ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1912
ตอนที่ ๑๙๑๒
สนทนาธรรม ที่ บ้านเรือนไหม จ.ราชบุรี
วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
ท่านอาจารย์ แต่เมื่อได้ยินได้ฟังคำว่าพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ประมาทไม่ได้เลย ทุกคำเป็นคำจริงที่ลึกซึ้ง ซึ่งจะทำให้ผู้ที่ได้ยินได้ฟังมีความเห็นถูกเกิดขึ้นทีละเล็กทีละน้อยจนกว่าจะรู้ขึ้นๆ จึงจะถึง ปัญญาขั้นต่อไปได้
เช่นถ้าขณะนี้การฟังไม่มีพอที่จะรู้ว่าทำอะไรไม่ได้เพราะไม่มีเรา ทุกอย่างเกิดเพราะเหตุปัจจัยเป็นธรรมไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา ถ้าเข้าใจจริงๆ จะไม่เห็นผิดที่จะไปทำเป็นเราที่จะให้รู้หรือให้เข้าใจ
แต่ต้องอาศัยการฟังนี่แหละ จากขั้นฟังแล้วความรู้หรือปัญญาอีกขั้นหนึ่งซึ่งไม่ลืมว่าขณะนี้มีสิ่งที่มีจริงกำลังเป็นจริงอย่างที่ได้ฟังแต่ละหนึ่งขณะนั้นก็จะเป็นปฏิ ปัตติ รู้จักธรรมโดยการที่เข้าใจสิ่งที่กำลังเผชิญหน้าหรือว่ากำลังมีอยู่ในขณะนั้นได้
เพราะฉะนั้น แม้แต่จะปฏิบัติก็ผิด เพราะว่าไม่เข้าใจว่าปฏิบัติคืออะไร แต่เมื่อเข้าใจแล้วปฏิบัติไม่ได้เลย แต่ค่อยๆ เข้าใจขึ้นจนกว่าสภาพธรรมจะถึงปัญญาระดับที่กำลังเริ่มปฏิบัติกิจ คือเริ่มเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม ที่กำลังพูดถึงเดี๋ยวนี้เอง ไม่มีอะไรเป็นเครื่องกั้นเลย
เวลานี้กำลังเพียงฟังเรื่อง แต่เมื่อฟังเข้าใจแล้ว รู้ลักษณะนั้นเมื่อไหร่ ก็คือปฏิ ปัตติตรงตามคำถามที่ว่าเพียงเข้าใจเรื่อง เมื่อเพียงเข้าใจเรื่องจะให้ไปประจักษ์ หรือจะให้ไปรู้ลักษณะที่ไม่ใช่เรา ที่เพียงเกิดขึ้นเห็นแล้วดับ
เพียงเกิดขึ้นเห็นแล้วดับ เพียงเกิดขึ้นได้ยินแล้วดับ นี่คือความจริง เพราะฉะนั้น จะเข้าใจได้ต่อเมื่อได้ฟังเรื่องของสภาพธรรมเหล่านี้จนมีความมั่นคงว่า ทุกอย่างสั้นมาก เพียงเกิดขึ้นแล้วก็หมดไป แต่จะรู้ได้ต่อเมื่อมีการฟังด้วยความเข้าใจเพื่อละความไม่รู้ และความติดข้อง
จนกว่าจะถึงการประจักษ์แจ้งปัญญาอีกระดับหนึ่ง เพราะฉะนั้น ก็เป็นผู้ตรงที่กล่าวว่าขณะนี้เพียงฟังเข้าใจเรื่องราวยังไม่ทั่วยังไม่ทั้งหมด ต้องฟังเรื่องราวของธรรมจนทั่วจริงๆ จึงสามารถที่จะเริ่มรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏได้ทีละเล็กทีละน้อย
ธรรมต่างกันเป็นสองประเภทใหญ่คือธรรมอย่างหนึ่งเกิดจริง แต่ไม่สามารถจะรู้อะไรได้เช่นแข็ง ร้อน เสียง กลิ่นไม่สามารถรู้อะไรได้เลย
แต่มีธาตุอีกชนิดหนึ่งใครห้ามไม่ให้เกิดก็ไม่ได้เพราะมีปัจจัยที่จะเกิด เพราะเป็นธรรมเป็นอนัตตา เมื่อมีธาตุที่เกิดไม่ใช่สภาพรู้อย่างหนึ่งส่วนอีกอย่างหนึ่งเป็นธาตุซึ่งเมื่อเกิดแล้วต้องรู้ เพราะฉะนั้น ใช้คำว่าจิต เป็นใหญ่เป็นประธานในการที่รู้สิ่งที่กำลังปรากฏ
โต๊ะเก้าอี้ไม่เห็น ไม่ใช่โต๊ะเก้าอี้ตาบอด แต่เป็นธาตุซึ่งไม่สามารถจะรู้อะไรได้
