โสภณธรรม ครั้งที่ 145
ตอนที่ ๑๔๕
เพราะฉะนั้นก็เป็นเรื่องที่ไม่ยุ่งยากอะไรเลย ถ้าความเข้าใจถูกต้อง และธรรมจะไม่เปลี่ยนสภาพเป็นอย่างอื่นเลย ถ้าเป็นภวังคจิตตราบใด ตราบนั้นไม่ใช่วิถีจิต
เพราะฉะนั้นอตีตภวังค์ คือ ขณะที่จักขุปสาทกระทบกับรูปารมณ์ทางตา และรูปารมณ์และจักขุปสาทรูปยังไม่ดับ ภวังคจิตเกิดขึ้นและดับไปด้วย ไม่มีสภาพธรรมใดที่เกิดแล้วไม่ดับ เมื่ออตีตภวังคจิตดับไป การกระทบกันนั้นเป็นปัจจัยให้ภวังคจิตดวงต่อไปไหว เพื่อที่จะทิ้ง ละอารมณ์ที่เป็นอารมณ์ของภวังค์ เพื่อที่จะรู้อารมณ์ใหม่ที่กระทบกับจักขุปสาท เพราะฉะนั้นเมื่ออตีตภวังคจิตดับไปแล้ว เป็นปัจจัยให้ภวังคจลนะเกิดขึ้น ดับไป และภวังคจิตที่เกิดต่อเป็นกระแสภวังค์ดวงสุดท้าย คือ ภวังคุปปัจเฉทะ
เมื่อภวังคุปปัจเฉทะดับไปแล้ว วิถีจิตต้องเกิดต่อ จะไม่มีภวังคุปเฉทะหลายๆ ขณะ เพราะเหตุว่าถ้ายังเป็นภวังค์อยู่เรื่อยๆ จะไม่ชื่อว่า ภวังคุปปัจเฉทะ ก็จะเป็นภวังคจลนะๆ ๆ ๆ ไปเรื่อยๆ เพราะเหตุว่าวิถีจิตยังไม่เกิด แต่ถ้าขณะใดที่วิถีจิตจะเกิด กระแสภวังค์ต้องสิ้นสุด เป็นกระแสภวังค์ดวงสุดท้าย คือ ภวังคุปเฉทะเกิดแล้วดับไป เมื่อภวังคุปเฉทะดับแล้ว ภวังคจิตจะเกิดต่ออีกไม่ได้เลย วิถีจิตต้องเกิด
นี่เป็น ๓ ขณะแล้วสำหรับภวังคจิต รูปยังไม่ดับ แต่ประเดี๋ยวก็จะดับแล้ว แสดงให้เห็นว่าสั้นมาก เล็กน้อยมากจริงๆ และการอบรมเจริญปัญญา จะต้องเข้าใจถูกต้องตามความเป็นจริงว่า การที่รูปจะดับนั้น จะดับจริงๆ ได้อย่างไร ถ้าปัญญาไม่เข้าใจถึงความละเอียดของสภาพธรรม การที่จะน้อมระลึกรู้ลักษณะของนามบ้าง รูปบ้าง ทางตาบ้าง หูบ้าง ทางจมูกบ้าง ลิ้นบ้าง กายบ้าง ใจบ้าง ก็จะไม่ทำให้ปัญญาเจริญขึ้น ถ้าไม่เป็นพหูสูต คือ ไม่ฟังความละเอียด และพิจารณาสภาพธรรมโดยละเอียดจริงๆ
ปัญจทวาราวัชชนจิตเป็นวิถีจิตขณะแรก ถ้าเป็นทางตา ขณะนั้นก็มีรูปารมณ์เป็นอารมณ์ จิตทุกขณะต้องเป็นสภาพรู้อารมณ์หนึ่งอารมณ์ใด เพราะฉะนั้นเมื่อปัญจทวาราวัชชนจิตเกิดขึ้น ขณะนั้นรู้รูปารมณ์ที่ยังไม่ดับ แต่ว่าปัญจทวาราวัชชนจิตเพียงรู้รูปารมณ์ที่กระทบกับทวาร แล้วปัญจทวาราวัชชนจิตก็ดับ แต่รูปารมณ์ยังไม่ดับ ปัญจทวาราวัชชนจิตเป็นวิถีจิต เพราะเหตุว่าอาศัยจักขุปสาทเป็นทวารเกิดขึ้นรู้รูปารมณ์ แต่ไม่เห็น เพียงแต่รู้
