แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 12
ครั้งที่ ๑๒
เวลาที่เพิ่งเกิดในครรภ์ของมารดา รูปเล็กมากทีเดียว ในขณะที่ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้น จะมีกลุ่มของรูป ซึ่งภาษาบาลีใช้คำว่า "กลาป" ๓ กลาปเกิดพร้อมกับปฏิสนธิจิต ซึ่งมองด้วยตาไม่เห็น เพราะว่า เป็นกลุ่มของรูปเพิ่งจะเกิดแล้วก็เล็กมาก กลุ่ม ๑ เป็นกลุ่มของ "กายปสาทรูป" อีกกลุ่ม ๑ เป็นกลุ่มของ "ภาวรูป" อีกกลุ่ม ๑ เป็นกลุ่มของรูปที่เป็นที่เกิดของจิต ชื่อว่า "หทยรูป"
แสดงให้เห็นว่าในภูมิที่มีขันธ์ ๕ นั้น จิตจะเกิดโดยไม่อาศัยรูปไม่ได้เลยในขณะนี้มีรูปซึ่งเป็นที่เกิดของจิต ในขณะที่เห็น ในขณะที่ได้ยิน ในขณะที่คิดนึกเพราะฉะนั้น เวลาที่เกิดใหม่ๆ ยังไม่มีรูปร่างของหัวใจเลย แต่ที่เป็น"หทยรูป"เพราะว่าเป็นรูปที่เป็นที่อาศัยเกิดของปฏิสนธิจิต และเมื่อเจริญเติบโตขึ้น รูปร่างกายสมบูรณ์ครบถ้วนขึ้น รูปที่เป็นที่เกิดของจิตซึ่งเป็นหทยรูป ไม่ใช่ตา หู จมูก ลิ้น กายนั้น จะอยู่ที่กลางหัวใจ ซึ่งเป็นรูปที่เกิดเพราะกรรม ถึงแม้ว่าจะตัดหัวใจออกหรือว่าจะมีการเปลี่ยนหัวใจก็ตาม รูปเกิดดับเร็วมาก ฉะนั้น ในขณะที่หัวใจออกไปอยู่นอกร่างกาย ถ้าบุคคลนั้นยังไม่สิ้นชีวิตกรรมก็ทำให้หทยรูปเกิดที่ส่วนหนึ่งส่วนใดซึ่งจะทำให้จิตดำรงอยู่ได้ในขณะนั้น
เพราะฉะนั้น ต้องทราบว่ารูปกำลังเกิดดับอย่างรวดเร็วด้วย และปกติเมื่อมีรูปร่างที่สมบูรณ์แล้ว หทยวัตถุซึ่งเป็นที่อาศัยเกิดของจิตอื่นๆ นอกจากจิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส จิตที่รู้กระทบสัมผัสแล้ว จิตอื่นทั้งหมดเกิดที่หทยวัตถุ แต่ว่าหทยวัตถุนั้นก็เกิดจากกรรม ในขณะนี้ รูปกำลังดับอย่างรวดเร็ว และกรรมก็ทำให้รูปเกิดอย่างเร็วด้วยเพราะฉะนั้น ไม่ต้องคำนึงถึงรูปซึ่งเกิดแล้วดับแล้ว ขณะนี้รูปใดไม่ปรากฏ รูปนั้นเกิดแล้วดับแล้ว ทุกคนคิดว่ามีตัวนั่งอยู่ทั้งตัว แล้วมีทั้งตา หู จมูก ลิ้น กาย มีทั้งรูปร่าง แขน มือ เท้า แต่ตามความเป็นจริงแล้ว รูปเกิดแล้วดับเร็วมาก ฉะนั้น รูปใดแม้ไม่ปรากฏ รูปนั้นก็เกิดแล้วก็ดับแล้ว
ถ. คนเราเวียนว่ายตายเกิดเพราะอวิชชานั้น มีอธิบายโดยพิสดารอย่างไร และก่อนที่จะมาเวียนว่ายตายเกิดนั้น มาจากไหน
สุ. ไม่มีใครสามารถจะให้ความเข้าใจของบุคคลใด ย้อนกลับไปถึงชาติก่อนนั้นได้เลย ถ้าจะคิดถึงอวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิด ก็เป็นแต่เพียงเรื่องคิด แต่ว่าในขณะนี้เองมีอวิชชาหรือเปล่าในขณะที่เห็น เมื่อยังไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรม ก็ย่อมเป็นปัจจัยที่จะให้มีการเกิดสืบต่อไปอีกเรื่อยๆ
ถ. ในหนังสือท่านกล่าวว่า อัปปนาสมาธิ เป็นสมาธิที่ดิ่งลงไป ไม่มีปัญญาเกิดขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว จะมีวิธีการอย่างไรให้เกิดปัญญา
