โสภณธรรม ครั้งที่ 152
ตอนที่ ๑๕๒
พระ เวลาจะรู้อารมณ์หนึ่งอารมณ์ใด ทำไมต้องรู้ที่ชวนจิตด้วย คือ ขณะที่จะรู้อารมณ์ทางตาเกิดขึ้น ในขณะนั้นจะต้องรู้อารมณ์ในชวนจิต ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ขณะที่รูปกระทบกับทวารหนึ่งทวารใด ขอยกตัวอย่างทางหู เสียงกระทบกับโสตปสาทรูป กระทบกับภวังคจิต คือ อตีตภวังค์ เมื่ออตีตภวังค์ดับแล้ว ภวังคจลนะเกิด หลังจากที่ภวังคจลนะดับไปแล้ว ภวังคุปเฉทะเกิด ระหว่างที่เป็นภวังค์ยังไม่มีอารมณ์ คือ เสียงเลย เพราะเหตุว่าภวังค์มีอารมณ์เดียวกับปฏิสนธิ เพราะฉะนั้น ปัญจทวาราวัชชนจิตซึ่งเกิดต่อจากภวังคุปเฉทะ เป็นวิถีจิตขณะแรกนึกถึงเสียงที่กระทบโสตปสาทรูปชั่วขณะเดียวใครจะรู้ ใครจะรู้ว่าขณะนั้นมีปัญจทวาราวัชชนจิตนึกถึงเสียง และเมื่อปัญจทวาราวัชชนจิตนึกถึงเสียงดับไปแล้ว โสตวิญญาณซึ่งได้ยินจริงๆ ขณะที่กำลังได้ยินจริงๆ เป็นโสตวิญญาณเกิดขึ้นเพียงขณะเดียว แล้วก็ดับไป ใครจะรู้ลักษณะของจิตขณะเดียวที่เกิดขึ้นได้ยิน แต่ว่ารูปยังไม่ดับ คือ เสียงยังไม่ดับ เพราะฉะนั้นเมื่อโสตวิญญาณดับไปแล้ว กรรมทำให้วิบากจิต คือ สัมปฏิจฉันนจิตเกิดขึ้นรับอารมณ์นั้นต่อ ขณะเดียวเท่านั้น ใครจะรู้ว่ามีสัมปฏิจฉันนะกำลังรับเสียงต่อจากโสตวิญญาณในขณะนี้ เมื่อสัมปฏิจฉันนจิตดับไป เป็นปัจจัยให้สันตีรณจิตซึ่งเป็นวิบากจิตเกิดขึ้นพิจารณาเสียงนั้นอย่างรวดเร็ว ชั่วขณะเดียวแล้วดับ ใครจะรู้ และเมื่อสันตีรณจิตดับไปแล้ว โวฏฐัพพนจิตซึ่งเป็นกิริยาจิต ได้แก่ มโนทวาราวัชชนจิตนั่นเอง แทนที่จะเกิดขึ้นนึกถึงอารมณ์ทางใจ ก็เกิดขึ้นกระทำทางให้กุศลจิตหรืออกุศลจิตประเภทหนึ่งประเภทใดเกิดขึ้นแล่นไปในอารมณ์นั้น ซึ่งทำชวนกิจ เพราะฉะนั้นเมื่อโวฏฐัพพนจิตเกิดขึ้นเพียงขณะเดียวแล้วดับ ใครจะรู้ แต่ว่าขณะที่กำลังชอบเสียงนั้น โลภมูลจิตทำชวนกิจ แล่นไปในเสียงนั้นด้วยความพอใจ เกิดดับซ้ำกัน ๗ ขณะ กำลังมีเสียงที่ยังไม่ดับเป็นอารมณ์
เพราะฉะนั้นในขณะที่แม้ไม่ได้ยินจริงๆ แต่มีเสียงเป็นอารมณ์ และกำลังชอบในเสียงนั้นด้วย และเสียงนั้นก็ยังไม่ดับด้วย เพราะฉะนั้นแม้ว่าจิตจะเกิดดับทำกิจสืบต่อกันอย่างไรก็ตาม ที่จะรู้ได้ก็เป็นชั่วโสตวิญญาณและชวนจิต แต่แม้กระนั้นการที่โสตวิญญาณดับและชวนจิตเกิดต่อ และโสตวิญญาณเกิดอีก และชวนจิตเกิดอีก หรือก่อนที่โสตวิญญาณจะเกิด เมื่อภวังคจิตดับแล้ว มโนทวารวิถีจิตยังต้องรับรู้เสียงนั้นต่ออีก ถ้าชวนะทางโสตทวารวิถีเป็นโลภมูลจิต เมื่อมโนทวารวิถีจิตเกิดนึกถึงเสียง ชวนวิถีนั้นก็ต้องเป็นโลภะตามชวนะทางปัญจทวารวิถี
