แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 20
ครั้งที่ ๒๐
ไม่ว่าจะเป็นชีวิตแบบไหน ไม่ใช่ของง่ายเลย การบวชเป็นบรรพชิตเป็นสิ่งประเสริฐ ที่ว่ามีโอกาสที่จะประพฤติข้อปฏิบัติที่จะขัดเกลากิเลส เพื่อที่จะได้รู้แจ้งอริยสัจจ์ได้สะดวก เพราะเหตุว่าไม่พัวพันกับเรื่องของกิเลสต่างๆ แต่ว่าจิตของปุถุชนยากไหมคะในเพศของบรรพชิต เพราะเหตุว่า มีความยินดีมีความพอใจทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ว่าจะเป็นบรรพชิตแล้วจะไม่ยาก เรื่องของการเจริญสติแล้วเป็นเรื่องยาก ถ้ายิ่งไม่เจริญสติ ก็ยิ่งยากมากทีเดียว เวลาที่โลภะเกิด โทสะเกิด ใคร่ที่จะประพฤติอย่าง ฆราวาส ก็เป็นเรื่องของความอึดอัด ความไม่สะดวกใจนานาประการ
เพราะฉะนั้น ใน เชนตเถรคาถานี้ ท่านจึงได้กล่าวเพราะท่านรู้ชีวิตจริงๆ รู้จิตใจของปุถุชนด้วยการเจริญสติว่า การบวชกระทำได้ยากแท้ การอยู่ครองเรือนก็ยากแท้ ยากไหม? การอยู่ครองเรือนน้อยกว่าหรือมากกว่า ยากทั้งนั้นเลย บรรพชิตก็ยากอย่างบรรพชิต ฆราวาสไปบวชไม่ได้ก็ยากอย่างฆราวาส ไม่เห็นมีฆราวาสคนไหนสักคนหนึ่งที่จะบอกว่าง่าย ใช่ไหมคะ ธรรมเป็นของลึก ลึกจริงๆ เพราะเหตุว่าอยู่ใกล้ตลอดเวลา แต่ไม่รู้สภาพความจริงของธรรมนั้น กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ เกิดดับตลอดเวลากำลังได้ยินก็เกิดดับตลอดเวลา กำลังเย็น ร้อน อ่อน แข็งทุกขณะ ก็ไม่ใช่ตัวตนสักอย่างเดียว ก็เป็นสิ่งซึ่งเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย แล้วก็ดับไปอยู่ตลอดเวลา แต่เพราะเหตุว่าธรรมเป็นของลึก ผู้ที่ไม่เจริญสติ ไม่พิจารณารู้ลักษณะของนามและรูป ผู้นั้นก็ย่อมไม่เห็นสภาพของธรรมตามความเป็นจริง
การหาทรัพย์เป็นของยาก ใช่ไหมคะ? ไม่ใช่หามาได้ง่ายๆ เลย นี่ก็เป็นความจริงอีกเหมือนกัน สำหรับฆราวาสยังยากในเรื่องของปัจจัย ในเรื่องของทรัพย์ที่จะเลี้ยงชีวิตไป สำหรับผู้ที่มีการประกอบอาชีพต่างๆ ก็ยังยาก ฉะนั้นสำหรับบรรพชิตการเลี้ยงชีพด้วยปัจจัย ๔ ถึงแม้ว่าจะเป็นตามมีตามได้ก็เป็นของยาก เพราะฉะนั้น ภาษิตสุดท้ายของท่านก็คือว่า "ควรคิดถึงอนิจจตาเนืองๆ " ความไม่เที่ยงเป็นของจริง แล้วก็ไม่เที่ยงอยู่ทุกๆ ขณะด้วย เมื่อกี้นี้ก็อาจจะ เป็นเย็นที่มากระทบปรากฏแล้วก็ดับไปแล้ว หรือว่าอาจจะเป็นได้ยิน หรือว่าเป็นเสียงที่ปรากฏเมื่อกี้นี้ก็ดับไปแล้ว ทุกอย่างเป็นแต่สิ่งที่เกิดขึ้นปรากฏแล้วก็หมดไป