แต่ถ้าเป็นธาตุรู้ขณะนี้สามารถที่จะเห็น คือรู้ว่ามีสิ่งที่กำลังปรากฏขณะนี้เป็นอย่างนี้ เวลาที่เสียงปรากฏ ธาตุนั้นก็ได้ยิน รู้ว่าเสียงนั้นเป็นอย่างนั้นไม่เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้น ธาตุรู้ก็สามารถที่จะรู้ได้ทางตา หรือทางหูทางจมูก ทางลิ้น ทางกายทางใจ
ถ้ากรรมทำให้จักขุประสาทไม่เกิด แต่ว่ามีโสตปสาท คนนั้นไม่เห็นแต่ได้ยิน ได้กลิ่นด้วย ลิ้มรสด้วย รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสด้วย คิดนึกด้วย
ส่วนคนที่หูหนวกที่เราใช้คำว่าหูหนวกคือกรรมไม่ทำให้โสตปสาทรูปเกิด เพราะฉะนั้น เสียงไม่สามารถจะกระทบกับธาตุดิน ธาตุน้ำกระทบได้อย่างเดียวคือโสตประสาทรูป
เมื่อกรรมไม่ทำให้ปสาทรูปเกิด เสียงก็ไม่สามารถกระทบรูปที่จะทำให้เกิดจิตได้ยินได้ เพราะฉะนั้น คนนั้นไม่ได้ยิน แต่เห็น เพราะฉะนั้น ก็ไม่ใช่เราเลย เห็นก็เป็นจิต ได้ยินก็เป็นจิต ได้กลิ่นก็เป็นจิต รสปรากฏเพราะจิตกำลังเกิดขึ้นลิ้มจึงรู้รสนั้น
ขณะนี้มีสิ่งที่อ่อนหรือแข็งปรากฏ เพราะธาตุรู้เกิดขึ้นรู้ในสภาพนั้นจึงรู้ว่าสภาพนั้นมีจริงๆ
ทั้งหมดไม่ใช่เราไม่ใช่เขาแต่เป็นธรรมซึ่งเกิดขึ้นแต่ละหนึ่งขณะตามเหตุตามปัจจัย เห็นเป็นคนหรือเปล่า
ผู้ฟัง เห็นเป็นคน
ท่านอาจารย์ นี่คือต้องฟังธรรม เพราะว่าเห็นเป็นเห็น ถ้าเป็นคนมีเรายังยึดถือเห็นว่าเป็นเรา คือคนเห็น แมวเห็นไหม
ผู้ฟัง ต้องเห็น
ท่านอาจารย์ ตอนนี้แมวเห็น ตาไม่บอดก็เห็นใช่ไหม แต่เห็นเป็นแมวหรือเปล่า ใช่ไหม
เห็นเป็นเห็น ถ้าไม่คิดถึงรูปร่างเลย เฉพาะเห็นล้วนๆ เห็นจะเป็นคน จะเป็นนก จะเป็นงูได้ไหม หรือเห็นเพียงแต่เป็นเห็นเท่านั้น
ผู้ฟัง นี่ลึกซึ้งมาก
ท่านอาจารย์ นี่คือธรรม เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรมเพียงคำเดียว และทีละคำ แต่ต้องเข้าใจจริงๆ เพราะถ้าเราไม่เข้าใจ เราก็สับสนไปฟังที่อื่นเราก็ยังคงไม่เข้าใจอยู่นั่นเอง
เพราะฉะนั้น ให้ทราบว่าสิ่งที่มีจริงแต่ละหนึ่งไม่ปะปนกันเลย แล้วก็เกิดเมื่อมีปัจจัยเฉพาะที่จะให้สิ่งนั้นเกิดเป็นอย่างนั้นไม่เป็นอย่างอื่นเช่นเห็น คืออะไร มีสิ่งที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้ในขณะนั้น
แล้วเห็นก็คือสภาพธรรมที่มีจริงๆ เราเรียกว่าเห็น แต่เราไม่รู้จักเห็นทั้งๆ ที่กำลังเห็น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้ว่าสิ่งที่มีจริงในโลกหรือจักรวาลหรือที่ไหนก็ตามแต่ จะมีลักษณะที่ต่างกันเป็นสองอย่าง
ไม่ได้บอกว่าคนสัตว์เลยแต่เป็นสิ่งที่มีจริง เมื่อเกิดแล้วอย่างหนึ่งไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลยใช้คำว่ารูปหรือรูปธรรมก่อน ยังไม่พูดถึงความละเอียด
แล้วก็สภาพรู้ต้องมีเพราะว่าไม่ใช่มีแต่เสียง แต่เสียงปรากฏเมื่อมีการได้ยิน ถ้าไม่มีได้ยิน เสียงไม่ปรากฏเลย เสียงมีที่ในป่าแต่ไม่มีการได้ยินเสียง