นี่ก็แสดงให้เห็นว่า ความกำลังชอบในเสียง โดยที่เสียงปรากฏกับโสตวิญญาณแล้วยังไม่ดับ แล้วปรากฏกับชวนวิถีจิตทางปัญจทวารซึ่งเสียงยังไม่ดับ และแม้ว่าเสียงดับแล้ว ภวังคจิตเกิดคั่นแล้ว มโนทวารก็ยังนึกถึงเสียง ยังมีเสียงนั้นเอง เหมือนเสียงนั้นทีเดียว ไม่เป็นเสียงอื่นเลยเป็นอารมณ์ต่อ แล้วชวนะก็พอใจในเสียงนั้นด้วยหลายๆ วาระก่อนที่จะได้ยินอีก เพราะฉะนั้นก็จะแสดงให้เห็นว่า ที่จะรู้จริงๆ ต้องเป็นในขณะที่ชวนจิต เพราะเหตุว่าแล่นไปด้วยความพอใจ หรือว่าในขณะนั้นนึกถึงแล้วโกรธ โวฏฐัพพนจิตดับไปแล้ว โทสมูลจิตเกิด แต่เสียงยังไม่ดับ ความไม่พอใจในเสียงที่ยังไม่ดับ แม้ว่าขณะนั้นไม่ใช่โสตวิญญาณ แต่ก็มีเสียงนั้นเป็นอารมณ์ ก็ทำให้เมื่อเสียงนั้นดับแล้ว ภวังคจิตเกิดคั่นแล้ว มโนทวารวิถีจิตนึกถึงเสียงที่ไม่พอใจนั้น และโทสมูลจิตก็เกิดทางมโนทวารวิถีซ้ำอีก แล้วก็เป็นภวังค์ แล้วก็มโนทวารวิถีก็เกิดซ้ำหลายวาระ ก่อนที่จะถึงวิถีจิตหนึ่งวิถีใด วาระต่อไปทางทวารหนึ่งทวารใด
เพราะฉะนั้นที่จะปรากฏจริงๆ ก็คือแม้กำลังเห็นขณะนี้ จริงๆ แล้วก็จะรู้ตรงที่เป็นชวนวิถีจิต
พระ เพราะว่าในขณะนั้นจิตเกิดขึ้นหลายขณะซ้ำๆ กัน มีอารมณ์เดียวกันด้วย
ท่านอาจารย์ แล้วก็เป็นความชอบหรือไม่ชอบในอารมณ์ที่สามารถจะรู้สึกได้ แต่ว่าในขณะที่เพียงเห็น จักขุวิญญาณเห็นรูปารมณ์ เห็นทันที ดับทันที แต่การสะสมความชอบไม่ชอบแม้เพียงสีที่ปรากฏ แม้ยังไม่ทันรู้ว่าเป็นอะไรก็เกิดได้ทางปัญจทวารวิถี
ก็ไม่ทราบยังมีข้อสงสัยอะไรอีกหรือเปล่า ในเรื่องของกระแสของชีวิตในวันหนึ่งๆ ซึ่งหลังจากปฏิสนธิแล้วก็เป็นภวังค์เกิดดับสืบต่อเรื่อยไปเหมือนกระแสน้ำ จนกว่าจะมีวิถีจิตเกิดขึ้นเปลี่ยนจากอารมณ์ของภวังค์ แล้วแต่ว่าจะเป็นมโนทวารวิถีหรือจักขุทวารวิถี หรือโสตทวารวิถี ฆานทวารวิถี ชิวหาทวารวิถี กายทวารวิถี มโนทวารวิถี สั้นๆ วิถีจิตทั้งหลายที่เกิดขึ้นทางทวารต่างๆ สั้นมาก แล้วก็ดับ และต่อจากนั้นก็เป็นภวังค์ นี่คือกระแสของชีวิต เต็มไปด้วยภวังคจิต แล้วก็มีวิถีจิตคั่นเป็นวาระๆ