เพราะฉะนั้น การเจริญสติปัฏฐานตั้งต้นเมื่อไร ที่ไหนได้ทุกๆ ขณะด้วย เพราะว่าสิ่งที่หมดไปแล้วก็หมดไปแล้ว สิ่งที่กำลังมีอยู่ก็พิจารณาเดี๋ยวนี้ไม่ต้องคอย การระลึกถึงอนิจจตาหรือความไม่เที่ยงนี้ ทำให้ผู้เจริญสติ เจริญสติตรงตามสภาพของนามและรูปที่ปรากฏในขณะนั้น เพราะเหตุว่าขณะนี้นามใดกำลังปรากฏรูปใดกำลังปรากฏ ระลึกขึ้นได้ในขณะใด ก็พิจารณารู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนั้นทันที
แม้ว่าจะเป็นภาษิตเพียงสั้นๆ คือว่าควรคิดถึงอนิจจตาเนืองๆ แต่ก็มีประโยชน์สำหรับการเจริญสติปัฏฐานว่า ท่านจะเจริญในขณะไหนก็ได้ เพราะว่าไม่ว่าท่านจะอยู่ที่ไหน ขณะไหนก็ตาม ก็มีนามและรูปที่กำลังปรากฏในขณะนั้น ยังมีอะไรที่จะกั้นไว้อีกไหมคะ ที่จะไม่ให้เจริญสติปัฏฐาน เก็บเล็กประสมน้อยไปเรื่อยๆ ระลึกได้เมื่อไร ก็มีลักษณะหนึ่งลักษณะใดที่กำลังปรากฏ รู้ที่ลักษณะนั้นนิดเดียวก็ยังดี เพราะเหตุว่า การรู้นี้ถ้ารู้ที่ลักษณะของนามและรูปขณะหนึ่ง ก็จะทำให้ท่านได้เจริญสัมมาสติ เพราะไม่มีความจดจ้องต้องการ ไม่มีความเห็นผิดว่าจะต้องเฉพาะนามนั้นรูปนี้ เฉพาะเวลานั้นเวลานี้ หรือว่าเฉพาะสถานที่นั้นสถานที่นี้ สัมมาสติเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ถ้าเกิดขึ้นทำให้ท่านสำเหนียกใส่ใจรู้ลักษณะที่ต่างกันของนามและรูป ถ้าเป็นทางหู ได้ยินไม่เคยได้พิจารณาเลย ไม่เป็นไร
เมื่อกี้หมดไปแล้ว อนิจจตา กำลังได้ยินขณะใด จะเป็นเดี๋ยวนี้ก็ได้หรือเวลาที่ผักผ่อน เพราะในตอนแรกนี้จะให้มีสติรู้ลักษณะในขณะที่กำลังทำงาน หรือกำลังรีบ หรือกำลังพูด หรือกำลังทำธุระยุ่งๆ อยู่ ก็เป็นไปไม่ได้ เพราะเหตุว่าสตินั้นยัง ไม่มีกำลัง เพราะฉะนั้น ขณะใดที่มีการระลึกได้ แล้วก็พิจารณารู้ลักษณะของได้ยินขณะนั้น การสำเหนียกรู้ว่าสภาพนั้นเป็นสภาพรู้ไม่ใช่เสียง เพียงรู้ความจริงขณะนั้นก็จะช่วยอุปการะ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนพอระลึกได้ก็รู้ลักษณะของได้ยินในขณะนั้นเกิดขึ้นอีกเนืองๆ บ่อยๆ จนกว่าจะชิน
