ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1919
ตอนที่ ๑๙๑๙
สนทนาธรรม ที่ โรงแรมดิอิมพีเรียล จ.เชียงใหม่
วันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
ท่านอาจารย์ สิ่งที่มีจริงขณะนี้ต้องรู้ได้แน่ เพราะมีจริง ถ้าสิ่งที่ไม่จริงยังไงๆ ก็รู้ไม่ได้เพราะไม่มีจะให้รู้ใช่ไหม แต่ถ้าจะรู้ความจริง จะไปรู้ความจริงของอะไร ก็ต้องสิ่งที่มีจริงๆ ที่กำลังมีนี่แหละให้รู้
เพราะฉะนั้น สิ่งที่มีจริงแต่ละขณะที่มีจริงๆ ตั้งแต่เกิดจนตายไม่รู้ตลอด กี่ภพกี่ชาติก็ไม่รู้ ยังไม่ตื่นเพราะไม่รู้ความจริงจนกว่ารู้ความจริงเมื่อไหร่เมื่อนั้นจึงมีพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ตั้งแต่เริ่มเข้าใจขั้นฟังซึ่งเป็นปริยัติ รอบรู้ในพระพุทธพจน์เพื่อที่จะได้เข้าใจว่า สิ่งที่มีจริงขณะนี้ถ้าไม่รู้ก็ไม่มีอะไรที่จะต้องรู้ได้เลยเพราะว่าไม่มี
ด้วยเหตุนี้เมื่อมีความเข้าใจขึ้นมั่นคงสัจจญาณในพระธรรมที่ได้ทรงแสดงกับพระปัญจวัคคีย์ก็กล่าวถึงสัจจญาณปัญญาที่รู้ความจริงคือสิ่งที่กำลังมี โดยปริยัติคือคำสอนที่ได้ทรงแสดงไว้โดยละเอียดเป็นปัจจัยให้เกิดปฏิ ปัตติ ในภาษบาลี
คนไทยก็ใช้คำว่าปฏิบัติแต่ไม่เข้าใจอะไรเลย คนไทยใช้คำภาษาบาลีผิดๆ ถูกๆ บางคำออกเสียงก็ไม่ถูก แล้วก็เข้าใจไม่ถูกด้วยเพราะว่าไม่ได้ศึกษาอย่างคำว่ารูปธรรม หมายความว่าอะไร หรือว่าพูดก็ไม่รู้ แต่ว่าพูดไปแล้ว พูดตามๆ กันมาแต่ไม่รู้ว่าอะไร เพราะฉะนั้น ถ้าไม่มีการศึกษาพระธรรมจริงๆ จะใช่คำไม่ถูกต้อง และก็เข้าใจผิดด้วย
ด้วยเหตุนี้เมื่อได้ยินเพียงคำว่าปฏิบัติ คนไทยคิดว่าทำ แต่ภาษาบาลีไม่ใช่อย่างนั้นเลยหมายความถึงปัญญาอีกระดับหนึ่งจากการฟังแล้วเข้าใจ ถ้าไม่มีการฟังเข้าใจจะไม่ถึงการปฏิบัติ
ปฏิ ปัตติถึงเฉพาะด้วยปัญญาที่เริ่มเห็นถูกต้องในสิ่งที่มีจริงๆ แต่ละหนึ่ง จนกว่าจะมีความรู้ชัดประจักษ์แจ้งขั้นปฏิเวธ หมายความว่าหมดความสงสัยในสิ่งที่ได้ยินได้ฟังว่าตรงตามที่ได้ยินได้ฟังตั้งแต่ต้น
เพราะฉะนั้น แม้แต่ธรรมก็คือเดี๋ยวนี้เอง ถ้ามีการเข้าใจถูกต้องเพิ่มขึ้น จะมีปัญญาอีกระดับหนึ่งในขณะที่กำลังฟังนี่ก็ได้หรือขณะไหนก็ได้เมื่อปัญญานั้นถึงความสมบูรณ์ก็จะเป็นกิจญาณ จากสัจจญาณคือปฏิ ปัตติถึงเฉพาะลักษณะของสภาพธรรมในขณะไหนก็ได้โดยความเป็นอนัตตา
เพราะฉะนั้น ต้องเข้าใจความหมายของคำว่าปฏิบัติในภาษาไทยซึ่งตรงกับคำว่าปฏิ ปัตติแต่ว่าไม่ได้มีความเข้าใจที่ถูกต้อง
ผู้ฟัง เท่าที่ทราบมาอย่างเข้าสมาธิมากๆ ถึงขั้นที่เขาเรียกว่าฌานก็อาจจะทำให้สามารถที่จะ ลดละกิเลสได้แต่เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก
ท่านอาจารย์ ที่ว่านี่จะลดละกิเลสด้วยการทำสมาธิ โดยการทำยังไงถึงจะลดละกิเลส
ผู้ฟัง ไม่ทราบ
ท่านอาจารย์ ไม่ทราบก็คือว่าไม่ได้ทำ ไม่ได้ละกิเลส
ผู้ฟัง ไม่ทราบตัวเอง แต่ตามที่เรียนมา ว่าถ้าสามารถสมาธิได้ถึงขั้นฌานก็อาจจะขาดสามารถที่จะเปลี่ยนจาก..