อดิศักดิ์ วิถีจิตเกิดดับเร็วมาก ท่านพระสารีบุตรมีปัญญาถึงขนาดนับเม็ดฝนได้ ยังนับวิถีจิตนี้ไม่ได้ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ที่กล่าวถึงเรื่องการนับเม็ดฝนของท่านพระสารีบุตรก็เพื่อจะแสดงให้เห็นถึงปัญญาซึ่งกว้างมากทีเดียว ฝนจะตกที่ไหนอย่างไร จำนวนเม็ดนับได้ คิดดูว่า ความไว ความแหลมคมของปัญญาจะต้องสะสมมาสักแค่ไหน แต่สำหรับเราก็ไม่ต้องนับอะไรทั้งนั้นแหละ เพียงแต่ให้รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏว่า นามธรรมเป็นนามธรรม ไม่ใช่เรา และรูปธรรมเป็นรูปธรรมแต่ละอย่าง
ถาม จักขุวิญญาณจะเห็นสี แต่จิตอื่นๆ ไม่เห็นแต่รู้สี ไม่เห็นแต่รู้สี รู้สีอย่างไร
ท่านอาจารย์ รับต่อ ไม่เปลี่ยนอารมณ์ มีสีเป็นอารมณ์โดยรับต่อ
ผู้ฟัง มีสีเป็นอารมณ์ แต่ไม่เห็น
ท่านอาจารย์ รับรู้ต่อ ก็นึกถึงสีแดงได้ไหม
ผู้ฟัง นึกถึงสีแดงก็เป็นมโนทวาร
ท่านอาจารย์ ยังไม่ได้พูดถึงทวารไหน เพียงแต่ถามว่านึกถึงสีแดงได้ไหม
ผู้ฟัง ได้
ท่านอาจารย์ นั่นทางมโนทวาร นี่ทางจักขุทวารวิถีทวารเดียวกัน สียังไม่ดับด้วย แล้วจิตนั้นรับต่อ ทีทางใจ ไม่ใช่ทางจักขุทวารวิถีเลย จักขุทวารวิถีดับแล้วเพราะรูปดับแล้ว รูปารมณ์ดับแล้ว แล้วภวังคจิตก็เกิดคั่นด้วย และขณะที่มโนทวาราวัชชนจิตนึกถึงสีที่จักขุทวารวิถีจิตรู้ แต่ว่ามโนทวาราวัชชนจิตยังนึกได้ ฉันใด เพราะฉะนั้นสัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะก็หมดข้อสงสัยว่า สามารถจะมีสีเป็นอารมณ์โดยไม่เห็น แต่ว่ารับต่อจากจักขุวิญญาณได้ สัมปฏิจฉันนะก็มีสีเป็นอารมณ์ สันตีรณะก็มีสีที่ยังไม่ดับเป็นอารมณ์ โวฏฐัพพนะก็มีสีที่ยังไม่ดับเป็นอารมณ์ ชวนะก็มีสีที่ยังไม่ดับเป็นอารมณ์ ตทาลัมพนะก็ยังมีสีที่ยังไม่ดับเป็นอารมณ์ จึงชื่อว่า จักขุทวารวิถี ต่อเมื่อใดสีดับ จะไม่ชื่อว่า จักขุทวารวิถี เพราะเพียงนึกถึงสีที่ดับแล้ว ขณะนั้นก็เป็นมโนทวารวิถีซึ่งเกิดต่อจากจักขุทวารวิถี
เพราะฉะนั้นการที่จะรู้ว่า ขณะใดไม่ใช่มโนทวารวิถีจิต ก็ควรที่จะได้ทราบว่า สำหรับจักขุทวารวิถีจิตจะรู้อารมณ์อื่นไม่ได้ นอกจากรูปารมณ์ที่ยังไม่ดับ โสตทวารวิถีจิตก็รู้อารมณ์อื่นไม่ได้ นอกจากเสียงที่ยังไม่ดับ ฆานทวารวิถีจิตรู้อารมณ์อื่นไม่ได้ นอกจากกลิ่นที่ยังไม่ดับ ชิวหาทวารวิถีจิตรู้อารมณ์อื่นไม่ได้ นอกจากรสที่ยังไม่ดับ กายทวารวิถีจิต รู้อารมณ์อื่นไม่ได้ นอกจากโผฏฐัพพะที่ยังไม่ดับ
