แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 364
ครั้งที่ ๓๖๔
สุ. อานาปานสติ ระลึกรู้ที่ลมหายใจ ไม่ได้ชื่อลมหายใจ แต่มีลักษณะของรูปที่กระทบที่จมูกที่ปรากฏ เวลาที่ใช้ชื่อ ใช้คำว่า อานาปานบรรพ เวลาใช้ชื่อของบรรพ ใช้ชื่อว่าอานาปานบรรพ แต่อานาปานต้องมีลักษณะปรากฏที่กระทบที่จมูกให้รู้ ไม่ใช่ชื่อ ฉันใด อิริยาบถบรรพเป็นชื่อ ไม่ใช่ว่ามีชื่อปรากฏ แต่ต้องมีลักษณะที่ปรากฏ เช่นเดียวกับอานาปานบรรพ
ถ. พอเข้าใจบ้าง แต่ที่ผมถาม ที่ใช้อิริยาบถเป็นทางกำหนดรูปนามนั้น ผมถามเฉพาะรูป อาจารย์ก็บอกว่า ต้องรู้ดิน น้ำ ไฟ ลม ต้องรู้ธาตุที่ปรากฏ อาจารย์ก็อธิบายเปรียบเทียบไป แต่ไม่ตรงคำถาม ผมถามว่า บรรพทุกๆ บรรพต้องอาศัยรูปนามเป็นอารมณ์ ที่เขาบอกว่านั่ง นอน ยืน เดิน เป็นอิริยาบถบรรพ ทีนี้ดูรูปตรงไหน
สุ. ต้องเป็นคำตอบของท่านเอง ต้องคิด อานาปานบรรพ การระลึกรู้ลมหายใจ ใช้คำว่าลมหายใจ แต่เวลาที่ระลึกรู้จริงๆ มีสภาวะรูปปรากฏ ไม่ใช่ชื่อลมหายใจปรากฏ เพราะฉะนั้น ขณะที่เป็นอานาปานบรรพ อย่าลืม อานาปานบรรพมีลักษณะของรูปอะไรปรากฏให้รู้ ถามซ้ำ จะได้คิดเอง
ถ. มีลม
สุ. อานาปานบรรพ มีลักษณะของธาตุลมปรากฏให้รู้ อิริยาบถบรรพมีลักษณะของรูปอะไรปรากฏให้รู้
ถ. ผมตอบไม่ได้ ผมจึงถามอาจารย์ อาจารย์กลับมาถามผม ผมก็ยังตอบไม่ได้อยู่นั่นเอง เพราะไม่เข้าใจว่า รูปนี้หรือเป็นรูปรวม จะบอกแต่ละอย่างๆ ก็ไม่ได้ เพราะว่าจิตตชวาโยธาตุ อุตุชรูป กัมมชรูป อาหารชรูป อะไรอย่างนี้ รวมกันเป็นแท่งเป็นก้อน อาจารย์จะมาให้ผมแยก ผมก็แยกไม่ออก จึงไม่เข้าใจ จึงมาถามอาจารย์ อาจารย์กลับมาถามผม ผมจะตอบได้อย่างไร ผมไม่รู้
สุ. ต้องมีลักษณะปรากฏ ก็พูดกันแล้วว่า การที่จะอบรมเจริญปัญญานั้น จะต้องมีลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมปรากฏ จึงจะรู้ชัดว่า รูปธรรมไม่ใช่นามธรรม นามธรรมไม่ใช่รูปธรรม ถ้าไม่มีลักษณะของรูปธรรม ไม่มีลักษณะของนามธรรมปรากฏแล้ว ปัญญาจะชื่อว่ารู้อะไรไม่ได้ เพราะฉะนั้น ถึงแม้เป็นอานาปานบรรพ ก็มีลักษณะของลมปรากฏ เป็นของจริง ปัญญาจึงรู้ชัดว่า ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล
พอถึงอิริยาบถบรรพ มีลักษณะของรูปอะไรปรากฏ ที่ปัญญาจะรู้ชัดได้ว่า ลักษณะนั้นไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ซึ่งในหมวดของอานาปานบรรพมีลักษณะของรูปปรากฏให้รู้ได้ จึงตอบได้ แต่อิริยาบถบรรพ ถ้าไม่มีลักษณะของรูปปรากฏให้รู้ได้ จะเป็นปัญญาได้อย่างไร เพราะฉะนั้น ถ้าไม่มีลักษณะของรูปปรากฏให้รู้ ก็ไม่ชื่อว่าเป็นการเจริญปัญญาที่จะเห็นกายในกายได้
ถ. แต่ว่ายืนก็ต้องมีลักษณะของเขา เฉพาะยืนอย่างเดียวก็มีท่าทางของเขาแต่ละท่า ผมเข้าใจเองว่า แต่ละท่าเป็นรูปๆ หนึ่ง ที่จริงรู้เหมือนกันว่า เป็นรูปรวม เป็นก้อน เป็นแท่ง รูปนั้นยังไม่เดี่ยว เหมือนที่อาจารย์พูด อาจารย์แยกว่า ร้อนก็มีลักษณะหนึ่งเท่านั้น เป็นสองไม่ได้ นี่ลักษณะของอาจารย์ รูป ๒๘ ผมศึกษาจริงๆ แต่ยังไม่เข้าใจ รู้แต่เพียงว่า ท่ายืน รูปที่ยืน ไม่ใช่นาม อย่างนี้ก็ท่าหนึ่งๆ ซึ่งผมเข้าใจมาจากดั้งเดิม แต่ว่าไม่ตรงกับที่อาจารย์สอนไว้ อาจารย์ต้องการสอนเพียงหนึ่งลักษณะเท่านั้น แต่นี่รวมเป็นก้อน เป็นแท่ง ซึ่งผมถือว่าเป็นรูป ผมตอบได้เพียงแค่นี้