เพราะฉะนั้น เมื่อไหร่ที่มีสภาพที่รู้เกิดขึ้นรู้เฉพาะเสียงนั้นที่กำลังปรากฏเช่นเดียวนี้ ขณะนั้นธาตุรู้เกิดขึ้นเราใช้คำว่า ได้ยิน แต่เพราะไม่รู้ว่าเป็นธาตุชนิดหนึ่งซึ่งเป็นสภาพที่รู้คือเห็น สภาพที่รู้คือได้ยิน สภาพที่คิดนึก สภาพที่รู้รส สภาพที่รู้กลิ่นล้วนแต่เป็นธรรมฝ่ายรู้ จึงปรากฏว่ามีสิ่งต่างๆ เพราะธาตุนี้เกิดขึ้นรู้ สิ่งนั้นจริงปรากฎ เพราะฉะนั้น ก็ต้องรู้ความต่างกันจริงๆ ว่าธรรมเป็นธรรมไม่ใช่ใคร
แล้วเปลี่ยนแปลงลักษณะของสภาพธรรมนั้นไม่ได้ด้วย สภาพธรรมที่แข็งจะให้เป็นสภาพรู้ไม่ได้ แต่ขณะที่แข็งปรากฏเมื่อมีการกระทบสัมผัส และธาตุรู้เกิดขึ้นรู้แข็ง
เพราะฉะนั้น ขณะนั้นต้องรู้ว่า แข็งไม่ใช่สภาพที่รู้แข็ง เพราะฉะนั้น เห็นเป็นเห็น ไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏให้เห็น ได้ยินเป็นธาตุที่เกิดขึ้นรู้คือได้ยินเฉพาะเสียง แต่ธาตุได้ยินไม่ใช่เสียง
ก็มีอยู่สองอย่าง ถ้ามีแต่เพียงธาตุที่ไม่สามารถจะรู้อะไรได้ โลกนี้ไม่เดือดร้อนใช่ไหม ไฟจะไหม้ น้ำจะท่วมหรืออะไรก็ตามแต่ ไม่มีใครไปรู้ไปเห็นเลย ไม่ต้องเดือดร้อนเลย
แต่ที่เดือดร้อนเพราะมีธาตุรู้เกิดขึ้น และธาตุรู้หลากหลายมาก โกรธ ไม่ใช่แข็ง ไม่ใช่อ่อน ไม่ใช่เสียงแต่โกรธอะไร โกรธสิ่งที่ปรากฏ ถ้าโกรธเสียงไม่เพราะเสียงไม่น่าฟังใช่ไหม ขณะนั้น โกรธในเสียงที่ไม่น่าฟังเพราะเป็นธาตุรู้ แต่รู้ด้วยความโกรธความไม่ชอบในสิ่งที่ปรากฏ
ด้วยเหตุนี้สภาพรู้หลากหลายมาก แต่แม้กระนั้นก็ต่างกันอีกเป็นสองอย่างคือธาตุรู้อย่างหนึ่งเกิดขึ้นรู้เฉพาะสิ่งที่ปรากฏ แต่ไม่รัก ไม่ชัง ไม่จำ ไม่อะไรทั้งนั้น แค่รู้คือเห็นก็แค่เห็น ได้ยินก็แค่ได้ยิน ได้กลิ่นก็ขณะที่กลิ่นกำลังปรากฏไม่เกินไปกว่านั้น
ส่วนสภาพที่คิดนึก เพราะจำทุกอย่างที่เห็น ที่ได้ยิน เพราะฉะนั้น เห็นแล้วได้ยินแล้ว จำได้ก็ยังคิดเรื่องนั้นต่อ เพราะฉะนั้น ก็มีสภาพธรรมหลากหลายมากซึ่งทรงแสดงไว้โดยละเอียดยิ่ง ว่าเป็นธรรมเกิดได้เมื่อมีเหตุปัจจัยเฉพาะที่จะให้เป็นสิ่งนั้นที่เกิดไม่เป็นสิ่งอื่น
เมื่อเกิดแล้วก็ดับไปด้วยไม่กลับมาอีกเลย ตอนเด็กๆ ทำอะไรบ้างจำได้ไหม
ผู้ฟัง จำได้
ท่านอาจารย์ และจำได้ไหมว่านี่อะไร คนละจำ และใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น จำในสิ่งที่ปรากฏแล้วดับ แล้วก็มีสิ่งอื่นปรากฏแล้วจำ แล้วก็ดับ เพราะฉะนั้น สภาพจำที่มีจริงๆ เป็นเราหรือเปล่าเป็นใครหรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่ใช่
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ แต่มีจริงๆ เป็นธรรมคือสิ่งที่มีจริงเปลี่ยนลักษณะของจำให้เป็นโกรธได้ไหม
ไม่ให้จำแล้ว โกรธแทนจำ แทนได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ไม่ได้ จะให้โกรธเป็นชอบได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น โกรธเป็นโกรธจำเป็นจำ เป็นเราหรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่เป็น