สุ. ไม่ทราบหนังสือเล่มไหน ถ้าเป็นจากพระไตรปิฏกแล้ว อัปปนาสมาธิประกอบด้วยสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ประกอบพร้อมด้วยปัญญา แล้วก็ขณะนั้นมีความตั้งใจมั่นในอารมณ์ที่ทำให้จิตสงบจนกระทั่งเป็นฌาณจิต ไม่รู้อารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ขณะนี้ถ้าไม่มีสติสัมปชัญญะทั้งๆ ที่มีจิต ก็ไม่สามารถจะรู้ได้ว่าจิตเป็นกุศล เป็นอกุศล
ฉะนั้น การที่จะให้จิตถึงอัปปนาสมาธิ เป็นสัมมาสมาธิ เป็นการอบรมเจริญสมถภาวนาต้องประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ จึงสามารถที่จะรู้ว่าขณะนี้ถ้าเป็นอกุศล เป็นอกุศลประเภทใด เพราะว่า ลักษณะของอกุศลนั้นปรากฏให้รู้ เมื่อปัญญาเห็นอกุศลตามความเป็นจริง ก็จะนึกถึงอารมณ์ที่เป็นกุศล แทนอารมณ์ที่ทำให้จิตเป็นอกุศล จนกว่าจิตจะตั้งมั่นถึงอัปปนาสมาธิ ฉะนั้น ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะสมบูรณ์
ถ. ข้อ ๑. มีบางท่านปฏิบัติธรรมแล้ว เห็นภพ เห็นภูมิ เห็นนิพพานเป็นสิ่งที่ลอยอยู่ในท้องฟ้า ปฏิบัติถูกหรือไม่ถูก
สุ. ไม่ถูก
ข้อ ๒. มีบางท่านบอกว่า นิพพานมีตัวตน แต่บางท่านก็บอกว่าไม่มีตัวตนอันไหนถูกต้อง
สุ. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา เพราะฉะนั้น จะไม่มีอะไรเลยที่เป็นตัวตน
ถ. ข้อ ๓. การที่เรียนอภิธรรม แล้วมัวแต่นับดวงจิต แล้วเราจะเอามาแก้ปัญหาอย่างไร
สุ. ที่จริงแล้วจิตมิได้มีดวงเดียว หรือประเภทเดียว ถ้าศึกษาพระอภิธรรมจะทำให้รู้จิตเพิ่มขึ้น เพราะว่า จิตที่มีปรากฏในพระอภิธรรมนั้น ไม่ใช่อยู่ที่อื่น แต่อยู่ที่ทุกคน จิตเห็นทุกคนมี จิตได้ยินทุกคนมี จิตได้กลิ่น จิตคิดนึก โลภมูลจิต โทสมูล จิต มหากุศลจิต มีทุกอย่าง เพราะฉะนั้น การรู้เรื่องจิตมากๆ ก็จะทำให้มีการระลึกรู้ลักษณะของจิต ไม่ใช่เพียงแต่รู้เรื่องจิต แต่รู้สภาพของจิตที่กำลังเป็นจิตในขณะนี้ ฉะนั้น ก็มีประโยชน์มากที่จะแก้ปัญหาต่างๆ
ถ. มีอยู่เรื่องหนึ่ง เกิดขึ้นที่วัดของอาตมา คือมีผู้มีศรัทธาเป็นคนร่ำรวยอยู่คนหนึ่ง เป็นเจ้าภาพก่อสร้างพระประธานใหญ่ให้องค์หนึ่ง โดยสร้างพระหันหน้าไปทางทิศเหนือตรงกับกุฏิของอาตมา อยู่มาไม่นานเกิดมีศิษย์วัดได้เสียชีวิตลง อาตมาเลยไปหาหมอดูดวงชะตา เขาท้วงว่าเป็นเพราะไปขุดดิน โดยไม่ขออนุญาตพระภูมิที่วัด จึงเกิดพินาศอุบาทว์ตามมาดังนี้ จนอาตมาหวั่นไหวต่อเหตุการณ์ แล้วรู้ว่าการ ที่เราปฏิบัติตามหลักพระธรรมวินัยแล้ว ผิดด้วยหรือ ที่จะเป็นไปเช่นนั้นได้ ทำอย่างไรจึงจะทำให้ความทุกข์สงบ และให้จิตเกิดปัญญา พระประธานกว้าง ๖ เมตร สูง ๙ เมตร