วันหนึ่งๆ ถ้าเทียบกับทางตาที่เห็นจะทราบได้ว่า มโนทวารวิถีจิตเกิดมากกว่าทางจักขุทวารวิถีจิต เกิดมากกว่าโสตทวารวิถีจิต เกิดมากกว่าฆานทวารวิถีจิต เกิดมากกว่าชิวหาทวารวิถีจิต เกิดมากกว่ากายทวารวิถีจิต
เพราะฉะนั้นผู้ที่อบรมเจริญสติปัฏฐาน จึงรู้ความจริงว่า สิ่งที่ปรากฏทางตาแม้เพียงเล็กน้อย ปรากฏเพียงให้คิด แล้วสิ่งนั้นก็ดับไปเลย เสียงที่ปรากฏทางหู ก็ปรากฏสั้นมากเพียงให้คิด เพราะฉะนั้นทุกคนอยู่ในโลกของความคิดอย่างมากทีเดียว แล้วแต่ว่าสติจะระลึกได้ว่า ขณะที่คิดนั้นเป็นกุศลจิตหรือเป็นอกุศลจิต
พระ จากการฟังเรื่องวิถีจิต มีอยู่วันหนึ่งก็ไปพิจารณา เพราะว่าขณะที่นั่งอยู่กับเพื่อนภิกษุ ใต้เก้าอี้ก็มีกระโถนคว่ำอยู่ ปลายเท้าก็ไปถูกกระโถนดัง พระภิกษุที่นั่งอยู่ด้วย ท่านก็หันหาว่าเสียงนั้นเสียงอะไร ท่านก็ยังไม่รู้เลยว่าเป็นเสียงอะไร ท่านก็คิดถึงเสียงนั้นอยู่สักพักหนึ่ง ท่านก็ไม่พอใจที่ไม่รู้ว่าเสียงอะไร ทั้งโลภะ ทั้งโทสะทำให้คิด แต่ท่านก็นิ่งอยู่สักพักหนึ่ง แสดงลักษณะความหมายของเสียงยังไม่มี ก็ติดได้ แล้วก็คิดไปอีก ไม่รู้ว่าเสียงอะไร อาตมาก็ขยับดูอีกครั้งหนึ่ง ท่านก็งงว่า เสียงอะไรกันแน่ จนครั้งที่ ๓ ท่านจึงรู้ว่าเสียงกระโถนนี่เอง อาตมาก็คิดว่า วิถีจิตเกิดตั้งมากมาย แล้วก็สลับกันจริงๆ มีทั้งปัญจทวารก็มี มีทั้งมโนทวารที่คิดนึกถึงเรื่องอะไรต่ออะไรมากมาย ก็คิดว่าการฟังเรื่องวิถีจิตก็ได้ประโยชน์ ทำให้เข้าใจได้ว่า โลภะ โทสะนั้นจะเกิดหลังจากปัญจทวารวิถีเกิดขึ้นชั่วเล็กน้อย ชั่วขณะ แล้วเรื่องที่คิดตามมาก็มากมายไปหมด
ท่านอาจารย์ เวลาที่จิตเป็นจักขุทวารวิถีจิต ขณะนั้นก็มีโลภะ โทสะ โมหะแล้ว หลังจากที่โวฏฐัพพนจิตดับไป ชวนจิตเกิดต่อ ขณะนั้นแม้ว่าจะยังไม่รู้ว่าเป็นอะไรก็ยังมีความพอใจในสิ่งที่ปรากฏ ทั้งทางตา หรือทางหู หรือทางจมูก หรือทางลิ้น หรือทางกาย
