ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1915
ตอนที่ ๑๙๑๕
สนทนาธรรม ที่ โรงแรมดิอิมพีเรียล จ.เชียงใหม่
วันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
ท่านอาจารย์ ขณะที่เห็นอ่อน แข็ง เย็น ร้อนอะไรก็ไม่ปรากฏ มีเฉพาะสิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็นเท่านั้น เริ่มลึกซึ้งหรือยังในชีวิตประจำวันที่มี แต่ว่าข้อสำคัญที่สุดคือแล้วประโยชน์มีไหมที่จะรู้ความลึกซึ้ง เพราะบางคนคิดว่ายากไป เกิดมาก็จะต้องมาลำบากฟังธรรมให้เข้าใจใช่ไหม
แต่ว่าตามความเป็นจริงเลยฟังอย่างอื่นน่าจะลำบากกว่า เพราะเหตุว่าไม่ได้พูดถึงสิ่งที่กำลังมี แต่นี่พูดถึงสิ่งที่กำลังมีจะลำบากอะไร เพราะว่ากำลังมีสิ่งที่กำลังมียืนยันว่าคำพูดทุกคำถูกต้องไหม ตรงไหมใช่ไหม
นี่คือสละชีพเพื่อความถูกต้อง ชีพก็คืออกุศลทั้งหลายที่มีเป็นประจำ
เพราะฉะนั้น การที่ฟังธรรมจะน้อยจะมากขอให้ได้เข้าใจในสิ่งที่ได้ยินได้ฟังเพราะต้องได้ยินแน่ ถ้าศึกษาธรรมจะไม่ได้ยินคำว่าธรรมไม่ได้ และก็ถ้าไม่รู้ว่าอะไรเป็นธรรม คือสิ่งที่มีจริงเดี๋ยวนี้ก็ไม่ใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าถ้ากล่าวถึงเรื่องอื่น
เพราะฉะนั้น แต่ละคำเผินไม่ได้เลย ด้วยเหตุนี้ขณะนี้กำลังเริ่มรู้นิดหนึ่งว่าสิ่งที่เห็นมี และเห็นมี ถูกต้องไหม มีความละเอียดเพิ่มขึ้นว่าในขณะที่เห็นไม่ใช่ขณะที่ตายแต่ต้องเป็นขณะที่มีสิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็นทางตาไม่ใช่ขณะที่กำลังหลับสนิท หลับสนิทไม่มีเห็นเลย แต่จากหลับสนิทก็เกิดตื่นแล้วเห็น
เพราะฉะนั้น ทั้งหมดที่มี เป็นธรรมที่เกิดขึ้น แต่ว่าสั้นมากไม่คงที่ เพราะฉะนั้น จึงมีคำที่ตรัสไว้ว่า สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาสิ่งนั้นมีความดับไปเป็นธรรมดา
เพื่ออะไร เพื่อจะได้ไม่เป็นทุกข์เวลาที่สิ่งนั้นดับไปแล้วก็คือเป็นธรรมดา เกิดแล้วต้องตายเป็นธรรมดา มีทรัพย์สินเงินทอง ต้องมีเหตุที่จะให้ได้มาเป็นธรรมดา สูญสิ้นทรัพย์สินเงินทองเกียรติยศชื่อเสียงทั้งหมดก็ต้องมีเหตุที่จะให้เป็นอย่างนั้นเป็นธรรมดา
เพราะฉะนั้น ทุกอย่างเป็นธรรมดา ภาษาไทยใช้คำภาษาบาลีแต่ว่าไม่ได้ เอาความหมายที่ถูกต้องมาด้วยเพียงแต่ได้ยินได้ฟังแล้วก็คิดเอาเองบ้างถูกบ้างผิดบ้าง
เพราะฉะนั้น คำว่าธรรมดาภาษาบาลีไม่มีตัวอักษร"ด" แต่ใช้อักษร"ต" ภาษาบาลีจะเป็นธรรมตาหมายความถึงความเป็นไปของธรรม ซึ่งจะต้องเป็นอย่างนี้
คนไทยก็พูดภาษาบาลีเก่ง และก็เข้าใจนิดๆ หน่อยๆ ทุกอย่างเป็นธรรมดาแต่ว่าความลึกซึ้งของการที่จะรู้ว่าธรรมดาหมายความถึงอะไรธรรมดาหมายความถึงเดี๋ยวนี้แหละเป็นธรรมดา เกิดขึ้น และก็ดับไปไม่เที่ยง สิ่งที่ไม่เที่ยงควรที่จะติดข้องหรือยึดถือว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดหรือเปล่า
ทั้งหมดที่ยังคงมีเพราะไม่รู้เพราะไม่ได้ฟังพระธรรม เพราะฉะนั้น ทุกคนไม่มีใครรู้เลย พรุ่งนี้จะมีอะไรเกิดขึ้นหรือแม้แต่เย็นนี้จะมีอะไรเกิดขึ้น หรือแม้ว่าต่อจากขณะนี้ไปอะไรจะเกิดขึ้นก็ไม่รู้ได้