เวลาแขกมาหาที่ประตูบ้าน ทราบไหมว่าใคร ยังไม่เห็น ต่อเมื่อใดขณะที่เห็น ไม่ใช่ขณะที่รู้ว่ามีแขก ฉันใด ปัญจทวาราวัชชนจิตก็ฉันนั้น รู้รูปารมณ์ แต่ว่าไม่เห็น เพราะฉะนั้นเมื่อปัญจทวาราวัชชนจิต หรือจะใช้คำว่า “จักขุทวาราวัชชนจิต” ก็ได้ เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป รูปยังไม่ดับ เป็นขณะที่ ๔ ของอายุของรูป เมื่อปัญจทวาราวัชชนจิตดับแล้ว จักขุวิญญาณเกิดขึ้นเห็น ทำทัสสนกิจ
เห็น ขณะนี้กำลังเห็น นี่เป็นจักขุวิญญาณ แต่ว่าปัญจทวาราวัชชนจิตซึ่งเกิดก่อน มีใครรู้ได้ไหม เพียงจักขุวิญญาณขณะนี้ก็ยังไม่รู้เลยว่าเกิดขึ้นในขณะไหน เพียงแต่มีเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่า อวิชชา ความไม่รู้มากมายเหลือเกิน ถ้าไม่อาศัยพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงโดยละเอียด จะไม่เห็นความเป็นอนัตตาของจิตและเจตสิกและรูปแต่ละขณะ ซึ่งเกิดขึ้นเป็นไป เมื่อจักขุวิญญาณเกิดขึ้นเพียงเห็น ขอให้คิดว่าขณะนี้ทุกท่านไม่ใช่แต่เพียงเห็น เห็นเป็นโต๊ะ เห็นเป็นเก้าอี้ เห็นเป็นคน เพราะฉะนั้นจะเพียงเห็นไม่ได้ นี่แสดงให้เห็นว่ากว่าจะเพียงเห็น แล้วสิ่งที่ปรากฏทางตาก็ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏ ๑๗ ขณะที่สั้นแล้วก็ดับไป จะเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ได้เลย เป็นแต่เพียงสิ่งที่ปรากฏ กระทบแล้วดับ แต่ว่าปรากฏทางตา สิ่งที่ปรากฏนั้นเป็นรูปารมณ์ แล้วจิตที่รู้ในขณะนั้นก็ต้องอาศัยตา จึงจะเห็นรูปที่ยังไม่ดับ เมื่อจักขุวิญญาณดับ จิตที่เกิดต่อไป คือ สัมปฏิจฉันนจิตรับรู้รูปารมณ์ต่อ แต่ไม่ได้ทำทัสสนกิจ ไม่เห็น
ขณะนี้จะเห็นได้ว่า ที่กล่าวว่า ชีวิตวันหนึ่งๆ ถ้าเป็นผู้ที่มีปกติเจริญสติปัฏฐานแล้ว จะรู้ในกัมมัสสกตาญาณ เพราะรู้ว่าการเห็นบังคับบัญชาไม่ได้เลย โดยความละเอียดก็จะทราบได้ว่า มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเพียง ๗ ดวง ไม่มีมากกว่านั้นเลย แต่เมื่อจักขุวิญญาณดับแล้ว วิตกเจตสิกเกิดร่วมกับสัมปฏิจฉันนจิต คือ ขณะจิตต่อไป
