โสภณธรรม ครั้งที่ 144
ตอนที่ ๑๔๔
เพราะฉะนั้นก็จะมีประโยชน์มาก ถ้าจะได้พิจารณาเรื่องของวิถีจิตทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจเพิ่มขึ้น เพื่อที่จะได้รู้ว่า รูปที่คิดว่าเที่ยง หรือว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคล สิ่งหนึ่งสิ่งใดนั้น แท้ที่จริงแล้วสั้นแล้วก็เล็กน้อยยิ่งกว่าที่ใครจะคาดคะเนได้ นี่สำหรับทางหู เพราะฉะนั้นก็ขอให้ลองมาเทียบดูกับทางตาว่า จะต้องฟังเรื่องของรูปและวิถีจิตที่เกิดขึ้น เพื่อที่จะโน้มไปพิจารณาเห็นความเล็กน้อยของสภาพธรรมที่เพียงเกิดขึ้น ไม่ควรที่จะยึดถือว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคล ตัวตน
จักขุปสาทรูปที่อยู่ที่กลางตา ซึ่งทุกคนมีในขณะที่กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ ก็มีอายุ ๑๗ ขณะจิต รูปารมณ์ที่กระทบกับจักขุปสาทรูปก็มีอายุเพียง ๑๗ ขณะจิต สั้นเหลือเกิน เล็กน้อยมาก และกระทบกัน จึงเป็นปัจจัยให้การเห็นเกิดขึ้น แต่ลองพิจารณาถึงจักขุปสาทรูปในวันหนึ่งๆ ซึ่งเกิดเพราะกรรมเป็นสมุฏฐาน ขณะใดที่ไม่กระทบกับรูปารมณ์ ไม่มีการเห็น จักขุปสาทรูปเล็กๆ สั้นมาก ก็เกิดดับสืบต่อกันอยู่เรื่อยๆ ส่วนรูปารมณ์ คือ วัณณะที่เกิดร่วมกับมหาภูตรูป ก็เกิดดับมีอายุ ๑๗ ขณะ ไม่ว่าใครจะเห็นหรือไม่เห็น จะกระทบกับจักขุปสาท หรือไม่กระทบกับจักขุปสาท รูปารมณ์นั้นก็เกิดดับเป็นประจำอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้นช่วงขณะที่ทั้งจักขุปสาทและรูปารมณ์กระทบกันเท่านั้น ที่จะเป็นปัจจัยให้จิตเกิดขึ้น ที่สามารถจะขยายให้เห็นว่า เพียงชั่วขณะสั้นๆ นั้นมีจิตเกิดดับถึง ๑๗ ขณะ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า จิตต้องเกิดดับเร็วยิ่งกว่ารูป เพราะเหตุว่าช่วงขณะที่รูปสั้นๆ นิดหน่อย เกิดขึ้น ปรากฏแล้วดับนั้น จิตยังเกิดดับถึง ๑๗ ขณะ ที่ใดที่ไม่มีจักขุปสาทรูป ที่นั้นจะกระทบกับรูปารมณ์ไม่ได้ แม้ว่ารูปารมณ์เกิดดับ จักขุปสาทรูปเกิดดับ แต่ต้องอาศัยการกระทบกันของรูปารมณ์ และจักขุปสาท ซึ่งจะต้องกระทบกับภวังคจิต
นี่เป็นสิ่งซึ่งแม้ท่านที่ยังไม่ได้ศึกษาพระอภิธรรมถึงตอนนี้ ก็พอที่จะพิจารณาเข้าใจได้ ถ้ารู้ว่าชีวิตวันหนึ่งๆ แบ่งประเภทของจิตออกได้เป็น ๒ ประเภท คือ จิตที่เป็นวิถี และจิตที่ไม่ใช่วิถี
