โสภณธรรม ครั้งที่ 139
ตอนที่ ๑๓๙
ท่านอาจารย์ ที่จริงการปล่อยสัตว์ คือ การเจริญเมตตา เพราะฉะนั้นเราต้องรู้ว่า เราเป็นคนที่ขาดเมตตาหรือมีเมตตา แต่ไม่ใช่หมายความว่า เราจะปล่อยเฉพาะควาย หรือวัว หรือปลา แต่เรายังคงมีความโกรธอยู่มากๆ เราไม่เมตตาคนอื่นเลย เรายังมีคนที่เรามองในแง่ร้าย หรือว่าเป็นศัตรูอยู่ ซึ่งจริงๆ แล้ว มันไม่ได้ไปกระทบกระเทือนคนที่เรามองเขาเลย ใจของเราต่างหากที่เป็นอกุศลที่หนาและสะสมมาเรื่อยๆ และไม่มีวันจะหมดไปได้ ถ้าเราไม่เห็นโทษของกิเลสนั้น เพราะฉะนั้นถ้าเราเห็นโทษจริงๆ เราเจริญเมตตาเสียอย่างเดียวเท่านั้น กุศลทั้งหลายจะเจริญขึ้นมาก
คนที่มีเมตตา เห็นคนที่จะถูกฆ่าตาย จะเป็นสัตว์ตัวไหนก็ช่วยได้ โดยที่ไม่ต้องเลือกด้วยว่า จะเป็นควาย หรือจะเป็นนก หรือจะเป็นปู หรือจะเป็นปลา หรือจะเป็นแมงดา หรืออะไรก็แล้วแต่
ศุกล อย่างคู่กรณีเขาได้ทำทรัพย์สินของเราให้เสียหาย แล้วคนในคณะล้มตายไปด้วย เมื่อเขามาพูดดีด้วย ด้วยความโกรธ ก็เลยเมตตาไม่ได้
ท่านอาจารย์ คนที่ตายนั้นกรรมของใคร และคนที่เจ็บนั้นกรรมของใคร ค่อยๆ อบรมไป กิเลสนี่มาก และถ้าเราปล่อยไว้มันก็หนา ทั้งๆ ที่เรานี่สติปัฏฐานก็เกิดน้อยก็ตามแต่ แต่เราก็รู้ว่าอะไรควร อะไรไม่ควร แล้วเราเริ่มขัดเกลา โยนิโสมนสิการ ไม่ใช่เราจะไปทำ แต่หมายความว่า ฟัง แล้วความเข้าใจเป็นการชี้แล้วว่า อะไรควร อะไรไม่ควร นั่นคือปัญญา
เพราะฉะนั้นปัญญาก็มีหน้าที่เข้าใจ อะไรถูก อะไรผิด นี่ปัญญา อะไรดี อะไรชั่ว นี่เป็นปัญญา อะไรควร อะไรไม่ควร นี่เป็นปัญญา ถ้าเราจะไปโกรธเขา แล้วเขาบอกว่าควรโกรธ ไม่ใช่โยนิโส ความโกรธไม่ได้มีประโยชน์อะไรกับใครเลย ไม่อย่างนั้นเราจะเรียนทำไมในเรื่องเหตุเรื่องผล เรื่องสภาพธรรม เรื่องจิต เรื่องเจตสิก อกุศลธรรมมีกี่ชนิด เป็นเหตุมี ๑๒ ดวง เป็นผลมีกี่ดวง เกิดขึ้นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เราเรียนเพื่อเราจะเข้าใจให้ถูกต้อง ไม่ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น เรารู้ได้เลยว่า จิตที่เป็นกุศล จะต่างกับจิตที่เป็นอกุศล หน้ามือเป็นหลังมือเลยจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ใดๆ ทั้งสิ้น เวลาที่กุศลจิตเกิดจะไม่เป็นอย่างนั้นเลย จะมีการให้อภัย มีความเห็นใจ มีการช่วยเหลือ เขาเป็นใครก็ตามแต่ เขาก็มีอกุศลจิต เราก็มีอกุศลจิต ถ้าใครยังโกรธใครอยู่ หรือไม่ชอบใครก็ตาม ขอให้คิดเสียว่า เราจะเห็นเขาเป็นครั้งสุดท้าย แล้วก็จะไม่เห็นกันอีก เพราะฉะนั้นจะทำอะไร เมื่อเป็นการเห็นครั้งสุดท้ายกันแล้ว จะทำดีหรือจะทำชั่วต่อกัน