เพราะฉะนั้น ชาติหน้าจากโลกนี้จะไปไหน ใช่ไหมถ้าเหตุดีผลดีแน่
เพราะฉะนั้น ทุกคนที่เกิดมาเป็นมนุษย์เป็นผลของกุศลกรรม แต่ว่าตลอดชีวิตไม่ได้มีแต่กุศลกรรม อกุศลกรรมก็มี เพราะฉะนั้น จะให้กุศลกรรม และอกุศลกรรมให้ผลเหมือนกันไม่ได้
กุศลกรรมก็ให้ผลที่ดี อกุศลกรรมก็ให้ผลที่ไม่ดี เพราะฉะนั้น จากโลกนี้ไปกรรมที่ได้ทำแล้วที่เป็นกรรมไม่ดีต้องให้ผลแน่
ไปไหน ยับยั้งได้ไหม ขอร้องได้ไหม เห็นสัตว์เดรัจฉานรูปร่างหน้าตาต่างๆ กันเลย ปลาก็มี นกก็มี แต่ก็มีเห็น มีได้ยิน แล้วก็มีคิดนึกด้วย แต่ไม่สามารถที่จะฟังธรรมให้เข้าใจได้
เพราะฉะนั้น จากโลกนี้ไปแล้วแม้แต่รูปร่างกาย จะมีเขาจะมีขาหรือไม่มีก็ไม่มีใครสามารถที่จะรู้ได้ หรือจะมีปีกซึ่งชาตินี้ยังไม่มี
แต่ชาติหน้ากรรมที่ได้ทำไว้แล้วทั้งหมดไม่มีใครสามารถที่จะรู้ได้ว่าเหมือนช่างเขียนที่วิจิตร แต่ละคนแม้เป็นมนุษย์ต่างชาติต่างภาษาหน้าตาก็ต่างกัน พี่น้องก็หน้าตาไม่เหมือนกันก็ได้ใช่ไหม แต่ละหนึ่งมองไปแล้ว ก็มีตา หู จมูก ลิ้น กายก็ไม่เหมือนกัน
เพราะฉะนั้น มือที่มองไม่เห็น ทำได้ทุกอย่างแม้แต่ตา คิ้ว จมูก ปากก็คือกรรม ทำได้หมด มือที่มองไม่เห็นทำได้แม้แต่เหตุการณ์ซึ่งใครก็ไม่คาดคิดว่าจะมีเหตุการณ์อย่างนั้นเกิดขึ้นเป็นไปได้ แต่เป็นไปแล้วเพราะมือที่มองไม่เห็นที่ได้ทำไว้ซึ่งไม่มีใครสามารถที่จะรู้ได้
เพราะฉะนั้น ธรรมเป็นเรื่องละเอียดแม้แต่คำถามคำเดียว อย่าเพียงพอใจในคำตอบสั้นๆ แต่ต้องเข้าใจหรือเปล่า เข้าใจขึ้นไหมแล้วมีประโยชน์ไหม เพราะเหตุว่าถามมาตอบไปแต่ไม่เข้าใจจะไม่ได้ประโยชน์เลย เข้าใจจริงๆ ทีละคำสัมมัตตะคู่กับอะไร
อ.คำปั่น คู่กับมิจฉัตตะ
ท่านอาจารย์ ต้องมีสองคำ สัมมัตตะคือความเป็นถูก มิจฉัตตะเป็นความเป็นผิด เรียนสองภาษาเลย จะได้ทราบว่าพอได้ยินคำนี้ก็ต้องเข้าใจด้วย ไม่ใช่เพียงแต่จำคำ ๒ คำ สัมมัตตะความเป็นถูก มิจฉัตตะความเป็นผิด
แค่นี้เดี๋ยวนี้เป็นอะไร ข้อสำคัญที่สุดไม่ใช่ไปพูดถึงสิ่งที่ยังไม่มีอีกไกลมาก แต่ว่าต้องเริ่มจากว่าแล้วเดี๋ยวนี้เป็นอะไรใน ๒ คำนี้เป็นมิจฉัตตะหรือว่าเป็นสัมมัตตะ
อยู่ดีๆ นั่งเฉยๆ เป็นสัมมัตตะได้ไหม เกิดความเป็นชอบถูกต้องขึ้นมาอย่างนี้เป็นไปได้ยังไง เพราะฉะนั้นตามความเป็นจริงคือปกติ ต้องเข้าใจถูกต้อง ตราบใดที่ไม่มีความรู้ถูก ไม่มีความเห็นถูกจะเป็นความเป็นถูกไม่ได้
เพราะฉะนั้น ขณะนี้ไม่ได้รู้สิ่งที่กำลังปรากฏว่าไม่ใช่เราแต่เป็นธรรมนี่คือเริ่มต้น ถ้าไม่รู้อย่างนี้ขณะนั้นมิจฉัตตะ
แต่พอเริ่มฟังแล้ว เริ่มเข้าใจทีละเล็กทีละน้อยยังไม่ถึงความสมบูรณ์ที่จะเป็นสัมมัตตะเพราะยังอีกไกล แต่เริ่มได้ยินได้ฟัง พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าใกล้หรือไกลเรา แค่ชื่อ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ากับเราซึ่งกำลังอยู่ที่นี่กำลังได้ยินได้ฟังเพียงบางคำในพระไตรปิฏก ๔๕ พรรษากี่คำ