ถ้าใช้คำว่า “วิถีจิต” หมายถึงจิตที่อาศัยทางหนึ่งทางใดเกิดขึ้นรู้อารมณ์หนึ่งอารมณ์ใดใน ๖ ทาง เพราะเหตุว่าทางที่จิตจะเกิดขึ้นรู้อารมณ์ที่เป็นรูป มี ๕ ทาง คือ ทางตา เป็นทางที่จิตจะเกิดขึ้นเห็นสีต่างๆ ที่กระทบกับจักขุปสาทรูปที่ยังไม่ดับ ทางหู ก็คือจิตที่เกิดขึ้นได้ยินเสียงที่กระทบกับโสตปสาทรูปที่ยังไม่ดับ ทางจมูก ก็คือวิถีจิตที่เกิดขึ้นรู้กลิ่นที่กระทบกับจมูกที่ยังไม่ดับ ทางลิ้น ก็คือจิตที่เกิดขึ้นลิ้มรสที่กระทบกับชิวหาปสาทรูปที่ยังไม่ดับ ทางกาย ก็คือจิตที่เกิดขึ้น รู้เย็น หรือร้อน อ่อนหรือแข็ง ตึงหรือไหว ที่กระทบกับกายปสาทรูปที่ยังไม่ดับ ที่เน้นจุดนี้ก็เพื่อที่จะให้เห็นว่า ต้องเป็นรูปที่ยังไม่ดับทั้งจักขุปสาทรูปและอารมณ์ที่กระทบกับปสาทรูปนั้นๆ แล้วก็แสดงให้เห็นว่า ในขณะนี้เอง ที่จิตกำลังเกิดดับ ๑๗ ขณะ แล้วรูปๆ หนึ่งจึงจะดับไป
เพราะฉะนั้น ก่อนที่จะมีการเห็นทางตา มีการได้ยิน มีการได้กลิ่น มีการลิ้มรส มีการรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส มีการคิดนึก ก่อนวิถีจิตเหล่านี้ จิตต้องเป็นภวังค์ คือเป็นจิตประเภทที่ดำรงภพชาติ โดยที่ขณะนั้นไม่รู้อารมณ์หนึ่งอารมณ์ใดทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ คือ ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส และไม่คิดนึก
เพราะฉะนั้นก็แสดงให้เห็นว่า ถ้าแยกจิตเป็น ๒ ประเภท คงจะไม่ลืมว่า เป็นวิถีจิตประเภทหนึ่ง และจิตที่ไม่ใช่วิถีจำพวกหนึ่ง
มีข้อสงสัยไหมในตอนนี้ เรื่องจิตที่ไม่ใช่วิถีกับวิถีจิต
ถาม เวลานอนไม่หลับ เป็นลักษณะของฟุ้งซ่าน ใช่ไหม อย่างคิดไปเรื่อย คิดโน่นคิดนี่ ถูกไหม
ท่านอาจารย์ ขณะที่ไม่หลับ เป็นวิถีจิตทางหนึ่งทางใด แล้วแต่ว่าจะเป็นขณะที่เห็น เป็นวิถีจิตทางตา ต้องเห็นรูปที่ยังไม่ดับด้วย ขณะที่ได้ยินเสียงหนึ่งเสียงใด เป็นวิถีจิตทางหู
ผู้ฟัง อย่างถ้าเรานอนไม่หลับ หลับตาคิดโน่นคิดนี่
ท่านอาจารย์ ขณะนั้นจะเป็นทางไหน ต้องเป็นวิถีจิต ถ้ากำลังคิด เพราะฉะนั้นทางไหน
ผู้ฟัง ทางมโนทวาร
ท่านอาจารย์ ทางใจ มโนทวาร
ผู้ฟัง เป็นลักษณะของการฟุ้งซ่านใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ขณะนี้กำลังฟุ้งหรือเปล่า ทำไมไปคิดถึงตอนที่นอนละ จะนอนหรือไม่นอนก็ตามแต่ อกุศลจิตเกิดขึ้นขณะใด ขณะที่ไม่ใช่กุศล ขณะนั้นฟุ้งซ่านด้วยโลภะ หรือด้วยโทสะ
เพราะฉะนั้นก่อนอื่นขอทบทวนเรื่องวิถีจิตอีกครั้งหนึ่งว่า ขณะใดก็ตามที่ไม่รู้อารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย จิตเป็นอะไร
คำถามเปลี่ยนใหม่ คือ ขณะใดที่จิตไม่รู้อารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย จิตเป็นอะไร