ข้อสำคัญก็คือว่า ให้สำเหนียกรู้ลักษณะที่ต่างกันของนามและรูป นี่คือปัญญา ถ้าปัญญายังไม่ได้พิจารณา ยังไม่รู้ว่าสภาพนี้เป็นสภาพรู้ ต่อให้จะอยู่ที่ไหนยังไงก็ไม่สามารถที่จะรู้ลักษณะของนามได้ยินนั้นได้ ถ้าได้รู้สักครั้งหนึ่งเวลาที่จะนั่ง นอน ยืน เดินอยู่ที่ไหนแล้วก็มีการระลึกได้ ก็จะไม่ปนกันว่าสภาพเสียงที่ปรากฏให้รู้ได้ทางหูกับสภาพได้ยินซึ่งเป็นสภาพรู้ทางหูนั้น เป็นสภาพที่ต่างกันแล้วสติสามารถจะรู้นามได้ยินก็ได้ หรือว่ารู้เสียงก็ได้ เพราะเหตุว่าจะต้องรู้ทั่วจึงจะละความไม่รู้ได้ ไม่ใช่ว่ารู้เพียงนิดๆ หน่อยๆ ก็ละได้
ท่านที่ศึกษาพระไตรปิฏกน่าจะเฉลียวใจ ที่พระผู้มีพระภาคไม่เคยเว้นเลยจักษุไม่เที่ยง รูปคือสีไม่เที่ยง จักขุวิญญาณไม่เที่ยง โสตหูไม่เที่ยง เสียงไม่เที่ยง สัททหรือสัททารมณ์ไม่เที่ยง โสตวิญญาณไม่เที่ยง หมดทั้ง ๖ ทวาร ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ก็ได้กล่าวซ้ำแล้วซ้ำอีกๆ ๆ แต่ว่าทำไมผู้ปฏิบัติบางท่านจึงคิดที่จะเว้น เว้นไม่ได้นะคะเพราะเหตุว่าท่านไม่ใช่อุคฆฏิตัญญูที่จะว่าทรงแสดงโดยย่อ ในขณะนั้นมีสภาพธรรมใดปรากฏก็สามารถที่จะแทงตลอดในสภาพนั้น ประจักษ์การเกิดดับ เพราะเหตุว่าได้เจริญอินทรีย์มาแล้ว แต่ว่าผู้ที่ยังเต็มไปด้วยความสงสัย วิธีเดียวที่จะละคลายความสังสัยได้ก็คือการเจริญสติ พิจารณารู้ลักษณะของนามหรือรูปที่กำลังปรากฏ ซึ่งถ้าไม่พิจารณาสงสัยอยู่ เวลานี้ก็อาจจะไม่รู้ว่า ทางตาเห็น กับสีที่ปรากฏที่เป็นของจริงนั้น ต่างกันอย่างไรหรือว่าทางหูก็อาจจะยังสงสัย ยังไม่แน่ชัดว่าได้ยินกับเสียงที่ปรากฏทางหูนั้น ต่างกันอย่างไร แต่ถ้ามีการเจริญสติรู้ลักษณะของนามและรูปแต่ละทาง ก็จะเจริญสติบ่อยขึ้น ชินขึ้น ความไม่รู้ความสงสัยก็จะค่อยๆ คลายไปและหมดไปได้
นี่ก็เป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นว่า ถ้ายังเป็นปุถุชนอยู่แล้ว ใครเป็นเพศบรรพชิตก็เจริญสติปัฏฐานในเพศของบรรพชิต ใครเป็นฆราวาสก็เจริญสติปัฏฐานในเพศของฆราวาส ถ้าสมมติว่าฆราวาสอยากจะเป็นบรรพชิต เพราะเหตุว่าชีวิตของฆราวาสนี้ ยุ่งยากมาก ไม่สามารถที่จะเจริญสติปัฏฐานได้ ถ้าเป็นความคิดความพอใจมีสัทธาเช่นนั้นจริงๆ ผู้นั้นก็บวชเป็นบรรพชิต แล้วเจริญสติปัฏฐานในเพศของบรรพชิต เพราะเหตุว่าผู้นั้นมีชีวิตจริงๆ เป็นบรรพชิต แต่ไม่ได้หมายความว่าไปหลบหลีกเพียงชั่วคราว แล้วก็ไม่รู้ตัวจริงๆ ชีวิตจริงๆ ของตัวเอง ไม่รู้ในขณะที่กำลังเห็นกำลังได้ยิน แต่ว่าไปรู้อย่างอื่นนั้นไม่ได้ เพราะว่าถ้าเป็นการสร้างขึ้นหรือทำขึ้น ก็ไม่สามารถที่จะคลายความไม่รู้ในชีวิตจริงๆ ได้ ข้อนี้มีอะไรสังสัยบ้างไหมคะ
ถ. ................
