระธรรม และก็ไม่รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย ทั้งๆ ที่พูดว่ามีพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธแล้วก็มีพระธรรม พระอริยสงฆ์เป็นที่พึ่ง
เพราะฉะนั้น ทุกคำต้องเป็นคำที่จริงใจ เมื่อเป็นที่พึ่งหมายความว่าไม่พึ่งคนอื่น เพราะว่าพึ่งคนอื่นได้ชั่วคราวนิดๆ หน่อยๆ ยามมีทุกข์ แต่ว่าที่จะช่วยได้แท้จริงตลอดไปในสังสารวัฎต้องเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เพราะฉะนั้น ถ้ายังไม่ได้ศึกษาธรรมแม้จะเอ่ยคำว่า มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งแต่ถ้าไม่เข้าใจธรรมก็ไม่ชื่อว่ามีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง เพียงแต่เป็นคำที่ยังไม่รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และไม่รู้จักพระธรรม และไม่รู้จักพระอริยสงฆ์ด้วย
เพราะฉะนั้น การฟังธรรมฟังด้วยความเคารพในความจริงที่ยากที่สุด ถ้าไม่มีการได้ยินได้ฟังมาเลย ไม่มีใครสามารถที่จะรู้สิ่งที่มีในชีวิตประจำวันแม้พูดถึงก็พูดถึงด้วยความไม่รู้ พูดกันทุกวันแต่ว่ารู้จักคำที่พูดหรือเปล่า แม้แต่สักคำเดียวลองคำไหนก็ได้ ซึ่งก็ไม่ค่อยจะมีใครยอมยกตัวอย่างเป็นคำไหนทั้งๆ ที่ทราบแล้วว่าพูดทุกวัน แต่ว่าไม่รู้จักคำที่พูดเลย
อย่างพูดว่าเห็นอย่างนี้ พูดไหม วันนี้เห็นอะไรบ้าง ตั้งแต่เช้ามา วันนี้เห็นสิ่งนั้น สิ่งนี้ ไม่เห็นสิ่งนั้น สิ่งนี้ แล้วเห็นคืออะไร แล้วสิ่งที่เห็นคืออะไร เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นผู้ที่ละเอียดจริงๆ ก็จะเข้าใจความหมายของคำที่ว่า พูดคำที่ไม่รู้จัก และไม่เข้าใจจนกว่าจะได้ฟังพระธรรม ก็คือความยากอย่างยิ่ง และผู้ที่ได้ทรงตรัสรู้ และทรงพระมหากรุณาแสดงพระธรรมให้ผู้ที่เห็นประโยชน์ ต้องเป็นผู้ที่เห็นประโยชน์เท่านั้นที่จะฟังพระธรรม
ถ้าเกิดมาก็คิดว่า เกิดมาก็อยู่ไป มีความสุขไปแต่ละวัน แล้วยังไง ก็ต้องจากโลกนี้ไปทั้งๆ ที่ไม่อยากจาก แต่ต้องจาก และการอยู่ในโลกก็ไม่ได้อยู่ได้สมใจหวัง หวังอย่างนั้นหวังอย่างนี้แต่ก็ไม่เป็นอย่างที่หวัง ทุกข์ต่างๆ ย่อมมี เพราะเหตุว่าเกิดมาแล้วที่จะไม่มีทุกข์เลยเป็นไปไม่ได้ แต่มองไม่เห็น วันนี้มีทุกข์แล้วหรือยัง มองเห็นได้ยัง ถ้าไม่ได้ฟังพระธรรม ไม่เห็นมีเลยวันนี้สบายดีตั้งแต่เช้ามา ใช่ไหม
เพราะฉะนั้น ธรรมก็เป็นเรื่องที่ละเอียด เพราะฉะนั้น เมื่อมีความเคารพสักการะ นอบน้อมในพระรัตนตรัยการฟังพระธรรมต้องเป็นการฟังด้วยความเคารพที่จะเข้าใจสิ่งที่เข้าใจยาก แต่ว่ามีค่าที่สุดในชีวิต ซึ่งไม่มีสิ่งอื่นใดจะเปรียบได้กับการที่สามารถที่จะ รู้คุณของพระรัตนตรัย
อ.คำปั่น กราบท่านอาจารย์ที่ท่านอาจารย์กล่าวเมื่อสักครู่นี้ว่า พระธรรมมีค่าที่สุดสำหรับชีวิต จะมีค่าในลักษณะอย่างไร