แต่เราเพิ่งจะได้ยินคำว่าธรรมบ้างสัมมัตตะบ้าง มิจฉัตตะบ้าง เพราะฉะนั้น เราเดี๋ยวนี้กับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใกล้หรือไกลกันแค่ไหน ไกลสุดที่จะประมาณได้ ประมาณไม่ได้เลยเหมือนไม่เห็นแสงหรือเงาของพระองค์ แต่จะรู้จักพระองค์ทีละเล็กทีละน้อย เมื่อฟังธรรมแล้วรู้ว่าแม้แต่เพียงแต่ละคำ
แสดงความจริงว่าสัมมัตตะความเป็นชอบต้องหมายความถึงความรู้ที่ถูกต้อง จึงสามารถที่จะขณะนั้นไม่เป็นผิดๆ อย่างที่เคยเป็น เป็นผิดคือไม่รู้อะไรเลย ไม่รู้แล้วจะถูกได้ยังไง เกิดมาก็ไม่รู้
เพราะฉะนั้น ทั้งหมด มาจากเพราะไม่รู้ และความถูกต้องทั้งหมดก็มาจากเพราะรู้ และเข้าใจ
เข้าใจอะไรรู้อะไรคือสิ่งที่กำลังปรากฏทิ้งไม่ได้เลย ถ้าใครก็ตามที่บอกว่าศึกษาพระธรรมแต่ไม่เข้าใจว่าเดี๋ยวนี้เป็นธรรมสิ่งที่มีจริงแต่ละหนึ่ง คนนั้นไม่ได้ศึกษาธรรม ไม่เข้าใจแม้แต่ชื่อธรรมคืออะไร ไม่เข้าใจลักษณะของสิ่งที่มีจริงว่าเดี๋ยวนี้เอง แม้เป็นธรรมก็ยากที่จะรู้ว่าไม่ใช่เราเพราะเป็นธรรม เป็นเพียงแค่สิ่งที่มีจริงซึ่งเกิดแล้วก็ดับไปแล้วก็ไม่กลับมาอีกเลย
ฟังเพื่อเข้าใจไม่ใช่ฟังเพื่อถึงความเป็นสัมมัตตะทันที เป็นไปไม่ได้เลย จากมิจฉัตตะที่จะไปเป็นสัมมัตตะได้ต้องอาศัยกาลเวลาคือความเข้าใจที่ค่อยๆ เข้าใจขึ้นทีละเล็กทีละน้อย
จากปริยัติ ปฏิปัตติไปสู่ปฏิเวธคำนี้ต้องเกี่ยวข้องกับปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธด้วยแม้แต่คำว่าสัมมัตตะหรือว่ามิจฉัตตะ
เพราะเหตุว่าปริยัติได้ยินบ่อยๆ ใช่ไหม โรงเรียนพระปริยัติธรรม เรียนอะไรกัน เพราะฉะนั้น ปริยัติคืออะไร ปริยัติคือการฟัง การสนทนา การอ่าน หรืออะไรก็ได้ พระพุทธพจน์ ไม่ใช่คำของคนอื่น
เพราะฉะนั้น มีหนังสือมากมายหลายเล่ม ปนกันหมดเลยไม่ว่าจะวิทยาศาสตร์ก็เอามาปนกับพระพุทธศาสตร์หรืออะไรทั้งสิ้น แต่เทียบกันได้อย่างไร คนเหล่านั้นก็เกิดมาแล้วก็ตายไป ก็มีความคิดเพียงแต่เขียนหนังสือมาให้เราได้อ่านบ้าง แต่ว่าไม่ได้กล่าวถึงสิ่งที่กำลังมีจริงๆ ให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องเลย
เพราะฉะนั้น ก็เทียบกันไม่ได้เลย ด้วยเหตุนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้ทรงแสดงพระธรรมไว้แล้วก็จะทำให้เราเริ่มรู้จักว่าเราเป็นใครจริงๆ แล้วพระองค์เป็นใคร เพราะฉะนั้น การฟังธรรมแต่ละครั้งฟังด้วยความเคารพยิ่ง เพื่อที่จะรู้ว่าพระธรรมเป็นสิ่งที่มีจริง แต่ว่าผู้ที่ทรงแสดงบำเพ็ญพระบารมีนานมากกว่าจะรู้ความจริงนี้
เพราะฉะนั้น เราเองฟังมานานเท่าไหร่ คนที่เคยฟังมาก่อนการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นี้ แล้วก็ได้ฟังพระธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นี้สามารถเป็นพระโสดาบันได้ เป็นพระอรหันต์ก็ได้ แต่ไม่ใช่ไม่มีการสะสมไม่ได้มีความเข้าใจมาก่อนเลย แต่ต้องเป็นผู้ที่ได้สะสมมาแล้วที่สามารถที่จะได้ยินได้ฟัง และพร้อมที่จะเข้าใจ และพร้อมที่จะถึงสัมมัตตะความเป็นถูกต้องคือความเห็นที่ตรงตามความเป็นจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏว่าขณะนี้มีสิ่งที่มีแน่นอนแต่ไม่ใช่เรา เพราะเกิดแล้วดับแล้วไม่ใช่ของเราเพราะเกิดปรากฏเพียงชั่วคราว แล้วก็หมดไป แล้วก็ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาด้วย