ท่านอาจารย์ พูดทุกคำได้แต่ฌานคืออะไร
ผู้ฟัง เท่าที่เข้าใจก็คือเป็นขั้นหนึ่งของการทำสมาธินี่แหละ
ท่านอาจารย์ แต่สมาธิไม่ใช่ความสงบ
ผู้ฟัง ไม่ใช่หรือ
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่สมาธิเป็นสภาพที่ตั้งมั่นเท่านั้น
เพราะฉะนั้น จึงมีอกุศลสมาธิมิจฉาสมาธิด้วย
ผู้ฟัง มิจฉาสมาธินี่ใจก็ไม่สงบหรือ
ท่านอาจารย์ มิจฉาแล้วสงบไม่ได้เลยเป็นอกุศลด้วย
เพราะฉะนั้น จิตตั้งมั่นในอารมณ์ขณะใด แต่ละหนึ่งขณะเพราะมีสภาพธรรมที่เกิดกับจิตคือเจตสิกหนึ่ง ซึ่งเป็นสภาพที่ตั้งมั่นในอารมณ์
เพราะฉะนั้น จิตหนึ่งขณะจะรู้อารมณ์เดียวเพราะสภาพเจตสิกนั้นตั้งมั่นเฉพาะอารมณ์ที่จิตรู้ เพราะฉะนั้น เกิดกับจิตทุกขณะ เกิดกับอกุศลจิตเกิดกับกุศลจิต เกิดกับกิริยาจิต เกิดกับโลกุตตรจิต
ไม่ว่าจิตเกิดขณะใดต้องมีลักษณะของสภาพธรรมซึ่งเป็นนามธรรมซึ่งใช้คำว่าเจตสิกก็เกิดกับจิตเกิดในจิตทุกขณะประเภทหนึ่งคือ เอกัคตาเจตสิกเป็นสภาพที่ตั้งมั่นในอารมณ์
เพราะฉะนั้น อกุศลสมาธิมีมิจฉาสมาธิ มีใครจะยินดีปฏิบัติบ้าง ใครจะไปฝึกบ้าง ไม่ต้องฝึกก็มี
ขณะใดก็ตามที่เป็นอกุศลขณะนั้นไม่สงบ แน่นอน มีอหิริกะ อโนตตัปปะ อุจธัจจะสภาพที่ไม่สงบเกิดร่วมด้วย
อ.คำปั่น กราบอาจารย์ชาติจะมั่นคงได้อย่างไร
ท่านอาจารย์ แล้วประเทศคืออะไร ก็จะต้องมีคำถามไปเรื่อยๆ ใช่ไหม เพราะว่าก็ได้ยินทั้งประเทศ และชาติด้วยบางทีก็เรียกรวมกันว่าประเทศชาติ
เพราะฉะนั้น ประเทศคืออะไร ชาติคืออะไร
ประเทศคือถิ่นที่อยู่ใช่ไหม เราอยู่ที่ไหนกันมากๆ รวมกันแล้วก็เรียกว่าเป็นประเทศนั้นประเทศนี้เช่นประเทศไทยก็คนไทยนี่แหละอยู่ที่นี่รวมกันใช่ไหม
แล้วก็ชาติคืออะไรถ้ามีแต่พื้นดินแผ่นดินไม่มีคนอาศัยอยู่เลยมีชาติไหม หรือว่ามีแต่ดินแดงภูมิประเทศซึ่งเป็นประเทศเท่านั้น
เพราะฉะนั้น ชาติก็หมายความถึงคน ซึ่งอาศัยอยู่รวมๆ กันก็เป็นเชื้อชาติเดียวกันอยู่ในถิ่นเดียวกัน
เพราะฉะนั้น การที่ถิ่นนั้นจะมีความสุขที่มั่นคงมีความสงบที่มั่นคง ก็เพราะคนดี อันนี้เป็นสิ่งที่แน่นอน และคนก็คือความดีถ้าเป็นสิ่งที่เป็นโลภะ โทสะ โมหะหรือสิ่งใดๆ ที่ไม่ดี พฤติกรรมทั้งหลายก็มาจากความไม่ดี เพราะฉะนั้น มั่นคงได้ยังไง แต่ว่าถ้ามีความมั่นคงจริงๆ ทุกคน
น้ำหนึ่งใจเดียวที่จะเป็นคนดี และก็รู้ได้ว่าดีเท่าไหร่พอไหม หรือว่าถ้าเป็นคนที่มีความเข้าใจจริงๆ ก็รู้ว่าดีเท่าไหร่ก็ไม่พอตราบใดที่ยังมีกิเลสมีความไม่รู้เป็นคนดีได้ จริงแต่ก็ไม่นานเพราะเหตุว่ายังมีกิเลสอยู่ และกิเลสก็มีทั้งตั้งแต่ยังไม่มาก จนกระทั่งถึงอย่างที่เป็นอันตราย
เพราะฉะนั้น ทางที่ทุกคนจะอยู่ด้วยกันด้วยความสุขสงบ และมั่นคงไม่เบียดเบียนกันไม่มีความเดือดร้อนก็คือว่าเป็นคนดีแต่จะเป็นคนดียิ่งขึ้นเมื่อมีความเห็นถูกความเข้าใจถูกโดยศึกษาพระธรรม เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นได้ว่าถ้าขาดธรรมขาดความเข้าใจ ขาดคุณธรรมหลักธรรมที่ไหนก็ไม่สงบ และก็ไม่มั่นคงด้วย