สุ. ผู้ที่เป็นพุทธบริษัท ต้องไม่เชื่อในมงคลตื่นข่าว และจะต้องมีความมั่นคงที่จะรู้ว่า ทุกคนมีกรรมเป็นของๆ ตน มีใครบ้างที่เกิดมาแล้วไม่ตาย มีใครบ้างที่เกิดมาแล้วไม่สุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ใช่คนอื่นทำให้ การเกิดขึ้นมาในโลกนี้ ก็เกิดมาเพราะกรรมของตน และเมื่อเกิดมาแล้ว การที่ชีวิตจะดำเนินไปแต่ละวันก็เพราะกรรมของตนอีก ฉะนั้น ไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องจะทำอย่างโน้นอย่างนี้ ไม่ทำอย่างโน้นอย่างนี้แล้วจะเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ เพราะเหตุว่า ทุกอย่างที่เกิดขึ้นนั้น ต้องเกิดเพราะเหตุปัจจัยทั้งสิ้น และโดยเฉพาะทุกคนมีกรรมเป็นของตน
ถ. อยากทราบว่า ขั้นตอนของวาระจิตเกิดจากสมาธิ ๑. ขั้นสูงสุดแล้วเกิดนิมิต ๒. เมื่อถึงจุดสูงสุดของสมาธิ แล้วจะทำอย่างไรจึงจะเกิดนิมิตได้ ๓. วาระจิตเกิด ขึ้นคล้ายกับความฝัน เวลาเคลิ้มก่อนจะหลับพุ่งไป มีพลังมากแต่มีสติ เป็นจิตประเภทไหน ทำอย่างไรจะผ่านวาระนี้ไปได้
สุ. ไม่เป็นปกติแล้วทั้งหมด ไม่ถูกต้อง ปัญญารู้สภาพธรรมขณะนี้ตามปกติตามความเป็นจริง จิตพุ่งไปไหนไม่ได้เลย เพราะเหตุว่า จิตไม่ใช่รูปและจิตเป็นแต่เพียงสภาพรู้ ซึ่งเกิดขึ้นรู้แล้วดับ จิตคิดนึกเกิดขึ้น คิดนึกในขณะนี้แล้วดับ ฉะนั้นไม่มีการที่จิตพุ่งไปไหนได้เลย แล้วสำหรับที่ว่า วาระจิตเกิดขึ้นคล้ายกับความฝัน เวลาเคลิ้มก่อนจะหลับ พุ่งไปมีพลังมากแต่มีสติ ถ้ามีสติแล้วเป็นปกติถ้าขาดสติแล้วผิดปกติ สำหรับที่ว่า วาระจิตเกิดจากสมาธิขั้นสูงสุดแล้วเกิดนิมิต ไม่ทราบว่าต้องการนิมิตเพื่ออะไร ขณะนี้กำลังเห็นเป็นของจริง ปัญญาสามารถที่จะรู้ความจริงในขณะนี้ที่เห็นได้ แล้วต้องการนิมิตทำไม กำลังได้ยินเป็นของจริงสามารถประจักษ์การเกิดดับของจิตได้ยินได้ แล้วจะต้องการนิมิตทำไม
ถ. ข้อ ๑. ที่ว่าจิตเกิดมี มีอยู่ที่ไหน อยู่ข้างนอกหรือข้างใน
ข้อ ๒. จิตดับๆ ไปแล้วไม่เกิดอีก ก็ดับ แสดงว่าสูญแล้ว
ข้อ ๓. จิตเกิดดับสืบต่อกันเหมือนลูกโซ่ แต่ไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันหรืออยู่ใกล้ชิดกัน จริงหรือ จิตไวมาก จนเราจะเอาอะไรวัดได้หรือไม่ ลองหาข้อเปรียบดูให้ด้วย
ข้อ ๔. ปัญญากับจิตเกิดพร้อมกันหรือต่างกันเกิด มีคนป่วยคนหนึ่งมีเวทนาเกิดแรงกล้า แต่อาศัยว่าเคยเป็นผู้ปฏิบัติมาก่อน จึงได้นำเอาอาการเวทนาเหล่านั้นมาพิจารณา จึงสงบลงได้ ดังนี้จะเรียกว่ามีสติ แล้วเกิดสมาธิได้หรือไม่ มีปัญญาหรือไม่ ถ้าเกิดดับไปขณะนั้น จะไปเกิดเป็นอะไรบ้าง อยู่ที่ไหน
สุ. คำถามสุดท้ายไม่มีใครตอบได้เลย และคำถามที่ว่า จะเรียกว่ามีสติแล้วเกิดสมาธิหรือไม่ ไม่สามารถที่จะรู้จิตของคนอื่นได้เพียงอาการภายนอก เพราะฉะนั้น การที่จะบอกว่าคนนี้นั่งเฉยๆ แล้วเป็นสมาธิ ไม่ถูกต้อง การที่จะเห็นคนหนึ่งนั่งเฉยๆ แล้วจะบอกว่ามีปัญญา ก็ไม่ถูกต้องด้วย เพราะเหตุว่าไม่สามารถที่จะรู้จิตจากอาการที่ปรากฏภายนอก ขอทบทวนตั้งแต่ข้อ ๑. ที่ว่าจิตเกิดมี มีอยู่ที่ไหน อยู่ข้างนอกหรือข้างใน จิต เห็นเกิดขึ้นที่ตา จิตได้ยินเกิดขึ้นที่หู จิตได้กลิ่นเกิดที่ฆานปสาทรูป จิตลิ้มรสเกิดที่ชิวหาปสาทรูปที่อยู่กลางลิ้น จิตที่รู้สิ่งกระทบสัมผัส รู้แข็งตรงไหน จิตเกิดตรงนั้นดับตรงนั้น เพราะฉะนั้น จิตไม่เกิดนอกตัว แต่จะต้องอาศัยรูปเกิดในภูมิที่มีขันธ์ ๕