พระ ขณะที่ยังไม่รู้ว่าเป็นอะไร ก็ติดแล้ว สังเกตว่าท่านยังไม่รู้ว่าเสียงอะไร ก็หันไปหาเสียแล้ว ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ แต่ว่าโดยการศึกษาทราบว่า หลังจากปัญจทวารวิถีจิตดับไปหมดแล้ว ภวังคจิตเกิด แล้วมโนทวารวิถีจิตจะเกิดสืบต่อจากทางปัญจทวารวิถี ถ้าทางปัญจทวารวิถีเป็นโลภมูลจิตยินดีพอใจในเสียง แม้ว่ายังไม่รู้ว่าเสียงอะไร เวลาที่ชวนวิถีจิตทางปัญจทวารทางหนึ่งทางใดดับไปแล้ว ภวังคจิตเกิดคั่นแล้ว มโนทวารวิถีจิตจะนึกถึงด้วยโลภะ ชวนะเหมือนกัน เพราะฉะนั้นชวนวิถีจิตจะเกิดคู่กัน หมายความว่า เมื่อชวนวิถีทางปัญจทวารวิถีประเภทหนึ่งประเภทใดดับแล้ว ภวังคจิตคั่นแล้ว มโนทวารวิถีจิตจะเกิดโดยมีชวนวิถีประเภทเดียวกับทางปัญจทวารนั่นเอง เกิดทางมโนทวารอีกครั้งหนึ่ง เป็น ๒ วาระ
พระ จากการศึกษาก็รู้ว่า จะรู้อารมณ์ที่ปรากฏเดี๋ยวนี้จริงๆ จิตส่วนใหญ่แล้วจะต้องรู้ในชวนะ เพราะว่าเป็นจิตที่แล่นไปสู่อารมณ์หลายๆ ขณะซ้ำกัน ถ้าพูดถึงการเจริญสติปัฏฐาน สภาพรู้ต่างๆ ที่รู้ลักษณะของสภาพธรรม เช่นทางตาก็ดี ทางหูก็ดี จิตที่เกิดขึ้นเป็นธาตุรู้ สติเกิดระลึกรู้ลักษณะ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นในชวนวิถีด้วย ใช่ไหม แล้วไม่ต้องคำนึงว่าจะเป็นปัญจทวารวิถีหรือจะเป็นมโนทวารวิถี เพราะว่าแม้ว่าวิถีจิตเกิดหลายขณะก็ยังสั้นมาก และธาตุรู้ที่จะปรากฏได้โดยสติค่อยๆ เกิดขึ้นใหม่ๆ จะต้องหลายวิถีจริงๆ ด้วยจึงจะปรากฏให้รู้ได้ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ยังมีข้อสงสัยอะไรอีกไหม ในเรื่องของปัญจทวารวิถีและมโนทวารวิถี
นิภัทร ชวนวิถีจิตที่เกิดทางปัญจทวารแล้ววิถีจิตที่เกิดทางมโนทวารวาระแรกจะต้องมีอารมณ์อย่างเดียวกัน
ท่านอาจารย์ มีอารมณ์อย่างเดียวกับปัญจทวารวิถีจิต แล้วก็สำหรับทางมโนทวารวิถีจิตมีแต่มโนทวาราวัชชนจิตและชวนจิตที่เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล ไม่มีจักขุวิญญาณ ไม่มีสัมปฏิจฉันนะ ไม่มีสันตีรณะ ไม่มีโวฏฐัพพนะ แต่ว่ามีอาวัชชนจิต และชวนะเลย
เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่า ทางมโนทวารมีชวนะประเภทเดียวกับชวนะที่เกิดแล้วทางปัญจทวารวิถีซ้ำอีกครั้งหนึ่ง
นิภัทร ถ้าทางปัญจทวารเป็นโลภชวนะ มโนทวารก็เป็นโลภชวนะด้วย
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง
นิภัทร แต่เป็นเฉพาะขณะแรกเท่านั้นใช่ไหม
ท่านอาจารย์ วาระแรกเท่านั้น
นิภัทร วาระต่อไปอาจจะเป็นกุศลได้