เพราะว่ากำลังพูดถึงเรื่องมโนทวาร แต่ว่าอยากจะให้เข้าใจชัด เพราะว่าบางท่านรู้ชื่อตามหนังสือ แต่ไม่ได้พิจารณาสภาพของวิถีจิตจริงๆ ว่า มโนทวารขณะไหน และปัญจทวารขณะไหน
เพราะฉะนั้นตอบว่า ขณะที่จิตไม่รู้อารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ขณะนั้นเป็นจิตอะไร
มีจิต ๒ จำพวกใหญ่ คือ วิถีจิตและไม่ใช่วิถีจิต
ความหมายของวิถีจิต คือ จิตที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางหนึ่งทางใดใน ๖ ทาง คือ ถ้าเห็นก็อาศัยตา เป็นวิถีจิตที่รู้อารมณ์ทางตา ถ้าได้ยินต้องอาศัยหู จึงเป็นวิถีจิตทางหู เพราะเหตุว่าเกิดขึ้นรู้อารมณ์โดยต้องอาศัยหู จึงเป็นโสตทวารวิถีจิต ขณะใดที่กลิ่นกระทบจมูก และยังไม่ดับ จิตทั้งหมดที่เกิดขึ้น รู้กลิ่นที่ยังไม่ดับ เป็นวิถีจิตที่ต้องอาศัยฆานปสาทเป็นทวาร เพราะฉะนั้นจิตทั้งหมดนั้นเป็นฆานทวารวิถีจิต ทางลิ้น เวลารับประทานอาหารให้ทราบว่า ต้องอาศัยชิวหาปสาท รสจึงปรากฏได้ ถ้าชิวหาปสาทไม่มี จะไม่มีการลิ้มรส จะไม่มีจิตที่กำลังรู้รส จะไม่มีการชอบหรือไม่ชอบในรสนั้น เพราะเหตุว่ารสไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้นจิตทุกประเภทที่รู้รสที่ยังไม่ดับ เป็นชิวหาทวารวิถีจิต เพราะเหตุว่าต้องอาศัยชิวหาปสาทเป็นทวาร เป็นทางที่จะเกิดขึ้นรู้รสนั้น ทางกายก็มีกายปสาทซึมซาบอยู่ทั่วตัว แม้ในขณะนี้
พระธรรมนี่พิสูจน์ได้ ขณะนี้ถ้ามีแข็งปรากฏ ก็รู้ได้ว่าขณะนั้นต้องมีกายปสาท เพราะฉะนั้นจิตจึงอาศัยกายปสาท รู้แข็ง กายปสาทเองไม่รู้แข็ง แต่ขณะที่กำลังรู้แข็งขณะนี้เป็นจิตที่อาศัยกายปสาทเกิดขึ้นรู้รูปแข็งที่ยังไม่ดับ ถ้ารู้รูปใดที่ยังไม่ดับ ก็ต้องเป็นวิถีจิตทางทวารหนึ่งทวารใด คือ ทางตา หรือทางหู หรือทางจมูก หรือทางลิ้น หรือทางกาย
ถ้าเรื่องของปัญจทวารวิถีจิตเข้าใจชัดเจนแล้วก็จะต้องทราบว่า สำหรับมโนทวารวิถีจิตไม่ต้องอาศัยตา หู จมูก ลิ้น กาย แต่ว่าจิตนั้นเองอาศัยการเห็น การได้ยิน ที่เคยสะสมมาในวันหนึ่ง ในเดือนหนึ่ง ในปีหนึ่ง ในชาติหนึ่ง ทำให้ไหวตามอารมณ์ที่สะสมมา ที่เป็นปัจจัยให้จิตรู้อารมณ์นั้น โดยวิตกเจตสิกตรึกถึงอารมณ์นั้น ในขณะที่ไม่อาศัยตา หู จมูก ลิ้น กาย ถ้าเป็นวิถีจิตแล้วต้องเป็นมโนทวารวิถี