จะเห็นหน้าที่การงานของวิตกเจตสิกในวันหนึ่งๆ ว่า เริ่มเมื่อไร แล้วก็เพิ่มมากขึ้นจนกระทั่งปรากฏลักษณะของการตรึก หรือเปรียบเสมือนเท้าของโลก คือ ก้าวไปสู่อารมณ์ต่างๆ ทุกขณะ เรื่อยๆ ถ้าเพียงแต่วิบากจิต คือ จักขุวิญญาณเกิดขึ้นโดยยับยั้งไม่ได้เท่านั้น ก็จะไม่มีเรื่องราว สุขทุกข์เกิดขึ้นต่อมาแน่นอน เพราะเหตุว่าเพียงเห็นสิ่งที่ปรากฏ ยังไม่เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดเลย แล้วก็ดับ แต่ว่าวิตกเจตสิกเกิดร่วมกับสัมปฏิจฉันนะ เริ่มที่จะจรดในอารมณ์นั้น เพื่อที่เมื่อจิตขณะต่อๆ ไปเกิดขึ้น ก็จะมีความพอใจ ไม่พอใจในอารมณ์ที่ปรากฏ แม้เป็นรูปที่ยังไม่ดับ จนกระทั่งแม้ว่ารูปนั้นดับไปแล้ว วิตกเจตสิกก็ยังตรึกระลึกถึงด้วยความชอบหรือไม่ชอบในสิ่งนั้น
เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่า ถ้าจะพิจารณาขณะของวิถีจิตโดยละเอียดในวันหนึ่งๆ ก็จะทำให้เห็นความไม่มีสาระได้จริงๆ ว่า เป็นแต่เพียงสภาพธรรมแต่ละอย่าง ซึ่งมีปัจจัยก็เกิดขึ้น
เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้ว่าในชีวิตประจำวัน ลักษณะสภาพของวิตกเจตสิกจะไม่เกิดชั่วในขณะที่เป็นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ดวง คือ ขณะที่เห็นทางตา ได้ยินเสียงทางหู ได้กลิ่นทางจมูก ลิ้มรสทางลิ้น กระทบสัมผัสทางกาย นอกจากนั้นแล้ววิตกเจตสิกเริ่มเกิดตั้งแต่สัมปฏิจฉันนะ
เพราะฉะนั้นถ้าเป็นผู้ละเอียดๆ ๆ มากอย่างท่านพระสารีบุตร ก็จะเห็นได้ว่า ปัญญาของท่านสามารถที่จะระลึกแม้ลักษณะของวิตกเจตสิก แล้วแต่ว่าจะเป็นวิตกเจตสิกประเภทใด เกิดกับจิตประเภทใด ซึ่งท่านเป็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วยอัครสาวกบารมี เพราะฉะนั้นสภาพธรรมที่ละเอียด ที่ท่านสามารถจะรู้ได้ ก็ต้องมากกว่าผู้ที่เพิ่งเริ่มเจริญสติปัฏฐาน และถึงแม้ว่าบุคคลใดจะได้เป็นพระอรหันต์แล้ว ปัญญาของพระอรหันต์ท่านอื่นๆ ก็ยังไม่เท่ากับปัญญาของท่านพระสารีบุตร
เมื่อสัมปฏิจฉันนจิตดับ สัมปฏิจฉันนจิตเป็นวิถีจิตหรือเปล่า เป็น อย่าลืม ถ้าเข้าใจแล้วก็ไม่ต้องท่องเลย สัมปฏิจฉันนจิตเกิดแล้วดับไป รูปมีอายุเท่าไรแล้วคะ ๖ ขณะแล้ว ยังไม่ดับ เดี๋ยวก็จะดับ เร็วแสนเร็ว แต่ถ้าพูดอย่างนี้ ก็ดูเหมือนช้า แต่ความจริงขณะนี้กำลังเป็นอย่างนั้น
เมื่อสัมปฏิจฉันนจิตดับแล้ว สันตีรณจิตก็เกิดต่อ ทำกิจพิจารณาอารมณ์โดยสภาพที่เร็วแสนเร็ว ก็เป็นกิจของสันตีรณจิต ซึ่งขณะนั้นรูปนั้นก็ยังไม่ดับไป เมื่อ