ทุกวันก็จะมีเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งก็เกิดจากอกุศลทั้งนั้น ที่เกิดจากกุศลที่จะเดือดร้อนไม่มีเลย
อ.คำปั่น เพราะฉะนั้นชาติคืออะไร
ชาติก็คือประชาชนถ้าไม่มีประชาชนก็ไม่มีชาติ เรามีผืนแผ่นดินเป็นที่อาศัยของคนที่เกิดมาแล้วก็อาศัยอยู่ในถิ่นเดียวกันเป็นเชื้อชาติเดียวกัน ซึ่งก็ต้องกล่าวถึงความเกิดขึ้นเป็นไปของสภาพธรรมใช่ไหม
ก็ไม่พ้นไปจากความเกิดขึ้นเป็นไปของธรรมที่เป็นนามธรรมแล้วก็รูปธรรม และที่ท่านอาจารย์ได้กล่าวถึงว่าชาติมั่นคงได้ก็ด้วยคุณความดี คุณความดีของทุกคนที่รวมกันจะทำให้ชาติมั่นคงได้
กราบอาจารย์ การเป็นคนดีก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ถ้าหากว่าไม่มีหลักธรรมไม่มีคุณธรรมไม่มีความเข้าใจที่ถูกต้องแล้วก็เป็นคนดีไม่ได้เลย
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น มีแต่ชาติไม่มีหลักคุณธรรมไม่มีศาสนาไม่มีคำสอนที่ถูกต้องที่ทำให้ละอกุศล และก็เจริญกุศลยิ่งขึ้น ก็ไม่มั่นคง
ผู้ฟัง ที่พระพุทธเจ้าท่านทรงสอนเรื่องความอดทนนี้ในเชิงอรรถไม่ทราบว่ามีความลึกซึ้งละเอียดอย่างไรบ้าง
ท่านอาจารย์ อดทนอื่นนี่อดทนได้แน่ๆ สารพัดแต่สิ่งซึ่งอดทนยาก คืออดทนที่จะเผากิเลส เผาคือไม่ให้เกิดอีกเลยไม่ใช่เพียงแต่นิดๆ หน่อยๆ เข้าใจว่าไม่มีกิเลสแล้ว
แต่ความจริงกิเลสจะหมดสิ้นไปได้ด้วยปัญญาความเห็นความเข้าใจที่ถูกต้องเท่านั้นถ้าไม่มีความเข้าใจที่ถูกต้อง ขณะนั้นก็เต็มไปด้วยความไม่รู้ และก็ความติดข้องซึ่งจะเอาอะไรไปเผาได้ ไฟก็เผาไม่ได้แต่ต้องเป็นปัญญาความเห็นจริงๆ ที่ตรงตามความเป็นจริงๆ ที่ตรงตามความเป็นจริง
เพราะฉะนั้น ความอดทนที่จะเผากิเลสเพราะรู้ว่ากิเลสมีมากแล้ว ก็เพิ่มขึ้นทุกวัน เมื่อกี้นี้เพิ่มกิเลสแล้วหรือยัง เพิ่มแล้วมากขึ้นอีกแล้ว เพราะฉะนั้นกว่าจะ มีปัญญาเพราะปัญญาอย่างเดียวที่สามารถที่จะเผาคือทำให้ดับสิ้นไม่เกิดอีกเลย
เพราะว่าคำสอนง่ายๆ ธรรมดาเหมือนกับว่าถ้าโกรธก็นับ ๑ ถึง๑๐ แล้วจะไปดับกิเลสอะไรเดี๋ยวก็โกรธอีก หยุดไปเพียงนิดเดียวอาจจะไม่หยุดเลยก็ได้แล้วก็เกิดอีก
เพราะฉะนั้น ตราบใดที่ยังมีเชื้อของอกุศลธรรมใดๆ อกุศลธรรมเหล่านั้นก็ต้องเกิด เพราะฉะนั้นปัญญาสามารถที่จะถึงการดับกิเลสหมดด้วยความอดทนอย่างยิ่ง ยิ่งกว่าอย่างอื่น
ผู้ฟัง ขอบพระคุณ
อ.คำปั่น เพราะฉะนั้น ในเรื่องความอดทนก็เป็นธรรมฝ่ายดีที่ควรมี ควรอบรม
กราบท่านอาจารย์ ในบางนัยที่ท่านแสดงถึงความอดทนก็แสดงถึงว่าเมื่อเขาโกรธไม่โกรธตอบ เมื่อเขาด่าไม่ด่าตอบเหมือนเป็นชีวิตประจำวันที่สามารถที่จะพอที่จะเข้าใจได้
ท่านอาจารย์ แล้วใครที่เป็นอย่างนั้น ถ้าเป็นอย่างนั้นได้จริง ไม่มีการด่าตอบเลย
ด่าก็ไม่มีใช่ไหม เพราะฉะนั้น คงจะได้ยินคำว่าขันติเป็นตบะอย่างยิ่งขันติก็คือความอดทนตบะก็คือธรรมที่เผาให้หมดสิ้นเลย ขันติเป็นตบะอย่างยิ่งคือรู้ว่ายังมีกิเลส แล้วจะหมดได้จริงๆ ต่อเมื่อมีความเข้าใจ