ท่านอาจารย์ รู้ไหมว่าเกิดแล้วต้องตาย ไม่มีใครไม่รู้ ใช่ไหม แต่รู้ไหมว่าเดี๋ยวนี้กำลังตายทุกขณะ แล้วจะอยู่ยังไง อยู่กับความตายทุกขณะโดยที่ไม่รู้เลย เพราะฉะนั้น การที่เกิดมาแล้วไม่รู้ แล้วก็ ไม่รู้เลยว่า ตลอดชีวิตตั้งแต่เกิดจนตายมีสิ่งที่ปรากฏแล้วไม่รู้สิ่งนั้นแหละที่กำลังปรากฏ เมื่อไม่รู้ย่อมติดข้อง พอติดข้องแล้วก็นำมาซึ่งความทุกข์เมื่อพลัดพรากซึ่งต้องเป็นอย่างนี้
ฟังเรื่องอื่นก็ยังฟังได้มากมาย แต่ฟังสิ่งซึ่งไม่ได้ทำให้เดือดร้อนใจเลยเพราะเหตุว่าฟังแล้วก็ได้ยินเสียงซึ่งไม่เคยฟังทั้งๆ ที่กำลังมีให้เข้าใจได้ เพราะฉะนั้น ก็เป็นสิ่งซึ่งน่าฟังอย่างยิ่ง ควรฟังอย่างยิ่งมากกว่าเรื่องอื่น ซึ่งฟังแล้วก็ไม่สามารถที่จะเข้าใจสิ่งที่กำลังมีจริงๆ ในขณะนี้
เพราะฉะนั้น คนที่ชอบฟังธรรมก็เพราะเห็นว่าธรรมเป็นสิ่งที่มีจริงๆ กำลังพูดให้เข้าใจความจริงของสิ่งที่มีจริง ไม่ได้พูดเรื่องเหลวไหล ไม่ได้พูดเรื่องที่ไม่มี แต่พูดเรื่องสิ่งที่มีจริงซึ่งยังไม่เคยรู้ และสามารถที่จะค่อยๆ รู้ค่อยๆ เข้าใจได้ ก็เป็นประโยชน์กว่าการฟังอย่างอื่น
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ก็กล่าวถึงว่าทุกคนเกิดมารู้ว่าตาย แต่ว่าขณะนี้ตายก็ยังไม่รู้จะขอความท่านอาจารย์ พูดลงรายละเอียดให้พวกเราเข้าใจว่าอย่างไร เช่นเห็น เหมือนกับตายทุกขณะก็ไม่ทราบ
ท่านอาจารย์ การฟังพระธรรมได้ยินคำว่าอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาไม่ใช่คำที่เราจะไปคิดเอง เวลาที่ถ้วยแก้วแต่ก็บอกว่าอนิจจัง หกล้มก็อนิจจัง เวลาไม่สบายก็บอกว่าทุกขัง แล้วก็อนัตตา ก็แล้วแต่ ขณะนั้นจะคิดว่าอะไรแต่ก็พูด แต่ว่าตามความเป็นจริงก็คือว่าแม้แต่แต่ละคำก็ผ่านไม่ได้เพราะเหตุว่าเป็นคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เพราะฉะนั้น คำว่าอนิจจังหมายความว่าสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตาม ขณะนี้ต้องเกิดจึงปรากฏ เมื่อเกิดปรากฏแล้วดับไป อันนี้ไม่มีใครสามารถจะรู้ได้เลย แต่เป็นคำจริงสำหรับทุกอย่างที่เกิดไม่ว่าอะไรทั้งสิ้น ปรากฏเพราะเกิดถ้าไม่เกิดจะเป็นอย่างงั้นตามที่ปรากฏไม่ได้ แล้วทันทีเหมือนกับทันทีนั้นเลย เพราะสั้นมากน้อยมาก เกิดแล้วปรากฏแล้วก็ดับไป
เพราะฉะนั้น ชาวพุทธก็ควรที่จะเข้าใจถึงความละเอียดความลึกซึ้งของคำว่าอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สิ่งที่เกิดปรากฏแล้วดับไปเหมือนความตายที่ตายแล้วไม่กลับมาอีก
เพราะฉะนั้น ขณะนี้สิ่งใดก็ตามที่เกิด เราก็เกิดใช่ไหม แต่เป็นเรายาวมากตั้งแต่เกิดยังไม่เห็นตายแต่ว่าสภาพธรรมแต่ละขณะไม่ว่าอะไรก็ตามเช่นเห็นไหม เช่น ไม่มีแล้วมีเสียงเช่น แล้วหายไปไหนแล้วไม่กลับมาอีกเลย คำใหม่ไม่ใช่สิ่งที่กลับมาจากคำเก่า