สันตีรณจิตดับไปแล้ว โวฏฐัพพนจิตก็เกิดต่อ ตามการสะสมที่จะมนสิการ ตามการสะสมที่จะเป็นปัจจัยให้กุศลจิตเกิด หรืออกุศลจิตเกิด แม้เพียงรูปที่สั้นที่สุด เล็กที่สุด ยังไม่ปรากฏว่าเป็นบุคคลหนึ่งบุคคลใดทั้งสิ้น เพียงชั่วขณะที่รูปนั้นปรากฏเพียงนิดเดียว แต่ว่าการสะสมของโลภะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง หรือสติปัฏฐานจะเกิด ขณะนั้นก็สามารถจะมีรูปที่ยังไม่ดับนั้นเองเป็นอารมณ์
เพราะฉะนั้นการที่ได้ทราบความจริงว่า ในวันหนึ่งๆ อกุศลมากมายแค่ไหน ก่อนที่จะรู้ว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคลต่างๆ ชั่วขณะที่รูปปรากฏทางตาแล้วยังไม่ดับ โวฏฐัพพนจิตที่เกิดแล้วดับไปก็เป็นปัจจัยให้โลภมูลจิตเกิดดับสืบต่อกัน ๗ ขณะ หรือโทสมูลจิตเกิดแล้วก็ดับ สืบต่อกัน ๗ ขณะ หรือโมหมูลจิตเกิดแล้วก็ดับ สืบต่อกัน ๗ ขณะ หรือมหากุศลจิตเกิดแล้วก็ดับ สืบต่อกัน ๗ ขณะ ใครสามารถจะยับยั้งหรือจะทำอะไรได้ ใครที่คิดว่าจะทำอะไรได้ ลองพิจารณาดูก็ได้ว่า สามารถตอนไหนที่จะทำอะไร ในเมื่อเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยทั้งสิ้น ไม่อยากจะให้โลภะเกิด แต่มีเหตุปัจจัยที่โลภะจะเกิด โลภะก็เกิด ไม่อยากจะให้โทสะเกิด แต่มีเหตุปัจจัยที่โทสะจะเกิด โทสะก็เกิด ไม่อยากจะให้โมหมูลจิตเกิด เมื่อกี้นี้นอนไม่หลับและอยากจะรู้ลักษณะของโมหะ ก็ลองคิดดูก็แล้วกันว่า จะทำอย่างไรถึงจะรู้ ถ้าไม่พิจารณาพระธรรมโดยละเอียด ก็ดูเหมือนว่าเราจะทำได้ หรือว่ามีทางอะไรที่ใครจะทำได้ แต่มีทางเดียว คือ อบรมเจริญปัญญา ปัญญาไม่ใช่ไปให้ทำ แต่ว่าปัญญารู้และเข้าใจประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง
ถ้าพิจารณาโดยละเอียดจะเห็นได้ว่า ทำไม่ได้ แต่ว่าเข้าใจได้ ศึกษาได้ พิจารณาได้ ฟังไปเรื่อยๆ แล้วก็ค่อยๆ เข้าใจขึ้นจนกว่าจะปรุงแต่งให้ปัญญาถึงขั้นที่จะค่อยๆ ระลึกได้ และประจักษ์แจ้งในการเกิดดับได้ แต่ให้ทราบว่า ไม่มีใครไปบังคับบัญชาอะไรได้เลย