ไม่ต้องกังวลเลย ถ้ามีความเข้าใจขณะใด ขณะนั้นไม่มีความเห็นผิด ทีละเล็กทีละน้อยจนกว่าจะหมด
อ.คำปั่น ในบางครั้งที่สนทนาในเรื่องของความอดทน
ท่านอาจารย์ก็จะยกตัวอย่างในเรื่องของขณะนี้ด้วยว่าขณะนี้มีความอดทนมากน้อยแค่ไหนในการที่จะฟังที่จะศึกษาให้เข้าใจในสิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อนว่าเป็นธรรม
ท่านอาจารย์ เห็นเป็นธรรมหรือเปล่า เป็นเราเห็นหรือเปล่า ตรง ใครรู้ว่าเห็นไม่ใช่เราบ้าง ใครรู้ว่าเห็นเกิดแล้วดับไปจึงไม่ใช่เราแน่นอน
เกิดแล้วดับ แล้วไม่กลับมาอีกเลยเราจะเหลืออยู่ที่ไหนมันนั่งอยู่ตรงนี้ได้ยังไง แล้วก็จะเห็นต่อไปได้ยังไง
เพราะฉะนั้น ตราบใดที่ยังไม่รู้ความจริงว่าเผากิเลสไหน ที่กำลังยึดถือเห็นว่าเป็นเรานี่แหละ ที่กำลังได้ยิน และไม่รู้ความจริง และก็ยึดถือว่าเราได้ยินนี่แหละ
เพราะฉะนั้น ตราบใดที่ยังคงไม่รู้ก็ยังคงเป็นเราเห็นไปเรื่อยๆ เราได้ยินเราโกรธเราเสียใจ เราดีใจ ทุกอย่างเป็นเราถูกหรือผิด
เพราะฉะนั้น เมื่อรู้อยู่แล้วว่าผิดแล้วทำไมไม่ทำให้ถูกต้องหรือว่าเข้าใจให้ถูกต้องเสียโดยการที่ฟังแล้วก็รู้ว่าไม่มีใครสามารถจะไปทำอะไรกิเลสได้เลย ยิ่งอยากทำยิ่งเพิ่มกิเลสเพราะความอยากนั้นก็เป็นกิเลสแล้วนนอกจากมีความเห็นถูก
ปัญญาอย่างเดียวซึ่งอาศัยการฟังเข้าใจขึ้น พระธรรมที่ทรงแสดง ๔๕ พรรษาแต่ละหนึ่งคำมีความลึกซึ้งมาก เพราะฉะนั้น แต่ละคนก็มีการสะสมมามีฉันทะมีอัธยาศัยที่ต่างๆ กันนานาความคิดนานาความเห็นน
เพราะฉะนั้น เวลาที่เราพบกันได้สนทนากัน ถ้าเป็นขณะที่เหมือนกับจะใช้คำว่าแบ่งปันแต่ว่าแบ่งปันสิ่งที่มีคือความเข้าใจถูกความเห็นถูกซึ่งต่างคนก็ต่างได้ยินได้ฟังมาจะถูกผิดมากน้อยต่างกัน และก็ควรที่จะได้สนทนากัน
เพราะฉะนั้น พอได้ยินคำว่าสมาธิก่อนอื่นคืออะไรต้องรู้จักก่อน
ผู้ฟัง ก็คืออารมณ์ที่ตั้งมั่น
ท่านอาจารย์ อารมณ์คืออะไร คนที่นั่งข้างๆ อารมณ์ดีไหม
ผู้ฟัง อารมณ์ดี
ท่านอาจารย์ ทำไมว่าเขาอารมณ์ดี เห็นเขาอารมณ์ดี เห็นเขายิ้ม เพราะฉะนั้น หมายความว่าไม่รู้จักคำว่าอารมณ์
คนไทยใช้คำว่าอารมณ์หรือว่าใช้คำเยอะแยะค่ะเหมือนกับว่าเข้าใจแล้วแต่ความจริงไม่มีทางจะเข้าใจเลยก็เห็นว่าอารมณ์มาจากคำภาษาบาลี
ภาษาบาลี อารัมมณะแต่คนไทย และชอบตัดสั้นๆ พูดถึงเขายาวๆ คงกลัวว่าจะเสียเวลา สู้พูดสั้นๆ พอเข้าใจไม่ได้ เช่นคำว่า โอบ้าง อะไรบ้างก็แล้วแต่ที่คิดว่าแค่นั้นก็พอแล้ว
เพราะฉะนั้น อารัมมณะไม่พูด พูดคำว่าอารมณ์ก็เลยเข้าใจผิด คิดว่าคนนั้นอารมณ์ดียิ้มแย้มแจ่มใส แต่ว่าอารมณ์จริงๆ ก็คือว่าจิตเป็นธาตุรู้เกิดขึ้นต้องรู้
น่าอัศจรรย์ที่ว่าไม่มีใครสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีจริงให้เป็นอื่นใดไม่ได้มีแต่รูปธรรมคือสิ่งที่มีจริงแต่ไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลย สีเสียงกลิ่นรสพวกนี้ไม่ใช่ว่าไม่มี