เพราะฉะนั้นในขณะที่นอนไม่หลับ ต้องเป็นจิตที่นอนไม่หลับ เป็นกุศลจิต หรือเป็นอกุศลจิต กำลังนอนไม่หลับ ถ้าเป็นกุศลจิตไม่เดือดร้อนเลย ขณะที่นอนไม่หลับแล้วเป็นกุศล จะไม่มีการเดือดร้อนเลย เพราะฉะนั้นใครก็ตาม มีเรื่องไม่หลับ ให้ทราบว่าขณะนั้นเพราะอกุศลจิตเกิดขึ้น ทำให้คิดไปต่างๆ ด้วยความรำคาญใจที่ไม่หลับ เปลี่ยนเป็นกุศลจะดีกว่าใช่ไหม ไม่หลับแล้วเป็นกุศล จะไม่เดือดร้อน แต่ขณะใดที่เดือดร้อนให้ทราบว่าเป็นอกุศล
ผู้ฟัง ขณะที่รำคาญก็เป็นโทสะ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ถูกต้องเปล่า ทางทวารไหน
ผู้ฟัง ทางมโนทวาร ส่วนมากลักษณะของฟุ้งซ่านจะเป็นลักษณะของโทสะหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ รำคาญใจ ไม่ชอบ สังเกตได้จากความรู้สึก ความรู้สึกที่ไม่สบายใจ ไม่เป็นสุขทั้งหมด เป็นสภาพของโทสะ
ผู้ฟัง แล้วฟุ้งซ่านเหมือนกันไหม
ท่านอาจารย์ ฟุ้งซ่านก็เป็นอกุศล อุทธัจจเจตสิกเกิดกับอกุศลจิตทุกประเภท
ผู้ฟัง ถ้าเรานอนไม่หลับ แต่รู้สึกเฉยๆ จะเป็นอย่างไร คือ คิดไปเรื่อยๆ แต่ไม่
ท่านอาจารย์ เป็นกุศลหรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่ใช่กุศลเปล่า
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่ใช่กุศล ก็ต้องเป็นอกุศล ถ้าเฉยๆ ขณะนั้นไม่ใช่โทสมูลจิต ต้องเป็นโลภมูลจิต หรือโมหมูลจิต
นี่เป็นความจำเป็นที่จะต้องรู้ความรู้สึกว่า ความรู้สึกประเภทใดเกิดกับจิตประเภทใด ถ้าเป็นความรู้สึกเฉยๆ เกิดกับอกุศลจิตได้ ๒ ประเภท คือ เกิดกับโมหมูลจิต หรือโลภมูลจิต
ผู้ฟัง ลักษณะของโมหะ รู้ได้อย่างไร ในเมื่อมันเฉยๆ ถ้าเผื่อเราจะพิจารณาสภาพธรรมที่ปรากฏ
ท่านอาจารย์ อยากรู้ลักษณะใช่ไหม
ผู้ฟัง ก็ไม่ต้องพิจารณาหรือ
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวเปล่า ถามว่า ต้องการรู้ลักษณะใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่เปล่า
ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นอวิชชาแล้วไม่รู้ ต้องเป็นปัญญาจึงจะรู้ เพราะฉะนั้นปัญญาที่ไม่ใช่สติปัฏฐานก็ไม่สามารถที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมได้ และถ้าเป็นสติปัฏฐาน เลือกไม่ได้ว่าอยากจะรู้ลักษณะของโมหะ เพราะเหตุว่าสติเป็นสภาพธรรมที่เป็นอนัตตา ขณะใดที่สติเกิด สติจะระลึกรู้ลักษณะของปรมัตถธรรมอย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งเลือกไม่ได้
ผู้ฟัง ก็มันกำลังฟุ้งซ่านอยู่ เราก็อยากจะระลึกให้รู้รูปนาม
ท่านอาจารย์ เป็นเรื่องของความอยาก เพราะฉะนั้นอกุศลไม่สามารถจะละคลายอกุศลได้ ยิ่งอยากก็ยิ่งยุ่ง
ผู้ฟัง อย่างนั้นเราก็ไม่ต้องรู้หรือ เพราะว่าอาจารย์บอกว่าต้องรู้..