สุ. ความแยบคายเป็นเรื่องของปัญญา หมายความว่าปัญญามีขั้นการฟัง ปัญญา มีขั้นการพิจารณา ปัญญามีขั้นที่กำลังมีสติระลึกรู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏความแยบคายนี้เกิดจากการฟังด้วย ถ้าฟังไม่แยบคาย ฟังไม่เข้าใจก็ไม่มีอะไรที่จะอุปการะในขณะที่มีสติ แต่ว่าความแยบคายที่เกิดจากการฟังติดตามอุปการะในขณะที่มีสติไม่ให้เขวไป ไม่ให้คลาดเคลื่อนไป มีความแยบคาย คือการพิจารณาเหตุผลถูกต้องชัดเจนว่า ปัญญานั้นจะต้องรู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏซึ่งเป็นชีวิตจริงๆ ถ้าเป็นอย่างนี้การระลึกได้เกิดขึ้นขณะใด ก็รู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ พิจารณาสิ่งที่กำลังปรากฏ ไม่นึกเขวไปว่าอยากจะไปที่โน่นเพื่อจะได้สงบมากขึ้น เพราะเหตุว่าเพียงนึกอย่างนั้นก็เป็นนามชนิดหนึ่ง แล้วก็ดับไป อนิจจตา
ควรระลึกถึงอนิจจตาเนืองๆ เมื่อดับไปแล้วอะไรกำลังปรากฏอีก ทำไมจะต้องรอ ทำไมจะต้องคอย เพราะเหตุว่าขณะนี้เป็นชีวิตจริงๆ ยังไม่ได้เป็นบรรพชิตยังอยู่กับบ้าน กำลังมีนามชนิดนี้ปรากฏ กำลังมีรูปชนิดนั้นกำลังปรากฏ ไม่ต้องสนใจในอดีตที่ดับไป หรืออนาคตที่ยังมาไม่ถึง แต่ว่าพิจารณารู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ
นี่เป็นการละความต้องการในผล ซึ่งทุกคนใจเร็วด่วนได้ที่คิดว่าจะไปฮวบฮาบละความไม่รู้เยอะๆ ทีเดียว โดยที่ว่าแท้ที่จริงแล้วความไม่รู้สะสมพอกพูนไว้มากทีเดียว เพราะฉะนั้น การที่จะละการที่จะคลายมีทางเดียวเท่านั้น คือการเจริญสติรู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏจริงๆ จนกว่าจะหมดความไม่รู้ จนกว่าจะหมดความเห็นผิดนั้น วิธีนี้ไม่ฮวบฮาบ เป็นปัญญาจริงๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนั้น แต่ไม่ใช่ห้ามว่าไม่ให้ไปไหน ทุกคนมีการไปอยู่ทุกๆ วัน เป็นชีวิตจริงๆ แต่ละขณะที่มีเย็น ร้อน อ่อน แข็ง เคร่ง ตรึง ไหว มีเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส ทุกขณะเจริญสติปัฏฐานได้
ถ. ขณะที่รู้ประโยชน์ของสตินั้น มีปัญญาแล้วใช่ไหมคะ
สุ. ปัญญาขั้นรู้ประโยชน์ของสติ ยังไม่ใช่ปัญญาที่กำลังเจริญสติแล้วรู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ แต่เป็นปัญญาขั้นรู้ประโยชน์ของสติ ปัญญาก็มีเป็นขั้นๆ ด้วย มีท่านผู้ใดมีข้อสงสัยอื่นอีกไหมคะ ในพระสูตรมีตัวอย่างในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นชีวิตจริงๆ แล้วก็จะได้เห็นว่า เป็นเรื่องกิเลสอีกเหมือนกัน ไม่ควรตำหนิเพราะทุกคนมี
เพราะฉะนั้น ถึงแม้จะกล่าวถึงเรื่องกิเลสหลายๆ เรื่องในพระสูตร ก็คงจะไม่เป็นที่ทำให้ท่านรู้สึกว่า ทำไมบุคคลนั้นมีกิเลสมาก หรือบุคคลนี้มีกิเลสมาก เพราะว่าเรื่องจริงๆ และยิ่งรู้ตัวว่ามีกิเลสมากๆ ก็ยิ่งเกิดความพากเพียรที่จะละคลายกิเลส ซึ่งเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ ซึ่งพระเถระบางท่านก็กล่าวว่า "กิเลสดุจผ้าขี้ริ้ว ซึ่งเป็นของซึ่งไม่สอาด" ฉะนั้น ก็จะขอยกตัวอย่างอีก ใน ขุททกนิกาย อุทาน ปิณฑปาตสูตร