ศุกล ผมคิดได้ทีหลัง แต่ตอนแรกโกรธ แล้วเสียใจด้วยว่าไม่ควรโกรธ
ท่านอาจารย์ เพราะว่าไม่มั่นคงในกรรม ถ้ามั่นคงในกรรมแล้ว เรื่องกรรมของเขา เขาก็ต้องมีแน่ๆ วิบากของเขา เขาก็ต้องได้รับแน่ๆ และอกุศลของเขาก็มี ของเราก็มี เราก็มีหน้าที่อย่างเดียวที่เกิดมาในโลกนี้ คือเพียรละอกุศลของเรา ไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยวกับอกุศลของคนอื่น
ศุกล เรื่องราวเข้าใจได้ แต่ทำจริงๆ ไม่ได้
ท่านอาจารย์ พระพุทธศาสนาถึงใช้คำว่า “อบรม” หรือ “ภาวนา” นี่คือความหมายของภาวนา ไม่ใช่ไปนั่งหลับตา แต่ว่าอบรมจนสภาพของจิตที่ดีอย่างนี้จะค่อยๆ เกิดขึ้น และจะต้องอบรมต่อไปจนกระทั่งสภาพของจิตที่ประกอบด้วยปัญญาที่รู้สัจจธรรม จะค่อยๆ เกิดขึ้น คิดถึงความหมายของคำว่า “อบรม” ก็แล้วกัน เด็กเกิดมาเราต้องอบรมเท่าไร กว่าจะมีกิริยามารยาท มีจิตใจที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เป็นปีๆ เป็นชาติๆ เพราะฉะนั้นการเจริญกุศลก็ต้องอบรม ไม่อย่างนั้นในพระพุทธศาสนาจะไม่มีคำว่าอบรมเลย ไม่มีคำว่าภาวนา เพื่อให้กุศลที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น เพื่อให้กุศลที่เกิดแล้วเจริญขึ้น เพื่อให้อกุศลที่กำลังมี หมดไป เพื่อให้อกุศลที่จะเกิดไม่เกิด นี่คือการอบรม
คุณหญิงณพรัตน์ แล้วที่เขาโกงอยู่ทุกวันๆ จะทำอย่างไร
ท่านอาจารย์ เรื่องโกงเป็นเรื่องของเขา จิตใจของเขา เรื่องใจของเรา เรามีหน้าที่เจริญกุศล คือ เราอาจจะปฏิบัติต่อเราที่ถูกที่ควร แต่ไม่ใช่ด้วยความโกรธ ด้วยความมีเหตุมีผลและด้วยเมตตา คือสงสารในความโกงของเขา ที่เขาจะต้องเป็นคนโกงไปอีกไม่รู้กี่ชาติ แต่เรามีสิทธิที่จะยับยั้งไม่ให้เขาโกงเราได้ เพื่อที่ว่าเขาเองก็จะไม่ทำอกุศลกรรม และเขาเองก็รู้ว่า เรารู้ แต่ว่าเรารู้แล้วเราก็ไม่โกรธ เพราะเรามีหน้าที่ที่จะขัดเกลากิเลสของเรา แต่ว่าเรายับยั้งเขา โดยไม่ให้เขาทำอกุศลต่อไป ไม่ใช่ปล่อยให้เขาโกงต่อไป แต่ยับยั้งไม่ให้เขาโกง และเราช่วยให้เขาลดอกุศลลงไปด้วย โดยการที่ไม่ให้เขาโกงต่อไป
ศุกล ในขณะที่เป็นผู้เริ่มอบรมเจริญสติปัฏฐาน ส่วนมากมักจะพิจารณาว่า มีลักษณะ ๒ อย่าง คือ สิ่งที่ปรากฏเป็นรูป และก็รู้เป็นนาม ก็มุ่งจะพิจารณาแต่สิ่งที่ปรากฏเป็นรูปอยู่ตลอดเวลา จากคำพูดของคุณอลันบอกว่า แม้แต่นามก็ต้องมีการสังเกตพิจารณาบ่อยๆ อันนี้ผมยังไม่เข้าใจจุดประสงค์ที่ว่า แม้แต่นามก็ควรมีการพิจารณาบ่อยๆ