ท่านอาจารย์ อบรมเจริญปัญญาเปล่า ไม่ใช่ว่าไม่ต้องรู้เปล่า อบรมเจริญปัญญาตั้งแต่ขั้นการฟังให้เข้าใจ
ผู้ฟัง ก็หนูพยายามพิจารณาลักษณะ มันไม่ปรากฏ
ท่านอาจารย์ ด้วยปัญญาหรือด้วยความเป็นตัวตน
ผู้ฟัง ด้วยความเป็นตัวตน
ท่านอาจารย์ ด้วยความเป็นตัวตน ตัวตนก็ไม่สามารถจะรู้ได้
ผู้ฟัง ก็จะพยายามทำให้เป็น
ท่านอาจารย์ พยายามด้วยความเป็นตัวตน ไม่ใช่ปัญญาเปล่า
ผู้ฟัง แล้วลักษณะเป็นอย่างไรที่ปรากฏ
ท่านอาจารย์ ตอบไม่ได้เลยถ้าไม่ใช่ปัญญาเปล่า ต้องฟังให้เข้าใจ แล้วสติปัฏฐานเกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม แล้วก็จะรู้ในสภาพที่เป็นนามธรรมหรือรูปธรรม แล้วจะละคลายความเป็นตัวตน นอนไม่หลับก็เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ทำไมเดือดร้อน เพราะความเป็นตัวตน เพราะฉะนั้นต้องละคลายความเป็นตัวตนเสียก่อน
ผู้ฟัง คืออยากจะรู้ลักษณะของนามธรรมที่ปรากฏ
ท่านอาจารย์ เปล่า อยากจะรู้ ก็ไม่มีหนทางจะรู้ ถ้าสติปัฏฐานไม่เกิด ไม่เจริญขึ้น
ผู้ฟัง ก็ต้องค่อยๆ พิจารณาไม่ใช่หรือ
ท่านอาจารย์ ต้องรู้ว่า อบรมเจริญปัญญาเปล่า เมื่อสติเกิดเมื่อไร เมื่อนั้นก็ศึกษาลักษณะที่เป็นนามธรรมหรือรูปธรรม จนกว่าจะค่อยๆ รู้ขึ้น
ผู้ฟัง คือต้องให้รู้เองหรือ
ท่านอาจารย์ ถ้าอยากรู้แล้วรู้ได้ วันนี้เป็นพระอรหันต์
ผู้ฟัง ศีล ๘ นี่ไม่ให้…
ท่านอาจารย์ อย่าเพิ่งถึงศีล ๘ ขอถามสักนิดหนึ่งว่า ขณะใดที่ไม่ใช่วิถีจิต ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ขณะนั้นเป็นจิตอะไร
นี่คือการที่จะต้องฟังพระธรรมให้เข้าใจ ไม่ใช่ฟังแล้วผ่านไป เวลานี้กำลังสนใจเรื่องวิถีจิต เพราะว่านอนไม่หลับ ยังยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน เพราะฉะนั้นถ้าศึกษาลักษณะของสภาพธรรมให้เข้าใจขึ้น ยังไม่ต้องถึงกับจะดับกิเลส หรือจะนอนหลับทุกวันด้วยความสุข แต่จะต้องเพิ่มความเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม เพราะฉะนั้นก็ต้องตอบคำถามนี้ก่อนว่า ขณะใดที่ไม่ใช่วิถีจิตทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย เป็นจิตอะไร
ถ้าพูดไปแล้ว ไม่สอบถาม จะไม่ทราบเลยว่า ท่านผู้ฟังรับฟังไปมากน้อยเท่าไร และก็มีการพิจารณาเข้าใจละเอียดมากน้อยเท่าไร เพราะฉะนั้นจะทราบได้ก็ด้วยการสอบถาม ก็ขอให้ท่านผู้ฟังท่านนี้เป็นตัวแทนของท่านผู้ฟังท่านอื่น แต่คงจะไม่แทนสำหรับทุกท่าน เพราะฉะนั้นคำตอบก็คงจะไม่เหมือนกัน แต่ถึงอย่างนั้นก็ขอได้ฟังคำตอบจากท่านผู้ฟังท่านหนึ่ง จะตอบว่าอย่างไร ให้ทุกคนได้เข้าใจไปพร้อมๆ กัน เพื่อที่จะละเอียดขึ้น ขณะใดที่ไม่ใช่วิถีจิตทางตา ไม่ใช่วิถีจิตทางหู ไม่ใช่วิถีจิตทางจมูก ไม่ใช่วิถีจิตทางลิ้น ไม่ใช่วิถีจิตทางกาย ขณะนั้นจิตเป็นอะไร