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระวิหารเชตวัน ภิกษุหลายรูป สนทนากันว่า การบิณฑบาตเป็นวัตรนั้น ย่อมได้เห็นรูปที่พอใจ ได้ยินเสียงที่พอใจกลิ่นที่พอใจ ได้รสที่พอใจ ธรรมารมณ์ที่พอใจ และมหาชนสักการะเคารพนับถือบูชายำเกรง เพราะฉะนั้น ท่านก็ชวนกันถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เพื่อจะได้เห็นรูปบ้าง ได้ยินเสียงที่น่าพอใจบ้างเป็นต้น ตอนเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้น และได้เสด็จเข้าไปถึงโรงกลมใต้ต้นกุ่ม แล้วประทับ ณ อาสนะที่ปูไว้ แล้วได้ตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่าสนทนากันเรื่องอะไร ท่านพระภิกษุเหล่านั้นก็ได้กราบทูลให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า การที่เธอทั้งหลายเป็นกุลบุตร ออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยสัทธา พึงกล่าวเรื่องเห็นปานนี้ นั้นไม่สมควรเลย เธอทั้งหลายประชุมกันแล้ว พึงกระทำอาการ ๒ อย่าง คือ ธรรมีกถา หรือ ดุษณีภาพอันเป็นอริยะ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ได้ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า ถ้าว่าภิกษุไม่อาศัยเสียงสรรเสริญแล้วไซร้ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายย่อม รักใคร่ต่อภิกษุผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ผู้เลี้ยงตนมิใช่เลี้ยงผู้อื่น ผู้คงที่ที่พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งอุทานว่า ถ้าว่าภิกษุไม่อาศัยเสียงสรรเสริญแล้วไซร้ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายย่อมรักใคร่ต่อภิกษุ ผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร นี่คืออัธยาศัยจริงๆ ถ้าผู้ใดกระทำอย่างนี้ หมายความว่าไม่ใช่ทำเพราะเหตุอื่น แต่ว่าเป็นอัธยาศัยของผู้นั้น ฉะนั้น พระธรรมของพระผู้มีพระภาคทั้งหมดเพื่อที่จะได้ให้ผู้ฟังพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นคุณเป็นประโยชน์ สิ่งใดเป็นโทษ แล้วละสิ่งที่เป็นโทษ แล้วก็ขัดเกลาอัธยาศัยในสิ่งที่เป็นคุณ จนกระทั่งเป็นอัธยาศัยของผู้นั้นจริงๆ ไม่ใช่ฝืนและไม่ใช่บังคับ แต่ว่าให้เห็นคุณ ให้เห็นโทษ แล้วก็ฝึกจนเป็นอัธยาศัยของผู้นั้น
ถึงแม้ว่าในเรื่องของการเจริญสติปัฏฐานก็เช่นเดียวกัน ไม่ใช่บังคับหรือว่าไม่ใช่ฝืน แต่ว่าให้เจริญจนกระทั่งเป็นนิสสัย เป็นอุปนิสสัยของผู้นั้น อย่างเรื่องของ นิสสัย ต้องเป็นเรื่องของสิ่งที่ได้กระทำจนกระทั่งชิน จนกระทั่งเป็น นิสสัย แต่ อนุสัย คือกิเลสอย่างละเอียดนั้นละเอียดยิ่งกว่านิสสัย เพราะเหตุว่า นิสสัยนั้นก็อาศัยการฝึกอบรมเป็นเวลานานพอสมควรก็เป็นนิสสัยอันนั้นได้ แต่ว่า อนุสัยนับชาติไม่ถ้วนทีเดียวที่สืบเนื่องนอนเนื่องอยู่ในจิต เป็นต้นว่า เวลาที่เห็นก็ไม่รู้ว่าอะไร ก็เป็นอวิชชานุสัย ไม่รู้ทุกๆ ขณะ ก็ไม่รู้ไปเรื่อยๆ ไม่มีขณะที่จะรู้เลยว่าขณะนี้กำลังเป็นอะไร เพราะฉะนั้น นี่ก็เป็นอนุสัยอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้น อนุสัยจะลึกแล้วจะละเอียดยิ่งกว่านิสสัยสักเท่าไร ฉะนั้น ถ้าเราไม่เจริญสติ ไม่ฝึกนิสสัย ไม่ว่ากำลังเห็นกำลังได้ยิน ก็ฝึกนิสสัยใหม่แทนที่จะหลง ลืมสติ พอเห็นก็ระลึกได้ว่าที่กำลังเห็นนี้ก็เป็นสภาพรู้ทางตา ถ้าเป็นโดย ลักษณะนี้บ่อยๆ ผู้นั้นก็มีนิสสัยที่ละคลายอนุสัย ความที่ไม่เคยรู้ที่นอนเนื่องอยู่ในจิตใจทุกๆ ขณะ จนกว่าจะหมดไปเป็นประเภทๆ ได้