มีแต่ไม่สามารถจะรู้อะไรได้ ไม่โกรธไม่เห็นไม่คิด แต่ว่าทำไมมีเสียงกำลังปรากฏเดี๋ยวนี้ให้รู้ว่าเสียงมี เพราะมีธาตุรู้ซึ่งไม่ใช่เสียง เสียงเป็นเสียงแต่เสียงไม่ปรากฏแน่ ถ้าไม่มีธาตุที่กำลังได้ยิน เราใช้คำว่าได้ยิน หมายความว่ารู้เฉพาะเสียงที่ปรากฏไม่ใช่เสียงอื่น
เพราะฉะนั้น จิต เราใช้คำนี้แทนคำว่าธาตุรู้เพราะว่าคนไทยชินกับคำว่าจิต ชินกับคำว่าใจแต่ไม่รู้ว่าจิตใจคืออะไรชินหมดทุกคำ พูดตลอดชีวิตแต่ก็ไม่รู้ว่าคืออะไร
เพราะฉะนั้น จิตแท้ที่จริงก็คือธาตุที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้ว่าสิ่งที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้เป็นอย่างนี้ไม่เป็นอีก เช่นขณะนี้ที่กำลังเห็นเป็นอย่างนี้ไม่เป็น แต่พอหมดออกไปจากที่นี่แล้วลองนึกถึงสิ่งที่กำลังเห็นขณะนี้นึกได้ชัดเจนเหมือนเห็นไหม
ผู้ฟัง นึกได้
ท่านอาจารย์ เหมือนเห็นไหม
ผู้ฟัง คิดว่าไม่ชัดไม่เหมือน
ท่านอาจารย์ ไม่เหมือน เพราะฉะนั้น ก็เห็นความต่างแล้วใช่ไหม ว่าขณะนี้มีสิ่งที่ปรากฏให้เห็นจริงๆ ไม่ให้เป็นอย่างนี้ก็ไม่ได้ต้องเป็นอย่างนี้ และเปลี่ยนใหม่ได้ด้วย
เพราะฉะนั้น เมื่อจิตเป็นธาตุรู้เกิดขึ้นรู้ต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ จิตเกิดขึ้นรู้โดยไม่มีสิ่งที่ถูกรู้ได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ไม่ได้ เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจิตธาตุรู้เกิดขึ้นเมื่อไหร่ขณะไหนต้องมีสิ่งที่ถูกจิตนั้นรู้
สิ่งที่ถูกจิตนั้นรู้ใช้คำว่าอารัมมณะ พระสัมมาสัมเจ้าทรงแสดงว่าพอพูดถึงอารัมมณะหมายความถึงสิ่งที่จิตกำลังรู้สิ่งนั้นหรือสิ่งนั้นเฉพาะสิ่งนั้นเท่านั้นที่ถูกจิตรู้ เช่นเสียงปรากฏเมื่อไหร่แสดงว่าจิตเป็นธาตุที่เกิดขึ้นได้ยินเสียงนั้น จึงรู้ว่าเสียงนั้นเป็นอย่างนั้นไม่เป็นเสียงอื่น
เพราะฉะนั้น จะมีจิตโดยไม่มีอารมณ์ไม่ได้ แต่เสียงเกิดขึ้นโดยจิตไม่รู้ได้ไหม
ผู้ฟัง เสียงเกิดขึ้นโดยจิตไม่รู้ได้ไหม ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ไม่ได้หรือเสียงนอกถนน กลางถนนนอกห้องก็มีทั้งๆ ที่จิตไม่รู้ เพราะฉะนั้น มีคำว่าสัททะในภาษาบาลี ภาษาไทยใช้คำว่าเสียง เพราะฉะนั้นภาษาบาลีใช้คำว่าสัททารมณ์เป็นคำรวมของคำสองคำ คือเสียง ๑ กับอารมณ์คือสิ่งที่จิตรู้ ๑
เพราะฉะนั้น สัททารมณ์หมายความถึงเสียงที่จิตกำลังรู้เท่านั้น ไม่ได้หมายความถึงเสียงอื่นเลย เพราะฉะนั้น ภาษาไทยก็คือจิตเกิดขึ้นได้ยินเสียงเฉพาะเสียงที่จิตได้ยินเป็นอารมณ์ของจิต
เพราะฉะนั้น วันนี้อารมณ์ดีไหม
ผู้ฟัง อารมณ์ดี เป็นบางช่วง
ท่านอาจารย์ หมายความว่าไง อารมณ์ดี
ผู้ฟัง ก็คือจิตรู้ว่าดี
ท่านอาจารย์ นี่คือธรรม เข้าใจได้แต่ต้องไตร่ตรองนิดหน่อย และก็ไม่ลืมว่าคำใดที่ได้ยินคำนั้นเปลี่ยนไม่ได้
พระพุทธพจน์เป็นหนึ่งไม่เป็นสอง คือจากการที่ทรงตรัสรู้ความจริงเป็นอย่างนั้น จะเปลี่ยนความจริงนั้นให้เป็นอื่นได้ยังไง