ข้อ ๒. จิตดับๆ ไปแล้ว ไม่เกิดอีก ก็แสดงว่าดับสูญแล้ว แม้ว่าจิตดวงก่อนจะดับ แต่ก็เป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิด เพราะฉะนั้น จิตเกิดดับตั้งแสนโกฏิกัปป์จนถึงขณะนี้ แล้วก็จะเกิดดับสืบต่อกันไปอีก ถ้าไม่ปรินิพพาน
ข้อ ๓. จิตเกิดดับสืบต่อกันเหมือนลูกโซ่ แต่ไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หรือ อยู่ใกล้ชิตกันจริงหรือ จิตไวมากจนเราจะเอาอะไรวัดได้หรือไม่ลองเปรียบดูให้ด้วย ในพระสูตรแสดงความเร็วของจิตไว้มาก ซึ่งเป็นข้อความที่ไพเราะที่พระคุณเจ้าจะพบในพระสูตรหลายสูตรเจ้าค่ะ
ข้อ ๔. ปัญญากับจิตเกิดพร้อมกันหรือต่างกันเกิด ปัญญาเป็นเจตสิก ซึ่งต้องเกิดกับจิต ปัญญาจะเกิดโดยที่ไม่มีจิตไม่ได้เลย แต่ว่าจิตเกิดโดยไม่มีปัญญาได้ เช่นจิตเห็นในขณะนี้ที่เกิดขึ้น ไม่มีปัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วย จิตได้ยินก็ไม่มีปัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่ขณะใดที่ปัญญาเกิด ขณะนั้นปัญญาต้องเกิดกับจิต เพราะเหตุว่า ปัญญาเป็นเจตสิก
ถ. ขอถามเรื่องจิตที่ประกอบสมาธิ กับจิตที่ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ มี ลักษณะอาการต่างกันอย่างไร
สุ. สมาธิได้แก่เอกัคคตาเจตสิก ซึ่งเกิดกับจิตทุกขณะ แต่สำหรับสติและปัญญานั้นเกิดกับจิตที่เป็นโสภณจิตคือจิตที่ดีงามเท่านั้น เพราะฉะนั้น ขณะใดที่อกุศลจิตเกิดขณะนั้นมีเอกัคคตาเจตสิกเป็นสมาธิเกิดร่วมด้วย อย่างคนที่จะยิงปืนยิงลูกศรพวกนี้ต้องมีสมาธิ แต่ขณะนั้นเป็นอกุศลจิต ไม่มีสติและปัญญาเกิดร่วมด้วย ฉะนั้น จิตที่ประกอบด้วยสมาธิ และจิตที่ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ มีลักษณะอาการต่างกันอย่างไร ต่างกันคือ บางครั้งเป็นมิจฉาสมาธิ เป็นอกุศลจิต แต่ว่าขณะใดที่เป็นสัมมาสมาธิ ขณะนั้นต้องประกอบด้วยสติสัมปชัญญะด้วย
ถ. เราจะรู้ได้อย่างไรว่า บูรพาจารย์ที่มรณภาพไปแล้ว สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ดูจากอัฐิธาตุได้หรือไม่
สุ. ดูจากอัฐิธาตุไม่ได้เลย เพราะเหตุว่าสามารถจะใส่สิ่งหนึ่งสิ่งใดลงไปแล้วทำให้อัฐินั้นเป็นสีต่างๆ ได้ และการที่จะรู้ว่า บุคคลใดเป็นพระอรหันต์ ไม่ใช่ดูจากรูป แต่ต้องรู้ด้วยปัญญา แล้วถ้าบุคคลนั้นไม่มีปัญญา ไม่สามารถที่จะรู้ได้เลยว่าใครเป็นพระอรหันต์ ต้องผู้ที่เป็นพระอรหันต์เท่านั้น จึงจะรู้ว่าใครเป็นพระอรหันต์ เช่นเดียวกับขณะนี้ ถ้าเป็นผู้ที่อบรมเจริญปัญญา