ท่านอาจารย์ เป็นสิ่งที่มีจริงเกิดขึ้นแล้วดับไป เพราะฉะนั้น ขณะที่จำเดี๋ยวนี้ ไม่ใช่จำที่เคยจำมาก่อนใช่ไหมตอนเป็นเด็ก ตอนเป็นเด็กจำจริงดับจริง แต่ขณะนี้ยังจำสิ่งที่กำลังปรากฏ
และสภาพที่จำ ก็ยังเป็นปัจจัยทำให้มีการคิด นึกตรึกถึงสิ่งที่เคยจำมาแล้วได้ นี่คือความละเอียด ซึ่งเป็นชีวิตที่ไม่มีใครบังคับบัญชา จะไม่ให้เกิดเลย ไม่ให้เห็นเลย ไม่ได้ยินเลย เป็นไปไม่ได้ หรือว่าจะไม่ให้มีสภาพแข็ง สภาพอ่อน ไม่ให้มีเสียง ไม่ให้มีกลิ่นก็เป็นไปไม่ได้
เพราะอะไร เพราะเป็นธรรมที่เกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา เริ่มเข้าใจว่าพระผู้มีพระภาคตรัสรู้อะไร และสอนสิ่งที่มีจริงทุกกาลสมัยให้มีความเข้าใจให้ถูกต้องว่า
ตราบใดที่ยังไม่ได้ฟังพระธรรมให้เข้าใจ ก็หลงยึดถือสิ่งที่ไม่มี เพราะเกิดแล้วดับแล้วว่ายังมีอยู่ เช่นเราจำว่าตอนเด็กเราเห็นอะไรบ้าง เห็นไหมทั้งๆ ที่ขณะนั้นก็ไม่มี ไม่มีแล้ว แล้วจะกลับไปเป็นอย่างนั้นอีกก็ไม่ได้ แต่ยังจำว่าเป็นเรา เพราะไม่รู้ความจริงว่าแท้ที่จริงทุกอย่างในขณะนี้หรือขณะไหนก็ตาม มีปัจจัยเกิดแล้วดับ
จึงสามารถที่จะรู้ว่าพระพุทธเจ้าดับกิเลสได้ไม่ยึดถือว่าเป็นเราไม่ยึดถือว่าโลภะของเรา ปัญญาของเรา หรือเราเห็น เราได้ยินเพราะรู้ความจริงว่าเป็นสิ่งที่มีปัจจัยเกิดแล้วดับแล้วไม่เหลือ เมื่อกี้นี้เห็นอะไรเหลืออยู่ไหม
คนละขณะกับเห็นเดี๋ยวนี้ เดี๋ยวนี้ก็ดับ ขณะที่เห็นต่อไปใหม่แล้ว ไม่ใช่อันเก่าแล้ว เพราะฉะนั้น ตายทุกขณะ เป็นขณิกมรณะไม่กลับมาอีกเลย หลงยึดถือในสิ่งที่ไม่มีว่ามี เพราะฉะนั้น กว่าจะรู้ความจริงจนกระทั่งละคลายกิเลสได้ เพราะไม่มีการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นเรา ก่อนกิเลสอื่นๆ
เพราะเหตุว่าเราใหญ่เราสำคัญทุกอย่างอยู่ที่เรา เกิดมาเป็นเรา เราเห็น เราได้ยิน เรารัก เราชัง เราดี เราชั่วทั้งหมด
ยึดถือสภาพธรรมที่มีจริงแต่ชั่วคราวซึ่งเกิดดับว่าเป็นเรา เพราะฉะนั้น ปัญญาเริ่มเข้าใจว่าไม่มีเรา แต่กว่าจะคลายความเป็นเราได้ไม่ง่าย เพราะว่าสะสมความติดข้องว่าเป็นเรามันนานมาก เพราะฉะนั้น ไม่ต้องหวังว่าเมื่อไรจะไม่เป็นเรา เมื่อไหร่ที่เข้าใจธรรมทีละเล็กทีละน้อยก็รู้ว่าเป็นสิ่งที่เป็นอย่างนั้นไม่เป็นอย่างอื่น
อ.คำปั่น ท่านผู้ร่วมสนทนาท่านฝากมาถามว่าสำหรับเวทนาสองอย่างที่เป็นโสมนัสเวทนากับโทมมนัสเวทนาแตกต่างกันอย่างไรแล้วก็มีจริงในชีวิตประจำวันอย่างไร
ท่านอาจารย์ เมื่อกี้นี้อาหารอร่อยไหม มีความสุขไหม ร่างกายแข็งแรงดีหรือเปล่า ไม่เจ็บไม่ปวดตรงไหน
เพราะฉะนั้น ขณะนั้นก็เป็นความรู้สึกเป็นสุขใจไม่เกี่ยวกับกายเลย เพราะเหตุว่ากายก็สบายดี แต่ว่าเวลาที่ลิ้มรสแล้วชอบมากอาหารอร่อยขณะนั้นไม่ใช่ความรู้สึกเฉยๆ ใช่ไหม
แต่ว่าเป็นความรู้สึกที่เป็นสุขในขณะที่กำลังได้ลิ้มรสนั้นภาษาบาลี ใช้คำว่าโสมนัส หมายความว่า มะนัด สะ คือจิตในขณะนั้นปราบปลื้มดีไม่ใช่จิตที่เศร้าหมองตรงกันข้ามกับโทมนัสโทม มะ นัดก็เสียใจเป็นทุกข์เศร้าหมอง