เพราะฉะนั้น แต่ละหนึ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้ ผู้ที่ทรงตรัสรู้แล้วสามารถที่จะละการยินดี ติดข้อง ยึดถือว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยง เพราะได้ประจักษ์ การเกิดขึ้น และดับไปของทุกอย่างที่กำลังปรากฏ ยากที่จะรู้จริงแต่เริ่มเข้าใจว่าเห็นไม่ใช่ได้ยิน และก็พร้อมกันไม่ได้ด้วยเพราะเหตุว่าถ้าไม่มีหูที่เราใช้คำว่าหูในภาษาไทยแต่หมายความถึงรูปที่สามารถกระทบเสียง ถ้าไม่มีรูปนี้ไม่มีทางที่ธาตุรู้จะเกิดขึ้นได้ยินเสียง ทันทีที่ได้ยินก็ดับไป
เพราะฉะนั้น นี่เป็นสิ่งที่เราจะเห็นพระปัญญาคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าพูดถึงสิ่งที่มีนี่แหละตามความเป็นจริง แต่ว่ายากที่จะรู้ได้ถ้าไม่ฟังด้วยความเคารพ ว่าจริงหรือเปล่า เป็นความรู้ของเราเองที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้น แม้ว่ารู้ว่าขณะนี้ได้ยินแต่ละขณะก็ดับไป แล้วก็มีเห็นขั้นมีคิดนึกขั้นหลายๆ อย่างก็ไม่ได้รู้ความจริงในขณะที่สิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดขึ้น และดับไป แต่เมื่อเป็นความจริงสามารถรู้ได้ตามที่ทรงแสดง
เพราะฉะนั้น พระธรรมที่ทรงแสดงทุกคำไม่ใช่เกิดจากการไตร่ตรองแล้วก็คิดหาเหตุผล แต่เป็นการที่ประจักษ์ความจริงของสิ่งที่กำลังเป็นจริงในขณะนี้ และรู้ว่าต่อเมื่อใดประจักษ์ความจริงนี้ก็จะมีความเห็นถูกต้องว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นไม่เที่ยง ดับไป จึงไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่อัตตาแต่เป็นอนัตตา มีเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยแล้วก็ดับไป แล้วก็ไม่กลับมาอีก
บังคับบัญชาไม่ได้ ให้อยู่ต่อไปนานๆ ไม่ได้ ใครให้เสียงปรากฏนานๆ ไม่มีทางเห็นไหม เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป แม้แต่ได้ยินก็ต้องเพราะเสียงกระทบกับหูโสตปสาทรูป ถ้าไม่กระทบจะไม่มีการได้ยินเสียงนั้นเลย นี่ก็คือไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาตั้งแต่เกิดเลือกเกิดไม่ได้เกิดแล้วเลือกที่จะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้แต่ละวันไม่ได้ แม้แต่จะเลือกเห็นหรือจะเลือกได้ยินคำนั้นคำนี้ก็ไม่ได้
ทุกอย่างต้องเป็นไปตาม เหตุที่มี คือปัจจัยที่จะทำให้สิ่งนั้นเกิด เพราะฉะนั้น แต่ละคำนี่จริงด้วยเหตุนี้คำว่าตายหรือมรณะก็มี ๓ อย่างขณิกมรณะ ขณะทุกขณะเกิดระดับเป็นขณิกมรณะ เสียงเมื่อกี้นี้กลับมาได้ไหม หายไปเลยไม่กลับมาอีกเลย ตายหรือเปล่า เกิดแล้วดับ แล้วไม่กลับมาอีกนั่นคือความหมายของตาย ได้ยินก็เช่นเดียวกันถ้าเสียงนั้นดับได้ยินจะไม่ดับไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น เสียงก็ดับได้ยินก็ดับ
เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นว่า ขณะนั้นแน่นอนถ้าไม่มีการฟังไม่รู้จักขณิกมรณะ รู้จักแต่สัมมติมรณะคือสิ้นชีวิตแล้วเป็นบุคคลนี้ต่อไปอีกไม่ได้แล้ว เคยเดินเคยพูดเคยไปที่นั่นเคยไปที่นี่ เคยทำอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ทันทีที่ตายคือจิตขณะสุดท้ายเกิดแล้วดับ เท่านั้นเอง รูปทำอะไรไม่ได้เลย