ท่านอาจารย์ คือเวลานี้ตั้งแต่เกิดจนตาย เรามีสิ่งที่กำลังปรากฏ แล้วมันก็เปลี่ยนไปเรื่อย อย่างเห็นก็เป็นสิ่งที่ปรากฏ เสียงก็เป็นสิ่งที่ปรากฏ แข็งก็เป็นสิ่งที่ปรากฏ แต่ตัวจิตซึ่งมีตั้งแต่เกิดจนตาย ซึ่งเป็นสภาพรู้ ไม่เคยระลึก เพราะฉะนั้นก็เป็นจิตที่รู้สิ่งที่ปรากฏทีละอย่าง อย่างทางตา กำลังเห็น เป็นจิตชนิดหนึ่ง พอทางหูที่กำลังได้ยิน เราลองทิ้งไม่สนใจทางตา มาสนใจเสียงทางหู ก็รู้ว่า มีจิตที่กำลังได้ยินเสียง
เพราะฉะนั้นตัวจิตซึ่งเป็นสภาพรู้ เขารู้สิ่งที่ปรากฏ เปลี่ยนๆ ๆ ๆ ไปเรื่อยๆ สนิทจนไม่รู้เลยว่า สภาพรู้นี่มี ทั้งๆ ที่ถ้าไม่มีสภาพรู้ คือ จิตเกิด จะไม่มีเรานั่งอยู่ที่นี่เลย
เพราะฉะนั้นก็จะต้องสังเกตพิจารณาระลึกได้ว่า อาการรู้ในขณะที่กำลังเห็น เป็นสิ่งที่มีจริง แล้วก็เห็นอยู่ คือเป็นเพียงอาการรู้สิ่งที่ปรากฏทางตา ก็ต้องพูดซ้ำไปซ้ำมาอย่างนี้ เปลี่ยนไม่ได้ เพราะของจริงก็อย่างนี้ จนกว่าสติจะระลึกได้ แล้วก็ค่อยๆ คลายการที่จะไม่รู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม
ศุกล ก่อนหน้านั้นผมไม่คำนึงในเรื่องของนามเลย มุ่งจะให้รู้ลักษณะของรูป ทางตา มีสี ทางหู มีเสียง จะมุ่งไปที่ลักษณะของสี และลักษณะของเสียง แต่ขาดการพิจารณาจิตที่รู้เสียงและรู้สี ความจริงแล้วต้องรู้ทั้ง ๒ ลักษณะ ตอนแรกก็คิดว่า รู้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะให้ทั่วแล้วเป็นวิปัสสนาญาณ คราวนี้มาฟังคุณอลันพูด ก็รู้ว่าต้องสังเกตทั้งนามทั้งรูป แล้วแต่อะไรจะเป็นอารมณ์ของสติ ทีนี้โอกาสที่จะเป็นวิปัสสนาญาณก็ช้าไปอีก
ท่านอาจารย์ คือเวลาที่เราจะไม่ท้อ เพราะเรารู้ว่าเป็นเรื่องของปัญญา ไม่ใช่เป็นเรื่องที่เราจะเอาอะไร เพราะฉะนั้นที่แล้วๆ มาแล้วทั้งหมดในสังสารวัฏฏ์ เป็นเรื่องของอวิชชา ไม่ใช่วิชชา ไม่ใช่ปัญญา คือเรื่องไม่รู้ เวลาที่ไม่ได้ฟังพระธรรมเป็นเรื่องไม่รู้ทั้งหมด
ทีนี้เมื่อฟังแล้ว ก็มีความรู้ถึง ๓ ขั้น คือ ขั้นฟังแล้วเข้าใจ หมายความว่าขณะที่ฟังจะต้องพิจารณาด้วยแล้วเข้าใจ เป็นปัญญาที่เกิดจากการฟัง ยังไม่พอ ปัญญาต้องสำเร็จจากการพิจารณาสิ่งที่เคยได้ยินแล้ว อย่างนี้ก็ยังไม่ใช่ภาวนามยปัญญาที่จะต้องอบรมอีกขั้นหนึ่ง นี่ถ้าเราเข้าใจว่าเป็นเรื่องของปัญญาจริงๆ เราจะท้อทำไม ไม่ใช่เรื่องท้อ เป็นเรื่องอบรม เป็นเรื่องที่เราเป็นคนตรง ปัญญาของเรารู้ขั้นไหน แล้วขั้นไหนกำลังค่อยๆ ศึกษาไป ค่อยๆ อบรมเจริญไป นิดหนึ่งที่ปัญญาเกิดขึ้นพร้อมสติที่ระลึกรู้ในอาการรู้ ก็เป็นสิ่งที่ดีแล้ว ทำไมเราจะท้อ เพราะฉะนั้นเรื่องของความท้อทั้งหมด เป็นเรื่องของอวิชชาและตัณหาแทรกเข้ามาอย่างเร็วที่สุด ไม่ว่าคนจะศึกษามากศึกษาน้อยอย่างไร ถ้าเกิดมีความท้อใจขึ้นมา ให้รู้ได้เลยว่า เขาหวังอะไร เขาไม่ได้ต้องการหรือเข้าใจเรื่องของปัญญาที่จะต้องอบรม แต่ถ้ารู้ว่าเป็นเรื่องเข้าใจ ไม่ท้อเลย เข้าใจแค่นี้ ต่อไปก็เข้าใจอีก ก็เข้าใจอีก มีสิ่งที่จะให้เราเข้าใจอยู่เรื่อยๆ ถ้าเป็นปัญญาก็ค่อยๆ เริ่มจะเข้าใจ แล้วก็ค่อยๆ ไป เริ่มจากเข้าใจ ค่อยๆ เข้าใจขึ้น ทางตาเข้าใจขึ้น
เป็นเรื่องที่เราจะเข้าใจปรมัตถธรรมที่เราเรียน เข้าใจขึ้นๆ ๆ เอาความเข้าใจ นั่นคือตัวปัญญา จะเป็นขั้นไหนก็ตามแต่ แต่ไม่ใช่เรื่องทำหรือเรื่องอื่น เรื่องเข้าใจจริงๆ
คุณหญิง มันท้อใจและแข้งขาอ่อน เป็นอาการแสดงออก
ท่านอาจารย์ คือขณะนั้นสภาพธรรมเป็นอย่างนั้นเกิดขึ้นก็เป็นอย่างนั้น แต่ขณะนี้ไม่เป็นอย่างนั้น ก็เป็นสภาพธรรมอีกอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้นสภาพธรรมทุกอย่างแม้แต่ความแห้งใจ เมื่อมีเหตุปัจจัยก็เกิด เวลาที่โลภะเกิด สนุกสนาน ก็เป็นสภาพอย่างหนึ่ง เวลาที่โทสะเกิดแห้งใจ ก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง
เพราะฉะนั้นทุกๆ วัน นี่ก็คือสภาพธรรมแต่ละอย่างเท่านั้นเอง ที่เราจะต้องคลายความเป็นตัวออกไปจากสภาพพวกนี้ เวลาสภาพธรรมพวกนี้เกิด ปัญญาเกิดก็คือคลายความยึดถือว่าเป็นตัวตน เพราะรู้ว่ากำลังเป็นเพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ไปเรื่อยๆ อย่างนี้ทีละเล็กทีละน้อยจริงๆ
สมจิต เป็นกรรมของเราด้วยใช่ไหม ที่จะต้องรู้สึกอย่างนั้น
ท่านอาจารย์ เป็นกิเลส
สมจิต เรามีปัจจัยทำให้แห้งใจ เพราะอะไรจึงทำให้เราต้องแห้งใจ
ท่านอาจารย์ ก็กิเลสของเรา ถ้าพระอรหันต์ท่านได้ยิน ท่านสบายมาก ท่านไม่แห้งใจเลย เพราะท่านไม่มีกิเลส
คำว่า “ปัจจัย” ไม่พ้นจากจิต เจตสิก รูป แต่เราเป็นคนมีโลภะ เห็นอะไรก็อยากได้ๆ ๆ พอเราเป็นคนมีโทสะ สะสมความไม่ชอบ พอเห็นคนนี้เราก็ไม่ชอบ เห็นคนนั้นเราก็ไม่ชอบ เห็นคนโน้นเราก็ไม่ชอบ เพราะเราสะสมโทสะ เป็นปัจจัย เพราะฉะนั้นมีเรื่องต้องขัดเกลามากใช่ไหม เกิดมาแล้วได้ขัดไปหน่อยก็ยังดี แล้วก็เจริญปัญญาขึ้นทุกภพทุกชาติจะน้อยจะมาก เราก็รู้ตัวเราเอง
ผู้ฟัง ...วันนี้ก็สอนตัวเองว่า จะไม่กินเหล้า วันพรุ่งนี้ก็เอาอีกแล้ว หรือวันนี้ฉันจะไม่โกรธ วันพรุ่งนี้ก็โกรธอีกแล้ว ก็เอาของเก่ามาปฏิบัติกันอยู่ซ้ำๆ ซากๆ ...