เพราะฉะนั้น พระธรรมแต่ละคำต้องตั้งต้นฟังให้เข้าใจจริงๆ แล้วทุกคำ เกี่ยวข้องกันทั้งหมด แม้แต่ว่าสัมมิตตะ มิจฉัตตะก็เกี่ยวข้องกับเดี๋ยวนี้
ต้องรู้ตามความเป็นจริงว่าเดี๋ยวนี้คือมิจฉัตตะ ปัญญาไม่มีขณะใดเป็นสัมมัตตะไม่ได้ เพราะฉะนั้น กว่าจะถึงปัญญาที่เข้าใจว่าขณะนี้ไม่ใช่เรา เกิดจริงตามเหตุตามปัจจัยแล้วดับไปหมดไม่กลับมาอีก
ต้องฟังจนกระทั่งเป็นผู้ที่รอบรู้ในพระพุทธพจน์ ไม่ใช่ในคำของคนอื่นเลยสามารถที่จะรู้ได้ว่าคำคนอื่นไม่ได้กล่าวถึงสิ่งที่แสนยากที่กำลังมีที่ปรากฏ ซึ่งต้องอาศัยศรัทธาที่มั่นคงจริงๆ เคารพบูชาสักการะในพระปัญญาคุณ ที่ได้ทรงบำเพ็ญพระบารมีแล้วแสดงธรรมให้เราเริ่มเข้าใจแต่ละคำ
ด้วยเหตุนี้สัมมัตตะตรงกันข้ามกับมิจฉัตตะ และทั้งหมดคือเดี๋ยวนี้ ทั้งหมดคือให้เข้าใจความจริงเดี๋ยวนี้
อ.คำปั่น เพราะฉะนั้น ขณะนี้ก็เป็นการเริ่มค่อยๆ สะสมความเข้าใจความจริงจากการได้ยินได้ฟังพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ซึ่งก่อนหน้านั้นท่านอาจารย์ก็ปรารภถึงว่าการที่จะเข้าใจความจริงได้ต้องได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็คือฟังสิ่งที่พระองค์ทรงแสดง
ท่านอาจารย์ ฟังแล้วหนักใจไหม
มิจฉัตตะทั้งนั้นเลยกี่ชาติมาแล้ว เพราะฉะนั้น มีโอกาสจะเป็นสัมมัตตะ ไม่เหมือนมิจฉัตตะซึ่งไม่มีโอกาสได้ฟังพระธรรม ไม่มีโอกาสได้สะสมความเข้าใจเลย
เพราะฉะนั้น พระองค์ทรงบำเพ็ญพระบารมีมานานเท่าไหร่ การฟังพระธรรมที่จะเข้าใจ และไม่ต้องมากำหนดกฎเกณฑ์แต่ผู้นั้นเป็นผู้ที่ตรง รู้เอง ฟังแล้วเข้าใจแค่ไหน และรู้ด้วยว่าสามารถจะเข้าใจมากกว่านี้ เมื่อมีการฟัง และการไตร่ตรองมากกว่านี้ ไม่ใช่ไปคิดเอง
อ.คำปั่น เมื่อสักครู่ท่านก็ได้กล่าวถึงความละเอียดลึกซึ้งของธรรม
กราบอาจารย์ขอเรียนถามว่า ที่ว่าธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงนั้นมีความละเอียดลึกซึ้งแล้วก็มีความยากนั้น ความยากหรือว่าความลึกซึ้งของพระธรรมนั้น อยู่ตรงไหน
ท่านอาจารย์ พูดถึงสิ่งที่มีจริงทั้งหมดแม้เดี๋ยวนี้เห็นมี แน่ๆ ถ้าเห็นไม่เกิดขึ้นจะมีเห็นไหม นี่ต้องเริ่มเป็นผู้มีเหตุมีผล และเป็นผู้ที่ตรงจึงสามารถที่จะได้สาระจากพระธรรมเล็กๆ น้อยๆ อย่างนี้จะทำให้เข้าใจความจริงขึ้น เดี๋ยวนี้กำลังเห็น
ถ้าเห็นไม่เกิดขึ้นจะมีเห็นไหม ไม่มี แล้วเห็นมีตลอดไปหรือว่าเพียงแค่ขณะที่ได้ยินเห็นก็ไม่เหลือแล้วดับไปหมดแล้ว ลึกซึ้งไหม
แล้วจะไปหาความลึกซึ้งที่ไหนอีก ในเมื่อสิ่งที่กำลังปรากฏมีจริงๆ ก็ยังไม่รู้ถึงความลึกซึ้ง แล้วใครไปทำให้เห็นเกิดขึ้น ใครทำได้ หาคนที่สามารถทำหน่อยสิ ใครทำให้ได้ยินเกิดได้บ้าง ใครทำให้เห็นเกิดขึ้นได้บ้าง ใครทำให้โกรธเกิดขึ้นได้บ้าง ใครทำให้คิดเกิดขึ้นได้บ้าง