ท่านอาจารย์ เปลี่ยนได้ เพราะว่าบางคนเห็นบางสิ่งบางอย่างแล้วไม่พอใจ ขณะที่เห็นเป็นโทสมูลจิต แต่ว่ามโนทวารวิถีจิตวาระที่เกิดสืบต่อจากปัญจทวารวิถีจิต ก็ยังเป็นโทสมูลจิตนั่นเอง แต่เมื่อเป็นวาระหลังๆ สติอาจจะเกิด และเห็นว่าไม่ควรที่จะเป็นโทสะ ขณะนั้นชวนวิถีจิตก็เป็นมหากุศลได้
เพราะฉะนั้นเวลาที่แต่ละท่านคิดนึกตรึกตรองหลังจากที่ได้ยินเสียงที่ไม่พอใจ ครั้งแรกโกรธ และเมื่อคิดไปคิดมา ก็เห็นว่าความโกรธนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควร เป็นอกุศล มโนทวารวิถีจิตซึ่งเกิดหลังจากที่รู้ว่า ความโกรธเป็นสิ่งที่ไม่ควร ขณะนั้นก็เป็นมหากุศลได้
เพราะฉะนั้นถึงจะเห็นสิ่งที่ไม่น่าพอใจ มโนทวารวิถีจิตวาระหลังๆ ก็เป็นกุศลได้ หรือผู้ที่มีปัญญาสะสมมามากทีเดียว มหากุศลจิตก็ยังเกิดได้ โดยเฉพาะผู้ที่กำลังเจริญสติปัฏฐาน ก็สามารถที่จะรู้ลักษณะที่เป็นนามธรรมหรือรูปธรรมที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตนในขณะนั้น เพราะฉะนั้นทางปัญจทวารวิถีก็เป็นกุศล ทางมโนทวารวิถีก็เป็นกุศล
วันหนึ่งๆ แล้วแต่ว่าปัญญาของใครจะเกิดมาก ถ้าปัญญาน้อย ทันทีที่เห็นสิ่งที่ไม่น่าพอใจ ชวนจิตที่เป็นอกุศลก็ต้องเกิดวาระหนึ่งแน่ๆ ทางปัญจทวาร และเมื่อภวังคจิตคั่นแล้วมโนทวารวิถีจิตซึ่งรับรู้อารมณ์นั้นต่อ ก็เป็นอกุศลชวนะแน่ๆ จนกว่าวาระหลังๆ จะได้คิดหรือสติจะเกิด แล้วก็เปลี่ยนเป็นกุศลจิตได้ในภายหลัง
ถาม ขอเรียนถามอาจารย์ว่า วิถีทางปัญจทวารเมื่อครบวาระแล้ว ทางมโนทวารวิถีก็รับอารมณ์ต่อไป เรามองๆ ดูแล้ว รู้สึกว่า วิถีทางปัญจทวารน่าจะสมบูรณ์ พอถึงชวนจิต แล้วก็ตทาลัมพนะ ก็รู้สึกว่ามีการเสพอารมณ์ อารมณ์แล่นไป รู้สึกว่าสมบูรณ์ ทำไมต้องมีทางมโนทวารรับไปสืบต่อด้วย
ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่าทางปัญจทวารวิถี เวลาที่อารมณ์ปรากฏแล้วเกิดโลภะ โดยที่ยังไม่รู้ว่าเป็นอะไร อย่างเช่นเสียงกระทบกับโสตปสาท ปัญจทวาราวัชชนจิตนึกถึงเสียงที่กระทบ โสตวิญญาณเกิดต่อได้ยิน สัมปฏิจฉันนจิตรับต่อ เมื่อสัมปฏิจฉันนจิตดับแล้ว สันตีรณจิตเกิดต่อ โดยเป็นจิตตนิยาม ไม่มีใครสามารถจะไปเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อสันตีรณจิตดับแล้ว โวฏฐัพพนจิตเกิด เมื่อดับแล้วชวนจิตชอบไม่ชอบในเสียง โดยยังไม่ได้เข้าใจความหมายอะไรเลย แต่ว่าเวลาได้ยินเสียง ทุกคนรู้สึกเหมือนกับว่า