สุ. ถือว่าใช่ไหม โดยที่ไม่มีลักษณะปรากฏ เพราะฉะนั้น จะรู้ชัดได้ไหม อย่างลมหายใจ ต้องมีลักษณะจริงๆ ปรากฏ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เวลาที่ปัญญารู้สภาพธรรมโดยถูกต้อง ต้องมีลักษณะของรูปที่เป็นรูปธรรมปรากฏให้รู้ชัดว่า ลักษณะนั้นไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ไปนึกรวมๆ เก้าอี้ตั้งอยู่เป็นรูปหนึ่ง จับนอนลงไปเป็นอีกรูปหนึ่ง อย่างนั้นหรือ
ถ. ผมไม่มีปัญญาที่จะตอบแต่ละลักษณะ แต่ตอบได้ว่า เป็นลักษณะรวม ท่าหนึ่งก็รูปหนึ่ง แต่ใครจะมาบอกว่าท่านี้เป็นนามไม่ได้ ผมต้องเถียงว่าเป็นรูป อาจารย์บอกได้ไหมว่าท่านี้เป็นนาม
สุ. รูปที่ยืนอยู่ มีลักษณะของรูปหลายรูปเกิดรวมกัน บางครั้งจะรู้สึกส่วนที่ไหวไป ถ้าปัญญาสามารถที่จะรู้ได้ในขณะที่กำลังทรงอยู่ในท่านี้ มีลักษณะของวาโยธาตุจริงๆ เป็นลักษณะของธาตุลมที่ไหว แต่ถ้าไม่ปรากฏ คนนั้นจะรู้ได้อย่างไร คนนั้นก็รู้สิ่งที่ปรากฏส่วนอื่น ใช่ไหม ไม่มีความจำเป็นที่จะไปพยายามคอยดูสิ่งที่ไม่ปรากฏ ในเมื่อลักษณะของรูปใดปรากฏที่กายส่วนใด ปัญญารู้ตรงส่วนนั้นที่ปรากฏ แต่ไม่ใช่หมายความว่า ไปจำต่อเอาไว้ตลอดศีรษะจรดเท้า เย็น ปรากฏตรงไหน
ถ. อาจารย์กล้าบอกผมไหมว่า อิริยาบถปิดบังทุกข์นี้ ไม่มีในพระไตรปิฎกและจะต้องศึกษาหรือไม่ว่า อิริยาบถนั้นปิดบังทุกข์อย่างไร
สุ. อิริยาบถปิดบังทุกข์ ทุกข์นั้นไม่ใช่ปวดเมื่อย แต่ต้องเป็นอนิจจัง ทุกขังอนัตตา เช่นเดียวกับสันตติ เวลานี้ เพราะไม่รู้ว่า จิตลักษณะหนึ่งเกิดขึ้นและดับไป และจิตลักษณะอื่นก็เกิดต่อ ไม่รู้ว่า เวทนาขณะเมื่อครู่นี้เกิดขึ้นและดับไป และเวทนาที่เกิดสืบต่อ ก็เป็นเวทนาอีกลักษณะหนึ่ง อีกประเภทหนึ่ง เมื่อไม่รู้ความจริงอย่างนี้ อิริยาบถของรูปซึ่งทรงอยู่ ตั้งอยู่ ก็ปิดบังไม่ให้เห็นความจริงของแต่ละรูป ซึ่งเกิดขึ้นและดับไป เช่นเดียวกับแต่ละนามซึ่งเกิดปรากฏและดับไป ไม่ประจักษ์ทั้งอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพราะว่าความรวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน ซึ่งทรงอยู่ในอาการกิริยาท่าทางปรากฏ ครอบงำไม่ให้เห็นความจริงว่า ลักษณะของรูปแต่ละรูปนั้นต่างกัน แล้ว เมื่อรูปหนึ่งเกิดขึ้นปรากฏและหมดไป ถ้าศึกษาอภิธรรมโดยละเอียดจะทราบได้ว่า รูปนี้ทยอยกันเกิดขึ้น จึงทยอยกันดับไป จริงหรือไม่จริง
ถ. จริงครับ คือ อาจารย์จะสอนให้ศิษย์ทั้งหลายเข้าถึงจุดที่อาจารย์ต้องการเลยทีเดียว จะนำพวกเราพร้อมกับตัวผมนี้เข้าจุด แต่ปัญญาพวกเรายังไม่ถึง อาจารย์ลืมอะไรไปอย่างหนึ่ง อาจารย์ย่อมรู้ว่า การปฏิบัติวิปัสสนานั้น มี ๔ ญาณ ญาณที่ ๔ เป็นญาณที่ประจักษ์รูปนามเกิดดับ และอัตตาจะหายไปในขณะนั้น ในญาณนี้ แต่อาจารย์เป็นห่วงมาก ใครจะทำอย่างไรก็เป็นอัตตา จะไปเข้าห้องกัมมัฏฐาน ก็เป็นตัวเป็นตน อาจารย์เป็นห่วงนักหนา แต่ท่านลืมอะไรไปอย่างหนึ่งว่า ท่านจูงเราเร็วเกินไป ท่านดึงเราเร็วเกินไป จะให้ถึงจุดนั้น