จากการสนทนาก็จะรู้ว่าบุคคลใดเจริญปัญญา และบุคคลใดไม่ได้เจริญปัญญาเช่นในขณะนี้กำลังเห็น มรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วย สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ ตรึกหรือจรดในอารมณ์ที่ปรากฏ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เกิดพร้อมกับจิตที่ระลึกได้ ที่จะรู้และค่อยๆ เข้าใจ จิตที่เห็น จิตที่ได้ยิน ในขณะนี้ จนกว่าปัญญาจะสมบรูณ์ นี่เป็นหนทางเดียวที่จะทำให้ปัญญาสามารถจะดับอกุศลได้ แต่ถ้าปัญญาไม่เกิด ไม่ต้องกล่าวถึงพระอรหันต์เลย
ถ. ข้อ ๑. เคยได้ยินว่า น้ำเลี้ยงหัวใจที่อยู่ตรงกลางหัวใจ เป็นตัวแสดงจริต เช่น คนโทสะจริต จะเป็นสีน้ำล้างเนื้อ พุทธจริตจะมีสีขาว ถ้าเป็นเช่นนี้คนที่ได้รับการเปลี่ยนหัวใจ จะมิทำให้จริตเปลี่ยนไปหรือ
สุ. รูปเกิดดับเร็วมาก ไม่ต้องห่วงรูปในขณะนี้ที่ดูเหมือนยั่งยืน หรือไม่ดับ เช่น โต๊ะตัวนี้ ดูเหมือนว่าจะอยู่ไปอีกหลายวันหลายเดือน หรือว่าเห็นภูเขา ก็คิดว่าคงจะอยู่ไปอีกหลายแสนปี แต่ความจริงแล้วทุกรูปกำลังเกิดดับโดยที่ว่าไม่ปรากฏ สำหรับผู้ที่เพียงกระทบแล้วรู้ว่าแข็ง เพราะเหตุว่า การที่จะประจักษ์การเกิดดับของแข็งในขณะนี้ ต้องเป็นปัญญาอีกขั้นหนึ่ง ไม่ใช่ปัญญาขั้นเพียงระลึกแล้วรู้ว่าแข็งเป็นแต่เพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่งเท่านั้นฉะนั้น เรื่องของน้ำเลี้ยงหัวใจซึ่งอยู่กลางหัวใจแสดงจริต แล้วถ้าเปลี่ยนหัวใจจะทำให้จริตเปลี่ยนไปหรือไม่ ไม่เกี่ยวกันเลย เพราะว่า จิตของบุคคลหนึ่งที่ดับไป ก็เป็นปัจจัยให้จิตต่อไปของบุคคลนั้นเกิด ไม่ใช่ว่าเอาหัวใจมาเปลี่ยนแล้ว จะทำให้คนนั้นเปลี่ยนบุคคลิก หรือเปลี่ยนอัธยาศัยได้
ถ. ข้อ ๒. ได้ยินมาว่า การบรรลุธรรม คือการเอาสติไปควบคุมร่างกาย คือให้ร่างกายอยู่ใต้การควบคุมของสติ ไม่ใช่ให้อยู่ใต้ความควบคุมของธรรมชาติ เช่นการกระพริบตาเมื่อมีวัตถุจะเข้าตา ที่ได้ยินมานั้นถูกต้องหรือไม่ ถ้าไม่ถูกต้องเป็นอย่างไร
สุ. การบรรลุธรรม เป็นการอบรมเจริญปัญญารู้แจ้งความจริงของสภาพธรรม ไม่ใช่การพยายามไปควบคุมร่างกาย เพราะว่าเรื่องของตัวตนที่จะควบคุมเป็นเรื่องปกติประจำวัน แต่เรื่องการที่จะรู้สภาพธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย ไม่มีตัวตนที่จะไปบังคับบัญชาหรือควบคุมได้ นั่นต้องเป็นเรื่องของปัญญา
ถ. ผู้ไม่รู้หนังสือ เมื่อปฏิบัติสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน จะบรรลุธรรมขั้นสูง และขั้นต้นได้หรือไม่
สุ. มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และมีการฟังพระธรรม มีการพิจารณาเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ปัญญาย่อมสามารถค่อยๆ เจริญขึ้น จนกระทั่งประจักษ์แจ้งความจริงของสภาพธรรมได้ เพราะว่า จิตได้ยินไม่ใช่อยู่ในหนังสือ แต่ในขณะนี้จิตกำลังได้ยิน ฉะนั้น ผู้ที่ฟังแล้วจะรู้ความต่างกันของปัญญาว่า ปัญญาขั้นฟังเป็นเพียงขั้นรู้เรื่องของธรรม