เมื่อโลภมูลจิต ๗ ขณะก็ดี หรือโทสมูลจิต ๗ ขณะก็ดี โมหมูลจิต ๗ ขณะก็ดี มหากุศล ๗ ขณะก็ดี ดับไปแล้ว รูปยังไม่ดับ เพราะเหตุว่ารูปจะต้องมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ ในขณะนั้นตั้งแต่อตีตภวังค์ จนกระทั่งถึงชวนะดวงสุดท้าย คือ ชวนะที่ ๗ รูปเหลืออายุอีกกี่ขณะ ๒ ขณะ ถ้าจำวิถีจิตตอนสุดท้ายได้ก็ตอบได้ ถ้านับจริงๆ ท่านที่อยากจะเข้าใจหรือจะศึกษาเอง ไม่ยากเลย เวลาฟังพระธรรมแล้วกลับบ้าน ถ้าจำชื่อ ๗ ชื่อนี้ได้ คือ ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ รวมเป็นทวิปัญจวิญญาณ ๑ แล้วสัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะ โวฏฐัพพนะ ชวนะ ก็จะคุ้นๆ หู และพอที่จะไล่เรียงถึงการเกิดดับสืบต่อกันได้
รูปยังไม่ดับ ขอให้ทราบว่า แม้ว่ารูปจะมีอายุสั้นสักเท่าไร ถ้าจิตเกิดดับไปแล้วเพียง ๑๕ ขณะ รูปนั้นยังไม่ดับ เมื่อรูปยังไม่ดับ สำหรับผู้ที่เคยสะสมความติดในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และทำกรรมที่เป็นไปกับรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ จะเป็นปัจจัยให้วิบากจิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ต่อจากชวนจิตอีก ๒ ขณะ โดยทำกิจตทาลัมพนะอีก ๒ ขณะ แล้วรูปก็ดับ
เมื่อไรจะประจักษ์แจ้งในรูปที่กระทบกับจักขุปสาท โดยสภาพที่ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล เพราะฉะนั้นก็เห็นได้ว่า นี่คือจักขุทวารวิถีจิต ทั้งหมดนี่ จะเป็นวิถีจิตประเภทอะไร เกิดขึ้นอย่างไรก็ตาม ขณะที่รู้รูปที่ยังไม่ดับ จะชื่อว่า มโนทวารวิถีไม่ได้ เพราะเหตุว่าจิตเหล่านั้นอาศัยจักขุปสาทเป็นทวารที่จะเกิดขึ้นรู้รูปที่ยังไม่ดับ เพราะฉะนั้นจิตทั้งหมดนั้นในระหว่างที่รู้รูปที่ยังไม่ดับ ต้องเป็นจักขุทวารวิถีจิต
โลภมูลจิตเป็นจักขุทวารวิถีจิตหรือเปล่า
เมื่อกี้นี้พูดแล้วว่า เมื่อโวฏฐัพพนจิตดับไปแล้ว โลภมูลจิตก็เกิดดับ ๗ ขณะ หรือโทสมูลจิตก็เกิดดับ ๗ ขณะ หรือโมหมูลจิตก็เกิดดับ ๗ ขณะ หรือกุศลจิตก็เกิดดับ ๗ ขณะ ทั้งๆ ที่ยังไม่รู้ว่าสิ่งนั้นเป็นอะไร แต่ก็มีปัจจัยที่โลภะจะเกิด หรือโทสะจะเกิด หรือโมหะจะเกิด หรือกุศลจิตจะเกิด
เพราะฉะนั้นโลภมูลจิตเป็นจักขุทวารวิถีจิตได้ไหม ได้ เพราะเหตุว่าชอบสีที่ปรากฏ โทสมูลจิตเป็นจักขุทวารวิถีจิตได้ไหม ได้ เพราะเหตุว่าไม่ชอบสีที่ปรากฏ โมหมูลจิตเป็นจักขุทวารวิถีจิตได้ไหม ได้ เพราะเหตุว่าไม่รู้ในลักษณะของสภาพนั้น และมหากุศลจิตเป็นจักขุทวารวิถีจิตได้ไหม ได้ เพราะเหตุว่ารู้รูปที่ยังไม่ดับไป
ทางหูก็โดยนัยเดียวกัน จิตใดก็ตามที่รู้เสียงที่ยังไม่ดับ จิตนั้นทั้งหมดเป็น โสตทวารวิถีจิต