ทั้งหมดเกิดเมื่อมีเหตุปัจจัย ถ้าไม่มีเหตุปัจจัยที่เหมาะสมควร เกิดไม่ได้เลยแม้แต่ความเข้าใจขณะนี้ก็ต้องเกิดจากการฟัง ฟังความจริงของสิ่งที่พระผู้มีพระภาคได้ทรงตรัสรู้ และทรงแสดงไว้ ไม่ใช่ใครจะไปคิดไปเองได้ ถ้าคนๆ นั้นคิดเอง ข้อความในพระไตรปิฎกมีว่า อภิเษกตนเองด้วยใจว่าฉลาด และมีปัญญา สิ่งที่ได้ทรงตรัสไว้แล้วกลายเป็นรู้ดีกว่า เช่นถ้าพระธรรมลึกซึ้งมากก็ทำอย่างนี้สิจะได้รู้แจ้งพระธรรมเร็วขึ้น นี่อภิเษกตนเองแล้วใช่ไหม คิดเองว่าฉลาดกว่าจึงสามารถที่จะพบหนทางใหม่ที่ง่ายกว่า ที่เร็วกว่า
นี่ก็แสดงให้เห็นว่าประมาทในการเป็นผู้ฟัง เป็นสาวกเพราะว่าสามารถที่จะเก่งกว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ เพราะฉะนั้น ต้องเป็นผู้ที่ละเอียดมาก ความลึกซึ้งคือเดี๋ยวนี้เห็นเกิดแล้วดับแล้วเร็วมากจนทำให้ไม่รู้ความจริงว่าเห็นอะไร เห็นไหม แค่นี้ก็ไม่รู้ เห็นอะไรลองตอบสิ
ความลึกซึ้ง เห็นอะไร แล้วจะรู้ว่าคำตอบลึกซึ้งหรือเปล่า อยากรู้ความลึกซึ้งก็เดี๋ยวนี้ และเห็นอะไร
อ.คำปั่น กราบท่านอาจารย์ ถ้าขณะนี้ตอบก็คือเห็นคนนั่งอยู่ในห้องนี้มากมายเลย
ท่านอาจารย์ ลึกซึ้งหรือนั่น เห็นของมากมายลึกซึ้งหรือ แต่ลองพิจารณา เห็นเพียงสิ่งที่สามารถปรากฏให้เห็นได้ แค่หลับตาไม่มีเลย ไม่ว่าจะเป็นคน เป็นกระดาน เป็นโต๊ะ เป็นเก้าอี้เป็นอะไรที่เคยเข้าใจว่าเห็น ไม่เหลือ
เพราะฉะนั้น เห็นแท้จริงแค่เพียงชั่วขณะที่กำลังเห็นมิจฉัตตะกับสัมมัตตะก็ต่างกันแล้ว มิจฉัตตะก็เห็นคน แต่ความจริงคือถ้าไม่มีสิ่งที่ปรากฏให้เห็นจะมีความจำในความหลากหลายของสีสันวรรณะต่างๆ รูปร่างสัณฐานต่างๆ และก็จำว่าเป็นคนบ้าง เป็นสิ่งของบ้างเป็นขวดน้ำบ้าง เป็นเก้าอี้บ้าง ได้ไหมแค่นี้
นี่คือความละเอียด และลึกซึ้ง และกว่าจะรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสนไกลแต่จะพบได้รู้จักได้เมื่อฟังพระธรรมค่อยๆ ใกล้ขึ้น
เพราะฉะนั้น คำว่าอุบาสกอุบาสิกาภาษาบาลี อุปปาสิกผู้ชาย อุปาสิกาผู้หญิง ผู้นั่งใกล้พระธรรม หมายความว่าไม่ห่างไปจากการที่จะได้ยินได้ฟังที่จะได้รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น แต่ละคนไม่ใช่เพียงแต่จำชื่อ แล้วก็สงสัยว่าเป็นอุบาสกหรือเปล่าเป็นอุบาสกาหรือเปล่า
เขามาเรียกเราว่าอุบาสก และเราเป็นยังไงอุบาสก ไม่ใช่อย่างนั้นเลย ขณะใดที่ฟังพระธรรม ใกล้แค่ไหนคนนั้นรู้เอง
อ.คำปั่น แม้แต่ที่ท่านอาจารย์ได้ยกตัวอย่างเรื่องของเห็นในขณะนี้ ก็มีจริงๆ แต่ว่าเห็นเกิดแล้วก็ดับไป ก็มีจิตอื่นเกิดสืบต่อ เพราะฉะนั้น ความลึกซึ้งของธรรมก็คือมีจริงๆ ในขณะนี้
แต่ก็ยังไม่รู้ความจริงของสภาพธรรมที่กำลังมีกำลังปรากฏ จึงต้องอาศัยความอดทนความเพียรในการที่จะฟังที่จะศึกษาให้เข้าใจในความเป็นจริงของธรรมที่มีจริงในขณะนี้
ท่านอาจารย์ จาก มิจฉัตตะจะเป็นสัมมัตตะได้ ก็ต่อเมื่อกำลังเข้าใจ ฟังแล้วก็เข้าใจเป็นหนทางที่จะค่อยๆ ละมิจฉัตตะ ความเป็นผิด ความจำผิดๆ ความเข้าใจผิดๆ มาก่อนจนกระทั่งค่อยๆ ถูกขึ้น