ท่านอาจารย์ อริยสัจจ์ไม่ง่ายอย่างที่เข้าใจ เป็นสัจจธรรมที่ทำให้ผู้ประจักษ์แจ้งเป็นพระอริยบุคคล แม้แต่อริยสัจจะที่ ๑ คือ ทุกขอริยสัจจะ ถ้าจะพูดว่า เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นทุกข์ ก็ไม่ผิด แต่ว่าอะไรเกิด อะไรตาย เราใช่ไหม ถ้ายังเป็นเราอยู่ก็คือความเห็นผิด การไม่ได้ประจักษ์แจ้งในลักษณะของนามธรรมแต่ละประเภท ซึ่งเกิดแล้วก็ดับไปอย่างรวดเร็ว จึงทำให้ลวงและหลงว่า ยังมีอยู่ ยังเป็นเราอยู่ แต่แท้ที่จริงแล้ว จิตเมื่อวานนี้ดับหมดแล้ว จิตเมื่อกี้นี้ก็ดับหมดแล้ว
ผู้ฟัง ผู้ทีสำเร็จพระอรหันต์ ท่านก็ไม่คิดอะไรเลย เข้าใจว่าอย่างนั้น ไม่ทราบว่าจะถูกผิดอย่างไร
ท่านอาจารย์ คือการที่จะเป็นพระอรหันต์เป็นด้วยปัญญา การที่จะเป็นพระโสดาบันก็เป็นด้วยปัญญา เพราะฉะนั้นเราจะต้องรู้จริงๆ ว่า ปัญญารู้อะไร ที่ว่าเป็นปัญญานั้นต้องเป็นสภาพที่รู้แจ้ง ประจักษ์แจ้ง ไม่ใช่เพียงขั้นคิด หรือไม่ใช่เพียงขั้นฟัง อย่างบอกว่าจิตขณะนี้เกิดดับ พอที่จะพิจารณาว่าเป็นความจริงอย่างนั้นหรือเปล่า ขั้นฟังกับขั้นคิด จิตดับจริงๆ หรือเปล่า หรือว่าพูดกันเอาเองว่า จิตเกิดดับ
ผู้ฟัง ...