จุดอนัตตา ความจริงนั้นต้องผ่าน ๓ ด่าน นามรูปปริจเฉทญาณ ปัจจยปริคหญาณ สัมมสนญาณ ใน ๓ ญาณนี้ ยังมีอดีต มีอนาคต ยังมีเรา มีตัวมีตนอยู่ แต่อาจารย์ดูเหมือนหนึ่งว่า ดึงเราเข้าไปถึงจุดที่ ๔ คือ อุทยัพพยญาณ เข้าไปทำลายอัตตาทันที ผมอยากใช้คำว่า ดึงเราเร็วเกินไป เราก็ตามไม่ทัน เมื่อเราตามไม่ทัน อาจารย์ก็บอกว่า อะไรๆ ก็เป็นอัตตา ผู้ถามก็สะท้านหมด เฮ้อ อะไรๆ ก็เป็นอัตตาไปหมดทั้งนั้น จะคิดอะไรก็เป็นอัตตา
พูดถึงเรื่องยืนนี้ อาจารย์ไม่ต้องห่วงว่า ผมหรือผู้ปฏิบัตินี้จะไม่มีอัตตา ต้องมีอัตตา เป็นก้อน เป็นแท่ง แต่อย่าลืมว่า ผมก้าวยังไม่ถึงญาณหนึ่งเลย แต่ใจของอาจารย์อยากจะให้พวกเรารู้เร็วๆ
ยืนเป็นอย่างไร ก็เป็นก้อน เป็นแท่ง และเมื่อเราปฏิบัติไป ปฏิบัติไป ปัญญาคมกล้าเข้า รู้เรื่องนั้นเรื่องนี้อะไรขึ้นมา รู้ตามสภาวะของเขา และก็ค่อยๆ คลี่คลายไป แต่อาจารย์ไม่เป็นอย่างนั้น จะดึงพวกเรา คล้ายๆ กับว่า เรามีปัญญาแหลมคมเหมือนท่าน ขอประทานโทษครับ ผมว่าอาจารย์
สุ. ขอประทานโทษ ขอให้ท่านที่กล่าวเมื่อครู่นี้ อย่าลืมคำพูดของท่านและพิจารณาว่า ดิฉันพาให้ช้าลง หรือว่าดึงไปให้ถึงญาณที่ ๔ กันแน่
ถ. ให้เร็วครับ
สุ. ท่านว่าให้เร็วหรือ ขอประทานโทษ ไม่เคยบอกใครเลยว่า สามารถที่จะประจักษ์ความเกิดขึ้นและดับไปของนามธรรมและรูปธรรมได้ โดยไม่ต้องระลึกรู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมที่กำลังปรากฏตามปกติตามความเป็นจริง จนชิน จนรู้ชัด จนเป็นปัญญาที่สมบูรณ์จริงๆ
อย่าพึ่งหวังที่จะถึงอุทยัพพยญาณ โดยที่ขณะนี้ไม่สามารถที่จะระลึกรู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมที่กำลังปรากฏแต่ละทาง แต่ละลักษณะ มีลักษณะจริงๆ ปรากฏให้รู้ ถ้าปัญญายังไม่รู้อย่างนี้ อย่าเพิ่งไปไหน แม้แต่นามรูปปริจเฉทญาณ ไม่เคยดึงไปจนกระทั่งถึงอุทยัพพยญาณเลย
ถ. อาจจะเป็นความเข้าใจผิดของผมก็ได้ คือ ที่อาจารย์สอน พยายามที่จะไม่ให้มีอัตตา ไม่ว่าจะพูดว่าอะไร ที่ว่า ฉันจะไปเข้าห้องกัมมัฏฐาน เป็นตัวเป็นตน ท่านพยายามที่จะสกัดกั้นให้หมด
สุ. ไม่ใช่ดิฉันพยายาม ความจริงเป็นตัวตนหรือเปล่า ที่คิดอย่างนั้น ในขณะนั้น
ถ. เป็น สรุปว่า ผมยังปฏิบัติไม่เข้าถึงจุดที่อาจารย์ต้องการ ที่ให้รู้รูปหรือนามแต่ละสิ่ง ถ้ารู้รูป ต้องรู้แต่ละขณะ แต่ผมเป็นลูกศิษย์นอกครู ไปไม่ได้ ไปไม่ถึงที่ต้องการให้ไป มันเห็นรูปรวม ไม่เรียกว่ารูป จะให้เรียกว่าอะไร บางรูปตั้ง ๖ รูป ๕ รูปรวมกันอยู่ ไม่เรียกว่ารูป ก็ไม่รู้ว่าจะเรียกว่าอะไร ต้องขอเรียกว่ารูป พอเรียกรูปปั๊บ ก็ตีโครมไปว่า ต้องเป็นรูป ๒๘ สิ ท่านว่าเสียอย่างนี้ หมดปัญญา ผมไม่รู้จะไปเอาอะไรกับท่านได้ ตามท่านไม่ทันจริงๆ ก็มันเป็นรูปรวมอยู่
สุ. รู้สึกว่า ท่านเบื่อหน่าย ระอาใจ ในการที่จะระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏตามความเป็นจริงให้ชัดเจนว่า มีลักษณะจริงๆ ปรากฏ
ถ้าท่านยังคงคิดว่า ท่านสามารถจะรู้ว่าเป็นรูปโดยที่ไม่มีลักษณะจริงๆ ปรากฏ ท่านก็เพียรไปโดยที่ไม่มีวันจะรู้ว่า ลักษณะของรูปจริงๆ นั้นปรากฏ เกิดขึ้นและดับไปแล้ว ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตนจริงๆ เป็นลักษณะของรูปจริงๆ ที่ปรากฏ