เพราะฉะนั้น ก็รู้จักเพียงสัมมติมรณะคือความตายแต่ว่าความจริงตายอยู่ทุกขณะอันนี้ลึกซึ้งกว่า
แต่ว่าจริงๆ แล้ว สิ่งใดก็ตาม เช่นจิตขณะนี้ที่เกิดขึ้นเห็น และดับไป แล้วทำไมยังมีขณะต่อไปอีกไม่สิ้นสุดไม่ใช่มีแต่เกิดมาเห็นแล้วดับ และไม่เหลืออะไรอีกเลย
แต่แม้กำลังเห็น ได้ยินก็เกิดต่อ คิดนึกก็เกิดต่อได้แสดงให้เห็นว่ามีธาตุหรือสภาพธรรมซึ่งเป็นธาตุรู้เช่นเห็นบ้างได้ยินบ้างเกิดขึ้นจริง ดับไปจริงแต่ว่าทันทีที่ดับไป ก็เป็นปัจจัยให้ขณะต่อไปเกิดสืบต่อ
เพราะฉะนั้น เป็นสัมมติมรณะเพราะเหตุว่าทันทีที่จิตขณะสุดท้ายดับเป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิดไม่มีระหว่างคั่นเลย เพราะฉะนั้น ตายแล้วเกิดทันที แล้วแต่ว่ากรรมใดจะทำให้เกิดที่ไหนเป็นบุคคลใด ก็คงจะหมดความสงสัยในเรื่องของขณิกมรณะ ว่าเดี๋ยวนี้ก็กำลังตาย แต่ก็มีสภาพธรรมสืบต่อยังไม่ถึงสัมมติมรณะ ซึ่งขณะนั้นก็ ทำอะไรต่อไปอีกไม่ได้เลยพ้นสภาพความเป็นบุคคลนี้โดยสิ้นเชิง แต่ก็เป็นคนใหม่
เพราะฉะนั้น จนกว่าตายสนิทไม่มีปัจจัยที่จะทำให้มีการเกิดสืบต่อเลย นั่นคือสมุทเฉทมรณะคือความสิ้นชีวิตของพระอรหันต์ การตายของพระอรหันต์ซึ่งใช้คำว่าปรินิพพาน ดับโดยรอบไม่มีการที่จะเกิดขึ้นเห็นได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรสอีกต่อไป
เพราะฉะนั้น ก็มีขณิกมรณะ สัมมติมรณะ สมุทเฉทมรณะ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในขณะที่ปรินิพพานจะไม่มีสภาพธรรมใดเกิดสืบต่อที่จะไปทูลเชิญให้มาประทับที่นั่นที่นี่แสดงธรรมเป็นไปไม่ได้เลย
ถ้าเป็นอย่างนั้นก็คือว่าไม่ได้เข้าใจธรรม และไม่เข้าใจความตาย ๓ อย่างด้วย
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์บอกว่าทุกคนก็รู้ว่าเกิดมาแล้วก็ต้องตายไม่มีใครที่ไม่ตาย พอดีก็ให้คิดถึงพระสูตรที่ผ่านมาว่า เหมือนกับทุกคนรู้ว่าจะต้องตาย แต่ก่อนตาย ควรทำอะไร หลายคนอาจจะยังไม่ได้ลึกซึ้งกับว่ามีชีวิตอยู่ เราควรจะทำอะไร
ท่านอาจารย์ ใครจะรู้ว่าจะตายเมื่อไร เพราะฉะนั้น ก่อนตายควรทำอะไร ไปควรตอนก่อนตายได้ไหม ไม่มีทางเลย แต่ด้วยความไม่ประมาทเพราะทุกคนรู้ ว่าความตายเกิดได้ทุกขณะโดยไม่รู้ล่วงหน้าเลย ว่าจะเป็นขณะไหน เพราะฉะนั้น เดี๋ยวนี้คือก่อนตาย ถูกต้องไหม ควรทำอะไรก็คือฟังธรรมแล้วก็เข้าใจธรรม เพราะไม่รู้ว่า พรุ่งนี้จะได้ฟังหรือเปล่า เย็นนี้จะเข้าใจธรรมหรือเปล่าทั้งๆ ที่มีธรรมตั้งแต่เกิดจนตายไม่พ้นจากธรรม
เพราะเหตุว่าธรรมเป็นสิ่งที่มีจริงๆ ทุกอย่างที่มีจริงเป็นธรรม เพราะฉะนั้น อยู่ในโลกนี้ และก็ต้องจากโลกนี้ไป แต่ก่อนตายถ้ามีโอกาสที่จะได้เข้าใจธรรม ก็จะทำให้เกิดอีกแต่ว่ามีความเข้าใจธรรมด้วย ไม่ใช่ว่าเกิดแล้วก็ไม่เข้าใจธรรม ซึ่งชาติก่อนๆ เป็นอย่างนี้มาแล้วมากเท่าไหร่ก็ไม่มีใครสามารถที่จะรู้ได้ แต่จะรู้ได้ในขณะที่กำลังฟัง เพราะเหตุว่าธรรมไม่ใช่ภาษาไทย เป็นภาษามคธีภาษาบาลี แต่ว่าหมายความถึงสิ่งที่มีจริง