ขอความรู้ภาษาบาลีจากคุณคำปั่น โยคาวจร
อ.คำปั่น กราบท่านอาจารย์ ภาษาบาลี โย คา วะ จะ ระ ก็คือผู้ที่เป็นไปกับด้วยความเพียร
เพราะฉะนั้น โยคาวจรหรือว่าโยคีซึ่งก็มีอรรถอย่างเดียวกัน ก็คือผู้บำเพ็ญความเพียรเพื่อที่จะรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง
ท่านอาจารย์ แม้ฟังก็เพียรแล้วใช่ไหม แต่ยังไม่ถึงระดับที่เพียรเพื่อที่จะดับกิเลสหรือเข้าใจสภาพธรรม เพราะยังอยู่ในขั้นการฟัง
ไม่มีใครไปบังคับไม่มีใครไปตั้งกฎเกณฑ์ ไม่มีใครบอกว่าคนนี้กำลังปฏิบัติคนนั้นกำลังเป็นปริยัติไม่ใช่อย่างนั้นเลยแต่ต้องเป็นปัญญาความเห็นที่ถูกต้องที่เกิดขึ้น และรู้ความจริง ว่าขณะนี้แม้พูดเรื่องเห็นเกิดดับแน่นอน
ทุกคนรู้ว่าเมื่อกี้นี้ เห็นเมื่อกี้นี้ไม่มีแล้วใช่ไหม แม้เห็นขณะนี้ก็เป็นขณะใหม่แต่ยังไม่ได้ประจักษ์ความจริง เพราะฉะนั้น เป็นขั้นการฟังไม่ใช่การรู้จริงๆ ในลักษณะของสภาพธรรม เพราะฉะนั้น จึงต่างกันเป็นปริยัติ ปฏิ ปัตติ และปฏิเวธ
เพราะฉะนั้น ถ้าไม่มีความเข้าใจจริงๆ จะไม่ถึงปฏิ ปัตติเลย เพราะคำว่าปฏิ ปัตติซึ่งคนไทยใช้คำว่าปฏิบัติมาจากคำภาษาบาลี ปฏิแปลว่าเฉพาะ ปัตติแปลว่าถึง
เพราะฉะนั้น ปฏิ ปัตติไม่ใช่แค่ฟังแต่ถึงเฉพาะลักษณะของสิ่งที่มีจริงเดี๋ยวนี้แต่ละหนึ่งด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง เพราะฉะนั้น พระโยคาวจร และหมายความถึงผู้ที่มีความเพียรที่จะรู้ความจริงตั้งแต่ขั้นฟัง แล้วก็เป็นผู้ตรงด้วยเพียงฟังยังไม่ได้เริ่มรู้ลักษณะของสภาพธรรม
เพราะฉะนั้น ก็มีความเพียรที่จะรู้ว่าสิ่งนี้มีจริง วันหนึ่งต้องรู้ได้ เพราะมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระสาวกเป็นพยาน ว่าท่านเหล่านั้นได้รู้แล้วได้ประจักษ์ความจริงนี้แล้ว แต่ไม่ใช่โดยง่ายเลย ถ้าฟังประวัติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องบำเพ็ญพระบารมีนานเท่าไหร่ พระปัจเจกพุทธเจ้านานเท่าไหร่ พระสาวกแต่ละท่านนานเท่าไหร่
เพราะฉะนั้น ไม่ใช่เรื่องท้อถอย แต่เป็นเรื่องด้วยสิ่งที่มีจริงรู้ได้ แค่นี้ก็สบายใจแล้วใช่ไหม รู้ได้ไม่ใช่รู้ไม่ได้แต่รู้ได้เมื่อไหร่ เมื่อเข้าใจขึ้นต้องตรงด้วย ปฏิเสธไม่ได้เลย
เพราะฉะนั้น ผู้ที่มีความเพียรยังไม่ถึงการที่มรรคทั้ง ๘ องค์จะเกิดขึ้นพร้อมกันแต่บำเพ็ญเพียรเพื่อมรรคทั้ง ๘ จะได้เกิดขึ้นพร้อมกันในขณะโลกุตระจิต
เพราะฉะนั้น ระหว่างที่ยังไม่ใช่มรรคมีองค์ ๘ วิรตีเจตสิก ๓ ก็จะเกิดขึ้นได้เพียงแต่ครั้งละ ๑ ขณะไม่ใช่ว่าเกิดได้พร้อมกันทั้ง ๓ เพราะฉะนั้น ต้องเข้าใจความหมายของผู้กำลังบำเพ็ญความเพียรเมื่อโลกุตตรจิตยังไม่เกิด
เพราะฉะนั้น ขณะนั้นจะมีทั้ง ๘ องค์ยังไม่ได้ แต่เพียรเพื่อให้มีทั้ง ๘ องค์ครบ
ผู้ฟัง พระธรรมเป็นเรื่องที่มีสาระที่เราควรจะต้องฟังต่อเนื่อง เพราะเรายังไม่รู้เลยว่าพรุ่งนี้เราจะแขนขาดีอยู่หรือเปล่า พรุ่งนี้เรายังจะมีชีวิตหรือลมหายใจอยู่ ณตรงนี้หรือเปล่า