เมื่อท่านไม่เพียรที่จะรู้ว่า ถ้ารู้ว่าเป็นรูป ปัญญาต้องรู้ตรงลักษณะของรูปที่ปรากฏให้รู้ ไม่ใช่ไปนึกว่า รู้ว่าเป็นรูป ถ้าเป็นเพียงขั้นนึกว่า รู้ว่าเป็นรูป ปัญญาจะไม่มีวันที่จะคมกล้าประจักษ์ว่าไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตนเลย เพราะเพียงนึก โดยที่ไม่มีลักษณะของรูปแต่ละลักษณะที่ไม่ปะปนกันเลยปรากฏ
และไม่ได้ปรากฏเลยว่า ขณะที่กำลังเห็น เป็นแต่เพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา เวลาที่กระทบสัมผัส ไม่ใช่สีแล้ว เป็นลักษณะอาการของรูปที่ปรากฏจริงๆ และดับจริงๆ ถ้าปัญญาถึงความสมบูรณ์ที่จะประจักษ์ความเกิดดับของรูปนั้น เพราะว่ารูปนั้นปรากฏ โดยที่จะเปลี่ยนลักษณะของรูปนั้นให้เป็นรูปอื่นไม่ได้ นี่คือความหมายของอนัตตา คือ ลักษณะของสภาพธรรมใดเป็นอย่างไร ก็ตามความเป็นจริงอย่างนั้นที่ปัญญาจะต้องรู้ชัดว่า เป็นแต่ละลักษณะ ไม่ใช่รวมๆ กันไว้
เพราะฉะนั้น ถ้าท่านยังคงต้องการที่จะเพียงนึกรู้ โดยที่ไม่มีลักษณะจริงๆ แต่ละลักษณะปรากฏ ท่านก็ไม่มีวันที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรม และไม่สามารถที่จะอบรมเจริญปัญญาให้คมกล้าด้วย
สำหรับเรี่องของวิปัสสนาญาณ ๓ ที่เป็นตรุณวิปัสสนา เวลาที่ท่านเห็นข้อความใดบ่งว่า นามรูปปริจเฉทญาณ ปัจจยปริคหญาณ สัมมสนญาณ เป็นตรุณวิปัสสนา เป็นจินตาญาณ เวลาที่ท่านผ่านพยัญชนะนี้ ท่านลืมความสมบูรณ์ของพยัญชนะที่กล่าวว่าวิปัสสนาญาณด้วย ไม่ใช่บอกว่า เป็นแต่เพียงความคิดเฉยๆ เท่านั้นว่า เป็นรูป แต่มีคำว่าเป็นวิปัสสนาญาณ เป็นตรุณวิปัสสนาญาณ
เพราะฉะนั้น คำว่าวิปัสสนาญาณนี้ อย่าคิดว่า เป็นเพียงขั้นความเข้าใจว่า เป็นนามธรรม เป็นรูปธรรม ไม่ใช่อย่างนั้นเลย แต่วิปัสสนาญาณ เป็นการประจักษ์ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมโดยสภาพความเป็นอนัตตาจริงๆ แม้แต่ปัญญาที่เป็นวิปัสสนาญาณ ก็เกิดโดยความเป็นอนัตตา ไม่ใช่ไปรอ ไปคอย ไปจวนแล้ว จวนอยู่นั่นแล้ว บางทีก็จวนเสียจนรำคาญว่าเมื่อไรจะเกิด ซึ่งตลอดเวลานั้น เป็นตัวตน และเป็นไปด้วยตัณหาความต้องการ ซึ่งแอบแฝงอย่างสบายมากระหว่างที่มีการกระทำต่างๆ เหล่านั้น ไม่ใช่เป็นปัญญาที่อบรมจนกระทั่งประจักษ์จริงๆ โดยถึงความสมบูรณ์ที่ปรากฏโดยความเป็นอนัตตา
ความที่ปรารถนาในวิปัสสนาญาณ ท่านเข้าข้างตัวเองว่า ตรงนี้ ตอนนี้ รู้ชัด แหมขณะนี้ชัดจริงๆ ว่าเป็นนามธรรม นี่โดยการพยายามรวบรัดที่จะให้เป็นวิปัสสนาญาณ โดยที่ไม่เข้าใจความหมายของคำว่าญาณ ซึ่งหมายความถึงความสมบูรณ์ของปัญญาที่ประจักษ์ในลักษณะแต่ละลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม โดยไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ไม่มีการที่จะควบคุมประชุมรวมกัน เป็นกลุ่มเป็นก้อน เป็นท่าเป็นทางได้เลยในขณะนั้น
เพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า เฉพาะลักษณะของรูปแต่ละรูป ตรงรูปที่ปรากฏลักษณะหนึ่งๆ เท่านั้นในขณะนั้น ไม่ใช่การควบคุมประชุมรวมกันไว้เป็นท่าทาง เป็นกลุ่มเป็นก้อน ซึ่งไม่มีลักษณะของรูปใดปรากฏเลย เพราะฉะนั้น บางท่านต้องการวิปัสสนาญาณรวดเร็วมาก พยายามเข้าข้างตัวเองว่า ขณะเมื่อครู่นี้ชัด แต่ลักษณะเช่นนั้นไม่ใช่เป็นการประจักษ์ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมด้วยวิปัสสนาญาณ ซึ่งเป็นอนัตตาจริงๆ
เพราะเหตุใดจึงกล่าวว่าเป็นวิปัสสนาญาณ เพราะเหตุว่า ตัวตนที่เป็นโลกที่สืบต่อควบคุมประชุมรวมกันอย่างนี้ไม่ปรากฏ แต่เป็นการประจักษ์ลักษณะเฉพาะนามธรรมและรูปธรรมทางมโนทวารแต่ละนามแต่ละรูปจริงๆ เพราะฉะนั้น ไม่ใช่มาเทียบเคียงนึกเอาว่า เมื่อครู่นี้เป็นนามรูปปริจเฉทญาณแล้ว และก็นึกไปว่า เกิดขึ้นเพราะปัจจัยอย่างนั้น อย่างนี้ ก็เป็นปัจจยปริคหญาณแล้ว และเพราะว่าเมื่อครู่นี้ดับไป เดี๋ยวนี้มีอีก เพราะฉะนั้น เป็นอดีต เป็นอนาคต จึงเป็นสัมสนญาณแล้ว
แม้แต่ความหมายของคำว่าจินตาญาณในที่นั้น ที่เป็นวิปัสสนาญาณก็เพราะว่า แม้ขณะที่กำลังประจักษ์ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมทางมโนทวารแต่ละลักษณะยังมีการตรึกถึงลักษณะที่กำลังปรากฏนั้นได้ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นตรุณวิปัสสนา และเป็นวิปัสสนาญาณที่ยังมีความตรึกถึงลักษณะที่ปรากฏในขณะนั้นแทรกขึ้นได้
ถ. บ้านผมอยู่กลางทุ่งนา ลุกขึ้นตอนตีสอง จะนำความรู้ที่ศึกษาจากอาจารย์มาปฏิบัติ จะดับทั้ง ๔ ทวาร เช่น หูไม่ได้ยินเสียง จะเป็นเสียงกบร้องหรือรถยนต์ผ่านก็ไม่มี ไม่ได้เห็นมันมืดสนิท จมูกไม่ได้กลิ่นอะไรเลย ลิ้นไม่มีรสอะไรเลย เหลือ ๒ ทวาร คือ ใจกับกาย ปิดเสีย ๔ ทวารโดยปริยาย ก็ผ่าน ๒ ทาง กายกับใจเท่านั้น อาจารย์สอนว่า กายนี้จะมีลักษณะที่กระทบเย็นร้อน อ่อนแข็ง แต่อากาศปกติ เย็นไม่มี ร้อนไม่มี ลมไม่มี เหลืออ่อนกับแข็ง ผมพิจารณาทวารที่กาย อาจารย์สอนไว้ว่า สิ่งที่ปรากฏในขณะนั้นให้สติระลึกรู้ หมายความว่า ต้องการให้เป็นปัจจุบัน
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๓๖๑ – ๓๗๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 361
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 362
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 363
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 364
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 365
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 366
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 367
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 368
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 369
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 370
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 371
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 372
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 373
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 374
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 375
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 376
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 377
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 378
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 379
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 380
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 381
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 382
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 383
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 384
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 385
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 386
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 387
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 388
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 389
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 390
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 391
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 392
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 393
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 394
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 395
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 396
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 397
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 398
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 399
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 400
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 401
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 402
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 403
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 404
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 405
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 406
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 407
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 408
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 409
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 410
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 411
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 412
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 413
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 414
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 415
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 416
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 417
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 418
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 419
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 420