เพราะฉะนั้น สิ่งที่มีจริงเดี๋ยวนี้เอง ใครรู้ว่าเป็นสิ่งที่มีจริงชั่วคราว เกิดจริง มีจริง ปรากฏจริงแล้วก็ดับไป หายไปเลย ไม่กลับมาอีกเลย คือฟังจนกว่าจะมีความเข้าใจที่มั่นคงเพื่อที่จะได้ไม่เดือดร้อนไม่เป็นทุกข์ไม่เศร้าโศกเพราะเหตุว่ามีความติดข้องในชีวิตมาก
แล้วก็มีความติดข้องในความสุขด้วย ต้องการแต่แสวงหาความสุข แต่ไม่รู้เลยว่าความสุขก็ไม่เที่ยง เพราะฉะนั้น เมื่อได้ฟังแล้วไม่ทิ้งคำที่ได้ยินว่าทุกสิ่งทุกอย่างไม่เว้นเลยที่กำลังปรากฏขณะนี้เกิดแล้วดับ แค่นี้ก็จะเป็นปัจจัยให้ค่อยๆ สะสมความเห็นถูกความเข้าใจถูกทีละเล็กทีละน้อย โดยที่ไม่สามารถจะรู้ได้ว่าเมื่อไหร่ เพียงคำนี้สามารถที่จะทำให้ละความยึดถือติดข้องในสิ่งที่กำลังปรากฏได้ แต่ว่าไม่ใช่ว่าทันที แต่เริ่มฟังเริ่มไตร่ตรอง เริ่มเข้าใจตามปกติ
อ.คำปั่น สำหรับประเด็นเรื่องก่อนตายควรทำอะไร ข้อความประโยคหนึ่งที่ได้ฟังจากท่านอาจารย์ "ว่าถ้าหากว่าไม่มีความเข้าใจถูกเห็นถูกจะรู้ได้อย่างไรว่าก่อนตายควรทำอะไร"
เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องของผู้ที่มีความเข้าใจจริงๆ เห็นประโยชน์ของการที่มีชีวิตอยู่ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อใด เพราะฉะนั้น ช่วงเวลาที่ยังไม่ตายยังมีชีวิตอยู่ ก็เป็นช่วงเวลาที่มีค่าอย่างที่ขณะนี้กำลังเป็นไปอยู่ ก็คือกำลังสะสมความเข้าใจจากการที่มีโอกาสได้ยินได้ฟังพระธรรม
ผู้ฟัง จะขอความกรุณาท่านอาจารย์กล่าวให้เข้าใจว่า กล่าวคำว่าเห็นเท่าไม่สะสมมาที่จะสนใจความจริงก็ฟังผ่านไปเลย
เกิดมา มีตาก็เห็นก็ไม่สนใจ แต่ถ้าผู้ที่สะสมมาเห็นมีจริงแล้วไม่รู้จักเห็น และควรจะรู้จักเห็นอย่างไร ก็ตามมาฟังว่า มีผู้รู้คือพระอรหันตสัมมาสัมพระเจ้า ตรัสรู้ว่าเห็นความจริงของเห็นที่นึกว่ารู้แต่จริงๆ ไม่รู้เป็นอย่างไรก็สนใจฟัง
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ควรจะเป็นความเข้าใจของคนฟังซึ่งเกิดจากการได้ยิน และไตร่ตรอง เห็นมีจริงเมื่อไหร่ เมื่อเห็นเกิดขึ้น เห็นไหมมีคำว่าเกิด ถ้าเห็นไม่เกิดไม่มีเห็นแน่นอน
เพราะฉะนั้น ทุกอย่างที่กำลังปรากฏว่ามีในขณะนี้ เกิดแล้ว ไม่ใช่ยังไม่เกิด เกิดแล้วเห็น แล้วก็ดับไปควรรู้ไหมว่าทุกสิ่งทุกอย่างไม่ใช่ของเราจริงๆ เลย ระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่ตาของเรา ร่างกายของเรา หรือว่าเราเห็น เราได้ยิน แต่ว่าตามความเป็นจริงถึงที่สุดก็คือว่าไม่มีอะไรที่จะเป็นของใครได้เลยสักอย่างเดียว แล้วก็ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาด้วย