ท่านอาจารย์ พระธรรมที่ทรงแสดงไว้มีทั้งหมด ๓ ปิฎก ถ้าไม่เห็นประโยชน์จะไม่ทรงแสดง คำตรัสของพระผู้มีพระภาค ถ้าคำนั้นเป็นคำจริง ไพเราะ แต่ไม่มีประโยชน์ ก็ไม่ตรัส ถ้าคำนั้นเป็นคำที่ไพเราะ จริงและมีประโยชน์ จึงตรัส เพราะฉะนั้นคำใดที่ไม่จริง เป็นอันว่าไม่ต้องพูดถึง แต่ว่าถ้าเป็นคำจริงแม้ว่าไม่ไพเราะ แต่ว่ามีประโยชน์ก็ยังตรัส
เพราะฉะนั้นพระธรรมที่ทรงแสดงไว้ทั้ง ๓ ปิฎก แสดงให้เห็นคุณค่าว่า เพราะเหตุว่าจึงทรงพระมหากรุณาแสดงพระธรรมถึง ๔๕ พรรษา อย่างละเอียด ซึ่งพระวินัยก็เป็นเรื่องของบรรพชิตส่วนใหญ่ เป็นเพศที่ขัดเกลากิเลสมากกว่าคฤหัสถ์ ส่วนพระสูตรก็เป็นเรื่องของสภาพธรรมที่ทรงแสดงกับบุคคลต่างๆ เป็นเครื่องประกอบให้รู้ว่า พระธรรมเทศนาแล้วแต่อัธยาศัยของบุคคลว่า เมื่อบุคคลสะสมมาที่จะได้ฟังพระธรรมข้อนี้ เขาสะสมมาที่จะเข้าใจ ก็ทรงแสดงตามอัธยาศัยเฉพาะสำหรับแต่ละบุคคล
สำหรับอีกส่วนหนึ่งของพระไตรปิฎก คือ พระอภิธรรม อภิ หมายถึงละเอียดยิ่ง เพื่อที่จะอนุเคราะห์คนที่ฟังสั้นๆ ปัญญาก็ไม่เกิด ไม่เหมือนกับว่า พอกำลังฟังอยู่ พอจบเทศนาก็เป็นพระโสดาบัน หรือเป็นพระอรหันต์ อย่างท่านท่านพระสารีบุตรก็ฟังท่านพระอัสชิเพียงย่อๆ คาถาสั้นๆ ท่านก็เป็นพระโสดาบัน เพราะท่านเป็นพระอัครสาวก เพราะฉะนั้นเราไม่ต้องพูดถึงวัน กับเดือนที่เรามีโอกาสได้ฟังพระธรรม แต่ว่าผู้ที่ฟังมาเป็นกัปป์ๆ ก็ลองคิดดูว่า ขณะนี้พระอภิธรรมที่ทรงแสดงธรรมโดยละเอียด เรื่องของจิตแต่ละชนิด ให้เห็นว่าไม่ใช่จิตขณะเดียวในวันหนึ่งๆ จะต้องมีจิตเกิดดับหลายประเภท หลายชนิด และถ้าไม่ประจักษ์แจ้งว่าจิตเกิดดับ จะทรงแสดงอย่างนี้ได้หรือ ว่าขณะนี้นามธรรมคือจิตกำลังเกิดดับอยู่ทุกขณะ และจิตขณะหนึ่งจะประกอบด้วยเจตสิกกี่ประเภท อะไรบ้าง ถ้าไม่ประจักษ์แจ้งแทงตลอดจริงๆ ก็ทรงแสดงไม่ได้
เพราะฉะนั้นเหตุที่ทรงแสดงเรื่องจิตก็ดี เรื่องเจตสิกก็ดี เรื่องรูปก็ดี โดยละเอียดยิบที่สุด ที่บุคคลอื่นไม่สามารถจะแสดงได้ ก็เพื่ออนุเคราะห์ให้คนฟังเห็นความจริงว่า เป็นอนัตตา เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย แล้วก็ดับไป แม้ว่าจะยังไม่ประจักษ์ แต่อาศัยการฟัง ก็ทำให้เพิ่มสติปัญญาค่อยๆ รู้ว่า พระปัญญาคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าคืออย่างไร พระมหากรุณาคุณคืออย่างไร
เพราะฉะนั้นไม่ใช่เรื่องวันสองวัน หรือไม่ใช่เรื่องที่จะข้ามความละเอียดไป แต่ว่าจะต้องเข้าใจจริงๆ โดยการฟังมากขึ้น เป็นเรื่องที่น่าศึกษา เพราะว่าจิตใจก็อยู่ที่เรานี่ เจตสิกต่างๆ โลภะ โทสะ โมหะก็อยู่ที่เรา แล้วทำไมเราไม่รู้ ทำไมเราไม่ควรจะรู้สิ่งต่างๆ เหล่านี้ แต่ว่าจะข้ามไปรู้สิ่งอื่น ซึ่งไม่มีประโยชน์เท่ากับรู้จักตัวเอง เพราะฉะนั้นผู้ที่จะปฏิบัติธรรม ต้องเห็นโทษของกิเลส จะต้องรู้ว่าตัวเองยังไม่ดี เพื่อที่จะละคลายความไม่ดีนั้น แล้วก็เพิ่มความดีขึ้น แต่ถ้าใครคิดว่าดีมากแล้ว คนนั้นจะไม่ต้องฟังพระธรรมเลย เพราะเหตุว่าดีแล้ว แต่ผู้ที่รู้จักตัวเองตามความเป็นจริงว่า ดีเท่าไรก็ยังไม่พอ ผู้นั้นก็มีโอกาสที่จะเจริญกุศลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ผู้ฟัง ...