เพราะฉะนั้น เป็นเรื่องของใจซึ่งแม้ว่าร่างกายจะสุขสบายแข็งแรงดี ใจเป็นทุกข์ก็ได้ หรือว่าร่างกายกำลังปวดเจ็บแต่ใจไม่ทุกข์ก็ได้
เพราะฉะนั้น ก็แยกความรู้สึก เป็นทางกายกับทางใจ สำหรับทางกายก็มีความรู้สึกสองอย่าง เวลาที่กระทบไม่ว่าจะเย็นไปร้อนไปหรืออะไรก็ตามแต่แข็ง เราอาจจะคิดว่าสิ่งที่มันกระทบกายเราเป็นลูกปืนก็ได้ เป็นไม้ก็ได้ เป็นก้อนอิฐก็ได้
แต่จริงๆ ก่อนที่จะรู้ว่าเป็นก้อนอิฐหรือปืนหรือไม้ ขณะนั้นเจ็บ ใช่ไหม
เพราะมีสิ่งที่แข็งกระทบแต่เราไม่ต้องเรียกว่าแข็งหรือเราไม่ต้องเรียกว่าร้อน เพราะขณะนั้นธาตุทั้ง ๔ ก็มีอยู่ที่สิ่งที่กระทบอาจจะเป็นสิ่งที่แข็งหรืออาจจะเป็นสิ่งที่ร้อนก็ได้ แต่ว่าขณะนั้น ความรู้สึกเจ็บปวดปรากฏทำให้ไม่คำนึงถึงว่าสิ่งที่กระทบเป็นอะไร เพราะว่าสภาพธรรมต้องปรากฏทีละอย่าง
เพราะฉะนั้น ก็เป็นชีวิตประจำวัน ไม่ว่าอยากจะรู้คำไหนในภาษาบาลีก็คือสิ่งที่มีในชีวิตประจำวัน แต่คนละภาษา เพราะฉะนั้น ถ้าเมื่อไรที่สบายใจ ขณะนั้นก็ไม่ใช่เกี่ยวกับร่างกายแต่ว่าเป็นความรู้สึกซึ่งเกิดเมื่อได้รับสิ่งที่น่าพอใจ บังคับให้เป็นทุกข์ขณะนั้นก็ไม่ได้ กำลังรับประทานอร่อยๆ และบอกว่าทุกข์จังๆ ได้ไหม ก็ไม่ได้ใช่ไหม เพราะว่าขณะนั้นสภาพมันเกิดขึ้นเป็นอย่างนั้นก็ต้องเป็นอย่างนั้น ไม่น่าจะมีอะไรสงสัยซึ่งเราสามารถที่จะรู้ได้ว่าวันนี้เรามีทุกข์กายหรือว่าทุกข์ใจ หรือว่ามีสุขกายหรือว่ามีสุขใจ คนอื่นบอกไม่ได้เลย
ถามใครให้บอกก็บอกไม่ได้เพราะเขาไม่ใช่ขณะที่จิตเกิดขึ้นรู้ลักษณะนั้น เฉพาะจิตที่กำลังรู้ลักษณะนั้น ขณะนั้นเท่านั้น ที่ไม่ต้องพูดความรู้สึกก็เป็นอย่างนั้น เวลาดีใจไม่ต้องบอกใครใช่ไหมว่าดีใจๆ แต่ขณะนั้นก็เป็นสุขใจ
เวลาเสียใจ ก็ไม่ต้องไปบอกใครอีกเหมือนกันใช่ไหมไม่ต้องเรียกด้วยนี่เสียใจไม่ต้องพูดเลย จะมาบอกว่านี่เห็นนี้ได้ยินก็ไม่ต้อง นี่เสียใจก็ไม่ต้อง เพราะว่าความรู้สึกมันเกิดขึ้นเป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ก็เป็นการได้ฟังสองภาษา ภาษาที่เราใช้ทุกวันก็เป็นภาษาไทย แต่พอฟังธรรมก็จะได้ยินคำภาษาบาลี ภาษามคธีซึ่งดำรงพระศาสนาไว้ สืบต่อมาก็ใช้คำว่าปา ละหรือปา ลี
เพราะฉะนั้น พอได้ยินคำนั้น เหมือนไม่ใช่คำที่เรารู้จัก แต่ความจริงทุกคำเหมือนกัน เพียงแต่ว่าเราจะต้องเข้าใจว่าภาษานี้พูดอย่างนี้ และภาษานั้นพูดอย่างนั้นถ้าบอกว่าดีใจไปพูดที่พระนครพาราณสีไม่มีใครรู้ใช่ไหม แต่ว่าพูดที่เมืองไทยในทุกคนรู้ แต่พอเราใช้คำที่อีกประเทศหนึ่งภาษาท้องถิ่นเขาใช้ของเขา แต่เราไม่รู้เรื่องเราก็เลยไม่เข้าใจ แต่ความจริงความหมายอย่างเดียวกันเพียงแต่ว่าใช้คนละภาษา