ทำไมเห็นเกิดขึ้นได้ เห็นไหม ถ้าเราไตร่ตรองแล้วเราจะค่อยๆ เข้าใจความจริงขึ้น ดูเหมือนไม่ค่อยมีประโยชน์เท่าไหร่ แต่ความจริงมีประโยชน์มากเพราะเหตุว่าเราไม่รู้เห็นเราติดของในเห็น ทั้งๆ ที่ตายแล้วก็ไม่เห็นหรือว่าตาบอดไปทันทีก็ไม่เห็นอีกแล้ว
เพราะฉะนั้น ความติดข้องมีในทุกสิ่งทุกอย่างโดยไม่รู้ว่าสิ่งที่มี ไม่ใช่ของเราแล้วไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของเราด้วย เพราะฉะนั้น ต้องไตร่ตรอง เห็นมีเมื่อไหร่เมื่อเกิดขึ้นเห็น
แล้วเห็นเกิดขึ้นได้ยังไงอยู่ดีๆ จะมีเห็นได้ไม่เห็นไหม นี่เป็นเรื่องของปัญญาทั้งหมด ที่จะรู้จักเห็นหรือเปล่า? ว่าเห็นคืออะไร และก็เห็นเกิดขึ้นได้อย่างไรเพราะเดี๋ยวนี้กำลังเห็น
เพราะฉะนั้น เห็นเกิดขึ้นเองได้ไหม ใครอยากเห็นก็เห็นได้ไหม ไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น ถ้าเข้าใจจริงๆ ว่าแม้แต่เห็นก็ไม่ใช่เรา และก็ไม่อยู่ในอำนาจคับบัญชาด้วย คนที่เกิดมาแต่ไม่มีจักขุปสาทไม่มีตา ไม่มีทางจะเห็นเลย แต่คนที่มีตา ทำให้เกิดจิตที่เห็นสิ่งที่กำลังปรากฏก็ไม่รู้ ว่าแท้ที่จริงต้องอาศัยตา และอะไรทำให้ตาเกิดขึ้น และอะไรทำให้ตาไม่เกิด ฟังแล้วก็ตอบได้ใช่ไหม บังคับบัญชาไม่ได้เลย
ผู้ฟัง กราบเรียนท่านอาจารย์ และคณะวิทยากร ได้อ่านในข้อความจากพระสูตรก็จะมีข้อความว่า เพราะอาศัยวิเวก เพราะอาศัย วิราคะ เพราะอาศัยนิโรธจะเป็นเหตุให้ละความเป็นเรา
ไม่ทราบว่าข้อความละเอียดอย่างเป็นอย่างไร
อ.ธีรพันธุ์ เรียนอ.คำปัน วิเวกมีความหมายกว้างขวางอย่างไร
อ.คำปั่น ก็เป็นคำที่มีความหมายที่ละเอียด แต่ว่าเมื่อกล่าวโดยความหมายก็คือความสงัดจากกิเลส ซึ่งก็เป็นเรื่องของปัญญา ถึงแม้ว่าท่านจะจำแนกวิเวกออกเป็นนัยต่างๆ เป็น ๕ ก็ไม่พ้นไปจากเรื่องของปัญญาที่เจริญขึ้นไปตามลำดับตั้งแต่สงัดด้วยองค์นั้นๆ ขณะที่กุศลเกิดขึ้นมีปัญญาเข้าใจตามความเป็นจริงก็เป็นความสงัดอย่างหนึ่ง
หรือผู้ที่อบรมเจริญความสงบของจิต ฌานจิตเกิดขึ้นก็สงบระงับจากอกุศลในขณะนั้น ก็เป็นวิเวกอีกประการหนึ่ง หรือผู้ที่อบรมเจริญปัญญาประจักษ์แจ้งความจริง มัคคจิตเกิดขึ้นก็เป็นวิเวกอีกระดับหนึ่ง และเมื่อมัคคจิตเกิดขึ้นแล้ว ผลจิตเกิดสืบต่อเป็นผลของการดับกิเลสก็เป็นวิเวก และวิเวกอีกประการหนึ่ง เป็นวิเวกที่สงัดจากกิเลส สงัดจากธรรมที่เกิดดับทั้งหมด คือพระนิพพาน
เพราะฉะนั้น เรื่องของความวิเวกเป็นเรื่องของความสงัดจากอกุศล เป็นเรื่องของปัญญาที่เข้าใจถูกเห็นถูกในธรรมตามความเป็นจริง
ท่านอาจารย์ เรื่องละเรื่องใหญ่ แม้แต่ๆ ละคำก็จะต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้อง อย่างคำแปล วิเวกหมายความถึงสงัดหรือสงบจากกิเลส และอกุศล ไม่ใช่จากสถานที่หนึ่งสถานที่ได้
เพราะฉะนั้น กว่าเราสามารถที่จะมีความเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม จนเรากันยึดถือว่าเป็นเราได้ ในขณะที่กำลังเห็น