เพราะฉะนั้น เวลาที่ใช้คำว่าวันนี้อารมณ์ดี ถ้าไม่ศึกษาเราก็รู้ว่าคนนี้ยิ้มแย้มแจ่มใส ไม่เห็นร้องไห้ เวลาเขาร้องไห้เราบอกว่าอารมณ์ดีหรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่ใช่
ท่านอาจารย์ ไม่ดี แต่ทำไมเขาร้องไห้ เห็นไหมขณะใดก็ตามที่เห็นสิ่งที่ไม่น่าพอใจ ยิ้มไหม
ผู้ฟัง ไม่ยิ้ม
ท่านอาจารย์ ไม่ยิ้มอารมณ์ไม่ดีใช่ไหม ภาษาไทยใช้คำว่าอารมณ์ไม่ดีแต่หมายความว่า ขณะนั้น จิตกำลังรู้สิ่งที่ไม่น่าพอใจ เห็นซากศพเลือดหนองพวกนี้ อารมณ์ดีไหม
ผู้ฟัง ไม่ดี
ท่านอาจารย์ ไม่ดี เมื่อจิตรู้สิ่งที่ไม่ดี ก็ทำให้ความรู้สึกซึ่งเป็นสภาพธรรมที่ไม่ใช้จิตแต่เกิดกับจิต เกิดพร้อมจิตทุกขณะไม่ว่าจิตรู้อะไรขณะนั้นต้องมีธาตุหรือธรรมอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดกับจิตเท่านั้น เกิดในจิตด้วย ไม่ สามารถที่จะแยกออกไปจากจิตได้เลยใช้คำว่าเจ ตะ สิ กะ หรือภาษาไทยก็ตัดเหลือแค่เจตสิก มีทั้งหมด ๕๒ ประเภท
ความรู้สึก ไม่ใช่จิตเลยแต่เกิดกับจิตทุกครั้งที่จิตรู้อะไรจะต้องมีความรู้สึกในสิ่งนั้น ถ้าเสียงที่เพราะขณะนั้นสบายใจใช่ไหม ความรู้สึกเพลิดเพลินหรือมีความสุข ขณะนั้นไม่ใช่จิต
แต่ถ้าจิตไม่ได้ยินเสียงนั้น เจตสิกที่รู้สึกเพลินพอใจเป็นสุขในอารมณ์นั้นก็มีไม่ได้
เพราะฉะนั้น จิตไม่ใช่เจตสิกแต่จิตเกิดพร้อมเจตสิก ทั้งจิต และเจตสิกรู้อารมณ์เดียวกัน แยกกันไม่ได้เลยใช่ไหม
แต่หน้าที่ต่างกัน คือจิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการใช้คำว่ารู้แจ้ง คือไม่ทำหน้าที่อื่นเลยแต่สามารถที่จะรู้ชัดในลักษณะที่ต่างๆ หลากหลายของอารมณ์
จำเสียงคนได้ไหม เพื่อนทั้งหลายแต่ละคนๆ เสียงไม่เหมือนกันใช่ไหม ถ้าจิตไม่เกิดขึ้นรู้ความต่างของเสียงนั้นๆ จะไม่มีสภาพธรรมที่จำเฉพาะเสียงนั้น
อีกเจตสิกหนึ่งคือสภาพที่จำมีจริงๆ ไม่ใช่เราคือทั้งหมดเป็นธรรมซึ่งไม่ใช่เรา และไม่ใช่ของเรา เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยแต่เพราะไม่รู้จึงหลงเข้าใจว่าเป็นเราตลอดตั้งแต่เกิดจนตาย เพราะฉะนั้น พระธรรมที่ทรงแสดงเป็นที่พึ่งให้รู้ความจริงให้เข้าใจถูก
ซึ่งเมื่อเข้าใจถูกมากขึ้นการยึดมั่นน้อยลง สิ่งนั้นต้องเกิดตามเหตุตามปัจจัยไม่ให้เกิดก็ไม่ได้ จะให้เป็นอย่างที่ต้องการก็ไม่ได้ เมื่อรู้ว่าบังคับบัญชาไม่ได้จะเดือดร้อนไหม และสิ่งนั้นก็ไม่เที่ยงด้วยเกิดขึ้นแสนสั้นชั่วคราวถ้าประจักษ์ความจริงจริงๆ เหมือนเพียงปรากฏก็ดับแล้วไม่นานเลยเหมือนเดี๋ยวนี้
ได้ยินแล้ว ดับแล้วเสียงหมดแล้วไม่นานเลย เพราะฉะนั้น แต่ละอย่าง สั้นกว่าที่คิดแม้แต่ที่ว่าเสียงไม่นานเลย พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้ว่า ขณะนั้นที่ได้ยินมี ก็มีความเป็นกุศลหรืออกุศลในเสียงนั้นแล้ว เร็วขนาดนั้นนี่คือได้เริ่มรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งอยู่แสนไกลโดยพระปัญญาคุณกับผู้ที่ยังไม่มีความเข้าใจอะไรเลยทั้งสิ้นแต่เริ่มรู้แล้วว่ามีผู้ที่ตรัสรู้จริงๆ และทุกคำต้องชัดเจน และทุกคำต้องเข้าใจว่าเป็นธรรมแต่ละหนึ่ง เพราะว่าเกิดจริงๆ มีจริงๆ ปรากฏแล้วก็ดับไป