ผู้ฟัง เป็นวิถีจิตทางใจ
ท่านอาจารย์ เป็นวิถีจิตทางใจ หรือเป็นอะไร ถ้าเข้าใจแล้วจะตอบได้เลย ถ้าไม่ใช่วิถีจิตทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ก็เป็นวิถีจิตทางใจ หรือมิฉะนั้นก็เป็นอะไร
ผู้ฟัง มโนทวารวิถีจิต
ท่านอาจารย์ มโนทวารวิถีจิตกับวิถีจิตทางใจเหมือนกันเปล่า ภาษาไทยกับภาษาบาลีเท่านั้น เพราะฉะนั้นถ้าไม่ใช่วิถีจิตทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ก็เป็นวิถีจิตทางใจ หรือเป็นจิตอะไร
ไม่ทราบ นี่แสดงว่ายังต้องฟังอีกนะ ผ่านไปยังไม่ได้เลยเปล่า ก็ขอให้เข้าใจตอนนี้จริงๆ เมื่อกล่าวถึงเรื่องนั้นก็อยากจะให้ท่านผู้ฟังได้พิจารณาเรื่องนั้น จนกระทั่งเข้าใจ ถ้ามีข้อสงสัยอะไรสักนิดสักหน่อยก็ถามเลย เพื่อจะได้ไม่ต้องท่อง แต่เข้าใจแล้วจำได้ เมื่อเข้าใจแล้วก็ต้องจำได้ ต้องหาคำตอบมาอีกคำหนึ่งว่า ถ้าไม่ใช่วิถีจิตทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ก็เป็นวิถีจิตทางใจ หรือเป็นจิตประเภทไหน
ทบทวนให้ฟังอีกครั้งหนึ่งนะ มีจิต ๒ จำพวก กี่ภพกี่ชาติก็จะแบ่งจิตออกได้เป็น ๒ ประเภท คือ จิตที่เป็นวิถีกับจิตที่ไม่ใช่วิถี พูดกลับกันก็ได้ ให้เข้าใจอีกอย่างหนึ่ง คือ ทุกภพทุกชาติจะแบ่งจิตออกเป็น ๒ ประเภท คือ จิตที่ไม่ใช่วิถีจิตกับจิตที่เป็นวิถีจิต
จิตที่ไม่ใช่วิถีจิต คือ จิตที่ไม่รู้อารมณ์ทางตา หรือทางหู หรือทางจมูก หรือทางลิ้น หรือทางกาย หรือทางใจ จิตใดก็ตามที่ไม่รู้อารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ จิตนั้นไม่ใช่วิถีจิต มีไหม จิตที่ไม่ใช่วิถีจิต
ผู้ฟัง มีเปล่า
ท่านอาจารย์ ขณะไหน
ผู้ฟัง ขณะหลับ
ท่านอาจารย์ ขณะหลับสนิท ไม่ฝัน ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ขณะนั้นเป็นอะไร เป็นจิตที่ไม่ใช่วิถีจิต เพราะฉะนั้นก็ตอบได้ว่า ขณะที่จิตไม่รู้อารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย เป็นจิตที่รู้อารมณ์ทางใจ เป็น วิถีจิตทางใจ หรือจะใช้คำว่า มโนทวารวิถีจิต หรือมิฉะนั้นก็เป็นจิตอะไร เป็นจิตที่ไม่ใช่วิถีจิต คือ เป็นภวังคจิต