ปัญญาที่เข้าใจเรื่องของธรรมแล้วระลึกได้ในขณะที่กำลังเห็น แล้วสามารถจะเข้าใจสภาพธรรมจริงๆ ไม่ใช่เพียงแต่เข้าใจเรื่องของธรรมเท่านั้น นั่นเป็นปัญญาอีกขั้นหนึ่ง ซึ่งจะต้องอบรมจนกว่าจะรู้ทั่ว จนกระทั่งสามารถประจักษ์แจ้งลักษณะที่แท้จริงของสภาพธรรม แล้วการรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ก็เป็นปัญญาอีกขั้นหนึ่ง เพราะฉะนั้นปัญญามีหลายขั้น
ถ. ข้อ ๑. จิตนึกคิด จิตสำนึก จิตใต้สำนึก ต่างกันอย่างไร
ข้อ ๒. จิตคิดเรื่องการงาน เป็นอกุศลจิตได้อย่างไร
ข้อ ๓. อนัตตา ความไม่มีตัวตน สุญญตา ความว่าง มีความหมายอย่างเดียวกันหรือไม่ ถ้าไม่ เพราะเหตุไร
สุ. จิตนึกคิด จิตสำนึก จิตใต้สำนึก จะเรียกอย่างไรก็ได้ทั้งหมด แต่ว่าเมื่อจิตเกิดขึ้นแล้ว จิตต้องทำกิจการงานอย่างหนึ่งอย่างใดใน ๑๔ กิจ เมื่อจิตเกิดขึ้นแล้ว จะไม่ทำกิจการงานนั้นไม่มีเลย จิตขณะแรกที่ใช้คำว่า "ปฏิสนธิ" เพราะทำกิจสืบต่อจากจุติจิตของชาติก่อน นี่เป็นกิจขณะจิตแรกของจิตดวงแรก และเมื่อจิตนี้ดับไปแล้ว "ภวังคจิต" เกิดต่อ ภวังคจิตคือจิตที่ดำรงภพชาติ ให้ดำรงความเป็นบุคคลนี้ ระหว่างที่ไม่เห็นไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ได้ลิ้มรส ไม่ได้กระทบสัมผัส ไม่ได้คิดนึก ยังจุติไม่ได้ ยังจากโลกนี้ไปไม่ได้ ยังตายไม่ได้ถ้าภวังคจิตยังเกิดดับสืบต่ออยู่ หลับสนิท ตื่นอีกเห็นอีก ได้ยินอีก เป็นภวังค์อีก เห็นต่อไปอีก จนกว่าจะถึงจุติจิต ซึ่งพระคุณเจ้าจะ ใช้คำว่าจิตนึกคิด จิตสำนึก หรือจิตใต้สำนึก หรือจิตอะไรอีกก็ได้ แต่ทั้งหมดจะต้องทำกิจหนึ่งกิจใดใน ๑๔ กิจ
ข้อ ๒. จิตคิดเรื่องการงานเป็นอกุศลจิตได้อย่างไร ขณะใดที่ไม่เป็นไปในทาน ไม่เป็นไปในศีล ไม่เป็นไปในความสงบจาก โลภะ โทสะ โมหะ ไม่เป็นไปในการอบรมเจริญปัญญา ขณะนั้นเป็นอกุศลทั้งหมด
ข้อ ๓. อนัตตาความไม่มีตัวตน สุญญตาความว่าง มีความหมายอย่างเดียวกันหรือไม่ ถ้าไม่เพราะเหตุไร มีความหมายอย่างเดียวกัน เพราะว่า อนัตตาหมายความไม่มีตัวตน ไม่ใช่ตน ไม่เป็นตน สุญญตาถ้าว่าง ก็ว่างจากตน ไม่ใช่ว่างจากอย่างอื่น
ถ. คุณโยมเห็นความทุกข์ในการเวียนว่ายตายเกิดในโลกอย่างไร
สุ. ถ้าหิวเป็นทุกข์ไหม ถ้าเจ็บเป็นทุกข์ไหม นี่เป็นเรื่องธรรมดาที่เมื่อเกิดมาแล้ว ที่จะมีใครบอกว่าไม่เห็นทุกข์ คงจะเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
ถ. ข้อ ๑. อยากทราบว่า การที่มีวิญญาณของเจ้าภูมิหรือเจ้าที่ มาเข้าสิงสู่ตัวของคนคนหนึ่ง อยากจะทราบว่าจิตหรือวิญญาณของตัวผู้ที่ถูกสิงไปอยู่ที่ไหน หรือว่ารวมกันอยู่ในตัวคนนั้น
ข้อ ๒. การที่วิญญาณหรือการเกิดนี้อยากจะทราบว่า จะเข้าทางไหนของมารดา เห็นพระบางรูปบอกว่าเข้าได้ทุกทาง ใช่หรือไม่