ท่านอาจารย์ หมายความว่า ปัญญามีหลายขั้น ขั้นฟังเข้าใจยังดับกิเลสไม่ได้เลย และเราก็พิสูจน์ความจริงด้วยว่า ขั้นเข้าใจนี่เป็นปัญญาระดับที่อ่อนมาก แต่ว่าเป็นพื้นฐานที่จะทำให้ปัญญาที่เข้าใจนั้นเจริญขึ้น ถูกต้องขึ้น คือไม่ผิดทาง คือไม่ไปทำอย่างอื่น นอกจากจะศึกษาให้เข้าใจแล้วรู้
ถาม ...
ท่านอาจารย์ แต่เราใช้ของจริงในชีวิตประจำวัน ดีกว่าไปทำขึ้นมาเหมือนเห็น แต่ไม่จริง อย่างถ้ามีคนบอกว่า มีดวงแก้วที่ตรงกลางตัว จะเป็นความจริงไปได้อย่างไร ขณะนี้เมื่อไม่มี แต่มีแข็ง อะไรจะให้ความจริงกับเราได้มากกว่ากัน มีเห็น มีได้ยิน มีโลภะ มีโทสะ ของจริง อันนี้จะให้ความจริงได้มากกว่าที่จะต้องไปทำเห็นขึ้นมา ทั้งๆ ที่ไม่มี แต่ไปหลอกตัวเองว่าเห็น โดยต้องทำขึ้น แต่ได้ยินนี่ไม่ต้องทำ มีปัจจัยปรุงแต่งเกิดแล้วก็ดับ เห็นนี่ก็ไม่ต้องทำ ไม่มีใครทำได้ มีปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดเห็น เห็นจริงๆ แล้วก็ดับ
ผู้ฟัง ผมถึงบอกว่า ลืมตาอยู่ยังไม่เห็น แล้วไปหลับตาจะเห็นอะไร
ถาม ...
ท่านอาจารย์ กิเลสของเราพอใจอะไร เราต้องรู้ว่า กิเลสพอใจในสิ่งที่เราเห็น เพราะฉะนั้นการที่เราจะดับกิเลสได้ เราก็ต้องรู้ความจริงในสิ่งที่ปรากฏทางตา ที่เราเคยพอใจว่า เป็นสิ่งที่ปรากฏเมื่อเรามีตา แล้วมองเห็นเป็นสีต่างๆ เท่านั้นเอง
เรานี่ฉลาดหรือเปล่าที่พอใจสี สีเลอะๆ เทอะๆ สีเขียว สีแดง สีฟ้า สีสว่าง อะไรต่างๆ ก็ไปหลงติด อย่างคนที่เขาสะสมภาพเขียน เขาซื้อภาพเขียนราคาแพงๆ สีทั้งนั้น ใช่ไหม ที่บนกระดาษก็คือสี แต่ก็นำมาซึ่งความผูกพัน แล้วก็ราคาสูงตามความพอใจ เป็นเครื่องวัดโลภะของเราว่าเราติดในสีนั้นแค่ไหน เพราะฉะนั้นราคาของสิ่งต่างๆ ซึ่งเราสามารถจะซื้อหามาได้ สะท้อนถึงโลภะหรือความยึดมั่นในสิ่งนั้นของเรา ซึ่งเป็นแต่เพียงสีเท่านั้นเอง
ถาม ...