ได้ยินคำ ยังไม่ได้แยกเสียงกับสภาพที่กำลังรู้ความหมายของเสียงที่สูงต่ำ เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่า สำหรับทางโสตทวารวิถีเป็นความพอใจ เป็นโลภมูลจิต หรือเป็นความไม่พอใจ เป็นโทสมูลจิตในเสียงที่ยังไม่ดับ โดยที่ยังไม่รู้ความหมาย และเมื่อโสตทวารวิถีจิตดับแล้ว จิตตนิยามอีกเช่นกัน ที่ทำให้เป็นภวังค์เกิดคั่น แล้วก็โดยจิตตนิยามนั่นเองทำให้มโนทวาราวัชชนจิตนึกถึงเสียงซึ่งทางโสตทวารวิถีรับรู้แล้วดับไป
นี่ไม่มีใครสามารถจะไปเปลี่ยนแปลงได้เลย เป็นกระแสการเกิดดับของจิตในวันหนึ่งๆ หรือว่าในสังสารวัฏฏ์ที่จะต้องเป็นไปอย่างนี้ มีใครจะยับยั้งไม่ให้จักขุวิญญาณเกิดได้ไหม ถ้าศึกษาปรมัตถธรรมก็จะรู้ได้ว่า ไม่มีใครจะยับยั้งจิตสักดวงเดียว แม้แต่ภวังคจิตซึ่งเกิด ถ้าง่วงและอยากจะหลับ แล้วก็หลับ บังคับไม่ได้ ทั้งๆ ที่บางครั้งง่วง แต่ไม่อยากหลับ แต่ก็หลับแล้ว เป็นภวังค์แล้ว
นี่ก็แสดงให้เห็นว่า ไม่มีใครที่จะไปเปลี่ยนแปลงเหตุปัจจัยที่จะทำให้จิตแต่ละขณะเกิดขึ้นเลย เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า เมื่อปัญจทวารวิถีจิตซึ่งรู้รูปที่กระทบทวารหนึ่งทวารใดดับไปหมดแล้ว ภวังคจิตเกิดคั่นแล้ว มโนทวารวิถีจิตจะเกิดขึ้นรับรู้รูปนั้นต่อจากปัญจทวารวิถีทางหนึ่งทางใดทุกครั้ง นอกจากขณะจะจุติเท่านั้นเอง
เพราะฉะนั้นเราจะไม่พูดถึงขณะนั้น แต่ว่าพูดถึงชีวิตประจำวันจริงๆ ให้รู้ว่า เสียงที่ปรากฏ เล็กน้อย สั้นมาก หลังจากนั้นมโนทวารวิถีจิตเกิดหลายวาระ คิดแล้วคิดอีกเรื่องคำพูดที่ได้ยิน ด้วยสัญญา ความจำในเสียง ในความหมายของคำนั้น นี่ก็แสดงให้เห็นว่ามโนทวารวิถีในวันหนึ่งๆ เกิดมาก เพราะฉะนั้นจะเห็นความสำคัญของทางมโนทวารวิถีจิตว่า ทางปัญจทวารวิถีจิตเพียงรู้รูปที่ยังไม่ดับ เมื่อรูปดับไปแล้ว ปัญจทวารวิถีจิตจะเกิดไม่ได้เลย แต่มโนทวารวิถีจิตเกิดได้ นึกถึงอารมณ์ได้ทุกอย่าง เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง กับอารมณ์ที่ได้ประสบทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย สำหรับปัญจทวารวิถีกับมโนทวารวิถียังมีข้อสงสัยไหม