เพราะฉะนั้นโลภมูลจิตเป็นโสตทวารวิถีจิตได้ไหม ได้ เพราะเหตุว่าชอบเสียง หรือไม่ชอบก็ได้ หรือเป็นโมหมูลจิตก็ได้ หรือเป็นมหากุศลจิตก็ได้ ฉันใด ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ก็ฉันนั้น
เรื่องของปัญจทวารวิถียังมีข้อสงสัยอีกไหม ยังไม่ถึงมโนทวารวิถีจิต เพียงจักขุทวารวิถีจิต โสตทวารวิถีจิต ฆานทวารวิถีจิต ชิวหาทวารวิถีจิต กายทวารวิถีจิต ปัญจทวารวิถีจิต มีข้อสงสัยอะไรไหม
ถ้าอย่างนั้นขอถาม โสตวิญญาณ จิตได้ยิน เป็นจักขุทวารวิถีจิตได้ไหม ไม่ได้ นี่ก็เป็นเหตุผลที่ทุกท่าน ถ้าเรียนแล้วก็จะรู้ด้วยตัวเองว่า พระธรรมเป็นความจริง เป็นเหตุเป็นผล ถ้ามีคนอื่นบอกว่าได้ ท่านผู้ฟังจะว่าอย่างไรคะ หรือตำราก็ได้ บอกว่าได้ ท่านผู้ฟังจะบอกว่าอย่างไร ต้องเขียนผิด ต้องพิมพ์ผิด หรือต้องเข้าใจผิด เพราะเหตุว่าความจริงจะเป็นอย่างนั้นไม่ได้ เพราะเหตุว่าโสตวิญญาณเป็นจิตที่ได้ยินเสียงอย่างเดียว เพราะฉะนั้นไม่ต้องอาศัยตา คนที่ตาบอด โสตวิญญาณก็เกิดเมื่อมีโสตปสาทรูป
นี่ก็แสดงให้เห็นว่า ต้องเข้าใจถึงความจริงของสภาพธรรม โดยที่ว่าแม้ว่าคนอื่นจะกล่าวอย่างไร แต่เมื่อสภาพธรรมเป็นอย่างนั้น ก็ต้องเป็นอย่างนั้น ไม่ใช่ตามบุคคลอื่น โดยขาดเหตุผล
พระ ในจักขุทวารวิถีเริ่มรู้อารมณ์ สมมติว่ามีสีแดงเป็นอารมณ์ ในขณะนั้นจักขุวิญญาณเท่านั้นที่มีสี และก็รู้สีด้วยใช่ไหม เป็นอารมณ์ด้วย และก็รู้ว่าเป็นสีด้วยใช่ไหม
ท่านอาจารย์ รูปารมณ์คือสิ่งที่ปรากฏทางตา และไม่กล่าวว่าสีอะไรเลยทั้งหมดก็ได้ เพื่อจะได้เข้าถึงลักษณะที่แท้จริงของสิ่งที่ปรากฏทางตา โดยที่ไม่ใช่คำสมมติบัญญัติ แต่ว่าเป็นสภาพปรมัตถธรรมที่มีจริงๆ นี่เป็นชั่วขณะวาระหนึ่งของจักขุทวารวิถี ซึ่งยังไม่ต่อไปถึงมโนทวารวิถีเลย เพราะฉะนั้นในขณะนั้นจะไม่มีการรู้ว่า สิ่งที่เพียงปรากฏนั้นเป็นอะไร นี่ถึงจะประจักษ์การเกิดขึ้นและดับไปทางตาได้ เพราะว่าตราบใดที่ยังไม่ไถ่ถอนการยึดถือว่า เป็นบุคคลหนึ่งบุคคลใด สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เห็น หรือว่าเป็นสีหนึ่งสีใดก็ตาม ขณะนั้นก็ไม่สามารถจะประจักษ์การเกิดดับทางตาได้