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นไม่ต้องไปมุมมืด ถ้าไปมุมมืดแล้วกลับมาอีกก็ยังคงชอบอยู่ จนกว่าจะอาจหาญที่จะเผชิญของจริง ที่จะค่อยๆ รู้ขึ้นจากการฟังพระธรรม ให้รู้ความจริงว่า เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏ แล้วเอาไปไม่ได้ คนที่สะสมภาพเขียนไว้มากๆ ก็ต้องจากภาพเขียนนั้นไป คือ ไม่มีสมบัติสิ่งใด สีต่างๆ นี่ไม่เป็นของใครเลย ใครจะรักเขาสักเท่าไร จะพอใจเขาสักเท่าไร เขาก็เกิดดับและแก่ชราไปตามลักษณะของเขา ทุกอย่าง เกิดแล้วก็ดับ ไม่มีใครพ้นความจริงอันนี้ไปได้ เป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา เปลี่ยนแปลงไม่ได้
อภิธรรม หมายถึงธรรมส่วนละเอียด คือ ตั้งแต่ศีรษะตลอดเท้า นามธรรมทุกประเภท รูปธรรมแต่ละชนิด ทำให้เราฉลาดที่จะรู้ว่า สิ่งที่เราไม่เคยรู้ แล้วก็หลงยึดถือว่าเป็นตัวตน เป็นร่างกายทั้งแท่ง แท้ที่จริงแล้วมีอากาศธาตุแทรกคั่นอยู่ พร้อมที่จะแตกสลายเป็นผงจุนละเอียดยิบเมื่อไรก็ได้
- โสภณธรรม ครั้งที่ 101
- โสภณธรรม ครั้งที่ 102
- โสภณธรรม ครั้งที่ 103
- โสภณธรรม ครั้งที่ 104
- โสภณธรรม ครั้งที่ 105
- โสภณธรรม ครั้งที่ 106
- โสภณธรรม ครั้งที่ 107
- โสภณธรรม ครั้งที่ 108
- โสภณธรรม ครั้งที่ 109
- โสภณธรรม ครั้งที่ 110
- โสภณธรรม ครั้งที่ 111
- โสภณธรรม ครั้งที่ 112
- โสภณธรรม ครั้งที่ 113
- โสภณธรรม ครั้งที่ 114
- โสภณธรรม ครั้งที่ 115
- โสภณธรรม ครั้งที่ 116
- โสภณธรรม ครั้งที่ 117
- โสภณธรรม ครั้งที่ 118
- โสภณธรรม ครั้งที่ 119
- โสภณธรรม ครั้งที่ 120
- โสภณธรรม ครั้งที่ 121
- โสภณธรรม ครั้งที่ 122
- โสภณธรรม ครั้งที่ 123
- โสภณธรรม ครั้งที่ 124
- โสภณธรรม ครั้งที่ 125
- โสภณธรรม ครั้งที่ 126
- โสภณธรรม ครั้งที่ 127
- โสภณธรรม ครั้งที่ 128
- โสภณธรรม ครั้งที่ 129
- โสภณธรรม ครั้งที่ 130
- โสภณธรรม ครั้งที่ 131
- โสภณธรรม ครั้งที่ 132
- โสภณธรรม ครั้งที่ 133
- โสภณธรรม ครั้งที่ 134
- โสภณธรรม ครั้งที่ 135
- โสภณธรรม ครั้งที่ 136
- โสภณธรรม ครั้งที่ 137
- โสภณธรรม ครั้งที่ 138
- โสภณธรรม ครั้งที่ 139
- โสภณธรรม ครั้งที่ 140
- โสภณธรรม ครั้งที่ 141
- โสภณธรรม ครั้งที่ 142
- โสภณธรรม ครั้งที่ 143
- โสภณธรรม ครั้งที่ 144
- โสภณธรรม ครั้งที่ 145
- โสภณธรรม ครั้งที่ 146
- โสภณธรรม ครั้งที่ 147
- โสภณธรรม ครั้งที่ 148
- โสภณธรรม ครั้งที่ 149
- โสภณธรรม ครั้งที่ 150
- โสภณธรรม ครั้งที่ 151
- โสภณธรรม ครั้งที่ 152
- โสภณธรรม ครั้งที่ 153
- โสภณธรรม ครั้งที่ 154
- โสภณธรรม ครั้งที่ 155
- โสภณธรรม ครั้งที่ 156
- โสภณธรรม ครั้งที่ 157
- โสภณธรรม ครั้งที่ 158
- โสภณธรรม ครั้งที่ 159
- โสภณธรรม ครั้งที่ 160