โลภมูลจิตเกิดได้ทางจักขุทวารวิถีและทางมโนทวารวิถีด้วย โทสมูลจิตเกิดได้ทางจักขุทวารวิถีและทางมโนทวารวิถีด้วย เช่นเดียวกับทางหู โลภมูลจิตเกิดทางโสตทวารวิถีได้ และโลภมูลจิตก็เกิดทางมโนทวารวิถีด้วย แต่ต้องแยกกัน จิตแต่ละทางจะไม่ปนกันเลย จิตใดรู้อารมณ์ทางไหน ก็รู้อารมณ์ทางนั้นแล้วดับ ไม่ใช่มโนทวารวิถีจิตจะไปรู้อารมณ์ทางปัญจทวารวิถี หรือไม่ใช่ปัญจทวารวิถีจะมารู้อารมณ์ทางมโนทวารวิถี แม้ว่าเป็นโลภมูลจิต แต่ว่าโลภมูลจิตนั้นอาศัยตาเกิดขึ้นแล้วรู้รูปที่ยังไม่ดับ ต้องเป็นจักขุทวารวิถี แต่ส่วนโลภมูลจิตขณะใดที่ไม่ได้อาศัยตาเกิดขึ้นรู้สีที่ยังไม่ดับ โลภมูลจิตขณะนั้นต้องเป็นมโนทวารวิถีจิต
- โสภณธรรม ครั้งที่ 101
- โสภณธรรม ครั้งที่ 102
- โสภณธรรม ครั้งที่ 103
- โสภณธรรม ครั้งที่ 104
- โสภณธรรม ครั้งที่ 105
- โสภณธรรม ครั้งที่ 106
- โสภณธรรม ครั้งที่ 107
- โสภณธรรม ครั้งที่ 108
- โสภณธรรม ครั้งที่ 109
- โสภณธรรม ครั้งที่ 110
- โสภณธรรม ครั้งที่ 111
- โสภณธรรม ครั้งที่ 112
- โสภณธรรม ครั้งที่ 113
- โสภณธรรม ครั้งที่ 114
- โสภณธรรม ครั้งที่ 115
- โสภณธรรม ครั้งที่ 116
- โสภณธรรม ครั้งที่ 117
- โสภณธรรม ครั้งที่ 118
- โสภณธรรม ครั้งที่ 119
- โสภณธรรม ครั้งที่ 120
- โสภณธรรม ครั้งที่ 121
- โสภณธรรม ครั้งที่ 122
- โสภณธรรม ครั้งที่ 123
- โสภณธรรม ครั้งที่ 124
- โสภณธรรม ครั้งที่ 125
- โสภณธรรม ครั้งที่ 126
- โสภณธรรม ครั้งที่ 127
- โสภณธรรม ครั้งที่ 128
- โสภณธรรม ครั้งที่ 129
- โสภณธรรม ครั้งที่ 130
- โสภณธรรม ครั้งที่ 131
- โสภณธรรม ครั้งที่ 132
- โสภณธรรม ครั้งที่ 133
- โสภณธรรม ครั้งที่ 134
- โสภณธรรม ครั้งที่ 135
- โสภณธรรม ครั้งที่ 136
- โสภณธรรม ครั้งที่ 137
- โสภณธรรม ครั้งที่ 138
- โสภณธรรม ครั้งที่ 139
- โสภณธรรม ครั้งที่ 140
- โสภณธรรม ครั้งที่ 141
- โสภณธรรม ครั้งที่ 142
- โสภณธรรม ครั้งที่ 143
- โสภณธรรม ครั้งที่ 144
- โสภณธรรม ครั้งที่ 145
- โสภณธรรม ครั้งที่ 146
- โสภณธรรม ครั้งที่ 147
- โสภณธรรม ครั้งที่ 148
- โสภณธรรม ครั้งที่ 149
- โสภณธรรม ครั้งที่ 150
- โสภณธรรม ครั้งที่ 151
- โสภณธรรม ครั้งที่ 152
- โสภณธรรม ครั้งที่ 153
- โสภณธรรม ครั้งที่ 154
- โสภณธรรม ครั้งที่ 155
- โสภณธรรม ครั้งที่ 156
- โสภณธรรม ครั้งที่ 157
- โสภณธรรม ครั้งที่ 158
- โสภณธรรม ครั้งที่ 159
- โสภณธรรม ครั้งที่ 160