เพราะฉะนั้น เรื่องของสิ่งที่เราเคยไม่รู้ ก็มีมากแล้วก็เหนียวแน่นแล้วก็เนิ่นนามมาแล้ว ฉะนั้นเรื่องของการละ ก็เป็นเรื่องที่จะต้องเจริญสติเจริญปัญญา ละคลายความไม่รู้ที่มีอยู่ในจิตอย่างละเอียด ด้วยการเจริญสติอย่างละเอียดด้วย ไม่ใช่เจริญหยาบๆ เป็นบางประเภท แล้วก็คิดว่าจะละคลายได้ แต่ว่าจะต้องเป็นการเจริญปัญญาอย่างละเอียดจริงๆ ฉะนั้น ผู้ที่เจริญสติปัฏฐานเป็นกิจวัตรเป็นประจำวัน มีโอกาสที่จะรู้ลักษณะของนามและรูปละเอียดกว่า เพราะเหตุว่า ไม่ได้จำกัดลักษณะของนามและรูปทางหนึ่งทางใด แล้วไม่จำกัดเวลาและจำกัดสถานที่ด้วย ถ้าจำกัดบางเวลา เวลานั้นอาจจะไม่ค่อยมีกิเลส โลภะ โทสะ อาจจะเบาบาง เพราะเหตุว่า กำลังสงบเป็นสมาธิ แต่ที่อื่นเวลาที่ไม่เป็นปัจจัยให้จิตสงบมีโลภะ โทสะ และสติก็ไม่มีกำลัง เพราะว่า ไม่เคยเจริญก็ไม่รู้ลักษณะของนามและรูปในขณะนั้น ก็ยึดถือนามและรูปในขณะนั้นว่าเป็นตัวตนได้
แต่ว่าผู้ที่เจริญสติปัฏฐานเป็นประจำอยู่เรื่อยๆ ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นนามนั้นรูปนี้ ก็มีโอกาสที่จะพิจารณารู้ลักษณะของนามและรูปละเอียดขึ้น ถ้าจะกล่าวถึงภาษิตของพระเถระสั้นๆ ให้ท่านผู้ฟังได้ฟัง ก็คงจะเป็นประโยชน์ เพราะเหตุว่าทุกคำในพระไตรปิฏกนั้นมีสาระ อย่างใน ขุททกนิกาย ชาดกภาค ๔ การันทิยชาดก มีข้อความว่า พราหมณ์ผู้หนึ่ง เห็นการันทิยะยกก้อนหินใหญ่แล้วก็กลิ้งลงไปในซอกภู เขาในป่า ก็ถามว่า ทำอย่างนั้นทำไม การันทิยะก็บอกว่า จะเกลี่ยหินลงให้แผ่นดิน ซึ่งมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขตนั้น ให้ราบเรียบดังฝ่ามือ พราหมณ์ก็บอกว่า มนุษย์คนเดียวย่อมไม่สามารถที่จะทำแผ่นดินให้ราบเรียบดังฝ่ามือได้ จะต้องตายไปเสียเปล่าๆ เป็นแน่ การรันทิยะก็บอกว่า หากว่ามนุษย์คนเดียวไม่สามารถจะทำแผ่นดินใหญ่นี้ให้ราบเรียบได้ฉันใด ท่านก็จะนำมนุษย์เหล่านี้ ผู้มีทิฏฐิต่างๆ กันมาไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน
ซึ่งด้วยข้อความเพียงสั้นๆ พราหมณ์นั้นก็ได้สติและเห็นด้วย เพราะเหตุว่าความคิดเห็นก็มีต่างกันมากทีเดียว ถึงแม้พระผู้มีพระภาคเองในครั้งอดีต จะได้ตรัสรู้ และได้ทรงแสดงหนทางข้อประพฤติปฏิบัติแล้ว แต่ผู้ที่ไม่ประพฤติปฏิบัติตามนั้นมีมาก เพราะเหตุว่าไม่มีบุคคลใดที่สามารถจะทำให้แผ่นดินราบเรียบได้ ฉะนั้น ก็เป็นการเป็นไปไม่ได้เลย ที่จะทำให้ทิฏฐิความเห็นผิดของบุคคลอื่นนั้น กลับมาเห็นถูกเหมือนกันทั้งหมดได้
เพราะฉะนั้น การฟังธรรมก็ควรที่จะให้ได้ประโยชน์ ได้เหตุผลจากการฟัง เพื่อจะได้ประพฤติปฏิบัติตามให้ถูกต้องด้วย
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 3
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 4
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 5
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 6
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 7
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 8
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 9
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 10
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 11
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 12
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 13
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 14
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 15
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 16
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 17
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 18
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 19
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 20
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 21
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 22
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 23
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 24
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 25
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 26
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 27
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 28
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 29
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 30
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 31
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 32
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 33
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 34
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 35
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 36
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 37
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 38
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 39
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 40
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 41
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 42
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 43
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 44
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 45
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 46
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 47
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 48
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 49
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 50
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 51
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 52
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 53
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 54
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 55
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 56
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 57
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 58
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 59
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 60