ตั้งแต่เกิดมาใครไม่มีโสมนัสสเวทนาบ้าง มีแต่ไม่รู้ว่าไม่ใช่เรา เป็นเราไปเลย กำลังเสียใจมากก็ไม่รู้ว่าขณะนั้นก็เป็นแต่เพียงความรู้สึกซึ่งต้องเกิดขึ้นเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างอื่นไม่ได้แต่ก็เข้าใจว่าเป็นเรา เพราะฉะนั้น ไม่ว่าสภาพธรรมใดที่มีแล้วก็ไม่รู้ตามความเป็นจริง ก็ยึดถือสภาพนั้นว่าเราบ้างเขาบ้าง หรือสิ่งนั้นบ้างสิ่งนี้บ้าง แต่ความจริงก็ไม่พ้นจากสิ่งที่สามารถจะปรากฏให้เห็นทางตา หรือทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย
เท่านี้หรือเปล่า สิ่งที่มีจริงๆ ที่กระทบตาเวลานี้กำลังเห็น กำลังกระทบตา และก็จิตธาตุรู้ก็เกิดขึ้นเห็นแล้วก็ดับไป เพราะฉะนั้น ฟังธรรมเพื่อรู้ความจริงว่าธรรมมีแน่สิ่งที่มีจริงมีแน่ เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเร็วมาก เพราะฉะนั้น จึงไม่ใช่เราแน่นอน
แต่เมื่อไม่ได้ฟังความจริงก็เข้าใจว่าเป็นเรา เรียกว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดจนกว่าความเข้าใจจะเพิ่มขึ้น แล้วเมื่อไหร่จะหมดความเป็นเรา ไม่ต้องห่วงเลย เมื่อเข้าใจขึ้น แต่ถ้าไม่เข้าใจไม่ต้องไปคิดเลยว่าจะหมดความเป็นเราได้ ยังคงเป็นเราเพราะว่าไม่รู้ตามความเป็นจริง อยากไม่มีเราไหม อยากหมดความเป็นเราไหม
ไม่กล้าตอบ ตอบแล้วเดี๋ยวผิดใช่ไหม แต่ความจริงก็คือว่าธรรมก็เป็นธรรม อยาก ก็มี และปัญญาที่เห็นถูกว่าอยากเท่าไหร่ก็ไม่หมดกิเลส
เพราะอยากเองก็เป็นกิเลสด้วย
เพราะฉะนั้น ต้องเป็นปัญญาเท่านั้น แล้วคนนั้นก็รู้เองเวลาฟังแล้วเข้าใจ จะไม่ต้องถามใครเลยเพราะว่าขณะนั้นเข้าใจถูก
ตอนนี้เข้าใจคำว่าอนัตตา แล้วใช่ไหม และก็จะมีคนถามว่าแล้วมีคุณพ่อคุณแม่ไหม มีพี่มีน้องไหม มีเพื่อนมีฝูงไหม ในเมื่อได้ยินคำว่าอนัตตา
มีธรรมแน่นอน เพราะฉะนั้น เกิดมาแล้ว มีการเห็น และก็มีการรู้ด้วยว่าบุคคลนั้นเป็นใคร เพราะฉะนั้น ตามความเป็นจริง ก็คือว่าแม้ว่าเป็นแต่เพียงธาตุธรรมที่เกิดดับ
แต่ธาตุธรรมที่เกิดดับมีคุณหรือมีโทษกับเรามากน้อยแค่ไหน ตามลำดับใช่ไหม ถ้าตั้งแต่เกิดมาธาตุหรือธรรมซึ่งก็เป็นตา หู จมูก ลิ้น กาย เห็นบ้าง ได้ยินบ้างแต่ก็มีจิตที่เมตตากรุณาเลี้ยงดู
เพราะฉะนั้น บุคคลนั้นก็มีคุณ เพราะฉะนั้น ถ้าไม่มีธาตุเห็น ไม่มีธาตุได้ยินไม่มีธรรมใดๆ เลย ใครก็ไม่มี แต่เมื่อมีแล้ว ก็ต่างกันเป็นแต่ละบุคคลตามการสะสม
เพราะฉะนั้น จึงใช้คำว่าเราหรือเขา แต่เมื่อรู้ตามความจริงก็คือว่าเป็นแต่เพียงคำที่แสดงให้รู้ว่าหมายความถึงธาตุอะไรที่ไหนเท่านั้นเอง
ธาตุเห็นเต็มไปหมดเลยใช่ไหม ที่นี่ แต่ว่าธาตุไหน ก็ต้องใช้คำว่าเราหรือเขาหรือใครเห็น แต่ความจริงเห็นก็เป็นเห็น ฟังธรรมแล้วเดือดร้อนไหม ต้องเป็นคนตรง
บางคนก็เดือดร้อน ทำไมเมื่อไหร่จะรู้ความจริงอย่างนี้สักที นี่คือความเป็นเรา ฟังก็เข้าใจขึ้นๆ ยังเป็นเราเพราะรู้น้อย แต่ถ้ารู้มากขึ้นความเป็นเราก็ค่อยๆ ละลงไปทีละเล็กทีละน้อย
ถ้าจะรู้มากได้มากขึ้นกว่านี้ เป็นไปได้ไหม เพราะอะไรทำยังไง ก็ฟังแล้วก็เข้าใจขึ้นหนทางเดียว คำที่ได้ยิน ได้ยินทีละคำสองคำ ทีละเล็กทีละน้อย