ท่านอาจารย์ ก็ขออนุโมทนา ในการที่ได้ฟังพระธรรมจนกระทั่งมีความเข้าใจเพิ่มขึ้น แต่ว่าข้อสำคัญที่สุดต้องเป็นผู้ที่ตรง ธรรมไม่ใช่ของใคร แน่นอนใช่ไหม ไม่ใช่ของดิฉันหรือไม่ใช่ของใคร
แต่ว่าพระธรรมมาจากไหน มาจากพระปัญญาคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น คำจริง คำตรง คำถูกทั้งหมด เกิดจากปัญญาของผู้ที่ทรงตรัสรู้ จะกล่าวว่าบางครั้งพระพุทธเจ้าเป็นเจ้าของพระธรรมก็ต้องหมายความว่าไม่ใช่เป็นเจ้าของอย่างชาวโลกคิด เจ้าของที่ครอบครองเป็นของพระองค์ไม่ใช่ของคนอื่นแต่ว่าในฐานะที่ได้ทรงตรัสรู้
เพราะฉะนั้น พระธรรมทั้งหมดทุกคำมาจากพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาคุณ คำจริงทั้งหมดเป็นคำของพระองค์ไม่ใช่คำของคนหนึ่งคนใดเลย
เพราะฉะนั้น การฟังธรรมก็จะทำให้รู้ว่า สิ่งใดถูกต้อง สิ่งใดเป็นคำจริงคำนั้นมาจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหมดเลย เราก็จะไม่สับสนว่าคนไม่พูดแล้วคนนั้นพูด คนนี้พูดอย่างนี้คนนั้นพูดอย่างนี้
ใครพูดอะไรก็ได้เป็นคำของเขาแต่คำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องมาจากพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาคุณ ถ้าอย่างนี้เราก็จะเป็นผู้ที่เข้าใจถูกต้อง ยิ่งศึกษายิ่งรู้ว่าทุกอย่างเป็นสิ่งที่มีจริง ซึ่งไม่อยู่ในอำนาจของใคร เกิดแล้วก็ดับไปไม่ใช่ของใคร และก็ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่มีใครสามารถบันดาลให้เกิดขึ้น แต่ทั้งหมดที่เกิดในเป็นแต่ละหนึ่งจะเป็นสองไม่ได้เลยสักอย่างเดียว
แม้แต่เสียงจบแล้วเป็นแต่ละหนึ่ง เสียงใหม่เกิดใหม่ไม่ใช่เสียงเก่า
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1861
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1862
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1863
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1864
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1865
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1866
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1867
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1868
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1869
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1870
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1871
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1872
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1873
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1874
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1875
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1876
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1877
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1878
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1879
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1880
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1881
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1882
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1883
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1884
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1885
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1886
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1887
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1888
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1889
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1890
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1891
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1892
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1893
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1894
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1895
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1896
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1897
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1898
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1899
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1900
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1901
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1902
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1903
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1904
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1905
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1906
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1907
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1908
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1909
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1910
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1911
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1912
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1913
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1914
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1915
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1916
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1917
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1918
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1919
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1920