เห็นไหมทุกๆ ขณะนี้ ไม่ใช่ขณะอื่น กำลังเห็นเคยเป็นเราเห็น ได้ยินก็เป็นเราได้ยิน คิดนึกก็เป็นเราคิดนึก สุขก็เป็นเราสุขทุกข์ก็เป็นเราทุกข์ เป็นเราไปหมดเลยไม่วิเวก เพราะเหตุว่ายังเต็มไปด้วยความติดข้องเพราะไม่รู้
เพราะฉะนั้น การที่จะได้ฟังพระธรรม และรู้ว่าผู้ที่ได้อบรมบารมีสามารถที่จะรู้ความจริงดับกิเลสได้ลองคิดดู กิเลสมากสักเท่าไหร่ประมาณไม่ได้เลย ทั้งทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทุกวันๆ เพิ่มขึ้นทุกเรื่อง แต่ว่าสามารถที่จะดับกิเลสหมดไม่เหลือเลย
เพราะฉะนั้น ก็ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ในชาติเดียวสองชาติ แต่ต้องเป็นผู้ที่ตรงที่จะรู้ความจริงว่าดับคือเริ่มจากความเข้าใจถูกในสิ่งที่มี ซึ่งกว่าจะดับการยึดถือว่าสิ่งนั้นไม่ใช่เราได้เป็นอนัตตาเกิดขึ้น และดับไป ก็ต้องอาศัยความเข้าใจ ซึ่งเกิดจากการฟังด้วยความเคารพในความจริงว่าความจริงเป็นอย่างนี้ เปลี่ยนความจริงไม่ได้ แม้แต่วิเวกการที่จะสงบสงัดจากความเห็นผิดหรือว่าการติดข้อง การยึดถือในสิ่งที่มีได้ ก็ต้องตรงว่ามีความไม่รู้มานานมาก
เพราะฉะนั้น จะทันทีไม่ได้เลย แต่ต้องมีความเข้าใจตั้งแต่เบื้องต้น เริ่มจากการฟังเห็นประโยชน์ว่าการฟังนี้จะทำให้มีความเข้าใจถูกต้องเพราะว่าเกิดมา แม้แต่ความคิด ก็มีสองอย่าง คิดถูก คิดผิด และคิดอย่างไหนที่ทุกคนแสวงหาหรือชอบหรือพอใจ คงไม่พอใจที่จะคิดผิด หรือแม้แต่มิตรสหายก็มีทั้งกัลยาณมิตร มิตรที่ดีงามเป็นประโยชน์เกื้อกูลกับมิตรชั่ว
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1861
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1862
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1863
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1864
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1865
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1866
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1867
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1868
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1869
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1870
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1871
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1872
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1873
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1874
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1875
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1876
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1877
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1878
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1879
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1880
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1881
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1882
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1883
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1884
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1885
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1886
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1887
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1888
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1889
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1890
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1891
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1892
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1893
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1894
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1895
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1896
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1897
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1898
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1899
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1900
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1901
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1902
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1903
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1904
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1905
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1906
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1907
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1908
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1909
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1910
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1911
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1912
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1913
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1914
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1915
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1916
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1917
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1918
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1919
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1920