เพราะฉะนั้นแสดงให้เห็นว่า ก่อนที่จิตจะเกิดขึ้นเห็นก็ตาม ได้ยินก็ตาม ลิ้มรสก็ตาม รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสก็ตาม หรือคิดนึกก็ตาม ต้องเป็นจิตที่ไม่ใช่วิถีจิต ก่อนที่จะเป็นวิถีจิต จิตที่เกิดก่อนวิถีจิตนั้นไม่ใช่วิถีจิต ถูกหรือผิด
ถูกต้อง เพราะฉะนั้นจิตที่ไม่ใช่วิถีจิต มีอยู่ ๓ ประเภท คือ ปฏิสนธิจิต ๑ ภวังคจิต ๑ จุติจิต ๑
ขณะปฏิสนธิจิตเกิดขึ้น ปฏิสนธิจิตไม่ใช่วิถีจิต ไม่รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ขณะที่เป็นภวังค์ ขณะนั้นไม่ใช่วิถีจิต ไม่รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ขณะที่เป็นจุติจิต ขณะนั้นไม่ใช่วิถีจิตที่รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
เพราะฉะนั้นจิตที่ไม่ใช่วิถีจิต คือ ในขณะเป็นปฏิสนธิจิต ภวังคจิต และจุติจิต
ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต และจุติจิตในชาติหนึ่งๆ เป็นจิตประเภทเดียวกัน แต่ทำกิจต่างกัน คือ ขณะแรกที่เกิดทำกิจปฏิสนธิสืบต่อจากจุติจิตของชาติก่อน ขณะที่ยังไม่ถึงจุติ ทำภวังคกิจ เพราะว่าดำรงภพชาติความเป็นบุคคลนั้น ยังไม่สิ้นสภาพความเป็นบุคคลนั้น และขณะสุดท้าย คือ จุติจิต ทำกิจเคลื่อนจากความเป็นบุคคลนี้
เพราะฉะนั้นนี่คือปรมัตถธรรมล้วนๆ ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคลเลย เป็นแต่เพียงสภาพธรรมที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย แล้วก็ดับ เกิดดับๆ ๆ สืบต่อกัน แสดงให้เห็นถึงสภาพที่ไม่ใช่วิถีจิตและวิถีจิต และไม่ใช่วิถีจิตและวิถีจิต เกิดสลับกันไปเรื่อยๆ ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย ทุกชาติ ในแสนโกฏิกัปป์ก็เป็นอย่างนี้
เพราะฉะนั้นก่อนวิถีจิตจะเกิด ต้องเป็นภวังคจิต เพราะฉะนั้นเวลาที่จักขุปสาทรูปเกิดดับๆ รูปารมณ์เกิดดับๆ อย่างเร็วมาก และเวลาที่รูปารมณ์กระทบกับปสาทรูป การที่จิตเห็นจะเกิดขึ้นได้ ต้องมีภวังคจิตเกิดก่อน
เพราะฉะนั้นอตีตภวังค์ ที่ใช้คำว่า “อตีตภวังค์” ที่กล่าวถึงในตำราพุทธศาสนา แสดงถึงขณะที่รูปเกิดขึ้น และจะตั้งอยู่ คือ ยังไม่ดับไป จนกว่าจิตจะเกิดดับ ๑๗ ขณะ ซึ่งในระหว่างที่รูปยังไม่ดับ ทั้งจักขุปสาทรูปและรูปารมณ์ยังไม่ดับนั้น จะมีจิตอะไรบ้างที่เกิดขึ้น ๑๗ ขณะ จิตเหล่านั้นที่ต้องอาศัยทวาร เป็นวิถีจิต ถ้าเป็นทางตา รูปารมณ์เกิดกระทบกับจักขุปสาท ขณะนั้นภวังคจิตเป็นวิถีจิตหรือเปล่า ไม่เป็น