สุ. ข้อ ๑. การที่วิญญาณของเจ้าภูมิหรือเจ้าที่เข้ามาสิงสู่ตัวคนๆ หนึ่ง อยากทราบว่าจิตหรือวิญญาณของผู้ที่ถูกสิงไปอยู่ที่ไหน หรือว่ารวมกันอยู่ในตัวของผู้นั้น รวมไม่ได้แน่นอน จิตเป็นสภาพธรรมที่ไม่มีรูปร่างเลย เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทุกๆ ขณะ เพราะฉะนั้น การที่จิตของคนหนึ่งจะเข้าไปอยู่ในร่างกายของอีกคนหนึ่งนั้น เป็นไปไม่ได้ แต่เวลาที่ปรากฏอาการเหมือนกับเข้าทรง หรือว่าผีเข้า แสดงว่าบุคคลที่ถูกใช้คำว่าผีเข้าขณะนั้นไม่รู้สึกตัว ขณะนี้ไม่มีผีเข้าใครเลย เพราะว่าทุกคนเป็นปกติ
แต่ถ้าไม่มีการรู้สึกตัวขณะใด เป็นสภาพของจิตที่ไม่รู้สึกตัว แล้วก็บุคคลอื่นสามารถที่จะมีพลังจิต ที่จะทำให้เกิดรูปหรือเกิดเสียงจากรูปของบุคคลนั้นกระทบกันก็ได้ทำให้เกิดเสียงต่างๆ ในขณะนั้นก็เป็นสิ่งที่เราบอกว่าผีเข้า จะใช้คำว่าเข้าทรงหรืออะไรก็แล้วแต่ แต่ถ้าเป็นจริงก็หมายความว่า จิตของบุคคลนั้นก็ยังอยู่ในสภาพที่ขาดความรู้สึก โดยที่จิตของอีกคนหนึ่งก็สามารถที่จะมีพลังจิตที่จะบังคับให้มีรูป การเคลื่อนไหว หรือทำให้เกิดเสียงได้
ข้อ ๒. อยากทราบว่าวิญญาณคือการเกิดนี้ จะเข้าทางไหนของมารดา
สุ. ไม่มีการเป็นรูปที่จะเข้าไปได้เลย เรื่องของจิตเป็นนามธรรม ที่จะต้องเข้าใจให้ชัดเจน ก็คือว่า จิตไม่ใช่รูป เป็นสภาพรู้ธาตุรู้ ขณะนี้ทุกคนคิดนึก ไม่ใช่ตาคิด ไม่ใช่หูคิด ไม่ใช่จมูกคิด ไม่ใช่ลิ้นคิด เพราะฉะนั้น เมื่อสภาพนี้มีปัจจัยเกิด ก็เกิดขึ้นโดยที่ว่า ไม่ใช่รูปที่จะเข้าไปทางหนึ่งทางใดเลย
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 3
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 4
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 5
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 6
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 7
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 8
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 9
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 10
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 11
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 12
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 13
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 14
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 15
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 16
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 17
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 18
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 19
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 20
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 21
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 22
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 23
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 24
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 25
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 26
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 27
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 28
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 29
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 30
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 31
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 32
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 33
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 34
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 35
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 36
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 37
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 38
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 39
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 40
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 41
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 42
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 43
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 44
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 45
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 46
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 47
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 48
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 49
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 50
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 51
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 52
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 53
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 54
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 55
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 56
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 57
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 58
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 59
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 60