พระ แสดงว่า สมมติโลภะเกิดขึ้นในจักขุทวารวิถี ยังไม่รู้เลยว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด แสดงว่ามีปัจจัยทำให้ติดเสียแล้วก่อนที่จะรู้ว่าเป็นอะไร ติดในอารมณ์นั้น และโลภะในขณะนั้นก็ไม่ได้ทำหน้าที่เดียวกับจักขุวิญญาณ ใช่ไหม ทำหน้าที่ต่างกัน
ท่านอาจารย์ ต่างกัน เพราะเหตุว่าจักขุวิญญาณเห็น แต่โลภะไม่ได้ทำทัสสนกิจ แต่ชอบในสิ่งที่รู้ทางตา ในสีที่ยังไม่ดับ แต่ว่าไม่เห็น
พระ เหมือนกับปัญจทวาราวัชชนจิตไม่ใช่เห็น แต่ก็รู้อารมณ์เดียวกัน
ท่านอาจารย์ นี่ก็แสดงให้เห็นว่า เพียงรูปที่มีอายุ ๑๗ ขณะ จิตแต่ละประเภทเกิดขึ้นทำกิจต่างกัน โลภะก็ทำกิจติดหรือพอใจ แต่ไม่ได้ทำกิจเห็น โลภะทำชวนกิจ ซึ่งขณะนี้ไม่มีใครไปแยกออกได้เลยใช่ไหม จะมีใครสักคนที่จะกรองขณะเห็นขณะนี้ออกมาว่าเป็นเพียงจักขุทวารวิถีวาระหนึ่งวาระเดียว
พระ วาระเดียว
ท่านอาจารย์ วาระหนึ่งก็มีวิถีจิตตลอดที่เป็นจักขุทวารวิถีจิต ที่กำลังรู้รูปที่ไม่ดับ
พระ แสดงว่าสติปัฏฐานที่เกิดขึ้น มีสิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นอารมณ์ อาจจะหลายวิถี
ท่านอาจารย์ แน่นอน ไม่มีการนับ ไม่มีการเจาะจง ไม่มีการอะไรเลย เพราะเหตุว่าจะต้องทราบว่า นี่เป็นวาระแรกที่จักขุทวารวิถีจิตเกิดขึ้นรู้รูปที่ยังไม่ดับ โดยที่ไม่รู้ว่ารูปนั้นเป็นอะไร เมื่อจักขุทวารวิถีจิตวาระนี้ดับหมดแล้ว ภวังคจิตเกิดต่อ และมโนทวาราวัชชนจิตก็เกิดตรึกถึงสีที่เพิ่งดับ มีสีที่เพิ่งดับเป็นอารมณ์ และเมื่อมโนทวาราวัชชนจิตดับแล้ว แล้วแต่ว่าทางปัญจทวาราวัชชนจิตเป็นโลภมูลจิต หรือโทสมูลจิต หรือโมหมูลจิต ทางมโนทวารวิถีจติวาระแรกก็จะมีชวนจิตประเภทเดียวกันเกิด แต่ว่าจิตเกิดขึ้นเพียงขณะเดียวๆ แต่ว่าสืบต่อกันอย่างรวดเร็ว มโนทวารวิถีจิตวาระที่ ๑ ก็ยังไม่รู้ว่า สิ่งที่ปรากฏเป็นอะไร ต่อเมื่อมโนทวารวิถีจิตวาระหลังๆ จึงจะรู้ว่าสิ่งที่ปรากฏเป็นอะไร
ถ้าเห็นเป็นคน แน่นอนที่ขณะนี้ทุกคนมีความรู้ว่า สิ่งที่เห็นเป็นคน เพราะฉะนั้นโดยการศึกษาก็สามารถที่จะรู้ได้ว่า ที่เห็นว่าเป็นคน ไม่ใช่ปัญจทวารวิถี ไม่ใช่จักขุทวารวิถีวาระที่มีจักขุวิญญาณเกิด แต่ต้องเป็นมโนทวารวิถีที่รับสืบต่อ และไม่ใช่เพียงวาระเดียว
พระ ใช่ เพราะจิตมีขณะเล็กน้อยมาก และรูปแต่ละรูปก็เล็กน้อย และดับไปเร็ว ต้องอาศัยหลายๆ รูป และหลายๆ นาม ถึงจะรู้ได้