เพราะฉะนั้นก็เป็นเรื่องที่ไม่ยุ่งยากอะไรเลย ถ้าความเข้าใจถูกต้อง และธรรมจะไม่เปลี่ยนสภาพเป็นอย่างอื่นเลย ถ้าเป็นภวังคจิตตราบใด ตราบนั้นไม่ใช่วิถีจิต
เพราะฉะนั้นอตีตภวังค์ คือ ขณะที่จักขุปสาทกระทบกับรูปารมณ์ทางตา และรูปารมณ์และจักขุปสาทรูปยังไม่ดับ ภวังคจิตเกิดขึ้นและดับไปด้วย ไม่มีสภาพธรรมใดที่เกิดแล้วไม่ดับ เมื่ออตีตภวังคจิตดับไป การกระทบกันนั้นเป็นปัจจัยให้ภวังคจิตดวงต่อไปไหว เพื่อที่จะทิ้ง ละอารมณ์ที่เป็นอารมณ์ของภวังค์ เพื่อที่จะรู้อารมณ์ใหม่ที่กระทบกับจักขุปสาท เพราะฉะนั้นเมื่ออตีตภวังคจิตดับไปแล้ว เป็นปัจจัยให้ภวังคจลนะเกิดขึ้น ดับไป และภวังคจิตที่เกิดต่อเป็นกระแสภวังค์ดวงสุดท้าย คือ ภวังคุปปัจเฉทะ
- โสภณธรรม ครั้งที่ 101
- โสภณธรรม ครั้งที่ 102
- โสภณธรรม ครั้งที่ 103
- โสภณธรรม ครั้งที่ 104
- โสภณธรรม ครั้งที่ 105
- โสภณธรรม ครั้งที่ 106
- โสภณธรรม ครั้งที่ 107
- โสภณธรรม ครั้งที่ 108
- โสภณธรรม ครั้งที่ 109
- โสภณธรรม ครั้งที่ 110
- โสภณธรรม ครั้งที่ 111
- โสภณธรรม ครั้งที่ 112
- โสภณธรรม ครั้งที่ 113
- โสภณธรรม ครั้งที่ 114
- โสภณธรรม ครั้งที่ 115
- โสภณธรรม ครั้งที่ 116
- โสภณธรรม ครั้งที่ 117
- โสภณธรรม ครั้งที่ 118
- โสภณธรรม ครั้งที่ 119
- โสภณธรรม ครั้งที่ 120
- โสภณธรรม ครั้งที่ 121
- โสภณธรรม ครั้งที่ 122
- โสภณธรรม ครั้งที่ 123
- โสภณธรรม ครั้งที่ 124
- โสภณธรรม ครั้งที่ 125
- โสภณธรรม ครั้งที่ 126
- โสภณธรรม ครั้งที่ 127
- โสภณธรรม ครั้งที่ 128
- โสภณธรรม ครั้งที่ 129
- โสภณธรรม ครั้งที่ 130
- โสภณธรรม ครั้งที่ 131
- โสภณธรรม ครั้งที่ 132
- โสภณธรรม ครั้งที่ 133
- โสภณธรรม ครั้งที่ 134
- โสภณธรรม ครั้งที่ 135
- โสภณธรรม ครั้งที่ 136
- โสภณธรรม ครั้งที่ 137
- โสภณธรรม ครั้งที่ 138
- โสภณธรรม ครั้งที่ 139
- โสภณธรรม ครั้งที่ 140
- โสภณธรรม ครั้งที่ 141
- โสภณธรรม ครั้งที่ 142
- โสภณธรรม ครั้งที่ 143
- โสภณธรรม ครั้งที่ 144
- โสภณธรรม ครั้งที่ 145
- โสภณธรรม ครั้งที่ 146
- โสภณธรรม ครั้งที่ 147
- โสภณธรรม ครั้งที่ 148
- โสภณธรรม ครั้งที่ 149
- โสภณธรรม ครั้งที่ 150
- โสภณธรรม ครั้งที่ 151
- โสภณธรรม ครั้งที่ 152
- โสภณธรรม ครั้งที่ 153
- โสภณธรรม ครั้งที่ 154
- โสภณธรรม ครั้งที่ 155
- โสภณธรรม ครั้งที่ 156
- โสภณธรรม ครั้งที่ 157
- โสภณธรรม ครั้งที่ 158
- โสภณธรรม ครั้งที่ 159
- โสภณธรรม ครั้งที่ 160