ได้ยินคำว่าสุขกาย สุขใจทุกข์กาย ทุกข์ใจ พอไหม ยังไม่พอ เพราะเหตุว่าแม้สุขใจก็มีหลายอย่าง รับประทานอาหารอร่อยสุขใจ พบเพื่อนสนิทได้สนทนากันก็สุขใจจะไปเที่ยวเตร่เห็นประเทศที่สวยงามหรืออะไรก็แล้วแต่ตามที่ต้องการก็สุขใจ
อยากจะมีสุขใจอย่างนี้มากๆ ไหมใช่ไหม แสวงหากันตลอดเลยไม่ว่าจะพูดถึงประเทศนั้นอาหารชนิดนี้หรืออะไรทั้งหมดก็เพื่อความสุขใจ
แต่ว่าความสุขก็มีสองอย่างคือสุขที่เกิดเพราะได้เห็นสิ่งที่ชอบ ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสที่พอใจที่ต้องการ
แล้วก็มีความติดข้อง มากกว่าเวลาที่แม้เห็นก็ชอบเหมือนกันแต่ว่าไม่มากนักเห็นไหม ก็ต่างระดับกันว่าแม้แต่ความรู้สึกที่ติดข้องก็มีสองอย่าง
คือติดข้องธรรมดาๆ ไม่มากมายอะไรแต่บางขณะบางกาลก็ติดของมาก อร่อยมากไม่ใช่อร่อยเฉยๆ แต่ว่าอร่อยมาก
เพราะฉะนั้น เราก็แสวงหาแต่สิ่งที่จะทำให้เรามีความสุขใจ แต่ว่าเป็นโทษเพราะเหตุว่าติดข้องเพิ่มขึ้นๆ ติดข้องมากเท่าไหร่ก็แสวงหามากเท่านั้น และถ้าแสวงหาได้มาแล้วก็ดีใจ ถูกต้องไหมต้องไปหาก่อนให้ได้ อาหารแต่ละคำที่เราได้รับประทานมาจากไหน ถ้าไม่มีการแสวงหาการทำให้อร่อยใช้ไหม ประดิษฐ์ให้ดีก็ไม่เกิดขึ้น
เพราะฉะนั้น กว่าจะเป็นคำหนึ่งหรือรสหนึ่งที่กระทบลิ้น และเกิดความพอใจ ติดข้องต้องแสวงหามาเท่าไหร่คนที่เป็นคนทำจะรู้ดี แม้แต่ไปตลาดก็จะต้องรู้ว่าจะซื้อที่ไหนได้อย่างไร คุณภาพของสิ่งนั้นเป็นยังไงทั้งหมดเลยเป็นเรื่องของเพื่อความสุขโสมนัสที่จะได้สิ่งที่ได้มา เพียงชั่วคราว
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1861
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1862
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1863
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1864
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1865
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1866
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1867
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1868
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1869
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1870
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1871
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1872
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1873
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1874
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1875
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1876
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1877
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1878
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1879
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1880
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1881
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1882
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1883
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1884
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1885
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1886
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1887
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1888
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1889
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1890
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1891
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1892
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1893
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1894
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1895
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1896
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1897
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1898
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1899
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1900
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1901
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1902
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1903
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1904
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1905
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1906
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1907
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1908
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1909
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1910
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1911
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1912
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1913
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1914
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1915
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1916
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1917
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1918
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1919
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1920