ใครจะสามารถที่ทำให้เราเข้าใจถูกต้องในความเป็นธรรมซึ่งไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยงแล้วก็ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาได้ ถ้ามีความรู้อย่างนี้จริงๆ จะเดือดร้อนไหม
ผู้ฟัง หมายถึงรู้ว่า.
ท่านอาจารย์ รู้อย่างนี้จริงๆ ว่าไม่ใช่เราสุขเกิดขึ้นดับแล้ว ความเจ็บความปวดทุกคนมี ตั้งแต่เด็กมามีใครบ้างไม่เจ็บไม่ป่วย มีทั้งนั้น แล้วอยู่ไหนเดี๋ยวนี้ไม่เหลือเลย เมื่อกี้นี้รับประทานอาหารอร่อยไหม
ผู้ฟัง อร่อย
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้ยังอร่อยไหม
ผู้ฟัง ตอนนี้ไม่ได้ทานก็ไม่อร่อย
ท่านอาจารย์ นี่คือความจริงชั่วคราวใช่ไหมสำคัญมากเลยเวลารับประทาน แล้วเดี๋ยวนี้ จำได้ พรุ่งนี้ แสวงหาอีกเอาอย่างที่ชอบๆ ใช่ไหม
ก็คือไม่ได้เข้าใจอะไรว่าชีวิตแท้ที่จริงแล้วคืออะไรเกิดมาไม่เป็นเราจริงๆ จะเดือดร้อนมากอย่างที่ไม่เคยรู้ไหม ใช่ไหม
เพราะฉะนั้น หนทางเดียวก็คือว่าศึกษาพระธรรม มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ไม่ใช่มีคนอื่นเป็นที่พึ่ง เพราะฉะนั้น คำใดก็ตามที่เป็นคำจริง ใครพูดไม่สำคัญเลยเพราะคำนั้นทุกคำมาจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเขาคิดเองไม่ได้ เขารู้ไม่ได้ โลกเป็นอย่างนี้มานานแสนนานไม่ว่าโลกจะแตกทำลายแล้วเกิดใหม่อีกยังไงก็ตาม ก็ไม่พ้นจากสภาพที่มีจริงๆ ซึ่งเป็นธาตุรู้ และธาตุที่ไม่รู้อะไรเลยแล้วก็ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาแต่ก็ไม่ สามารถที่จะเข้าใจได้ด้วยตัวเองจนกว่าได้ฟังพระธรรม
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1861
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1862
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1863
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1864
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1865
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1866
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1867
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1868
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1869
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1870
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1871
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1872
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1873
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1874
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1875
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1876
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1877
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1878
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1879
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1880
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1881
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1882
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1883
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1884
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1885
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1886
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1887
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1888
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1889
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1890
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1891
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1892
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1893
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1894
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1895
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1896
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1897
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1898
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1899
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1900
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1901
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1902
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1903
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1904
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1905
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1906
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1907
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1908
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1909
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1910
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1911
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1912
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1913
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1914
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1915
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1916
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1917
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1918
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1919
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1920