ท่านอาจารย์ เคยมีท่านผู้ฟังท่านหนึ่งที่ท่านถามมากทีเดียว เรื่องพัดลมหมุน ขอให้คิดดูว่า กว่าจะเห็นเป็นพัดลมหมุนได้ เป็นจักขุทวารวิถีจิตกี่วาระ แล้วมโนทวารวิถีคั่นกี่วาระ กว่าจะขยับไปทีละนิดจนกระทั่งจิตสามารถจะทรงจำว่า เป็นพัดลมที่กำลังหมุน นับไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นที่เห็นเป็นคนนั่งบ้าง คนเดินบ้าง คนยืนบ้าง คนพูดบ้าง กิริยาอาการทั้งหลายเหล่านี้ ก็จะเห็นได้ว่า จิตเกิดดับสืบต่อกันอย่างรวดเร็ว แล้วก็ไม่สามารถจะรู้ความจริงของนามธรรมและรูปธรรมเลย ถ้าไม่ศึกษาโดยละเอียด
- โสภณธรรม ครั้งที่ 101
- โสภณธรรม ครั้งที่ 102
- โสภณธรรม ครั้งที่ 103
- โสภณธรรม ครั้งที่ 104
- โสภณธรรม ครั้งที่ 105
- โสภณธรรม ครั้งที่ 106
- โสภณธรรม ครั้งที่ 107
- โสภณธรรม ครั้งที่ 108
- โสภณธรรม ครั้งที่ 109
- โสภณธรรม ครั้งที่ 110
- โสภณธรรม ครั้งที่ 111
- โสภณธรรม ครั้งที่ 112
- โสภณธรรม ครั้งที่ 113
- โสภณธรรม ครั้งที่ 114
- โสภณธรรม ครั้งที่ 115
- โสภณธรรม ครั้งที่ 116
- โสภณธรรม ครั้งที่ 117
- โสภณธรรม ครั้งที่ 118
- โสภณธรรม ครั้งที่ 119
- โสภณธรรม ครั้งที่ 120
- โสภณธรรม ครั้งที่ 121
- โสภณธรรม ครั้งที่ 122
- โสภณธรรม ครั้งที่ 123
- โสภณธรรม ครั้งที่ 124
- โสภณธรรม ครั้งที่ 125
- โสภณธรรม ครั้งที่ 126
- โสภณธรรม ครั้งที่ 127
- โสภณธรรม ครั้งที่ 128
- โสภณธรรม ครั้งที่ 129
- โสภณธรรม ครั้งที่ 130
- โสภณธรรม ครั้งที่ 131
- โสภณธรรม ครั้งที่ 132
- โสภณธรรม ครั้งที่ 133
- โสภณธรรม ครั้งที่ 134
- โสภณธรรม ครั้งที่ 135
- โสภณธรรม ครั้งที่ 136
- โสภณธรรม ครั้งที่ 137
- โสภณธรรม ครั้งที่ 138
- โสภณธรรม ครั้งที่ 139
- โสภณธรรม ครั้งที่ 140
- โสภณธรรม ครั้งที่ 141
- โสภณธรรม ครั้งที่ 142
- โสภณธรรม ครั้งที่ 143
- โสภณธรรม ครั้งที่ 144
- โสภณธรรม ครั้งที่ 145
- โสภณธรรม ครั้งที่ 146
- โสภณธรรม ครั้งที่ 147
- โสภณธรรม ครั้งที่ 148
- โสภณธรรม ครั้งที่ 149
- โสภณธรรม ครั้งที่ 150
- โสภณธรรม ครั้งที่ 151
- โสภณธรรม ครั้งที่ 152
- โสภณธรรม ครั้งที่ 153
- โสภณธรรม ครั้งที่ 154
- โสภณธรรม ครั้งที่ 155
- โสภณธรรม ครั้งที่ 156
- โสภณธรรม ครั้งที่ 157
- โสภณธรรม ครั้งที่ 158
- โสภณธรรม ครั้งที่ 159
- โสภณธรรม ครั้งที่ 160